Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะคืออะไรในพุทธศาสนาบทที่ 2(พุทธศาสนาพัฒนา มนุษย์)ตอนที่2 อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 04 ต.ค.2008, 9:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมะคืออะไร ในพุทธศาสนา บทที่ 2 (พุทธศาสนา พัฒนา มนุษย์) ตอนที่ 2

เมื่อท่านทั้งหลาย ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการระลึก(นึกถึง) และ ดำริ(การคิด) ไปบ้างพอสมควรแล้ว
ท่านทั้งหลายก็ควรได้ รู้ถึงหลักการหรือต้นตอแห่งการพัฒนาทั้งหลายว่า ล้วนเกิดจากความต้องการ ทาง รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ โดยทางตรง และโดยทางอ้อม หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ ไม่ว่าจะเป็นหลักการพัฒนาในเรื่องใดใดก็ตาม ล้วนต้องอาศัย ความต้องการใน รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ ทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม
ซึ่งหากท่านทั้งหลายได้รู้หลักการเบื้องต้นนี้แล้ว ก็สามารถนำไปใช้เป็นสิ่งประกอบในการพิจารณา หรือใช้เป็นสิ่งประกอบในการพัฒนาได้ในทุกรูปแบบ เพราะ การพัฒนา หมายถึง การทำให้เจริญขึ้น ดีขึ้น มีขึ้น อาจจะทำให้สิ่งที่มีอยู่เดิม ดีขึ้นกว่าเดิม หรือสิ่งที่ยังไม่มีทำให้เกิดมีขึ้น
แล้วทำไม หลักการทางพุทธศาสนา จึงมองหรือเห็นว่า การระลึก และ ดำริ เป็น กิเลส เป็นเครื่องทำให้เกิด ความโลภ(โลภะ ความ อยากได้ ) ความโกรธ(โทสะ ความคิดประทุษร้าย ) ความหลง(โมหะ ความไม่รู้ตามความเป็นจริง) ทั้งๆที่มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) และอะไร เป็นสาเหตุหรือต้นเหตุแห่งกิเลส ในด้านความคิด และการระลึกนึกถึง
เหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า อันกิเลส หรือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น เป็นต้นตอ แห่งความวุ่นวาย ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด ความไม่สบายใจ ไม่สบายกาย หรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า ความทุกข์ นั่นเอง
เหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ ซึ่งเกิดจากการคิด และ การระลึกนึกถึง อันเป็นผลมาจากการได้สัมผัสทางอายตนะภายใน(หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ) โดย ได้รับจากอายตะภายนอก(รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ) ก็คือ ความหลง เป็นอันดับแรก
ความหลงก็คือ การยึดติด หรือความชอบ ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต อันเกิดจากความไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลายล้วน ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และมิใช่ตัวตน( คำว่าไม่เที่ยง และ มิใช่ตัวตนนั้น หมายถึง สรรพสิ่งย่อมมีการเสื่อมสลาย ย่อมมีการพลัดพรากหรือจะเรียกว่า สรรพสิ่ง ล้วนมี การ “เกิด แก่ เจ็บ และตาย” หรือบ้างก็ใช้ประโยคที่ว่า “สรรพสิ่ง ล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป )จนกลายเป็นความอยากได้ ความหวง ความต้องการ ความห่วง ความอยากเป็น ความอยากมี ฯลฯ
ความหลง นั้นมีพฤติกรรม หรือสภาพสภาวะจิตใจหลากหลายรูปแบบ บางรูปแบบ ก็คล้ายจะเป็นความโลภ แต่แท้จริงแล้ว เป็นความหลงเกิดขึ้น แล้วจึงมีความโลภ แอบแฝง ซึ่ง ท่านทั้งหลาย สามารถพิจารณา สัมผัส และรู้ได้ ด้วยตัวของท่านเอง ในที่นี้จะไม่ยกตัวอย่าง เพราะมันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของทุกคนอยู่แล้ว
ความหลง อันเป็น เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น คือสภาพสภาวะจิตใจ อันเป็นผล จากการได้สัมผัสทางอายตนะภายใน โดยได้รับจาก อายตนะภายนอก แล้วเกิดการระลึกนึกถึง และเกิดความคิด
ความคิด และการระลึกนึกถึง ก็จะสร้างสภาพสภาวะจิตใจ คือเกิดคลื่นในหัวใจ ส่งกลับไปที่สมองแล้วเก็บไว้เป็นข้อมูลความจำ ถึงสิ่งที่ได้สัมผัสนั้นว่า สิ่งไหน เป็นประโยชน์ มีคุณค่า ทั้งในอดีต ปัจจุบัน หรืออาจในอนาคต ต่อบุคคลนั้นๆ และเรียก สภาพสภาวะจิตใจ ที่เกิดขึ้นนั้นว่า ความหลง
เมื่อเกิดความหลง ในหัวใจ และสมอง เป็นอันดับแรกแล้ว เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ที่ตามมาก็ คือ ความโลภ และ ความโกรธ และกิเลสทั้ง 3 คือ ความหลง ความโลภ ความโกรธ ก็จะหมุนวนกันเป็น วัฏจักร อันหนึ่งเกิดขึ้น ก็พาให้อันหนึ่งเกิดขึ้น หรืออันหนึ่งเกิดขึ้น ก็ทำให้อันหนึ่งดับลง หรืออันหนึ่งดับลง ก็ทำให้อันหนึ่งเกิดขึ้น หมุนวนกันไป
ความหลง หรือ โมหะ หมาย ถึง ความไม่รู้ตามความเป็นจริง เป็นผลที่เกิดขึ้น จากการคิด และระลึกนึกถึง และความหลง นี้แหละที่จะเป็นเหตุที่ทำให้เกิด ความโลภ และความโกรธ จนเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวาย เกิดความทุกข์ ทั้งทางใจ และทางกาย ตามแต่กรณี
ท่านทั้งหลายที่มีวิถีชีวิต หรือดำรงชีวิต ในสังคมทั่วไป ย่อมมีความคิดอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะ ความหลง ความโลภ ความโกรธ นั้น เป็น ธรรมชาติของมนุษย์ บ้างก็เป็นเหตุที่ทำเกิดวิวัฒนาการ หรือเกิดนวัตกรรม หรือเกิดการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ สิ่งต่างๆ อันก่อให้เกิด ความสะดวก ความสบาย เกิดการทำงาน และอื่นๆ อันก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจ ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ซึ่งหากท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ถึงหลักธรรมะในพุทธศาสนาตั้งแต่บทที่ 1 เป็นต้นมา ก็จะเกิดความเข้าใจว่า หากมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)ไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจ ในหลักธรรมะแล้วละก้อ ความวุ่นวาย ทางสังคม ความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ ความวุ่นวายในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ย่อมเกิดขึ้น ดังที่ท่านทั้งหลายเคยได้ประสบกับวิกฤติทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ฯ จนเกิดความทุกข์ ทั้งทางใจ และทางกาย กันไปบ้างแล้ว

จบบทที่ 2 ตอนที่ 2
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2008, 12:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง