Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ถามผู้รู้หน่อยนะคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุญแจลับ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 10 ก.ย. 2008
ตอบ: 1

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2008, 10:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

รบกวนถามผู้รู้นะคะ พอดีว่าหนูเพิ่งสนใจเกี่ยวกับการนั่งสมาธิไม่นานนี้เอง ก็พยายามหาข้อมูลจากในอินเตอร์เนต แล้วก็ทำตาม แล้วตอนนี้หนูรู้สึกว่าหน้าหนูมันตึงๆ ตั้งแต่สันจมูก โหนกแก้ม ระหว่างคิ้ว หน้าผาก แล้วก็ตึงไปหมดทั้งหัวหนูเลย เวลาจะหลับ กว่าจะหลับได้ใช้เวลานานกว่าเดิมมากๆ เพราะมันตึงไปหมดจริงๆ หนูควรจะทำยังไงดีคะ เป็นเพราะกำหนดจิตผิดที่ผิดทางหรือเปล่าคะ ขอบคุณมากคะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2008, 1:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาการดังกล่าวเป็นอาการที่เกิดจากการกำหนดหรือเพ่ง จุดใดจุดหนึ่งนานๆ จนกลายเป็นความเคยชิน และก็เกิดผลกระทบคือเจ็บปวดตามส่วนต่างๆ ที่เราไปเพ่งหรือกำหนด ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม

การแก้
1.พยายามควบสติอย่าให้จิตไปกำหนดเพ่งในส่วนนั้น

2.สร้างความรู้สึกตัว ที่เรียกว่ารู้สึกตัวพร้อมให้มากขึ้น เพื่อกระจายความรู้สึกไปทั่วร่างกาย ไม่กำหนดจุดหนึ่งจุดใดของร่างกาย

3.ถ้าแก้ด้วยวิธีทั้ง 2 ดังกล่าวไม่ได้ ขอให้เลิกปฏิบัติสมาธิสักระยะหนึ่ง หันไปฟังธรรมะ หรือฟังเพลง เพื่อดึงความรู้สึกออกไปรู้สิ่งข้างนอก เป็นการแก้ความเคยชินของการเพ่ง

...
ปัจจุบันมีวิธีปฏิบัติที่ได้ผลดีกว่าสมาธิ และกำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เพราะวิธีปฏิบัติไม่ซับซ้อนยุ่งยาก สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ด้วย อีกอย่างมีผู้ปฏิบัติและผู้ที่เชี่ยวชาญการปฏิบัติแนวนี้ก็มาก สามารถให้ความรู้และแนะนำวิธีปฏิบัติได้ตลอด วิธีนี่เรียกว่า "สติปัฏฐานสี" หรือเรียกสั้นว่า "ดูจิต" ลองคลิกเปิดดูที่นี่นะครับ

- บ้านอารีย์
http://www.baanaree.net/

- วิมุตติ
http://www.wimutti.net/

- ทีเล่นที่จริง
http://teelenteejing.com/

- ธรรมะใกล้ตัว
http://dungtrin.com/mag/

สาธุ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2008, 6:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สนใจการเจริญสมาธิสร้างเสริมปัญญาสาธุประเด็นนี้ครับ สาธุ

แล้วได้ข้อมูลวิธีไหนมาหรือครับ เพราะในเน็ตนี้มีมากมายหลายวิธีจนลานตาไปหมด แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นจะพูดถึงวิธีทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่วิธีแก้ไขปัญหายังไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก จึงนับว่าเป็นจุดบกพร่องที่พึงระวัง

ถามว่า คุณใช้วิธีไหนครับ หรือกำหนดลมหายใจเข้าออกพุทโธๆทั่วๆไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2008, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทางเดินเชื่อมต่อระหว่างจิตกับกายของเรา
เราไม่เคยเดินไปมาระหว่างจิตกับกาย
หญ้ามันก็ขึ้นเต็ม
พอเรารู้จักแผนที่ ที่จะเดินจากกายไปหาจิต
เราก็เริ่มเดินตามแผนที่
ตามทางมันก็เต็มไปด้วยหญ้า
เพราะเราไม่เคยเดินมาก่อน
ก็ต้องเหยียบหญ้าเพื่อเดินไปให้ถึงจิต
หญ้ามันก็ต้องล้มต้องเอนไปบ้างเพราะเราเดินลุยเข้าไป

สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นอาการของหญ้าที่ล้มที่เอนไปเท่านั้นล่ะ
มันก็ต้องมีอาการให้เห็นบ้างเป็นธรรมดา

พอเราเดินไปมาบ่อย ๆ
ก็เกิดเป็นทางเดินขึ้น เพราะหญ้าตายไป
เดินไปคราวหลังก็ไม่ต้องเหยียบหญ้าอีก
อาการก็จะหายไปเองครับ

ชำนาญแล้วเดี๋ยวรู้เองครับไม่ต้องกังวล

มันตึงก็ดูมันไปครับ
ไม่ต้องกล้วครับ

คุณมีบุญมากครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 8:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท



ปุจฉา ท่านอาจารย์มีความเก็นเกี่ยวกับวิธีฝึกปฏิบัติ (วิธีภาวนา)วิธีอื่นๆอย่างไรครับ ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะมีอาจารย์มากมายและมีแนวทางการทำสมาธิวิปัสสนาหลายแบบจนทำให้สับสน


วิสัชนา มันก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนอาจจะเข้าเมืองทางทิศเหนือ ทางทอศตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ ทางถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางภาวนาก็แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายหนึ่งสายใด เดินช้าหรือเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น ข้อสำคัญที่สุดก็คือแนวทางภาวนาที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้วก็ต้องปล่อยวาง

แนวทางภาวนาทุกรูปแบบด้วย ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ในตัวอาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

ท่านอาจจะอยากเดินทางไปเพื่อศึกษาอาจารย์ท่านอื่นอีก และลองปฏิบัติตามแนวทางอื่นบ้างก็ได้ พวกท่านบางคนก็ทำเช่นนั้น นี่เป็นความต้องการตามธรรมชาติ ท่านจะรู้ว่าแม้ได้ถามคำถามนับพันคำถามก็แล้ว และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติอื่นๆก็แล้ว ก็ไม่อาจจะนำท่านเข้าถึงสัจจธรรมได้ ในที่สุดท่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท่านจะรู้ว่าเพียงแต่หยุดและสำรวจตรวจสอบดูจิตของท่านเองเท่านั้น ท่านก็จะรู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ไม่มีประโยชน์ที่จะแสวงหาออกไปนอกตัวเอง ผลที่สุดท่านต้องหันกลับมาเผชิญหน้ากับสภาวะที่แท้จริงของตัวท่านเอง ตรงนี้แหละที่ท่านจะเข้าใจธรรมะได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
tanaphomcinta
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 127
ที่อยู่ (จังหวัด): 138 หมู่ที่ 1 ต.โนนคูณ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 36180

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 3:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เขินอาย ตามที่เคยฟังหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านว่าการทำสมาธิ ท่านบอกให้ทำใจให้สบายอย่าไปกดอย่าไปกรึงในส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้มีสติรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก ถ้ามันเผลอออกไปข้างนอก ก็ให้มีสติตามรู้ว่ามันไปไหน และอย่าพยายามดึงมันกลับแต่ให้ตามรู้เท่านั้น ท่านบอกว่าจิตรใจคนเราก็เหมือนเด็กน้อยเมื่อมันเล่นจนเหนื่อยแล้วมันจะหยุดของมันเอง ขอเพียงให้มีสติตามดูมันให้ดี (นั่งอยู่ที่บ้านแต่จิตรมันคิดไปเห็นเมืองฝรั่งโน้น) ก็ให้มีสติตามดูมันไปอย่าปรุงแต่งเพียงแต่ตามรู้เฉยๆ ท่านว่าอย่างนี้นะ เพราะเคยฟังเคยศึกษาธรรมของท่านบ่อยครั้ง และผู้เขียนเองก็เอาไปปฎิบัติดูก็พอเห็นพลบ้างตามอัตภาพ (เวลาปวดหัวเพราะเป็นโรคก็ใช้สมาธินี้แหละ) ก็ลองดูเถิดท่าน ไม่ลองไม่รู้ ไม่ดูไม่เห็น ไม่หัดไม่เป็น ทุกสิ่งอย่างเริ่มจาก 0 ทั้งนั้นแหละ แต่ถ้าเราไม่เริ่มจาก 0 เราก็จะไม่ได้อะไรเลย
ขออวยพรให้สมหวังตามความปรารถนาเทอญฯ
 

_________________
ทำบุญตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาทำบุญอุทิศหา รักษาศีลตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาเคาะโลงลุกขึ่นมารักษาศีล
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวตำแหน่ง AIMYahoo MessengerMSN Messenger
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2008, 11:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จ.ม. มาหรือ โทร 0897374513
บุญชัย คุณสินสมบัติ
บมจ. ซินเน็กซ์ ไทย ห.ญ.
38,40 ถ.โชติวิทยะกุล3
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 จะตอบอย่าง ละเอียดเข้าใจ
การเจริญวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน
ถ้าท่านยังไม่ได้อ่านหัวข้อที่ผ่านมาทั้งหมดในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) หรืออ่านแล้วแต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ขอแนะนำให้ท่านกลับไปอ่านหัวข้อเหล่านั้นให้เข้าใจเสียก่อน
เมื่อทำความเข้าใจถึงหลักการพื้นฐานมาพอสมควรแล้ว ต่อไปก็ขอแสดงแนวทางปฏิบัติ ที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของท่านทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ในการคลายความทุกข์ออกไปจากจิตใจ ตามสมควรแก่การปฏิบัติของแต่ละท่านต่อไป
ถ้าชาตินี้ยังไม่สามารถทำมรรคผลให้แจ้งได้ก็จะเป็นปัจจัยที่เรียกว่าอุปนิสสยปัจจัย ให้ชาติหน้าเกิดมาเป็นผู้มีปัญญามาก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่น่าปรารถนาเช่นกัน จะเห็นได้ว่าถ้ามีความเพียรเจริญวิปัสสนาแล้ว จะชื่อว่าสูญเปล่านั้นไม่มีเลย และอย่าได้กลัวการเจริญวิปัสสนา เพราะกลัวว่าจะไม่ได้เกิดใหม่เลย เพราะตราบใดที่ท่านยังยินดีในการเกิดอยู่ ก็ไม่มีใครสามารถขัดขวางการเกิดของท่านได้ และมรรคผลนั้นมีหลายขั้น ขั้นแรก ๆ นั้นก็ยังต้องเกิดอีกนาน และเป็นการเกิดที่มีทุกข์น้อยกว่าคนทั่วไปด้วย ความจริงแล้วการเจริญวิปัสสนาก็คือการมาดูให้เห็น และตัดสินด้วยตัวของท่านเองว่าควรจะเกิดอีกต่อไปหรือไม่ ไม่ใช่การบังคับไม่ให้เกิดอีก
การเจริญวิปัสสนาในชีวิตประจำวัน
1.) เมื่อมีเวลาว่าง ให้พยายามทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิต ตั้งแต่จำความได้ จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทบทวนไปช้า ๆ ไม่ต้องรีบร้อน และพยายามทบทวนถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้น ในขณะที่เหตุการณ์นั้น ๆ กำลังเกิดขึ้นให้ได้ เมื่อจำเหตุการณ์นั้นได้ชัดเจนดีแล้ว ก็ให้ทำใจให้เป็นกลางที่สุด ปราศจากอคติความลำเอียงใด ๆ ทำตัวเป็นผู้พิพากษาที่เที่ยงธรรมที่สุด แล้วพิจารณาเหตุการณ์นั้น ๆ ให้ลึกซึ้ง ละเอียดละออ มองในทุกแง่ทุกมุม ให้เห็นว่าเหตุการณ์นั้น ๆ ทำให้เราเป็นสุขอย่างไรบ้าง มากน้อยแค่ไหน ทำให้เราเป็นทุกข์อย่างไรบ้าง มากน้อยแค่ไหน และสุขที่ว่านั้นมีทุกข์เคลือบแฝงอยู่ด้วยหรือเปล่า หรือทุกข์ที่ว่านั้นมีสุขเคลือบแฝงอยู่ด้วยหรือเปล่า และเหตุการณ์นั้น ๆ ส่งผลถึงชีวิตในเวลาต่อมาให้เป็นสุขหรือทุกข์บ้างหรือไม่ อย่างไร
กล่าวโดยสรุปก็คือให้มองให้เห็นชัดเจนด้วยตัวเองว่า ความสุขที่ได้รับมาจากเหตุการณ์นั้น ๆ กับความทุกข์ที่ต้องเผชิญมันคุ้มกันหรือไม่ การกระทำของเราในขณะนั้น เป็นไปตามความปรารถนาของเราอย่างแท้จริง หรือว่าเราควบคุมมันไม่ได้ ความสุขความทุกข์นั้นอยู่กับเราได้นานเพียงใด
การพิจารณานั้น ในช่วงแรกก็พิจารณากว้าง ๆ โดยแบ่งช่วงพิจารณาเป็นวัยเด็ก ชีวิตการเรียน การทำงาน ความรัก การมีครอบครัว การมีลูก การทำสมาธิ ฯลฯ ( โดยเฉพาะความรัก และการมีครอบครัวนั้น ให้พิจารณาให้ลึกซึ้งทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด เพราะพระพุทธเจ้าเปรียบเทียบความสุขทางโลกว่า เหมือนการกินอ้อยจากโคนไปหาปลาย คือเริ่มต้นจะหอมหวาน แต่ยิ่งนานวันก็ยิ่งจืดชืด ดังนั้น ถ้าพิจารณาเฉพาะตอนที่หอมหวาน ก็ย่อมจะไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแท้จริง )
เมื่อพิจารณากว้าง ๆ แล้ว ก็ค่อย ๆ พิจารณารายละเอียดในแต่ละเหตุการณ์ต่อไป โดยพิจารณาเหตุการณ์ที่ประทับใจมาก ๆ ก่อน เมื่อพิจารณาได้มากพอสมควรแล้ว ก็จะเห็นได้ด้วยความรู้สึกของเราอย่างแท้จริง ว่าชีวิตนี้เป็นสุขหรือทุกข์กันแน่ มีสาระมากน้อยเพียงไหน น่าปรารถนาน่ารักน่าใคร่เพียงใด
ที่สำคัญคือต้องทำใจให้เป็นกลาง อย่าตัดสินไว้ล่วงหน้าก่อนว่าจะต้องเป็นสุขหรือทุกข์ หรือเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และต้องมองให้ลึกซึ้งทุกแง่ทุกมุม เช่น ความสำเร็จความภาคภูมิใจในอดีต ถ้าภายหลังทำไม่ได้ หรือมีใครมาพูดให้กระทบกระเทือนถึงความภาคภูมิใจอันนั้น ทำให้ต้องสูญเสียความภาคภูมิใจนั้นไป ก็อาจทำให้เราเป็นทุกข์อย่างมากมายก็ได้ อย่ามองแง่เดียว เพราะสิ่งที่มีคุณอนันต์ก็มักจะมีโทษมหันต์เช่นกัน
2.) ก่อนนอนทุกคืนควรพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดวันนี้ทั้งวัน โดยพิจารณาทำนองเดียวกันกับการพิจารณาในข้อ 1.) ( ข้อ 1. และข้อ 2. นี้อาศัยหลักการของบุพเพนิวาสานุสติญาณ ในวิชชา 3 เพียงแต่เมื่อระลึกชาติในอดีตไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาเฉพาะในชาติปัจจุบันเท่าที่จะระลึกได้เท่านั้น )
3.) ในชีวิตประจำวันก็ขอให้คอยสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ๆ ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ ถ้าเผลอไปก็ไม่เป็นไร พยายามสังเกตให้ได้มากที่สุด จนเคยชินเป็นนิสัย มีสติรู้ทันความรู้สึกตลอดเวลา
ที่สำคัญคือ การสังเกตนั้นเพื่อศึกษาธรรมชาติของร่างกายของจิตใจของเราเองว่า มีสุขมีทุกข์มากน้อยเพียงใด แปรปรวนไปได้อย่างไรบ้าง บังคับได้หรือไม่ได้ อยู่ในอำนาจหรือไม่ ไม่ใช่สังเกตเพื่อจะบังคับหรือเพื่อจะข่ม หรือจะลองบังคับมันดูก็ได้ แล้วก็จะรู้เองว่ามันอยู่ในอำนาจหรือเปล่า
*** หรืออีกนัยหนึ่งก็คือพยายามหา "เรา" ให้เจอ (คือหาว่าสิ่งที่ท่านรู้สึกว่าเป็นเรานั้นอยู่ตรงไหน หรือคืออะไร เช่น อาจจะรู้สึกว่า สมอง หรือ หัวใจ กระดูก ร่างกายทั้งหมด จิต ความรู้สึก ความคิด ความจำ ฯลฯ คือเรา หรือ เป็นเรา) เมื่อเจอ "เรา" แล้ว ก็คอยดู คอยสังเกต "เรา" นั้นไปเรื่อยๆ ทั้งเวลาที่ทำกรรมฐาน และเวลาที่ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน จนกระทั่งหลับไปในที่สุด คือรู้ตัวเมื่อไหร่ก็สังเกตเมื่อนั้น แล้วสิ่งที่ท่านคิดว่าคือ "เรา" นั้น ก็จะแสดงธรรมชาติที่แท้จริงให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ
แล้วท่านก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่าสิ่งนั้นสมควรจะถูกเรียกว่า "เรา" หรือ "ของๆ เรา" หรือ "ตัวตนของเรา" หรือไม่ สิ่งนั้นควรค่าแก่การยึดมั่นถือมั่นหรือไม่
เมื่อสังเกตมากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว บางครั้ง "เรา" ก็อาจจะย้ายจุดไปอยู่ที่อื่น (เช่น เดิมรู้สึกว่าจิตคือเรา ต่อมากลับรู้สึกว่าความจำต่างหากที่เป็นเรา ต่อมาก็อาจย้ายไปที่จุดอื่นอีก ฯลฯ) ถ้าความรู้สึกว่าเป็น "เรา" ย้ายไปอยู่ที่จุดอื่น ก็ย้ายจุดในการดู ในการสังเกต ตาม "เรา" นั้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหา "เรา" ไม่เจอในที่สุด
ลองคิดดูให้ดีเถิดว่า สิ่งที่ไม่เที่ยง แปรปรวนไปตลอดเวลา นำทุกข์มาให้สารพัดอย่าง ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามที่ใจปรารถนา เอาแน่อะไรไม่ได้ คาดหวังอะไรไม่ได้เลย ฯลฯ นั้นสมควรหรือที่จะเรียกว่าเป็น "เรา" หรือ "ของๆ เรา" หรือ "ตัวตนของเรา"
ถ้าจะถือว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็น "เรา" แล้ว อย่างน้อยสิ่งนั้นก็ควรจะอยู่ในอำนาจ และเป็นไปตามที่ใจปรารถนาได้ตลอดเวลาไม่ใช่หรือ ไม่ใช่แค่บางครั้งก็บังเอิญได้เหตุปัจจัยที่เหมาะสมก็เป็นอย่างที่ต้องการ แต่ถ้าไม่บังเอิญอย่างนั้นก็กลับกลายเป็นอย่างอื่น เช่น เมื่อมีเหตุให้สุขก็สุข มีเหตุให้ทุกข์ก็ทุกข์ มีเหตุให้โกรธก็โกรธ มีเหตุให้ดีใจก็ดีใจ มีเหตุให้เสียใจก็เสียใจ มีเหตุให้ป่วยก็ป่วย ฯลฯ ทั้งที่ไม่ได้อยากจะให้ทุกข์ ให้โกรธ ให้เสียใจ ให้เจ็บป่วย ฯลฯ เลยสักนิดเดียว
4.) ในเวลาทำกรรมฐาน ขณะทำสมาธิก็คอยสังเกตจิต หรือสังเกต "เรา" เป็นระยะๆ ทำนองเดียวกับข้อ 3.) ซึ่งจะเป็นการเจริญสมถะควบคู่กับวิปัสสนา และเมื่อคิดว่าทำสมาธิมากพอแล้ว ก็เปลี่ยนจุดยึดของจิตจากจุดที่ยึดไว้ในขณะทำสมาธิ มาเป็นการเพ่งจิตไปสำรวจตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย แล้วพิจารณาจุดนั้นให้ละเอียด ว่าจุดนั้น ๆ นำความสุขอะไรมาให้เราบ้าง และจุดเดียวกันนั้นนำความทุกข์อะไรมาให้เราบ้าง ไม่ว่าจะเป็นในขณะปัจจุบันหรือในอดีต
ใหม่ ๆ ก็แบ่งเป็นรูปกับนามและพิจารณาในปัจจุบันก่อน จากนั้นจึงพิจารณาละเอียดขึ้นเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วพิจารณาละเอียดขึ้นอีกเป็นผม ตา ปาก จมูก แขน ขา มือ เล็บ เท้า กระเพาะ ลำไส้ ฯลฯ ต่อไปเรื่อย ๆ ตามความชำนาญและความรู้แจ้งที่เกิดขึ้น
เมื่อพิจารณาปัจจุบันจนชำนาญหรือชัดเจนแล้ว ก็พิจารณาถึงอดีตต่อไป ว่าอวัยวะนั้น ๆ เคยนำสุขนำทุกข์อะไรมาให้บ้าง ยึดมั่นสิ่งใดมากก็พิจารณาสิ่งนั้นก่อน พิจารณาอดีตบ้าง ปัจจุบันบ้างจนเห็นแจ้งทั้งในอดีตและปัจจุบัน ลองพิจารณาให้ดีเถิดว่ารูปนี้ นามนี้ อวัยวะเหล่านี้ มีสิ่งใดที่ไม่นำทุกข์มาให้เราบ้าง มีสิ่งใดที่อยู่ในอำนาจบ้าง มีสิ่งใดที่คงทนถาวร ไม่แปรปรวนไปตามเหตุตามปัจจัยบ้าง มีสิ่งใดที่ควรค่าแก่การยึดมั่นถือมั่นบ้าง สิ่งเหล่านี้ควรหรือที่จะคิดว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา
5.) เมื่อเห็นทุกข์เห็นโทษของสิ่งใดแล้ว ความยินดีรักใคร่ ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น ๆ ก็จะลดลงไปเอง นั่นคือกามฉันทะก็จะมารบกวนเราน้อยลงไปเรื่อย ๆ
- เมือเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่อยู่ในอำนาจของใคร ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย หรือเมื่อความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้นลดลงไปแล้ว ความขัดเคืองใจเพราะสิ่งนั้น ๆ และความยินดีรักใคร่ในสิ่งนั้น ๆ ก็จะลดลงไปเอง นั่นคือ ปฏิฆะ และกามฉันทะ ก็จะมารบกวนเราน้อยลงไปเรื่อย ๆ
- เมื่อเห็นสิ่งต่าง ๆ ด้วยความรู้แจ้งของเราเองอย่างแท้จริงแล้ว ความเคลือบแคลงลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ย่อมจะหมดไป นั่นคือวิจิกิจฉาก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ
ถ้ามีความเพียรทำตามวิธีการเหล่านี้เรื่อยไปไม่ท้อถอยแล้ว ไม่ช้าก็จะเข้าถึงแก่นของศาสนาได้เอง และจะได้พบกับความสุขที่ไม่อาจหาได้จากทางโลก ไม่อาจหาได้จากสมาธิ ไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน เป็นความสุขที่เกิดจากการที่จิตคลายความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงลงไป เป็นความสุขที่ไม่มีทุกข์เจือปน ไม่ต้องอาศัยเครื่องล่อใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นความสุขที่เกิดจากการที่จิตไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ สามารถสงบอยู่ได้แม้ท่ามกลางพายุร้าย
หมายเหตุ ในการเจริญวิปัสสนานั้น ข้อที่สำคัญและทำให้ปัญญาเกิดได้มากที่สุด
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ย. 2008, 11:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑. ทำให้บรรลุโสดาบันได้ภายใน ๓-๔ เดือน (..เท่านั้น)

โสดาบัน แปลว่า เข้าถึงกระแสที่จะไหลไปสู่ความไม่เกิดอีกภายใน ๗ ชาติเป็นอย่างยิ่ง(1) (เมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย และไม่ ต้องเป็นทุกข์อีกแล้ว) เป็นมรรคขั้นต้นของมรรคทั้ง ๔ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค) ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นเป้าหมายสำคัญที่สัตว์ทั้งมวล ผู้รักสุขเกลียดทุกข์และต้องการ สุขแท้สุขถาวร ควร/ต้องไปให้ถึงให้ได้ภายในชาตินี้ ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานให้วิปัสสนาญาณเกิดไปตามลำดับจนครบ ๑๖ ขั้น ก็จะสำเร็จเป็นพระโสดาบันโดยสมบูรณ์(2)

๒. เมื่อบรรลุโสดาบันแล้ว ถ้าหากต้องการมีฤทธิ์ มีเดช ก็สามารถฝึกสมถกรรมฐานต่อได้เลย จะสำเร็จได้ในระยะเวลาไม่นาน ในขณะที่การปฏิบัติสมถล้วนๆ ต้องใช้เวลาปฏิบัติกันถึง ๒-๓ ปี หรือนานกว่านั้น จึงจะได้ผล

๓. เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาถึงสังขารุเปกขาญาณ (ญาณที่ ๑๑) จนแก่กล้าแล้ว ทำให้โรคบางอย่างหายได้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ต่อมไทรอย โรคเกี่ยวกับลม เส้นเอ็นและกระดูก (..นี้เป็นตัวอย่างจริงที่พบเห็นจากผู้ร่วมปฏิบัติ เป็นต้น)

๔. ถ้ามีเหตุให้ปฏิบัติไม่สำเร็จ ไปติดอยู่เพียงแค่ญาณ ๑๑ ก็ไม่เสียเวลาเปล่า เพราะจะเกิดปัญญาญาณ ที่จะใช้ในการแก้ปัญหาทุกอย่างในโลกได้ ไม่ว่าปัญหานั้นจะเป็นปัญหาทางโลกหรือทางธรรม โดยเฉพาะปัญหาครอบครัวระหว่างสามี ภรรยา ลูก หลาน ญาติพี่น้อง (คิดค้นวิธีเอายานไวกิ้งลงบนดาวอังคารได้ ก็ด้วยการนั่งสมาธินี่แหละ)

๕. ล้างอาถรรพ์ มนต์ดำได้ ไม่ว่าจะถูกของ หรือโดนยาพิษ ยาสั่งมา เมื่อปฏิบัติจนถึงสังขารุเปกขาญาณแล้ว อาถรรพ์จะหายไปจนเกลี้ยง (เรื่องนี้ขอท้าให้พิสูจน์)
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง