Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 โลกทีปนี ต่อ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ผ้าขี้ริ้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 ก.ย. 2005
ตอบ: 101

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2008, 9:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า ติรัจฉานภูมิ นี้ ยังหมายความอีกอย่างหนึ่งก็ได้ คือ หมายความว่า
โลกของสัตว์ผู้ไปโดยขวาง จริงอยู สัตว์ที่ไปเกิดในภูมินี้ เวลาจะไปไหนมาไหน
ต้องไปตามขวางหรือตามยาว ต้องคว่ำอกไป พึงดูเดรัจฉานที่อยู่ข้างๆ ตัวเรา
เวลานี้ เช่น หมู หมา เป็ด ไก่ เขาจะไปไหนแต่ละที ต้องไปตามขวางลำตัว
คว่ำอกไปทั้งนั้น ผิดกับมนุษย์เราซึ่งไปตามตรง ศีรษะเป็นอวัยวะเบื้องบนตั้งอยู่
สูงสุด ไม่ใช่มีศีรษะขวางๆ อย่างศีรษะเดรัจฉาน
นอกจากร่างกายของเขาเหล่านั้น จะมีสภาวัไปอย่างขวาง ๆ แล้ว ในส่วน
จิตของเขาก็ยังขวางอีกด้วย คือ ขวางจากมรรคผลนิพพาน ลัตว์ที่เกิดในภูมิน
ซึ่งได้ชือว่าเป็นเดรัจฉานแล้ว ถึงจะพยายามทำความดีสักเท่าใด จะมีจิตใจ
ประเสริฐเลิศล้นสักแค่ไหน มีวาสนาบารมีมาเพียงใด การที่จะได้มรรคผล
นิพพานในชาติที่เป็นเดรัจฉานนั้น ย่อมไม่มีเลยเป็นอันขาด เพราะเป็นสัตว์
ชาติ อาภัพ จะได้อย่างมากก็เพียงแค่สวรรค์สมบิตเท่านั้น ฉะนั้น ท่านจึงเรียก
ภูมินี้ว่า ติรัจฉาภูมิ = โลกของสัตว์ผู ้ไปโดยขวาง

ติรัจฉาน ๔
เมื่อกล่าวโดยประเภท สัตว์เดรัจฉานนั้นมี ๔ ประเภทด้วยกัน คือ
๑. อปทติรัจฉาน ประเภทที่ไม่มีเท้า ไม่มีขา ได้แก่ งู ปลา ไส้เดือน
เหล่านี้ เป็นต้น
๒. ทวิปทติรัจฉาน ประเภทที่มีขา ๒ ขา ได้ แก่ ไก่ เป็ด นกตะกรุม แร้ง
กา เหล่านี้ เป็นต้น
๓. จตุปทติรัจฉาน ประเภทที่มีขา ๔ ขา ได้แก่ หมี หมา วัว ควาย ช้าง
ม้าเหล่านี้ เป็นต้น
๔. พหุปทติรัจฉาน ประเภทที่มีขามากกว่า ๔ ขาขึ้นไป ได้แก่ กิ้งกือ
ตะเข็บ ตะขาบ เหล่านี้ เป็นต้น

ติรัจฉานชีวิต
เมื่อกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ สัตว์ที่ไปเกิดในติรัจฉาภูมินี้ ย่อมมีความ
เป็นอยู่เช่นที่เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้แล้วโดยมาก เพราะว่าพวกสัตว์เดรัจฉานเป็น
สัตว์ที่มีรูปร่างปรากฏตัวตน คนเห็นได้ ไม่เหมือนอบายสัตว์ที่มีกายไม่ปรากฏ
มนุษย์ธรรมดาเห็นไม่ได้ เช่น เปรต อสุรกาย เป็นต้น ความเป็นอยู่ของสัตว์
เดรัจฉาน ที่ควรทราบโดยสังเขปในที่นี้ก็มีดังนี้
๑. สถานที่ สัตว์ที่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้ว ย่อมไม่อยู่เป็นที่ เพราะ
ไม่มีที่อยู่ของตนโดยเฉพาะ ไม่เหมือนผู้ไปเกิดในนรก ในนรกมีสถานที่อยู่เป็น
ขุมๆ สัตว์ไปตกนรกขุมไหน ก็ต้องอยู่เสวยผลกรรมชั่วของตนในนรกขุมนั้น
ครั้นพ้นกรรมก็ตายจากนรกนั้น ถ้าบาปยังมีก็ไปเกิดในอื่นต่อไป หากหมด
กรรมก็ไปเกิดในภูมิอื่นตามยถากรรม แต่สัตว์ที่เกิดในติรัจฉาภูมินี่ไม่ใช่อย่าง
นั้น คือ ไม่มีที่อยู่ของตนโดยเฉพาะ มีที่อยู่ไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง เที่ยวอยู่ทั่วๆ
ไปในพื้นปฐพีมีสัตว์เดรัจฉานอยู่มากมาย เช่นที่เห็นกันอยู่แล้ว
๒. ความเป็นอยู่ สัตว์ที่ไปเกิดในติรัจฉาภูมิ มีความเป็นอยู่ลำบากกว่า
มนุษย์มากมายนัก เพราะเป็นสัตว์มีภัยแห่งชีวิตรอบด้าน ชีวิตจะอยู่รอดไปแต่
ละวัน ก็แสนจะลำบากยากเย็น เป็นชีวิตที่ตกต่ำแสนอาภัพ ได้รับแต่ความไม่
สบายรอบด้าน ต้องแสวงหาอาหารกินตลอดเวลา กว่าจะได้ก็ยากนักหนา พึงดู
หมาหมูที่อยู่ใกล้ๆ เป็นตัวอย่าง ต้องระวังภัยอย่เนืองนิตย์ เกิดความสะดุ้ง
จิตไม่มีหยุด ไหนจะภัยจากมนุษย์คอยตีฆ่า ไหนจะภั1ยจากสัตว์ใหญู่กว่าคอย
ประหาร ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นสัตว์เดรัจฉานอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะสิ้นกรรม
ที่ทำไว้

บุรพกรรม
ลัตว์ทั้งหลายทำกรรมอะไรไว้ จึงต้องมาถือกำเนิดเกิดในติรัจฉานภูมิ
เมื่อกล่าวตามสภาพธรรม โดยมากนั้น สัตว์ที่ต้องมาเกิดเป็นเดรัจฉาน ก็เพราะ
อำนาจเศษบาปอกุศลที่ตนกระทำไว้ให้ผล เช่น คนผู้หนึงทำบาปหนัก ต้องไป
ตกนรกสิ้นกาลช้านาน ครั้นพ้นจากนรกแล้ว เศษบาปยังไม่สิ้น ก็ต้องไปเกิด
เป็นเปรตอสุรกาย ทีนี้ แม้ว่าเขาผู้นั้นไปเกิดเป็นเปรตอสุรกายแล้ว แต่ว่า
บาปยังเหลืออยู่ ยังไม่หมดสิ้น ก็ต้องเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานในติรัจฉานภูมินี้
นี่ประเภทหนึ่ง
อีกประเภทหนึ่งนั้ น เมือเป็นมนุษย์ก็เป็นคนธรรมดาสามัญเราดีๆ นี่เอง
ไม่ได้ก่อกรรมทำเข็ญชั่วช้าอย่างไร แต่ว่าเวลาจวนจะตาย จิตประกอบด้วย
โมหะ ความหลงผิดมืดมนมัวเมาเขลาความคิด ขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีสรณะ
ที่พึ่งจะยึดถือให้มั่นคง อย่างนี้ครั้นขาดใจลงในขณะนั น ก็ต้องไป กิดในกำเนิด
เดรัจฉาน เช่น นิทานเรื่องจริงที่ท่านพรรณนาไว้ ดังต่อไปนี้

พญาเอรกปัตนาคราช
พญานาคตนนี้ เมื่อชาติก่อนเขาเป็นมนุษย์ ได้มีโอกาลประเสริฐสุด
บวชในพระพุทธศาลนา ในพุทธสมัยแห่งสมเด็จพระบรมทศพลทรงพระนามว่า
สมเด็จพระกัสสปะสัมมาลัมพุทธเจ้า เป็นภิกษุหนุ่มบำเพ็ญสมณธรรมจนชรา
นานถึงสองหมื่นปี วันหนึ่งลงนาวาจะข้ามนทีไปสู่ฝั่งอื่น เมื่อจะลงนาวาได้
ยื่นมือไปจับใบตะไคร้นำ ที่ริมฝั่ง ครั้นนาวาแล่นไปก็เผลอมิได้ ปล่อย ใบตะไคร้
น้ำขาดติดมือไป ครั้นถึงฝั่งที่ตนปรารถนาแล้วก็เลยลืม มิได้แสดงอาบัติ
ตั้งหน้าไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าต่อไป
ครั้นล่วงอายุขัย เมื่อใกล้จะถึงแก่มรณภาพ นอนอยู่บนเตียงเป็นที่ตาย
เกิดนึกขึ้นได้ จะหาภิกษุองค์ใดที่จะแสดงอาบัติด้วยก็มิได้มี ภิกษุนั้นให้เกิด
ความเดือดร้อนด้วยโทษผิดพุทธบัญญัติอันเล็กน้อยนี้ ครั้นสิ้นชีวิตก็ไปเกิดใน
กำเนิดเดรัจฉาน เป็นพญูานาคราชใหญ่ ภายหลังได้แปลงเพศเป็นมาณพมาเฝ้า
สมเด็จพระพุทธเจ้าสมณโคดมบรมครูของเราทั้งหลาย ได้ฟังธรรมแล้ว
ก็หาได้บรรลุมรรคผลคุณวิเศษแต่ประการใดไม่ เพราะว่าเป็นสัตว์เดรัจฉาน
การที่คนเราตัองไปเกิดในอบายภูมิ คือ เป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะโมหะ
เป็นเหตุนั้นมีประมาณมากมาย เพราะคนทั้งหลายมีความประมาท ขาดปัญญา
ที่รู้ จริงเห็นจริง ปฏิเสธสิ่งที่ตนไม่รู้ ไม่เห็นว่าเป็นของไม่มี ทั้งๆ ที่เป็นปุถุชนคน
สามัญ มีปัญญาสั้นเล็กน้อยหนักหนา แต่ทิฐิมานะก็พาให้ถือเอาว่า "ตูข้าเป็น
คนมีความคิดดี ตูเป็นคนรู้ เหตุผล ความคิดของตูนี่แหละถูก ของคนอื่นใช้ไม่ได้
ไม่น่าเชื่อ" ดังนี้เป็นต้น เลยไม่ประกอบบุญกุศล เพราะตนไม่เห็นตัวบุญ
ตัวบาปเป็นเช่นไร อยู่ไปวันหนึ่งๆ โดยไม่คำนึงถึงโลกหน้าว่าจะเป็นอย่างไร
เพราะตนไม่เห็น จึงไม่เกิดศรัทธาเชื่อถือ ถึงจะมีศรัทธาอยู่บ้าง ก็เป็นศรัทธา
อันมีลักษณาการประดุจศีรษะเต่า คือ ผลุบๆ โผล่ๆ เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง อย่างนี้
พอใกล้จะขาดใจตายลงไป จิตก็จะหลงใหลเพราะไม่มีหลักยึด คิดเพริดไปด้วย
อำนาจโมหะความหลงงมงาย ตายไปแล้วก็ไม่แคล้วไปเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน
เช่น วัสสการวานรที่น่าสงสาร โดยมีเรื่องปรากฏในพระคัมภีร์ทางพระพุทธ
ศาสนา ซึ่งจะเก็บความนำมาเล่าไว้ ดังต่อไปนี้

วัสสการวานร
สมัยที่ลมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังทรงประกาศศาสนาอยู่ในพระนคร
ราชคฤห์นั้น มีพราหมณ์เฒ่าเจ้าปัญญูาอยู่คนหนึ่ง ปรากฏนามว่า ท่าน
วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นใหญ่ พราหมณ์เฒ่าผู้นี้ตะแกเป็นคนมีความรู้ เป็น
นักปราชญ์ราชบัณฑิต มีผู้คนนับถือมาก ขนาดพระเจ้าแผ่นดินยังทรงยกย่อง
เคารพบูชา ไปไหนมาไหนมักมีศิษย์และบริวารติดตามมากมาย
วันหนึ่ง พราหมณ์นั้นเห็นพระมหากัจจายนะมหาเถรเจ้าองค์อรหันต์กำลัง
ลงมาจากเขาคิชกูฏ จึงกล่าวคำหยาบประมาทหมิ่นเล่น ด้วยเห็นเป็นสนุกว่า
"บรรพชิดรูปนี้ มีกิริยาเหมือนวานร" สมเด็จพระชินวรสัมมาลัมพุทธเจ้าพระผู้
ทรงสัพพัญญุตญาณ ครั้นทรงทราบเหตุการณ์เช่นนั้น จึงทรงมีพระพุทธฎีกา
ตรัสว่า
"วัสสการพราหมณ์ผู้เฒ่าชรา กล่าววาจาประมาทหมิ่น
พระมหากัจจายนะองค์อรหันต์ ครั้นแตกกายทำลายเบฌัจ-
ขันธ์แล้ว จักบังเกิดเป็นวานร มีหางเหมือนโค อยู่ในเวฬุวัน
ป่าไม้ไผ่ใหญ่ในประเทศนี้"
พราหมณ์เฒ่าพอได้ข่าวว่าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพุทธฎีกา
พยากรณ์อนาคตของตนเช่นนั้น ก็ให้มีอันลังเลลงสัย ใจหนึ่งคิดไม่อยากจะเชื่อ
เพราะมีอหังการ์ถือว่าตัวสิเป็นผู้ใหญ่ มีความรู้มากมาย แต่อีกใจหนึ่งให้นึก
พรั่นประหวั่นจิต เพราะมาคิดเข้าใจแน่แท้แก่ตนว่า "พระสมณโคดมผู้นี้มีวาจา
ไม่เป็นสอง ลองได้ตรัสอะไรออกมา สิ่งนั้นก็เป็นจริง จักได้ผิดไปแต่สักครั้ง
ไม่เคยมีเลย"
เมื่อมาคิดได้ดังนี้ พราหมณ์เฒ่าผู้มีความสุขุมรอบคอบเป็นนิสัย ก็ลั่งให้
ปลูกต้นไม้มีผลต่างๆ ไว้ในเวฬุวันป่าไผ่เป็นอันมาก แล้วจัดแจงแต่งตั้งบุรุษ
ใช้ของตนให้เฝ้าพิทักษ์รักษาป่าไม้ นั้นเป็นอันดี ด้วยความคิดว่า ผิว์อาตมาตาย
แล้ว มาเกิดเป็นลิงในป่านี จริงดั่งพระสมณโคดมว่า ก็จักได้อาศัยพฤกษาแต่
บรรดามีผลที่ปลูกไว้นี่เคี้ยวกินเป็นอาหาร
ต่อมาไม่นาน ตะแกก็ถึงแก่กาลกิริยาด้วยโมหจิตอันเลือนหลง ตรงมาถือ
กำเนิดในครรภ์วานร พอออกจากอุทรก็มีหางเหมือนหางโค เติบโตอยู่ใน
เวฬุวันป่าไมัไผ่ใหญ่ถูต้องตามพระพุทธฎีกา ถ้ามีผู้รู้ประวัตคิวามเป็นมาร้อง
เรียกชื่อวานรนั้นว่า "วัสสการๆ" วานรนั้นก็จะเข้ามายืนอยู่ใกล้ ๆ ไม่เกรงกลัว
เหมือนกับจะรู้ภาษาคน
ผู้ที่มิได้ ประกอบกุศลกรรมทำความดีไว้ ปล่อยชีวิตอันมีค่าใหัล่วงเลยไป
โดยเปล่าประโยชน์ ไม่พยายามทำชีวิตของตนใหัเป็นแก่นสาร ถือเอาความ
พอใจแห่งตนเป็นประมาณ เป็นคนพาลผลาญโอกาสอันประเลริฐสุด ที่มีโชคได้
เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่คิดหน้าคิดหลัง มัวแต่คลั่งในเรื่องสำมะเลเทเมา ทำตน
ให้เปล่าจากที่พึ่ง ไม่คำนึงถึงบุญถึงบาป ครั้นตายแล้วจะไปเกิดเป็นห่าน เป็น
นกพิราบ อันเป็นภูมิของเดรัจฉานลัตว์ ซึ่งมิรู้ธรรมะ มิรู้บุญบาป
ผู้ใดหมกมุ่นอยู่แต่อบายมุข มิฉุกคิดที่จะบำเพ็ญกุศล อันเป็นนาถะที่พึ่ง
ของตนในภายหน้า ทุกวันเวลาก็ตั้งหน้าแต่จะเล่นการพนันขันต่อโดยคิดว่า
ตนมิได้ฉ้อโกง หรือตีด่าว่าใครไม่เป็นบาป ปรารถนาได้ลาภคล่องๆ จากการ
พนัน ลุ่มหลงจนติดเป็นนิสัย คนเหล่านี้ ถ้าไม่มีกุศลมาชักจูงในขณะจะตาย
เพราะใจหลง จึงต้องลงไปเกิดในกำเนิดเดรัจฉานโง่ เป็นตัวหนอน ไส้เดือน
และกิ้งกือ เป็นต้น
ผู้ใดมีจิตประกอบด้วยอกุศลธรรม คือ มีปกติมักอิจฉาริษยาอยู่เนืองนิตย์
ไม่คิดถึงเหตุผลเพราะความเขลา และใจของเขามีโลภะเข้ามาปะปน เป็นคน
โลภมากไม่รู้ประมาณ เป็นพาลไม่สร้างกุศลอะไรไว้ ครั้นตายไปต้องเกิดเป็นเสือ
เป็นหมี เป็นเม่นและเป็นสัตว์ที่ดุร้ายนานาชนิด เพราะอกุศลชักพาไป
ผู้ใดมีความเย่อหยิ่งจองหองพองขน เพราะถือว่าตนเป็นใหญ่ เป็นคนมี
ความรู้ ใครสู้ตนไม่ได้ ถือเอาแต่ความคิดของตนเป็นประมาณ อาจหาญราวกะ
เป็นศาสดา แต่ไม่นำพาในการสร้างกุศล ครั้นวายชนม์ก็จะไปเกิดเป็นลาเป็น
หมา หรือเป็นจระเข้สัตว์เดรัจฉาน ไม่มีหวังได้นิพพานมรรคผล ดุจเช่นอุบาสก
คนหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า มหาวาจกอุบาสก โดยมีเรื่องเล่าไว้ในพระคัมภีร์ดังต่อไปนี้

มหาวาจกอุบาสก
อดีตกาลนานมาแล้ว ยังมีอุบาสกผู้หนึ่งนามว่า มหาวาจกอุบาสก เขาเป็น
คนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง อุตส่าห์บำเพ็ญูทานรักษาศีลเป็นประจำ
เฝ้าเรียนธรรมฟังธรรม จนเกิดมีปัญญาแตกฉานในทางศาสนา เรียกไดัว่า
เขาเป็นคนชอบธรรมะธัมโม มีปกติวางโตคุยเขื่องฝอยเฟื่องแต่เรื่องธรรมะ
วันหนึ่งตะแกเกิดความคิดที่ดีเยี่ยมขึ้นมาว่า การที่จะได้ประโยชน์อันสูงสุดจาก
พระพุทธศาสนานั้น จำต้องบำเพ็ญภาวนา จึงจะได้มรรคผลนิพพาน ครั้นคิด
ดังนี้ แล้ว ตะแกก็เริ่มตั้งหน้าตั้งตาบำเพ็ญภาวนาตามที่ตนเรียนรู้มาเพียร
พยายามบำเพ็ญอยู่นานนักหนานับได้หลายปี จะได้บรรลุมรรคผลก็หาไม่
แต่ก็ไม่ละความอุตส่าห์พยายาม เพราะแกมารู้ความจริงด้วยตนเป็นผู้คงแก่
เรียนว่า "ตราบใด ที่บุคคลยังไม่บรรลุมรรคผล ตราบนั้นก็ยังต้องท่องเที่ยวใน
วัฏสงสาร บางทีอาจพลั้งพลาดไปเกิดในอบายภูมิ คือ เป็นสัตว์นรก เปรต
อสุรกาย และเป็นเดรัจฉานก็ได้" อบายภูมิมาเตือนใจให้หวาดกลัวอยู่เช่นนี้
แกจึงไม่ละความพยายาม แต่จะพยายามเท่าใดก็หาได้บรรลุผลไม่ เพราะขาด
วาสนาบารมี และขาดกัลยาณมิตรอาจารย์ผู้บอกกัมมัฏฐานภาวนาที่ดี
ในที่สุด หลังจากบำเพ็ญูภาวนามาตั้งแต่หนุ่มจนแก่ เป็นเวลา ๕๐ ปี แต่
ไม่ไดับรรลุอะไร ให้เหน็ดเหนื่อยนักหนา เบื่อระอาเป็นที่ลุด อกุศลจิตก็ผุดขึ้น
มาในมโนทวาร ทำใหัเกิดความคิดวิปริตพาลพาโลเปะปะไปว่า
"ศาสนาพระพุทธเจ้าไม่ได้ความอะไร! เป็นแต่อุบายสอนคนให้ละชั่ว
ประพฤติดี เพื่อคนทั้งหลายมันจะได้ไม่เบียดเบียนกัน โลกจะได้อยู่อย่างสงบ
สุข ก็เท่านั้นเอง นรกสวรรค์วัฏสงสารมีที่ไหนกัน ถึงมีศาสนานี้ก็ไม่เป็น
นิยยานิกธรรม คือ นำสัตว์ออกจากวัฏสงสารไม่ได้ ดูแต่อาตมาซิ... ฮึ! บำเพ็ญ
ภาวนามาตั้งนานด้วยความเหนื่อยยาก นับเป็นสิบๆ ปี ก็ไม่เห็นได้อะไร ถ้า
มรรคผลมีจริง ป่านนี้ก็คงได้มรรคผลเขัาบ้างแล้ว คงไม่มีหรอก เรื่องนรก
สวรรค์ มรรคผลนิพพาน มันเป็นเพียงอุบายอันแสนฉลาดของพระพุทธเจัา
ท่าน สำหรับสอน คนโบราณสมัยก่อนซึ่งยังโง่เง่าอยู่ต่างหาก เราก็หลงเชื่อถือ
ให้เป็นบ้าไปได้ โธ่เอ๋ย! กูหนอกู โง่เสียตั้งนาน"
ครั้นตะแกเกิดอกุศลจิต คิดวิปริตไปตามอารมณ์ไม่รู้ เรื่องเช่นนี้ แล้ว ก็เลิก
จากการบำเพ็ญภาวนา ไม่ทำการกุศลสิ่งใดทั้งสิ้น เพราะไม่เชื่อถือหมดศรัทธา
ในไม่ช้าก็ถึงแก่กาลกิริยาดัวยโมหจิตไม่มีหลักที่พึ่ง จึงต้องไปเกิดในกำเนิด
เดรัจฉานเป็นจระเข้ใหญ่ในบึงแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ริมมรรคาใกล้ อรัญราวป่า มี
สรีระร่างน่าเกลียดน่าชัง ยับยั้งอยู่อาศัยที่บึงใหญ่นานนักหนา ต่อไปภายหน้า
จะเกิศเป็นอะไรอีกนั้น แม้แต่ตัวแกก็สุดวิสัยที่จะรู้!

สรุปดิรัจฉานภูมิ
เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ พอที่จะสรุปได้ว่า สัตว์ทั้งหลายที่ทำบาปกรรมไว้
นอกจากจะตัองไปชดใช้กรรมทนทุกขเวทนาอยู่ในนรกเปรตอสุรกายแล้ว
ยังต้องไปใช้กรรมในกำเนิดเดรัจฉานได้อีก สุดแต่อำนาจอกุศลกรรมจะนำพาไป
ก็ผู้ที่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานนี้ ย่อมมีโอกาสน้อยนักหนา ที่จักกลับมาเกิดเป็น
มนุษย์ได้อีก ถ้าหากกุศลผลบุญูแต่ปางก่อนของตนไม่มี! ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ก็เพราะว่า การเป็นสัตว์เดรัจฉานนั้นมีโอกาสทำบาปได้ ง่ายกว่ามนุษย์มากนัก
เมื่อทำบาปเพิ่มขึ้นแล้วจักมีโอกาลกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ซึ่งสูงกว่าอบายภูมิ
ได้อย่างไรเล่า ในเรื่องนี้ พึงทราบตัวอย่างเพื่อเข าใจง่าย ดังนี้
สมมติว่า มีคนผู้หนึ่งเขามีความประมาทพลั้งพลาดตายไปเกิดเป็นเสือ
ธรรมชาติเสือก็ย่อมจะทราบอยู่แล้วว่าเป็นสัตว์มากด้วยโทสะ คอยคิดจะ
ประหารชีวิตผู้อื่นเคี้ยวกินเป็นอาหาร กว่าเสือตัวนั้นจะตายก็ต้องทำปาณาติ
บาตฆ่าสัตว์อื่นเลี้ยงชีวิตมากมายจนนับไม่ถ้วน ครั้นดับจิตตายลงไป เสือตัวนั้น
ก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกในนิรยภูมิ เพราะว่าโทษของปาณาติบาตเป็นเช่นนั้น
ต้องเป็นสัตว์นรกอยู่ตลอดกาลนาน สุดที่จักนับประมาณได้ หากว่าไม่ เป็นเช่น
นั้น สมมติว่า คนผู้ หนึ่งตายจากมนุษย์ไปเกิดเป็นเนื้อเก้งเนื้อทราย ตลอดชีวิตก็
บริโภคแต่ใบไม้ใบหญ้าเป็นอาหาร ไม่ได้ประกอบการชั่วเลย แต่ว่าบังเอิญ
เคราะห์ร้าย ถูกนายพรานยิงเอาให้ไดัรับความเจ็บปวดนักหนา เกิดทุกขเวทนา
เป็นล้นพ้น จิตของตนก็จะเกิดโทสะ ไหนจะโกรธเคืองผูกใจเจ็บคนที่ยิงตน
ใหนจะโกรธเคืองตนเองด้วยทุกขเวทนาครอบงำ เพราะตามธรรมดาผู้ที่ถูก
ทุกขเวทนาครอบงำมากๆ ถ าไม่มีหลักของใจแล้ว จิตย่อมจะซัดส่ายคล้ายเป็น
บ้า เกิดโทสะขึ้นมาโดยหาเหตุผลมิได้ เมื่อโทสะเกิดขึ้นในขณะนี้ก็หมายความว่า
จิตของเขาเศร้าหมองแล้วเพราะโทสะครอบงำ เมื่อจิตเศร้าหมองอย่างนี้ แล้วจะ
ไปเกิดในสวรรค์วิมาน หรือมาเกิดเป็นมนุษย์ในสุคติภูมิได้ อย่างไร เพราะมี
พระบาลีบ่งระบุไว้ตายตัวว่า จิตเตฺ สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงขา เมื่อจิต
เศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นที่หวังได้ ! ด้วยเหตุนี้ เขาก็ต้องไปเกิดโน่น สถานที่
ทุคติอบายภูมิโน่น คือ ไปเกิดเป็นสัตว์นรกเปรตอสุรกาย หรืออย่างน้อยก็ใน
กำเนิดสัตว์เดรัจฉานอย่างเก่าอีกนั่นเอง
เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้ ก็พึงพิจารณาเถิดว่า สัตว์ที่โชคร้ายพลาดพลั้ง
ไปเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน หากไม่มีกุศลกรรมความดีที่ตนเคยสร้างไว้ก่อนมา
ช่วยอุปถัมภ์ค้ำจุนแล้ว ก็เป็นการยากแสนยากที่จะยกตนให้พ้นจากอบายภูมิไดั
ฉะนั้น จึงไม่ควรประมาท จงหมั่นประกอบกุศลกิจ เพื่อผดุงชีวิตตนไม่ให้หล่น
ไปในกำเนิดเดรัจฉาน
พรรณนาในติรัจฉานภูมิ เห็นว่าสมควรที่จะยุติได้แล้ว จึงขอยุติลง
ด้วยประการฉะนี้
 

_________________
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผ้าขี้ริ้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 ก.ย. 2005
ตอบ: 101

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2008, 9:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เอากะลามาใบหนึ่งมอบให้ เป็นสมบัติ แล้วให้ เที่ยวลัดเลาะตามรั้วบ้านขอทาน
เขาเลี้ยงชีวิต เขาผู้มีกรรมติดตัวมาแต่ซาติก่อนดีใจนัก อำลาแม่ที่รักแลัวจาก
ไปตามยถากรรม
แต่เที่ยวขอทานเขาเลี้ยงชีพเรื่อยมาช้านานนักหนา พอมาถึงปราสาทอัน
มโหฬารของตนเข้าในวันหนึ่ง จำได้คลับคล้ายคลับคลา จึงมุ่งหน าดุ่มเดินเข้าไป
คนทั้งหลายเห็นเข้าก็คว้าไม้ ขับไล่ทุบตี เพราะนึกว่าเป็นผีมาเที่ยวเมืองมนุษย์
จนบุรุษร้างร้ายนั้นถึงแก่วิลัญญีภาพสงบนิ่งลง องค์สมเด็าพระสัมมาลัมพุทธเจ้า
พระผู้ทรงลัพพัญูญุตญาณเสด็จผ่านมาพอดี จึงทรงชี้แจงให้ คนทั้งหลายรู้ ว่าเป็น
เศรษฐีใหญ่กลับชาติมาเกิด ตอนแรกทีเดียว มูลศิริเศรษฐีผู้เป็นลูก ไม่เชื่อใน
พระพุทธฎีกา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตร สให้บุรุษขอทานนั้นเล่าประวัติ
ของตนพร้อมทั้งนำไปขุดขุมทรัพย์อีก ๕ แห่ง ซึ่งตนเองแอบฝังเอาไว้คนเดียว
ในชาติก่อนโดยไม่มีผู้ใดรู้ พอพิสูจน์ได้เช่นนี้ มูลศิริเศรษฐีนั้นจึงได้มีศรัทธา
เลื่อมใสในพุทธวาจา
นี่แลเป็นผลของโลภเจตนา จึงทำใหัชีวิตเป็นอยู่โดยยาก มีชีวิตอยู่ในโลก
ลำบากนักหนา ท่านจึงขนานนามคนประเภทนี้ว่า มนุษย์เปรต
๓. มนุษยเดียรัจฉาน คือ บางจำพวกในมนุสสภูมินี้ มีชีวิตอาศัยท่านผู้
อื่นอยู่เหมือนกับหมู่ แมว ม้า เป็ด ไก่ หมา วัว ควาย สุดแท้ท่านจะใช้ให้ทำ
อะไร ก็อุตสาหะกระทำการงานแบกขนซึ่งภาระอันหนักแห่งท่าน ครั้นทำงาน
เสร็จแล้ว ท่านให้อะไรเป็นทาน ถึงจะชอบใจไม่ขอบใจ ก็จำต้องบริโภคแต่พอ
อิ่มปากอิ่มท้องไปวันๆหนึ่ง ถึงคราวท่านโสโสโกรธาก็มีแต่จะถูกด่าว่าดุคำราม
ขู่ตวาด ให้ สะดุ้งสันหลังหวาดเลียวอยู่เนืองนิตย์ มากไปด้วยความสะดุ้งจิต
หาความสบายมิได้ทุกเมื่อ แต่ก็ไม่เบื่อต่อชีวิดเช่นนี้ เพราะตัวเป็นคนมีกรรม
มีสันดานมากด้วยโมหะ ไม่มีความคิดจัเลี้ยงชีพเป็นอิสระโดยตน ทนเป็นทาส
เขาด้วยดวงจิตมัวเมาหลงผิด พาให้คิดเห็นเป็นของประเสริฐว่า ''ตัวข้านี้แล
เป็นคนฉลาดด้วยการเลือกอาชีพเป็นทาสท่าน การงานอะไรไม่ตัองคิดต้องทำ
ให้เปลืองหัวขมอง ท่านลังอย่างไรเราทำไปก็หมดเรื่อง ท่านเคือง เรานิ่งเฉย
เสียเป็นการดี ชีวิตนี้ไม่มีอะไรมาก พอได้อาหารใล่ปากเข้าไปวันหนึ่ง ๆ ก็พอ
น่าอนาถหนอ! เจ้านายตู ดูคร่ำเคร่งคิดประกอบการงาน คงจะหาความสข
สำราญเช่นดูบ่มิได้" คิดไพล่ไขว้เขวเป็นบ้าผิดคนธรรมดาไปอย่างนี้ ก็มี
หรือมิฉะนั้นมิได้เป็นทาสท่าน แต่มันผู้นั้นมากไปด้วยโมหจิต ไม่คิดถึงบาปบุญ
คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เช่นว่า บุญกุศลเป็นความดีที่ควรทำ บาปกรรม
เป็นการควรเว้นขาด ปราชญ์ท่านสอนอยู่อย่างนี้ฉอด ๆ ตนก็สอดขึ้นมาว่าเป็น
คำสอนไม่เข้าท่า แล้วแสดงกิริยาหลีกเลี่ยงต่าง ๆ บางทีใจก็ชักจะเชื่อ แต่เบื่อ
ระอาที่จะกระทำตาม เพราะไม่เห็นแจ้ง โดยที่ใจแห้งแล้งเพราะถูกโมหัคคีไฟ
คือ โมหะเผาลนอยู่ พ่อแม่ครูบาอาจารย์มีคุณล้นหัว ใจมืดมัวมองไม่เห็นคุณ
เป็นมนุษย์ไร ศีลธรรม ทำอะไรก็ขวางๆ ผิดทำนองคลองธรรม นำชีวิตตนไป
โดยหาสาระแก่นสารมิได้ จนกระทั่งถึงวันตายก็ยังไม่ได้ ประกอบการกุศลสักนิด
เพราะตนมัวมาแต่คิดขวาง คิดคัดค้านไม่เชื่อคำสอนของนักปราชญ์ มีองค์.
พระศาลดาเป็นอาทิ ผู้มีโมหะดำริขวาง ๆ อย่างนี้ มีนามว่า มนุษย์เดียรรัจฉาน
๔. มนุษย์ภูต คือ คนบางจำพวกในมนุสสภูมินี้ เป็นผู้ ที่รู้จักว่าสิ่งใดเป็น
ประโยชน์ และสิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ พูดง่าย ๆ ว่า เป็นผูรู้จักบาปบุญคุณโทษ
รู้จักว่าสิ่งไหนชั่วสิ่งไหนดี แล้วละเว้นสิ่งที่เป็นบาปความชั่ว ประพฤติตัวให้ตั้ง
อยู่ในความดี มีศีล ๕ รักษาเป็นนิตย์มิได้ขาด โดยมารู้อยู่ว่าคนที่ประมาท
ทำศีลให้ ขาดข้อใดข้อหนึ่ง หาได้ชื่อว่าเป็นคนเต็มคนไม่ เพราะศีล ๕ นี้ไซร้
ได้ชื่อว่ามนุส ศีล คือ ศีลของมนุษย์ ผู้ที่จะเป็นมนุษย์ภูต คือ เป็นมนุษย์แท้ๆ
ได้นั้นต้องมีศีล ๕ ครบบริบูรณ์ไม่บกพร่อง
นอกจากนั้น ยังต้องเป็นผู้มีธรรมประจำใจ พยายามบำเพ็ญกุศลเพิ่ม
บารมีอยู่เรื่อยๆ เช่น อุตสาหะพยายามให้ทาน ฟังธรรมเรียนธรรม หมั่น
ประพฤติปฏิบัติตามธรรม มีหิริความละอายต่อบาป มีโอตตัปปะความสะดุ้ง
กลัวบาปอยู่เสมอ ใช้ชีวิตของตนให้มีสารประโยชน์ ไม่ใช่สักแต่ว่าอยู่ไปวันๆ
หนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงโลกหน้า เหมือนมนุษย์ประเภทเดียรัจฉานที่กล่าวมาเป็น
มนุษย์ผู้มีใจสูงในเชิงกล้าหาญูประกอบการกุศลเนือง ๆ กุศลธรรมความชั่วแล้ว
เป็นละเว้นเด็ดขาด ไม่ประมาทตั้งอยู่ในกุศลกายสุจริต วจีสุจริต บำเพ็ญบุญู
กิริยิาวัตถุ ๑๐ ประการโดยสมบูรณ์ มีปัญูญาซื่อตรงต่อพระบรมพุทโธวาทเชื่อ
กรรมและผลของกรรมว่า จักต้องใช้ผลอย่างแน่แท้ไม่ต้องสงสัย ในเรื่องนี้ มีตัว
อย่างเคยปรากฏมาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ดังต่อไปนี้

พระมหาเถรกถา
ยังมีบุตรอำมาตย์ผู้หนื่ง เขาเป็นสุภาพบุรษรูปงาม คนทั้งหลายรักใคร่
พอใจเป็นอันมาก ต่อมาได้ข่าวว่า มีพระมหาเถระรูปหนึ่งนามว่า พระอภย-
มหาเถระ จะมานมัสการซึ่งพระมหาเจดีย์พร้อมด้วยพระภิกษุลงฆ์ ก็แลเจ้ากู
องค์นี้ เป็นที่เลื่องลือกันว่า มีรูปร่างสง่างามนัก บุตรอำมาตย์พร้อมด้วยญาติมิตร
จืงพากันมาพรัอมเพรียงทีลานพระเจดีย์ เพื่อจะใคร่ดูว่า พระมหาเถรเจ้าจักมี
รูปงามพอจะเทียบเคียงตนได้หรือไม่ ครั้นได้เวลา พระอภยเถรเจัาพร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นบริวาร ก็ขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ทางประตูดัานทิศทักษิณ ครั้น
นมัสการพระมหาเจดีย์แล้ว จึงนำหน าพาพระภิกษุสงฆ์เพื่อจะ กลับ ก็พบเขัากับ
บุตรอำมาตย์พร้อมญาติมิตรกลุ่มใหญ่ พระมหาเถรเจ้าจึงกล่าวออกไปว่า
"ดูกรประสก! ตัวท่านนี้ เป็นแต่เพียงคนขนขยะมูลฝอยอันพระมหาเถระ
เฒ่าท่านกวาด เหตุไฉนจึงบังอาจคิดว่าจะมีรูปเทียบเทียมกับเรา"
"เจ้ากูกล่าวขานสิ่งใด ข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เข้าใจเลย ขอพระผู้เป็นเจ้า
กรุณาเฉลยให้แจ่มแจ้ง ... ไดัโปรดเถิด" บุตรอำมาตย์ประนมมือกล่าวถามด้วย
ความสงสัย
"ประสกมาที่นี่เพื่อจะดูเราว่ามีรูปเป็นอย่างไรใช่ไหมเล่า!" พระมหาเถร"
เจ้าถามขึ้นตรงกับใจคนทั้งหลายเหล่านั้น ครั้นเขารับว่าเป็นจริงแล้ว พระผู้เป็น"
จ้าก็เล่าเรื่องแต่ปางหลังให้ฟังว่า
ในอดีตชาติหนหลัง พระอภยมหาเถระ องค์นี้ ได้เคยบังเกิดเป็นพระภิกษุ
แก่ แต่บวชมาก็ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามกำลังสามารถ ฝ่ายบุตรอำมาตย์ก็ได้
เคยเกิดเป็นอุบาสกแก่ อยู่ในประเทศถิ่นที่เดียวกัน ณ บ้านการชคาม ทุกค่ำเช้า
ทั้งสองผู้เฒ่าคือพระภิกษุแก่และอุบาสกแก่ผู้ มีน้ำใจรักความสะอาด ย่อมพากัน
ไปแผ้วกวาดลานพระเจดีย์ด้วยความเลื่อมใส อุบาสกแก่นั้นถืงความชราภาพ
มากกำลังเรี่ยวแรงน้อยนักหนา จึงได้แต่นั่งคอยท่ารับอาสาเป็นคนขน เฝ้า
อุตสาหะขนขยะซึ่งพระเถระแก่ผู้ มีกำลังวังชายังดีกว่าตนเป็นคนกวาดไปทิ้งจน
เหนื่อยหอบ ทั้งสองพยายามปลุกปลอบใจกันแลกันให้ทำกองการกุศลล่วน
ไวยาวัจจมัยเช่นนี้ มิได้ เกียจคร้านอ้างว่า ตนเป็นคนแก่ แต่พอสิ้นชีพ ผลกรรม
ดีก็ตามสนองให้ผู้ เฒ่าทั้งสองมาเกิดเป็นมนุษย์ มีรูปบริสุทธิ์โสภา ข้างหลวงตา
แก่มาเกิดเป็น พระอภยมหาเถระ ผู้รูปงาม มีความเพียรปฏิบึตธรรมจนได้ บรรลุ
คุณวิเศษรู้ระลึกชาติได้ และรู้ใจของผู้อื่นอันเป็นปรจิตตวิชา ส่วนว่า ตาแก่
อุบาสกผู้ขนขยะที่พระชรากวาด ได้มาเกิดเป็นบุตรอำมาตย์มีรูปงามด้อยกว่า
ฉะนั้น พระอภยเถระจึงกล่าวทักแต่ตอนต้นว่า "ตัวท่านนี เป็นแต่เพียงคนขน
ขยะอันพระเถระเฒ่ากวาด เหตุไฉน จึงบังอาจคิดว่าจะมีรูปเทียบเทียมกับเรา
ดังนี้
ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย กรรรดีที่บุคคลกระทำไวั ย่อมให้ผล ไม่ว่าจะ
มากน้อ ย เพียงใดก็ตาม ผู้ที่มีความเชื่อในกรรม และ ผ ลวิบากข อง กรรม
พยายามทำแต่บุญกุศลประกอบความดีอยู่ เสมอตราบเท่าจนชีวิตหาไม่ ย่อมได้
ชื่อว่ามนุษย์ภูต เป็นมนุษย์แท้ๆ คือ เป็นมนุษย์เต็มคน
รวมความว่ามนุษย์มี ๔ จำพวก คือ มนุษย์นรกจำพวก ๑ มนุษย์เปรต
จำพวก ๑ มนุษย์เดียรัจฉานจำพวก ๑ มนุษย์ภูตจำพวก ๑ ดังพรรณนามาฉะนี้
อายุ ในมนุสสภูมินี้ อายุไม่แน่นอน บางยุคมีอายุมาก บางยุคมีอายุน้อย
ในกรณีแห่งอายุของมนุษย์นี้ ขอให้ท่านผู้ มีปัญญาพึงทราบในตอนว่าด้วยเรื่อง
กัป ซึ่งจักกล่าวข้างหน้า
บุรพกรรม ผู้ที่ใด้มีโอกาสมาเกิดในมนุสสภูมินี ไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร
ต้องถือว่าเป็นผู้มีโชคดี ล้วนแต่มีบุญกุศลติดตัวมาบ้างแล้วทั้งนั้น แต่การที่เป็น
คนแตกต่างกัน บางคนสุข บางคนทุกข์ บางคนดี บางคนชั่ว นั่นก็แลัวแต่
บุรพากรรม คือ กรรมแต่ชาติปางก่อนที่ตนได้กระทำไว้ พึงจำหลักใหญ่กว้าง ๆ ไว้
ดังต่อไปนี้
๑. นรชนใดเคยละเว้นจากปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ เขาย่อมจะมีทรวดทรง
สัณฐานงดงาม กอบด้วยกำลังวังชาว่องไวมีอายุยืนนาน มีอาพาธความเจ็บไข้
ได้ป่วยน้อย มีคนรักใคร่มาก สรรพไพรีไม่มีมารบกวน แม้เวลาจะตายก็ตายไป
เองโดยไม่มีผู้ใดมาฆ่าให้ตาย ส่วนผู้ที่เคยทำปาณาติบาตฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็น
ประจำ ย่อมได้รับผลตรงกันข้าม คือ พอสิ้นชีพตายไป นอกจากจะไปเสวย
กรรมในนรกสิ้นกาลนานแล้ว เมื่อมาถือกำเนิดเกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ ก็มีอายุ
น้อยสั้นพลันด่วนตายเร็ว เป็นต้น อันเป็นเศษผลของปาณาติบาตกรรม
๒. นรชนใดเคยงดเว้นจากอทินนาทาน ผู้นั้นย่อมจะมีทรัพย์สมบัติธัญญา
หารบริบูรณ์ ทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็จะได้ ที่ได้ แล้วก็ถาวรตั้งมั่นไม่เสื่อมถอย เรียกว่า
ทำมาหากินเจริญ จะปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สมประสงค์ทุกอย่าง ปราศจากราช
ภัย โจรภัย และอัคคีภัย จักมีความสุขสวัสดิ ปราศจากอุปัทวันตราย ส่วนผู้
ที่เคยทำอทินนาทานเคยลักเล็กขโมยน้อย หรือเป็นโจรปล้นท่านมาก่อน
ย่อมได้รับผลตรงกันข้าม คือ พอดับจิตตายไป นอกจากจะไปเกิดในนรกสิ้น
กาลนานแล้ว เมื่อมาถือกำเนิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ ย่อมมีโภคะน้อย เกิดใน
ตระกูลยากจนไร้ทรัพย์สมบัติ ทำมาหากินเท่าใดไม่ขึ้น เช่นนี้ เป็นต้น อันเป็น
เศษผลของอทินนาทาน
๓. นรชนใดเคยเว้นจากกามมิจฉาจาร เขาผู้นั้นย่อมไม่มีอริศัตรูปองร้าย
เป็นที่รักแก่คนทั้งหลายทั่วโลก จะยืนเดินนั่งนอนก็เป็นสุขสบายทุกอิริยาบถ
จะมีสกลกายบริบูรณ์ด้วยศุภลักษณ์ จักไม่เป็นคนกะเทยวิตถารให้คนเขาหยาม
เล่น ส่วนผู้ทีเคยทำกามมิจฉาจาร ประพฤติลามกผิดในกาม มักนอกใจคู่ครอง
ตน ย่อมได้ รับผลตรงกันข้าม คือ พอดับจิตตายไปก็ตัองไปเกิดในนรกสิ้นกาล
นาน เมื่อมาถือกำเนิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ ย่อมมีอริศัตรูคอยประทุษร้ายอยู่
เสมอ ทั้งๆ ที่ตนไม่เคยทำชั่วอะไรใหัเขาโกรธ เช่นนี้ เป็นต้น นี่เป็นผลของกาม
มิจฉาจาร
๔. นรชนใดเคยงดเว้นจากมุสาวาท ไม่พูดโกหกมดเท็จส่อเสียดยุยงและ
ด่าว่าท่าน เขาผู้นั้นย่อมจะมีสกลกายไพบูลย์ด้วยจักษุโสต มีอวัยวะไม่บกพร่อง
พูดจาไพเราะจับใจ มีกายวาจาใจเรียบรัอย น่าดูน่าชม มหาชนสรรเสริญนับถือ
เป็นผู ฉลาดในธรรม มีความดำริคิตอ่านดีถูกตัอง ไม่ถูกลงโทษใส่ความ ส่วนผู้ที่
เคยทำมุสาวาทย่อมได้ รับผลตรงกันขัาม คือ พอดับจิตตายแล้ว ต้องไปลงนรก
เสร็จแล้วเมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ อยู่ดี ๆ ก็มีผู้มากล่าวตู่ ใส่ร้ายกล่าวโทษ
ขัดขวางเอาเปล่าๆ ต้องเสียทรัพย์บ้าง ต้องติดคุกจำขังในตะรางโดยที่ตนไม่มี
ความผิดบ้าง เช่นนี้ เป็นต้น นี่เป็นเศษผลของมุสาวาทที่ ประพฤติเอาไว้
๕. นรชนใดเคยงดเวันจากสุราปานะ เขาผู้นั้นย่อมมีปัญญาดี เรียนรู้ ศิลป
วิทยาการทั้งปวงได้ โดยเร็วทั้งทำให้ใจของเขาไม่อยากดื่ มเหล า กินยาเมา ใน
กาลทั้งสาม คือ ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เขาผู้นั้นจะมีสติดี ไม่ฟั่นเฟือน
คือไม่เป็นบ้า ไม่พูดจาเลอะเทอะเหลวไหลเพราะบ้านำลาย มีธรรมประจำใจ
อยู่ทุกทิวาราตรี เป็นสัจวาทีชน กอบไปด้วยบุญและความสุขอันไพศาล ส่วนผู้
ที่ดื่มสุราบาน ย่อมได้รับผลตรงกันข้าม คือ พอดับจิตตายไป นอกจากจะไปตก
นรกสิ้นกาลช้านานแล้ว พอพ้นจากกรรมในเมืองนรก เศษกรรมยังมี เมื่อมา
เกิดเปนมนุษยในโลกนี้ ก็เป็นคนมีสติไม่สมบูรณ์ บ้าใบ้คลั่งไคล้ใหลหลง บ้าๆ
บอๆ เสียคนเลียจริตไปอย่างน่าทุเรศ เป็นต้น นี่แลเป็นเศษผลของการดื่มสุรา
ที่กล่าวมานี้ เป็นการแสดงถึงสาเหตุที่ทำให้ สัตว์ผู้เกิดมาในมนุสสภูมิมี
สภาพแตกต่างกัน เพราะบุรพกรรมที่ตนกระทำไว้ แต่ชาติปางก่อน จะอย่างไรก็ดี
ผู้ที่มาเกิดเป็นมนุษย์เป็นคนได้ ย่อมถือว่าเป็นผู้ ทีมีความดีช่วยอุปถัมภ์ค้ำจุน
ด้วยกันทั้งนั้น หากว่าไม่เคยทำบุญกุศลไว้บ้างแล้ว จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้
อย่างไร เพราะจะ ต้องไปเสวยโทษทัณฑ์อยู่ในจตุราบายโพ้น ไม่มีโอกาสมาเกิด
เป็นคนเป็นมนุษย์ได้ ฉะนั้น ต้องพยายามทำตนให้สมกับที่เป็นมนุษย์ผู้มีใจสูง
ด้วยการประพฤติให้เป็นคนประเภทมนุษยภูติ คือ เป็นมนุษย์ผู้มีใจสูง ซึ่งเป็น
มนุษย์แท้ ๆ จึงจะเป็นการดี
พรรณนาในมนุสสภูมิ เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วย
ประการฉะนี้
 

_________________
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผ้าขี้ริ้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 ก.ย. 2005
ตอบ: 101

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2008, 9:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จาตุมหาราชิกาภูมิ

สวรรค์ชั้นที่ ๑
บัดนี้ จักพรรณนาถึงสวรรค์ชั้นฟ้า หรือที่เรียกว่า เทวภูมิ อันเป็นที่สถิต
อยู่ของทวยเทพทั้งหลายเป็นลำดับไป ตั้งแต่ชั้นต้นจนถึงชั้นลูงสุด ก็สวรรค์
ชั้นต้นนี้มีชื่อว่า จาตุมหาราชิกาภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่ของเทพยดาชาวฟ้า ซึ่งมี
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ พระองค์ ทรงเป็นอธิบดี
สวรรค์ชั้นฟ้าซึ่งมีนามว่า จาตุมหาราชิกาภูมินี้ มีเทพนครใหญ่อยู่ ๔
เทพนคร แต่ละเทพนครมีกำแพงทองเหลืองอร่าม ซ้ำ ประดับไปด้วยแก้ว ๗
ประการ แลดูงามนักหนา บานประตูกำแพงนั้นแล้วไปด้วยแก้ว และมีปราลาท
ซึ่งรุ่งเรืองสวยงามอยู่เหนือประตูทุกประตู ภายในเทพนครอันกว้างใหญ่ไพศาล
นั้น มีปราลาทแก้วอันเป็นวิมานที่อยู่ของชาวฟ้าเทพยดาทั้งหลายปรากฏอยู่
มากมาย พื้นภูมิภาคนั้นเล่า ก็หาใช่เป็นพื้นแผ่นดินเช่นมนุษยโลกนี้ไม่ โดยที่
แท้ เป็นพื้นแผ่นทองคำมีสีเหลืองอร่ามรุ่งเรืองเลื่อมพรณราย ราบดุจหน้ากลอง
และอ่อนนุ่มดุจฟูกผ้า เมื่อฝูงเทพยดาเหยียบลงไปก็อ่อนยุบลงแล้วก็เต็มขึ้นมา
ดุจเดิม มิได้เห็นรอยเท้ารอยบาทของเทพยดานั้นเลย นอกจากนี้ ยังมีสระ
โบกขรณีมีน้ำใสยิงกว่าแก้ว เต็มไปด้วยปทุมชาติดาษดานานาชนิด ส่งกลิ่นหอม
ตลบอบอวลไปทั่วอาณาบริเวณเป็นเหมือนเช่นใครแสร้งเอาน้ำอบน้ำ หอมไปพรม
ไว้ มีดอกไม้นานาพรรณ สีสันวิจิตรตระการ และมีต้นไม้สวรรค์ประเสริฐนัก
หนา ด้วยมี ผลโอชารสอันยิ่ง ทุมามิ่งไม้ในสวรรค์นั้น ย่อมมีดอกมีผลอันเป็น
ทิพย์ให้ทวยเทพได้ชื่นชมอยู่ตลอดกาล ไม่มีวันร่วงโรยและหมดไปเลย

อุปัตติเทพ
เหล่าสัตว์ทั้งหลาย บรรดาที่ได้ก่อสร้างบุญกุศลเอาไว้ บุญกุศลนั้นก็จะนำ
ส่งให้มาอุบัติเกิดในโลกสวรรค์ และเมื่อจะเกิดนั้น ก็เป็นอุบัติเทพ ไม่ต้องนอน
ในครรภ์มารอ หรืออยู่ในฟองไข่เหมือนเช่นมนุษย์และสัตว์เดียรัจฉานทั้ง
หลายอุบัติเกิดขึ้น มีรูปร่างเป็นทิพย์ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นเทพบุตรเทพธิดา
เลยทีเดียว เมื่ออุบัติเกิดขึ้นในเทวโลกแล้ว จะตั้งอยู่ใน ฐานะอะไร ก็แล้วแต่สถาน
ที่ซึ่งตน อุบัติขึ้น คือ
- ถัามีบุญน้อยไม่สามารถจะมีวิมานของตนเองได้ ไปอุบัติขึ้นที่ตักของ
เทวดาองค์ใด ก็ตั้งอยู่ในูฐานะเป็นบุตรเป็นธิดาของเทวดาองค์นั้น
- ถ้าเป็นสตรีทำบุญไว้ ตายแล้วไปอุบัติบังเกิดขึ้นเหนือแท่นที่บรรทมของ
เทพองค์ใด ก็ต้องเป็นบาทบริจาริกาของเทพองค์นั้น
- ถ้ามีบุญกุศลสร้างไว้น้อย มีวาสนาจะได้เป็นเพียงพนักงานตกแต่ง
ประดับประดาอาภรณ์วิภูษิต เครื่องต้นเครื่องทรงของเทพองค์ใด ย่อมอุบัติเกิด
ณ ที่ใกล้ๆ ที่บรรทมของเทพผู้ จะเป็นนาย
- ถ้ามีวาสนาจะได้เป็นเพียงเทวดาประเภทรับใช้ เป็นบริวารของเทพผู้มีงเทพผู มี
บุญองค์ใด ก็ย่อมไปอุบัติเกิดภายในบริเวณปราลาทวิมานของเทพผู้จะเป็นนาย
องค์นั้น
หากว่าไม่ได้ไปอุบัติเกิดในบริเวณวิมานทิพย์ของเทพองค์ใดทั้งนั้น แต่
อุบัติเกิดในที่ว่างระหว่างแดนต่อแดน ไม่ทราบว่าจะเป็นบริวารของเทพผู้เป็น
เจ้าของวิมานไหน ในกรณีนี้ องค์เทพผู้ ทรงเป็นอธิบดียิ่งใหญ่กว่าฝูงเทพทั้งปวง
ในเมืองนั้นย่อมจะเสด็จมาเป็นผู้พิพากษาตัดสิน วิธีพิพากษาของพระองค์ท่าน
ก็คือ หากเทวดาที่เกิดใหม่นั้น เกิดใกล้วิมานของเทพองค์ใด ก็ทรงตัดสินให้
เป็นบริวารของเทพองค์นั้น หากว่าอนุมานดูแล้ว สถานที่อุบัติเกิดนั้นกึงกลาง
พอดี ก็ต้องดูที่หน้าของเทพที่เกิดใหม่ หากว่าหันหน้าเล็งแลไปทางวิมาน
ของเทพองค์ใด พระองค์ก็ตัดสินให้เป็นบริวารของเทพองค์นั้น ถ้าว่าเทวดาผู้
เกิดใหม่นั้น ไม่แลดูวิมานของเทพองค์ใดเลย เฉยอยู่เช่นนั้น ท่านอธิบดีผู้
พิพากษายิ่งใหญ่กว่าเทวดาทั้งปวง ก็ทรงตัดสินเอาเป็นบริวารของพระองค์เอง
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตัดปัญหาเสีย
- ถ้าได้เคยสร างบุญูกุศลไว้มากพอ ก็ไปอุบัติบังเกิดในวิมานของตนเอง
เพราะว่ามีวิมานคอยต้อนรับอยู่แล้วพร้อมกับบริวาร ไม่ต้องเป็นบุตรธิดาหรือ
เทวดารับใช้ของผู้ใด เป็นอยู่อย่างอิสระเสรี เสวยสุขอยู่ในเมืองแมนแดนสวรรค์
นั้นเมื่อจะกล่าวถึงชีวะความเป็นอยู่ ทวยเทพทั้งหลายย่อมมีสรีระร่างกายเป็น
ทิพย์ มีรูปโฉมโนมพรรณสวยงามนักหนา กายาเนื้อตัวบริสุทธิ์ ละอาดปราศ-
จากมลทินโทษด้วยประการทั้งปวง จะได้มีกลิ่นเหม็นและกลิ่นร้ายในกายของ
เขาเช่นมนุษย์เรานี้ แม้แต่ลักนิดหนึ่งเป็นไม่มีเลย และเขาย่อมจะเนรมิตกาย
ใหัใหญ่โต หรือเล็กเท่าใดก็ได้ตามจิตปรารถนา เพราะกายาของเขาเป็นทิพย์
เทวดาซึงมีจำนวน ๒๐-๘๐ องค์ อาจจะเนรมิตตนลงให้อยู่ในลถานที่เล็กน้อย
ประมาณเท่าปลายเส้นผมก็ย่อมทำได้ ในข้อนี้พึงเห็นตัวอย่าง เช่น กาลเมื่อ
ฝูงเทพยดาทั้งหลายพากันมาเฝ้าสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าองค์พระชินสีห์
บางทีมากันมากตั้งแสนโกฏิเพื่อลดับพระธรรมเทศนา ถ้าว่าเมื่อไม่เนรมิตกาย
แล้วไซร้ เขาจักได้ที่ ๆ ไหนเป็นที่ฟังธรรมเล่า ฉะนั้น เขาจึงพากันเนรมิตกาย
ลงให้เล็กนักหนา แล้วตั้งใจสดับพระธรรมเทศนาได้โดยสะดวกง่ายดาย
อนึ่ง ฝูงเทพยดาทั้งหลายย่อมบริโภคสุธาโภชนาหารอันเป็นทิพย์
ทุกวารวัน สุธาโภชนาหารนั้นย่อมแห้งเหือดหายไปในกายของเขาจนหมดสิ้น
จะได้มีมูตรคูถมีกลิ่นเหม็นรัายกาจเช่นมนุษยชาติก็หาไม่ ตราบใดที่ยังเป็น
เทพอยู่ในสรวงสวรรค์ อุปัทวันตรายอันเกิดแต่โรคภัยไข้เจ็บ ย่อมจะไม่มา
เบียดเบียนบีฑาแม้แต่นิดหนึ่งเลย เขาย่อมเป็นอยู่อย่างสุขสำราญ ชื่นบาน
นักหนา และทรงผ้าผ่อนเครื่องประดับอลังการอันเป็นทิพย์ มีรัศมีรุ่งเรืองส่อง
สว่าง ก็ผัาทิพย์ภูษาที่เทวดาทั้งหลายนุ่งห่มนั้น อย่าพลันเข้าใจว่าเป็นผ้าอย่าง
เมืองมนุษย์ โดยที่แท้ ผ้าของเขาเป็นผ้าทิพย์ผืนเล็กนิดเดียว มีปริมาณเท่า
ดอกปีบเท่านั้น ครั้นเขาคลี่ออกจะนุ่งห่มนั้น กลับพลันใหญู่ยาวและกว้างพอแก่
ร่างกายของเทพยดาผู้เป็นเจ้าของ
อนื่ง รัศมีทั้งผอง คือ รัศมีแห่งอาภรณ์วิภูษิตต่างๆ ก็ดี รัศมีแห่งวิมานที่
สถิตอยู่ก็ดี รัศมีแห่งกายตัวเทพยดาเองก็ดี ย่อมส่องสว่างรุ่งเรืองนักหนา เมื่อ
เทวดามากต่อมากต่างก็มีรัศมีรุ่งเรืองส่องสว่างเช่นนี้ ราตรีค่ำคืนอันมืดมัวใน
สวรรค์เทวโลกจืงไม่มีเหมือนอย่างมนุษยโลก มีแต่ทิวาวารปรากฏเป็นดุจ
กลางวันอยู่เป็นนิจกาลไม่มีกิจด้วยการตามประทีปแสงไฟน้อยใหญ ให้เหนื่อยยาก
ก็สว่างไสวไปเอง ด้วยอำนาจแห่งรัศมีเงินทองแก้วเก้าเนาวรัตน์อันเป็นทิพย์
ซึ่งเกิดจากบุญูญูานุภาพที่เทพยดาทั้งหลายได้พากันสร้างสมอบรมมาแต่
ปางบรรพ์
ชีวิตความเป็นอยู่ที่พรรณนามานี้ เป็นการกล่าวถึงทวยเทพที่สถิตอยู่ ณ
สรวงสวรรค์จาตุมหาราชิกาภูมิชั้นสูง นอกจากนี้ ยังมีเหล่าเทพยดาชั้นต่ำที่นับ
เนื่องในสวรรค์ชันนี้ ซึ่งมีอยู่ในสถานที่ต่างๆ อีกมากมาย เช่น เทวดาบางพวก
มี วิมานอยู่บนยอดเขา บางพวกมีวิมานอยู่ที่แง่ภูเขาบรรพต บางพวกมีวิมาน
อยู่บนอากาศ บางพวกมีวิมานอยู่บนต้นไม้ ในที่นี้ จะขอกล่าวถึงเทวดา
จำพวกสุดท้ายนี้พวกเดียว คือ รุกขเทวดาซึ่งมีวิมานอยู่บนต้นไม้ เพื่อให้ท่านผู้
มีปัญญาทั้งหลายได้รับทราบไว้พอเป็นแนวทาง ดังต่อไปนี้

๑. ธตรฐมหาราช
เทพนครอันสวยสดงดงามซึ่งตั้งอยู่ ณ ทิศบูรพา คือทิศตะวันออกแห่ง
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้มีเทวาผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า ท้าวธตรฐมหาราซ
เป็นจอมเทพผู้ปกครอง ท้าวเธอเป็นมหาราช มีบุญญานุภาพมาก มีรัศมีมาก
เทวาที่อุบัติเป็นบุตรของพระองค์ก็มีมากมาย ล้วนแต่มีกำลังมาก มีฤทธิ์มีอานุ
ภาพ มีรัศมี มียศเป็นอันมาก พระองค์ทรงเป็นอธิบดี เป็นใหญ่ ทรงปกครอง
ทวยเทพเทวาในเทพนครด้านทิศบูรพา ณ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้โดย
ธรรม ซึ่งเป็นผลให้เทวดาทั้งหลายได้รับความสุขสำราญทุกวันคืน
นอกจากจะทรงเป็นจอมเทพปกครองเทพบริวารในเทพนครทิศบูรพาดัง
กล่าวแล้ว ท้าวธตรฐมหาราชยังทรงเป็นอธิบดีปกครองหมู่คนฐรรพ์อีกด้วย
คนธรรพ์เป็นเทวาพวกหนึ่งซึ่งอยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ มีความ
ถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในเพลงขับเป็นยิ่งนัก มีชื่อเสียง
เป็นที่รู้จักกันในหมู่เทวดาทั้งหลาย เช่น คนธรรพ์เทพบุตรผู้หนึ่ ง ซึ่งมีนามว่า
สุธรรมา ชำนาญในการตีกลองประจำตัวอันมีซี่อว่า สุรันธะ และคนธรรพ์เทพ
บุตรอีกผู้หนึ่งซึ่งมีนามว่า พิมพสุรกะ ชำนาญในการตีกลองหน้าเดียว เมื่อเขา
ทั้งสองตีกลองด้วยเพลงคนธรรพ์ ย่อมปรากฏว่ามีความไพเราะเสนาะโสตเหล่า
เทพยดานักหนา ไม่ว่าจะมีเทวสันนิบาต การประชุมเพื่อความสนุกสนาน
เบิ กบานของเหล่าเทพเทวาทั้งหลายในที่ใดย่อมจะมีฝูงคนธรรพ์ทั้งหลายไปร่วม
ด้วย โดยทำหน้าที่เป็นผู้ขับกล่อม และจับระบำรำฟ้อนให้ปวงเทพได้รับความ
สุขเริงลราญชื่นบานในการดนตรี บางทีก็มีเทพนารีเข้าร่วมด้วย เป็นการเพิ่ม
ความสนุกลนานให้เกิดแก่เหล่าเทวดามากยิ่งขึ้น แม้แต่องค์ อมรินทร์ท้าว
สักกเทวราขซึ่งเป็นจอมเทพในสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ ก็ยังทรงมีพระทัยโปรด
ปราน ตรัสสั่งให้ หมู่คนธรรพ์ไปร่วมงานเทวสันนิบาตเช่นนี้เสมอมิขาด
สักคราเลย

ปัญจสิขคนธรรพ์
บรรดาคนธรรพ์ทั้งหลายนั้น คนธรรพ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดก็คือ ปัญจสิข-
คนธรรพ์ ท่านผู้นี้เมื่ออยู่ในมนุษยโลกได้กระทำบุญไว้มาก ครั้นมาเกิดเป็น
คนธรรพ์ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้จึงมีรูปกายงดงาม เป็นเทพบุตรสุด
โสภา เป็นที่เสน่หารักใคร่ ถูกเนื้อพึงใจของเหล่าเทพทั้งหลาย เธอชอบเอาไว้
ผมยาวแล้วเกล้าเป็นห้าเกล้าเสมอ ฉะนั้ น จึงมีนามว่า ปัญจสิข มีฝีมือในทาง
ดีดพิณเป็นยอดเยี่ยม เป็นที่โปรดปรานของท้าวโกสีย์ยิ่งนัก ในกาลเมื่อสมเด็จ-
พระบรมศาลดา เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ หลังจากแสดงพระ-
อภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาจบลงแล้ว สมเด็จพระศาสดาเสด็จลงทางมณีมัย
บันไดแก วทีท้าวโกลีย์เนรมิตถวาย ตัวท้าวสหัลนัยน์เองเสด็จลงทางบันไดทอง
ข้างขวา ต่อมาข้างซ้ายเป็นบันไดเงิน เชิญให้ หมู่พรหมลงมา ปัญจสิขคนธรรพ์
นี้แลนำหน้าถือพิณมีพรรณดังผิวผลมะตูมสุก เป็นพิณทิพย์มีหน้าแล้วไปด้วย
ทอง คันพิณนั้นแล้วไปด้วยแก้วอินทนิล ไพทีแห่งพิณนั้นแล้วไปด้วยแก้ว
ประพาฬ ดีดขับร องประสานเสียงด้วยมธุรศัพท์ไพเราะนักหนา นำเสด็จลงมา
เบื้องหน้าแห่งสมเด็จพระสัพพัญญูบรมโลกุตมาจารย์ ซึ่งสุดจักกล่าวขานใน
ทัศนียภาพอันซาบซึ้งตรึงใจครั้งนี้

๒. วิรุฬหกมหาราช
เทพนครอันรุ่งเรืองไปด้วยรัศมีแห่งทวยเทพสวยสดสุดพรรณนา ใน
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชกาภูมิด้านทักษิณ คือ ทิศใต้ มีเทวดาผู้ยิ่งใหญ่ทรง
พระนามว่า ท้าววิรุฬหกมหาราช เป็นจอมเทพผู้ปกครอง พระองค์ทรงเป็น
มหาราชมีบุญญานุภาพมาก มีรัศมี มียศเป็นอันมาก เทพยดาที่อุบัติเกิดเป็น
บุตรของพระองค์ก็มีมากมาย ล้วนแต่มีกำลัง มีฤทธิ์มาก ทั้งนี้ ก็เพราะพระองค์
เป็นจอมเทพผู้มีบุญญาธิการ ทรงปกครองบริวาร ในด้านทักษิณแห่งจาตุมหา
ราชิกาสวรรค์นี้ โดยผาสุก
ท้าววิรุฬหกมหาราชพระองค์นี้ นอกจากจะเป็นจอมเทพปกครองทวยเทพ
ผู้เป็นบริวารของตน ในเทพนครด้านทิศทักษิณแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นอธิบดี
ของพวก กุมภัณฑ์ อีกด้วย กุมภัณฑ์น เป็นยักษ์พวกหนึ่ง ซึ่งมีรูปร่างแปลก
ประหลาดพิกล คือ มีท้องใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์พิเศษ ที่สังเกตได้ง่าย
ก็คือ มีร่างกายสูงใหญู่มหึมา และมีท่าทางดุร้าย กับทั้งมีอัณฑะเหมือนหม้อ
ฉะนั้น พวกเขาจึงได้นามว่า กุมภัณฑ์ ซึ่งแปลว่า เหล่าสัตว์ที่มีอัณฑะเหมือน
หม้อ พวกกุมภัณฑ์นี มีความเคารพเกรงกลัวต่อท้าววิรุฬหกมหาราช ผู้เป็น
เจ้านายของตนยิ่งนัก

๓. วิรูปักษ์มหาราช
เทพนครที่ปรากฏในทิศตะวันตกของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกานี้ ก็มี
ลักษณะและความสวยสดงดงามเช่นเดียวกับเทพนครที่ตั้งอยู่ในทิศอื่นๆ เทวา
ผู้ยิ่งใหญู่ซึ่งครองเทพนครนี้ ทรงพระนามว่า ท้าววิรูปักษ์มหาราช พระองค์
ทรงมีบุญญานุภาพมาก รัศมีสดใส มียศเป็นอันมากเทพยดาที่อุบัติบังเกิดเป็น
บุตรของพระองค์ก็มีมากมาย ต่างก็ล้วนมีกำลัง มีฤทธิ์มากทั้งนั้น พระองค์เป็น
จอมเทพปกครองเทพบริวารในด้านทิศตะวันตกแห่งจาตุมหาราชิกาภูมินี้
โดยผาสุกทุกทิพาราตรี
ท้าววิรูปักษ์มหาราชพระองค์นี้ นอกจากจะเป็นจอมเทพปกครองทวย
เทวาผู้เป็นบริวารของตนในเทพนครด้านปัจฉิมทิศแล้ว พระองค์ยังทรงเป็น
อธิบดีของพวกนาคอีกด้วย พวกนาคนี้มีฤทธิ์มาก พิษแห่งนาคทั้งหลายมีฤทธิ์
กล้า อาจตัดเอาผิวหนังแห่งบุคคลให้ถึงแก่ความตายในพริบตาเหมือนกับ
คมดาบ และเหล่านาคย่อมรู้ จักนฤมิตตนได้ เมื่อจะเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ บางคราว
ย่อมนฤมิตตนเป็นงู บางคราวก็เป็นเพศเทวดา บางคราวก็นฤมิตเพศเป็น
กระแต เที่ยวไปในราวไพรโดยสุขสำราญ
เพราะเหตุใด จึงมาเกิดเป็นนาคเหล่านี้ได้? มีพระภิกษุรูปหนึ่งได้ทูล
ถามพระผู้ มีพระภาคเจ้าว่า "อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้คนบางคนในโลกนี้
ตายแล้วไปเกิดเป็นนาค" สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจัาได้ทรงอธิบายว่า
"บุคคลบางคนในโลกนี้ เขาได้ฟังมาว่า พวกนาคมี
อายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก เขาจึงชอบใจแล้วทำ
ความดีด้วยไตรทวาร คือ ด้วยกาย วาจา และใจ แล้วมี
ความปรารถนาว่า โอ้หนอ เมื่อเราตายไปแล้ว ขอให้เรา
พึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาค ดังนี้ ครั้นเขาตาย
แล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย คือ ไปเกิดเป็นพวกนาค
ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตาย
ไปแล้วจึงไปเกิดเป็นนาค"
จากข้อความนี้ ย่อมแสดงว่า ผู้ที่สร้างกุศลไว้ แล้วต้องการไปเกิดเป็นนาค
ก็ย่อมจะได้ ดังปรารถนา ด้วยกุศลกรรมที่ตนทำไว้ ชักพาไป พวกนาคนี้ มีความ
เคารพต่อท้าววิรูปักษ์มหาราช ผู้เป็นอธิบดีของตนยิ่งนัก

๔. เวสสุวัณมหาราช
เทพนครอันรุ่งเรืองสวยงาม ซึ่งปรากฏในด้านทิศอุดรคือ ทิศเหนือของ
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ มีเทวาผู้ยิ่งใหญ่ทรงพระนามว่า ท้าวเวสสุวัณ
เป็นจอมเทพผู้ปกครอง ท้าวเธอเป็นมหาราชมีบุญูญานุภาพมาก มีรัศมีมาก
มียศมาก แม้เทวดาที่อุบัติเกิดเป็นบุตรของพระองค์ก็มีมาก แต่ละพระองค์ล้วน
แต่มีกำลัง มีฤทธิ์ มีรัศมี มีอานุภาพมาก ท้าวเวสสุวัณทรงเป็นจอมเทพ
ปกครองหมู่เทวาที่เป็นบริวารของตนอยู่ในเทพนครด้านทิศอุดรแห่งจาตุมหา-
ราชิกาสวรรค์นี้โดยสุขสำราญ
ท้าวมหาราชองค์นี้ ยังมีพระนามปรากฏอีกนามหนึ่งว่า ท้าวกุเวร ฉะนั้น
พึงทราบว่า ท้าวเวสสุวัณหรือท้าวกุเวรเป็นเทพองค์เดียวกัน คือ ท่านที่
ปกครองเทพนครด้านทิศอุดรในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้
นอกจากพระองค์จะปกครองทวยเทพในทิศดังกล่าวแล้ว พระองค์ยังทรงเป็น
อธิบดีปกครองพวกยักษ์อีกด้วย ในกรณีนี้ พึงทราบว่า จากคำให้การของยักษ์
ผู้มเหสักข์ตนหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ชนวสภยักษ์
คราวหนึ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระกรุณาตรัสถามพระ-
อานนท์ว่า "เธอเคยได้ยินชื่อ ชนวสภยักษ์ มาแต่ก่อนบัางหรือไม่" พระ-
อานนท์กราบทูลว่า "ข้าพระองค์ไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อนเลย พอได้ยินเข้าก็
ขนลุกชัน ข้าพระองค์คิดว่า ผู้มีนามว่า ชนวสภยักษ์นี้ ตัองไม่ใช่ยักษ์ต่ำๆ เป็น
แน่ พระเจ้าข้า"
สมเด็จพระพุทธองค์จึงทรงเล่าว่า หลังจากทรงตรวจดูคติภพหน้าของ
ชาวมคธผู้ล่วงลับไปแล้วเป็นอันมาก คราวนั้น มียักษ์ตนหนึ่ง มีผิวพรรณ
ผุดผ่องเป็นยิ่งนัก มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ แล้วกราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระภาค! ข้าพระบาท มีนามว่า พิมพิสาร ข้าแต่พระ-
สุคตเจ้า แต่ก่อนนี้ ข้าพระบาทมีนามว่า พิมพิสาร ขณะนี้ได้ เข้าถึงความเป็น
สหายของท้าวเวสสุวัณมหาราช ข้าพระบาทจุติจากนี้แล้ว สามารถเป็น
พระราชาในหมู่มนุษย์อีก
"ข้าพระบาทเคลื่อนจากเทวโลกนี้ ๗ ครั้ง จากมนุษย์
โลกอีก ๗ ครั้ง รวมท่องเที่ยวไปอยู่ในระหว่าง ๒ โลกนี้
๑๔ ครั้ง จึงูร้จักภพที่เคยอยู่มาก่อน"
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ข้าพระบาทมีความไม่ตกต่ำ อนึ่ง ข้าพระบาท
ตั้งความปรารถนาไว้ว่า จักเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระสกิทาคามี ในอนาคตข้า
พระบาทไม่ตกต่ำ เมื่อเข้าประชุมในสุธรรมาเทวสภา ณ ราตรีวันเพ็ญวัลสูป-
นายิกาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีเทพบริษัทประชุมมากมายนั่งอยู่โดยรอบ
ข้างหลังถัดจากอาลนะของท้าวมหาราชทั้งสี่ ก็เป็นอาสนะของข้าพระบาท" ดังนี้
นี่แลเป็นคำกราบบังคมทูลของพระเจัาพิมพิสาร ซึ่งเป็นพระปิตุเรศของ
พระเจ้าอชาตศัตรู ราชาบดีแห่งพระนครมคธในครั้งพุทธกาล ซึ่งไปบังเกิดเป็น
ยักษ์ผู้มีเหสักข์นามว่าชนวลภยักษ์ ความจริง พระองค์เป็นพระอริยบุคคลชั้น
พระโสดาบัน จะเสด็จไปบังเกิดเป็นเทพเจ้าในสรวงสวรรค์ชั้นสูงกว่านี้ ก็ได้
แต่ที่พระองค์เสด็จมาบังเกิดในสวรรค์ชั้นต่ำนี้ ก็เพราะพระองค์เคยอยู่ที่นี่มา
ก่อน และมีพระทัยปรารถนาจะอยู่ที่นี่นั่นเอง
เป็นอันว่าในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชนี้ มีเทวราช ๔ พระองค์ปกครองให้
ทวยเทพอยู่อย่างสุขสำราญ โดยการเสวยสมบัติทิพย์ด้วยอำนาจบุญูกุศลที่
ตนสร้างไว้แต่ชาดิปางก่อน ย้อนมาให้ผลแก่บุคคลผู้ไม่มีความประมาท ครั้น
สิ้นชาติแล้วจึงได้ สุขเห็นปานฉะนี้

จาตุมหาราชถวายบาตร
กาลเมื่อพาณิชสองพี่นัองซึ่งมีนามว่า ตปุสสะและภัลลิกะ ได้เห็นองค์
พระสัพพัญญู ณ ภายใต้ ร่มไม้เกดแล้ว มีจิตเลื่อมใสศรัทธา จึงนำเอาสัตตูก้อน
สัตตูผงเข้าไปถวาย สมเด็จพระผู้ มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริว่า บาตรของ
พระตถาคตมิได้มี ก็เยี่ยงอย่างพระชินสีห์แต่ปางก่อน ทรงรับบิณฑบาตด้วย
พระหัตถ์ มีบ้างหรือ ก็กาลบัดนี้ ตถาคตจะรับบิณฑบาตของสองพาณิชนี้ด้วย
ประการใด" ที่ทรงพระดำริเช่นนี้ก็เพราะว่า ในขณะนี้ พระองค์ไม่มีบาตรเลย
แท้จริงบาตรที่ฆฏิกามหาพรหมถวายไว้นั้นไดัอันตรธานไปแต่ในกาลเมื่อทรงรับ
มธุปายาสของนางสุชาดา ทรงรับถาดมธุปายาสเสวยแล้ว นำไปลอยในกระแส
น้ำเนรัญชรานที จนถาดนั้นจมลงไปอยู่ที่พิภพแห่งกาฬนาคราช ตั้งแต่วันนั้น
มานับได้ ๔๙ วัน ก็มิได้เสวยพระกระยาหารสิ่งใดเลย เมื่อทรงมีพระการุญจิต
จะอนุเคราะห์แก่สองพาณิช จึงทรงมีพระดำริดังนี้ คราทีนั้น จึงท้าวมหาราช
ทั้ง ๔ ซึ่งเป็นจอมเทพในสวรรค์ชั้ นจาตุมหาราชิกานี้แล ทรงทราบพระพุทธ
อัธยาศัย จึงได้ทรงนำเอาบาตรล้วนแล้วด้วยศิลา ซึ่งมีพรรณดังสีถั่วเขียว ต่าง
องค์ต่างก็นำมา แล้วน้อมเกล้าฯเข้าไปทูลถวายพร้อมกัน สมเด็จองค์อรหันต์
พระสัมมาลัมพุทธเจัาก็ทรงรับทั้ง ๔ บาตร เพื่อจะรักษาปสาทศรัทธาแห่ง
ท้าวจาตุมหาราช ใช่จะทรงรับไว้ด้วยมหิจฉภาพมักมากก็หามิได้ แล้วจึงทรง
อธิษฐานประสานบาตรทั้ง ๔ นั้นเข้าเป็นบาตรเดียวกัน แล้วก็ทรงรับข้าวสัตตู
ของสองพาณิชด้วยบาตรนั้น จึงเป็นอันปรากฏว่า ในกาลต่อมา สัณฐาน
บาตรของพระภิกษุในพระพุทธศาลนา ย่อมมีรอยต่อ ๔ รอยในบาตรทุกใบให้
เห็นประจักษ์เป็นประเพณีสืบมา
อายุ ทวยเทพที่สถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ มีอายุ
ได้ ๕๐๐ ปีทิพย์ นับได เก้าล้านปี ด้วยการคำนวณปีแห่งมนุษยโลกเรานี้
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดเป็นเทพยดาเสวยสุขอยู่ในสวรรค์ชั้นนี โดย
มากเมื่อเป็นมนุษย์ เขาเป็นคนมีจิตบริสุทธิ์ พยายามหาความดีใส่ตน สนฺตุฏโฐ
เป็นคนสันโดษยินดีแต่ของ ๆ ตน เป็นหัวหน้าชักชวนคนทั้งหลายให้ประกอบ
การอันเป็นบุญกุศล ครั้นแตกกายวายชนม์ กุศลกรรมจึงนำมาให้อุบัติเกิดใน
สวรรค์ชั้นนี้ ตามปรารถนา
พรรณนาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว
จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

ตาวติงสาภูมิ
สวรรค์ชั้นที่ ๒
สวรรค์ชั้นฟ้าต่อจากจาตุมหาราชิกาภูมิขึ้นไป มีชื่อว่า ตาวติงสาภูมิ หรือ
ทีเรียกกันให้ ฟังกันง่ายๆ ในหมู่ชาวเราว่า สวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ ที่ได้ชื่อเช่นนีก็
เพราะว่าสวรรค์ชันนี้เป็นที่ประทับอยู่ของเทพผู้เป็นใหญ่ ซึ่งเป็นสหายกัน ๓๓
องค์โดยมี สมเด็จพระอมรินทราธิราชทรงเป็นประธานนั้นท่านจึงขนานนามว่า
ตาวติงสาภูมิ = ภูมิที่เป็นที่อยู่ของเทพสามสิบสามองค์
ชั้นฟ้าชื่อว่าดาวดึงส์นี้ ตั้งอยู่เหนือเขาสิเนรุราชบรรพต ปรากฏเป็น
เมืองใหญ่กว้างขวางนักหนา ปรางค์ปราสาทล้วนแล้วไปด้วยแก้วอันเป็นทิ พย์
แวดล้อมรอบเทพนครด้วยกำแพงแกัวอันเป็นทิพย์ เพราะความกว้างใหญ่ของ
เทพนคร จึงปรากฏว่า มีประตูที่กำแพงแก้วถึง ๑,๐๐๐ ประตู และมีปราลาท
ยอดอันสวยงามอยู่เหนื อประตูทุกประตู เมื่อเปิดประตูแต่ละครั้ง ย่อมเกิด
เสียงไพเราะยิ่งนัก ในท่ามกลางเทพนครไตรตรึงษ์นั้น มีไพซยนต์ปราลาท
วิมานสูงเยี่ยมงดงามสุดพรรณนา แล้วไปด้วยลัตตพิธรัตนแก้ว๗ประการ
เพราะเป็นวิมานขององค์เทพผู้ เป็นเทวราชซึ่งมีนามปรากฏว่า สมเด็จพระ
อมรินทราธิราช เกือบตลอดเวลาพระองค์สถิตอยู่ ณ ไพชยนต์ปราสาทวิมาน
อันรุ่งเรืองงดงามพ้นประมาณนั้น

ไตรตรึงประวัติ
ความจริง สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ เดิมทีเดียวหาใช่เป็นที่ประทับอยู่ของเหล่า
เทพยดา ซึ่งมีพระอินทร์เป็นจอมเทพไม่ ตามประวัติมีว่า ท่านผู้ประดิษฐาน
วงศ์พระอินทร์องค์อธิบดีนั้น ครั้งท่านเกิดเป็นมนุษย์มีนามว่า มฆมาณพ
เป็นคนมีบุญสุนทาน ชักชวนบุรุษซึ่งเป็นสหายของตน ๓๒ คน ประกอบ
กองการกุศลต่าง ๆ มีการสร้างศาลา และทำถนนหนทาง เป็นต้น อันเป็น
สาธารณประโยชน์ และบำเพ็ญสัตตปทานวัตร หรือวัตตบท ๗ ประการ คือ
๑. เลี้ยงดูบิดามารดาโดยเคารพ
๒. ยำเกรงต่อผู้เฒ่าผู้แก่ในตระกูล
๓. กล่าวถ้อยคำอ่อนหวานไพเราะ
๔. ไม่กล่าวเปสุญญวาทวาจาล่อเสียดผู้อื่น
๕.ไม่ตระหนี่เหนียวแน่น
๖. ตั้งอยู่ในความสัตย์ลุจริต
๗. ไม่ฟุ้งซ่านด้วยความโกรธ
มาณพนั้นพยายามสร้างบุญกุศล และประพฤติธรรมอยู่อย่างนี้เป็นนิตย์
พอตายแล้วก็ขึ้นไปเกิดที่เทวภูมิแห่งนี้ บรรดาเทพบุตรซึ่งได้ไปเกิดอยู่ก่อนมี
มากมาย ครั้นเห็นพวกมาณพมาอุบัติเกิดขึ้นใหม่ก็ดีใจ ชวนกันนำน้ำ คันธบาน
อันเป็นทิพย์มาดื่มเลี้ยงต้อนรับ แล้วเชื้อเชิญมฆเทพผู้เป็นหัวหน้าให้เป็นอุปราช
เสวยสมบัติกึ่งหนึ่ง
ฝ่ายมฆเทพเจ้านั้นมิได้มีจิตยินดีด้วยอุปราชสมบัติ จึงให้สัญญาแก่
เทพบริษัทผู้ เป็นบริวารแห่งตนมิให้ ดื่มซึ่งน้ำคันธบานที่เทพบุตรผู้อยู่ก่อนนำมา
เลึ้ยง อันว่านำ คันธบานในเมืองสวรรค์นั้นมีรสหวานอร่อยยิ่งนัก แต่ทว่าพอดื่ม
เข้าไปแล้ว จะปรากฏมีอาการมึนเมาเหมือนสุรา เพราะฉะนั้น เมื่อเนวาสิก
เทพบุตรพร้อมกับบริวารของตน แต่งน้ำคันธบานให้อาคันตุกเทพบุตร และ
ตนก็ดื่มกินเองเสียจนมัวเมาหาสติมิได้ ท้าวสหัสนัยน์จึงใช้ให้บริวารจับเทพ-
บุตรผู้อยู่ก่อนเหล่านั้นขว้างทิ้งลงจากสวรรค์ชั้นนี้ เพราะไม่ปรารถนาที่จะอยู่
ร่วม แล้วตั้งตนเป็นใหญ่ปกครองเทพบริษัทของตนและทวยเทพทั้งหลายที่
มาอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้ ได้รับการเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระอมรินทราธิราช
พระองค์มีพระสหายสามสิบสองพระองค์ ซึ่งได้ร่วมสร้างกุศลกันมา ครั้งเป็น
มนุษย์ช่วยปกครองสวรรค์ชั้นนี้ด้วย ฉะนั้น สวรรค์ชั้นนี้จึงปรากฏนามสืบมา
จนทุกวันนี้ว่า ดาวดึงส์ = สวรรค์ซึ่งเป็นที่อยู่ของเทพสามสิบสามองค์

อสูรพิภพ
ฝ่ายเนวาสิกเทพบุตรผู้เป็นเจ้าถิ่นเดิมครั้นถูกพวกของสมเด็จพระ-
อมรินทราธิราชจับขว้างทิ้งลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในครั้งนั้น พอตกมาถึง
ท่ามกลางสิเนรุบรรพตก็ค่อยได้สติสมปฤดี แล้วจึงถ้อยทีถ้อยกล่าวแก่กันว่า
"พ่อเอ๋ย ชาวเราทั้งหลาย! แต่นี้ต่อไปพวกเราอย่าไดัดื่มกินซึ่งน้ำคันธบานอัน
มีฤทธิ์ร้ายประดุจสุราเลย เพราะดื่มน้ำ คันธบานนี่เอง ชาวเราทั้งหลายจึง
ต้องได้ รับความอัปยศในครั้งนี้ จักขึ้นไปอยู่ในสถานที่เก่ากระไรได้" แต่เฝ้าเสีย
ใจและให้โอวาทอนุสาสน์แก่กันดังนี้ แล้วก็พร้อมใจกันเลิกดื่มน้ำคันธบานตั้งแต่
วันนั้นเป็นต้นมา ฉะนั้น เทพบุตรเหล่านั้นจึงได้นามว่า อสูร ซึ่งแปลว่า ผู้ไม่
ดื่มน้ำคันธบานอันมีฤทธิ์แรงคล้ายสุรา
ด้วยเดชะแห่งกุศลกรรมที่เทพบุตรเหล่านั้นได้สร้างสมมาแต่ปางก่อน จึง
บังเกิดเป็นเทพนครอันสวยสดงดงามตระการ กว้างใหญ่รุ่งเรืองคลัายกับ
ดาวดึงล์พิภพทุกประการ เพียงแต่ว่าความวิจิตรพิสดารต่ำกว่าเล็กน้อยเท่านัน
นครนี้ บังเกิดขึ้นที่เชิงสิเนรุบรรพต ปรากฏว่ามีน้ำล้อมรอบกำแพงเมืองเป็น
ปกติอยู่เสมอมิได้ขาด มีรุกขชาตินามว่า ไม้ปาตลี คือ ไม้แคฝอย ประดับ
งดงามประจำพระนครนี้ เพราะเหตุที่เทพบุตรเหล่านั้นเข้าอยู่อาศัยแสนสำราญ
ฤทัย เทพนครนี้จึงได้นามว่า อสูรพิภพ = พิภพของอสูรเทพบุตร

ท้าวเวปจิตตาสูร
เทพบุตรผู้เป็นประธานาธิบดี มีนามว่า สัมพรอสุรา เธอเป็นใหญู่ในอสูร
พิภพ บริบูรณ์ด้วยวรรณะอิสริยศักดิ์เช่นเดียวกับองค์อมรินทราธิราชบน
ดาวดึงส์พิภพทุกประการ เบื้องว่าอสูรทั้งหลายเสวยสมบัติอยู่ในอสูรพิภพนั้น
ต่อเมื่อใดไม้ปาตลีมีดอกบานสะพรั่ง เหล่าอสูรหวนคิดถึงความหลัง ครั้งอยู่บน
เทวนครดาวดึงส์ ซึ่งมีไม้ปาริชาตประจำเทพนคร ย้อนนึกถึงความเก่าก็มีความ
เศร้าระคนเคืองแค้นนักหนา ช่ะ น้อยไปหรือ องค์อมรินทร์ล่อลวงให้เราดื่ม
กินน้ำคันธบานแต่ฝ่ายเดียว มิได้เฉลียวใจเลยว่าจะหยาบช้าคิดชิงเอาเทพนคร
ของเราได้ มาเถิดเหวย เราทั้งหลายจะพากันไปชิงเอาสมบิตของเราคืนให้จงได้"
แล้วก็จัดแจงสรรพโยธาเป็นอันมาก มุ่งหน้าขึ้นไปเพื่อจะต่อสู้ทำสงครามสัม-
ประหารกับสมเด็จพระอมรินทราธิราชปางเมื่อเทวาสูรสงคราม คือ สงคราม
ระหว่างเทวดากับอสูรรบกันนั้น ปรากฏว่า ฝ่ายอสูรเทพบุตรมีแต่ความปราชัย
มากกว่ามีชัย องค์สัมพรอสูรผู้เป็นใหญ่แสนเจ็บใจนัก เมื่อปลาตนาการหนี
มาพบบรรณศาลาของโยคีฤๅษีสิทธิ์ทั้งหลาย ก็เข้าใจเอาเองว่าองค์อินทร์คง
จักมีโยคีเหล่านีเป็นองคมนตรีที่ปรึกษา ฝ่ายตนจึงปราชัยพ่ายแพ้ แล้วสั่งให้
บริวารพากันแย่งยื้อรื้อบรรณศาลาเสีย มิหนำซ้ำยังทุบต่อยหม้อน้ำ และทำลาย
บริขาร ของโยคีทั้งปวงไม่มีชิ้นดี ฤๅษีทั้งหลายจึงปรับความเข้าใจว่า ''อาตมา
ภาพทั้งปวงมิได้เกี่ยวข้องในการนี้ อย่าต้องให้ มีความลำบากเลย ขอบพิตรจง
ให้ อภัยเสียเถิด" สัมพรอสูรได้ฟังจึงว่า "ข้าแต่พระดาบสทั้งปวง ท่านทั้งปวงนี้
พอใจที่ จะคบหาด้วยพระอินทร์ซึ่งเป็นผู้ผิด แล้วกลับมาขอซึ่งอภัยแก่ข้า
อภัยนั้นหามีไม่แล้ว น่าที่ข้าพเจ้านี้มีแต่จะให้ซึ่งภัยแก่พระผู้ เป็นเจ้าอย่างเดียว
จึงเหมาะกว่า ดาบสทั้งหลายจึงพร้อมใจกันสาปแช่งว่า
" ดูกรอสูรผู้ใจบาป เราทั้งปวงนี้มีความประสงค์จะขอ
อภัย ไยท่านกล้ามาให้ซึ่งภัยเสียเล่า? เราใคร่จะขอรับเอา
อภัยอย่างเดียว เมื่อท่านมาให้ภัยกระนี้ เรามิรับดอก ภัยนั้น
จงตกอยู่กับตัวท่านเองเถิด นี่แน่ะสัมพรอสูรเอ๋ย ธรรมดาว่า
พืชทั้งปวงนั้นอันบุคคลหว่านลงไป คราวเมื่อจะได้ผล ก็ไห้
ผลบ่มิผิดก็บพืชเลยฉันใดก็ดี กัลยาณการ บุคคลกระทำซึ่ง
การกุศล ก็จักพลันได้ซึ่งผลแห่งกุศลนั้น เป็นเที่ยงแท้ แต่
บาปการีบุคคลกระทำซึ่งบาปหยาบช้า ก็อย่าหมายเลยว่าจะ
ไม่ได้รับผลแห่งความชั่ว ตัวท่านให้ซึ่งภัยแก่อาตมภาพทั้ง
ปวงก็จักได้รับภัยในไม่ช้านี้ "
ตั้งแต่วันที่มีปากคำต่อเถียง และถูกพระดาบสทั้งหลายสาปแช่งมา
สัมพรอสุรินทร์มิเป็นอันจะกินจะหลับจะนอนเลย มีแต่หวาดเสียวสะดุ้งจิ ต
ประสาทหวาดหวันอยู่เป็นนิตย์ เฝ้าแต่คิดกลัวภัยที่ดาบสว่า เพลาเข้าสู่ที่บรรทม
ในคราวหนึ่ง แต่พอเอนซึ่งองค์ลงว่าจะหลับก็มีอันให้เห็นศัตรูร้ายมาแวดล้อม
กลุ้มรุม และจะแทงด้วยหอกใหญู่ ก็ให้ หวาดใจพะว้าพะวัง แล้วผวาลุกขึ้นทันที
ร้องขึ้นด้วยสำเนียงอันดังว่า "นี่ใครจะมาทำอะไรแก่ข้า" ที่นั้นหมู่อสูรทั้งหลาย
ก็แตกตื่นพากันมาเยี่ยมเยียนเป็นอันมาก ต่างไต่ถามว่าเป็นประการใด สัมพร-
อสูรนั้นไซร้ ท้าวเธอเกรงจักได้ รับความอับอาย จึงอำพรางเสียมิได้ บอกแก่
ผู้ใดผู้หนึ่ง ครั้นถึงเพลาบรรทมอีกเล่า นิมิตรัายนั้นก็เข้ามาปรากฏอีกเหมือน
เดิม แต่มันมาปรากฏอยู่หลายครั้งหลายหนนักหนา จอมอสูราเลยเป็นไข้!
กลายเป็นเทพผู้ป่วยโรคาพาธ มีจิตประสาทหวาดหวั่นไหวให้สะดุ้งกลัวอยู่
เนืองๆ เรื่องอัปยศขายหน้าที่ท้าวเธอปกปิดนักหนา ก็กลายเป็นอันว่ารู้กันไป
ทั่วทั้งหมู่เทพเทวา มิหนำซ้ำ ยังพากันขนานนามอีกว่าท่านท้าวเวปจิตตาสูร -
จอมอสูรผู้ มีจิตหวาดหวั่นไหว
ความเป็นอยู่ เมื่อกล่าวถึงความเป็นอยู่ในอสูรพิภพนี้ ก็มีความเป็นอยู่
เช่นเดียวกับทวยเทพทั้งหลาย คือ เสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุข มีแต่ความสดชื่น
รื่นเริงใจอยู่เป็นอันมาก มิต้องลำบากยากเข็ญ แต่ประการใด ด้วยอำนาจ
กุศลกรรมที่เหล่าอสูรทำไวัแต่ปางก่อน โดยมีการแบ่งเขตปกครอง ดังต่อไปนี้
๑. ทิศตะวันออก มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ท่านท้าวสัมพรอสูร หรือ
ท่านท้าวเวปจิตตาสูรที่กล่าวถึงเมื่อตะกี้นี้ ทรงเป็นองค์อธิบดีปกครองเอง
แล้วทรงแต่งตั้งให้ ไพจิตตาสูรเป็นองค์อุปราช
๒. ทิศใต้ ท้าวอสัพพราสูรเป็นองค์อธิบดี มีทัาวสุลิอสูรเป็นองค์อุปราช
๓. ทิศตะวันตก ท้าวเวลาสูรเป็นองค์อธิบดี มีท้าวปริกาสูรเป็นองค์อุปราช
๔. ทิศเหนือ ท้าวพรหมทัตตาสูรเป็นองค์อธิบดี มีท้าวอสุรินทราหูเป็น
องค์อุปราช

อสุรินทราหูโพธิสัตว์
เบื้องอสูรพิภพอันแสนสุข ขณะนี้ มีเทพบุตรสำคัญองค์หนึ่ง ซึ่งใคร่จะนำ
มากล่าวแทรกไว้เสียในตอนนี้ เพราะบางทีในตอนหน้าอาจจะไม่มีโอกาสกล่าว
ถึงอีกก็ได้ ถ้าขาดหายไปเว้นไม่กล่าวถึงก็น่าเสียดายอยู่ เทพบุตรองค์ที่ว่านี้
คือ ท้าวอสุรินทราหู ผู้มีกายใหญ่เหนืออสูรทั้งหลาย ในอสูรพิภพแดนสุขาวดี
อสุรินทราหู ของค์นี้ เป็นองค์อุปราชจอมอสูร ปกครองด้านทิศเหนือ
แห่งอสูรพิภพ มีพละกำลังกล้าแข็ง และมีน้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวยิ่งกว่าบรรดา
อสูรทั้งหลาย ทั้งมีสรีระสูงใหญู่นักหนา เพราะค่าที่มีกายสูงใหญ่นี่เอง จึงเป็น
เหตุให้เข้าใจผิด แม้ตนเองจะมีจิตเลื่อมใส ใคร่จะได้ทอดทัศนาองค์สมเด็จพระ-
สัมมาสัมพุทธเจัา ก็ไม่กล้ามาเฝ้า ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธ
ศาสนา เป็นใจความว่า
อสุรินทราหูนั้นได้สดับกิตติศัพท์กิตติคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาลัมพุทธเจ้า
จากเทพยดาทั้งหลาย และได้เห็นเทพยดาเหล่านั้นพากันไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มี-
พระภาคเจ้าอยู่เนืองๆ ก็มาดำริถึงตนเองว่า "เรานี้มีกายสูงใหญ่ จะไปสู่สำนัก
พระพุทธองค์เจ้าซึ่งมีพระองค์อันน้อยนิด และจะก้มตัวดูพระพุทธองค์นั้น ไม่
สมควรเป็นการขาดคารวะ" ท้าวเธอดำริฉะนี้แล้ว ก็ไม่ได้ มาเฝ้าสมเด็จพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทั้งที่ทรงมีความปรารถนาจะเฝ้านักหนา
อยู่มาวันหนึ่ง อสุรินทราหูได้ฟังเทพดาทั้งปวงพากันสรรเสริญพระเดช
พระคุณ แห่งสมเด็จพระสัมมาส มพุทธเจ้าอันหาที่สุดมิได้ ก็เกิดความเลื่อมใส
เป็นกำลัง อดใจมิได้แล้วจึงเดินทางมาพลางดำริว่า "เราจักอุตสาห์ไปให้ได้
เห็น พระพุทธองค์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ แม้แต่สักครั้งหนึ่งคราวเดียวก็ยังดี
แต่ว่าเราจะก้มจะกราบอย่างไรหนอ คิดพลางเดินพลางมาสู่สำนักสมเด็จ
พระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความกังวลใจ
กาลนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงทราบอัธยาศัยของจอมอสูร จึงรับสั่ง
ใหัพระอานนท์ตบแต่งพระแท่นที่บรรทมแล้วพระองค์ก็ทรงเนรมิตพระวรกาย
ให้ โตใหญ่สำเร็จสีหไสยาสน์ ฝ่ายอสุรินทราหูผู้มีกายอันสูงใหญ่ไดัสี่พันแปดร้อย
โยชน์ ครั้นมาถึงสำนักพระพุทธองค์แล้ว ก็ต้องแหงนหน้าขึ้นแลดูสมเด็จ
พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธนฤมิตนั้น มีครุนาดุจทารกกุมารแหงนดู
ปริมณฑลแห่งพระจันทร์ก็ปานกัน สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงมีพระพุทธฎีกา
ตรัสถามว่า ''ดูกรอสุรินทร์! ท่านมาแลดูตถาคตนี้ เห็นเป็นประการใดบ้าง?"
ท้าวเธอจึงกราบทูลว่า "ขอเดชะ ทรงพระกรุณา กระหม่อมฉันนี้ ไม่ทราบเลย
ว่า พระองค์จักทรงพระเดชพระคุณอันล้ำเลิศประเสริฐเห็นปานนี้นฤมิต
พระวรกายให้ใหญ่ยิ่ง เพื่อให้กระหม่อมฉันได้เข้าเฝ้าโดยสะดวก จึงเพิกเฉยมิ
กล้ามาสู่สำนักของพระพุทธองค์เจ้าเป็นเวลานาน สมเด็จพระมหากรุณาสัมมา
สัมพุทธเจ้าจึงทรงมีพุทธฎีกาว่า
"ดูกรอสุรินทร์! เมื่อตถาคตบำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้โปรดเวไนยสัตว์ทั้งปวง
อยู่นั้น จัได้ก้มหน้าย่อท้อต่อความลำบากที่จะกระทำบำเพ็ญก็หามิได้ ตั้งใจ
บำเพ็ญมิได้หดห่อย่อท้อ แม้จักแสนยากเพียงไร ก็มิได้ก้มหน้าทอดอาลัยเลย
เหตุฉะนี้ บุคคลที่ปรารถนาจะแลดูตถาคตนี้ จะตัองก้มหน้าลงดูเหมือน
อย่างท่านคิดก็หาไม่" มีพระพุทธฎีกาตรัสฉะนี้ แล้ว ก็โปรดประทานพระธรรม
เทศนาแก่จอมอสูรซึ่งก็ทำให้จอมอสูรมีน้ำ พระทัยเต็มตึ้นไปสัวยความเลื่อมใส
จืงได้แปล่งคำนมัสการว่า "ตสฺส" ดังนี้

บุพพภาคนมการ
แท้จริง คำนมัสการสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งชาวเราพากันสวดอยู่
ทุกวันนี้ ผู้ที่กล่าวครั้งแรกมีดังต่อไปนี้
๑. นโม = สาตาคิริยักษ์ และเหมวตายักษ์
๒. ตสฺล = อสุรินทราหู อุปราชแห่งอสุรพิภพ
๓. ภควโต = ตปุสสะภัลลิกะมาณพ
๔. อรหโต = สมเด็จพระอมรินทราธิราช
๕. สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส = ท่านท้าวพกาพรหม
จึงรวมเป็น นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ซึ่งได้ ชื่อว่า
บุพพภาคนมการ คือ คำกล่าวนมัสการนอบน้อมในเบื้องต้น ก่อนที่สาธุชน
พุทธบริษัทจะประกอบศาสนกิจอย่างอื่นต่อไป และปรากฏยังยืนมาได้จนถึง
ปัจจุบันทุกวันนี้

บารมีของอสุรินทราหู
อสุรินทราหูผู้นี้ ต่อไปภายหน้าอีกนานแสนนาน จักได้มาตรัสเป็น
พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต เพราะได้สร้างสมอบรมบารมีอันสูงส่ง
ยอดเยี่ยมมาแต่อดีตกาล ประวัติการสร้างบารม ของอสุรินทราหู ปรากฏมีใน
พระคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ซึ่งจะขอนำมาเล่าไว้ โดยย่อ ดังต่อไปนี้
สมัยศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พุทธกัสสปะ
นั้นอสุรินทราหูผู้นี้บังเกิดเป็นมนุษย์ มีพระชาติเป็นพระมหากษัริย์ทรงพระนาม
ว่า พระสิริคุตมหาราช พระนางลำภูราชเทวีเป็นพระมเหสี มีพระราชโอรสธิดา
ทรงพระนามว่า เจ้าชายนิโครธกุมาร และ เจ้าหญิงโคตมีกุมารี พระองค์
ทรงครอบครองมัลละนครโดยผาสุก ต่อมาภายหลงทรงสละราชสมบัติ พาพระ
มเหสีและพระโอรสราชธิดาไปบรรพชาเป็นดาบสอยู่บนภูเขาใหญ่ อาศัยผลาผล
เลี้ยงชีวิตด้วยความสงบสุข
วันหนึ่งปรากฏว่ามียักษ์ร้ายนามว่า ยันตยักษ์โผล่ออกมาจากป่าแล้วร้องว่า
''ข้าแต่พระองค์ ข้าพเจ้าเกิดมาเป็นยักษ์ ซื่งมีเลือดแลเนื้อเป็นภักษาหาร
วันนี้มีความหิวนักหนาขอพระองค์ได้โปรดประทานอาหารให้แก่ข้าพระองค์เถิด
ฝ่ายพระชินวงศ์องค์สิริคุตราชฤๅษี ครั้นได้ฟังวาทีของยักษ์ ก็ทรงโสมนัส
ศรัทธาเป็นที่ยิ่ง จึงทรงมีสุนทรวาทีตรัสว่า
''ลูกของเรา มิใช่ว่าเราจะไม่รักก็หาไม่ เรารักอาลัยเป็นที่สุดดุจดวงใจ
แต่ทว่าเรารักในพระโพธิญาณยิ่งกว่ากุมารทั้งสองหลายพันเท่า เอาเถิด เราจะ
สละโอรสธิดาให้เป็นทานแก่ท่านในกาลบัดนี้ '' แล้วทรงหลั่งอุทกธาราลงเหนือ
หัตถ์มหายักษ์ เปล่งพระวาจาประกาศแก่ฝูงเทพเจ้าแลนางธรณีให้เป็นสักขี
พยานว่า
"ด้วยเดชะแห่งผลทานอันนี้ ขอจงสำเร็จแก่พระ
โพธิญาณในอนาคตกาล" ดังนี้
เรื่องที่เล่ามานี่ เป็นการสร้างบารมี เพื่อพระโพธิญาณของอสุรินทราหู ซึ่ง
เคยบำเพ็ญมาแล้วเพียงชาติเดียว และท่านจะต้องบำเพ็ญบารมีอีกนานนักหนา
และในชาติสุดท้ายภายหลังเมื่อพระบารมีเต็มรอบบริบูรณ์ แล้วพระองค์จักมา
ตรัสเป็นพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระพุทธนารทะ ในศาสนาของพระองค์
มนุษย์ทั้งหลายสมัยนั้นจักมีรูปโฉม และมีพรรณสิริวิลาส สวยสดงดงามเป็น
อย่างยิ่ง มีอายุหนึ่งหมื่นปีเป็นกำหนด ส่วนองค์พระสัพพัญญูพุทธนารทะสัมมา
สัมพุทธเจ้า คือ อสุรินทราหู ในปัจจุบันนี้ ก็จะทรงมีพระรัศมีแผ่ออกจากพระ
วรกายเป็นแผ่นทึบ สว่างรุ่งเรืองทั้งกลางวันและกลางคืน ทรงมีพระชนมายุ
หมื่นปี จึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน เหตุการณ์เช่นนี้จักมีในอนาคตกาลอย่าง
แน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย

สมบัติในไตรตรึงษ์
ลำดับนี้ จักกล่าวถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อไป เพราะที่เล่ามาทั้งหมดแล้ว
นั้น เป็นการกล่าวถึงอสูรพิภพ ซึ่งมิใช่สวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ ถึงกระนั้น ก็มีเรื่อง
เกี่ยวพันที่ควรทราบอยู่บ้าง จึงนำมาเล่าไว้ มิใช่ตั้งใจจะกล่าวให้วกวนอ้อมค้อม
นั้นหามิได้
ก็สมบัติบนลวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้มีมาก เพราะเหล่าเทพบุตรเทพธิดาซึ่งมี
บุญญาธิการไปเกิดในสวรรค์ชั้นนี้มีเป็นจำนวนมาก ทั้งจอมเทพผู้เป็นประธานา-
ธิบดี คือ สมเด็จพระอมรินทร์ ก็ทรงมีบุญูญูานุภาพเป็นอันมาก ทรงฝักใฝ่ใน
การกุศลอยู่เนืองนิตย์ ไม่ทรงมีความประมาทในบุญูกุศลแม้แต่น้อย เมื่อเหล่า
เทพเจ้าทั้งหลายต่างองค์ต่างก็มีบุญญาธิการเช่นนี้ สรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จึง
เจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้ จักกันแพร่หลายในหมู่เทวดาแลมนุษย์ รู้กันว่า
เป็นภูมิที่อยู่อันแสนสนุกสุขสำราญ โยคีฤๅษีสิทธิ์ผู้ได้ฌานก็ดี แม้แต่พระอริย-
เจ้าบางองค์ผู้ได้อภิญญาก็ดี ซึ่งมีฤทธาศักดานุภาพเหนือมนุษย์ธรรมดา ย่อม
พากันมาชมมาดูสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์นี้มิได้ขาด
นอกจากปราสาทไพชยนต์พิมาน อันเป็นที่ประทับอยู่ขององค์อมรินทร์
จอมเทพแล้ว ในสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ ยังมีอุทยานอันเป็นทิพย์อยู่ มากมาย
เมื่อนับแต่อุทยานใหญ่ ๆ ก็ได้ดังนี้
๑. ทิศตะวันออก มีอุทยานทิพย์ชื่อ นันทวัน
๒. ทิศตะวันตก มีอุทยานทิพย์ชื่อ จิตรลดาวัน
๓. ทิศเหนือ ...มีอุทยานทิพย์ชื่อ สักกวัน
๔. ทิศใต้ ...มีอุทยานทิพย์ชื่อ ผรุสกวัน
สวนขวัญอุทยานทิพย์เหล่านี้ เป็นสถานที่สวยสดงดงาม สนุกสนาน จะหา
เปรียบปานในมนุษยโลกนี้มิได้ เพราะเป็นอุทยานทิพย์ในสรวงสวรรค์ เต็มไป
ด้วยสรรพรุกขชาติบุปผชาตินานาพรรณ นอกจากนั้นก็มีสระโบกขรณี ซึ่งมี
น้ำใสดุจแผ่นแก้วดูรุ่งเรือง และมีปาสาณศิลาคือก้อนหินศิลา ล้วนแต่เป็นทิพย์
มีรัศมีสวยสด ทั้งมีแท่นที่นั่งเล่น สีขาวสะอาดดุจใครแสร้งวาดไว้ให้พิจิตรสวย
งาม ฝูงเทพบุตรเทพธิดาย่อมมาเล่นสนุกในสวนสวรรค์อุทยานทิพย์เหล่านี้เป็น
เนืองนิตย์

พระจุฬามณีเจดีย์
เมืองฟ้าชั้นไตรตรึงษ์นี้ มีสถานที่สำคัญที่สุดอยู่แห่งหนึง สถานที่ที่ว่านี้ก็
คือ พระจุฬามณีเจดีย์เจ้า เป็นเจดีย์มีทรงสัณฐานใหญู่ ตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์
คือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเทพนครไตรตรึงษ์ แลดูงดงามรุ่งเรืองนัก เพราะ
สร้างด้วยแก้วอินทนิล ตั้งแต่กลางถึงยอดเจดีย์ทำด้วยทองคำเนื้อแท้ แล้ว
ประดับด้วยสัตตพิธรัตนะ คือ แก้ว ๗ ประการ ส่วนสูงทั้งหมดแปดหมื่นวา มี
กำแพงทองคำาเนื้อแท้ ล้อมรอบกำแพง แต่ละด้านนั้นยาวหนึ่งแสนหกหมื่นวา
มีธงชนิดต่างๆ มีสีนานา แดงบ้าง เหลืองบ้าง เขียวบัาง ประดับประดา แลดู
งามพรรณรายนักหนา ฝูงเทพยตาพากันถือเครื่องตีเครื่องเป่า สังคีตสรรพ
ดุริยางค์ทั้งหลาย มาบรรเลงถวายบูชาพระเจดีย์เจ้าทุกวันมิได้ขาด
พระจุฬามณีเจดีย์องค์นี้ เพิ่งจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระอมรินทราธิราช
องค์ปัจจุบันนี้เอง พระองค์สร้างไว้เพื่อจะได้เป็นที่สักการบูชาของหมู่เทวดา
ในชั้นฟ้า ประวัติการสร้างก็มีอยู่ว่า
เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธองค์ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์บรรพชาทรงตัด
มวยพระเกศโมลี แล้วทรงอธิษฐานว่า
"ถ้าจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว ขอ
ให้มวยเกศโมลีนี้จงลอยขึ้นไปในอากาศเถิด อย่าได้ตกลง
มาสู่พื้นปฐพีเลย"
คราวนั้น สมเด็จพระอมรินทราธิราชจึงทรงนำเอาผอบทองคำลงมา
รองรับพระเกศโมลีนั้น แล้วทรงนำมาบนดาวดึงส์ สร้างพระเจดีย์สำหรับบรรจุ
ไว้ด้วยความเคารพเลื่อมใสอย่างสุดซึ้ง แล้วจึงทรงขนานนามว่า พระเกศจุฬา
มณีเจดีย์
อนึ่ง เมื่อครั้งโทณพราหมณ์นักปราชญ์ใหญ่ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ แบ่ง
พระบรมสารีริกธาตของสมเด็จพระผู้มีพระภาค ครั้งถวายพระเพลิงพระบรม
ศพเสร็จใหม่ๆ นั้น ขณะที่โทณพราหมณ์ให้เปิดรางทองคำออก พระราชา
ทั้งหลายที่จะได้รับส่วนแบ่ง ได้พร้อมกันมาประทับยืนอยู่ใกล้ๆ ครั้นได้ทอด
พระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุอันมีสีเหมือนทองคำ ต่างองค์ต่างก็รำพัน
อาลัยรักในพระผ้มีพระภาคเจ้าว่า
"โอ้...ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สัพพัญญู เมื่อกาลก่อน
ข้าพระบาททั้งหลายได้เห็นพระสรีระของพระองค์ซึ่งทรงมหา-
ปุริสลักษฌะ ๓๒ ประการ และมีพระฉัพพรรณรังสีรุ่งเรือง
ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐บัดนี้ ควรฤๅมีแต่เพียงพระธาตุต่าง
พระพักตร์ ไม่สมควรแก่พระองค์เลย"
ฝ่ายโทณพราหมณ์ ซึ่งคอยสังเกตลอบชำเลืองอยู่ เห็นกษัตริย์เหล่านั้น
เผลอรำพันถนัดดีแล้วได้ท่าตะแกก็ลอบหยิบเอาพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวา มา
ซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะของตน แล้วทำมิรู้มิชี้ป้องปากตะโกนป่าวประกาศแบ่ง
พระธาตุออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อถวายบรรดาพระมหากษัตริย์ทั้งหลายต่อไป
กล่าวถึงสมเด็จพระอมรินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ ได้เสด็จมาสังเกตการณ์อยู่
ดัวยพระทัยปรัสงค์จะได้พระธาตุเหมือนกัน ครั้นเห็นพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวา
อันประเสริฐตกเป็นสมบัติของโทณพราหมณ์ เพราะตะแกถือเอาดัวยกิริยาโจร
เช่นนั้น ก็ทรงดำริว่า โทณพราหมณ์ผู้นี้ถึงแม้จะมีคุณธรรมประเสริฐ ได้สำเร็จ
เป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี ก็จักไม่อาจทำสักการบูชาพระธาตุนี้ให้
สมกับพระเกียรติคุณอันอเนกอนันต์ของพระผู้มีพระภาคได้ ความจริงอัน
พระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งวิเศษหาค่ามิได้
บุคคลใดผู้ หนึ่งซึ่งมีบุญญูาธิการมาก ก็ย่อมจะได้พระบรมธาตุด้วยอานุภาพของ
ตน เมื่อพระบรมธาตุเป็นสิ่งวิเศษหาค่ามิได้เช่นนี้ ถึงแม้เราจักต้องรบรา
ฆ่าฟันกันให้ถึงตาย เพื่อจะได้ มาซึ่งพระบรมธาตุก็ไม่เสียดายชีวิตเลย จำเราจัก
นำเอาพระบรมธาตุพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาของพระบรมศาลดาไปประดิษฐานที่
จุฬามณีเจดีย์ให้จงได้ จักเป็นไรก็ตามทีเถิด ทรงดำริฉะนี้แล้ว ก็ทรงเตรียม
ผอบทองคำเอาไว้ ครั้นเห็นโทณพราหมณ์ผู้เฒ่ากำลังสาละวนวุ่นวายแบ่ง
พระธาตุอยู่นั้น ท้าวโกสีย์ก็ลอบอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากผ้าโพกศีรษะ
ของพราหมณ์แก่ลงสู่ผอบทองคำทิพย์ รีบเสด็จไปประดิษฐานบรรจุไว้
พระเกศจุฬามณีเจดีย์
จึงเป็นอันว่า ภายในพระเกศจุฬามณีเจดีย์ ซื่งสถิตประดิษ ฐานอยู่บน
สวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์นั้น บรรจุสิ่งสำคัญอันหาค่ามิไดัในพระพุทธศาสนาไว้ถึง ๒
อย่าง คือ พระเกศโมลีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระบรมธาตุเขี้ยวแก้ว
เบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น จึงปรากฏว่า เหล่าเทพยดาทั้ง
หลายต่างมีความเคารพเลื่อมใสในองค์พระเจดีย์นี้ยิ่งนัก สำหรับสมเด็จพระ
อมรินทร์เองนั้น แทบไม่ต้องกล่าวก็ได้ว่าทรงมีพระศรัทธาเลื่อมใลเพียงใด ทุก
วารวันพระองค์พร้อมด้วยเหล่าบริษัทมีพระหัตถ์ถือดอกไม้ธูปเทียนของทิพย์
สคนธชาดิไปถวายพระเจดีย์เจ า แล วกระทำประทักษิณเวียนเทียนเสมอมิได้ ขาด
นอกจากนี้แล้ว เทพเจ้าที่สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นอื่น เช่นท้าวจาตุมหาราชใน
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ และเทวดาชั้นยามา ดุสิต เป็นต้น ต่างก็มา
นมัสการพระเกศจุฬามณีเจดีย์เจ้านี้เป็นนิตย์

ปาริชาต
นอกเมืองไตรตรึงษ์ออกไปทางทิศอีสาน คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
มีสวนอุทยานทิพย์แห่งหนึ่ง นามว่า ปุณฑริกวัน เป็นสวนกว้างใหญ่ยิ่งนัก
มีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ดัาน กลางสวนนั้นมีไม้ทองหลางใหญ่ต้นหนึ่ง เป็นไม้
ทิพย์มีชื่อว่า ปาริชาต กัลปพฤษ์ ใต้ต้นไม้ทิพย์นั้นมีแท่นศิลาแก้วอันหนึ่ง ชื่อว่า
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เป็นแท่นสีแดงดังดอกชบา และอ่อนดุจผ้าฟูกหรือดัง
หงอนราชหงส์ทอง เมื่อสมเด็จพระอมรินทราธิราชประทับนั่ง แท่นศิลาจะอ่อน
ยุบลงไป พอเสด็จลุกขึ้น แท่นศิลานี้ก็จะเต็มขึ้นมาตามเดิม เป็นแท่นศิลาที่ฟุบ
ลงได้ แลฟูขึ้นไดัโดยธรรมชาติอย่างนี้
ดอกปาริชาตนั้น ต่อหนึ่งร้อยปีจึงบานครั้งหนึ่ง และเมื่อดอกไม้สวรรค์นี้
จะบาน ฝูงเทพบุตรธิดาต่างยินดีนัก ย่อมเปลี่ยนเวรกันอยู่เฝัาดอกไม้นั้นจนกว่า
จะบาน ครั้นดอกไม้ นั้นบานแล้ว ย่อมมีแสงอันรุ่งเรืองงามนักหนา รัศมี
แห่งดอกปาริชาตินั้นเรือง ๆ ไปไกลได้แปดแสนวา เมื่อลมรำเพยพัดไปทิศใด
ย่อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทางทิศนั้นไกลสุดไกล เพราะไม่ใช่ดอกไม้ ดอกเดียว เป็น
ดอกไม้มากมายหลายดอก บานตลอดหมดทั้งต้นทุกกิ่งทุกกัาน ฝูงเทพยดาทั้ง
หลายเมื่อต้องการดอกไม้ นั้น มิพักต้องขึ้นไปเก็บให้เหนื่อยยาก เพียงแต่เข้าไป
ภายใต้ต้น ดอกปาริชาตก็จะหล่นลงมาถึงมือเอง ประดุจจะรู้จิตใจของเขา ถ้า
เขายังไม่ทันรับก่อนแล้ว ดอกไม้ก็หาตกถึงพื้นไม่ เพราะมีลมชนิดหนึ่งพัด
ชูดอกไม้นั้นเข้าไว้บนอากาศ มิให้ตกถึงพื้นจนกว่าเทพยดาผู้ต้องประลงค์จะมา
รับ ฝูงเทพยดาทั้งหลายย่อมมาเล่นสนุกสนานที่ใกล้ต้นปาริชาตนั้นเนืองนิตย์

สุธรรมาเทวสภา
เทวสถานไม่ไกลจากต้นไม้ สวรรค์ปาริชาตเท่าใดมีศาลาใหญ่หลังหนึ่งตั้ง
อยู่งามตระหง่านประเสริฐนัก ปรากฏนามว่า ศาลาสุธรรมา มีมณฑล
กว้างขวางใหญ่โต พื้นศาลาแล้วด้วยแก้วผลึก และประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ
มีกำแพงทองล้อมรอบศาลาสวรรค์นั้น และมีดอกไม้สวรรค์ชนิดหนึ่งนามว่า
อสาพติ ดอกไม้ ชนิดนี้ นานนักหนากว่าจะบาน ถ้วนหนึ่งพันปีจึงจะบานลักครั้ง
หนึ่ง แต่ว่าเมื่อบานแล้วล่งกลิ่นหอมนักหนา เมื่อเวลาจะบานนั้น เทวดาทั้ง
หลายย่อมเปลี่ยนเวรกันอยู่เฝ้าเพราะเทวดาทั้งปวงเขามีจิตใจรักดอกไม้ ยิ่งนัก
ภายในศาลาสุธรรมาเป็นที่ประชุมฟังธรรมของเหล่าเทพยดาทั้งหลาย จึงมี
ธรรมาสน์แก้วสวยงามใหญ่หลายวา เป็นธรรมาสน์ประจำตั้งอยู่ที่ศาลานั้น
นอกจากนี้ก็มีราชอาสน์ทิพย์ที่ประทับนั่งของสมเด็จพระอมรินทราธิราชจอมเทพ
ผู้เป็นใหญ่ แล้วก็มีที่นั่งของเทพเจ้าผู้เป็นพระสหายของพระองค์ ต่อจากนั้น
ก็เป็นอาสนะของเทพเจ้าทั้งหลายลดหลั่นกันไปตาม ฐานานุศักดิ์ เมื่อพูดถึง
ความรื่นรมย์ภายในศาลาลุธรรมานี้ มีความรื่นรมย์หาที่เปรียบมิได้ อบอวล
หอมหวนด้วยดอกไม สวรรค์นานาพรรณอยู่ตลอดเวลา ได้ทราบว่า ที่นี่เป็นที่
รื่นรมย์ชวนชมกว่าแห่งอื่นในสรวงสวรรค์ ผู้ที่ได้ไปเห็นมา เมื่อพบเห็นที่ใดที่
หนึ่งที่น่ารื่นรมย์ในมนุษยโลกนี้ มักจะพูดเปรียบเทียบว่า "รื่นรมย์เหมือน
สุธรรมาเทวสภาในสรวงสวรรค์ดาวดึงส์แดนสุขาวดี" ดังนี้

เทวดาสดับธรรม
เมื่อถึงวันธรรมสวนะ คือ วันพระ เหล่าเทพยดาทั้งหลายต่างก็มาประชุม
พร้อมเพรียงกันที่ศาลาสุธรรมมานี้ เพื่อที่จะสดับธรรมตามกาล การสดับธรรม
ตามกาลตามโอกาสนี้ ถือกันว่าเป็นอุดมมงคลอันสูงสุดสำหรับทวยเทพใน
สวรรค์ก็กิริยาที่เทพยดาทั้งหลายมานั่งประชุมพร้อมเพรียงกันที่อาสนะของตน
ตาม ฐานานุศักดิ์ ภายในศาลาลุธรรมาเพื่อสดับธรรมนี้ แลดูงดงามนักหนา
เป็นทัศนียภาพที่จักหาสิ่งใดเปรียบปานมิได้ เมื่อเหล่าเทพนั่ง พร้อมเพรียงกัน
แล้ว ลำดับนั้นมีพระพรหมองค์หนึ่งนามว่า พระพรหมกุมาร พระองค์เป็นผู้
ทรงธรรมและรู้ธรรมจึงเสด็จลงมาจากพรหมโลกอันไกลแสนไกล แต่ด้วยพรหม
วิสัย พระองค์เสด็จมาชั่วเวลามาตรว่าลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ก็มาถึงเทวโลก
สวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์นี้ ครั้นถึงแล้วจึงขึ้นสู่ธรรมาสน์แก้ว แล้วเทศนาแจกแจง
ธรรมะไพเราะจับจิตจับใจเหล่าเทวดา ด้วยเสียงแห่งพรหมซึ่งประกอบไปด้วย
องค์ ๘ ประการ คือ
๑. เสียงแจ่มใส
๒. เสียงชัดเจน
๓. เสียงนุ่มนวล
๔. เสียงน่าฟัง
๕. เสียงกลมกล่อม
๖. เสียงไม่พร่าแตก
๗. เสียงลึก
๘. เสียงมีกังวาน
เมื่อองค์พรหมกุมารแสดงธรรมอยู่ ด้วยเสียงแห่งพรหม ซึ่งประกอบไป
ด้วยองค์ ๘ ประการนี้ เหล่าเทพเจ้าผู้สดับย่อมเกิดความซาบซึ้งตรึงใจในรส
แห่งพระธรรมนักหนา พอควรแก่เวลาแล้ว องค์พระพรหมกุมารก็เสด็จกลับไป
พรหมโลกแดนไกล
บางคราว เทพเจ้าทั้งหลายก็อัญ เชิญเทพยดาผู้รู้ธรรมะในสวรรค์ชั้น
ดาวดึงล์นั่นเอง เป็นองค์แสดงธรรม เพราะว่าผู้รู้ธรรมของสมเด็จพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ทั้งปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วยตน ตายแล้วมาเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์
ชั้นไตรตรึงษ์นี้ก็มีมาก เทพยดาทั้งหลายมีสมเด็จอมรินทราธิราชเป็นประธาน
ย่อมทราบได้ดีว่า เทวดาใดเป็นผู้ทรงคุณวิเศษรู้ธรรม ก็พร้อมกันอัญูเชิญ ให้
เทพยดานั้น ขึ้นธรรมาสน์แก้วแล้วให้ แสดงธรรมโปรดพวกตน เสร็จแล้วจึง
อนุโมทนาสาธุการด้วยเสียงแห่งเทพยดาน่าชื่นใจนักหนา
บางคราว สมเด็จเจ้าจอมไตรตรึงษ์องค์อมรินทราธิราช ก็ขึ้นธรรมาสน์
แสดงธรรมเอง ก็แลวันไหนท้าวเธอทรงแสดงธรรมเอง วันนั้นเป็นวันพิเศษ
จริง ๆ และเทวดาทั้งหลายก็ตั้งอกตั้งใจนัก อยากจะให้ถึงวันนั้นเร็ว ๆ เพราะ
องค์พระอมรินทร์จอมเจ้า ถึงแม้ ว่าพระองค์เองจะเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล
ทรงสนใจในพระธรรมมาก หากมีกมลสันดานกอบด้วยศรัทธาเป็นบุญญาธิการ
อันสูงเยี่ยม ฉะนั้น เมื่อพระองค์ขึ้นธรรมาสน์แสดงธรรม ก็เทศนาแจกแจง
ธรรมได้ไม่นานเลย ด้วยมีพระทัยใคร่จะเฉลยผลบุญแห่งชนทั้งหลายให้
ประจักษ์ในเทวสภานั้น ทรงแสดงธรรมสิ้นกาลนิดหน่อยแล้ว จึงทรงเริ่ม
พิธีการเฉลยผลบุญแห่งชนทั้งหลายต่อไป

สุพรรณบัฏ
ในกรณีนี้ มีเทวนิยมว่า เมื่อสมเด็จพระอมรินทราธิราชทรงแลดงธรรม
จบแล้ว จึงทรงกวักพระหัตถ์เรียกพระมาตุลีเทพบุตร ทันใดนั้น พระมาตลี-
เทพบุตรผู้ชาญฉลาดทรายพระอัธยาศัย ก็คลานเข้าไปใกล้ ๆ ทูลเกล้าฯถวาย
สุพรรณบัฏ สุพรรณบัฏคือ อะไร ใคร่จะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ เสียก่อน ดังต่อ
ไปนี้
ได้ทราบว่า ท่านท้าวจตุโลกบาล คือ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งเป็นจอมเทพ
อยู่ในจาตุมหาราชิกาภูมิ ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำ ใกล้ชิดกับมนุสสภูมิเป็นที่ลุด
เมื่ออยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์ ก็ย่อมจะทราบความเป็นไปของหมู่มนุษย์ได้มาก
ประดุจมนุษย์เราอยู่ใกล้ชิดกับติรัจฉานภูมิ ก็ย่อมทราบความเป็นไปของ
ติรัจฉานฉะนั้น ในฐานะที่ท่านท้าวมหาราชเป็นเทพเจ้าทรงชีพอยู่ได้ด้วยบุญ
กุศล ก็ย่อมจะมีพระทัยฝักใฝ่ในบุญกุศลเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น เมือพระองค์
ทรงทราบว่า ผู้ใดได้ ลร้างบุญกุศลชนิดใดไว้ บ้าง จะเป็นว่าทราบด้วยพระองค์เอง
ก็ดีหรือเทวดาอื่นใดมีเทวดาผู้ตั้งอยู่ใน ฐานะแห่งบุตรของพระองค์ เป็นต้น
ซึ่งท่องเที่ยวไปในหมู่มนุษย์ด้วยเทพวิสัย แล้วมากราบทูลให ทรงทราบก็ดี
พระองค์ก็ทรงจดชื่อจารึกนามของท่านผู้ทำบุญูกุศลนั้นไว้ บนแผ่นทองเนื้อแท้
ด้วยดินสออันทำด้วยชาติหิงคุ โดยมีพระประสงค์จะนำไปถวายให้สมเด็จพระ
อมรินทราธิราชเจ้าจอมไตรตรึงษ์ ซึ่งมีพระอัธยาศัยใคร่จะรู้ ได้ทอดพระเนตร
พอถึงวันที่พระอินทร์เทศนาท้าวจตุมหาราชก็เสด็จขึ้นสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
แล้วนำเอาสุพรรณบัฏแผ่นทองเนื้อแท้จารึกชื่อสัตบุรุษผู้ สร้างกองการกุศลนั้น
ไปมอบให้ แก่เทพบุตรผู้หนึ่งซึ่งมีนามว่าปัญจสิขเทพบุตร ฝ่ายปัญจลิขเทพบุตร
พอรับสุพรรณบัฏแลัว ก็นำเอาไปให้แก่พระมาตลีเทพบุตรอีกทีหนึ่ง เพื่อจักได้
ทูลเกล้าฯถวายสมเด็จพระอมรินทราธิราชเจ้า หลังจากที่พระองค์ทรงแสดง
ธรรมจบลง
ครั้นองค์สมเด็จเจ้าจอมไตรตรึงษ์รับสุพรรณบัฏ จากพระมาตลีเทพบุตร
แล้ว ก็ทรงยื่นขึ้นอ่านประกาศรายชื่อในแผ่นทองให้ เหล่าเทพยดาที่ประชุมกัน
อยู่เนืองแน่นในศาลาสุธรรมเทวสภาพได้สดับด้วยพระสุรเสียงอันดังให้ได้ ยินกันทั่ว
หากว่ารายนามในแผ่นทองนั้นมีมาก เหล่าเทพยดาทั้งหลายก็แซ่ซ้องสาธุการดี
อกดีใจนักหนา เปล่งศัพท์สำเนียงออกมาด้วยความหวังว่า
"มนุษย์ทั้งหลายจักได้มาบังเกิดเป็นเพื่อนเรานี้มากนัก
หนา ชะรอยว่าจตุราบายโพ้นคงจักว่างเปล่าอยู่ ไม่มีผู้ใดไป
เกิดเป็นแน่แท้ "
ปวงเทพยดาเหล่านั้น ครั้นเปล่งศัพท์สำเนียงดังนี้แล้วก็ยิ้มระรื่นให้ แก่กัน
และกัน ด้วยความชื่นชมในบุญกุศล อันคนในเมืองมนุษย์พากันทำ
หากว่าได้ยินองค์อมรินทร์ทรงอ่านรายนามในแผ่นทองนั้นน้อยนัก เทพ"
ดาทั้งหลายก็จักพากันเลยใจ ไม่รื่นเริง เศร้าใจนัก ได้ แต่กล่าวกะกันและกัน
ดัวยความคาดคะเนว่า
"โอ้อนิจจาชาวเราเอ๋ย น่าอนาถ คนทั้งหลายในมนุษย
โลกโพ้นกระทำบุญน้อยนักหนา ชะรอยว่าเขาจะชวนกันทำ
บาปมากนักแล เขาคงจะไปเกิดแออัดยัดเยียดในจตุราบาย
โพ้นมากนัก เกรงว่าจำเนียรกาลภายหน้าเมืองฟ้าเรานี้จะ
ว่างเปล่า เราจัก ไร้เพื่อนเสียเป็นแน่แท้ "
ปวงเทพทั้งหลาย กล่าวแก่กันและกันดังนี้ แล้วก็เสียใจลลดใจอยู่ เพราะ
รู้ว่า มนุษย์ในเมืองพากันประมาทไม่กระทำบุญกุศล รู้สึกเสียใจอยู่ทั่วตน
เทพยดา แม้องค์อินทราธิราชก็พลอยเเศร้าใจอยู่ แล้วจึงทรงประกาศเลิก
ประชุมกลับสู่วิมานของตน เหตุการณ์เช่นนี ปรากฏมีอยู่เป็นประจำในสรวง
สวรรค์ชั้นดาวดึงล์แดนสุขาวดี
ที่กล่าวมานี้ เป็นความเป็นอยู่และระเบียบการของลวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อย่างย่อๆ ซึ่งปรากฏในสมัยปัจจุบันทุกวันนี้ โดยมีท้าวโกลีย์เทวราชผู้ซึ่งเป็น
พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันเป็นจอมเทพปกครองอยู่ ต่อไปภายหน้าอีกนาน
แสนนาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงองค์จอมเทพผู้ปกครอง ระเบียบการต่าง ๆ
เช่น การฟังธรรม เป็นต น อาจจะเปลี่ยนแปลงไปก็ได้ นั่นเป็นเรื่องของอนาคต
กาลอีกนานนัก

เทพทำบุญ
การที่สมเด็จพระอมรินทราธิราชพระองค์นี้ ทรงมีพระอุตลาหะสร้างพระ-
จุฬามณีเจดีย์ แล้วชักชวนเหล่าเทพเจ้าทั้งปวงมาสักการบูชาเป็นเนืองนิตย์ก็ดี
ทรงวางระเบียบให้ มีการสดับธรรมะที่ศาลาลุธรรมาทุกวันพระก็ดี เหล่านี้
พระองค์ทรงทำเพื่อประโยชน์อะไร? ก็เพื่อจะได้เป็นกุศลแก่เหล่า
เทพยดาทั้งหลาย รวมทั้งพระองค์เองด้วย ถ้าจะสงสัยต่อไปว่าก็กว่าจะมาเกิด
เป็นเทวดาในดาวดึงล์นี้ ได้ ก็ต้องประกอบการกุศลนักหนา ทีนี้ พอมาเกิดเป็น
เทวดาในสวรรค์ได้ เสวยทิพยสมบัติเป็นสุขแล้ว ยังจะกระทำบุญอะไรอยู่อีกเล่า
ทำไปเพื่อประโยชน์อันใดกัน? ก็จะมีคำวิสัชนาว่า
เกิดเป็นเทวดาแล้ว ใช่ว่าจะไม่ตายเมื่อไหร่เล่า เทวดาย่อมต้องจุติตายอยู่
เนือง ๆ เพราะสิ้นบุญ! เหตุดังนี้ เทวดาทั้งหลายจึงเร่งรัดกระทำการกุศลลืบอายุ
สังขารของตน ไม่มัวเมาประมาท เพราะเทวดาองค์ที่สร้างลมกุศลไว้น้อย ย่อม
อย่ในสรวงสวรรค์มิได้นานก็ต้องจุติ ส่วนเทวดาที่สร้างสมบุญกิริยาวัตถุ มี
ทานศีลเป็นต้นไว้ มาก ย่อมอยู่ในสวรรค์เสวยสมบัติทิพย์ได้ นาน จนสิ้นอายุ
ของสวรรค์ชั้นนั้นๆ
ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับคนทั้งหลายในโลกนี้ คนที่มีข้าวปลาอาหารเลี้ยง
ชีวิตน้อย แต่เป็นคนมีวิชา ทั้งมีปัญญาฉลาดหลักแหลม คิดทำการทำงานได้
เงินมาเรื่อย ๆ เหมือนค่อยหาข้าวเปลือกข้าวสารใส่ยุ้งฉางให้ เต็มบริบูรณ์อยู่
เสมออย่างนี่แล้วก็ไม่อดไม่อยากมีกินมีบริโภคอยู่เรื่อยไป ข้อนี้ฉันใด เทวดา
ทั้งหลายที่มีบุญน้อย เสวยผลอันน้อยของตนไปพลาง เมื่อกระทำบุญอื่นต่างๆ
เช่น มาสักการบูชาพระจุฬามณีเจดีย์ หรือสดับธรรมะที่ศาลาลธรรมาไปพลาง
ก็จะเป็นให้ ได้เสวยสุขในทิพยสมบัติอยู่ได้ นานเพราะผลบุญที่ตนพยายามสร้าง
อยู่เรื่อย ๆ ไม่หยุดยั้ง
อนึ่ง มนุษย์บางคนในโลกนี้ ถึงจะมีข้าวเปลือกใส่ไว้เต็มยุ้งฉางก็จริง
แต่ว่าเป็นคนไร้ วิชาหาสติปัญญามิได้ มีความเกียจคร้านเป็นบรม เอาแต่นั่ง
กินนอนกิน การงานไม่ทำ พอข้าวในยุ้งหมด ก็กลายเป็นคนอดอนาถา ข้อนี้ฉัน
ใด เทวดาทั้งหลายที่มีบุญมาก เสวยแต่ผลบุญเก่า หาได้กระทำบุญอื่นเพิ่มเติม
อีกไม่ ครั้นสิ้นบุญเก่าที่ทำไว้ ภายหลังก็จะถึงซึ่งความตกต่ำตายจากเทวโลกไป
อยู่ไม่ได้ หมดบุญแล้วก็จะอยู่ได้ อย่างไรกัน
อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ ที่มีข้าวเปลือกน้อย ทั้งสติปัญูญาสำหรับตัวก็ไม่
มี ทั้งมีความเกียจคร้าน งอมืองอเท้า งานการไม่รู้ จักทำ ครั้นหมดข้าวเปลือก
อันน้อยนั้น ก็เป็นคนที่แย่มาก ข้อนี้ฉันใด เทวดาทั้งหลายที่มีบุญน้อย เสวย
ทิพยสมบัติแต่ผลบุญเก่า หาขวนขวายทำบุญอื่นเพิ่มเติมอีกไม่ ครั้นหมด
บุญเก่าแล้วก็จะชะตาขาด ตกต่ำตายจากเทวโลก
อนึ่ง คนทั้งหลายในโลกนี้ เป็นคหบดีมีทรัพย์ ขัาวเปลือกข้าวสารมูลมอง
นองเนืองเต็มยุ้งเต็มฉาง ทั้งศึกษาวิชาความรู้ทุกประการ สติปัญญาเฉลียว
ฉลาดในทางโลก มีอุตสาหะในกิจการทั้งปวง ยิ่งทำยิ่งได้เหมือนกับจะแกล้ง
ร่ำรวยเจริญวัฒนาเพราะเขาเป็นคนมีปัญญาไม่เกียจคร้าน อย่างนี้ ย่อมเจริญ
ยิ่ง ๆ ขึ้นไปฉันใด เทวโลกทั้งหลายก็เหมือนกัน บางท่านบางเทวดาที่มีบุญญา-
ธิการมาก เป็นองค์เทพอิสราธิบดีโดยวิเศษ เช่น องค์สหัลเนตรอมรินทราธิราช
และอเนกวรรณเทพเจ้า จุลลรถมหารถเทพเจ้า อนาถปิณฑิกโสดาบันเทพเจ้า
วิสาขาเทพนารี แต่ละท่านล้วนมีบุญูญาธิการเป็นอันมาก เป็นเทพเจ้าผู้ทรง
บุญหนักศักดิ์ใหญ่ ประกอบดัวยความขวนขวายในกุศลอยู่เนือง ๆ ไม่ว่างเว้น
ก็จะเป็นเหตุให้ท่านท่องเที่ยวเวียนเสวยทิพยสมบัติ อยู่ในลวรรค์ชั้นเทวโลก
เบื้องลูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงพรหมโลกสูงสุดแห่งรูปภูมิสุทธาวาสชั้น
อกนิษฐ์ สถิตเสวยสุขสมบัติอยู่จนถึงกาลกำหนดชนมายุแล้วดับขันธ์เข้าสู่พระ-
นิพพาน ณ ที่นั่น มิได้มาเวียนตายเวียนเกิดอีกสืบไป
ท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ทวยเทพเทวาในสวรรค์เมืองฟ้า แม้ว่าจะเสวย
เทวสมบัติพรั่งพร้อมไปด้วยความสุขเป็นนิรันดร์ ถึงกระนั้นก็ยังมีอุตสาหะ
ขวนขวายประกอบการซื่งเป็นบุญกุศล อันจะนำตนให้ประสบสุขยิ่งขึ้นไป ทีนี้
หวนกลับมาถึงตัวเราท่านทั้ งหลายเวลานี้บ้าง ก็ควรเอาเยี่ยงอย่างเทวดาด้วย
การตั้งหน้าประกอบบุญูกุศล จะทำกุศลชนิดใด เอาไว้กล่าวข้างหน้า ตอนนี้
จะขอกล่าวความสำคัญก่อนว่า ผู้ที่ทำบุญูไว้แล้วไปเกิดในสวรรค์ซั้นดาวดึงล์นี้
มีมาก อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่ลัตว์เดรัจฉาน ถ้าน้ำใจเขาสัมประยุตต์ด้วย
กุศลจิต ขาดใจตายไปขณะนั้น ไม่พ้นพัวด้วยกุศลมลทินโทษ คือ โลภะ โทสะ
และโมหะ ซึ่งเป็นตัวกิเลสร้ายทำใจให้เศร้าหมองแล้ว ก็มาบังเกิดในสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์นี้ได้ เช่นกัณฐกะเทพบุตรผู้เป็นพญาม้าทรงขององค์พระสิทธัตถะราช-
ดนัย ซึ่งมีประวัติที่ควรแก่การบันทึกไว้ ดังต่อไปนี้

กัณฐกะเทพบุตร
เมี่อครั้งองค์สมเด็จพระสิทธัตถะราชดนัยเสด็จออกบรรพชามหาภิเนษกรมณ์
นั้นพระองค์ท่านขึ้นขี่อาชาพญากัณฐกะอัศวราช เสด็จไปในราตรี ครั้นถึงฝั่ง
แม่น้ำอโนมานที จึงทรงอธิษูฐานบรรพชาแล้วทรงให้ ฉันนะอำมาตย์กับพญา
อัศวราชกลับไปกรุงกบิลพัสดุ์ตามเดิม พญูาม้ากัณฐกะอัศวราช มีความอาลัย
ในพระองค์นัก จึงเอาลิ้นเ ลยพระบาทด้วยความรักอย่างสุดซึ้ง แล้วยืนนิ่งเล็ง
แลดูพระองค์ทรงดำเนินไปจนลุดสายตา พอทรงดำเนินไปลับพระองค์ หัวใจ
แห่งพญากัณฐกะอัศวราชก็แตกทันที ทำกาลกิริยาตายในบัดนั้น
แล้วมาบังเกิดเป็นเทพบุตรสุดโสภา มีนามว่า กัณฐกะเทพบุตร ณ ลรวง
สวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ กาลวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถรเจ้าองค์อัครลาวก
อรหันต์ ท่านท่องเที่ยวอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อสนทนากับเทพเจ้าทั้งหลาย
ได้ พบกัณฐกะเทพบุตรเข้า ขณะที่กัณฐกะเทพบุตรลงจากพิภพไพชยนต์-
ปราสาทของสมเด็จพระอมรินทราธิราช ขึ้นทิพยยานมาเพื่อกลับวิมาน ณ
อุทยานทิพย์ของเขา เทพเจ้านั้นมีน้ำจิตคารวะในองค์พระเถรเจ้าเป็นอันมาก
จึงลงจากทิพยยานเข้าไปหาพระเถรเจ้า น้อมกายถวายนมัสการด้วยเบญจางค-
ประดิษฐ์ องค์อรหันต์ผู้ทรงฤทธิ์จึงไต่ถามว่า
"พระจันทร์เป็นใหญ่กว่าดาวนักขัตฤกษ์ งามเด่นในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ
แวดล้อมไปด้วยหมู่ดาราฉันใด ทิพยยานนี้รุ่งเรืองไปด้วยรัศมีเป็นทิพย์ ดุจรัศมี
แห่งพระจันทร์อันขึ้นมาเหนืออากาศ ปราสาททองแห่งท่านประดับไปด้วย
ยอดงดงาม สระโบกขรณีมีน้ำใสละอาดมิได้ ขุ่นมัวน่าสนุก มีท่าเรี่ยรายไปด้วย
ทรายทอง ดารดาษไปด้วยปทุมชาติต่างๆ คือ สัตตบงกชแลบัว ครั้นมีลมพัดมา
ก็ยังละอองเกลรให้ ฟุ้งขจรไปในทิศน้อยทิศใหญ่ รุกขชาติต้นไม้เกิดใกล้วิมาน
แห่งท่าน มีดอกงามแลทรงผลวิเศษห้อยย้อย นางฟ้าประดับไปด้วยอาภรณ์
มีกรสอดใส่ซึ่งวลัยทอง เสียงกลองแลกังสดาลพิณพาทย์อันเป็นทิพย์ ยังน้ำจิต
แห่งท่านให้ยินดี ดุจตัวท่านเป็นท้าวโกสีย์ผู้ มีฤทธิ์ ท่านได้ วิมานทองซึ่งรุ่งเรือง
ดัวยสมบัติแลรัศมีทั้งนี้ ด้วยผลทานหรือว่าผลแห่งการรักษาศีล หรือด้วยผล
แห่งอัญชลีกรรมสำรวมจิต ของท่านจงบอกแก่อาตมา ในกาลบัดนี้ด้วยเถิด"
กัณฐกะเทพบุตรได้ ฟังพระมหาเถระถาม ก็ชื่นชมยินดี จึงอัญชลีกร
ประณมหัตถ์ตอบว่า
"ข้าแต่พ่ระผู้เป็นเจ้า! ชาติก่อนข้าพเจ้านี้ เป็นม้าชื่อว่า กัณฐกะ เกิดวัน
เดียวกับพระราชโอรสแห่งพระเจ้าสิริสุทโธทนะ ในพระนครกบิลพัลดุ์ พระลูก
เจ้านั้นจะออกไปทรงผนวชเพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณ ในเพลามัชฌิชมยาม
เที่ยงคืน พระองค์มาลูบหลังข้าพเจ้าด้วยพระหัตถ์อ่อนนุ่มมีเล็บอันแดง
ประกอบฐด้วยมหาปุริสลักษณะแลอนุพยัญชนะ แล้วพระองค์จึงตรัสแเก่ข้าพเจัา
ว่า ดูกรพญากัณฐกะอัศวราช! ท่านจงพาเราไปให้ตลอดราตรีวันนี้ เพื่อที่เรา
จะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณอันประเสริฐ หากเราได้ ตรัสแก่พระ
โพธิญาณแล้ว จักยังลัตว์โลกให้ข้ามพ้นจากห้วงภัยอันลึกใหญ่ คือ วัฏลงสาร "
พระองค์ลำแดงประโยชน์แห่งการเสด็จไปแก่ตัวข้าพเจ้าดังนี้ ความยินดีแห่ง
ข้าพเจ้าก็บังเกิดขึ้นเป็นอันมาก เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นนั่งเหนือหลังข้าพเจ้าแล้ว
ข้าพเจ้าก็นำเสด็จออกไป เมื่อถึงแว่นแคว้นซึ่งเป็นวิสัยแห่งประเทศอื่นแล้ว
สมเด็จพระลูกเจ้านั้นมิได้เอื้อเฟื้ออาลัย ละเสียซึ่งข้าพเจ้ากับฉันนะอำมาตย์
ตรัสบอกให้กลับคืนพระนคร แล้วเสด็จบทจรไปไม่เหลียวหลัง ข้าพเจ้าจึงวิ่ง
เข้าไปเสียพระบาทแห่งลมเด็จพระมหาบุรุษราชด้วยใจภักดิ์แล้วรัองไห้ ยืนเล็ง
แลดูพระลูกเจ้าซึ่งค่อยทรงดำเนินไป พอพระสรีระร่างแห่งศากยราชผู้ทรงสิริ
ลับสายตา ข้าพเจ้าก็หัวใจแตกถึงแก่กาลกิริยา แล้วได้มาบังเกิดในวิมานนี้ ด้วย
อานุภาพปีติระลึกว่า "พระลูกเจ้าพระองค์ออกมานี้ จะได้ตรัสพระโพธิญาณ
หรือสัตว์ขนสัตว์ออกจากทุกข์ในวัฏสงลาร" ด้วยความปีติปลาบปลื้มอันยิ่งใหญ่
นั้น จึงได้เสวยทิพยสมบัติท้าวโกลีย์เป็นผู้ใหญ่ไนไตรตรึงษ์ ข้าแต่พระผู เป็น-
เจ้า! แม้นพระผู้เป็นเจ้าไปสู่สำนักสมเด็จพระมหากรุณาบรมศาสดาแล้ว ขอจง
โปรดกรุณากราบทูลพระองค์ด้วยว่า "ข้าพเจ้าผู้เคยเป็นม้าทรงของพระองค์
ซึ่งมีนามว่า พญากัณฐกะอัศวราช ขอถวายนมัสการฝ่าพระบาทมาว่าข้าพเจ้า
จักขอไปเห็นพระลูกเจ้าพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยากที่บุคคลจักพบ
จักเห็นได้นั้น สักเพลาหนึ่งอย่างแน่นอน" ดังนี้
จึงเป็นอันว่า เวลานี้ กัณฐกะเทพบุตรก็ยังเสวยลุขอยู่ในสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ ด้วยอนุภาพแห่งบุญคือปีติอันเกิดขึ้นในน้ำจิตก่อนจะตาย ตามที่เธอ
ได้ตอบพระมหาโมคคัลลานเถระนั้น
อายุ ทวยเทพที่สถิตเสวยทิพยสมบัติอยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นตาวตึงสาภูมิ
นี้มีอายุยืนนานได้ ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ นับได้สามโกฏิหกล้านปี ด้วยการคำนวณปี
แห่งมนุษยโลกเรานี้
บุรพกรรม ผู้ที่มาอุบัติเกิดเป็นทวยเทพในสวรรค์ชั้นตาวติงลาภูมินี้ โดย
มากเมื่อเป็นมนุษย์เขามีจิตบริสุทธิ์ยินดีในการบริจาคทาน มีสันดานงดงามด้วย
พยายามรักษาศีล ไม่ดูหมิ่นดูแคลนท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ของตน ครั้นหมดอายุ
พ้นจากความเป็นคน เดชะกุศลจึงล่งมาให้ เกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์ชั้นนี้ เสวย
เทวสมบัติตามที่ใจปรารถนา
พรรณนาในสวรรค์ชั้นตาวติงสาภูมิ เห็นว่าสมควรยุติได้ แล้ว จึงขอยุติลง
ด้วยประการฉะนี้

ยามาภูมิ

สวรรค์ชั้นที่ ๓
สวรรค์แดนสุขาวดีชั้นที่ ๓ มีนามปรากฏว่า ยามาภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ ก็
เพราะว่า ภูมินี้ เป็นที่อยู่ของทวยเทพจำพวกหนึ่ง ซึ่งปราศจากความลำบาก
และถึงซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์ โดยมีท้าวสุยามเทวราชเป็นผู้ปกครอง ฉะนั้น
สวรรค์ชั้นนี้จึงมีนามว่า ยามาภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่ของหมู่เทวดา ซึ่งมีสมเด็จ
พระสุยามเทวราช ทรงเป็นเทวาธิบดี
สวรรค์ชั้นยามานี้ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นไตรตรึงส์นี้ ไปเบื้องบนไกลแลนไกล
มีปราสาทเงินและปราสาททอง เป็นวิมาน ที่อยู่ของเหล่าเทพยดาในสวรรค์ชั้น
ยามาทั้งหลาย ก็แลปราลาทวิมานนั้น ย่อมสวยงามวิจิตรตระการตากว่าสวรรค์
ชั้นไตรตรึงษ์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบวิมาน มีสวนอุทยานและสระโบกขรณีอัน
เป็นทิพย์ ในสวรรค์เมืองฟ้านี้ไม่เห็นพระอาทิตย์พระจันทร์เลย เพราะสูงกว่า
พระอาทิตย์พระจันทร์มากมายนัก เทพยดาทั้งหลายย่อมแลเห็นแสงสว่างด้วย
รัศมีแห่งแก้วและรัศมีที่ออกจากกายเหล่าเทพเจ้านั้นเอง การทีจะรู้จักวันและ
กันได้ ก็รู้จากดอกไม้ ทิพย์อันมีอยู่ในสรวงสวรรค์นั้นเป็นสัญลักษณ์ คือ ถ้าเห็น
ดอกไม้ ทิพย์บานก็แสดงว่าเป็นเวลารุ่งกลางวัน ถ้าเห็นดอกไม้ทิพย์นั้นหุบลง ก็
แสดงว่าเป็นเวลาค่ำคืน
ฝูงเทพเจ้าทั้งหลาย บรรดาที่ได้ก่อสร้างกองการกุศลไว้ แลได้ ไปเกิดใน
สวรรค์ชั้นยามานี้ ย่อมมีองคาพยพและหน้าตารุ่งเรืองงดงามนักหนา ได้รับ
ความผาสุก มีความสำราญชื่นบานเทพฤทัย เสวยทิพย์สมบัติรื่นรมย์สมควรแก่
อัตภาพ ส่วนท้าวสุยามเทวาธิราช ผู้ทรงเป็นจอมเทพเจ้าปกครองชาวสวรรค์ชั้นนี้
ก็ทรงมีน้ำพระทัยประกอบด้วยกุศลยุติธรรม ทำให้เหล่าเทพเจ้าได้ รับความ
ชุ่มฉ่ำเย็นใจ ได้เสวยสุขสุดพรรณนา

ยามาสวรรค์
การที่สัตว์ทั้งหลาย จักไปเกิดเป็นเทพเจ้าในสวรรค์ชั้นยามานี้ ต้อง
มีกมลสันดานหนาแน่นไปด้วยกุศลสมภาร ไม่หวั่นไหวง่อนแง่นในกองการกุศล
เช่น อุบาสกคนหนึ่งในพระนครราชคฤห์ ซึ่งควรจารึกเรื่องของเขาไว้ ดังต่อไปนี้
ยังมีอุบาลกคนหนึ่ง มีนิวาอยู่ในเมืองราชคฤห์ เขาเป็นคนมีศรัทธาหนัก
แน่นในพระบวรพุทธศาสนา อุทิศถวายอาหารบิณฑบาตแก่ภิกษุสงฆ์วันละ ๔
รูปเป็นประจำ ทำเป็นสังฆทานอยู่เนืองนิตย์ คราวหนึ่งประตูบานอุบาสกนั้นปิด
ไว้ ด้วยเกรงโจรผู้ร้ายจะเข าไป อรุณรุ่งเช้า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายที่มาเพื่อรับ
สังฆทานเช่นเคย เห็นประตูปิดอยู่ก็มิเข้าไป พากันกลับโดยมิได้ภัตตาหาร
อุบาสกนั้นตระเตรียมโภชนาหารเพื่อถวายสังฆทานเมื่อไม่เห็นพระผู้เป็นเจัา
เข้ามารับ จึงสอบถามคนในบ้านได้ความว่า ประตูหนทางที่พระผู้เป็นเจ้าจะ
เข้ามาปิดอยู่ พระผู้เป็นเจ้าจึงเข้ามาไม่ได้ เลยมิได้รับสังฆทาน ได้ทราบเช่นนี้
แล้ว อุบาสกผู้ฝักใฝ่ในทานก็ให้สังเวชสลดใจนัก เพราะตนมีสันดานสะอาดมาก
ไปด้วยศรัทธา ครุ่นคิดอยู่แต่ว่า วันนี้ตนมิได้ ถวายสังฆทาน อีกประการหนึ่ง
พระผู้เป็นเจ้าก็คงมิได้ ฉันภัตตาหาร เป็นการขาดประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน
เพราะเหตุการณ์จัญไรเพียงนิดเดียว คิดเช่นนี้ แล้วจึงเที่ยวไปว่าจ้างได้ คนคน
หนึ่งมาเป็นผู้รักษาประตู แลัวสั่งว่า "ท่านจงนั่งรักษาทวารอยู่ที่นี่ ถ้าเห็นพระผู้
เป็นเจ้ามาเมื่อใด จงนิมนต์ให้เข้าไปในบ้านเรา จงพยายามปฏิบัติให้ดี" แล้วให้
ค่าจ้างแก่บุรุษนั้นเป็นประจำ ตั้งแต่วันนั้นมา เขาก็เจริญศรัทธาถวายสังฆทาน
ได้ทุกวันโดยละดวก ทำอยู่เนืองนิตย์ ครั้นชีวีตของเขาปิดฉากลง กุศลจึงส่งให้
มาเกิดเป็นเทพเจ้าบนสวรรค์ชั้นยามานี้ ได้ เสวยทิพยสมบัติแสนจะเป็นสุขหนัก
หนา
อายุ ทวยเทพที่สถิตเสวยทิพยสมบัติ ณ ลรวงสวรรค์ชั้นยามาภูมินี้มีอายุ
ยืนนานถึง ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ นับได้สิบลี่โกฏิสี่ล้านปี ด้วยการนับตามจำนวนปี
แห่งมนุษยโลกเรานี้
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดเป็นเทพในสรวงสวรรค์ชั้นยามานี โดย
มากเมื่อเป็นมนุษย์เขาเป็นคนมีจิตใจบริลุทธิ์ พยายามบำเพ็ญทานรักษาศีลเป็น
นิตย์ มีจิตขวนขวายในธรรมที่พระลัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ
พระสงฆ์สาวก ของพระพุทธเจ้าแสดง ไม่ใช่แกล้งทำความดี แต่ทำด้วยใจจริง
หนักหนา คุเณหิ ปริตุฏฐา ตั้งหน้าขวนขวายแต่กุศลกรรมความดีฝ่ายเดียว
ไม่แลเหลียวในการทำบาปกรรมความชั่ว ครั้นตัวแตกกายทำลายขันธ์ จึงพลัน
มาอุบัติเกิดเป็นเทพในสรวงสวรรค์ชั้นยามานี้
ฉะนั้น จึงควรที่พุทธบริษัทผู้อุบัติเกิดมามีโอกาสอันแสนประเสริฐด้วย
เกิดมาพบพระพุทธศาลนาซึ่งหาได้ ยากในโลก เมื่อรักตัวอยากให้ตนมีความสุข
ควรจะฉุกคิดขวนขวายตั้งหน้าบำเพ็ญบุญสร้างกุศลไว้กับตนอย่างจริงจังเสียตั้ง
แต่บัดนี้ เป็นต้นไป เพื่อจักได้เป็นปาไถยเสบียงนำตนไปเสวยทิพยสมบัติ
เหมือนเทพเจ้าในสรวงสวรรค์ชั้นยามา อย่าทำตนเป็นคนลังเลสงสัยด้วยเข้าใจว่า
ตนเป็นคนปัญญาดี หันรีหันขวางฟุ้งซ่านไม่เข้าเรื่อง จะสิ้นเปลืองเวลาไปเปล่าๆ
ไม่ช้าเราก็าะตายแล้ว คิดมากไปก็จะแคล้วคลาดจากสมบัติทิพย์ที่จะพึงได้พึงถึง
อย่างนี้ จะเสียใจในภายหลัง
พรรณนาในสวรรค์ชั้นยามาภูมิ เห็นสมควรจักยุติได้แล้ว จึงขอยุติลง
ด้วยประการฉะนี้

ตุสิตาภูมิ
สวรรค์ชั้นที่ ๔
สวรรค์แดนสุขาวดีชั้นที่ ๔ มีนามปรากฏว่า ตุสิตาภูมิ หรือสวรรค์ชั้นดุสิต
ที่ได้ ชื่อว่า ตุสิตาภูมิก็ เพราะว่า สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่อยู่ของเทพเจ้าพวกหนึ่ง ซึ่ง
มีความยินดี และความแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์โดยมีสมเด็จพระสันตุสิดเทวราช
ทรงเป็นอธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ปกครอง ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า ตุสิตาภูมิ = ภูมิเป็นที่อยู่ของ
เทพเจ้าผู้มีความยินดีแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์
สวรรค์ชั้นดุสิตนี้ ตั้งอยู่เหนือสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไปไกลแสนไกล มีวิมาน
๓ ชนิด คือ วิมานแก้ว ๑ วิมานทอง ๑ วิมานเงิน ๑ แต่ละวิมานเป็นปราลาท
สวยสดงดงาม วิจิตรตระการเหลือที่จะพรรณนา และมีกำแพงแก้วล้อมรอบ
ทุกวิมาน สวยงามยิ่งกว่าปราสาทวิมานของเหล่าเทพยดาในสวรรค์ชั้นยามา
มีสระโบกขรณีและสวนอุทยานอันเป็นทิพย์ สำหรับเป็นที่เที่ยวเล่นของเทพเจ้า
ชาวสวรรค์มากมายนัก
เทพเจ้าผูอยูในดุสิตสวรรค์นี้แต่ละองค์ย่อมมีรูปทรงสวยงามและสง่ากว่า
เทพชั้นต่ำๆ ทั้งมีน้ำใจรู้บุญรู้ ธรรมยินดีในการสดับตรับฟังธรรมยิ่งนัก ทุกวัน
ธรรมสวนะ เขาเหล่านั้นมีการประชุมฟังธรรมกันเสมอมิได้ขาดเลย องค์
จอมเทพสันตุลิตเทวราชผู้มีอิสริยยศยิ่งใหญ่อธิบดีในสวรรค์ชั้นนี้ ท้าวเธอก็เป็น
ผู้รู้ธรรมะของสมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้ามาก ทรงเป็นเทพเจ้าผู้พหูสูต มัก
อัญเชิญูให้ฐทพบุตรผู้ เป็นโพธีสัตว์แสดงธรรมโปรดเสมอ พระองค์ทรงปกครอง
เทพเจ้าในสวรรค์ชันดุสิตนี้ให้ได้ รับความสำราญ ชื่นชมยินดี เป็นสุขรื่นเริงทุก
ทิพาราตรีปัจจุบันนี้ ปรากฎว่ามีเทพเจ้าสำคัญองค์ที่สถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
นี้ ซึ่งมีประวัติควรแก่การนำมาบันทึกไว้ ดังต่อไปนี้

สิริมหามายาเทพเจ้า
สมเด็จพระนางสิริมหามายา องค์มเหสีแห่งพระเจ้าสุทโธทนะนั้น ครั้น
ประสูติพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระบรมราซโอรสแล้วได้เจ็ดวันเท่านั้น ก็ดับขันธ์
จากมนุษย์ ขึ้นมาบังเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ที่สวรรค์ชั้นดุสิต เสวยทิพย์สมบัติอยู่
จนทุกวันนี้ มีนางเทพอัปสรเป็นบริวาร แต่จะได้ยินดีในการที่จะเสพเบญจ-
กามคุณกับนางฟ้าก็หามิได้ ด้วยเป็นวิสัยธรรมดาแห่งพระพุทธชนนี หากว่าจะ
บังเกิด เป็นเทพนารี ทรงมีพระสิริรูป ซึ่งงดงามหาที่เปรียบมิได้แล้วไซร้
เทพบุตรองค์ใดมีจิตคิดรักใคร่ ก็จักเป็นโทษนักหนา เหตุนั้น พระพุทธมารดาใน
ปัจฉิมภวิกชาติ จึงอุบัติเกิดเป็นเทพบุตร สถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดุสิตนี้
คราวที่สมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ทรมานเดียรถีย์
นิครนถ์ ณ ภายใต้ต้นคัณฑามพฤกษ์ลำเร็จแล้ว ทรงพระดำริว่า พระมารดา
ของคถาคตนี้ มีคุณูปการและรักใคร่ในตถาคตเป็นอันมาก ได้ ตั้งความปรารถนา
เป็นมารดาตถาคตมาแต่สมัยลมเด็จพระวิปัลสีลัมมาลัมพทธเจ้า จนตราบ
เท่าบัดนี้ได้ แสนกัป ควรแล้วที่ตถาคตจักไปดาวดึงส์พิภพเทศนาพระอภิธรรม
คัมภีร์สนองคุณ ทรงดำริฉะนี้ แล้ว คราวนั้นพระองค์จึงเสด็จไปไตรตรึงษ-
เทวโลก ประทับเหนือบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ภายใต้ไม้ปาริชาตพฤกษ์
สมเด็จพระอมรินทรเทวราชทรงทราบความแล้ว จึงออกจากไพชยนต์
ปราสาททิพยพิมาน มีเทวราชโองการร้องประกาศแก่หมู่เทพยดาทั้งหลายว่า
"ดูกรท่านทั้งหลายผู้ เป็นสหายเรา! ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ช้า จงออกมาเถิด
บัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าเลด็จขึ้นมาโปรดถึงพิภพของพวกเราแล้ว เป็นบุญลาภ
อันเประเสริฐล้ำเลิศของพวกเราหาที่ เปรียบมิได้ เราจะพากันไปฟังพระธรรม
เทศนา เทพบุตรเทพธิดาได้ฟังดังนั้น จึงพากันออกจากวิมานอันเป็นทิพย์ถือ
เครื่องสักการะของหอมมาเฝ้าแวดล้อมบูชาพระพุทธองค์อยู่เนืองแน่น
สมเด็จพระบรมศาสดา ทอดพระเนตรแลดู มิได้เห็นพระพุทธชนนี จึงมี
พระพุทธฎีกาตรัสถามองค์อมรินทรเทวราชว่า พระสิริมหามายา ซึ่งเป็นชนนี
ของตถาคตมิได้เสด็จมาหรือประการใด ท้าวสหัสนัยน์ได้ สดับพระพุทธดำรัส ก็
ทรงทราบพระพุทธประสงค์ว่า พระพุทธองค์เสด็จมาครั้งนี้ คงจะตรัสพระธรรม
เทศนาโปรตพระชนนีให้ได้ บรรลุพระอริยมรรคอริยผล ดำริฉะนี้ องค์ท้าวโกสีย์
จึงรีบเร่งเหาะไปโดยเทวฤทธิ์ สู่พิภพดุสิตลรวงสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของสิริมหา-
มายาเทพบุตร ถึงแลัวก็ถวายอภิวันท์โดยเคารพ ทูลว่า "ข้าแต่พระสิริมหามายา
เจ้าผู้เจริญด้วยสิริสวัสดิ์ สมเด็จพระพุทธองค์เสด็จมาพิภพไตรตรึงษ์
แห่งข้าพระบาท ประทับ ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ ปาริชาตทิพยพฤกษา
ประทับคอยท่าเพื่อจะตรัสพระธรรมเทศนา ขอเชิญเสด็จไปเฝ้าโดยเร็วเถิด
พระเจ้าข้าฯ
พระสิริมหามายาเทพเจ้า ได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัสจึงตรัสว่า
ดูกรท่านท้าววชิรปาณีผู้เป็นใหญู่! พระบรมโอรสาธิราชของเรานั้น ทรงพระ-
สิริรูปโฉมปรากฏเป็นฉันใด ท่านได้เห็นเป็นประการใด จงรีบบอกแก่เราให้แจ้ง"
ท้าวสักกเทวราชจงทูลว่า พระบวรโอรสของพระองค์นั้น หาผู้ใดผู้หนึ่งเปรียบ
ปานมิได้ ทั้งสามภพ พระสรีราพยพประดับด้วยมหาปุริสลักษณะและอนุ-
พยัญชนะสมบูรณ์ทุกประการ มีรัศมีซ่านออกจากพระวรกายหกประการ ทั้งยัง
มี พระสุรเสียงกอบด้วยองค์แปดประการ ไพเราะหาผู้จะเสมอมิได้'' สิริมหา
มายาได้ ทรงฟังก็โสมนัสว่า ''อาตมาเกิดในสังสารวัฏนี้ชื่อว่าไม่มีใครเทียมเทียบได้
ด้วยได้เป็นพระพุทธมารดา" แล้วก็รีบด่วนทรงทิพยภูษา ชวนเทพอัปสรเหล่า
ชาวฟ้าลงจากดุสิตพิมาน โดยมีท้าวมัฆวานเชิญเลด็จมาในเบื้องหน้า
ครั้นเสด็จมาถึงทอดพระเนตรเห็นองค์พระพิชิตมาร ก็ยังตะลึงลาน
ทรงพระปรีดาภิรมย์ ชมพระรูปพระโฉมจนสมอาลัยในดุสิตพิมาน ชมพลาง
เศร้าโศกเสียพระหฤทัยว่า ''อาตมานี้ เป็นคนบุญน้อย ประสูติพระพุทธเจ้าซึ่ง
เป็นพระบวรโอรสแล้วเจ็ดวันเท่านั้นก็ดับขันธทำกาลกิริยา มิได้เห็นพระโอรล
ทรงบุญญาภินิหารเป็นเวลาช้านานถึงเพียงนี้ นี้ดีแต่ท้าวโกสีย์ทรงไปบอก
จึงได้มาพบพระบวรโอรส " พระสิริมหามายาเทพบุดรทรงพระกันแสงกำสรด
แล้วก็ทรงพระสรวลว่า " อาตมานี้ ไม่ควรจะปริเทวนาการ ด้วยว่าอันคนที่เกิด
มาในวัฏลงลาร จะได้เป็นพระพุทธมารดาดังอาตมานี้ยากนักหนานับเป็นเวลา
นานกว่าพระพุทธเจ้าจักมาตรัสแต่ละพระองค์ พระพุทธมารดาก็มีแต่พระองค์
เดียวเท่านั้นไม่มีสอง อาตมานี้แลก็ได้ เป็นพระพุทธมารดา
สมเด็จพระบรมศาสดา จึงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสเรียกพระสิริมหา
มายาเทพบุตรซึ่งเป็นพุทธชนนีว่า ''พระพุทธมารดาจงมานี่ พระพุทธมารดาจงมา
ที่นี่ จะทอดพระเนตรดูไปไยซึ่งสรีระรูปโฉมอันเป็นอนิจจัง" พระสิริมหามายา
ได้ทรงฟังก็เสด็จเข้ามาใกล้ ประทับนั่งข้างหน้าเป็นประธานแห่งหมู่เทพยดา
ทั้งหลาย พระพุทธองค์จึงโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนา คือ พระ
สัตตปกรณาภิธรรมทั้งเจ็ดพระคัมภีร์ พอได้ สดับธรรมของสมเด็จพระชินลีห์
จบลง องค์สิริมหามายาเทพบุตรพุทธชนนีก็ได้ สำเร็จพระโสดาปัตติผลใน
พระพุทธศาลนา
บัดนี้ พระสิริมหามายาเทพบุตร ก็ยังเสวยทิพยสมบัติอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต
อย่างสุขสำราญ ด้วยบุญญาธิการที่สร้างสมอบรมไว้แต่ปางบรรพ์ ก็สวรรค์ชั้น
ดุสิตนี้ ย่อมเป็นที่ประทับอยู่ของสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์เจ้าที่ทรงรอคอยโอกาส
จะมาตรัสในโลก เช่นองค์สมเด็จพระบรมครูศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของเราทั้งหลาย ก่อนที่จะมาอุบัติตรัสเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ประทับอยู่ ณ
สรวงสวรรค์ชั้นดุสิตในพระนามว่า พระเสตุเกตุเทพบุตร ผู้ทรงพระพุทธ
บารมี จนถึงกาลที่เทพทั้งหลาย ในหมื่นจักรวาลไปทูลอาราธนา พระองค์จึง
จุติมาอุบัติในมนุษยโลก แล้วทรงกระทำความเพียร จนสำเร็จพระปรมาภิเษก
สัมโพธิญาณ

พระศรีอาริยเมตไตรย
ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ คือ พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ซึ่ง
จักมาตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายในภัทรกัปนี ก็เสด็จสถิตอยู่
ณ ดุสิตพิภพสวรรค์ ด้วยว่าสวรรค์เทวโลกชั้นนี้ เป็นที่สำราญ ผาสุกสมควร
แก่พระบรมโพธิสัตว์ผู้ทรงสร้างพระบารมีมาจะเสด็จอาศัยอยู่ จนกว่าจะถึง
กาลกำหนตตรัสรู้ ตามเยี่ยงอย่างหน่อพุทธางกูรทั้งหลาย แต่ปางก่อนสืบมา
ด้วยว่า พระบรมโพธิสัตว์หน่อพุทธางกูร ผู้สร้างพระบารมีหมายพระ
โพธิญาณนั้น หาพอพระทัยที่จักไปอุบัติเกิดในเทวโลกที่สูงกว่านี้ หรือพรหมโลก
ไม่ เพราะหาก ไปอุบัติเกิดในโลกที่มีอายุยืนนับเป็นกัปแล้ว ก็จะเป็นการเนิ่นนาน
ชักช้าเสวยเวลาสร้างพระบารมีไปเปล่า ๆ ฉะนั้น จึงย่อมจะพอพระทัยที่จักบังเกิด
อยู่ ณ ดุสิตพิภพนี้ เพราะสะดวกแก่การที่จะทรงอธิษฐานให้จุติมาเกิดในโลก มนุษย์
เพือสร้างพระบารมีในคราวที่ต้องพระประสงค์ ได้ทราบว่า พระโพธิสัตว์
หน่อพุทธางกูรทั้งหลาย เมื่อเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว มีน้ำ
พระทัยรำพึงถึงพระโพธิญาณใคร่สร้างพระบารมีให้ภิญโญ ย่อมเสด็จเข้าสู่ที่
บรรทมในปราสาทพิมานแต่ลำพังพระองค์เดียว แล้วทรงหลับพระเนตรลง ทรง
อธิษฐานว่า เราจักจุติ ในกาลบัดนี้ โดยนำพระทัยรักในพระโพธิญาณมิได้
อาลัยในสวรรค์สมบัติ พอทรงอธิษ ฐานขาดคำลง ก็ทรงจุติจากสวรรค์มาอุบัติ
เกิดในมนุษย์โลก เพื่อสร้างพระบารมีต่อไป การอธิษฐานให้จุตินี้ จะกระทำได้
แต่เฉพาะเทพยดาผู้มีบุญญาธิการเช่นพระบรมโพธิสัตว์นี เท่านั้น จะได้ทั่วไปแก่
สามัญสัตว์ทั้งหลายนั้นหามิได้
สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยบรมพงษ์โพธิสัต ซึ่งเสด็จสถิต ณ ดุสิต
พิภพขณะนี้พระองค์มีพระอัชฌาลัย พอจะประมวลมากล่าวไว้ เพื่อเป็นเครื่อง
เรืองปัญญาแก่พวกเราทั้งหลาย สิริรวม ๖ ประการ คือ
๑. เนกขัมมัชฌาสัย พอใจบรรพชา รักเพศบรรพชิตยิ่งนัก
๒. วิเวกัชฌาสัย พอใจอยู่ที่เงียบสงัด
๓. อโลภัชฌาสัย พอใจบริจาคทาน ชอบใจคนไม่โลภ ไม่ตระหนี่
๔. อโทสัชฌาสัย พอใจความไม่โกรธ ชอบใจเสพสมาคมกับคนไม่มักโกรธ
๕. อโมหัชฌาสัย พอใจความไม่หลง ชอบเสพสมาคมกับคนมีสติปัญญา
เป็นนักปราชญ์
๖. นิสสณัชฌาสัย พอใจความสลัดออก ชอบเสพสมาคมกับผู้มีความเบื่อ
หน่ายในสังสารวัฏ
เมื่อพระองค์ทรงมีพระอัชฌาสัย ๖ ประการเช่นนี้ จึงทรงยินดีในธรรม
และปรากฏว่า ขณะนี้ พระองค์ย่อมทรงแสดงธรรมให้ ปวงเทพเจ้าเหล่าชาว
สวรรค์ชั้นดุสิตฟังอยู่เสมอมิได้ขาด โดยการอัญเชิญอาราธนาของปวงเทพเจ้า
ชาวสวรรค์ชั้นดุสิต ซึ่งมีองค์สมเด็จพระสันตุลิตเทวราชเจ้าทรงเป็นประธาน

การสร้างพระบารมี
เมื่อกล่าวถึงการสร้างพระบารมีสมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยบรมโพธิสัตว์
นี้ พระองค์ได้ทรงสร้างสมมานาน เพราะ ทรงสร้างพระบารมีเป็นพระวิริยาธิกะ-
พุทธเจ้า ซึ่งยิ่งด้วยพระวิริยะ แต่กองพระบารมีประการหนึ่ง เมื่อแรกจะทรง
ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้ทรงทำปรมัตถบารมีอันประเสริฐ หาผู้ใดผู้
หนึ่งเสมอเหมือนมิได้ ซึ่งมีเรื่องที่ควรจารึกไว้ ดังต่อไปนี้
กาลนานแสนนานมาแล้ว ปรากฏว่ามีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระ
นามว่า สมเด็จพระสิริมามิ่งโมลีสัพพัญญู ทรงอุบัติขึ้นในโลก คราวนั้นสมเด็จ
พระศรีอาริยเมตไตรยบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช ทรงพระนามว่าพระเจ้า
สังขจักรจอมจักรพรรดิ เป็นอิสราธิบดีในพระนครอินทปัตถ์ราชธานี ไม่ทรง
ทราบว่ามีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลกแต่อย่างใด
ต่อมา มีสามเณรรูปหนึ่งไปเที่ยวหาทรัพย์เพื่อจะไถ่ถอนมารดา ซึ่งเป็น
ทาสีอยู่ในตระกูลหนึ่งให้เป็นไท ครั้นไปถึงกรุงอินทปัตถ์ ชาวเมืองเข้าใจผิดคิด
ว่าเป็นยักษ์ เพราะเห็นว่านุ่งห่มแปลกประหลาด จืงช่วยกันกลุ้มรุมทุบตีสาม-
เณรเป็นการใหญ่ สามเณรตกใจกลัววิ่งหนีเข้าไปท้องพระโรง ขณะเสด็จออก
ทรงไต่ถามได้ทราบความว่า เป็นสามเณรบรรพชาในศาสนาของพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าสิริมามิ่งโมลี จึงมีความยินดีสุดหัวใจ ได้ทรงจัดการราชาภิเษก
สามเณรนั้นครองราชสมบัติแทนตน แต่พระองค์เดียวดำเนินไปในทิศที่พระ
พุทธเจ้าประทับอยู่ โดยเหตุที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เมื่อเสด็จ
พระราชดำเนินไปด้วยพระบาทได้วันหนึ่ง พระบาททั้งสองจึงแตกช้ำ ครั้นล่วง
มรรคาไปอีกสามวัน พระชงฆ์และพระบาทก็แตกโลหิตไหลในวันที่สี่ ก็สุดที่จัก
ทรงพระดำเนินไปได้ แต่ก็ทรงพระดำริว่า เราจักไปให้ ถึงสมเด็จพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าให้จงได้ " แล้วนอนพังพาบ ค่อยๆ กระเถิบไปโดยพระอุระ ดัวยกำลัง
พระอุตสาหะ อันแรงกล้า ได้เสวยทุกขเวทนาแสนลาหัส ก็มิได้ทรงย่นย่อท้อถอย
สมเด็จพระสิริมามิ่งโมลีลัพพัญญู ทรงเล็งแลดูหมู่เวไนยลัตว์ดัวยพระสัพ-
พัญญุตญาณ ทรงเห็นกำลังวิริยะของพระเจ้าสังขจักรนั้นมาก ก็ทรงทราบว่า
เป็นหน่อพุทธางกูร ก่อสร้างพระบารมีตามวงศ์พระบรมโพธิสัตว์จึงเสด็จพระ
พุทธดำเนินด้วยพระพุทธสิริลีลาศอันงดงามเพื่อหวังจักทรงโปรด ครั้นใกล้จะ
ถึงจึงทรงแปลงเพศเป็นมาณพขับเกวียนมาในมรรคา แล้วร้องถามว่า ดูกร
ท่านผู้เจริญู! ท่านจงหลีกไปให้ พ้นทางเกวียน มิฉะนั้น เกวียนจะทับ" พระเจ้า
สังขจักรทรงตอบว่า "ดูกรนายสารถี การที่เราจะหลีกทางนั้น เราหลีกไม่ได้
เราจักไปเฝ้าสมเด็จพระสัมพุทธเจ้า เดินทางมาหมดแรง ทั้งบาทาแข้งขาก็บอบ
ช้ำ นักหนา ชอบแต่ท่านจะขับเกวียนหลีกทางเราจึงจะควร" พระสิริมามิ่งโมลี
ซึ่งทรงมีน้ำพระทัยประกอบด้วยมหากรุณาจึงตรัสว่า "ท่านจักไปเฝ้าสมเด็จ"
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงขึ้นเกวียนเราในบัดนี้เถิด เราจักพาไปล่งให้ถึงสำนัก
ของสมเด็จพระสัพพัญูญูผู้ประเสริฐ แล้วก็ทรงให้สมเด็จพระเจ้าสังขจักร เสด็จ
ขึ้นเกวียนจนใกล้ ถึงที่ประทับแล้วจึงทรงให้หยุดอยู่ ณ ที่นั่นสมเด็จพระอมริน
ทราธิราชเป็นเจ้าในไตรตรึงษ์สวรรค์พร้อมด้วยพระเทวีได้ แปลงเพศเป็นบุรุษ
และสตรี มีมือถือห่อข
 

_________________
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผ้าขี้ริ้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 ก.ย. 2005
ตอบ: 101

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2008, 9:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พรหมปาริสัชชาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑
บัดนี้ จักพรรณนาถึงพรหมภูมิ ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระพรหมทั้งหลาย
เป็นลำดับไป ตั้งแต่ชันต้นจนถึงชั้นสูงสุด ขอเชิญท่านผู้เป็นมนุษย์ทั้งหลายจง
ตั้งใจศึกษา ดังต่อไปนี้
พรหมโลกชั้นแรกมีนามปรากฏว่า พรหมปาริสัชชาภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็
เพราะว่าพรหมโลกชั้นนี้ เป็นที่สถิตอยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ผู้เป็นบริษัท
บริวารของพระพรหมซึ่งสถิตอยู่ในชั้นมหาพรหมาภูมิ
พรหมโลกชั้นนี ถึงแม้ จะเป็นชั้นต่ำที่สุด แต่ก็ตั้งอยู่เบื้องบนสูงกว่าสวรรค์
เทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัสตีเหลือคณนา ฉะนัน จึงไกลจากมนุษยโลกเรานี้นัก
หนา พึงทราบโดยอนุมานดังนี้
ยังมีศิลาก้อนหนึ่ง ซึ่งมีความใหญู่เท่าโลหปราลาท ศิลาก้อนใหญู่นี้ ได้ถูก
ทอดทิ้งดิ่งลงมาจากพรหมโลก ลอยละลิ่วลงมาไม่ได้ติดขัดที่ใดเลย กว่าจะถึง
มนุษยโลกเรานี้ กินเวลานานถึง ๔ เดือนจึงจะตกมาถึง พึงพิจารณาดูเถิดว่า
พรหมโลกชั้นนี้อยู่ไกลจากมนุษยโลกนี้เพียงไร ก็ในพรหมโลกนี้ย่อมมีปราสาท
แก้วเป็นพรหมวิมาน และมีเครื่องอลังการประดับสำหรับพรหมโลกสวยงาม
ประณีตนัก ดีกว่าสมบัติของเหล่าเทพยดา อันเป็นเทวสมบัติหลายร้อยหลายพัน
เท่าเพราะว่าสมบัติเหล่านั้น เป็นพรหมสมบัติแสนประเสริฐนักแล

พรหมอุบัติ
ท่านผู้มีเพียรกล้า อุตสาหะพยายามทำสมถภาวนาจนได้สำเร็จฌาน ครั้น
ถึงกาลกิริยาตายจากโลกนี้ ก็ไปอุบัติเกิดในพรหมโลกตามอำนาจฌานนั้นเป็น
พระพรหมละม้ายบุรุษเพศทังสิ้น ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคเหมือนสัตว์ในภูมิอื่น
แช่มชื่นด้วยมีญานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่มีมูตรคูถอุจจาระปัสสาวะอันลามก
เหม็นร้ายต่าง ๆ ร่างกายเนื้อตัวหน้าตาแห่งพรหมทั้งหลายนั้นกลมเกลี้ยงสวย
งามนัก มีรัศมีออกจากกายตัวรุ่งเรืองกว่าพระอาทิตย์พระจันร์หลายพันเท่า
แต่เพียงหัตถ์หนึ่งเล่าอันพระพรหมเหยียดยื่นออกไป หวังให้ส่องรัศมีไปทั่วทั้ง
จักรวาลก็ย่อมทำได้ อวัยวะร่างถายทีต่อกันของพระพรหม คือ หัวเข่าก็ดี แขน
ก็ดี ก็กลมเกลี้ยงเรียบงามนัก จักได้เห็นที่ต่อนั้นหามิได้ อนึ่ง เกศเกล้าแห่งพระ
พรหมนั้นงามนักหนา โดยมากมีหัวเป็นชฎา เช่นเดียวกับชีป่าดาบส พระฤๅษี
โยคีผู้มีฤทธิ์ สถิตเสวยสุขอยู่ ณ พรหมโลกที่ตนอุบัติเกิด ตราบจนกว่าจะสิ้นอายุ
อายุ เมื่อกล่าวถึงอายุ ในพรหมโลกนี้มีอายุยืนนานนักหนา จะคณานับ
ด้วยวันเดือนปีนั้นมิได้ ต้องนับเป็นกัป สำหรับพรหมที่สถิตเสวยสุขอยู่
พรหมโลกชั้นแรก คือ ชั้นพรหมปาริสัชชาภูมินี้ มีอายุยืนได้ หนื่งในสาม ของ
วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป


เรื่องกัป
เมื่อตอนกล่าวถึงนิรยภูมิ ซึ่งว่าด้วยอายุของสัตว์นรกนั้น ได้บอกไว้ว่า
จักกล่าวถึงเรื่องกัปในโอกาสข้างหน้า ครั้นถึงตอนนี้จักหลบไม่อธิบายปล่อยให้
หายไปเสียเฉยๆ ก็ดูกระไรอยู่นัก จึงจักกล่าวถึงเรื่องกัปตามที่บอกไว้ ดังต่อไปนี้
กาลสมัยเริ่มแรกทีเดียว คือ ในยุคต้น คนเราไม่ใช่มีอายุน้อยนิดหนึ่งเพียง
๗๐-๘๐ ปี แล้วก็ตายลงอย่างทุกวันนี้เลย ความจริง มนุษย์ในยุคนั้น เขามี
อายุยืนนานถึงอสงไขยปี ที่ว่าอสงไขยปีนั้น ก็คือจำนวนปีมนุษย์ที่มีเลขหนึ่งขึ้น
หน้า แล้วต่อด้วยเลขศูนย์หนึ่งร้อยสี่สิบตัว หรือจะว่าเป็นจำนวนปีที่นับด้วยเลข
หนึ่งร้อยสี่ลิบเอ็ดหลักก็ได้ อยากรู้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ก็ลองคำนวณดูเถิด คือ
ตั้งเลขหนึ่งเขัาแล้วเติมศูนย์ลงไปให้ได หนึ่งร้อยสี่สิบศูนย์ กาลเวลาตามจำนวน
ตัวเลขที่กล่าวนี้ เป็นจำนวนอสงไขยปี เพราะมันเป็นจำนวนปีที่มากมายเกือบ
จะนับไม่ได้ อย่างนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า อสงไขยปี = จำนวนปีที่นับไม่ได้
ในยุคต้น มนุษย์มีอายุนานได้ อสงไขยปีนี่แล แล้วก็ค่อยๆ ลดลงมา ร้อยปี
ลดลงปีหนึ่ง ลดลงมาเรื่อย ๆ ค่อยลดลงด้วยอาการอย่างนี้ จนกระทั่งอายุ
ของมนุษย์เหลือเพียงสิบปี อาการที่อายุลดลงนี้ พึงเห็นตัวอย่าง เช่น ในสมัยที่
สมเด็จพระพุทธเจ้าของเรายังทรงพระชนมชีพอยู่มนุษย์ในสมัยนั้นมีอายุหนึ่งร้อยปี
ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงกาลทุกวันนี้ นับได้สองพันห้าร้อยปีเศษ หรือจะพูดอีกที
ว่านับได้ยี่สิบห้ารัอยปีเศษแล้ว ทีนี้ ร้อยปีลดลงเสียปีหนึ่งก็คงเหลือเจ็ดสิบหัา
(๑๐๐-๒๕ = ๗๕) จึงเป็นอันยุติได้ว่า ในสมัยทุกวันนี้ อายุมนุษย์มี ๗๕ ปี
เป็นประมาณเท่านั้นเอง เมื่อลดลงไปจนกระทั่งเหลือนิดหน่อยเพียงสิบปีแลัว
คราวนี้ ไม่ลดอีกต่อไปละ แต่จะเพิ่มขึ้น คือ ค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ร้อยปีเพิ่มขึ้น
ปีหนื่ง เช่นเดียวกับตอนที่ลดลงนั่นเอง เพิ่มขึ้นไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนกระทั่ง
มนุษย์มีอายุยืนนานถึงอสงไขยปีอีกตามเดิม เวลานานหนึ่งรอบอสงไขยปีนี่เอง
เรียกว่า อันตรกัป
เมื่อนับอันตรกัปที่ว่ามานี่ได้ หกสิบสี่อันตรกัป จึงเป็นหนึ่งอสงไขยกัป
ก็อสงไขกัปนี้มีอยู่ ๔ อสงไขยกัป คือ
๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป ... ได้ แก่ ตอนที่โลกกำลังถูกทำลาย ซึ่งได้ แก่คำว่า
สงฺวฏฏดีติ สงวฏโฎ = กัปที่กำลังพินาศอยู่ เรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ... ได้แก่ ตอนที่โลกถูกทำลายเลร็จแล้ว ซึ่ง
ได้แก่คำว่า สงฺวฏโฎ หุตฺวา ดิฏฐดีติ สงฺวฏฏฐายี = กัปที่มีแต่ความพินาศตั้งอยู่
เรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป ... ได้แก่ ตอนที่โลกกำลังพัฒนาคือกำลังจะกลับคืน
เป็นปกติ ซึ่งได้แก่ คำว่า วิวฏฏตีติ วิวฏโฏ = กัปที่กำลังเาริญขึ้นเรียกว่า วิวัฏฏ
อสงไขยกัป
๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ...ได้แก่ ตอนที่โลกพัฒนาเรียบร้อยเป็นอันดีแล้ว
ซึ่งได้แก่ คำว่า วิวฺฏโฏ หุตฺวา ติฏฐตีติ วิวฏฏฐายี = กัปที่เจริญูขึ้นพร้อมแล้ว
คือทุกสิ่งทุกอย่าง ดั้งอยู่ตามปกติ เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
สัตว์โลกทั้งหลายเช่นมนุษย์เรานี้ เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ได้ ก็เฉพาะ
ตอนอสงไขยกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นี่เท่านั้ น ส่วนตอนทั้งสาม
กัปข้างต้นนั้น ไม่มีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่เลย ก็จะอยู่ได้อย่างไรเล่า เพราะเป็น
ตอนที่โลกกำลังถูกทำลายพังพินาศ และผลมาเป็นปกติเอาเมื่อตอนอสงไขยกัป
สุดท้ายนี่เอง
อสงไขยกัปหนื่งๆ นั้นนับเป็นเวลานานมาก ดังกล่าวแล้ว คือ
๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
รวมทั้ง ๔ อสงไขยกัป ก็เป็น ๒ อันตรกัป เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่า
๑ มหากัป
ที่พรรณนามาทั้งหมดนี้ รู้สึกว่าจะเขัาใจยากอยู่ลักหน่อย แต่ก็เป็นการจน
ใจเหลือวิลัยแท้ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะอธิบายให้ง่ายกว่านี้ได้ อีกแล้ว
ความจริง การรจนาเรียบเรียงหนังสือเรื่องนี้ ตั้งใจจะให้ อ่านเขัาใจกันง่าย ๆ
เพราะโดยมากเป็นเรื่องราวนอกโลกมนุษย์ ใครที่เป็นคนเชื่อยาก เป็นผู้มากไป
ด้วยจินตามยปัญูญา ก็อาจทึกทักเอาว่าเป็นเรื่องไม่เข้าท่า ไม่น่าเชื่อฟัง แต่ว่า
ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นเรื่องดีที่ควรรู้ไว้ นักหนา รับฟังไว้ พิจารณาเถิด วันนี้
ไม่ศรัทธา แต่ว่าภายหน้าจะตัองเชื่อในเมื่อจิตใจเจริญขึ้นด้วยธรรมปฏิบัติ
ฉะนั้น ขณะนี้ ไม่ต้องคิดอะไรมาก อ่านฟังกันต่อไปดีกว่า
ลำดับนี้ จะว่าด วยเรื่องกัปซ้ำ อีกที เพราะเท่าที่ว่ามาแล้วรู้สึกว่ายังขัด ๆ
อยู่ ยังไม่โล่งใจนัก เรื่องกัปนี้ เมื่อจะว่าซ้ำอีกที ก็นับได้ดังนี้
๑ มหากัป เท่ากับ ๔ อสงไขยกัป
๑ อสงไขยกัป " ๖๔ อันตรกัป
๑ อันตรกัป " ๑ รอบอสงไขยปี
หรือ
๑ รอบอสงไขยปี เป็น ๑ อันตรกัป
๖๔ อันตรกัป " ๑ อสงไขยกัป
๔ อสงไขยกัป " ๑ มหากัป
เอาละ... หวังว่า คงเป็นที่เข้าใจกันได้ง่ายขึ้นแล ว บัดนี้ เราจะพากันย้อน
กลับไปหาเรื่องเดิม คือ อายุของพระพรหมชั้นพรหมปาริสัชชาภูมิต่อไป
พระพรหมชั้นนี้ได้กล่าวไว้แล้วว่า มีอายุนานถึงหนึ่งในสามของวิวัฏฏฐายี
อสงไขยกัป ก็อันว่ากาลเวลาที่เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนั้น ท่านผู้มี
ปัญญาคงทราบแล้วว่า นานถึงหกสิบลี่อันตรกัป ทีนี้ หนึ่งในสามของหกสิบสี่
เป็นเท่าไรเล่า? ก็คงเป็นยี่สิบเอ็ดเศษ ฉะนั้ น จึงเป็นอันยุติได้ว่า พระพรหมทั้ง
หลายผู้สถิตเสวยพรหมสมบัติอยู่ในพรหมปาริสัชชาภูมินี้ มีอายุยืนนานได้ ๒๑
อันตรกัปเศษ
บุรพกรรม ท่านผู้ที่จะมาอุบัติเกิดเป็นพรหมชั้นนี้ ได้แก่ ท่านที่เป็น
พราหมณ์ก็ดี โยคีหรือพระฤๅษีก็ดี ภายนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งได้เจริญสมถ
ภาวนาบำเพ็ญพรตทำตบะ จนได้เป็นฌานลาภีบุคคลลำเร็จปฐมฌาน หรือ
สมณะพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา ผู้อุตสาหะกระทำสมถกรรมฐาน
ภาวนา จนได้สำเร็จปฐมฌานเช่นเดียวกัน แต่เป็นปฐมฌานชั้นเล็กนัอย มี
อำนาจอ่อนซึ่งเรียกว่า ปริตตปฐมฌาน ครั้นดับจิตตายในขณะฌานยังไม่เสื่อม
ย่อมมาอุบัติบังเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ เสวยพรหมสมบัติอย่างสุขสำราญ สมกับ
ภาวนากรรมที่ทำไวั

เรื่องฌาน
ตามธรรมดา ท่านที่เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานสมาบัตินั้น ธรรมทั้ง ๔
ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิต ปัญญา ของท่านผู้นั้ น อย่างใดอย่างหนึ่งจะ
ต้องเขัาถึงความเป็นอธิบดี ในขณะที่ฌานจะเกิดขึ้น ก็ความเป็นอธิบดีของธรรม
ทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นนั้น
- ถ้าเป็นไปในขณะนั้นอย่างสามัญ มีภำลังอ่อน ฌานที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็น
ปริตตฌาน
- ถ้าเป็นไปมากปานกลาง มีกำลังปานกลาง ฌานที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็น
มัชฌิมฌาน
- ถ้าเป็นไปมากเข้มแข็ง มีกำลังเข้มแข็ง ฌานที่เกิดขึ้นนั้น ก็เป็น
ปณีตฌาน
ฌานที่เกิดขึ้น ย่อมแบ่งเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นปริตตะ ชั้นมัชฌิมะ และชั้น
ปณีตะ มีอำนาจสูงต่ำกว่ากัน ฉะนั้น เมื่อจะให้ ผลไปบังเกิดในพรหมโลก จึงให้
ผลแตกต่างกัน เช่น ท่านผู้ ได้ปฐมฌานชั้นปริตตะ ย่อมมีโอกาสได้เกิดเพียง
พรหมชั้นต่ำ คือพรหมปริสัชชานี เท่านั้น เพราะฌานมีกำลังอ่อนเป็นไปอย่าง
สามัญ
เพื่อปัองกันความสงลัยของปราชญ์ทั้งหลาย จึงขอกล่าวไว้ล่วงหน้า
อย่างรวบรัดในที่นี้ว่า ตั้งแต่นี้ ไป การกล่าวถึงฌานและฌานวิบาก จักกล่าว
โดยจตุกกนัย ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้ยุ่งยาก เป็นการตัดความลำบากที่จะต้องกล่าว
เยิ่นเย้อมากมาย ขอปราชญ์ทั้งหลายพึงทราบตามนี้
พรรณนาในพรหมปาริสัชชาภูมิ หรือพรหมโลกชั้นที่ ๑ ซึ่งเป็นการ
พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการ
ฉะนี้

พรหมปุโรหิตาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๒

พรหมโลกชั้นที ๒ นี้ มีนามปรากฏว่า พรหมปุโรหิตาภูมิ ที่ได้ชือเช่นนี้ก็
เพราะว่า เป็นที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ผู้ทรงฐานะประเสริฐกว่าพระพรหม
ชั้นปาริสัชชา เพราะเป็นผู้นำในกิจการของมหาพรหม
พรหมปุโรหิตาภูมินี้ ประเสริฐกว่าพรหมชั้นแรก ทั้งในด้านพรหมสมบัติ
เช่น ปราสาทวิมาน เป็นต้น กับทั้งในด้านสรีระร่าง เพราะมีรูปร่างใหญู่กว่า
ดีกว่า เป็นอาทิ เมื่อกล่าวโดยสถานที่ก็ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ระดับเดียวกับพรหม
ปาริสัชชาภูมิ แต่ว่าอยู่กันภูมิละเขตเท่านั้น
อายุ เมื่อกล่าวโดยอายุพรหมปุโรหิตาภูมินี้มีอายุยืนนาน นับได้ครึ่งหนึ่ง
ของวิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ก็วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัปนั้นมี ๖๔ อันตรกัป ครึ่งหนึ่ง
ก็คงเป็น ๓๒ อันตรกัป
บุรพกรรม ผู้ที่มาอุบัติเกิดเป็นพระพรหมชั้นนี้ โดยมากเคยเป็นโยคีพระ
ฤๅษีสิทธิ์ ที่ท่านเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย จึงออกบำเพ็ญพรตภาวนา หรือพระ
สมณะในพระพทธศาสนาบำเพ็ญสมถกรรมฐานจนได้มัชฌิมปฐมฌาน คือ
ปฐมฌานชั้นกลาง เมื่อจะดับจิตตายไปจากโลกนี้ ฌานที่ได้ไว้ไม่เสื่อมคลาย
ก็เป็นเหตุปัจจัยให้มาอุบัติเกิดเป็นพระพรหมชั้นพรหมปุโรหิตาภูมิ เสวยสุข
สมบัติอยู่นานนักหนา สมกับภาวนากรรมที่พยายามทำไว้
พรรณนาในพรหมปุโรหิตาภูมิ หรือพรหมโลกชั้นที่ ๒ ซึ่งเป็นการ
พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วย
ประการฉะนี้
มหาพรหมภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๓
พรหมโลกชั้นที่ ๓ มีนามว่า มหาพรหมภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
ภูมินี้ เป็นที่อยู่ของพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย คือ ยิ่งใหญู่กว่าพระพรหม
ปาริลัชชาและพระพรหมปุโรหิตานั่นเอง เมื่อว่าโดยสมบัติความเป็นอยู่ มหา
พรหมภูมินี้ย่อมจะมีพรหมสมบัติและความเป็นอยู่ประเสริฐล้ำเลิศกว่าพรหมทั้ง
สองชั้นนั้นเป็นธรรมดา
อายุ เมื่อว่าโดยอายุ เหล่ามหาพรหมนี้อายุนานนัก นับได้ประมาณ ๑
มหากัปพอดี เพราะเหตุที่มีอายุยืนนานเช่นนี้ บางทีก็ทำให้ท่านผู้ไปเกิดเป็น
พระพรหม เกิดความเข้าใจไขว้เขวไปต่าง ๆ บ้างก็มี ตัวอย่างเช่น ท่านท้าว
พกามหาพรหม ซึ่งเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ โดยมีเรื่องเล่าไวั
ในพระศาสนาคัมภีร์ ดังต่อไปนี้

พกามหาพรหม
ท่านท้าวพกามหาพรหมผู้นี้ มีโอกาสอยู่ในพรหมโลกนานนักหนา
คราหนึ่งพญามาราธิราชเข้าไปยกยอเอาว่า "ธรรมดาว่ามหาพรหม ย่อมเป็นผู้
ล้ำเลิศประเสริฐยิ่งนัก เป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวโลกทั่วไป เป็นผู้มี
ศักดานุภาพยิ่งใหญ่ เป็นผู้สร้างสัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ใหัเกิดขึ้นในโลก เป็นต้นว่า
มนุษย์หญิงชาย และสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ เป็นอันมาก นอกนั้นยังสร้างภูมิ
ประเทศ ภูเขา ต้นไม้ ทั้งมหาสมุทรไว้ในโลกมนุษย์อีกมากมาย ท่านท้าวมหา
พรหมเป็นผู้มีอานุภาพตบะเดชะยิ่งนัก มีอำนาจเหนือสิ่งทั้งปวง" ทั้งที่ไม่เป็นจริง
เป็นสิ่งหาสาระมิได้ พญามารกล่าวขึ้นลอยๆ ถึงกระนั้น ท้าวพกามหาพรหมก็
หลงเพลินมีจิตคิดวิปลาส เกิดทิฐิวิบัติปรากฏแก่ใจว่า "อาตมานี้ ไม่ต้องแก่ต้อง
ตาย เป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าใครที่ไหนทั้งปวง อนึ่งเล่าที่ว่าพระนิพพานนั้นก็เป็นสิ่ง
กล่าวกันเล่น หาสาระความจริงอันใดมิได้" เป็นอันว่าท้าวมหาพรหมนี้ เข้าใจผิด
คิดว่าพระนิพพานเป็นของไม่จริง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด หยาบช้านัก
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบวาระน้ำจิตของท้าวเธอ
จึงทรงลุกจากต้นรังใหญ่มีใบหนาทึบ ซึ่งอยู่ ณ ป่าสุภควัน เสด็จไปยังพรหม-
โลกโดยเร็วพลัน ชั่วระยะกาลมาตรว่าบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนของตนออกไป
แล้วงอกกลับมาเท่านั้น ครั้นพกามหาพรหมเห็นเข้า จึงกล่าวขึ้นว่า "ดูกรท่านผู้
เช่นกับเรา! การที่ท่านมาถึงที่นี่ก็ดีแล้ว จะได้ปราศรัยกัน ข้าพเจ้ามีความเห็น
อยู่อย่างหนึ่งว่า บรรดาสรรพสิ่งทั้งปวงลัวนแต่เป็นของเที่ยงแท้ ตั้งมั่นยั่งยืน
ถาวรอยู่ตลอดกาล ไม่รู้ จักแก่ไม่ รู้จักตาย ไม่มีอะไรจะมากำจัดความทุกข์ที่เกิด
แก่ผู้ใดได้" สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธฎีกาเตือนสติมหาพรหมว่า
"ดูกรมหาพรหม ความคิดของท่านนี่น่าอนาถยิ่งนัก บัดนี้ ตัวท่านเป็นมิจฉา
ทิฐิมีความเห็นวิปริตผิดเคลื่อนไปเสียแล้ว เพราะถูกอวิชชาความมืดมนเข้าหุ้ม
ห่อดวงจิตจึงเห็นผิดจากธรรมไปเช่นนี้ " ท้าวพกามหาพรหมจึงมีวาทีทูลตอบว่า
"ดูกรพระสมณโคดม ข้าพเจ้าอยู่นี้มีแด่ความสุขความเบิกบาน หาความ
ทุกข์สี่ประการ คือ ชาติทุกข์ พยาธิทุกข์ ชราทุกข์ และมรณทุกข์มิได้เลย
เช่นนี้จักไม่เที่ยงแท้ได้อย่างไรกัน" สมเด็จพระภควันต์จึงตรัสว่า "ดูกรมหา
พรหม! เราก็รู้อยู่ว่า ตัวท่านนี้มีเดชานุภาพมาก แม้แต่พระอาทิตย์พระจันทร์
ซึ่งมีรัศมีรุ่งเรืองแก่กล้า ก็หาส่องแสงให้สว่างไปทั่วหมื่นโลกธาตุ เหมือน
กับรัศมีแห่งท่านไม่ แต่เราก็แจ้งอยู่ว่า พกาพรหมตัวท่านนี้ มีอัคคีไฟคือกิเลส
คอยเผาผลาญในสันดาน อย่างนี้จักกล่าวว่าสุขสำราญ ได้อย่างไร อีกประการ
หนึ่ง เราก็ทราบสิ้นแล้วว่า ตัวท่านนี้มีศักดานุภาพมากมายนักหนา แต่ก็มารู้
อีกว่า อันพกาพรหมตัวท่านนี้จักได้รู้ที่อยู่แห่งพรหมชั้นสูง เช่น อาภัสสราพรหม
สุภกิณหาพรหม และเวหปผลาพรหมก็หาไม่ และสัตว์จักไปเกิดในชั้นนั้น ๆ
ได้อย่างไรบ้าง ท่านก็มิรู้" ท้าวพกาพรหมจึงตอบพระบรมครูว่า ดูกร ท่านผู้
เนียรทุกข์! ท่านมากล่าวกับข้าพเจ้าเป็นทำนองว่า ท่านผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้
รู้ จักกรรมวิบากของสัตว์ทั้งปวง ข้าพเจ้ายังมิเชื่อก่อน แต่ตัวข้าพเจ้านี้สิ มีศักดา
นุภาพยิ่งกว่าใครก็ยังมิทราบได้เลย" พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ดูกรท้าว
พกาพรหม" ตัวท่านมาอวดอ้างกับเราว่า เป็นผู้มีฤทธาศักดานุภาพหาผู้ใด
จะเสมอมิได้ ถ้าเช่นนั้นท่านจงแสดงฤทธิ์ให้เราดูเดี๋ยวนี้เถิด ท่านจงแสดงตน
ให้อันตรธานอย่าให้เราเห็นได้ ในกาลบัดนี้ "
พกามหาพรหมพอได้สดับพระพุทธฎีกา จึงแสดงฤทธาเพื่อให้กายา
ของตนหายไปด้วยประการต่างๆ ฝ่ายพระผู้มีพระภาคก็ทรงบันดาลพระฤทธิ์ มิ
ให้พกาพรหมนั้นหายไปได้ แม้จักซ่อนเร้นในที่ไหน สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าก็
ทรงเห็น ณ ประเทศนั้น เมื่อพกาพรหมพยายามซ่อนเร้นนักหนา กายาแห่ง
ตนก็มิได้ลับพระเนตรสมเด็จพระพุทธองค์ จนปัญญาลงก็ตรงไปนั่งกอดเข่า
เจ่าจุกอยู่ ณ วิมานของอาตมา ฝ่ายว่าหมู่พรหมสหายทั้งหลายก็พากันเยาะเย้ย
ยิ้มแย้มไยไพอยู่ไปมา พกาพรหมจึงออกมาแล้วกล่าวว่า "ดูกรพระสมณโคดม!
ท่านจงแสดงฤทธิ์ของท่านบ้าง ในกาลบัดนี้ "
สมเด็จพระชินสีห์เจ้าจึงทรงกระทำพระฤทธิ์บันดาลให้ พระวรกายอันตรธาน
หายไป จะได้ ปรากฏแก่จักษุมหาพรหมองค์ใดองค์หนึ่งก็หามิได้ และตรัส
พระธรรมเทศนาในท่ามกลางหมู่มหาพรหมทั้งสิ้นให้ ได้ยินแต่พระสุรเสียงเท่านั้น
ครั้นพอควรแก่กาลเวลาแล ว ก็ทรงสำแดงพระวรกายให้ ปรากฏตามเดิม เมื่อจะ
ทรงทรมานให้ท่านพกาพรหมละจากมิจฉาทิฐิ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
" ดูกรพกาพรหม ตัวท่านนี้ เป็นผู้มืดมนด้วยอวิชชาหาปัญญามิได้ แต่มาเข้า
ใจว่า ตัวนี้เป็นผู้มากไปด้วยปรีชา ถ้าจะเปรียบตัวท่านนี้ก็อุปมาเหมือนบุรุษ
เข็ญใจ ได้ผ้าแต่เพียงประมาณสี่แขนก็มีน้ำใจฮึกฮักทักเอาว่า ตัวนี้มียศศักดิ์หา
ผู้ใดเสมอมิได้ รู้ฤๅว่า ตัวท่านนี้มาแต่ไหน จึงได้มาบังเกิดในชั้นพรหมโลก นี้
รู้หรือว่าหามิได้ ? " พกาพรหมก็ยอมรับสารภาพว่า "ข้าแต่พระสมณะ อันที่
จุติและปฏิสนธินั้น ข้าพระบาทนี้มิได้แจ ง พระสมณะรู้และเข้าใจก็ขออาราธนา
วิสัชนาไป ในกาลบัดนี้ เถิด" สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพระพุทธฎีกาตรัส
ในที่ประชุมแห่งหมู่พระพรหมนั้นว่า
"ครั้งหนึ่ง โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา พกาพรหมผู้
นี้เกิดเป็นมนุษย์คหบดีผู้มีทรัพย์ แต่กลับเห็นโทษของ
ฆราวาสว่า การครองเรือนมีแต่ทุกข์ระกำใจ ไหนจะต้อง
ตายไหนจะต้องแก่ จึงตัดใจแน่วแน่ออกบรรพชาเป็นดาบส
ประพฤติพรต บำเพ็ญตบะจนสำเร็จจตุตถฌาน เมื่อทำกาล
กิริยา ก็ได้มาบังเกิดเป็นพระพรหมในชั้น เวหัปผลา อยู่นาน
นักหนา แล้วฌานถอยหลังมาอยู์ในห้องตติยฌาน จึงจุติมา
บังเกิดในพรหมโลกชั้น สุภกิณหา แล้วฌานก็ถอยหลงลงมา
อยู์ในห้องทุติยฌาน จึงจุติมาบังเกิดในชั้น อาภัสสราพรหม
ครั้นจุติจากชั้นอาภัสสราพรหม เพราะฌานถอยหลัง
ลงมาในห้องปฐมฌาน จึงได้มาบังเกิดในชั้นมหาพรหม ด้วย
เหตุนี้ พกาพรหมจึงรู้จักที่บังเกิดแต่ในพรหมโลก เพราะว่า
ตนท่องเทียวเวียนว่ายอยู่นานนักหนา จึงเข้าใจว่า ตนและ
สรรพสิ่งทั้งปวงเทียงแท้ ไม่แปรเปลี่ยน ไม่แก่ไม่ตาย"
พกาพรหมเมื่อได สดับเช่นนี้ก็คิดอยู่แต่ในใจว่า "พระสมณโคดมเจ้าทรงรู้
นักหนา มีพระปัญูญายอดยิ่งกว่าบุคคล รู้เหตุรู้ผลน่าสรรเสริญ นัก" คิดดังนี้ แล้ว
ก็ละจากมิจฉาทิฐิความเห็นผิดของตนเสียสิ้น กล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาค
เจ้าด้วยถ้อยคำเป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้
บุรพกรรม ผู้ที่มาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นมหาพรหมภูมินี้ ได้ แก่พวก
ดาบสโยคีและพระฤๅษีผู้บำเพ็ญตบะ และสมณะในพระพุทธศาสนา ซึ่งทำ
สมถกรรมฐานจนได้ ปฐมฌานชั้นประณีต ครั้นดับจิตตายจากมนุษยโลกแล้ว ก็
มาอุบัติเกิดเป็นมหาพรหมในมหาพรหมภูมินี้
อนึ่ง มีข้อควรจำง่าย ๆ ว่า พรหมภูมิ ๓ ชั้นนี้ ตั้งอยู่พื้นเดียวกัน แต่
แยกกันอยู่ ๓ เหล่า มีอาณาเขตอยู่เป็นพวก ๆ เพราะกำลังฌาน แม้จะได้
ปฐมฌานเหมือนกัน แต่ว่ามีประเภทต่างกัน คือ
๑. ปฐมฌานชั้นสามัญส่งผลให้เกิดในสัมปาริสัชชา ปฐมฌานภูมิ
๒. ปฐมฌานชั้นกลางส่งผลให้เกิดในพรหมปุโรหิตา ปฐมฌานภูมิ
๓. ปฐมฌานชั้นประณีตส่งผลให้เกิดในมหาพรหม ปฐมฌานภูมิ
พรรณนาในมหาพรหมาภูมิ หรือพรหมโลกชั้นที่ ๓ ซึ งเป็นการพรรณนา
โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้
ปริตตาภาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๔
พรหมโลกชั้นที่ ๔ มีนามปรากฏว่า ปริตตาภาภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
ภูมินี้ เป็นที่อยู่ของพระพรหมที่มีรัศมีน้อยกว่าพระพรหมที่อยู่เบึ้องบนตนขึ้นไป
อายุ พระพรหมชั้นปริตตาภาภูมินี้มีอายุยืนถึง ๒ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นปริตตาภาภูมินี้ ได้ต้องสำ
เร็จทุติยฌานประเภทปริตตะ คือเล็กน้อยหรือสามัญ
พรรณนาในปริตตาภาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๔ ซึ่งเป็นการพรรณนาโดย
สังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้ แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

อัปปมาณาภาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๕
พรหมโลกชั้นที่ ๕ มีนามปรากฏว่า อัปปมาณาภาภูมิ ที่ ได้ชื่อเช่นนี้ก็ เพราะว่า
ภูมินี้เป็นที่อยู่ของพรหมทั้งหลายที่มีรัศมีมากมายหาประมาณมิได้
อายุ พระพรหมชั้นอัปปมาณาภาภูมินี้ มีอายุยืนนานถึง ๔ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นอัปปมาณาภมาภูมินี้ได้
ต้องสำเร็จทุติยฌานประเภทมัชฌิมะ คือ ปานกลาง
พรรณนาในอัปปมาณาภาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๕ ซึ่งเป็นการพรรณนา
โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

อาภัสสราภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๖
พรหมโลกชั้นที่ ๖ มีนามปรากฏว่า อาภัสสราภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลายที่มีประกายรุ่งโรจน์แห่งรัศมีนานาแสง
ดุจแสงฟ้าแลบอยู่ตลอดกาลฉะนั้น
อายุ พระพรหมชั้นอาภัสสราภูมินี้ มีอายุยืนนาน ๘ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ได้ต้องสำเร็จทุติยฌาน
ประเภทปณีตะ คือ ประณีตยอดเยี่ยม
อนึ่ง พึงทราบว่า ทุติยฌานภูมิทั้ง ๓ ชั้นนี้ตั้งอยู่พื้นเดียวกัน แต่แยกกันอยู่
๓ เหล่า คือ ปริตตาภาภูมิเหล่าหนื่ง อัปปมาณาภาภูมิเหล่าหนึ่ง และอาภัสสรา
ภูมิเหล่าหนึ่ง มีอาณาเขตอยู่เป็นพวกๆ เช่นปฐมฌานภูมิที่กล่าวแล้ว
พรรณนาในอาภัสสราภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๖ ซึ่งเป็นการพรรณนาโดย
สังเขปกถา เห็นสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

ปริตตสุภาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๗
พรหมโลกชั นที่ ๗ มีนามปรากฏว่า ปริตตสุภาภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
ภูมินี้เป็นภูมิที่อยู่ของพวกพระพรหมทั้งหลาย ที่มีความสง่าสวยงามแห่งรัศมี
เป็นเพียงส่วนน้อย
อายุ พระพรหมชั้นปริตตสุภาภูมินี้ มีอายุยืนนานถึง ๑๖ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ได้ ต้องสำเร็จตติยฌาน
ประเภทปริตตะ คือ เล็กน้อยหรือสามัญู
พรรณนาในปริตตสุภาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๗ ซึ่งเป็นการพรรณนาโดย
สังเขบกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้
อัปปมาณสุภาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๘
พรหมโลก ชั้นที่ ๘ มีนามปรากฏว่า อัปปมาณสุภาภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็เพราะ
ว่า ภูมินี้ เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมพวกที่มีความสง่าสวยงามของรัศมีโดย
ไม่มีประมาณ
อายุ พรพรหมชั้นอัปปมาณสุภาภูมินี้ มีอายุยืนนานถึง ๓๒ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ ได้ ต้องเป็นผู้สำเร็จ
ตติยฌานประเภทมัชฌิมะ คือ ชั้นกลาง
พรรณนาในอัปปมาณสุภาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๘ ซื่งเป็นการพรรณนา
โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการฉะนี้

สุภกิณหาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๙
พรหมโลกชั้นที่ ๙ มีนามปรากฏว่า สุภกิณหาภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
ภูมินี้เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ซึ่งมีความสง่าสวยงามของรัศมีที่
ออกสลับปะปนกันเลมอตลอดทั่วร่างกาย
อายุ พระพรหมชั้นสุภกิณหาภูมิ มีอายุยืนนานถึง ๖๔ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมชั้นนี้ ต้องเป็นผู้สำเร็จตติยฌาน
ประเภทปณีตะ คือ ประณีตสูงสุด
อนึ่ง พึงทราบว่า ตติยฌานภูมิทั้ง ๓ นี้ ตั้งอยู่ ณ พื้นระดับเดียวกัน ใน
ท่ามกลางอากาศ แต่แยกกันอยู่เป็น ๓ เหล่า คือ ปริตตาสุภาภูมิเหล่าหนึ่ง
อัปปมาณลุภาภูมิเหล่าหนึ่ง และสุภกิณหาภูมิเหล่าหนึ่ง มีอาณาเขตอยู่เป็นพวก
ๆ เซ่น ปฐมฌานภูมิและทุติฌานภูมิที่กล่าวแล้ว
พรรณนาในสุภกิณหาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๙ ซึ่งเป็นการพรรณนาโดย
สังเขปกถา เห็นสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการฉะนี้

เวหัปผลาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๐
พรหมโลกชั้นที่ ๑๐ มีนามปรากฏว่า เวหัปผลาภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ ก็เพราะว่า
ภูมินี้ เป็นที่อยู่ของพวกพระพรหมทั้งหลาย ที่มีผลไพบูลย์ คือ มีผลที่ได้รับอย่าง
ไพบูลย์เต็มที่ ยิ่งกว่าพรหมชั้นอื่นใดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะพรหมภูมิ
เหล่านั้นยังต้องถูกทำลายล้างด้วยไฟบ้าง ด้วยน้ำบ้าง ด้วยลมบ้าง เมื่อถึง
โอกาสที่จะต้องถูกทำลาย แต่พรหมชั้นเวหัปผลาภูมินี้พ้นจากการถูกทำลายทุก
อย่าง ฉะนั้น พระพรหมทุกองค์ที่มาอุบัติขึ้นในภูมินี้ จึงได้เสวยผลแห่งกุศล
กรรมที่ตนทำได้เต็มที่ไพบูลย์
อายุ พรพรหมชั้นเวหัปผลาภูมินี้ มีอายุยืนนานมาก คือ นานถึง ๕๐๐
มหากัป
บุรพกรรม ผู ้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมชั้นนี้ ได้จะต้องเป็นผู้สำเร็จจตุตถฌาน
จึงจะมาอุบัติที่นี่ได้
พรรณนาในเวหัปผลาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๐ ซื่งเป็นการพรรณนา
โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

อสัญญสัตตาภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๑
พรหมโลกชั้นที่ ๑๑ มีนามปรากฏว่า อสัญญสตตาภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็
เพราะว่า ภูมินี้เป็นที่อย่ของอสัญญพรหม ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจสัญญาวิราคะ
ภาวนา เป็นพระพรหมที่มีแต่รูป ไม่มีมีนาม คือ จิตและเจตสิก
พรหมโลกชั้นนี้ ตั้งอยู่ ณ ภาคพื้นระดับเดียวกับพรหมโลกชั้นเวหัปผลาภูมิ
ในท่ามกลางอากาศ พระพรหมแต่ ละองค์ย่อมอยู่ในปราสาทแก้วอันกว้างขวาง
มีดอกไม้ คันธรสประดับเรียบเรียงเป็นระเบียบดุจบุคคลมาแสร้งจัดสรรไว้ ไม่รู้
เหี่ยวแห้ง ไม่รู้ร่วงโรย มีอยู่รอบพรหมวิมานนั่นทุกทิศ และผู้ที่ไปอุบัติบังเกิด
อยู่ในพรหมชั้นนี้ มีมากมายนักหนาคณนาไม่ถ้วนล้วนแต่มีหน้าตาเนื้อตัวสวย
งามสง่า ดุจรูปพระปฏิมากรพระพุทธรูปทองคำที่นายช่างผู้ชำนาญขัดสีใหม่ๆ
แลดูงามซึ้งตรึงใจสดพรรณนา แต่ว่าพระพรหมทั้งหลายเหล่านี้ มีอิริยาบถไม่
เหมือนกัน บางองค์นั่ง บางองค์นอนและ บางองค์ยืน มีอิริยาบถอย่างใดก็ เป็น
อยู่อย่างนั้นไม่เคลื่อน ไม่ไหวติง ทั้งจักษุทั้งสองก็มิได้กะพริบเลย เป็นประดุจ
รูปปั้นอยู่อย่างนั้นชั่วกาลนาน
อายุ พระพรหมผู้วิเศษผิดแปลกว่าพระพรหมอื่นนี้ มีอายุอยู่ใน
อสัญญสตตาภูมิ นานถึง ๕๐๐ มหากัป เช่นเดียวกับพรหมชั้นเวหปผลาภูมิ
บุรพกรรม มนุษย์บุคคลทั้งหลายแต่ปางก่อน ครั้งโลกยังว่างจากพระ
บวรพุทธศาสนา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธพระองค์ใดพระองค์หนึ่งมิได้ทรง
อุบัติตรัสในโลกเรานี้ เลย เขาเหล่านั้นได้บวชเป็นพระฤๅษีแล้ว บำเพ็ญตบะ
กระทำซึ่งวาโยกสิณบริกรรม พยายามกระทำจนได้ สำเร็จจตุตถฌาน ครั้นออก
จากจตุตถฌานแล้วก็มารำพึงในใจว่า
"ดังเราติเตียน : จิตนี้นักปราชญ์พึงติเตียนเป็นแท้ อันว่า
สัตว์ทั้งหลายไปทนทุกขเวทนาอยู่ในจตุราบายภูมิโพ้นก็เพราะ
จิตเพราะใจเป็นเหตุ ความทุกข์ทั้งปวงอันจะเกิดมีนั้น ก็
เพราะอาศัยจิตนี่เอง จิตนี้รู้คิดรู้นึกรู้รำพึงนักหนาทำให้เป็น
บ้าเพราะใจรักใจชังคลั่งไคล้ใหลหลง เมื่อถึงคราวถูกลงทัณฑ์
กรรมถูกโบยถูกตี มีจิตแล้วก็ได้รับความเจ็บปวด เมื่อไม่มี
จิตแล้วความทุกข์จักมีมาแต่ที่ไหน ผิว์เมื่อใดใจนี้หายไปจากตน
มิรู้คิดมิรู้รำพึงอันใดอันหนึ่ง จักเป็นการดีนักแล"
แต่เฝ้าชอบใจอยู่อย่างนี้ ก็รักษาจตุตถฌานไว้มิให้เสื่อมคลาย ครั้นออก
จากฌานแล้วก็เกลียดชังจิต ให้เบื่อหน่ายจิตใจเป็นอันมาก ด้วยความอยาก
ชอบใจในกิริยาที่ไม่มีจิต เขาจึงเฝัาแด่คิดปรารถนา เฝ้าภาวนาอยู่ว่า
อสญฺญีปิ อสญฺญีปิ
ขอกูจงอย่ามีสัญญา ขอกูจงอย่ามีสัญญา
ขอกูจงอย่ามีสัญญา
เขาปรารถนาภาวนาอยู่ดังนี้ แล ครั้นถึงแก่กาลกิริยาตายลง ก็ตรงมาอุบัติ
เกิดในพรหมโลกชั้นอสัญญสัตตาภูมินี้ ฤๅษีองค์ใด เมื่ออยู่ในเมืองมนุษย์ ยับยั้ง
อยู่ด้วยอิริยาบถใด ครั้นจุติฤๅษีองค์นั้นก็ขึ้นไปเกิดในอสัญญีภพนี้ด้วยอิริยาบถ
นั้น ถ้านั่งตายก็ขึ้นไปนั่งนิ่งอยู่ ถ้ายืนตายก็ขึ้นไปยืนนิ่งอยู่ในพรหมวิมานของ
ตน ประดุจรูปแห่งพระพุทธรูปปั้นอันช่างวิจิตรศิลป์ผู้มีฝีมือประเสร ิฐบรรจงปั้น
สลักไว้ลวยงามนักหนา ประดิษฐานอยู่ ณ พรหมวิมานนั้ นๆ สิ้นกาล ๕๐๐ มหา-
กัปเป็นกำหนด ซึ่งคำโลกสมมติเรียกชื่อว่า พรหมลูกฟัก เพราเมื่อขึ้นไปนั่งอยู่
ในพรหมวิมานประมาณถึง ๕๐๐ มหากัปนั้น ก็ปรากฏเหมือนว่าบุคคลนอนหลับ
อยู่ จักได้รู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นหามิได้ เพราะว่าไม่มีจิต มีแต่รูปเปล่าๆ
อนึ่งเล่า เมื่อใดถึงอายุขัย จำต้องจากเมืองพรหมบรมโลกเบึ้องสูง คื อ
อสัญญสัตตาภูมินี้ เขาก็มีจิตใจคืนมาเป็นปกติ ดังเช่นสัตว์เหล่าอื่น และไปเถิด
ตามอำนาจกุศลากุศลกรรมที่ทำไว้อีกต่อไป เพราะว่ายังไม่ได้ไม่ถึงซึ่งพระ
นิพพาน
พรรณนาในอสัญูญสัตตาภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๑ ซึ่งเป็นการพรรณนา
โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

อวิหาสุทธาวาสภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๒
พรหมโลกชั้นที่ ๑๒ มีนามปรากฏว่า อวิหาภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
เป็นภูมิที่อยู่แห่งพระพรหมอริยบุคคลอนาคามีทั้งหลาย ที่ทรงอยู่ด้วยความไม่
เสื่อมคลายในสมบัติของตน อีกประการหนึ่ง ที่ชื่อว่า อวิหาภูมิ เพราะเป็นที่อยู่
ของพระพรหมอนาคามีที่ไม่ละทิ้งสถานที่ของตนโดยเวลาเพียงเล็กน้อย หมาย
ความว่า พระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามีที่ไปอุบัติในอวิหาภูมินี้ย่อมไม่มีการจุติ
ก่อน จนกว่าจะมีอายุครบกำหนดจึงจะจุติ
อายุ พระพรหมอนาคามีในอวิหาภูมินี้ มีอายุยืนนานยิ่งนัก คณนาได้
๑,๐๐๐ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ ต้องเคยเป็นสาวก
ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบพระบวรพุทธศาสนา และเจริญ
วิปัสสนากรรม ฐานจนตติยมรรคบังเกิด สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และ
ขณะที่เจริญวิปัสสนาอยู่นั้น ปรากฏว่ามีสัทธินทรีย์ คือ มีศรัทธาแก่กล้ามาก
กว่าอินทรีย์อย่างอื่น ท่านผู้ ทรงคุณอันประเสริฐเหล่านี้ ประเภทเดียวเท่านั้น จึง
จักมาอุบัติเกิดในอวิหาภูมินี้ ได้
พรรณนาในอวิหาสุทธาวาสภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่๑๒ ซึ่งเป็นการพรรณนา
โดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

อตัปปาสุทธาวาสภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๓
พรหมโลกชันที่ ๑๓ ปรากฏนามว่า อตัปปาภูมิ ทีได้ชื่อเช่นนี้ ก็เพราะว่า
เป็นภูมิที่อยู่แห่งพระพรหมอนาคามีทั้งหลาย ผู้ไม่มีความเดือดร้อนทั้งกาย
วาจาและใจเลย ที่ว่าไม่มีความเดือดร อน ก็เพราะว่า พระพรหมอนาคามีที่อุบัติ
ในอตัปปาภูมิ ย่อมเข้าฌาน หรือเข้าผลสมาบัติอยู่เสมอ นิวรณ์ธรรมซึ่งเป็น
กิเลส อันเป็นเหตุทำจิตให้ เดือดร้อน ไม่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น จิตใจจึงมี
แต่ความสงบเยือกเย็น ไม่มีความเดือดรัอน
อายุ พระพรหมอนาคามีในอตัปปาภูมินี้ มีอายุยืนนาน คณนาได้ ๒,๐๐๐
มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมชั้นนี้ ต้องเป็นผู้ทีเคยเป็นสาวก
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบพระพุทธศาสนา และเจริญ วิปัสสนา
กรรมฐานจนตติยมรรคบังเกิด สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และในขณะที่
เจริญูวิปัสสนาอยู่นั้น ปรากฏว่ามีวิริยินทรีย์ คือ มีวิริยะแก่กล้ามากกว่าอินทรีย์
อย่างอื่น ท่านผู้ทรงคุณประเสริฐนี้ เท่านั้น จึงจักมีโอกาลมาอุบัติเกิดใน อตัปปา
ภูมินี้ ได้
พรรณนาในอตัปปาสุทธาวาสภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๓ ซึ่งเป็นการ
พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วย
ประการฉะนี้

สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๔
พรหมโลกชั้นที่ ๑๔ มีนามปรากฏว่า สุทัสสาภูมิ ทีได้ ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมอนาคามี ผู้ทรงไว้ซึ่งความเห็นอย่างแจ่มใส ที่ว่า
เห็นอย่างแจ่มใส ก็เพราะว่า พระพรหมที่อุบัติเกิดอยู่ในสุทัสสาภูมินี้ สามารถ
เห็นสภาวธรรมได้ โดยแจ้งชัดเพราะบริบูรณ์ด้วยประสาทจักษุ ทิพยจักษุ ธรรม
จักษุ และปัญญาจักษุ
อายุ พระพรหมอนาคามีในสุทัลสาภูมีนี้ มีอายุยืนนานถึง ๔, ๐๐๐ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ ต้องเป็นสาวกขององค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้พบพระบวรพุทธศาลนา และเจริญวิปัสานา
กรรมฐานจนตติยมรรคบังเกิด สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล แลในขณะ
ที่เจริญวิปัสสนานั้น ปรากฏว่ามีสตินทรีย์ คือ มีสติแก่กล้ามากกว่าอินทรีย์
อย่างอื่น ท่านผู้ทรงคุณอันประเสริฐนี้เท่านั้น จึงจักมีโอกาสได้มาบังเกิดใน
สุทัสสาภูมินี้ ได้
พรรณนาในสุทัสสาลุทธาวาสภูมิ หรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๔ ซื่งเป็นการ
พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วย
ประการฉะนี้

สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๕
พรหมโลกชั้นที่ ๑๕ มีนามปรากฏว่า สุทัสสภูมิ ที่ ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
เป็นภูมิ ของพรหมพรหมอนาคามีทั้งหลาย ทรงไว้ซึ่งความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า
มากกว่าใคร? ก็มากกว่าพระพรหมชั้นสุทัสสาที่กล่าวมานั่นเอง ในทีนี่ สระอีใน
ศัพท์ว่า สุทัสสี หมายเอา อติสย ซึ่งแปลว่า มากกว่า ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า
สทัสสีภูมิ = ภูมิ เป็นที่อยู่ของพรหมผู้มีความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า คือ
ท่านที่อุบัติเกิดในสุทัสลีพรหมภูมินี้ สามารถเห็นสภาวธรรมแจ้งชัดยิ่งนัก
เพราะมีจักษุทั้ง ๓ คือ ประสาทจักษุ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ มีกำลังมากยิ่ง
กว่า พระพรหมในสุทัสสาภูมิ เว้นแต่ว่าธรรมจักษุเท่านั้นที่มีกำลังเสมอกัน
อายุ พระพรหมอนาคามี ในสุทัสสีภูมินี้ มีอายุยืนนานถึง ๘,๐๐๐ มหากัป
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมโลกชั้นนี้ ต้องเป็นสาวกขององค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบพระบวรพุทธศาสนา และเจริญวิปัสสนา
กรรมฐานจนตติ ยมรรคบังเกิด สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล และในขณะที่
เจริญ วิปัสสนาอยู่นั้น ปรากฏว่ามีสมาธินทรีย์ คือ มีสมาธิแก่กล้ามากกว่า
อินทรีย์อย่างอื่น ท่านผู้ทรงคุณอันประเสริฐเท่านั้น จึงจักมีโอกาสได้มาบังเกิด
ในสุทัสสีภูมินี้ได้
พรรณนาในสุทัสสีสุทธาวาสภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๕ ซึ่งเป็น
พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้ แล้ว จึงขอยุติ ลง
ประการฉะนี้
อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๖
พรหมโลกชั้นที่ ๑๖ มีนามปรากฏว่า อกนิฏฐภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า
เป็นภูมิทีอยู่ของพระพรหมทั้งหลาย ซึ่งทรงคุณโดยไม่มีการเป็นรองกัน คือ ไม่
เป็นผู้ต่ำกว่ากันทั้งในด้านความสุขและความรู้ เพราะเป็นพระพรหมที่ เป็น
พระอนาคามีอริยบุคคล ซึ่งต่างก็จะได้ เป็นพระอรหันต์ต่อไปทั้งหมดในพรหม
โลกพระพรหมอนาคามี ที่อุบัติเกิดในสุทธาวาสภูมิที่กล่าวมาแล้ว คือ ชั้นอวิหา
อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี หากยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในชั้นนั้นๆ ก็จะต้องมา
อุบัติเกิดในชั้นนี้ พอมาบังเกิดในชั้นอกนิษฐ์นี้แล้ว ย่อมไม่ไปอุบัติบังเกิดในภูมิ
อื่นอีกเลย จะต้องได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานอยู่ในชั้นอกนิษฐ์นี่เอง
ฉะนั้น พรหมโลกชั้น อกนิษ ฐ์นี้ จึงมี ศีลคุณ สมาธิคุณ และปัญญาคุณ ประเสริฐ
ล้ำเลิศยิ่งกว่าพรหมโลกชั้นอื่นทั้งหมด

ทุศเจดีย์
พรหมสถานสุทธาวาสพรหมโลกอกนิษฐ์นี้ ปรากฏว่า มีพระเจดีย์องค์
สำคัญประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันนี้องค์หนึ่งชื่อว่าทุศเจดีย์ ประวัติความเป็นมา
แห่งพระเจดีย์องค์นี้มีว่า
พรพรหมทั้งหลายซึ่งสถิตอยู่ในชั้นอกนิษฐ์นี้ ผิว์เมื่อใดพระบรมพงศ์โพธิ
สัตว์จะได้ ตรัลเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ ในวันที่พระบรมโพธิสัตว์เจ้า เสด็จออกเพื่อ
ปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ ทรงผนวชนั้น พระพรหมทั้งหลายก็พากันถือบริขาร
แลไตรจีวรด่วนจรลงมาแต่อกนิษฐพรหมโลก แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระ
โพธิสัตว์เจ้า พระองค์รับเอาไตรจีวรจากพระพรหมแล้ว เมื่อจะทรงไตรจีวรนั้น
จึงทรงถอดผ้าขาวที่พระองค์ทรงออกจากพระวรกายแลัว ก็ทรงยื่นให้ แก่พระ
พรหม ๆ นั้นจึงรับเอา แลัวค่อยประคองพามาจนถึงอกนิษฐพรหมโลกนี้ แล้ว
นฤมิตพระเจดีย์แก้วอันสุกใสงามนักหนา สูงได้ เก้าหมื่นหกพันวา เสร็จแล้วจึง
เอาผ้าขาวทรงของพระบรมพงศ์โพธิสัตว์บรรจุเข้าไว้สำหรับเป็นที่สักการบูชา
ตั้งนามว่า พระทุศเจดีย์ ในปัจจุบันนี้ มีปวงพระพรหมพากันมาบูชาวันละหลาย
แสนมิได้ขาดเลย
อายุ พระพรหมทั้งหลายในชั้นอกนิษ ฐ์นี้มีอายุยืนนานถึง ๑๖, ๐๐๐ มหากัป
ในระยะเวลาอันยาวนานนี้ ท่านจักต้องได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และปรินิพพาน
ในระหว่างน แน่นอน เพราะว่าพระพรหมชั้นนี้จักไปอุบัติเกิดในที่ไหนๆ ไม่ได้
อีกแล้ว
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดในพรหมชั้นอกนิษฐ์นี้ ได้ ต้องเป็นสาวกของ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบพระบวรพุทธศาสนา แลเจริญวิปัสสนา
กรรมฐานจนตติยมรรคบังเกิดในสันดาน สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล
และในขณะที่เจริญ วิปัสสนาอยู่นั้น ปรากฏว่ามีปัญญินทรีย์ คือ มีปัญญาแก่กล้า
มากกว่าอินทรีย์อย่างอื่น ท่านผู้ทรงคุณอันประเสริฐวิเศษนี้ เท่านั้น จึงจักมี
โอกาสมาอุบัติเกิดในอกนิษฐภูมินี้ ได้
พรรณนาในอกนิฏฐสุทธาวาสภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๖ ซึ่งเป็นการ
พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติด้วยประการ
ฉะนี้

อากาสานัญจายตนภมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๗
พรหมโลกชั้นที่ ๑๗ นี้มีนามปรากฏว่า อากาสานัญจายตนภูมิ ที่ได้ ชื่อ
เช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมพวกหนึ่งซึ่งมีแต่นาม คือ จิตแล
เจตสิกเท่านั้น รูปพรรณสัณฐานไม่มี เกิดจากฌานมีอากาศบัญญัตไม่มีที่สุดเป็น
อารมณ์ หมายความว่า พรหมภูมินี้เป็นที่อยู่ของพวกอรูปพรหมที่ปฏิสนธิด้วย
อากาสานัญจายตนวิบากจิต
ที่ว่ามาอย่างนี้ บางทีท่านอาจจะรู้สืกว่าเข้าใจยาก ถูกแล้ว ต้องเข้าใจยาก
เป็นธรรมดา เพราะเป็นการว่าด้วยเรื่องนอกโลกไกลลิบลับ อ่านไปฟังไปตั้งนาน
ก็จับความไม่ค่อยจะได้ ว่า พรหมชั้นที่ว่านี้ คืออะไรกันแน่! ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ
ว่า พรหมโลกตั้งแต่ชั้นนี เป็นต้นไป จนถึงชั้นสุดท้าย เป็นพรหมชั้นสูงมาก สูง
ขนาดที่ว่าไม่มีรูปไม่มีร่างเอาทีเดียว แต่เพียงเทวโลกสวรรค์ ๖ ชั้นก็ดี พรหม
โลกที่มีรูป ๑๖ ชั้นก็ดี ที่กล่าวมาแล้วนั้น ทั้งๆ ที่มีรูปปรากฏยังเข้าใจยาก เห็น
ได้โดยยาก คราวนี้ เมื่อพูดถึงอรูปพรหม ซึ่งไม่มีรูป จักเข้าใจเห็นได้โดยไม่ยาก
ได้อย่างไร? ฉะนั้น พึงค่อยๆ เข้าใจคำว่า "อรูปพรหม" ก่อน ดังต่อไปนี้
อรูปพรหม แปลว่า พรหมที่ไม่มีรูปร่าง เหตุที่จะไม่มีรูปร่างนั้น ก็มีความ
เป็นมาตามบุรพกรรม คือ
บุรพกรรม พระโยคีฤๅษีสิทธิ์ทั้งหลายในสมัยที่พระพุทธศาสนายังว่างอยู่
ในโลก เขาเหล่านั้นได้อนุโยคพยายามทำตบะเดชะ บำเพ็ญ ภาวนาตามที่สืบต่อ
กันมาช้านาน ครั้นได้สำเร็จจตุตถฌานแล้วก็ยังไม่พอใจ หวังจะได้ฌานชั้นสูง
ยิ่งขึ้นไป โดยมาคำนึงในใจว่า
"อันตัวตนอัตภาพร่างกายนี้ใม่ดีนักหนา กอบไปด้วย
ทุกข์โทษ หาประมาณมิได้ เช่น มนุษย์บุคคลจะทำโทษทำ
ร้ายกันประหนึ่งเป็นบ้า ฆ่าฟันประหัตประหารซึ่งกันและกัน
ก็เพราะมีตัวตนเป็นสำคัญ ก็หากตัวตนนั้นไม่มีแล้วใซร้ ตนก็
จะทำร้ายท่านมิได้ ฝ่ายท่านก็จะทำร้ายแก่ตูมิใด้เช่นกัน
อย่างนี้ก็จะเป็นการดี ควรที่ตูจะปรารถนาทำตัวตนนั้นให้
หายใปเสียเถิด"
รำพึงอยู่ดังนี้ ก็เกิดความพอใจปรารถนานักหนาในภาวัที่ไม่มีตน ไม่มีรูป
กาย มิได้ อาลัยในสรีระร่างกาย พลางออกจากจตุตฌานแล้ว ก็ปรารถนาอยู่แต่
ว่า "จำตูจักเอาอากาศอันว่างเปล่า ไม่มีที่สิ้นสุดในอรูปพรหมโลกเป็นที่อยู่แห่ง
ตู" แล้วก็เอาอากาศบัญญัติเป็นอารมณ์ เฝ้าภาวนาอยู่แต่ว่า
อากาโส อนนฺโต...อากาโส อนนฺโต
ภาวนาอยู่อย่างนี้ เรื่อยไป ไม่ทิ้งเพียรตามที่ร่ำเรียนมา คราต่อไปไม่นาน
เขาก็ได้สำเร็จอากาสานัญจายตนฌาน
เมื่อได้สำเร็จอากาสานัญจายตนฌานแล้ว เขาจึงมีใจผ่องแผ้ว เต็มไปดัวย
ความปรารถนาหนักแน่นในดวงใจอยู่ตามเดิมว่า "อากาศอันมากมายนักหนา
หาสิ้นสุดมิได้ ผลอันตูได้กระทำแลใฝ่ใจปรารถนา ขอตูจงอย่าได้มีรูปเลย"
ครั้นว่าทำกาลกิริยาตายลง ก็ตรงมาอุบัติเกิดเป็นพรหมอยู่ในอากาสานัญ
จายตนภูมินี้ จิตใจนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหัวหูตาตีนมือ แม้แต่น้อยหนึ่งไม่มีเลย
เสวยสุขอยู่ด้วยภาวะที่ไม่มีรูป เป็นอรูปพรหมตามจิตปรารถนา
อายุ พระพรหมผู้วิเศษซึ่งอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตภูมินี้อายุยืนหนักหนา
คือ มีอายุยืนนานถึง ๒๐, ๐๐๐ มหากัป
พรรณนาในอากาสานัญจายตนภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๗ ซึ่งเป็นการ
พรรณนาโดยลังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วย
ประการฉะนี้
 

_________________
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผ้าขี้ริ้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 ก.ย. 2005
ตอบ: 101

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ย. 2008, 9:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ากาสานัญจายตนภมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๗
พรหมโลกชั้นที่ ๑๗ นี้มีนามปรากฏว่า อากาสานัญจายตนภูมิ ที่ได้ ชื่อ
เช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมพวกหนึ่งซึ่งมีแต่นาม คือ จิตแล
เจตสิกเท่านั้น รูปพรรณสัณฐานไม่มี เกิดจากฌานมีอากาศบัญญัตไม่มีที่สุดเป็น
อารมณ์ หมายความว่า พรหมภูมินี้เป็นที่อยู่ของพวกอรูปพรหมที่ปฏิสนธิด้วย
อากาสานัญจายตนวิบากจิต
ที่ว่ามาอย่างนี้ บางทีท่านอาจจะรู้สืกว่าเข้าใจยาก ถูกแล้ว ต้องเข้าใจยาก
เป็นธรรมดา เพราะเป็นการว่าด้วยเรื่องนอกโลกไกลลิบลับ อ่านไปฟังไปตั้งนาน
ก็จับความไม่ค่อยจะได้ ว่า พรหมชั้นที่ว่านี้ คืออะไรกันแน่! ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ
ว่า พรหมโลกตั้งแต่ชั้นนี เป็นต้นไป จนถึงชั้นสุดท้าย เป็นพรหมชั้นสูงมาก สูง
ขนาดที่ว่าไม่มีรูปไม่มีร่างเอาทีเดียว แต่เพียงเทวโลกสวรรค์ ๖ ชั้นก็ดี พรหม
โลกที่มีรูป ๑๖ ชั้นก็ดี ที่กล่าวมาแล้วนั้น ทั้งๆ ที่มีรูปปรากฏยังเข้าใจยาก เห็น
ได้โดยยาก คราวนี้ เมื่อพูดถึงอรูปพรหม ซึ่งไม่มีรูป จักเข้าใจเห็นได้โดยไม่ยาก
ได้อย่างไร? ฉะนั้น พึงค่อยๆ เข้าใจคำว่า "อรูปพรหม" ก่อน ดังต่อไปนี้
อรูปพรหม แปลว่า พรหมที่ไม่มีรูปร่าง เหตุที่จะไม่มีรูปร่างนั้น ก็มีความ
เป็นมาตามบุรพกรรม คือ
บุรพกรรม พระโยคีฤๅษีสิทธิ์ทั้งหลายในสมัยที่พระพุทธศาสนายังว่างอยู่
ในโลก เขาเหล่านั้นได้อนุโยคพยายามทำตบะเดชะ บำเพ็ญ ภาวนาตามที่สืบต่อ
กันมาช้านาน ครั้นได้สำเร็จจตุตถฌานแล้วก็ยังไม่พอใจ หวังจะได้ฌานชั้นสูง
ยิ่งขึ้นไป โดยมาคำนึงในใจว่า
"อันตัวตนอัตภาพร่างกายนี้ใม่ดีนักหนา กอบไปด้วย
ทุกข์โทษ หาประมาณมิได้ เช่น มนุษย์บุคคลจะทำโทษทำ
ร้ายกันประหนึ่งเป็นบ้า ฆ่าฟันประหัตประหารซึ่งกันและกัน
ก็เพราะมีตัวตนเป็นสำคัญ ก็หากตัวตนนั้นไม่มีแล้วใซร้ ตนก็
จะทำร้ายท่านมิได้ ฝ่ายท่านก็จะทำร้ายแก่ตูมิใด้เช่นกัน
อย่างนี้ก็จะเป็นการดี ควรที่ตูจะปรารถนาทำตัวตนนั้นให้
หายใปเสียเถิด"
รำพึงอยู่ดังนี้ ก็เกิดความพอใจปรารถนานักหนาในภาวัที่ไม่มีตน ไม่มีรูป
กาย มิได้ อาลัยในสรีระร่างกาย พลางออกจากจตุตฌานแล้ว ก็ปรารถนาอยู่แต่
ว่า "จำตูจักเอาอากาศอันว่างเปล่า ไม่มีที่สิ้นสุดในอรูปพรหมโลกเป็นที่อยู่แห่ง
ตู" แล้วก็เอาอากาศบัญญัติเป็นอารมณ์ เฝ้าภาวนาอยู่แต่ว่า
อากาโส อนนฺโต...อากาโส อนนฺโต
ภาวนาอยู่อย่างนี้ เรื่อยไป ไม่ทิ้งเพียรตามที่ร่ำเรียนมา คราต่อไปไม่นาน
เขาก็ได้สำเร็จอากาสานัญจายตนฌาน
เมื่อได้สำเร็จอากาสานัญจายตนฌานแล้ว เขาจึงมีใจผ่องแผ้ว เต็มไปดัวย
ความปรารถนาหนักแน่นในดวงใจอยู่ตามเดิมว่า "อากาศอันมากมายนักหนา
หาสิ้นสุดมิได้ ผลอันตูได้กระทำแลใฝ่ใจปรารถนา ขอตูจงอย่าได้มีรูปเลย"
ครั้นว่าทำกาลกิริยาตายลง ก็ตรงมาอุบัติเกิดเป็นพรหมอยู่ในอากาสานัญ
จายตนภูมินี้ จิตใจนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหัวหูตาตีนมือ แม้แต่น้อยหนึ่งไม่มีเลย
เสวยสุขอยู่ด้วยภาวะที่ไม่มีรูป เป็นอรูปพรหมตามจิตปรารถนา
อายุ พระพรหมผู้วิเศษซึ่งอยู่ในชั้นอากาสานัญจายตภูมินี้อายุยืนหนักหนา
คือ มีอายุยืนนานถึง ๒๐, ๐๐๐ มหากัป
พรรณนาในอากาสานัญจายตนภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๗ ซึ่งเป็นการ
พรรณนาโดยลังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วย
ประการฉะนี้

วิญญาณัญจายตนภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๘
พรหมโลกชั้นที่ ๑๘ นี้มีนามปรากฏว่า วิญญาณัญจายตนภูมิ ที่ได้ชื่อ
เช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นภูมิที่อยู่ของพระพรหมทีไม่มีรูปทั้งหลาย ซึ่งเกิดจากฌาน
ที่อาศัยวิญญาณบัญญัติ อันไม่มีที่สุดเป็นอารมณ์ หมายความว่า พรหมโลกชั้นนี้
เป็นที่อยู่ของอรูปพรหมผู้อุบัติเกิดด้วยวิญญาณัญจายตนวิบากจิต
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติบังเกิดเป็นพรหมอยู่ในวิญญาณัญจายตนภูมิได้
นั้น ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จวิญญาณัญจายตนฌานคือ พวกโยคีพระฤๅษีผู้บำเพ็ญ
พรตภาวนา จนได้อากาสาณัญจายตนฌานแล้ว ต่อมาพิจารณาเห็นว่า
อากาสาณัญจายตนฌานนั้นยังไม่ดีนัก ยังเป็นฌานต่ำยังใกล้ชิดกับรูปฌาน จึงมิ
พอใจ คลายความนิยมในฌานนั้น ใคร่จะได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป จึงพยายามทำ
ความเพียรเจริญภาวนายิงขึ้น ถือเอาวิญญาณอันแผ่ไปทั่วอากาศไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นอารมณ์ แล้วก็ตั้งหน้าอุตสาหะภาวนาอยู่ว่า
วิญฺญาณํ อนนตํ...วิญฺญาณํ อนนตํ
เมื่อภาวนาอยู่อย่างนี้นานนักหนาคราทีนั้นนิวรณธรรมย่อมสงบสติย่อมตั้ง
มั่น จิตย่อมมีความมั่นคงแนบแน่นในวิญญาณบัญญัติ ก็พ้นจากอากาสาณัญ
จายตนฌาน ก้าวขึ้นสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
เมื่อเขาผู้นั้นสำเร็จวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว จิตใจก็ผ่องแผ้ว เพราะ
สำเร็จสมประสงค์ ครั้นทำกาลกิริยาตายลง จึงตรงมาเกิดในอรูปพรหมชั้น
วิญญาณัญจายตนภูมินี้ เป็นพรหมไม่มีรูป มีแต่นามคือจิต สถิตเสวยสุขจนกว่า
จะสิ้นอายุ ซึ่งนับเป็นเวลานานนักหนา ด้วยผลวิบากแห่งภาวนากรรมที่ตนได้
กระทำไว้ ทั้งมีความปรารถนาใฝ่ใจในวิญญาณัญจายตนภูมิ
อายุ พระพรหมผู้ วิเศษ ซึ่งอุบัติเกิดอยู่ในชั้นวิญญาณัญจายตนภูมินี้มีอายุ
ยั่งยืนนักหนา คนาได้ ๔๐,๐๐๐ มหากัป
พรรณนาในวิญญาณัญจายตนภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๘ ซึ่งเป็นการ
พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วย
ประการฉะนี้

อากิญจัญญายตนภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๑๙
พรหมโลกชั้นที่ ๑๙ มีนามปรากฏว่า อากิญจัญญายตนภูมิ ที่ได้ชื่อเช่นนี้
ก็เพราะว่า เป็นภูมิที่อยู่ของอรูปพรหมพวกหนึ่งซึ่งมีแต่นาม คือ จิตและเจตสิกา
ไม่มีรูป เกิดจากฌานที่อาศัยอารมณ์ นตฺถิ กิญฺจิ ซึ่งเป็นนัตถิภาวบัญญัติ ไม่มี
วิญญาณเหลืออยู่แม้แต่น้อย หมายความว่าพรหมโลกชั้นนี้ เป็นที่อยู่ของอรูป
พรหมที่ปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตนวิบากจิต
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดเป็นพระพรหมอยู่ในอากิญจัญญยตนภูมิ
ได้นั้นต้องเป็นผู้สำเร็จอากิญจัญญายตนฌาน คือ พวกโยคีพระฤๅษีบางท่าน
บำเพ็ญพรตภาวนาจนได้วิญญาณัญจายตนฌานแล้ว ก็ยังไม่พอ พิจารณาเห็น
ไปว่า ตนยังไม่สงบ ยังไม่ ประณีตเพียงพอต้องก่อความอุตสาหะให้มากขึ้นอีก
เพื่อจะได้ฌานที่ลูงประณีตกว่านี้ จึงไม่ได้ ยินดีพอใจอยู่เพียงแค่วิญญาณัญจาย
ตนฌานนั้น พยายามบำเพ็ญต่อไปยิ่งขึ้น ถือเอาความไม่มี ความว่างเปล่าเป็น
อารมณ์ซึ่งเรียกว่า นัตถิภาวบัญญัต ฝึกหัดเอาแต่ความไม่มีเป็นที่หมาย
ใฝ่ใจภาวนาอยู่แต่ว่า
นตฺถิ กิญฺจิ...นตฺถิ กิญฺจิ
เมื่อภาวนาอยู่อย่างนี้นานนักหนา คราทีนั้น นิวรณธรรมย่อมสงบ สติ
ย่อมตั้งมั่น จิตย่อมมีความมั่นคงแนบแน่นในนัตถิภาวบัญญัติ ก็พ้นจาก
วิญญาณัญจายตนฌาน ก้าวขึ้นสู่อากิญจัญญายตนฌาน
เมื่อเขาสำเร็จอากิญจัญญายตนฌานแล้ว จิตใจก็ผ่องแผ้ว เพราะสำเร็จ
สมมาตรปรารถนา ครั้นทำกาลกิริยาตายลง ก็ตรงมาเกิดในอรูปพรหมชั้น
อากิญจัญญายตนภูมินี้ เป็นพรหมไม่มีรูป มีแต่นามคือจิต สถิตเสวยสุขอยู่จน
กว่าจะสิ้นอายุนับเป็นเวลานาน
การเสวยสุขอยู่นานๆ เช่นนี้จะว่าดีก็ดีอยู่เหมือนกัน แต่หันมาพิจารณา
ถึงภัยในวัฏสงสาร การไปเกิดเป็นพรหมมีอายุนานเช่นอยู่ในอรูปพรหมนี้ ไม่มี
โอกาสที่จะได้ พบสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงพลาดโอกาสที่จะได้บรรลุ
มรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมมีอยู่แต่เฉพาะในพระบวรพุทธศาสนาเท่านั้น
ตัองรอไปอีกนานนักกว่าจะได้บรรลุธรรมาภิสมัย และจะได้ บรรลุในภายหน้า
หรือไม่ก็ไม่แน่ ดูแต่เรื่องที่จะนำมาเล่าให้ฟัง ดังต่อไปนี้เถิด

อาฬารดาบสกาลามโคดร
กาลเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระกรุณาโปรดประทานปฏิญาณ
แก่ท้าวสหัมบดีมหาพรหม เพื่อจะแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเวไนยสัตว์แล้ว
จึงทรงพระดำริว่า ตถาคตจะไปลำแดงพระสัทธรรมเทศนาโปรดผู้ใดก่อน
บุคคลผู้ใดจะตรัสรู้พระโลกุตรธรรมโดยพลัน
ลำดับนั้น ก็ทรงพระพุทธปริวิตกว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรผู้เป็นครู
แห่งตถาคต เป็นบัณฑิตชาติ ทั้งสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีสันดานเบาบางจาก
ธุลีบาปธรรม ควรที่ตถาคตจะไปแสดงพระธรรมเทศนาโปรดดาบสนั้นก่อน เห็น
จะพลันได้ตรัสรู้มรรคผลโดยง่าย
แต่เมื่อทรงสอดส่องด้วยทิพยจักษุญาณ ก็ทรงเห็นแจ้งประจักษ์ว่า ดาบส
อาฬารกาลามโคตร ทำกาลกิริยาตายไป ๗ วันแล้ว บัดนี้ ขึ้นไปบังเกิดใน
อากิญจัญญายตนภูมิ (คือภูมิที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นี่) เสียดายอาฬารดาบสมา
พลาดโอกาสสำคัญ จึงเป็นหมันเสื่อมเลียจากเอกันตบรมสุขในครั้งนี้
อายุ พระพรหมผู้วิเศษซึ่งอุบัติบังเกิดอยู่ในชั้นอากิญจัญญายตนภูมินี้ มี
อายุยั่งยืนนักคณนาได้ ๒๐,๐๐๐ มหากัป
พรรณนาในอากิญจัญ ญายตนภูมิหรือพรหมโลกชั้นที่ ๑๙ ซึ่งเป็นการ
พรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้ แล้ว จึงขอยุติลงด้วย
ประการฉะนี้
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
พรหมโลกชั้นที่ ๒๐
พรหมโลกชั้นที่ ๒๐ (ซึ่งเป็นชั้นสุดยอดนี้มีนามปรากฏว่า เนวสัญญานา
สัญญายตนภูมิ ที่ได้ ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่า เป็นภูมิที่อยู่ของอรูปพรหมผู้วิเศษ ซึ่ง
เกิดจากฌานที่อาศัยความประณีตเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีสัญญาอย่างหยาบ มีแต่
สัญญาอย่างละเอียดประณีตเท่านั้น อรูปพรหมพวกนี้ปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานา
สัญญาตนวิบากจิต
บุรพกรรม ผู้ที่จะมาอุบัติเกิดเป็นพรหมอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตน
ภูมิได้นั้น ต้องเป็นผู้สำเร็จเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือ พวกโยคีพระฤๅษี
ดาบสบางท่าน บำเพ็ญพรตภาวนาได้สำเร็จอากิญจัญญายตนฌานภาวนาจน
ชำนาญคล่องแคล่วดีแล้ว ต่อมาก็เกิดความไม่พอใจ ด้วยมาพิจารณาเห็นไปว่า
"ยังใกล้อยู่กับรูปภาวะความมีรูปร่างปรากฏอยู่ อันการที่ตูพ้นจากรูปภาวะมา
จนถึงอากิญจัญญายตนฌานนี่ ยังไม่ดีแท้ ยังมิได้เย็นใจ ด้วยว่าการอยู่ใกล้กับ
รูปนั้น ก็เป็นดุจเช่นอยู่ใกล้ข้าศึกปัจจามิตรที่คิดประทุษฐ์ซึ่งมีอาวุธคือหอก
แลดาบ จะได้รับความเย็นใจสุขใจบ่มิได้ จำเราจะหนีรูปให้ห่างไกลด้วยการ
บำเพ็ญฌานให้สูงยิ่งขึ้นไป" เมื่อรำพึงดังนี้ จึงคลายความนิยมไยดีในอากิญ
จัญญายตนฌาน มีความปรารถนาอันกล้าหาญใคร่จะให้ถึงฌานเบื้องสูงสุด
ยอดต่อไป ใฝ่ใจคำนึงประสงค์อย่ว่า "เนวสญฺญา นาสญฺญา ภวิสฺสามิ = ขอให้
ตูจงมีจิตใจเหลือน้อยหนักหนา ดุจดังว่าหายไปเสียเถิด จักเป็นการดีแล"
แต่นั้นก็เฝ้าภาวนาอยู่แต่ว่า
เอตํ สนตํ... เอตํ ปณีตํ
เอตํ สนตํ... เอตํ ปณีตํ
เมื่อเขาเฝ้าภาวนาอยู่ดังนี้นานนักหนา คราทีนั้น นิวรณธรรมทั้งหลายก็
สงบ สติก็ตั้งมั่น จิตย่อมมั่นคงแนบแน่นในความสงบประณีต ก็เป็นอันพ้นจาก
อากิญจัญญายตนฌาน ก้าวขึ้นสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ครั้นเมื่อเขาผู้ นั้นสำเร็จเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้ว
เพราะสำเร็จฌานขั้นสูงสุดยอดสมประสงค์ ครั้นทำกาลกิริยาตายลง ก็ตรงมา
อุบัติบังเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินี้ เป็นพระพรหมผู้วิเศษไม่มีรูป
ทั้งจิตใจก็เหลืออยู่น้อยเต็มที จึงมีโวหารเรียกชื่อของท่านเหล่านี้ว่า เนวสัญ
ญานาสัญญาอรูปพรหม = อรูปพรหมผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ! ถ้า
จะสงสัยว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่ พูดแต่ว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
ก็ฟังได้อยู่หรอก แต่พอคล่องๆ หู แต่ที่จะให้รู้ให้เข้าใจนั้นรู้ สึกจะยาก หากสงลัย
อย่างนี้ ก็มีอธิบายว่า
เนวสัญญา ศัพท์ที่แปลว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่นั้น คือ ไม่มีสัญญาหยาบ
นาสัญญา ศัพท์ที่แปลว่า ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่นั้น คือ มีสัญญาละเอียดประณีต
รวมกันเข้าเป็น เนวสัญญานาสัญญา แปลว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
คือ พระพรหมพวกนี้ไม่มีสัญญาอย่างหยาบ มีแต่สัญญาอย่างประณีตละเอียด
หรือมีสัญญาเหลือน้อยเต็มที ในกรณีนี้ ปรากฏมีอุปมากถาที่ท่านพรรณนาไวั้
ดังต่อไปนี้

น้ำมันทาบาตร
สามเณรเล็กรูปหนื่งเอาน้ำมันทาบาตรแล้วเก็บไว้ วันหนึ่งพระเถรเจ้าผู้
เป็นพระอาจารย์ได้ ร้องเรียกสามเณรนั้นแต่ไกลว่า
"เณร! เอาบาตรมานี่"
"บาตรมีน้ำมัน ขอรับ" สามเณรน้อยรีบตอบ
"เอามาเถอะมีน้ำมันก็ดี เราจะเอาน้ำมันนั้นใส่ขวดเสีย"
"น้ำมันไม่มี ขอรับ" เจ้าสามเณรกลับตอบแสนซื่อ
ในเรื่องนี้พึงทราบอุปมาว่า ...น้ำ มันที่ทาชโลมบาตรจนทั่วนั้นมีอยู่
สามเณรจึงตอบพระเถระว่า มี ครั้นพระเถระเกิดจะเอาน้ำมันมาใส่ขวด
เจ้าสามเณรกลับตอบว่า "ไม่มี" ก็จะไปตอบว่ามีได้ อย่างไรกัน เพราะท่าน
อาจารย์เกิดความเข้าใจผิด คิดว่า มีมากถึงกับจะเอามาถ่ายใล่ขวด จะเอาน้ำ
มันที่ไหนมาใส่กันเล่า เพราะมันมีอยู่เพียงติดๆ บาตรเท่าที่ทาชโลมไว้เท่านั้น เอง
ฉะนั้น สามเณรผู้ซื่อจึงตอบว่า ไม่มี ข้อนี้ฉันใด เนวสัญญานาสัญญาอรูป
พรหมนี้ก็เหมือนกัน จะว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะมันเหมือนกับไม่มีโดยสุขุม
ละเอียดประณีตยิ่งนัก คือ น้อยเต็มที ครั้นจะว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะว่ายัง
มีสัญญาเหลืออยู่ เหมือนกับน้ำมันทาติดบาตรอยู่
อายุ พระพรหมผู วิเศษผู้อยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินี้ มีอายุยืน
มากกว่าลัตว์โลกทุกจำพวก เป็นพระพรหมชั้นสูงสุดยอด คือ มีอายุยืนนานถึง
๘๔,๐๐๐ มหากัป
การมีอายุยืนนานนี่ จะว่าเป็นการดีก็ไม่ขัด แต่เมื่อหวนนึกถึงภัยใน
วัฏสงสารแล้ว ก็เป็นการยืดความเวียนว่ายตายเกิดในห้วงวัฏฏะใหันานออก
ไปอีก เมื่อไรจะหลุดพ้น ได้บรรลุมรรคผล ไม่มีผู้ใดจะพยากรณ์ได้ เพราะไป
เกิดในอรูปพรหมนี้แล้ว ไม่มีโอกาสได้พบพระพุทธศาลนาเลย เมื่อไม่พบ
พระพุทธศาสนาการบรรลุมรรคผลก็ไม่มี เป็นการเสื่อมจากประโยชน์อันอุดม
คือ อมฤต หานิพพาน เช่น พระดาบสอาจารย์เก่าของสมเด็จพระพุทธเจ้าซึ่ง
มีเรื่องควรจะนำมากล่าวไว้ ดังต่อไปนี้

อุทกรามบุตรดาบส
กาลเมื่อสมเด็จพระบรมสุคตเจ้า ทรงพระพุทธดำริจะโปรดเวไนยสัตว์นัน
ครั้นทรงทราบชัดด้วยทิพยจักษุญาณว่า อาฬารดาบสทำกาลกิริยาตายไปอุบัติ
บังเกิดในอากิญจัญญายตนภูมิเสียแล้ว จึงทรงพิจารณาต่อไปอีกว่า บุคคลผู้ดัง
ฤๅจะได้ตรัสรู้มรรคผลโดยพลัน
ลำดับนั้นก็ทรงพระพุทธดำริถึงอุทกรามบุตรดาบสว่า ดาบสองค์นั้นก็เป็น
มหาเมธาวีชาติฉลาดหลักแหลม และมีอัชฌัตติกสันดานเบาบางจากกองอวิชชา
ควรจักไปเทศนาโปรดก่อนผู้อื่น
สมัยนั้น มีเทพเจ้าองค์หนึ่งเข้ามากราบบังคมทูลว่า อุทกรามบุตร
ดาบสดับขันธขาดชีพเสยแต่ในเวลาเมื่อพลบค่ำนี้ จงทรงสองพระญาณ-
อาวัชชนาการไปก็เห็นแจ้งว่า พระดาบสถึงแก่มรภาพในอภิโทสเวลา บัดนี้
ขึ้นไปอุบัติเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (คือภูมิที่เรากำลังกล่าวถึงกันอยู่
นี่) ก็ทรงพระปรารภรำพึงถึงอุทกรามบุตรดาบสนั้นว่า
ถ้ามีชีวิตยับยั้งคอยท่าตถาคตอยู่สักวันหนึ่ง ได้ฟังพระ
สัทธรรมเทศนาก็จะพลันบรรลุธรรมาภิสมัย นี่ช่างกระไร มา
เสื่อมูสญเสียจากเอกันตบรมสุขน่าสงสารเสียดายนัก"
เหตุไฉนสมเด็จพระบรมศาลดาจารย์จึงมาทรงจินตนาการดังนี้ ก็ท่าน
ดาบสได้อรูปสมาบัติไปอุบัติเกิดในอรูปพรหมชั้นสูงสุดมิเป็นสุขแลหรือ? เป็นสุข
อยู่ แต่ทว่าสิ้นอายุแล้วก็จะจุติกลับเสวยซึ่งทุกข์ในภพใหม่สืบไปอีกเล่า เพราะ
ยังมิละเสียได้ซึ่งกิเลสจากสันดานด้วยปราศจากติกขญาณ โดยเหตุที่อรูปฌาน
ไม่เป็นนิยยานิกธรรม นำสัตว์ออกจากทุกข์ในวัฏฏะไม่ได้ จึงน่าเสียดายท่าน
ดาบสผู้อับโชค เบื้องว่าพระลัทธรรมบังเกิดขึ้นในโลกก็มิได้สดับ เพราะมา
ขาดชีพไปเสียก่อน จึงเป็นชนภายนอกพระพุทธศาสนา เสื่อมสูญ จากอุดม
ประโยชน์ กล่าวคือมรรคผลพระอมฤตมหานิพพาน สมเด็จพระพิชิตมารจึง
ทรงพุทธดำริดังกล่าวมา
พรรณนาในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิหรือพรหมโลกสูงสุดชั้นที่ ๒๐ ซึ่ง
เป็นการพรรณนาโดยสังเขปกถา เห็นว่าสมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง
ด้วยประการฉะนี้

วัฏฏสังสารวรรณนา
เรื่องวัฏสงสาร
บรรดาภูมิ ๓๑ ภูมิที่พรรณนามาทั้งหมดนี้ ยกเว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ เสียแล้ว
ย่อมเป็นที่อุบัติเป็นที่อยู่และเป็นที่ตายของสัตว์ทั้งหลายทุกรูปทุกนามไม่มียกเว้น
ไม่ว่าจะเป็นเราเป็นท่าน ย่อมจะต้องท่องเที่ยวเวียนตายเวียนเกิด อยู่ภายในภูมิ
เหล่านี้เรื่อยไป ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเรียกอาการที่เวียนว่ายตายเกิดนี้ว่า วัฏสงสาร
ซึ่งแปลว่า การท่องเที่ยวเพราะวัฏฏะวนเวียน ไม่มีการเกษียณสิ้นสุดลงได้
เมื่อจะจำแนกวัฏสงสารเป็นประเภทใหญ่ ๆ เพื่อจำง่ายก็ได้ ๓ ประเภท คือ
๑ เหฏธิมสงสาร = การท่องเที่ยวไปในโลกเบื้องต่ำ ซึ่งมีอยู่ ๔ โลก คือ
๑. นิรยภูมิ.. โลกนรก
๒.เปตติวิสยภูมิ...โลกเปรต
๓. อสุรกายภูมิ...โลกอสุรกาย
๔. ติรัจฉานภูมิ... โลกเดียรัจฉาน
๒ มัชฌิมสงสาร = การท่องเที่ยวไปในโลกชั้นกลาง ซึ่งมีอย่ ๗ โลก คือ
๑. มนสสภมิ... โลกมนษย์
๒. จาตุมหาราชิกาภูมิ... เทวโลกชั้นที่ ๑
๓. ตาวติงสาภูมิ... เทวโลกชั้นที่ ๒
๔. ยามาภูมิ... เทวโลกชั้นที่ ๓
๕. ตุสิตาภูมิ... เทวโลกชั้นที่ ๔
๖. นิมมานรตีภูมิ... เทวโลกชั้นที่ ๕
๗. ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ เทวโลกชั้นที่ ๖
๓. อุปริมสงสาร = การท่องเที่ยวอยู่ในโลกเบื้องสูง ซึ่งมีอยู่ ๒๐ โลก คือ
๑. พรหมปาริสัชชาภูมิ. พรหมโลกชั้นที่ ๑
๒. พรหมปุโรหิตาภูมิ..พรหมโลกชั้นที่ ๒
๓. มหาพรหมภูมิ... พรหมโลกชั้นที่ ๓
๔. ปริตตาภาภูมิ... พรหมโลกชั้นที่ ๔
๕. อัปปมาณาภาภูมิ... พรหมโลกชั้นที่ ๕
๖. อาภัสสราภูมิ... พรหมโลกชั้นที่ ๖
๗. ปริตตสุภาภูมิ..พรหมโลกชั้นที่ ๗
๘. อัปปมาณสุภาภูมิ..พรหมโลกชั้นที่ ๘
๙. สุภกิณหาภูมิ... พรหมโลกชั้นที่ ๙
๑๐. เวหัปผลาภูมิ...พรหมโลกชั้นที่ ๑๐
๑๑. อสัญญสัตตาภูมิ...พรหมโลกชั้นที่ ๑๑
๑๒. อวิหาภูมิ. พรหมโลกชั้นที่ ๑๒
๑๓. อตัปปาภูมิ..พรหมโลกชั้นที่ ๑๓
๑๔. สุทัสสาภูมิ...พรหมโลกชั้นที่ ๑๔
๑๕. สุทัสสีภูมิ...พรหมโลกชั้นที่ ๑๕
๑๖. อกนิษฐภูมิ...พรหมโลกชั้นที่ ๑๖
ทั้ง ๑๖ ภูมินี้ เป็นรูปภูมิ คือ เป็นที่อยู่ของพระพรหมที่มีรูป
๑๗. อากาสาณัญจายตนภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๑๗
๑๘. วิญญาณัญจายตนภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๑๘
๑๙. อากิญจัญญายตนภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๑๙
๒๐. เนวสัญญานาสัญญายตภูมิ พรหมโลกชั้นที่ ๒๐
ทั้ง ๔ ภูมินี้ เป็นอรูปภูมิ คือ เป็นที่อยู่ของพระพรหมไม่มีรูป
บรรดาสัตว์ทั้งหลายซึ่งท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้ ที่จะได้ ชื่อว่าเที่ยงแท้
ยั่งยืนนั้นมิได้มีเลย จงเชื่อเถิด แม้จะไปอุบัติเกิดในภูมิที่ดี หรือภูมิที่สูง
เสวยสมบัติอันประเสร ิฐสุด ดุจพระยามหาจักรพรรดิราชก็ดี มีทิพยสมบัติ
ดุจองค์อินทร์จอมถิ่นสวรรค์ชั้นไตรตรึงษ์ก็ดี มีความสุขเป็นบรมดุจเช่นองค์
พรหมทั้งหลายก็ดี แต่ที่จะเที่ยงแท้ยั่งยืน เป็นอยู่อย่างนั้นเรื่อยไปตลอดกาล
ย่อมเป็นไปไม่ได้ อย่างเด็ดขาด ย่อมจะต้องรู้พลัดรู้พรากจากความสุขนั้นๆ เป็น
ธรรมดา ในเมื่อถึงคราสิ้นอายุแล้ว ก็ย่อมจะแคล้วคลาดเคลื่อนจากอัตภาพนั้น
ท่องเที่ยวไปเกิดในภูมิอื่นอีกมากมายภายในวัฏสงสารที่กล่าวมานี้ หากมีบาป
ทำไว้ด้วยใจหมองเศร้า บางทีเล่าก็พลัดไปเกิดในจตุราบาย กระวนกระวาย
เสวยทุกขเวทนาเหลือประมาณ เพราะเป็นเหฏฐิมสงสารภูมิเบึ้องต่ำ ถ้าทำ
ความดีมีกุศล ก็จะดลบันดาลให้ขึ้นมาอุบัติในมัชฌิมสงสาร มีความสุขสำราญ
ชื่นบานด้วยกามคุณอารมณ์ บางทีไปเกิดเป็นพระพรหม เพราะ ได้สร้างสม
บำเพ็ญภาวนา ต่อมาเมื่อหมดบุญกรรมที่ทำไว้ ถึงอายุขัยก็ต้องจุติไปเกิดตาม
ยถากรรม แต่เฝ้าพำนักอยู่แล้วก็เวียนไปเวียน มาอยู่ในมหาสมุทรทะเลหลวง
คือ วัฏสงสารนี้ ไม่มีวันหยุดยั้งเที่ยงแท้แน่อยู่ในที่แห่งเดียวดั่งคาดคิด พึงเห็น
ความวิจิตรพิสดารของวัฏสงสาร ซึ่งจะกล่าวอย่างย่อๆ ดังต่อไปนี้
ขึ้นชื่อว่าฝูงลัตว์นรกนั้น ครั้นเขาสิ้นอายุในนรกแล้ว บางทีก็กลับเกิดซ้ำ
อยู่ในนรกขุมเก่านั่นแหละอีกเช่นนี้ก็มี บางทีไปเกิดในนรกขุมอื่นๆ ก็มี ลางทีไป
เกิดเป็นเปรตเป็นอสุรกายก็มี ลางทีไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน บางกาลมาเกิด
เป็นคนในมนุษยโลกนี้ บางทีถ้าเคยได้ท่าบุญมาแต่ก่อนบ้างแล้ว ก็ไปเกิตเป็น
เทพยดาในสวรรค์เมืองฟ้า
อันว่าฝูงเปรตเล่า ครั้นเขาสิ้นอาจตายจากเปรตวิสัยแล้ว ลางทีไม่แคล้ว
กลับเกิดเป็นเปรตซ้ำอีกก็มี ลางทีไปเกิดเป็นอสุรกายก็มี ลางทีไปเกิดในกำเนิด
สัตว์เดียรัจฉาน บางกาลหากเขาทำบุญกุศลมาก่อน ก็ยัอนกลับมาเกิตเป็นคน
ในมนุษยโลกนี้ ลางทีก็ไปเกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์เมืองฟ้า
อันว่าฝูงอสุรกายนั้นเล่า ครั้นเขาสิ้นอายุแล้ว บางทีกลับเกิดเป็นอสุรกาย
ตามเดิมก็มี ลางทีก็ไปตกนรกหมกไหม้ลำบากหนักหนาก็มี ลางทีก็ไปเกิดเป็น
สัตว์เดียรัจฉาน บางกาลก็มาเกิตเป็นมนุษย์ ถ้าเคยประกอบการบุญบริสุทธิ์ไว้
ก็ได้ไปเกิดในสวรรค์เมืองฟ้า
อันว่าสัตว์เดียรัจฉานนั้นเล่า ครั้นเขาสิ้นชีวิตแล้ว ลางทีไม่แคล้วกลับเกิด
ในชาติสัตว์เดียรัจฉานอีกก็มี ลางทีต้องไปลงนรกเสวยทุกขเวทนา บางคราไป
เกิดเป็นเปรตอสุรกายก็มี ลางทีเคยทำบุญไว้ เขาก็ได้มาเกิดเป็นคน ถ้ามีกุศลสูง
กรรมก็ชักจูงให้ไปเกิดในเทวภูมิสวรรค์เมืองฟ้า
อันว่าสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาเป็นคนในโลกมนุษย์นี้ มีอยู่ ๒ จำพวก คือ
จำพวกหนึ่งชื่อว่า อันธพาล ปุถุชนคนพาลสันดานหยาบ บุญบาปไม่คำนึงถึง
มีชีวิตอยู่วันหนึ่งๆ ประดุจคนตาบอด แต่เข้าใจว่าตนเป็นยอดชนในเชิงความ
คิดเที่ยวแผลงฤทธิ์เกเรหวนเหไปข้างบาปมากกว่าข้างบุญเช่นนี้ ครั้นเขาดับ
ชีวิตตายจากมนุษย์ย่อมจะไปผุดเกิดในจตุราบาย คือ ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็น
เปรต เป็นอสุรกาย หรือเป็นสัตว์เดรัจฉาน ลางทีอันธพาลปุถุชนนี้ ก็กลับมา
เกิดเป็นมนุษย์อีก แต่หลีกกรรมชั่วไม่พ้น เขาจึงเป็นคนทุรพลพิการเป็นพาล
อัปลักษณ์บัดสี มีน้ำใจโหดหื่น ผู้อื่นเห็นเขาเป็นคนสันดานรัาย ใจเขามิรู้จัก
บุญแลบาปเลย มนุษย์อีกจำพวกหนึ่งนั้นชื่อว่า กัลยาณปุถุชน เขาเป็นคนดีมี
ศีลธรรมประจำตน ครั้นแตกกายทำลายชนม์ก็ไปเกิดในสวรรค์เมืองฟ้า ถ้าว่า
ได้ทำสมถกรรมฐานได้ฌานสมาบัติ ก็ไปเกิดในพรหมโลกเป็นสุขนักหนา
อันฝูงเทวดาทั้งหลายผู้บังเกิดในเทวโลก ครั้นเขาหมดอาจถึงกาลจุติแล้ว
ลางทีไม่แคล้วเกิดเป็นเทวดาอีกก็มี ลางทีไปเกิดเป็นพรหมในพรหมโลกก็มี
ลางทีกลับมาเกิดเป็นคนในมนุษยโลกเรานี้ ลางทีมีบาปอกุศล
หวำตกมาจากเทวโลก ลงไปเกิดในจตุราบายอันต่ำช้าน่าอนาถนัก
อันว่าพระพรหมผู้มเหสักข์ทั้งหลายเล่า ครั้นเขาสิ้นอายุ จุติจากพรหมโลก
แล้ว ลางทีก็ไม่แคล้วต้องเกิดเป็นพระพรหมซ้ำอีกเช่นนี้ก็มี ลางทีก็ตกต่ำลงมา
เกิดเป็นเทพยดาในสวรรค์ชั้นฟ้า ลางคราก็กลับมาเกิดเป็นคนในมนุษยโลกนี้
แต่ที่จะไปเกิดในจตุราบายภูมินั้นมิได้มี ทีว่านี้ไม่ใช่ว่าพระพรหมท่านปิดอบาย
ภูมิได้ เป็นแต่เพียงว่า ท่านที่จุติจากพรหมโลกแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิใน
ชาติที่สองเท่านั้น แต่ชาติต่อไปนั้นไม่แน่ อาจจะไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ ภูมิใด
ภูมิหนึ่งก็ได้ เพื่อที่จะให้เนื้อความเหล่านี้กระจ่างชัด บัดนี้ขอท่านทั้งหลายลอง
ใคร่ครวญพิจารณาเรื่องพระสุมนาเถรี ซึ่งมีความปรากฏในศาสนคัมภีร์ ดังต่อ
ไปนี้

พระสุมนาเถรี
วันหนึ่ง ตอนอรุณรุ่งเช้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้ทรงเป็น
พระบรมครูของชาวเราทั้งหลาย เสด็จเขัาไปในพระนครราชคฤห์พร้อมกับพระ
ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เพื่อทรงบิณฑบาตโปรดสัตว์ตามพุทธประเพณี สมเด็จพระ
พุทธชินสีห์ได้ ทอดทัศนาเห็นลูกสุกรน้อยตัวหนึ่ง จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ปรากฏ
ทัสสโนภาสมณฑล องค์พระอานนท์ผู้พุทธอนุชาจึงมีเถรวาจาทูลถามว่า ทรง
แย้มพระโอษฐ์เพราะเหตุใด? พระองค์ทรงชี้พระหัตถ์ไปยังลูกสุกรน้อยแล้วตรัสว่า
"ดูกรอานนท์! เธอจงดูลูกสุกรน้อยตัวนี้ เดิมทีแต่ครั้งศาสนาแห่งองค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันโธนั้น เขาเกิดเป็นแม่ไก่
อาศัยอยู่ที่ศาลาวัดแห่งหนึ่ง ถึงความเลื่อมใสในเสียงธรรมอันภิกษุปรารภความ
เพียรในกรรมฐานสวดอยู่ทุกค่ำคืนเป็นเนืองนิตย์ ก็มีจิตเลื่อมใสไปตามประสา
เดียรัจฉาน ครั้นถึงกาลกิริยาแล้ว ได้ไปเกิดเป็นพระราชธิดาทรงพระนามว่า
อุพพรี ในราชตระกูลหนึ่งแล้ว ได้บวชเป็นปริพาชิกานอกศาสนา อุตส่าห์
บำเพ็ญภาวนาจนได้ปฐมฌาน ตายไปบังเกิดเป็นพระพรหมอย่พรหมโลก
จุติจากพรหมโลกลงมาบังเกิดในตระกูลเศรษฐี ตายจากนั้นแล้ว จึงมาเกิดเป็น
ลูกลุกรน้อยเช่นที่เธอเห็นอยู่นี่"
กาลเวลาค่อยเคลื่อนคล้อยนับได้เป็นร้อยปี ตั้งแต่องค์สมเด็จพระชินสีห์
สัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพานมา ครั้งนั้น ณ กัลลกะมหาวิหาร ตอนค่ำ
วันหนึ่ง มีภิกษุณีสงฆ์มากมาย เดินเข้าออกพลุกพล่านผิดธรรมดา ต่างองค์ต่าง
ก็มีหน้าเงียบขรึมมิได้ยิ้มแย้มแก่กัน ด้วยเธอเหล่านั้นได้ข่าวว่า ภิกษุณีสาวรูป
หนึ่งซึ่งมีนามว่า พระสุมนาเถรี เป็นพระอรหันต์มหาขีณาสพจักเข้านิพพานใน
วันนี้ จึงพากันมาเยี่ยมเยียนและนมัสการเป็นครั้งสุดท้าย ครั้นภิกษุณีสงฆ์ทั้ง
หลายประชุมพร้อมกันแล้ว จึงอาราธนาให้ท่านเล่าอดีตประวัติความเป็นมา
เพื่อเป็นอนุสรณียกถา เครื่องระลึกถึง จักได้เป็นสิ่งพึงสังเวชแก่ปัจฉิมาชนตา
ชนผู้เกิดมาในภายหลัง ดังนั้น องค์อรหันต์ภิกษุณีสุมนาเถรีซึ่งจะดับขันธ์
นิพพานในวันนี้ จึงได้เริ่มเล่าประวัติของตัวท่านเอง ให้ที่ประชุมนั้นฟังซึ่งมีเนึ้อ
ความดังต่อไปนี้
ครังหนึ่งข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์ มีจิตไม่บริสุทธิมีมลทิน ครั้นสิ้นชีวิตถึง
แก่ความตาย ก็ไปเกิดเป็นแม่ไก่ ได้ฟังธรรมที่ภิกษุสาธยายก็มีใจเลื่อมใส ทั้งๆ
ที่ไม่รู้เรืองรู้ความ เมื่อถึงคราวชะตาขาด ก็ให้มีเหยี่ยวตัวฉกาจมาโฉบเอา
ข้าพเจ้าไปกินเป็นอาหาร จึงไปเกิดในพระราชวังอันโอฬารเป็นธิดากษัตริย์
นามว่า อุพพรีราชธิตา ต่อมาได้ออกบวชเป็นปริพาชิกา เจริญสมถกรรมฐาน
สำเร็จฌานชั้นปฐม ครั้นสิ้นลมหมดชีวิต กรรมดีผลิตผลให้ไปเกิด เป็น
พระพรหม เสวยบรมสมบัติอันวิเศษ เป็นพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ ตัวขัาพเจ้านี้ทำ
กุศลไว้น้อย จึงถอยมาเกิดเป็นธิดาเศรษฐี บาปมัวหมองใจไม่ผ่องใส ครั้นตาย
ลงไป จึงปฎิสนธิในครรภ์เดียรัจฉาน ถือกำเนิดเป็นลูกสุกรน้อยน่าเวทนา
คราวนั้นสมเด็จพระบรมศาสดาโลกเชษฐ์ ได้ทอดพระเนตรเห็นข้า และได้ทรง
มีพระพุทธฎีกาตรัสเล่าเรื่องราวแห่งข้ากับพระอนุชาอานนท์และพระลงฆ์สาวกทั้ง
หลาย ครั้นตายจากชาตินั้นก็ไปเกิดในแคว้นสุวรรณภูมิ เป็น ฟ้าหญิงราชธิตา
แห่งพระราชาผู้ ทรงยศครั้นหมดชีวิตตายลง ก็ตรงมาเกิดเป็นฟ้าหญิงราชธิดา
แห่งพระเจ้าพาราณสี ครั้นดับขันธ์สิ้นชีวิตก็มาเกิดเป็นลูกสาวแห่งนายพาณิช
ผู้ค้าม้าที่หมู่บ้านท่าเรือสุปปารกะ ครั้นถึงแก่มรณกรรม ก็มาเกิดเป็นธิดาของ
นายเรือผู้ใหญ่ ครั้นตายจากชาตินันก็มาเกิดเป็นธิดาของอิสรชนผู้ มีอำนาจ
ครั้นขาดชีพลง ก็ตรงมาเกิดเป็นธิดาแห่งกระฏุมพีผู้มีทรัพย์ในชาตินี้ มีนามว่า
สุมนา พอเติบโตมา ก็ได้เป็นภรรยาแห่งมหาอำมาตย์ผู้มีชื่อว่า อติมพระ
วาระนั้น ข้าพเจ้าอยู่บนบ้าน เห็นพระอดุลเถรเจ้า เดินผ่านมาพร้อม
กับพระสงฆ์หมู่ใหญ่เพื่อจะไปบินฑบาต ข้าไม่มีความเลื่อมใส ได้แต่มองดู เจ้ากู
ผู้ทรงญาณจึงว่า "โอ... น่าอัศจรรย์ใช่น้อย ลูกสุกรกระจ้อยร่อยเจ้าได้มาเป็น
ถึงภรรยาแห่งมหาอำมาตย์ ข้าก็เลยได้รู้เรื่องชาติกำเนิดแต่เดิมมา ให้รู้สึก
สังเวชใจนักหนา จึงไปขอบรรพชาบวชเป็นภิกษุณี ในสำนักพระปัญจพลกะเถรี
องค์พระอุปัชฌาย์ ครั้นได้ ฟังมหาสติปัฏฐานสุตตกถาก็ได้บรรลุโสดาบัน หลัง
จากนั้นไม่นาน ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ และจะขอลาท่านทั้งหลายดับขันธ์
นิพพานในวันนี้ ขอท่านจงค่อยอยู่ดีเถิดหนา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ ขอจง
อุตสาหะตั้งจิตพยายาม อย่าได้ มีความประมาทในสรรพกิจทั้งปวงเลย พระ
สุมนาเถรีเธอเฉลยชีวประวัติจบลงดังนี แล้ว ก็ดับขันธ์เข้าสู่นิพพานในบัดนั้น
ท่านทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการเวียนตายเวียนเกิดในวัฏสงสาร ที่จะได้เที่ยง
แท้แน่นอนยั่งยืนนั้นมิได้มีเลย ย่อมจะต้องท่องเที่ยวไปเกิ ดในโลกดีบ้างชั่วบ้าง
สุขบ้างทุกข์บ้าง ปะปนกันไปอยู่เช่นนี้ ถ้าไปเกิดในโลกที่ดีมีความสุข เช่น เทว-
โลกพรหมโลกก็นับว่าเป็นการดี แต่ทีนี้ถ้าพลาดพลั้งลงไปเกิดในโลกชั่วเช่นอบาย
ภูมแล้ว ย่อมเป็นการยากนักหนาที่จะยกตนขึ้นมาจากโลกชั้นต่ำได้ ต้องเสวย
ทุกขเวทนาไปแสนนานอีกประการหนึ่ง การท่องเที่ยวในวัฏสงสารนี้ ยังเป็น
การท่องเที่ยวไปไม่มีวันสิ้นสุดอีกด้วย ข้อนี้สิร้ายมาก ลองหลับตานึกวาดภาพดู
เถิดว่า ตัวเรานี้ต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่อย่างนี้ตลอดไป ไม่ว่าจะเกิดครั้งใด
เป็นต้องตายลงไปครั้งนั้น ซ้ำซากอยู่อย่างนี้ ไม่มีวันหยุดยั้ง ตัวเรานี่แหละเกิด
ตายมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่ไม่รู้ตัวมาหลงลืมเสียเพราะชาติภพปิดบังไวัเท่า
นั้นเอง และอีกไม่นานตัวเราก็จะตายแล้วใช่ไหมเล่า ตายแล้วก็เกิดอีก แต่เฝ้า
ตายเฝ้าเกิดอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่มีวันสิ้นสุดลงได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงว่าวัฏ
สงสารนั้นเป็นภัยที่น่ากลัวกว่าสิ่งที่น่ากลัวทั้งหลายในโลก
คราวนี้ มีปัญหาว่า ทำอย่างไรจึงจะออกจากวัฏสงสารซึ่งมีภัยอันใหญ่
หลวงนี้เสียได้? สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้ทรงสัพพัญญุตญาณ
ซึ่งทรงทราบชัดทุกสิ่งทุกประการได้ ทรงชี้ลงไปอย่างเด็ดขาดว่า การทีจะทำตน
ให้พ้นจากวัฏสงลารได้นั้น ต้องถึงซึ่งพระนิพพาน ได้นิพพานสมบัติเมื่อใด
เมื่อนั้นจึงจะพ้นภัยในวัฏสงสารนี้ ได้ เพราะนิพพานสมบัติเป็นสมบัติเที่ยงแท้
ยั่งยืนประเสริฐกว่าสมบัติอื่นใดในโลกทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสมบัติอะไร จะเป็น
มนุษยสมบัติ เทวสมบัติ หรือพรหมสมบัติก็สู้นิพพานไม่ได้ อันว่านิพพาน
สมบัตินี้ ไซร้แสนสุขเกษมนักหนา หาที่จะเปรียบปานมิได้เลย สมบิตเจ้าธรณีน่า
อภิรมย์ และสมบัติอินทร์พรหมทั้งหลายก็ดี ถ้าจะเอามาเปรียบด้วยสมบัติ
นิพพานนั้นก็ปานประดุจหิ่งห้อยเปรียบด้วยดวงจันทร์ ถ้ามิดังนั้น ดุจน้ำอันติด
อยู่ปลายเส้นผม ดังฤๅจะเอาเปรียบด้วยน้ำในมหาสมุทรแสนสุดจะลึกล้ำได้
แปดหมื่นสี่พันโยชน์ มิดังนั้น ดุจธุลีฝุ่นละอองอันน้อยนักหนา จะเอามาเปรียบ
บรรพตราชาภูเขาสิเนรุย่อมจะเปรียบกันมิได้! สมบัติในนิพพานแสนประเลร ิฐ
พ้นประมาณหาที่จะเปรียบปานมิได้ ด้วยว่านิพพานสมบัตินั้นมิรู้อาพาธพยาธิ
มิรู้ เฒ่ามิรู้แก่ มิรู้ตาย มิรู้ ฉิบหายวายป่วง มิรู้ร่วงภิรู้โรย มิรู้พลัดมิรู้พราก เป็น
อมตสุขอันประเสริฐเลิศกว่าสมบัติในมนุษยโลก เทวโลกและพรหมโลก
ก็ทางที่จะใหัถึงพระนิพพาน อันเป็นวิธีการออกวัฏลงลารนั้น ในโลกนี้มี
อยู่ทางเดียวเท่านั้น คือ ทางพระพุทธศาสนา ความวิเศษของพระพุทธ
ศาสนาก็อยู่ตรงนี้ ตรงที่บอกทางออกจากวัฏลงลารให้ถึงพระนิพพานนี่เอง
ตอนใดโลกว่างจากพระพุทธศาสนา ตอนนั้น จะไม่มีคนออกจากวัฏสงสารถึง
พระนิพพานเลยเป็นอันขาด นอกจากว่าผู้มีวาสนาสร้างบารมีมาเพื่อตรัสเป็น
พระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น ซึ่งก็เป็นกรณีพิเศษจริง ๆ ฉะนั้น การที่เราท่านทั้ง
หลายเกิดมาในชาตินี้ พอดีปะเหมาะมาพบพระพุทธศาลนายังไม่หมดไปจาก
โลกเช่นอย่างในปัจจุบันนี้ พร้อมกับมีจิตใจเลื่อมใสยึดเป็นที่พึ่งของตน ก็ขอ
จงรู้ตัวไว้เถิดว่า อันตัวของเรานี้โชคดีนักหนาเลียเหลือเกินแล้ว ซึ่งองค์พระ
ประทีปแก้ว มีพระพุทธฎีกาตรัสอุปมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังต่อไปนี้

เต่าตาบอด
บุคคลหญิงชายที่ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร ซึ่งจะได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์
โชคดี มีมนุษยธรรมประจำสันดานพบพระพุทธศาลนา และมีปัญญารู้คุณพระ
รัตนตรัยนั้น จะเป็นได้ เช่นนี้แต่ละชาติเป็นอันยากนักหนา ยากยิ่งกว่าเต่าตาบอด
ทั้งสองข้าง ซึ่งจมอยู่ในมหาสมุ.ทรสุดลึกล้ำ ได้แต่ชอกช้ำมะงุมมะงาหลา
วนเวียนอยู่ที่นั่นสิ้นกาลร้อยปี จึงผุดขึ้นได้ทีหนึ่ง แลซึ่งมันจะผุดขึ้นเอาศีรษะ
สอดเข้าไปในช่องแอก ซึ่งมีรูแคบนิดเดียวที่ลอยกลิ้งกลับกลอกไปมาด้วย
ระลอก คลื่นแลแรงลมในมหาสมุทรนั้น ย่อมเป็นการยากลำบากแสนสาหัสอยู่
ครามครั้น ถึงกระนั้นได้เห็นพอจะมีทาง ที่มันจะเอาคอลอดเข้าไปในช่องแอกนั้น
แล้ว ซบหัวอยู่ได้บ้าง อันการที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาลนาและรู้คุณ
ไตรสรณคมน์ ยิ่งยากกว่าการที่เต่าตาบอดจะลอดคอให้ เข้าไปในรูแอกนั้นเลีย
อีก เพราะว่าพระไตรสรณคมน์ กว่าจะอุบัติขึ้นได้ยากแสนยาก พระโพธิสัตว์
เจ้าต้องลร้างพระบารมีมานานตั้งแสนๆ กัปจึงจะตรัสแต่ละพระองค์ แล้วจึงจะ
มีพระไตรสรณคมน์เกิดขึ้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดมา มิได้พบพระรัตนตรัย
พระพุทธศาลนาแล้ว ชีวิตแห่งลัตว์จำพวกนั้นก็เท่ากับหาสาระแก่นสารมิได้
เหตุ ดังนี้ เราท่านทั้งหลายเวลานี้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ก็เท่ากับว่าผุดขึ้น
มาจากมหาลมุทรที่ลึกกว้างใหญ่ พอดีเอาศีรษะสอดใส่เข้าในรูแอก ชำแรกห้วง
น้ำโผล่ขึ้นมาได้สำเร็จแล้ว และดวงประทีปแก้วคือพระพุทธศาสนา ซึ่งประดับ
ประดาด้วยอมตสมบัติ คือ มรรคผล นิพพานก็ยังอยู่ ยังไม่สูญสิ้นเสื่อมเลย
เยียใดจะนิ่งเฉยอยู่เล่า? ต้องอุตสาหะค้นหาให้เห็นความวิเศษของพระพุทธ-
ศาลนา พยายามหาทางออกจากโลกทั้งหลายที่ชื่อว่าวัฏลงสารนี้ให้ได้ เพื่อจัก
ได้หายเหน็ดเหนื่อยเป็นการหยุดพักผ่อนดลอดกาล โดยเสวยนิพพานสมบัติอัน
เป็นบรมสุขกันเสียที
ก็วิธีที่จะออกจากวัฏสงสาร จำต้องดำเนินการตามวิถีทางแห่งพระพุทธ
ศาสนา ซึ่งจักกล่าวในอรรถวรรณนาข้างหน้าต่อไป ขอเชิญทานทั้งหลาย จง
ตั้งใจศึกษาตามอัธยาศัยเถิด

โลกุตรภูมิ
บัดนี้ จักพรรณนาถึงภูมิอันวิเศษประเสร ิฐสุด ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายแห่งพระ
พุทธศาสนา ภูมินี้มีนามว่า โลกุตรภูมิ ได้แก่ภูมิที่พันจากโลกต่างๆ หมาย
ความว่า ท่านผู้ได้บรรลุถึงภูมินี้ แล้ว ย่อมเป็นพระอริยบุคคล หลุดพ้นจากโลก
ทั้งปวงได้เด็ดขาด ไม่ต้องมาเวียนเกิดเวียนตายให้วุ่นวายอีกต่อไป
การที่สัตว์ทั้งหลายต้องตายแล้วเกิด และเกิดแล้วตายไม่หยุดหย่อนอย่าง
น่าเบื่อหน่ายนั้น ก็เพราะยังมีกิเลสตัณหาอยู่ เมื่อพูดถึงกิเลสตัณหาที่อยู่ใน
สันดานของลัตว์แต่ละบุคคล ก็มีอยู่มากมายเหลือพรรณนา ท่านย่อมว่ากิเลส
พันห้าตัณหาร้อยแปด ประจำอยู่ในสันดานของแต่ละบุคคล การที่จะจับเอา
กิเลสตัณหามาจาระไนทีละตัวนั้น เป็นการยากนักหนา จึงขอรวบรัดกล่าวว่า
กิเลสตัณหาอันมากมายเหล่านั้น รวมเรียกว่าเป็นสิ่งจัญไรสิ่งหนึ่ง ซึ่งคอย
ผูกมัดให้ประชาสัตว์ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกทั้งหลาย สิ่งจัญไรที่ว่านี้
เรียกชื่อว่า สัญโญชน์

สัญโญชน์
ธรรมชาติใดทำการผูกสัตว์ไว้ ให้ติดอยู่ในวัฎสงสาร ธรรมชาตินั้นเรียกชื่อ
ว่า สัญโญชน์ ก็สัญโญชน์ที่ผูกเหล่าสัตว์ให้ดิดอยู่ในวัฏสงสาร มีอยู่ ๑๐ ประการ
คือ
๑. ทิฏฐิสัญโญชน์
๒. วิจิกิจฉาสัญโญชน์
๓. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์
๔. กามราคสัญโญชน์
๕. ปฏิฆสัญโญชน์
๖. รูปราคสัญโญชน็
๗. อรูปราคสัญโญชน์
๘. มานสัญโญชน์
๙. อุทธัจจสัญโญชน์
๑๐. อวิชชาสัญโญชน์
สัญโญชน์เหล่านี้ เปรียบเสมือนโซ่เหล็กจัญไร ผูกมัดไวัที่คอของสัตว์ใน
โลกต่างๆ รวมทั้งเราท่านทั้งหลายที่กำลังอยู่ในมนุษยโลกขณะนี้ด้วย แล้วฉุด
กระชากลากให้ไปเกิดในโลกนั้นโลกนี้ ดีบ้างชั่วบ้างให้ต้องเสวยผลกรรมของ
ตนเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้างไม่มีวันลิ้นสุดหยุดหย่อน น่าเบื่อหน่ายนัก ตราบ
ใดยังตัดโซ่เหล็กที่ผูกคือ คือ สัญโญชน์เหล่านี้ ไม่ได้ ก็อย่าหวังเลยว่า จะหลุด
พ้นจากโลกนี้ ได้ แต่การที่จะตัดสัญโญชน์เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทำได้ยากนัก ถึงกระ
นั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ผู้ทรงสัพพัญญุตญาณ
ก็ได้ทรงโปรดประทานบอกทางไว้ ควรที่เราท่านทั้งหลายจักกระทำใจให้เลื่อม
ใสน้อมใจเชื่อฟังดัวยดี และควรทราบไว้ในที่นี่ด้วยว่า ผู้มีปัญญาอื่นใดจะทรง
คุณวิเศษสักเพียงไหนก็ตาม ย่อมไม่มีปัญญารู้สัญโญชน์และวิธีตัดสัญโญชน์
อย่างเด็ดขาด นอกจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว
ด้วยเป็นพระพุทธวิสัยโดยเฉพาะ
การตัดโญชน์นั้นต้องตัดเป็นข้อ ๆ ไปตามลำดับแห่งโลกุตรภูมิ ซึ่งมีอยู่ ๔
ภูมิ คือ
๑. โสดาบันโลกุตรภูมิ
๒. สกิทาคามีโลกุตรภูมิ
๓. อนาคามีโลกุตรภูมิ
๔. อรหัตโลกุตรภูมิ
ท่านทั้งหลายจงอย่าเพิ่งเบื่อหน่ายเสีย อย่าเพลียใจอ่อนใจ เพราะ
เห็นเป็นเรื่องสูง ความจริงเป็นเรื่องดีและวิเศษแท้ ฉะนั้น จงควรศึกษาเรื่อง
โลกุตรภูมิ อันประเสริฐตามลำดับ ดังต่อไป
โสตาปันนโลกุตรภูมิ
ภูมิพ้นโลกที่ ๑
โลกุตรภูมิลำดับที่ ๑ นี้มีชื่อว่า โสตาปันนโลกุตรภูมิ ได้แก่ ภูมิที่พ้นจาก
โลกคือโสดาบัน ท่านผู้ใดบรรลุถึงภูมินี้ ท่านผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าพระอริยบุคคล
โสดาบัน ผู้ถึงกระแสพระนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลชั้นแรกในพระพุทธศาสนา
ได้ดื่มอมตรสคือพระนิพพานตั้งแต่ชันนี้ เป็นต้นไป ฉะนั้นจึงได้นามว่า พระ
โสดาบัน = ผู้ถึงกระแสพระนิพพาน
ข้อปฏิบัติ ท่านที่จะบรรลุโลกุตรภูมิชั้นนี้ ใช่ว่าอยู่ๆ แล้วจะได้จะถึงขึ้น
มาเอง ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้าเพียรปฏิบัติธรรมบำเพ็ญ
กรรมฐาน แลการบำเพ็ญกรรมฐานนั้น จะบำเพ็ญกรรมฐานอย่างอื่นก็ไม่ได้
ต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอย่างเดียวจึงจะได้ และในการบำเพ็ญวิปัสสนา
กรรมฐานนั้น ถ้าบำเพ็ญวิปัลสนาเป็นมิจฉาปฏิบัติ คือ ปฏิบัติไม่ถูก เป็น
วิปัสสนาเทียมก็ไม่ได้ ต้องบำเพ็ญวิปัสสนาเป็นสัมมาปฏิบัติ คือ ปฏิบัติถูก
ต้องเป็นวิปัสสนาแท้จริงจึงจะได้ เมื่อบำเพ็ญวิปัสสนาอย่างถูกต้องแล้ว อินทรีย์
ทั้ง ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑
เป็นธรรมถึงความสม่ำเสมอกันดีแล้ว พระวิปัญสนาญาณก็จัพลันเกิดขึ้นและ
ก้าวหน้าไปตามลำดับ คือ
๑. นามรูปปริจเฉหญาณ มีปรีชากำหนดนามกำหนดรูปได้ พูดง่ายๆ ก็ว่า
รู้จักตัวเองว่า มันคืออะไรกัน
๒. ปัจจยปริคคหญาณ มีปรีชากำหนดเหตุผลของรูปนามว่า รูปและนาม
ทั้งสองนี้ เป็นเหตุผลของกันและกัน
๓. สัมมสนญาณ มีปรีชากำหนดรู้พระไตรลักษณ์ เพราะเมื่อถึงญาณนี้
แล้ว พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ปรากฎให้เห็นมาก
๔. อุทยัพพยญาณ มีปรีชาเห็นความเกิดดับของรูปนาม เพราะญาณนี้
รูปนามจะแสดงอาการเกิดดับให้เห็นชัด
๕. ภังคญาณ มีปรีชาเห็นรูปนามมีแต่แตกดับไปถ่ายเดียว เพราะญาณ
นี้จะแสดงความแตกดับของรูปนามให้เห็นชัด
๖. ภยญาณ มีปรีชาเห็นรูปนามเป็นภัย คือ เป็นสิ่งที่น่ากลัว
๗. อาทีนวญาณ มีปรีชาเห็นโทษของรูปนาม เพราะพอถึงญาณนี้ รูป
นามแสดงโทษให้เห็น
๘. นิพพิทาญาณ มีปรีชาเกิดความเบื่อหน่ายรูปนาม ที่จะเกิดเบื่อโลก
ทั้งหลายก็มาเบื่อเอาจริงๆ เมื่อถึงญาณนี้เท่านั้น
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ มีปรีชาเกิดขึ้นใคร่จะพ้นไปเสียจากรูปนาม โลก
อะไรก็ดีวิเศษแค่ไหน ก็ไม่อยากอยู่ทั้งนั้น อยากได้พระนิพพานจริงๆ ก็ตอนนี้เอง
๑๐. ปฏิสังขาญาณ มีปรีชาพิจารณาพระไตรลักษณ์อีกทีหนึ่ง เพราะจะถึง
พระนิพพานได้ต้องไปทางพระไตรลักษณ์นี่เท่านั้น
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ มีปรีชาวางเฉยใสังขารอารมณ์ทั้งปวง ญาณนี้
เป็นยอดของโลกิยญาณ ถ้ามีวาสนาบารมีเคยสร้างสมไว้ ก็จะก้าวขึ้นสู่ญาณ
เบื้องสูงต่อไป
๑๒. อนุโลมญาณ จะก้าวขึ้นสู่โลกุตรภูมิแล้ว ตระเตรียมเพื่อต้อนรับการ
บังเกิดขึ้นแห่งมรรคญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ กำลังก้าวเข้าสู่โลกุตรภูมิ ประหารโคตรปุถุชนให้ขาด
ในตอนนี้เอง
๑๔. มรรคญาณ ถึงโลกุตรภูมิแล้ว มรรคบังเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นมรรคชั้น
ที่หนึ่ง เรียกว่าปฐมรรคญาณ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระโสตาปัตติมรรค
ญาณ ตัดโซ่เหล็กจัญไร คือ สัญโญชน์ได้เป็นบางข้อแล้ว แต่จะเป็นสัญโญชน์
อะไรบ้างนั้น เดี๋ยวเอาไว้พูดกันทีหลัง
๑๕. ผลญาณ เสวยผลของการถึงโลกุตรภูมิที่ปรารถนามานานนักหนา
แล้ว
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ พิจารณาดูว่า ละกิเลสอะไรได้บ้าง พูดอีกทีก็ว่า
ตรวจตราดูว่า ตัดสัญโญชน์อะไรได้บ้าง
เมื่อมนุษย์ผู้ใจหาญกล้า อุตสาหะบำเพ็ญวิปัสสนาจนผ่านโสฬสญาณ คือ
ญาณทั้ ๑๖ มาตามลำดับอย่างถูกต้องบริบูรณ์แล้ว ท่านผู้นั้นก็ชื่อว่าบรรลุถึง
โสตาบันโลกุตรภูมิ เป็นพระโสดาบันอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา

คุณวิเศษ
ท่านอริยบุคคลโสดาบันนี้ ตัดโซ่เหล็กที่เป็นบ่วงร้อยรัดไว้คือสัญโญชน์ได้
๓ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑. สักกายทิฏฐิสัญโญชน์ = ความเข้าใจผิดในรูปนาม
๒. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ = ความสงสัยในพระไตรรัตน์ คือ พระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์
๓. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ = ความยึดถือในข้อปฏิบัติที่ผิดไม่ถูกทาง
ทั้ง ๓ ข้อนี้ ท่านตัดขาดหมดไม่มีเหลืออยู่ในจิตสันดาน นอกจากนี้
ท่านยังสามารถเข้าโสตาปัตติผลสมาบัติ เสวยอารมณ์พระนิพพานตามจิต
ปรารถนาได้อีกด้วย แม้จะตัดสัญโญชน์ได้เพียง ๓ ข้อ ยังไม่หมดทีเดียว
แต่ก็ตัดการเวียนว่ายตายเกิดในโลกต่างๆ ได้มากทีเดียว เพราะมีกฎตายตัว
อยู่ว่า พระโสดาบันอริยบุคคลจะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ ตามประเภท
ของพระโสดาบัน ๓ จำพวก ดังต่อไปนี้
๑. พระเอกพีชีโสดาบัน ท่านพวกนี้จะเกิดอีกชาติดียว แล้วก็จะได้บรรลุ
พระอรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล ตัดสัญโญชน์ได้หมด แล้ว
ปรินิพพาน
๒. พระโกลังโกลโสดาบัน ท่านพวกนี้จะเกิดอีกตั้งแต่ ๒-๓ ชาติเป็นอย่าง
มาก แล้วก็จะบรรลุพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้ว
ปรินิพพาน
๓. พระสัตตขัตตุปรมโสดาบัน ท่านเหล่านี้จะเกิดอีกอย่างมากไม่เกิน ๗
ชาติ แลัวจะบรรลุพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้ว
ปรินิพพาน
การที่ท่านแตกต่างกันเป็น ๓ พวกนี้ ก็เพราะว่าบารมีอินทรีย์ที่สร้างสม
มาต่างกัน คือ ถ้าสร้างบารมีอินทรีย์มาอย่างแก่กล้า ก็เป็นพระเอกพีชีโสตาบัน
ถัาสร้างบารมีอินทรีย์มาอย่างปานกลาง ก็เป็นพระโกลังโกลโสดาบัน ถ้าสร้าง
บารมีอินทรีย์มาอย่างอ่อน ก็เป็นพระสัตตขัตตุปรมโสตาบัน ก็การที่ท่านจะเกิด
ทุกๆ ชาติ ต่อไปนี้นั้น ต้องเข้าใจว่า ท่านจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิ เช่น โลกนรก
โลกเปรต เป็นต้น เลยเป็นอันขาด เพราะว่าโลกุตรธรรมนี้ เป็นธรรมสูงยิ่ง
ปิดอบายภูมิได้อย่างเด็ดขาดแน่นอน ทุกๆ ชาติท่านจะต้องไปเกิดในภูมิสูง เช่น
เมื่อไปเกิดในเทวโลกเป็นเทวดาก็พรั่งพร้อมด้วยเทวสมบัติ เมื่อมาเกิดในมนุษย์
โลกนี้อีก ก็เกิดในตระกูลสูงอุดมด้วยมนุษยสมบัติ แต่ข้อลำคัญก็คือว่า ท่านได้
สมบัติแก้วอันประเสริฐเลิศล้ำยิ่งกว่าสมบัติพระเจ้าจักรพรรดิราชหรือสมบัติใด
ในโลกทั้งมวล เพราะท่านพระโสดาบันอริยบุคคลนี้ เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จักได้บรรลุ
อรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้วปรินิพพานในอนาคต
กาลอย่างแน่นอน
พรรณนาในโสดาบันโลกุตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหลุดพ้นโลกลำดับที่ ๑ เห็นว่า
สมควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

สกิทาคามีโลกุตรภูมิ
ภูมิพ้นโลกที่ ๒
โลกุตรภูมิลำดับที่ ๒ มีชื่อว่า สกิทาคามีโลกุตรภูมิ ได้แก่ ภูมิที่พ้นจากโลก
คือ สกิทาคามี ท่านผู้ได้บรรลุถึงภูมินี้ ย่อมเป็นพระอริยบุคคลชั้นที่สองใน
พระพุทธศาลนา ท่านจะกลับมาปฏิสนธิถือกำเนิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น
ก็จะเป็นพระอรหันต์ดับขันธ์ปรินิพพาน ฉะนั้น จึงได้ นามว่า พระสกิทาคามี =
ผู้จะมาเกิดอีกครั้งเดียว
ข้อปฏิบัติท่านผู้ ที่จะบรรลุโลกุตรภูมิชั้นนี้ ต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน
ผ่านโสดาบันโลกุตรภูมิมาแล้ว ปรารถนาจะบรรลุมรรคผลชั้นนี้ จึงเจริญ
วิปัสสนาให้ ยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ เสมอกันดีแล้วสภาวญาณก็จะเกิดขึ้น ตั้ง
แต่อุทยัพยญาณเป็นต้นไป จนถึงสังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าญาณเหล่านี้จะชัด
แจ้งละเอียดกว่าญาณในชั้นที่หนึ่ง ต่อจากนั้น อนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้นตามติด
มาด้วยโวทานะ (โวทานะนี้ แทนโคตรภูญาณ เพราะท่านผู้นี้ เป็นพระอริยบุคคล
แล้ว ญาณที่ตัดโคตรปุถุชนจึงไม่เกิดขึ้นอีก) ครั้นแล้วทุติยมรรค หรือเรียก
อีกอย่างหนึ่งว่า พระสกิทาคามิมรรคคญาณ ก็อุบัติขึ้น ติดตามด้วยพระสกิทาคามิ
ผลญาณ เป็นการถึงพระนิพพานอีกครั้งหนึ่ง พระสกิทาคามิมรรคนี้ ไม่มีอำนาจ
ตัดสัญโญชน์อันหนึ่งอันใดได้เด็ดขาด ถึงกระนั้นก็มีอำนาจทำกิเลสทั้งหลาย
ให้ เป็น ตนุกร คือทำให้เบาบางลงไปยิ่งกว่าอำนาจของพระโสตาปัตติมรรคญาณ
ซึ่งเป็นมรรคญาณขั้นแรกเป็นธรรมดา

คุณวิเศษ
ท่านพระอริยบุคคลสกิทาคามีนี้ นอกจากจะมีกิเลสเบาบางกว่าพระ
โสดาบันอริยบุคคลแล้ว ยังมีคุณพิเศษสามารถเข้าสกิทาคามีผลสมาบัติ
เสวยอารมณ์พระนิพพานตามจิตปรารถนาได้อีกด้วย แต่ที่วิเศษสุดก็คือ ท่าน
พระสกิทาคามีจะเกิดอีกชาติเดียวเท่านั้นก็จะดับขันธ์ปรินิพพาน แต่การจะเกิด
ที่ไหนนั้น ก็ย่อมเป็นไปตามประเภทของพระสกิทาคามี ๕ จำพวก คือ
๑. บางท่านสำเร็จเป็นพระสกิทาคามีในมนุษยโลกนี้ แล้ว จุติไปเกิดในเทวโลก
แล้วจุติจากเทวโลกมาเกิดในมนุษยโลกนี้ แล้วบรรลุพระอรหัตผล สำเร็จ
เป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้วดับขันธ์ปรินิพพานในมนุษยโลกนี่เอง
๒. บางท่านลำเร็จเป็นพระสกิทาคามีบุคคลแล้ว ก็กระทำความเพียร
เจริญวิปัสสนา จนบรรลุถึงพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้ว
ดับขันธ์ปรินิพพานในมนุษยโลกนี่เอง
๓. บางท่านสำเร็จเป็นพระสกิทาคามี แล้วจุติไปเกิดในเทวโลก แล้วได้
บรรลุพระอรหัตผลสำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล แล้วดับขันธ์ปรินิพานใน
เทวโลกนั่นเอง
๔. บางท่านเป็นเทวดา สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีบุคคลในเทวโลก แล้ว
บรรลุพระอรหัตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคลในเทวโลกนั่นเอง
๕. บางท่านเป็นเทวดา สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีบุคคลในเทวโลก แล้วจุติ
มาปฏิสนธิในมนุษยโลก ได้บรรลุพระอรหัตผลลำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล
และดับขันธ์ปรินิพพานในมนุษยโลกนี่เอง
ท่านทั้งหลาย ความอัศจรรย์แห่งพระโอวาทานุสาสนีของสมเด็จพระ-
ชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถอำนวยผลให้แก่บุคคลผู้ปฏิบัติตาม ให้ตัดชาติ
ภพได้อย่างเด็ดขาดเป็นขั้นๆ ไปดังกล่าวมานี้
พรรณนาในสกิทาคามีโลกุตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหลุดพ้นโลกลำดับที่ ๒ เห็นว่า
สมควรที่จะยุติลงได้ จีงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

อนาคามีโลกุตรภูมิ
ภูมิพ้นโลกที่ ๓
โลกุตรภูมิลำดับที่ ๓ มีนามว่า อนาคามีโลกุตรภูมิ ซึ่งได้แก่ภูมิที่พ้นจาก
โลกคืออนาคามี ท่านผู้บรรลุภูมินี้ย่อมเป็นพระอริยบุคคลชั้นที่สามในพระบวร
พุทธศาสนา ท่านย่อมจะไม่กลับมาถือปฏิสนธิในมนุษยโลกนี้อีกเลย ฉะนั้นจึง
ได้นามว่า พระอนาคามี = พระผู้จะไม่กลับมา
ข้อปฏิบัติท่านผู้ที่จะบรรลุโลกุตรภูมิชั้นนี้ ต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน
ผ่านโลกุตรภูมิชั้นที่สองมาแล้ว และอุตสาหะพยายามเจริญวิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไป
เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ได้ส่วนสมดุลเสมอกัน
ดี และวาสนาบารมีถึงที่แล้ว สภาวญาณก็จะเกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่อุทยัพพย-
ญาณเป็นต้นไป จนถึงสังขารุเปกขาญาณ ต่อจากนั้นก็ถึงอนุโลมญาณ ตามติด
มาด้วยโวทานะ แล้วตติยมรรคหรือพระอนาคามิมรรคญาณก็อุบัติ เกิดขึ้น
พอพระอนาคามี มรรคเกิดก็จะตัดสัญโญชน์ได้ เด็ดขาดอีกบางประการ แต่จะตัด
อะไรบ้างนั้น ประเดี๋ยวจะกล่าวทีหลัง พอพ้นพระอนาคามิมรรคแล้ว พระ
อนาคามีผล ก็จะปรากฏตามติดกันมา เป็นอันว่า บัดนี้ท่านผ้นั้นเป็นพระอนาคา
มีบุคคลแล้ว ที่พูดนี้ดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่สำเร็จได้ ง่ายๆ แต่ความจริงมิใช่ของ
ง่ายเลย สำหรับโยคีบุคคลผู้ปฏิบัติ เพราะท่านผู้จะปฏิบัติเพื่อให้พระอนาคามิ
มรรคบังเกิดขึ้นนี้ ต้องเป็นผู้มีสมาธิอย่างดีเยี่ยมเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ พึงทราบไว้
ในที่นี้ว่า
๑. ผู้ที่สามารถจะปฏิบัติให้พระโสตาปัตตมรรค และพระสกิทาคามิมรรค
บังเกิดในตนนั้น ต้องเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีล คือ มีศีลบริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่ง
๒. ผู้ที่สามารถจะปฏิบัติให้พระอนาคามิมรรคนี้ บังเกิดขึ้นในตนนั้น ต้อง
เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสมาธิ คือ มีสมาธิดีเป็นยอดเยี่ยม
ฉะนั้น การปฏิบัติบำเพ็ญเพื่อความเป็นพระอนาคามีบุคคลนี้ จึงจำเป็น
ต้องมีสมาธิดีเป็นอย่างยิ่ง ต้องมีสมาธิเต็มเปี่ยมสมบูรณ์เป็นที่สุด พระอนาคา-
มิมรรคจึงจะอุบัติเกิดได้ แม้จะเป็นการยาก แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เหลือวิลัยสำหรับผู้
ใคร่จะออกจากสังสารทุกข์

คุณวิเศษ
ท่านพระอนาคามีอริยบุคคลนี้ ท่านตัดสัญโญชน์ได้เด็ดขาดไปอีก ๒ ประ-
การ คือ
๑. กามราคสัญโญชน์ ประหารกามราคะความติดอยู่ในกามคุณอารมณ์
ทุกชนิดได้อย่างเด็ดขาดด้วยอำนาจพระอนาคามิมรรค
๒. ปฏิฆสัญโญชน์ ประหารปฏิฆะ คือ ความไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ ได้
อย่างเด็ดขาด พูดง่ายๆ ก็ว่า ไม่มีโทโสโกรธา ตัดความโกรธได้ ด้วยอำนาจ
ของพระอนาคามิมรรค
เห็นไหมเล่า การปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาลนาสามารถตัดโซ่เหล็ก
ร้อยรัดสัตว์ในวัฎสงสารคือ สัญโญชน์ได้เป็นลำดับมา บัดนี้ ตัดได้ ๔ ประการ
แล้ว คือ ๑. สักกายทิฏฐิลัญโญชน์ ๒. วิจิถิจฉาสัญโญชน์ ๓. สีลัพพตปรามาส
สัญโญชน์ ทั้งสามนี้ ตัดได้ด้วยพระโสตาปัตดิมรรค และ ๔. กามราคสัญโญชน์
๕. ปฏิฆสัญโญชน์ ทั้งสองนี้ตัดได้ ด้วยพระอนาคามิมรรคที่กำลังพูดถึงอยู่นี่
ส่วนที่เหลือจะตัดได้ หรือไม่? ถ้าตัดได้ จะตัดด้วยอะไร? ขอท่านทั้งหลายติดตาม
ต่อไป ตอนนี้ขอกล่าวถึงคุณพิเศษของพระอนาคามีบุคคลก่อน คือ นอกจาก
ท่านจะตัดสัญโญชน์ได้ อีกสองประการดังกล่าวแล้ว ท่านยังลามารถเข้าอนาคา
มีผลสมาบัติเสวยอารมณ์พระนิพพานตามจิตปรารถนาได้ อีกด้วย แต่ทีวิเศษสุด
ก็คือ เมื่อท่านจุติไปแล้ว จะไม่กลับมาปฏิสนธิในกามภูมิ เช่น มนุษยโลกและ
เทวโลกอีกเลย ท่านย่อมไปอุบัติเกิดในสุทธาวาสพรหมโลก แล้วก็จะสำเร็จ
เป็นพระอรหันต์ และปรินิพพานบนโน้นเลย
จึงมีปัญหาว่า การที่จะไปบังเกิดในพรหมโลกนั้น จะต้องปฏิสนธิด้วยฌาน
วิบาก อันเป็นผลของฌานกุศล สำหรับพระอานาคามีบุคคลที่เป็นฌานลาภ
เคยบำเพ็ญสมถกรรมฐานได้ฌานมาก่อน ก็ไม่มีปัญหาอันใด ต้องไปเกิดได้แน่
แต่ทีนี้ พระอนาคามีที่เป็นสุกขวิปัสสกะบำเพ็ญวิปัสสนามาอย่างเดียวล้วนๆ
ไม่เคยบำเพ็ญสมถกรรมฐานได้ ฌานเลย จะไปเกิดในพรหมโลกได อย่างไร ข้อ
นี้ ไม่ต้องสงสัย เพราะพระอนาคามีประเภทนี้ เมื่อท่านใกล้จะจุติ มัคคสิทธิฌาน
ย่อมบังเกิดขึ้น แล้วเป็นปัจจัยนำไปเกิดในพรหมโลก ถึงแม้ว่า พระอนาคามีผู้
สุกขวิปัลสกะจะต้องมรณภาพลงโดยไม่ทันรู้ตัว เช่น ขณะที่กำลังหลับอยู่หรือ
กำลังทำกิจการใดอยู่ก็ตาม มีผู้กระทำร้ายถึงแก่มรณภาพลงในทันทีทันใด โดย
ไม่รู้ตัว! อย่างนี้ มัคคลิทธิฌานก็ย่อมจะบังเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงจุติ ตราบใด
ที่มัคคสิทธิฌานยังไม่เกิดขึ้น พระอนาคามีบุคคลจะไม่มีการจุติเลยเป็นอันขาด
เมื่อมัคคสิทธิฌานบังเกิดขึ้นแล้ว จึงจุติไปปฏิสนธิในพรหมโลกดังกล่าวนั้น
เมือท่านไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว ย่อมสำเร็จเป็นพระอรหันต์และดับขันธ์
ปรินิพพาน ตามประเภทของพระอนาคามี ๕ จำพวก ดังต่อไปนี้
๑. อันตราปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติเกิดในพรหม
โลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วจึงได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานภายใน
อายุครึ่งแรกของสุทธาวาสพรหมโลกที่ท่านไปเกิดนั้น
๒. อุปหัจจปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติเกิดในพรหม
โลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานภายในอายุครึ่ง
หลังของสุทธาวาลพรหมโลกที่ท่านเกิดนั้น
๓. อสังขารปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติเกิดในพรหม
โลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้นโดยสะดวก ไม่ต้อง
พยายามมาก แล้วปรินิพพาน
๔. สสังขารปรินิพพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติเกิดในพรหม
โลกภูมิใดภูมิหนึ่ง แล้วได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภูมินั้น โดยต้องใช้ความ
พยายามอย่างแรงกล้า แล้วปรินิพพาน
๕. อุทธังโสตอกนิฏฐคามี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคลที่ไปอุบัติในสุทธาวาส
พรหมโลก ชั้นต่ำ คือ ชั้นอวิหาพรหมโลก แล้วจุติไปเกิดในชั้นสูง ๆ ขึ้นไป คือ
ชั้นอตัปปา สุทัลสา สุทัสสี พรหมโลก แล้วจุติไปเกิดในอกนิฏฐพรหมโลก
แล้วจึงได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ดับขันธ์ปรินิพพานในชั้นอกนิฏฐพรหม
โลกนี่เอง
ความอัศจรรย์ทั้งหมดนี้ เป็นคุณวิเศษของพระอนาคามีบุคคลผู้ทรง
พระคุณประเสริฐในพระบวรพุทธศาลนา ซึ่งจะไม่กลับมาในมนุษยโลกอีกเลย
ในอนาคตกาล สำหรับนปวัตติกาล ถ้าสมัยใดมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าทรงจึงอุบัติขึ้นในโลก พระอนาคามีบุคคลซึ่งอยู่ในพรหมโลกก็ย่อมมาสู่มนุษย-
โลกนี้ เพื่อที่จะได้ทอดทัศนา และสดับธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้น เช่นนี้ก็มีอยู่บ้างเป็นธรรมดา
พรรณนาในอนาคามีโลกุตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหลุดพ้นโลกลำดับที่ ๓ เห็นว่า
สมควรที่จะยุติลงได้ แล้ว จึงขอยุติลง ด้วยประการฉะนี้

อรหัตโลกุตรภูมิ
ภูมิพ้นโลกที่ ๔
โลกุตรภูมิลำดับที่ ๔ นี้มีนามว่า อรหัตโลกุตรภูมิ ได้แก่ ภูมิที่พ้นจากโลก
คือ พระอรหัตคุณ ท่านผู้ที่บรรลุถึงภูมินี้ย่อมเป็นผู้สมควรแก่การบูชาของเหล่า
เทพยดาแลมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเป็นมหาขีณาสพเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด
ในพระบวรพุทธศาสนา ฉะนั้น จึงได้นามว่าพระอรหันต์ = ท่านผู้ลมควรแก่การ
บูชา
ข้อปฏิบัติท่านผู้จะบรรลุโลกุตรภูมิชั้นสูงสุดนี้ต้องบำเพ็ญวิปัสลนากรรม-
ฐานผ่านโลกตรภูมิขั้นต่ำมาตามลำดับ แล้วมีวิริยะอุตลาหะเจริญวิปัสสนาให้
ภิญโญภาพยิ่งขึ้น เมื่ออินทรีย์ถึงความเสมอกันดีแล้ว และบุญวาสนาบารมีเต็ม
เปี่ยมแล้ว สภาวญาณก็จะเกิดขึ้นตั้งแต่อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป จนถึง
สังขารุเปกขาญาณ แต่ว่าญาณเหล่านี้ จะมีสภาวะประณีตเป็นที่สุด ต่อจากนั้น
อนุโลมญาณก็จะเกิดขึ้น ติดตามมาด้วยโวทานะ แล้วพระอรหัตมรรคญาณ
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพระจตุตถมรรค ก็จักอุบัติขึ้น เมื่อพระอรหัตมรรค
ญาณเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเป็นเสมือนดาบอันคมกล้า ฟาดฟันประหัตประหารบรรดา
สรรพกิเลสที่หมักดองในขันธสันดานมานานนักหนาให้หมดไปโดยสิ้นเชิง โซ่
เหล็กคือสัญโญชน์ที่เหลืออีก ๕ ประการ ก็เป็นอันขาดสะบั้นหมดลง ด้วย
อำนาจของพระอรหัตมรรคที่บังเกิดขึ้นในขณะนี้ ต่อจากนั้น พระอรหัตผลญาณ
ก็จะบังเกิดติดดามมาใหัท่านได้เสวยอารมณ์พระนิพพานเป็นขันธวิมุตติหลุดพ้น
จากขันธ์ห้า คือ รูปนาม เป็นพระมหาขีณาสพถึงความบริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่ง
กิเลลธุลีแม้แต่เท่ายองใยก็ไม่มีเหลือติดอยู่ในขันธสันดาน
อนึ่ง พึงทราบไว้ในที่นี้ ด้วยว่า ท่านที่สามารถจะปฏิบัติให้ พระอรหัตมรรค
ญาณบังเกิดขึ้นในขันธสันดานนั้น ตัองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา คือ มีปัญญา
บารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ที่สุด พระอรหัตมรรคญาณนี้ จึงจักอุบัติเกิดขึ้นได้
ฉะนั้น ในพระบวรพุทธศาสนานี้ จึงเป็นพระศาสนาที่เต็มไปด้วยหลัก ๓ ประการ
คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันยอดเยี่ยมลมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะการบรรลุมรรค
ผลอันสูงสุดเป็นโลกุตระนี้ จะต้องบรรลุด้วยหลัก ๓ ประการอย่างยอดเยี่ยม คือ
๑. จะบรรลุพระโสตาปัตติมรรคญาณและพระสกิทาคามิมรรคญาณได้ด้วย
อธิศีล คือ ศีลชั้นยอดเยี่ยมสมบูรณ์ที่สุด
๒. จะบรรลุพระอนาคามิมรรคญาณได้ด้วยอธิจิต คือ มีจิตเป็นสมาธิชั้น
ยอดเยี่ยมสมบูรณ์ที่สุด
๓. จะบรรลุพระอรหัตมรรคญาณได้ด้วยอธิปัญญา คือ ปัญญาขั้นยอด
เยี่ยมสมบูรณ์ที่สุด

คุณวิเศษ
ท่านพระอรหันดอริยบุคคลนี้ ท่านตัดสัญโญชน์ที่เหลืออีก ๕ ประการได้
หมดเด็ดขาด คือ
๑. รูปราคสัญโญชน์ ความยินดีในรูปภพ คือ ความอยากเกิดเป็นพระ
พรหมในรูปพรหมโลก
๒. อรูปราคสัญโญชน์ ความยินดีในอรูปภพ คือ ความอยากเกิดเป็น
พระพรหมผู้วิเศษในอรูปพรหมโลก
๓. มานสัญโญชน์ ความถือตัว คือ อหังการมมังการ
๔. อุทธัจจสัญโญชน์ สภาพที่จิตฟุ้งไปโดยไม่สามารถจะตั้งอยู่ในอารมณ์
เดียวได้นาน
๕. อวิชชาสัญโญชน์สภาพที่ไม่รู้พูดอีกทีก็ว่าโมหะความมืดหลงของจิต
ในข้อนี้ หากจะมีผู้สงสัยว่า ความไม่รู้ในสภาพธรรมคืออวิชชานี้ ทำไมจึง
ยังเหลือให้พระอรหัตมรรคประหารอยู่อีก เพราะเมื่อมรรคผลเบื้องต่ำทั้ง ๓ เกิด
ขึ้นแต่ละครั้ง ก็ได้เห็นอริยสัจกำจัดอวิชชาทุกครั้งไป เหตุไฉนยังมีอวิชชาเหลือ
อยู่อีกเล่า? ในเรื่องนี้ท่านอุปมาไว้ว่า มรรคเบื้องต่ำทั้งสามนี้เป็นวิชฺชูปมา
ธมฺมา คือ เหมือนกับฟ้าแลบ! ธรรมดาว่า ฟ้าแลบย่อมมีแสงสว่างเภิดขึ้นแวบ
หนึ่ง แล้วความมืดก็ปกคลุมด่อไป ส่วนพระอรหัตมรรคนั้นเป็นวชิรูปมา ธมฺมา
คือ เป็นเหมือนกับฟ้าผ่า! ธรรมดาว่า ฟ้าผ่านั้น สิ่งที่กีดขวางอยู่จะไม่ถูกทำลาย
เป็นอันไมมี ในกรณีนี้ก็เหมือนกัน เมื่อพระอรหัตมรรคเกิดขึ้นแล้ว อวิชชา
หรือโมหะย่อมถูกทำลาย ไม่อาจปกคลุมได้อีกต่อไป
รวมความว่า บัดนี้ บรรดาสรรพกิเลสน้อยใหญ่ทั้งหลาย ซึ่งเอามารวม
เรียกไว้ในที่นี่ว่า สัญโญชน์ ๑๐ ประการ ได้ถูกตัดถูกประหัตประหารด้วยพระ
อริยมรรคญาณหมดสิ้นแล้วใช่ไหมเล่า เพื่อให้เข้าใจดีจะขอกล่าวย อนทบทวนดู
อีกที ดังนี้
๑. พระโสดาปัตติมรรคญาณ ประหารได้ ๓ สัญโญชน์ คือ ๑. สักกาย-
ทิฏฐิสัญโญชน์ ๒. วิจิกิจฉาลัญโญชน์ ๓. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์
๒. พระสกิทาคามิมรรคญาณ ประหารไม่ได้สักสัญโญชน์ แต่เป็นตนุกร
คือ ทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
๓. พระอนาคามิมรรคญาณ ประหารได้ ๒ สัญโญชน์ คือ ๑. กามราค-
สัญโญชน์ ๒. ปฏิฆสัญโญชน์
๔. พระอรหัตมรรคญาณ ประหารได้ ๔ สัญโญชน์ คือ ๑. รูปราค
ลัญโญชน์ ๒. อรูปราคสัญโญชน์ ๓. มานสัญโญชน์ ๔. อุทธัจจสัญโญชน์
๕. อวิชชาสัญโญชน์
พระอรหันตอริยบุคคล นอกจากจะประหารกิเลสโดยสิ้นเชิง เพราะตัด
สัญโญชน์ดังกล่าวได้ หมดสิ้นแล้ว ท่านยังสามารถเข้าอรหัตผลสมาบัติ เสวย
อารมณ์พระนิพพานได้ ตามจิตปรารถนาอีกด้วย! ที่วิเศษสุดก็คือ ท่านหมดกิจ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้วไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในห้วงมหรรณพภพสงสารอีก
ต่อไป เมื่อถึงอายุขัยก็ดับขันธ์ปรินิพพาน
ก็การปรินิพพานของพระอรหันต์นั้น บางท่านก็มีวิธีการวิจิตรประเสริฐนัก
หนา เบื้องหน้าแต่นี้ จักยกเอาการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานขององค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากล่าวไว้เป็นกถาส่งท้าย เพื่อเราท่านทั้งหลายจักได้มี
ใจเลื่อมใสน้อมนึกระลึกถึงพระองค์ผู้ ทรงเป็นพระบรมโลกุตมาจารย์

พระพุทธปรินิพพาน
กาลเมื่อสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ ณ พระแท่นที่
ปรินิพพาน องค์พระบรมศาลดาจารย์ได้ประทานพระปัจฉิมพุทธพจน์ไว้ว่า
"ดูกูรภิกษุ ทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจง
ยังกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด"
ครั้นตรัสอย่างนี้ ก็ไม่ตรัสอีกต่อไป แต่ทรงกระทำปรินิพพานบริกรรมดังนี้
คือ
- เสด็จเข้าปฐมฌาน
- เสด็จเข้าทุติยฌาน
- เสด็จเข้าตติยฌาน
- เสด็จเข้าจตุตถฌาน
- เสด็จเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
- เสด็จเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
- เสด็จเข้าอากิญจัญญายตนฌาน
- เสด็จเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
- เสด็จเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
กาลนั้น พระอานนท์เถรเจ้าผู้เป็นพระพุทธอนุชา จึงมีวาจาค่อยถาม
พระอนุรุทธเถรเจ้าขึ้นว่า " ข้าแต่ ท่านอนุรุทธ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า
ปรินิพพานแล้วหรือ? ที่ถามขึ้นเช่นนี้ก็เพราะว่า พระคุณท่านเห็นพระอัสสาสะ-
ปัสสาละของสมเด็จพระบรมศาสดาขาดหายไป จึงเข้าใจว่า ทรงปรินิพพาน
แล้ว
พระอนุรุทธเถรเจ้าผู้ซึ่งได้ เข้าฌานสมาบัตินั้นๆ ตามไปพร้อมกับสมเด็จ
พระบรมศาลดา จนกระทั่งออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทราบว่า
เวลานี้สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเลด็จเข้านิโรธสมาบัติอยู่ และการ
ปรินิพพานย่อมไม่มีภายในนิโรธอย่างแน่นอน ครั้นได้ยินพระอานนท์เถรเจ้า
ถามเช่นนั้น จึงค่อยตอบว่า "สเด็จพระบรมครูของเรายังไม่เสด็จเข้าปรินิพ-
พาน ยัง เสด็จอยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธ
ลำดับนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ
แล้ว . .
- เสด็จเข้าเนวลัญญานาสัญญายตนฌาน
- เสด็จเข้าอากิญจัญญายตนฌาน
- เสด็จเข้าอากาสานัญจายตนฌาน
- เสด็จเข้าจตุตถฌาน
- เสด็จเข้าตติยฌาน
- เสด็จเข้าทุติยฌาน
- เสด็จเข้าปฐมฌาน
- เสด็จเข้าทุติยฌาน
- เสด็จเข้าตติยฌาน
เสด็จเข้าจตุตถฌาน ครั้นเสด็จออกจากจตุตถฌานแล้ว ก็เสด็จดับขันธ์
ปรินิพพานในกาลนั้น
ความวิเศษมหัศจรรย์ตามที่พรรณนามานี้ เป็นปรินิพพานวิธีขององค์
สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบรมนาถของพวกเราชาว
พุทธบริษัททั้งหลาย พึงพิจารณาดูเถิดว่า เป็นการปรินิพพานที่น่าอัศจรรย์และ
วิจิตรพิสดาร ควรแก่การที่จะทำใจให้ศรัทธาเลี่อมใสในพระองค์เพียงใด
พรรณนาในอรหัตโลกุตรภูมิ ซึ่งเป็นภูมิหลุดพ้นจากโลกลำดับที่ ๔ หรือ
ลำดับสูงสุด เห็นว่าควรที่จะยุติลงได้แล้ว จึงขอยุติลงด้วยประการฉะนี้
ปัจฉิมพจน์
ข้าพเจ้าผู้ มีนามปรากฏว่า พระมหาวิลาศ ญาณวโร ได้อุปสมบทเมื่อปี
พุทธศักราช ๒๔๙๓ โดยมีพระเดชพระคุณ พระธรรมปัญญาบดี ชุตินฺธรเถระ
เปรียญธรรม ๘ ประโยค วัดสามพระยา จังหวัดพระนคร เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูสุทธิวรคุณ วัดสุทธิวราราม จังหวัดพระนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และ พระครูกัลยาณวิสุทธิ์ วัดดอน จังหวัดพระนคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
นับแต่ได้อุปสมบทมา ก็ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมตามกำลังสติปัญญา
สำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๙ ประโยค เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ครั้นเสร็จ
ธุระในด้านปริยัติศึกษาแล้ว ก็ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมตามกำลังศรัทธา ได้เข้า
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๒ ครั้ง โดยมีพระอาจารย์เข่ง อตฺตรกฺโข และ
พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธรรมาจริยะ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอก
กรรมฐาน
ครั้นออกจากการปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว พอมีเวลาว่างก็คิดรจนาหนังสือ
โลกทีปนี นี้ขึ้น ค้นคว้าเอามาจากกถาของท่านบุรพาจารย์แต่ปางก่อน ซึ่งท่าน
กล่าวไว้ในที่ต่างๆ ประมวลมาไว้ตามสมควรแก่เรื่องในที่นี้ เพื่อต้องการจะชี้
ทางปฏิบัติแก่ท่านสาธุชนทั้งหลายผู้มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ฉะนั้น ขอ
ท่านทั้งหลายจงอย่าได้เข้าใจว่า กถาเหล่านี้ เป็นวิชาความรู้ของข้าพเจ้ากล่าว
เอาเองด้วยจินตามยปัญญา ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นความรู้ความเข้าใจ
ของท่านบุรพาจารย์ ผู้มีญาณแกล้วกล้าและมีปัญญาลึกล้ำ แนะนำพร่ำสอน
ไว้ต่างหาก ข้าพเจ้าผู้มีสติปัญญาน้อย เป็นแต่เพียงรวบรวมเรียบเรียงด้วย
สำนวนของตนเสียใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายเท่านั้น โดยรจนาเมื่อวันที่ ๒๓
พฤษภาคม ๒๕๐๖ และมาจบลงในวันนี้ คือ วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๐๖ รวม
เวลา ๕๘ วัน โดยปราศจากอุปัทวันตรายใดๆ
ต่อจากนี้ไป ก็ได้แต่หวังใจอยู่ว่า หนังสือโลกทีปนีที่เรียบเรียงขึ้นนี้ คงจะ
มีสารัตถประโยชน์แก่ท่านผู้มีปัญญาที่อุตส่าห์ติดตามศึกษามาตั้งแต่ตัน จน
กระทั่งจบลงในบัดนี้ตามสมควร
ยํ มยา กสลํ ปตฺตํ กตฺวา หิ โลกทีปนี
สตถุโน โลกนาถสฺส สทฺธมฺมฏฐิติกามตา
สทฺธปฺปสนนจิตฺเตน กุสลํ อตฺถทายกํ
ตสฺส เตเชน สพฺเพปิ สุขฌเธนฺตุ ปาณิโน
พุทฺเธ ปสนฺนา จ ปสนฺนธมฺมา
สงฺเฆ ปสนฺนา อถ โมกฺขกามา
สพฺเพปิ มุจฺจนฺตุ อปายทุกฺขา
นิพฺพาน ปปฺโปนตุ อนาคเต เต
ธมฺมเวปุลฺลภาวาย อคฺคา กลฺยาณนิสฺสิตา
สพฺเพปิ เม สมิชฺฌนฺตุ นิรนฺตรํ มโนรถาติ
โลกทีปนี ปรินิฏฺฐิตา
ข้าพเจ้าผู้มีน้ำใจใคร่จักให้พระสัทธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระ
ชินวรโลกนาถบรมศาสดาถาวรตั้งมั่นอยู่ตลอดกาลนาน จึงได้อุตสาหะรจนา
เรียบเรียงโลกทีปนีนี้ขึ้น แล้วได้กุศลความดีอันใดบ้าง ด้วยเดชะแห่งกุศลความ
ดีนั้น ขอสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงประสบแต่ความสุขสำราญจงทั่วกัน
อนึ่ง บรรดาพุทธมามกะผู้เลื่อมใสพระไตรรัตน์ คือ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีเจตจำนงใคร่จักพ้นจาก
กองทุกข์จงพ้นจากทุกข์ไนอบายภูมิ และจงบรรลุถึงพระ
นิพพานในอนาคตกาลด้วยเถิด
ขอให้มโนรถความปรารถนาอันประเสริฐซึ่งเกิดจากน้ำ ใจอันงามของข้าพเจ้า
จงสำเร็จผลตามที่ตั้งไว้นี้ทั้งหมด เพื่อความหมดจดไพบูลย์แห่งพระสัทธรรม
คำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระชินวรบรมโลกุตมาจารย์ ตลอดกาลนิรันดร
เทอญ.
 

_________________
คำพูดเพียงน้อยนิดอาจเปลี่ยนชีวิตของคนได้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง