Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปฏิจจสมุปบาท อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2008, 8:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัณหาทั้ง 3 อย่างที่พูดถึงมาแล้วนั้น ก็คืออาการแสดงออกของตัณหาอย่างเดียวกัน และมีอยู่เป็นสามัญโดยครบถ้วนในชีวิตประจำวันของบุถุชนทุกคน แต่จะเห็นได้ต่อเมื่อวิเคราะห์ดูสภาพการทำงานของจิตในส่วนลึก

เริ่มแต่ มนุษย์ไม่รู้ไม่เข้าใจและไม่รู้จักมองสิ่งทั้งหลายในรูปของกระบวนการ
แห่งความสัมพันธ์กันของเหตุปัจจัยต่างๆตามธรรมชาติ จึงมีความรู้สึกมัวๆ อยู่ว่า มีตัวตนของตนอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง
มนุษย์จึงมีความอยากที่เป็นพื้นสำคัญ คือ ความอยากมีอยู่เป็นอยู่ หรืออยากมีชีวิตอยู่ ซึ่งหมายถึงความอยากให้ตัวตนในความรู้สึกมัวๆ นั้นคงอยู่ยั่งยืนต่อไป- (ในที่นี้ แปล กามตัณหาว่าอยากได้ ภวตัณหาว่าอยากเป็นอยู่ วิภวตัณหาว่าอยากให้ดับสูญ)
แต่ความอยากเป็นอยู่นี้ สัมพันธ์กับความอยากได้ คือ ไม่ใช่อยากเป็นอยู่เฉยๆ แต่อยากอยู่เพื่อเสวยสิ่งที่อยากได้ คือเพื่อเสวยสิ่งที่ให้สุขเวทนา สนองความต้องการของตนต่อไป

จึงกล่าวได้ว่า ที่อยากเป็นอยู่ก็เพราะอยากได้ เมื่ออยากได้ ความอยากเป็นอยู่ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อความอยากเป็นอยู่รุนแรง อาจเกิดกรณีที่ 1 คือ ไม่ได้สิ่งที่อยากทันอยาก จึงเกิดปฏิกิริยาขึ้น คือ ภพ หรือความมีชีวิตเป็นอยู่ในขณะนั้น ไม่เป็นที่น่าชื่นชม ชีวิตในขณะนั้นเป็นที่ขัดใจ ทนไม่ได้ อยากให้ดับสูญไปเสีย ความอยากให้ดับสูญจึงติดตามมา

แต่ทันทีนั้นเอง ความอยากได้ก็แสดงตัวออกมาอีก จึงกลัวว่าถ้าดับสูญไปเสีย ก็จะไม่ได้เสวยสุขเวทนาที่อยากได้ต่อไป ความอยากเป็นอยู่จึงเกิดตามติดมาอีก
ในกรณีที่ 2 ไม่ได้สิ่งที่อยาก หรือ กรณีที่ 3 ได้ไม่เต็มขีดที่อยาก ได้ไม่สมอยาก หรือ กรณีที่ 4 ได้แล้วอยากได้อีกต่อไป กระบวนการก็ดำเนินไปในแนวเดียวกัน

แต่กรณีที่นับว่า เป็นพื้นฐานที่สุดและครอบคลุมกรณีอื่นๆ ทั้งหมดก็คืออยากยิ่งๆ ขึ้นไป


เมื่อกำหนดจับลงที่ขณะหนึ่งขณะใดก็ตาม จะปรากฏว่ามนุษย์กำลังแส่หาภาวะที่เป็นสุขกว่าขณะที่กำหนดนั้นเสมอไป
บุถุชนจึงปัด หรือ ผละทิ้งจากขณะปัจจุบันทุกขณะ
ขณะปัจจุบันแต่ละขณะ เป็นภาวะชีวิตที่ทนอยู่ไม่ได้ อยากให้ดับสูญหมดไปเสีย อยากให้ตนพ้นไป ไปหาภาวะที่สนองความอยากได้ต่อไป

ความอยากได้
อยากอยู่
อยากเป็นอยู่ จึงหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวันของมนุษย์บุถุชน แต่เป็นวงจรที่ละเอียดชนิดทุกขณะจิต อย่างที่แต่ละคนไม่รู้ตัวเลยว่า ชีวิตที่เป็นอยู่แต่ละขณะของตนก็ คือ การดิ้นรนให้พ้นไปจากภาวะชีวิตในขณะเก่า และแส่หาสิ่งสนองความต้องการในภาวะชีวิตใหม่อยู่ทุกขณะนั่นเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 9:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อสืบสาวลงไป ย่อมเห็นได้ว่า ตัณหาเหล่านี้ สืบเนื่องมาจากอวิชชานั้นเอง เพราะไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น ไม่รู้จักมันในฐานะกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน จึงเกิดความเห็นผิดพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องตัวตนขึ้นมาในรูปใดรูปหนึ่ง คือ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายมีตัวมีตน เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นแน่นอนตายตัว ซึ่งจะยั่งยืนอยู่ได้- (= สัสสตทิฐิ - ความเห็นว่าเที่ยง ว่ายั่งยืนตายตัว)
หรือไม่ก็เห็นว่า สิ่งทั้งหลายแตกดับสูญสิ้นสลายตัวหมดไปได้เป็นสิ่งๆ เป็นชิ้นๆ เป็นอันๆไป (= อุจเฉททิฐิ-ความเห็นว่าขาดสูญ ตัดขาดลอยตัว)

มนุษย์บุถุชนทุกคน มีความเห็นผิดในรูปละเอียดอยู่ในตัวทั้งสองอย่าง จึงมีตัณหา 3 อย่างนั้น คือ เพราะเข้าใจมืดมัวอยู่ในจิตส่วนลึกว่าสิ่งทั้งหลายมีตัวตนยั่งยืนแน่นอนเป็นชิ้นเป็นอัน จึงเกิดความอยาก ในความเป็นอยู่ หรือภวตัณหาได้
และในอีกด้านหนึ่ง ด้วยความไม่รู้ไม่แน่ใจ ก็เข้าใจไปได้อีกแนวหนึ่งว่า สิ่งทั้งหลายเป็นตัวเป็นตนเป็นชิ้นเป็นอันแต่ละส่วนละส่วนไปมันสูญสิ้นหมดไป ขาดหายไปได้ จึงเกิดความอยาก ในความไม่เป็นอยู่หรือ วิภวตัณหา ได้ ความเห็นผิดทั้งสองนี้ สัมพันธ์กับตัณหาในรูปของการเปิดโอกาสหรือช่องทางให้

ถ้ารู้เข้าใจเห็นเสียแล้วว่าสิ่งทั้งหลายเป็นกระแส เป็นกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ก็ย่อมไม่มีตัวตนที่จะยั่งยืนตายตัวเป็นชิ้นเป็นอันได้ และก็ย่อมไม่มีตัวตนเป็นชิ้นเป็นอันที่จะหายจะขาดสูญไปได้ ตัณหาก็ไม่มีฐานที่ก่อตัวได้


ส่วนกามตัณหานั้น ก็ย่อมสืบเนื่องมาจากความเห็นผิดทั้งสองนั้นด้วย เพราะกลัวว่าตัวตน หรือสุขเวทนาก็ตามจะขาดสูญ สิ้นหายไปเสีย จึงเร่าร้อนแส่หาสุขเวทนาแก่ตน และเพราะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นตัวเป็นตนเป็นชิ้นเป็นอันแน่นอนคงตัวอยู่ได้จึงดิ้นรนไขว่คว้า กระทำย้ำให้หนักแน่นให้มั่นคงอยู่ให้ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 4:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในรูปหยาบ ตัณหาแสดงอาการออกมาเป็นการดิ้นรนแส่หาสิ่งสนองความต้องการต่างๆ การแส่หาภาวะชีวิตที่ให้สิ่งสนองความต้องการเหล่านั้น ความเบื่อหน่ายสิ่งที่มีแล้ว ได้แล้ว เป็นแล้ว ความหมดอาลัยตายอยาก ทนอยู่ไม่ได้โดยไม่มีสิ่งสนองความต้องการใหม่ๆเรื่อยๆไป

ภาพที่เห็นได้ชัดก็คือ มนุษย์ที่เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ ถ้าปราศจากสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 แล้วก็มีแต่ความเบื่อหน่ายว้าหว่าทนไม่ไหว ต้องเที่ยวดิ้นรนไขว่คว้าสิ่งสนองความต้องการใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อหนีจากภาวะเบื่อหน่ายตัวเอง

ถ้าขาดสิ่งสนองความต้องการ หรือไม่ได้ตามที่ต้องการเมื่อใด ก็ผิดหวัง หมดอาลัยตายอยาก เบื่อตัวเอง ชังตัวเอง ความสุข ความทุกข์จึงขึ้นต่อปัจจัยภายนอกอย่างเดียว เวลาว่างจึงกลับเป็นโทษเป็นภัยแก่มนุษย์ได้ทั้งส่วนบุคคลและสังคม ความเบื่อหน่าย ความซึมเศร้า ความว้าเหว่ ความไม่พอใจ จึงมีมากขึ้น ทั้งที่มีสิ่งสนองความต้องการมากขึ้น และการแสวงหาความปรนปรือทางประสาทสัมผัสต่างๆ จึงหยาบและร้อนแรงยิ่งขึ้น

การติดสิ่งเสพติดต่างๆก็ดี การใช้เวลาว่างทำความผิดความชั่วของเด็กวัยรุ่นก็ดี ถ้าสืบค้นลงไปในจิตใจอย่างลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่าสาเหตุสำคัญ ก็คือ ความทนอยู่ไมได้ ความเบื่อหน่ายจะหนีไปให้พ้นจากภพที่เขาเกิดในขณะนั้นนั่นเอง

ในกรณีที่มีการศึกษาอบรม การได้รับคำแนะนำสั่งสอนทางศาสนา การมีความเชื่อถือในทางที่ถูกต้อง การยึดถือในอุดมคติที่ดีงามต่างๆ (ในข้ออวิชชา) ตัณหาย่อมถูกชักจูงมาใช้ในทางที่ดีได้ จึงมีการทำดีเพื่อจะได้เป็นคนดี การขยันหมั่นเพียร เพื่อผลที่หมายระยะยาว การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเกียรติคุณหรือเพื่อไปเกิดในสวรรค์ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนการอาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาก็ได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 10:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กิเลสที่สืบเนื่องจากตัณหา ได้แก่อุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ซึ่งมี 4 อย่างคือ

1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม (Clinging to sensuality)
(กาม = สิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 และความใคร่ในสิ่งสนองความต้องการเหล่านั้น)

เมื่ออยากได้ ดิ้นรนแส่หาก็ยึดมั่นติดพันในสิ่งที่อยากได้นั้น เมื่อได้แล้วก็ยึดมั่นเพราะอยากสนองความต้องการให้ยิ่งๆขึ้นไป และกลัวหลุดลอยพรากไปเสีย ถึงแม้จะผิดหวังพรากไป ก็ยิ่งปักใจมั่นด้วยความผูกใจอาลัย ความยึดมั่นแน่นแฟ้นขึ้นเพราะสิ่งสนองความต้องการต่างๆ ไม่ให้ภาวะเต็มอิ่มหรือสนองความต้องการได้เต็มขีดที่อยากจริงๆ ในคราวหนึ่งๆ จึงพยายามเพื่อเข้าถึงขีดที่เต็มอยากนั้นด้วยการกระทำอีกๆ และเพราะสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่ของของตนแท้จริง จึงต้องยึดมั่นไว้ด้วยความรู้สึกจูงใจตนเองว่าเป็นของของตนในแงใดแง่หนึ่งให้ได้

ความคิดจิตใจของบุถุชนจึงไปยึดติดผูกพันข้องอยู่กับสิ่งสนองความอยากอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ และเป็นกลางได้ยาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 10:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

2. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทฤษฎี หรือ ทิฏฐิต่างๆ (Clinging to Views)

ความอยากให้เป็นหรือไม่ให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตนต้องการ ย่อมทำให้เกิดความเอนเอียงยึดมั่นในทิฏฐิ ทฤษฎี หรือ หลักปรัชญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เข้ากับความต้องการของตน ความอยากได้สิ่งสนองความต้องการของตนก็ทำให้ยึดมั่นในหลักการ แนวความคิดความเห็น ลัทธิ หลักคำสอนที่สนอง หรือเป็นไปเพื่อสนองความต้องการของตน เมื่อยึดถือความเห็น หรือหลักความคิด อันใดอันหนึ่งว่าเป็นของตนแล้ว ก็ผนวกเอาความเห็น หรือหลักความคิดนั้น เป็นตัวตนของตนไปด้วย

จึงนอกจากจะคิดนึกและกระทำการต่างๆ ไปตามความเห็นนั้นๆแล้ว เมื่อมีทฤษฎีหรือความเห็นอื่นๆ ที่ขัดแย้งกับความเห็นที่ยึดไว้นั้น ก็รู้สึกว่าเป็นการคุกคามต่อตัวตนของตนด้วย เป็นการเข้ามาบีบคั้น หรือ จะทำลายตัวตนให้เสื่อมด้อยลง พร่องลง หรือสลายตัวไปอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงต้องต่อสู้รักษาความเห็นนั้นไว้เพื่อศักดิ์ศรีเป็นต้นของตัวตน จึงเกิดการขัดแย้งที่แสดงออกในภายนอก เกิดการผูกมัดตัวให้คับแคบ สร้างอุปสรรค กักปัญญาของตนเอง ความคิดเห็นต่างๆ ไม่เกิดประโยชน์ตามคามหมายและวัตถุประสงค์แท้ๆ ของมัน ทำให้ไม่สามารถถือเอาประโยชน์จากความรู้ และไม่สามารถรับความรู้ต่างๆได้เท่าที่ควรจะเป็น

(ทิฏฐิที่สนองตัณหาขั้นพื้นฐานที่สุด ก็คือ สัสสตทิฏฐิ กับ อุจเฉททิฏฐิ และทิฏฐิที่อยู่เครือเดียวกัน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 7:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต (Clinging to mere rule and ritual)

ความอยากได้ อยากเป็นอยู่ ความกลัวต่อความสูญสลายของตัวตน โดยไม่เข้าใจกระบวนการแห่งเหตุปัจจัยในธรรมชาติ ผสมกับความยึดมั่นใน
ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ประพฤติปฏิบัติไปตามๆกันอย่างงมงาย ใน
สิ่งที่นิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ ที่จะสนองความอยากของตนได้ ทั้งที่ไม่
มองเห็นความสัมพันธ์โดยตรงของเหตุผล ความอยากให้ตัวตนคงอยู่
มีอยู่ และความยึดมั่นในตัวตน แสดงออกมาภายนอก หรือทาง
สังคมในรูปของความยึดมั่น ในแบบแผนความความประพฤติต่างๆ การกระทำ
สืบๆกันมา ระเบียบวิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธี ตลอดจนสถาบันต่างๆที่
แน่นอนตายตัว ว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยไม่ตระหนักรู้ในความหมาย
คุณค่า วัตถุประสงค์ และความสัมพันธ์โดยเหตุผล กลายเป็นว่า มนุษย์
สร้างสิ่งต่างๆเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อกีดกั้น ปิดล้อมตัวเอง และทำให้แข็งทื่อ
ยากแก่การปรับปรุงตัว และการที่จะได้รับประโยชน์จากสิ่งทั้งหลายที่ตนเข้าไปสัมพันธ์



ในเรื่องสีลัพพตุปาทานนี้ มีคำอธิบายของท่านพุทธทาสภิกขุ ตอนหนึ่ง ที่เห็นว่าจะช่วยให้ความหมายชัดเจนขึ้นอีก ดังนี้

เมื่อมาประพฤติศีล หรือธรรมะข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ไม่ทราบความมุ่ง
หมาย ไม่คำนึงถึงเหตุผล ได้แต่ลงสันนิษฐานเอาเสียว่าเป็นของ
ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อลงได้ปฏิบัติของศักดิ์สิทธิ์แล้ว ย่อมต้องได้รับผลดีเอง

ฉะนั้น คนเหล่านี้จึงสมาทานศีล หรือประพฤติธรรมะ แต่เพียงตามแบบฉบับ ตามตัวอักษร ตามประเพณี ตามตัวอย่าง ที่สืบปรัมปรากันมาเท่านั้น ไม่เข้าถึงเหตุผลของสิ่งนั้นๆ แต่เพราะอาศัยการประพฤติกระทำมาจนชิน การยึดถือจึงเหนียวแน่น เป็นอุปาทานชนิดที่แก้ไขยาก...
ต่างจากอุปาทานข้อที่สองข้างต้น ซึ่งหมายถึงการถือในตัวทิฏฐิ หรือความคิดเห็นที่ผิด
ส่วนข้อนี้ เป็นการยึดถือในตัวการปฏิบัติ หรือการกระทำทางภายนอก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 8:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน (Clinging to the ego-belief)

ความรู้สึกว่ามีตัวตนที่แท้จริงนั้น เป็นความหลงผิดที่มีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว และยังมีปัจจัยอื่นๆที่ช่วยเสริมความรู้สึกนี้อีก เช่น ภาษาอันเป็นถ้อยคำสมมุติสำหรับสื่อความหมาย ที่ชวนให้มนุษย์ผู้ติดบัญญัติ มองเห็นสิ่งต่างๆแยกออกจากกันเป็นตัวตนที่คงที่ แต่ความรู้สึกนี้กลายเป็นความยึดมั่นเพราะตัณหาเป็นปัจจัย กล่าวคือ
เมื่ออยากได้ ก็ยึดมั่นว่ามีตัวตนที่เป็นผู้ได้รับและเสวยสิ่งที่อยากนั้น มีตัวตนที่เป็นเจ้าของสิ่งที่ได้นั้น

เมื่ออยากเป็นอยู่ ก็อยากให้มีตัวตนอันใดอันหนึ่งเป็นอยู่

เมื่ออยากไม่เป็นอยู่ ก็ยึดในตัวตนอันใดอันหนึ่งที่จะให้สูญสลายไป

เมื่อกลัวว่าตัวตนจะสูญสลายไป ก็ยิ่งตะเกียกตะกายย้ำความรู้สึกในตัวตน ให้แน่นแฟ้นหนักขึ้นไปอีก ที่สำคัญ คือ ความอยากนั้นสัมพันธ์กับความรู้สึกว่ามีเจ้าของผู้มีอำนาจควบคุม คือ มีตัวตนที่เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปอย่างที่อยากให้เป็นได้ และก็ปรากฏว่ามีการบังคับบัญชาได้สมปรารถนาบ้างเหมือนกัน จึงหลงผิดไปว่า มีตัวฉัน หรือ ตัวตนของฉันที่เป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับสิ่งเหล่านั้นได้

แต่ความจริงมีอยู่ว่า การบังคับบัญชานั้น เป็นไปได้เพียงบางส่วนและชั่วคราวเท่านั้น เพราะสิ่งที่ยึดว่าเป็นตัวตนนั้น ก็เป็นเพียงปัจจัยอย่างหนึ่งในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ไม่สามารถบังคับบัญชาสิ่งอื่นๆ ที่เข้าไปยึด ให้เป็นตามที่อยากให้เป็นได้ถาวรและเต็มอยากจริงๆ

การที่รู้สึกว่าตัวเป็นเจ้าของควบคุมบังคับบัญชาได้อยู่บ้าง แต่ไม่เต็มสมบูรณ์จริงๆ เช่นนี้ กลับเป็นการย้ำความหมายมั่น และตะเกียกตะกายเสริมความรู้สึกว่าตัวตนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อยึดมั่นในตัวตนด้วยอุปาทาน ก็ไม่รู้จักที่จะจัดการสิ่งต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่จะให้มันเป็นไปอย่างนั้นๆ กลับหลงมองความสัมพันธ์ผิด ยกเอาตัวตนขึ้นยึดไว้ในฐานะเจ้าของที่จะบังคับควบคุมสิ่งเหล่านั้นตามความปรารถนา เมื่อไม่ทำตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย และสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นไปตามความปรารถนา ตัวตนก็ถูกบีบคั้นด้วยความพร่องเสื่อมด้อยและความสูญสลาย ความยึดมั่นในตัวตนนี้นับว่าเป็นข้อสำคัญ เป็นพื้นฐานของความยึดมั่นข้ออื่นๆ ทั้งหมด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความหมายง่ายๆ แง่หนึ่งสำหรับแสดงความสัมพันธ์ภายในวงจรปฏิจจสมุปบาท

ช่วงหนึ่ง เช่น เมื่อประสบสิ่งใดได้รับเวทนาอันอร่อย ก็เกิดตัณหาชอบใจ

อยากได้สิ่งนั้น แล้วเกิดกามุปาทาน ยึดติดในสิ่งที่อยากได้นั้น ว่าจะต้องเอา

ต้องเสพต้องครอบครองสิ่งนั้นให้ได้ เกิดทิฏฐุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นว่า ต้องอย่างนี้

จึงจะดี ได้อย่างนี้จะเป็นสุข ต้องได้เสพเสวยครอบครองสิ่งนั้นหรือประเภทนี้

ชีวิตจึงมีความหมาย หลักการหรือคำสอนอะไรๆ จะต้องส่งเสริมการแสวง

หาและได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้จึงจะถูกต้อง เกิดสีลัพพตุปาทานว่าเมื่อจะประพฤติ

ปฏิบัติศีล พรต ขนบธรรมเนียม ระเบียบ แบบแผนอย่างใดๆ ก็มอง

ในแง่เป็นวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งที่อยากได้นั้น หรือจะต้องเป็นเครื่องมือให้

ได้มาซึ่งสิ่งที่อยากได้นั้น จึงจะยอมประพฤติปฏิบัติ และเกิดอัตตวาทุปาทาน

ยึดติดถือมั่นในตัวตนที่จะได้จะเสพจะครอบครองสิ่งที่อยากได้นั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 9:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ว่าโดยสรุป อุปาทานทำให้มนุษย์บุถุชน มีจิตใจไม่ปลอดโปร่งผ่องใส

ความคิดไม่แล่นคล่องไปตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย ไม่สามารถแปล

ความหมาย ตัดสิน และกระทำการต่างๆ ไม่ตามแนวทางแห่งเหตุปัจจัย

ตามที่มันควรจะเป็น โดยเหตุผลบริสุทธิ์ แต่มีความติดข้อง ความเอน

เอียง ความคับแคบ ความขัดแย้ง และความรู้สึกถูกบีบคั้นอยู่ตลอด

เวลา ความบีบคั้นเกิดขึ้นเพราะความยึดว่าเป็นตัวเรา ของเรา เมื่อเป็น

ตัวเราของเรา ก็ต้องเป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น แต่สิ่งทั้งหลายเป็นไป

ตามเหตุปัจจัย ไม่ใช่เป็นไปตามที่เราอยากให้เป็น เมื่อมันไม่อยู่ใน

บังคับความอยาก กลับเป็นอย่างอื่นไปจากที่อยากให้เป็น ตัวเรา

ก็ถูกขัดแย้งกระทบกระแทกบีบคั้น สิ่งที่ยึดถูกกระทบเมื่อใด ตัวเรา

ก็ถูกกระทบเมื่อนั้น สิ่งที่ยึดไว้มีจำนวนเท่าใด ตัวเราแผ่ไปถึงไหน ยึดไว้

ด้วยจำนวนเท่าใด ตัวเราที่ถูกกระทบ ขอบเขตที่ถูกกระทบ และความ

แรงของการกระทบ ก็มีมากเท่านั้น และผลที่เกิดขึ้น มิใช่แต่เพียง

ความทุกข์เท่านั้น แต่หมายถึงชีวิตที่เป็นอยู่และกระทำการต่างๆ

ตามอำนาจความยึดความอยาก ไม่ใช่เป็นอยู่และทำการด้วยปัญญาตามเหตุ

ปัจจัย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 9:10 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อุปาทาน 4 มาใน ที.ปา. 11/262/242 ; ฯลฯ โดยเฉพาะ

อัตตวาทุปาทาน เมื่อวิเคราะห์ออกไปจะเห็นว่า เป็นการยึดมั่น

ในเรื่องขันธ์ 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามบาลีว่า “บุถุชน...ย่อมเข้า

ใจว่ารูปเป็นอัตตา หรือเข้าใจว่าอัตตามีรูป หรือเข้าใจว่ารูปอยู่

ในอัตตา หรือเข้าใจว่าอัตตาอยู่ในรูป เข้าใจว่าเวทนา...สัญญา...

สังขาร...(ทำนองเดียวกัน) เข้าใจว่าวิญญาณเป็นอัตตา หรือ

อัตตามีวิญญาณ หรือว่าวิญญาณอยู่ในอัตตา หรือว่าอัตตาอยู่ใน

วิญญาณ”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 8:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อจากอุปาทาน กระบวนการดำเนินต่อไปถึงขั้น ภพ ชาติ ชรามรณะ จนถึงโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ตามแนวที่อธิบายแล้ว เมื่อเกิดโสกะ ปริเทวะ เป็นต้นแล้ว บุคคลย่อมหาทางออกด้วยการคิด ตัดสินใจ และกระทำการต่างๆ ตามความเคยชิน ความโน้มเอียง ความเข้าใจ และความคิดเห็นที่ยึดมั่นสะสมไว้อีก โดยไม่ยอมเห็นภาวะที่ประสบในขณะนั้นๆ ตามที่มันเป็นของมันจริงๆ วงจรจึงเริ่มขึ้นที่อวิชชาแล้วหมุนต่อไปอย่างเดิม

แม้อวิชชาจะเป็นกิเลสพื้นฐาน เป็นที่ก่อตัวของกิเลสอื่นๆ แต่ในขั้นแสดงออกเป็นพฤติกรรมต่างๆ ตัณหาย่อมเป็นตัวชักจูง เป็นตัวบงการและแสดงบทบาทที่ใกล้ชิดเห็นได้ชัดเจนกว่า ดังนั้น ในทางปฏิบัติ เช่น ในอริยสัจ 4 จึงกำหนดว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

แม้อวิชชา เป็นไปอย่างมืดบอดเลื่อนลอย ตัณหาไม่หลัก ไม่ถูกควบคุม เป็นไปสุดแต่จะให้สนองความต้องการได้สำเร็จ ย่อมมีทางให้เกิดกรรมฝ่ายชั่วมากกว่าฝ่ายดี แต่เมื่ออวิชชาถูกปรุงดัดแปลงด้วยความเชื่อถือในทางที่ดีงาม ความคิดที่ถูกต้อง ความเชื่อความเข้าใจที่มีเหตุผล ตัณหาถูกชักจูงให้เบนไปสู่เป้าหมายที่ดีงาม ถูกควบคุมขัดเกลา และขับให้พุ่งไปอย่างมีจุดหมาย ก็ย่อมให้เกิดกรรมฝ่ายดี และเป็นประโยชน์ได้อย่างมาก และถ้าได้รับการชักนำอย่างถูกต้อง ก็จะเป็นเครื่องอุปถัมภ์ สำหรับกำจัดอวิชชาและตัณหาได้ต่อไปด้วย

วิถีอย่างแรกเป็นวิถีแห่งความชั่วแห่งบาปอกุศล อย่างหลังเป็นวิถีแห่งความดีแห่งบุญกุศล
คนดีและคนชั่วต่างก็ยังมีทุกข์อยู่ตามแบบของตนๆ

แต่วิถีฝ่ายดีเท่านั้นที่สามารถนำไปสู่ความสิ้นทุกข์ ความหลุดพ้น และความเป็นอิสระได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 8:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตัณหาที่ถูกใช้ในทางที่เป็นประโยชน์นั้น มีตัวอย่างถึงขั้นสูงสุด ดังข้อความที่พระอานนท์กล่าวกะภิกษุณีรูปหนึ่งที่หลงรักท่านว่า

“ดูกรน้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า กายนี้เกิดจากตัณหา พึงอาศัยตัณหา

ละเสียซึ่งตัณหา ดังนี้ เราอาศัยเหตุผลอะไรกล่าว ในข้อนี้ ภิกษุได้สดับ

ข่าวว่า ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ ได้ประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันทีเดียว ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้น

ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เข้าถึงอยู่ ดังนี้ เธอจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อไร

เล่าหนอแม้เราก็จักประจักษ์แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ...เข้าถึงอยู่บ้าง

ดังนี้ กาลต่อมา ภิกษุนั้นอาศัยตัณหา ละตัณหาได้”

(องฺ. จตุกฺก. 21/159/195)



ถ้าไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ นอกจากเลือกเอาในระหว่างตัณหาด้วยกัน

พึงเลือกเอาตัณหาในทางที่ดีเป็นแรงจูงใจในการกระทำ แต่ถ้าทำได้ พึง

เว้นตัณหาทั้งฝ่ายชั่วฝ่ายดี เลือกเอาวิถีแห่งปัญญา อันเป็นวิถีที่บริสุทธิ์

อิสระ และไร้ทุกข์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 7:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาระของข้อความนี้มีเพียงว่า ภิกษุได้ยินข่าวว่าภิกษุอื่นบรรลุ

อรหัตผล ก็อยากบรรลุอรหัตผลบ้าง หรือได้ยินว่า ภิกษุอื่นได้เป็น

พระอรหันต์ ก็อยากเป็นพระอรหันต์บ้าง ความอยากของเธอมี

ลักษณะที่เห็นได้ชัดว่าเป็นตัณหา คือ ภาวะอรหัตผลหรือความเป็น

พระอรหันต์นั้น เป็นเหมือนสิ่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในที่ต่างหากจากเธอ และ

มีตัวเธอที่อยากจะเข้าครอบครองเป็นเจ้าของ หรือเข้าไปอยู่ในภาวะนั้น

การเอาตัณหามาใช้ในกรณีอย่างนี้ จัดว่าเป็นอุบาย คือวิธี

ยักเยื้องนำเข้าไปให้ถึงจุดหมาย เป็นวิธีเร้าล่อให้กระทำการที่เป็น

เงื่อนไข เมื่อบุคคลที่ถูกเร้าล่อเริ่มกระทำการที่เป็นเงื่อนไข

แล้ว ก็จะต้องใช้โอกาสระหว่างนั้นค่อยๆ สร้างความรู้ความเข้าใจให้เขาเกิด

ความรักความซาบซึ้งในภาวะดีงามที่เป็นผลของการกระทำนั้นโดยตรง จนเขา

เกิดฉันทะขึ้นเองอีกชั้นหนึ่ง และเขาก็จะเปลี่ยนแรงจูงใจและพฤติกรรมของเขา

เอง ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็นับว่าเป็นความสำเร็จและจัดเป็นการ

ศึกษาอบรมได้อย่างหนึ่ง

แต่ถ้าเปลี่ยนจากตัณหาให้เกิดเป็นฉันทะไม่ได้ ก็กลายเป็นความ

ล้มเหลว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 7:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บางครั้งผลที่เอามาเร้าล่ออาจเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ผลของการกระทำนั้นโดยตรง

เช่น เมื่อพระนันทะพุทธอนุชาผนวชแล้ว เกิดความคิดถึงคู่รัก เบื่อ

หน่ายพรหมจรรย์คิดจะสึก

พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงพาไปเที่ยวชมนางฟ้า จนพระนันทะหายคิดถึงคู่รัก

เกิดความอยากได้นางฟ้าแทน

พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสรับรองเอาพระองค์เองเป็นประกันว่าจะให้พระนันทะได้

นางฟ้า โดยมีเงื่อนไขว่าพระนันทะต้องตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ และเมื่อ

พระนันทะตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ตามเงื่อนไขแล้ว ก็เป็นจุดเริ่มต้นของโอกาส

ในการนำพระนันทะก้าวหน้าต่อไป ซึ่งในที่สุดเธอก็ได้บรรลุอรหัตผล

วิธีการอย่างนี้ เรียกอย่างสามัญก็คือการล่อด้วยรางวัล แต่ไม่ปรากฏว่าท่านใช้วิธี

นี้บ่อย ท่านคงจะใช้เมื่อจำเป็นในเมื่อปัจจัยแวดล้อมต่างๆ กำหนดลงว่าเป็นวิธี

ที่ดีที่สุด และคงใช้อย่างระมัดระวังโดยคำนึงถึงผลติดตาม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 7:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตัวอย่างวิธีอย่างนี้ในชีวิตประจำวัน เช่น บอกให้เด็กกวาดถูเรือน

แล้วจะให้รางวัล หรือบอกลูกว่า อ่านหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้จบแล้วจะซื้อ

ของนั้นนี้ให้ การกระทำอย่างนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาอบรม ผู้ทำ

จะต้องทำอย่างมีความรับผิดชอบ โดยคิดเตรียมไว้แล้วว่าจะชักจูงเด็ก

เข้าสู่ความมีฉันทะได้อย่างไร ไม่ใช่สักว่าทำพอผ่านๆ อย่างน้อยเริ่มแรก

ผู้มีความรับผิดชอบย่อมทำเช่นนั้น โดยมีความหวังว่าเมื่อล่อให้เด็กเริ่ม

กวาดถูหรืออ่านหนังสือแล้ว เด็กอาจจะค่อยๆ เกิดความรู้สึกรักความ

สะอาดหรือรักความรู้ขึ้นมาได้เองจากการได้เห็นผลดีที่เกิดจากการกระทำ

นั้น

แต่ทางที่ดี ผู้ล่อเร้าควรใช้โอกาสระหว่างนั้นช่วยทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่จะให้เด็กใช้โยนิโสมนสิการ ในทางที่จะเข้าใจคุณค่าของความสะอาด

และความรู้จนเกิดความรักความซาบซึ้งชอบความสะอาด หรือใฝ่ความรู้

เกิดมีฉันทะที่จะกวาดถูกหรืออ่านหนังสือได้เองโดยไม่ต้องเงื่อนไขเพื่อ

รางวัลอีกต่อไป

วิธีใช้ตัณหามาชักจูงหรือเป็นปัจจัยแก่ฉันทะอย่างนี้ ถ้าฉันทะเกิดจริงก็ดี

ไป แต่ถ้าฉันทะไม่เกิดก็กลายเป็นความล้มเหลว และกลับเกิดผล

เสียมากยิ่งขึ้น เพราะเท่ากับไปเร้าตัณหาให้ขยายตัวเข้มข้นยิ่งกว่า

เดิม เป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ดี และเท่ากับเอาเชื้อแห่งปัญหา

และความทุกข์ไปใส่ไว้ในชีวิตของเด็ก

ผู้จะใช้วิธีการเช่นนี้ จึงต้องระมัดระวังคิดเตรียมการเพื่อผลที่ประสงค์

ไว้โดยรอบคอบจนมั่นใจว่าจะต้องสำเร็จ และเอาใจใส่คอยช่วยอยู่

ตลอดกระบวนการจนกว่าผลสำเร็จ คือ ความเกิดขึ้นแห่งฉันทะจะ

ปรากฏ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง