Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สั ง ข า ร : อาจารย์สุชีพ ปัญญานุภาพ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 9:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

• สังขารที่เกิดจากอวิชชา กับสังขารที่เป็นส่วนหนึ่ง
ของนามรูป (สังขารขันธ์) เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร


สังขารที่เกิดจากอวิชชาก็ดี
สังขารที่เป็นส่วนหนึ่งของนามรูป (สังขารขันธ์) ก็ดี

หมายถึงเจตนาซึ่งเป็นตัวปรุงแต่ง
หรือที่เป็นตัวทำให้เกิดการกระทำหรือกรรมต่างๆ
เช่นเดียวกับบางครั้งพระพุทธเจ้าทรงแสดงชัดว่า
เจตนานั่นแหละคือ "กรรม"


หลักฐาน พระพุทธพจน์อธิบายเรื่องสังขาร
ในปฏิจจสมุปบาทมาใน พระไตรปิฎก ๑๖/๑๖/๔ และ ๑๖/๒๑/๓๗๐
ส่วนที่อธิบายเรื่องสังขารในขันธ์ ๕ ใน พระไตรปิฎก ๑๗/๑๑๖/๗๔

เพียงแต่ใช้ศัพท์การอธิบายอาจแตกต่างกันเป็น
กายสังขาร (เครื่องปรุงแต่งพฤติกรรมทางกาย)
หรือ เจตนากาย (กลุ่มแห่งเจตนา) เป็นต้น

สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : คำถามคำตอบปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม ๒
โดย อาจารย์สุชีพ ปัญญานุภาพ, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
พิมพ์ครั้งที่ ๒, พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๘๒)


เทียน รวมคำสอน “อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=49286
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 10:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณคับพี่กุหลาบสีชา

ยังงอยู่เลย
จะค่อยๆประติดประต่อไปเรื่อยๆละกันนะคับ

ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 8:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณพี่คับ

ที่แท้สังขาร เป็นสภาวะ
เป็นคำกริยาที่แสดงถึงสภาวะใช่ไหมคับ

กล่าวคือ สภาวะที่มีสิ่งหนึ่งเกิด จึงมีสิ่งหนึ่งเกิด
แล้วตั้งอยู่ร่วมกัน

ถ้าสภาวะสังขารเกิดกับรูป มันก็จะมีสังขารประเภทรูป
ซึ่งเราก้จะมีภาษาบัญญัติใช้เรียกสังขารต่างๆอยู่
เช่น กรวด บ้าน รถ คน สัตว์ แล้วแต่ภาษาจะมีบัญญัติไว้

ถ้าสภาวะสังขารเกิดกับนาม มันก็จะมีสังขารประเภทนาม
ซึ่งเราก้จะมีภาษาบัญญัติใช้เรียกสังขารต่างๆนั้นอยู่
เช่น จิต อารมณ์ ชื่อเสียง ความดี ความรัก ฯลฯ

==================

ผู้รับรู้ว่ามีสังขาร ก็คือ จิต


เช่นตาเห็นบ้าน แล้วเชื่อว่าเป้นบ้าน

แท้ที่จริง บ้านมันก็เป็นธาตุรวมกันอยู่ในเงื่อนไขหนึ่งๆ

แล้วจิตเรา เข้าไปรับรู้สภาวะที่ธาตุรวมกันนั้นเข้า
แล้วปรุง perception ของเราเข้าไป
แล้วก็ได้ออกมาเป็นคำว่า "บ้าน"

จิต รับรู้ผ่านตา ไปเห็นรูปเข้า
แล้วปรุงสังขารขึ้น โดยปรงไปว่า "รูปนั้นคือบ้าน"

ซึ่งตรงนี้มีสังขาร ซ้อนสังขารอยู่
สังขารที่จิตปรุงการรับรู้ว่ามีบ้าน 1
สังขารที่เรียกว่าบ้าน 1

ถูกหรือเปล่าคับนี่


สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 12:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มาตอบตามสัญญาแล้วค่ะ ยิ้มเห็นฟัน

คำถามของคุณน้องเรื่องนี้ ช่างทดสอบภูมิรู้ข้าพเจ้าดีแท้ ขำ สู้ สู้

เอาเป็นว่าก่อนอื่นต้องขออธิบายนิยามของคำที่เกี่ยวข้อง
เพื่อความกระจ่างว่าเราเข้าใจตรงกันมั้ย


ข้อมูลที่รวบรวมและเรียบเรียงมานี้
เป็นการประมวลไว้ตามความเข้าใจของตนที่ได้ศึกษามา
โดยอาศัยแหล่งที่มาของข้อมูลที่มีผู้รู้ได้ถ่ายทอดไว้เป็นพื้นฐาน นะคะ

ขอคุณน้องโปรดพิจารณาไตร่ตรองและสืบทานก่อนด้วย

• นามรูป คืออะไร

หมายถึง ความมีอยู่ของรูปธรรม นามธรรมในความรับรู้ของบุคคล
ทั้งความรู้สึก ภาพที่คิด ภาวะต่างๆ ของจิตใจ สีหน้า กิริยาท่าทาง
คือทั้งกายใจทั้งหมด

เมื่อวิญญาณทำหน้าที่ รูปธรรม นามธรรมต่างๆ เช่น
อวัยวะที่เกี่ยวข้อง เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลายต่างๆ
ก็ทำงานร่วมไปด้วยตามหน้าที่

เช่น จิตหรือวิญญาณถูกปรุงแต่งให้โกรธ รูปร่างหน้าตาบูดบึ้ง
มีความรู้สึกไม่สบายใจเป็นทุกข์
และพร้อมที่จะปรุงแต่งกรรมเป็นคำด่า ก่อให้เกิดวจีทุริต
หรือกายกรรมในทางทำร้าย เป็นต้น

นั่นคือ มันต้องอาศัยบริการของอายตนะ
เป็นสื่อป้อนความรับรู้ perception (วิญญาณ)
หรือเป็นช่องทางดำเนินพฤติกรรม
อายตนะนั้นก็จะปลุกเร้าให้พร้อมทำหน้าที่
สุดแต่ "สังขาร" ที่พร้อมจะทำงานร่วมไปกับวิญญาณนั้น


• สังขาร คืออะไร

หมายถึง องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต
มีเจตนาเป็นตัวนำซึ่งแต่งจิตให้ดีชั่ว หรือเป็นกลาง
ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ
และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ

เป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา สติ โอตัปปะ เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โมหะ โลภะ ทิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น

เรียกรวมง่ายๆ ว่าเครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด
หรือเครื่องปรุงของกรรม หรือที่เรียกว่า "เจตสิกธรรม"
ที่เป็นส่วนดีเรียกว่า กุศล ที่เป็นส่วนชั่วเรียกว่า อกุศล
ที่เป็นส่วนกลางไม่ดี ไม่ชั่ว เรียกว่า อัพยากฤต


ดังนั้นตามความเข้าใจของพี่

สังขารจึงเป็นคำนามที่ใช้เรียกคุณสมบัติของจิตขณะนั้น
เป็นอารมณ์ซึ่งเกิดขึ้นกับจิต ที่ก่อให้เกิดกิริยาต่างๆ ตามมา
ทั้งกายกรรม และวจีกรรม


ฉะนั้นโดยตัวมันเองจึงมิใช่คำกิริยา
ประเด็นนี้ถ้าเราพิจารณาวิเคราะห์โดยใช้หน้าที่ของคำเป็นเกณฑ์นะคะ

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 12:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เป็นสภาวะหรือไม่

โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าถ้าใช้คำนี้อธิบายว่ามันคืออะไร
ก็น่าจะอนุโลมให้เข้าใจได้นะคะ อารมณ์ของจิตที่เกิดขึ้นขณะนั้น

อย่างไรก็ตาม คำว่าสังขารนั้น ยังมี ๒ นัยยะ คือ

๑. สังขารในขันธ์ ๕ (สังขารขันธ์)

หมายถึงความดีความชั่วที่ปรุงแต่งจิต เป็นนามธรรมอย่างเดียว
มีความหมายแคบกว่า “สังขารในไตรลักษณ์”

๒. สังขารในไตรลักษณ์ (สังขารในอวิชชา)

หมายรวมเอาสิ่งที่ทั้งปวงที่เกิดจากการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย
ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม คือเท่ากับขันธ์ ๕ ทั้งหมด
หรือที่เรียกอีกนัยหนึ่งว่า เป็น (สังขารในอวิชชา) ทั้งสิ้น

ดังนั้นที่คุณน้องกล่าวว่า

อ้างอิงจาก:
ถ้าสภาวะสังขารเกิดกับรูป
มันก็จะมีสังขารประเภทรูป
ซึ่งเราก้จะมีภาษาบัญญัติใช้เรียกสังขารต่างๆอยู่
เช่น กรวด บ้าน รถ คน สัตว์ แล้วแต่ภาษาจะมีบัญญัติไว้

ถ้าสภาวะสังขารเกิดกับนาม มันก็จะมีสังขารประเภทนาม
ซึ่งเราก้จะมีภาษาบัญญัติใช้เรียกสังขารต่างๆนั้นอยู่
เช่น จิต อารมณ์ ชื่อเสียง ความดี ความรัก ฯลฯ


จึงนับเป็นสังขารในไตรลักษณ์
ที่หมายรวมสิ่งที่ทั้งปวงที่เกิดจากการปรุงแต่งของเหตุปัจจัย
ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็น (สังขารในอวิชชา) ทั้งสิ้น

อ้างอิงจาก:
ผู้รับรู้ว่ามีสังขาร ก็คือ จิต

เช่นตาเห็นบ้าน แล้วเชื่อว่าเป้นบ้าน

แท้ที่จริง บ้านมันก็เป็นธาตุรวมกันอยู่ในเงื่อนไขหนึ่งๆ

แล้วจิตเรา เข้าไปรับรู้สภาวะที่ธาตุรวมกันนั้นเข้า
แล้วปรุง perception ของเราเข้าไป
แล้วก็ได้ออกมาเป็นคำว่า "บ้าน"

จิต รับรู้ผ่านตา ไปเห็นรูปเข้า
แล้วปรุงสังขารขึ้น โดยปรงไปว่า "รูปนั้นคือบ้าน"

ซึ่งตรงนี้มีสังขาร ซ้อนสังขารอยู่
สังขารที่จิตปรุงการรับรู้ว่ามีบ้าน 1
สังขารที่เรียกว่าบ้าน 1


จะเรียกว่าสังขารซ้อนสังขารอยู่ก็น่าจะได้นะคะ
คือสังขารขันธ์ ถูกซ้อนและครอบไปด้วยสังขารในอวิชชา


จะอุปมาอย่างนั้นก็น่าจะได้

แต่มิใช่จิตรับรู้โดยตาแล้วปรุงสังขารขึ้น
แต่จิตถูกปรุงโดยสังขารที่ถูกเหตุปัจจัยคือสัญญา
หรือความจำได้หมายรู้ที่เคยเห็นภาพบ้านมาก่อน
จิตจึงถูกปรุงแต่งโดยสังขารให้รับรู้ตามศัพท์บัญญัติทางโลกว่า
ที่เห็นนี่คือ”บ้าน” นั่นเอง


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 1:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คงไม่งงใช่มั้ยคะ งั้นอธิบายต่อ.... ตื่นเต้น

มนุษย์เรามีร่างกาย (รูป) เมื่อมีอารมณ์มากระทบอยาตนะ
ก็เกิดการรับรู้ (วิญญาณ)
เมื่อรับรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร
ก็เกิดความรู้สึกชอบ ไม่ชอบหรือเฉยๆ (เวทนา)

ปรากฏการณ์ที่ได้รับมานี้จะถูกเก็บไว้ในความทรงจำ
เป็นความสามารถที่จะแสดงตนออกมา
เพื่อเกี่ยวโยงปรากฏการณ์หลายๆครั้ง
ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร (สัญญา)

การรับรู้ ความรู้สึก และความทรงจำทั้งสามอย่างนี้
ถูก “สังขาร” ซึ่งเป็นอำนาจอย่างหนึ่ง
ทำให้เกิดการเกี่ยวโยงหรือรวมตัวกัน
พร้อมทั้งทำให้เกิดแรงผลักดัน (motivate)ให้มนุษย์กระทำ
อย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารนี้คือ เจตนาหรือกรรมนั่นเอง


มนุษย์เราจึงประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้นเอง
ไม่มีสิ่งอื่นใดที่นอกเหนือออกไปอีก

ขันธ์อย่างแรกเรียกว่า “รูปขันธ์”
ขันธ์ ๔ อย่างหลังรวมเรียกว่า “นามขันธ์” เป็นส่วนที่ไม่มีรูปร่าง

กล่าวโดยย่อคือ

มนุษย์ประกอบด้วย “รูปกับนาม”
กระบวนการของนามคือ การเกิด ดับของเวทนา
สัญญา สังขาร และวิญญาณ
บางครั้งเรียกว่า “จิต” หรือ “ใจ”
มนุษย์จึงประกอบด้วยสองส่วนคือ “กาย” กับ “จิต”

ซึ่งก็คือ รูป กับ นามนั่นเอง
กายกับจิตทำงานสัมพันธ์กัน หรืออาศัยกันและกัน

โดยทั่วไปเรามักเข้าใจกันว่า
ขันธ์ ๕ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

แต่ถ้ามองตามลำดับของการเกิดขึ้นจะเป็น
รูป วิญญาณ เวทนา สัญญา และสังขาร


ซึ่งการเกิดขึ้นของขันธ์ ๕ นันเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก

พระพุทธเจ้าทรงแสดงขันธ์ ๕ เพื่อมุ่งให้เห็นว่า
สิ่งที่เรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นต้นนั้น
เมื่อแยกออกไปแล้วจะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนนี้เท่านั้น
ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้

และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้น
แต่ละอย่างก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกัน
ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง


ดังนั้นขันธ์ ๕ แต่ละอย่างนั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน
รวมความว่า หลักขันธ์ ๕ แสดงถึง ความเป็นอนัตตา


ที่ชี้ให้เห็นว่าชีวิตเป็นการประชุมเข้าของส่วนประกอบต่างๆ
หน่วยรวมของส่วนประกอบเหล่านี้ก็ไม่ใช่ตัวตน
ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน

และสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านี้ก็ไม่ใช่ตัวตน
ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน
และสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านี้ก็ไม่มี

เมื่อมองเห็นเช่นนั้นแล้ว
ก็จะถอนความยึดมั่นถือมั่นตัวตนได้
ความเป็นอนัตตานี้จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อเข้าใจกระบวนการขันธ์ ๕
ในวงจร ปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง สาธุ

ไม่รู้ว่าฟังคำอธิบายนี้แล้วจะทำให้เข้าใจในศัพท์บัญญัติ
และกระบวนการเกิดขันธ์ ๕ รึเปล่า
หรือยิ่งทำให้งงมากขึ้นก็ไม่รู้

(จริงๆ แล้วยังมีการแบ่งสังขารเป็น ๔ ความหมายอีกในวิสุทธิมรรค
แต่ตอนนี้เอาแค่นี้ก่อนก็แล้วกันนะคะ.....เดี๋ยวมึน)
ตายแล้ว ช็อค
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 3:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบขอบพระคุณงามๆ กับพี่กุหลาบสีชาด้วยนะครับ
ผมเป็นปลื้มจริงๆ

มึนจริงๆ คับ แต่คิดว่าพอจะทำความเข้าใจได้
อยากจะขอรบกวนถามสอบทวนความเข้าใจดังนี้

1. สังขารนี้ มันมีความคิดของมันเอง สามารถสร้างเจตนาได้เอง หรือว่ามีใครสั่งมัน คุมมันอีกทีหนึ่ง (อาจจะเป็นจิต)

2. ถ้าเราโดนยุงกัดแล้วคัน สังขารจะเกิดเอง
ว่า...ไม่พอใจ ...เป็นทุกข์

จิตทำอะไรสังขารไม่ได้ (จิตสั่งให้หยุดคันไม่ได้ สั่งให้ระงับความไม่พอใจไม่ได้)
จึงกล่าวได้ว่า จิต กับ สังขารที่พูดถึงนี้
เกี่ยวกันอยู่ แต่เป็นอิสระจากกัน?

3. วิธีการมองสังขารที่พูดถึงอยู่นี้ (สังขารขันธ์)
เรากำหนดขอบเขตอยู่แต่ในขันธ์
เรียกว่า ดูแต่สังขาร ที่เกิดในระบบขันธ์ของเรา
ดูแต่สังขารที่เกิดในโลกของผัสสะของเรา
ว่ามีอะไรยังไง แล้วเรียกชื่อเฉพาะว่า สังขารขันธ์

4. ถ้าเรามองจากข้างนอกเข้ามา มองทั้งคน สัตว์ สิ่งของ
มองแบบโลกทั้งโลก (Earth)
เราก็จะพบสังขาร 3 แบบ

4.1 สังขารแบบมีแต่รูปล้วนๆ (หิน กรวด บ้าน รถ)
4.2 สังขารแบบมีแต่นามล้วนๆ (ความคิด ควมเชื่อ ความรัก ความดี)
4.3 สังขารแบบทั้งรูปผสมกับนาม เช่น คนที่มีชีวิต สัตว์มีชีวิต ความเจ้บปวดจากบาดแผล คันจากยุงกัด
เรียกทั้ง 3 กลุ่มนี้เรียกรวมกันว่า .....สังขารในไตรลักษณ์ ?

ผมเข้าใจถูกไหมคับ
กราบขอบพระคุณงามๆ อีกทีนึงนะครับ ที่สละเวลาและความเพียรให้ผม

สาธุ สาธุ สาธุ

(คุยแถวนี้ เงียบสงบดีนะคับ สัปปายะดีจริงๆ)

ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 10:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยินดีอย่างยิ่งค่ะคุณน้อง
ขอบคุณคณน้องเช่นกันนะคะ
ที่ทำให้พี่ก็ได้มีโอกาสทบทวนประมวล
ความรู้ความเข้าใจของตนเองในเรื่องนี้ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน

อย่างไรก็ตาม หากมีท่านผู้รู้ได้เข้ามาอ่าน
และพบว่ายังมีความเข้าใจในส่วนใดที่ไม่ถูกต้อง
หรือผิดถูกประการใด
กุหลาบสีชายินดีน้อมรับคำชี้แนะเสมอนะคะ

อ้างอิงจาก:
1.สังขารนี้ มันมีความคิดของมันเอง สามารถสร้างเจตนาได้เอง หรือว่ามีใครสั่งมัน คุมมันอีกทีหนึ่ง (อาจจะเป็นจิต)


สังขารธรรม ไม่ว่าจะกล่าวถึงสังขารประเภทใด
ที่เกิดขึ้นทางนามธรรมและรูปธรรม
จะเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์แบ่งแยก

ก็ล้วนเป็นสภาพธรรม ที่อาศัยเหตุปัจจัยปรุงแต่งจึงสามารถเกิดขึ้นได้
ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยก็ไม่เกิด
เหตุปัจจัยนั้นอาจเกิดจากเหตุปัจจัยภายใน (ขันธ์๕)
และเหตุปัจจัยภายนอกซึ่งสภาพแวดล้อมที่มีทีเป็นของโลก ประกอบกัน

อ้างอิงจาก:
2. ถ้าเราโดนยุงกัดแล้วคัน สังขารจะเกิดเอง
ว่า...ไม่พอใจ ...เป็นทุกข์


ลองพิจารณาลำดับการเกิดสังขาร
ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ต่อไปนี้

มีเจ้ายุงตัวหนึ่งซึ่งเราเห็นว่ามาเกาะที่ผิวหนังของเรา
แล้วกัดดูดเลือดของเรา
อาการนี้เรารับรู้ได้ด้วยอายตนะที่ตาเห็นรูป
หรือถึงแม้ไม่เห็นตัวมัน
ตัวเราก็นับเป็นรูป มีเลือดเนื้อ อันประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔
ที่ถูกกระทำโดยยุง จึงรับรู้ด้วยผัสสะว่าตอนนี้มันเจ็บๆ คันที่ผิวหนัง
เกิดเวทนา ระลึกได้ว่าด้วยสัญญาว่าอาการแบบนี้คือถูกยุงกัด

ยิ่งถ้าเห็นตัวกำลังกัด สัญญาก็ยิ่งมาเร็วและแม่นยำ
เหตุปัจจัยเหล่านี้ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ในจิตคือสังขาร

รูป วิญญาณ เวทนา สัญญา และสังขาร

อ้างอิงจาก:
จิตทำอะไรสังขารไม่ได้
(จิตสั่งให้หยุดคันไม่ได้ สั่งให้ระงับความไม่พอใจไม่ได้)
จึงกล่าวได้ว่า จิต กับ สังขารที่พูดถึงนี้
เกี่ยวกันอยู่ แต่เป็นอิสระจากกัน?


จิต (citta /conciousness) เป็นธาตุรู้
เป็นนามธรรมที่เกิดดับอย่างรวดเร็วตลอดเวลาเป็นกระแสที่สืบทอด
ส่งต่อซึ่งกันละกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

แต่จิตเมื่อไปตั้งอยู่ในอารมณ์ใดก็รู้อารมณ์นั้น
เมื่อเกิดสังขารอันเป็นอารมณ์ของจิตที่เกิดจากเหตุปัจจัยต่างๆ
รับรู้ยุงกัด จิตสั่งให้หยุดคันไม่ได้

เพราะรับรู้ไปแล้วและเกิดอาการรู้สึกไปแล้ว
แต่จิตอีกดวงที่เกิดขึ้นตามกันมาอย่างต่อเนื่องรวดเร็วนั้น
อาจทำให้เกิดสังขารปรุงแต่งให้จิตเกิดความพอใจ หรือไม่พอใจก็ได้

ขึ้นอยู่กับว่า จิตซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รู้
จะถูกฝึกให้ดูจิตจนรู้เท่าทันเวทนา และเหตุปัจจัยที่เกิดเวทนา
และดูมันอยู่อย่างเฉย (ไม่เกิดทั้งความพอใจ และไม่พอใจ) ได้หรือไม่

เพราะแม้เวทนาที่เกิดขึ้นก็เปลี่ยนแปลงได้
อาการเจ็บๆ คันอยู่ แล้วก็หายไป มีเกิด ดับ

ฉะนั้นแม้จิตกับสังขารจะเกาะเกี่ยวกันอยู่
เพราะกายและใจสัมพันธ์กัน
แต่ก็อาจเป็นอิสระจากกันได้จากการฝึกจิต
ให้เกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง
จิตจึงเป็นอิสระพ้นภาวะจากการครอบงำของกิเลสได้

อ้างอิงจาก:
3. วิธีการมองสังขารที่พูดถึงอยู่นี้ (สังขารขันธ์)
เรากำหนดขอบเขตอยู่แต่ในขันธ์
เรียกว่า ดูแต่สังขาร ที่เกิดในระบบขันธ์ของเรา
ดูแต่สังขารที่เกิดในโลกของผัสสะของเรา
ว่ามีอะไรยังไง แล้วเรียกชื่อเฉพาะว่า สังขารขันธ์


เป็นเช่นนั้นครับ

อ้างอิงจาก:
4. ถ้าเรามองจากข้างนอกเข้ามา มองทั้งคน สัตว์ สิ่งของ
มองแบบโลกทั้งโลก (Earth)
เราก็จะพบสังขาร 3 แบบ

4.1 สังขารแบบมีแต่รูปล้วนๆ (หิน กรวด บ้าน รถ)
4.2 สังขารแบบมีแต่นามล้วนๆ (ความคิด ควมเชื่อ ความรัก ความดี)
4.3 สังขารแบบทั้งรูปผสมกับนาม เช่น คนที่มีชีวิต สัตว์มีชีวิต ความเจ้บปวดจากบาดแผล คันจากยุงกัด
เรียกทั้ง 3 กลุ่มนี้เรียกรวมกันว่า .....สังขารในไตรลักษณ์


แม่นแล้วค่ะคุณน้อง สู้ สู้

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 10:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองอ่านข้อความต่อไปนี้ดูนะคะ
อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มหนึ่ง
ซึ่งพี่เชื่อว่าเมื่อคุณน้องได้อานแล้วจะทำให้เข้าใจเรื่องนี้แจ่มชัดขึ้น
(ในทางปริยัติ)

"พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้โลกตามความเป็นจริง่ว่า

โลกที่มีอยู่นี้ ที่เราเห็นเป็นโลกมนุษย์หรือเป็นจักรวาลที่ใหญ่โตนั้น
แท้จริงก็เป็นเพียงสภาพรรมต่างๆ ที่ปรากฏให้รู้ได้ ๖ ช่องทาง

คือสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาก็อย่างหนึ่ง
สภาพธรรมที่ปรากฏทางหูก็อย่างหนึ่ง
สภาพธรรมที่ปรากฏทางลิ้นอย่างหนึ่ง
สภาพธรรมที่ปรากฏทางกายก็อย่างหนึ่ง
สภาพธรรมที่ปรากฏทางใจก็อย่างหนึ่ง

ฉะนั้นจึงมีโลกที่ปรากฏต่างกันเพียง โลก

การที่จะรู้แจ้งโลกจริงๆนั้น
คือรู้สภาพธรรมแต่ละอย่างทั้ง ๖
โดยไม่สับสนปะปนกันและไม่รวมกันด้วย
"


อันนี้ยกตัวอย่างเอง
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นบนพื้นฐานของหลักธรรมดังกล่าว

ขณะที่เห็นเป็นตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ที่ได้อ่านอยู่นี้
ก็เพราะสภาพธรรมหลายๆอย่าง
เข้ามารวมกัน เอาทางตาที่เห็นแสงและสี
เอาทางกายที่กระทบสัมผัสความเย็นร้อนอ่อนแข็ง
ของแป้น key board
รวมกับความจำได้หมายรู้
ในขอบเขตรูปพรรณสัณฐาณของเจ้าคอมพิวเตอร์
จึงทำให้รู้ว่าเจ้าสิ่งนี้จะใช้ประโยชน์อย่างไร เป็นต้น

สาธุ สาธุ สาธุ

เมื่อเข้าใจในปริยัติระดับนึง ก็ต้องเร่งปฏิบัตินะคะ...จะได้แจ้งจริง

พี่เองก็ทำอยู่แต่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะแจ้งเหมือนกัน
ตามดูรู้ทันจิตตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่พัก เพียร..ใช่มั้ยคะ ขำ ยิ้มเห็นฟัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 10:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบขอบพระคุณงามๆ และกับยิ้มหวานๆแด่คุณพี่ด้วยนะครับ
ขออนุโมทนาบุญด้วยครับผม
สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ต.ค.2008, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โปรดติดตามตอนต่อไปอีกแล้ว สู้ สู้

ธรรมะสวัสดีจ้า ท่านกุหลาบสีชา สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง