Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 •• โพธิญาณพฤกษา : ต้นประดู่ลาย (ต้นอสนะ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2007, 3:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โพธิญาณพฤกษา
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ประทับตรัสรู้


Image

ต้นประดู่ลาย (ต้นอสนะ)

ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ติสสพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 20 พระนามว่า พระติสสพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ครึ่งเดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้ประดู่ลาย

ต้นประดู่ลายหรือต้นประดู่แขก ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นอสนะ” ชาวอินเดียเรียกว่า “ลิสโซ” และชาวฮินดูเรียกว่า “สิสสู” ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้ากลับจากเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโทธนะ พระราชบิดา แล้วก็เสด็จพาพระอานนท์ พระราหุล พร้อมทั้งพระภิกษุสาวกบริวาร สู่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ประทับยังสีสปาวัน คือ ป่าประดู่แขกหรือประดู่ลาย


ต้นประดู่ลายหรือต้นประดู่แขก เป็นพันธุ์ไม้อยู่ในกลุ่มพวกไม้พยุง ไม้ชิงชันของไทย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia sissoo Roxb. จัดอยู่ในวงศ์ Leguminosae (วงศ์พืชในตระกูลฝักถั่ว ซึ่งมีมากมายหลายร้อยชนิด) ต้นประดู่ในวงศ์นี้ที่รู้จักคุ้นเคยกันดีในบ้านเรา ได้แก่

ประดู่บ้าน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus indicus Willd. ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม กิ่งมักทอดย้อย เปลือกสีเทา มีน้ำยางน้อย ปลูกเป็นไม้ให้ร่มตามถนน

ประดู่ป่า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus macrocarpus Kurz ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม กิ่งชูขึ้นเล็กน้อย เปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีน้ำยางมาก ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้สีแดง

“ประดู่แขก” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia sissoo Roxb. เปลือกสีเทา ดอกสีเหลืองอ่อนๆ

ประดู่ชิงชัน มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia oliveri Gamble มีเนื้อไม้แข็ง แก่นสีแดงเข้มถึงม่วงแก่

ประดู่แดง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phyllocarpus septentrionalis Donn.Smith เปลือกสีน้ำตาลดำ ดอกสีแดง

ประดู่ลาย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Dalbergia errans Craib ดอกสีม่วงอ่อน

Image

Image

Image

ประดู่ลายหรือประดู่แขก เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูงราว 10-25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทา แก่นสีน้ำตาล และมีริ้วสีดำแซม เรือนยอดเป็นพุ่มใหญ่โปร่ง ใบออกเป็นช่อหนึ่งๆ มีใบย่อย 3-5 ใบ ใบย่อยรูปมน-ป้อม หรือมนแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม ใบอ่อนมีขนนุ่ม แต่พอแก่ขนจะหลุดร่วงไป ดอกสีเหลืองอ่อนๆ ปนขาว ออกรวมกันเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบตามกิ่ง เมื่อออกดอกใบจะร่วงหมด เกสรผู้มี 9 อัน รังไข่รูปยาวรีๆ และจะยาวกว่าหลอดท่อรังไข่ ฝักรูปบันทัดแคบๆ ปลายฝักแหลม แต่ละฝักมีเมล็ด 1-3 เมล็ด

ประดู่ลายหรือประดู่แขกนี้ เป็นพันธุ์ไม้ดั้งเดิมของประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศแถบหิมาลัย นิยมปลูกกันแพร่หลายทั่วไป ในประเทศไทยเท่าที่ทราบได้มีการนำเข้ามาปลูกไว้ที่บริเวณที่ทำการสำนักงานป่าไม้เขตลำปาง อ.เมือง จ.ลำปาง, ที่สวนรุกขชาติมวกเหล็ก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ทั้งสองแห่งทราบว่าสามารถให้เมล็ดพันธุ์สำหรับที่จะนำไปเพาะขยายได้แล้ว สำหรับที่สวนพฤกษศาสตร์พุทธมณฑล จ.นครปฐม ทราบว่าได้เตรียมกล้าไม้ประดู่ไว้ปลูกบริเวณองค์พระในพุทธมณฑลเช่นกัน

เกี่ยวกับไม้ประดู่นี้ ในบ้านเราที่รู้จักกันแพร่หลายกัน คือ “ต้นประดู่ป่า” ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus macrocarpus Kurz กับ “ต้นประดู่บ้าน, ต้นประดู่อินเดีย หรือต้นประดู่อังสนา” ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus indicus Willd. ซึ่งอยู่คนละสกุลกับ “ต้นประดู่ลายหรือต้นประดู่แขก” อันเป็นโพธิญาณพฤกษาของพระติสสพุทธเจ้า

บางท่านให้ความเห็นว่า พระพุทธเจ้าน่าจะเสด็จประทับในป่าประดู่บ้านหรือประดู่อินเดียมากกว่า เพราะมีร่มเงาดีและชื่อก็บอกว่า India อยู่แล้ว แต่ปรากฏว่า ประดู่บ้าน, ประดู่อินเดีย หรือประดู่อังสนานี้ กลับเป็นไม้พื้นเดิมของมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ชาวมาเลเซียเรียกว่า ไม้สะโน แต่อินเดียไม่ปรากฏว่ามีชื่อพื้นเมืองเรียกไม้ชนิดนี้


Image

สำหรับประดู่ป่านั้น ก็เป็นไม้ถิ่นเดิมของพม่า และแถบภาคตะวันออกของพม่าไปตลอดคาบสมุทรอินโดจีน ชาวพม่าเรียกว่าประดู่ (Padauk) และก็ไม่ปรากฏว่ามีชื่อพื้นเมืองของอินเดียเรียกเช่นกัน ฉะนั้น เมื่อสังเกตจากชื่อพื้นเมืองประดู่ลายหรือประดู่แขกที่ชาวอินเดียเรียกแล้ว จึงน่าสัณนิษฐานว่าพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสาวกบริวารน่าจะเข้าพักในป่าประดู่ลายมากกว่า

ประโยชน์ของประดู่มีมากมาย ได้แก่ ใช้ปลูกเป็นไม้ร่มเงา ไม้ริมทาง, เนื้อไม้ใช้ทำสิ่งก่อสร้าง และเครื่องเรือนต่างๆ ทำเครื่องดนตรี เช่น ระนาด, เปลือกให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง และแก่นให้สีแดงคล้ำสำหรับย้อมผ้า

สำหรับสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรนั้น ก็มีมากเช่นเดียวกันคือ รากใช้แก้ไข้ บำรุงโลหิต คุมธาตุ แก้เสมหะ แก่นใช้บำรุงโลหิต แก้พิษเบื่อเมา แก้คุดทะราด แก้ผื่นคัน แก้ปัสสาวะพิการ แก้กษัย, เปลือกใช้สมานบาดแผล แก้ท้องเสียใบ ใช้พอกแผล พอกฝีให้สุกเร็ว แก้ผดผื่นคัน, ยางแก้โรคท้องเสีย โรคปากเปื่อย ปากแห้งแตกระแหง

ปัจจุบัน “ต้นประดู่ป่า” เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดชลบุรี และ “ประดู่บ้าน” เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดภูเก็ต

......................................................

สาธุ รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
(1) ผู้จัดการออนไลน์ 27 กันยายน 2547 16:00 น.
(2) ต้นประดู่ลาย http://www.dnp.go.th/

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=17&t=19547
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 11:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2020, 12:52 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง