Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จิตป่วย รู้..บำบัดก่อนสาย อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2008, 10:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในความเจ็บป่วยทางจิตที่มีการกล่าวกัน

การป่วยทางจิตเวชค่อนข้างกว้างมีหลาย โรคด้วยกันไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อย ซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ ฯลฯ พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์ จิตแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา

หัวหน้าโครงการให้การศึกษาแก่สาธารณชนเครือข่ายและครอบครัวผู้ป่วยจิตเวชให้ความรู้พร้อมเพิ่มเติมว่า

โรคทางจิตหากโฟกัสเข้ามาจะย่อเข้ามาภายใต้ร่มของจิตเวช ซึ่งจิตของคนเรามีหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การรับรู้ความ รู้สึก
ขณะที่สภาพสังคมโลกาภิวัตน์การมีข้อมูลมาก บริโภคมาก

แต่ เกราะป้องกัน มีอยู่น้อย หากดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเหมาะพอเพียงก็จะไม่เกิดทุกข์ การพัฒนาทางด้านจิตใจจะช่วยให้มีเกราะป้องกันที่ดีดำเนินชีวิตได้เหมาะสมมี ความสุข

ความเครียดในการดำเนินชีวิต

สภาพ เศรษฐกิจ สังคมเวลานี้อาจไม่ใช่สาเหตุของการเจ็บป่วยทางจิตเสียทีเดียว สาเหตุที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตมีด้วยกันหลายปัจจัยประกอบกัน สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนเป็นเรื่องของกรรมพันธุ์ที่มีมาตั้งแต่กำเนิด

ซึ่งหากครอบครัวใดมีโรคเหล่านี้อยู่

ใน ตัวเองก็จะถ่ายทอดทำให้กลุ่มคนเหล่านั้นมีความเสี่ยงมากกว่า และยิ่งเมื่อเจอะเจอกับปัญหาความเครียดที่ไปกระตุ้น สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาก็จะทำให้พัฒนาเกิดเป็นอาการของโรคจิตเวชได้เร็ว ขึ้น เป็นต้น
สถานการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจึงเป็นตัวกระตุ้นให้โรคปรากฏ

อีก ทั้งสภาพสังคมที่อยู่กันอย่างหลวม ๆ ไม่แน่นแฟ้น เหมือนเดิมก็อาจทำให้การดูแล รักษาไม่เข้มแข็ง ทำให้ผู้ที่ป่วย ไม่สามารถฟื้นคืนมาได้ดีเท่าที่ควร สิ่งที่เป็นอยู่ในสังคม

ขณะที่ทุกคนได้รับผลกระทบแต่ก็ใช่ว่าจะมีอาการป่วยทางจิต

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นเร้ามากกว่าซึ่งหากไปกระทบจุดบอดที่ซ่อนอยู่ก็จะทำให้โรคที่มีอยู่ปรากฏขึ้นมา

ในร่างกายของเราทุก อวัยวะมีสิทธิที่จะชำรุดทรุดโทรมและหากอวัยวะไหนป่วยก็จะแสดงอาการเหล่านั้นออกมา เช่นเดียวกับจิตใจที่ป่วย

อย่าง ระบบหัวใจป่วยก็จะมี ความบกพร่องในการสูบฉีด โลหิต สมองที่ควบคุมความ คิด ความรู้สึกพฤติกรรมป่วย พฤติกรรมความคิดของคนคน นั้นก็จะแสดงอาการ
หากมีการยอมรับการเจ็บป่วยและการป่วยเหล่านั้น

ได้ รับการรักษาที่ทันท่วงทีก็จะไม่เกิดความยากลำบากในการรักษา แต่ที่ผ่านมายังมีความเข้าใจผิดกันในเรื่องนี้และอยู่บนความเชื่อเดิม ๆ

ย้ำถึงการเจ็บทางจิตว่า เป็นสิ่งที่น่าอาย ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามที่เริ่มแสดง อาการเจ็บป่วยก็จะพยายามหนีการรักษา

อารมณ์ความคิดของคนเรามีผลต่อพฤติกรรม

เมื่อ มีความสุขก็จะทำอะไรที่สร้างสรรค์ แต่ถ้าเศร้าเซ็งก็จะแสดง ออกในทางตรงข้าม คนที่อยู่ใกล้ชิดจะสังเกตได้ถึงพฤติกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไป

ซึ่งถ้าพฤติกรรมเหล่านั้นเพิ่มมากก็อาจเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่ทำ ให้เห็นถึงความผิดปกติ เป็นภาวะอย่างหนึ่งทางจิตใจ
แต่การจะกลับไปสู่ที่เดิมได้เป็นเรื่องสำคัญ

ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลเหมือนคนไข้ ทั่วไป มีผู้ป่วยไม่น้อยที่สามารถ ควบคุมตนเองได้

แต่ก็มีอีกส่วนที่มีอาการคุมไม่ไหว

มี อาการหลุดให้คนใกล้ชิดสัมผัสและอย่างที่อธิบายโรคทางจิตไม่ได้หมายความว่าจะ ต้องคลุ้มคลั่ง พูดไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อเขาอยู่ในอาการนั้นความคิดของเขาจะแปลผลผิดไป

กำลังใจควบคู่กับความเข้าใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ที่ จะช่วยคืนคุณค่าเกียรติยศให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ให้กลับมายืนอยู่ที่เดิม อยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ การเปิดใจเรียนรู้ ไม่ติดอยู่ในอคติอยู่ในความโมเมขาดความเข้าใจจะไม่ทำให้สูญเสียทรัพยากร บุคคลที่มีคุณค่าไป

การดูแลสุขภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจจึงต้องเคียงคู่กัน

ซึ่ง โดยพื้นฐานควรพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดว้าวุ่น รวมถึงอาจฝึกความ คิดให้คิดในสิ่งที่ดีทำดี แต่เมื่อมีความผิดปกติ เกิดขึ้นก็ควรได้รับการตรวจรักษา ต้องยอมรับมีความรู้เข้าใจเพื่อทันการแก้ไข

อีกทั้งควรเป็นกำลังใจให้กับผู้เจ็บป่วยได้ฟื้นคืนกลับมาเป็นคนเดิม มีความสุขกับครอบครัวดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข.
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 2:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โมทนาสาธุด้วย น้องฌาณ ที่นำเรื่องนี้มาเผยแพร่

แต่ส่วนใหญ่ ที่ทราบมาจากผู้รู้จัก ผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัว อาจมีบ้างที่รู้ตัว
กรณีไม่รุนแรง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้อยู่ใกล้ชิด หรือญาติพี่น้อง ที่จะต้องคอยสังเกตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของเขา เพื่อที่จะได้รีบเยียวยา ต่อไป

ธรรมะสวัสดีค่ะ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 26 ก.ย. 2008, 10:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ร้องไห้ ร้องไห้
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ย. 2008, 5:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืมม์ ร้องไห้ อายหน้าแดง ร้องไห้ ซึ้ง
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 05 ต.ค.2008, 10:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ ผมตามมาแล้วนะพี่ๆ สู้ สู้ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง