Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 มหายานไปใช้สันสกฤตได้อย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Passa
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 08 ก.ย. 2008
ตอบ: 3
ที่อยู่ (จังหวัด): นนทบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 6:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ได้อ่านมาแว่ว ๆ ครับว่าพระพุทธองค์นั้นทรงบัญญัติห้ามพระภิกษุเขียนคัมภีร์เป็นภาษาสันสกฤต ต้องเขียนเป็นภาษาบาลีเท่านั้น เพื่อให้ชาวบ้านตาดำ ๆ เข้าใจ อยากจะสอบถามหน่อยครับว่านิกายมหายานไปใช้ภาษาสันสกฤตได้อย่างไร มีใครทราบบ้างไหมครับว่าเกิดอะไรขึ้นจึงใช้ภาษาสันสกฤตซะงั้น เหลือแต่เถรวาทไม่กี่ประเทศในโลกที่ยังใช้บาลีอยู่ (ก็เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง) เนื่องจากผมสังเกตเห็นจะมีการใช้ Dharma, Dhamma / Nirvana, Nibbhana

ข้อมูลผิดพลาดประการฉะไหนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ป.ล. ขอข้อบัญญัติในพระไตรปิฎกเรื่องภาษาสันสกฤตด้วยขอรับ (น่าจะอยู่ในอภิธรรมปิฎก)

ขอบพระคุณครับ สาธุ
 

_________________
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เมธี
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 02 มี.ค. 2008
ตอบ: 222

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 7:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพิ่งเคยได้ยินน่ะครับ รอฟังผู้รู้ดีกว่า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนพระไตรปิฏกเกิด พระพุทธเจ้าดับไปแล้ว 3 เดือน
ในที่นั้น เป้นการประชุมสงฆ์โดย
ใครมีอะไรก็พูดในที่ประชุม
เมื่อไม่มีใครค้าน ก็จะท่องสวดจดจำไปพร้อมๆกัน
(ไม่มีการบันทึก)

ดังนั้นที่ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าห้ามใช้ภาษาสันสกฤต จึงไม่มีมูลครับผม


ส่วนการกำเนิดภาษาสันสกฟตในพระไตรปิฏก
ลองอ่านการสังคายนาครั้งที่ 4
และค้นเพิ่มเติมเอา เรื่องการสังคายนา



================
การสังคายนาพระไตรปิฎก

พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว


ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนามี 9 ครั้ง

การสังคายนาครั้งที่ 1
กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ
การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก


การสังคายนาครั้งที่ 2
กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พร้อมพระผู้ใหญ่อีก 8 รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ 8 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก

การสังคายนาครั้งที่ 3
กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 235 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 9 เดือน จึงแล้วเสร็จ

การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ
พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา


การสังคายนาครั้งที่ 4
กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร
แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ ีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน

การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท


ref - http://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/tripitok.htm
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลับ
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 05 มิ.ย. 2008
ตอบ: 24
ที่อยู่ (จังหวัด): ยโสธร

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 8:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 9:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 11:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อมูลเท่าที่ผมพอทราบ

เกี่ยวกับ การสังคายนาพระไตรปิฎกสี่ครั้งแรก


ลางของการเกิดการแตกศาสนา มันเริ่มตั้งแต่สังคายนาธรรมวินัยครั้งแรกภายหลังพุทธปรินิพพาน3เดือน ที่พระปุราณะไม่ยอมรับเรื่อง วัตถุ8ประการ แต่แนวคิดใหม่นี้ก็ยังไม่สามารถเป็นแกนนำของพระศาสนาคือ ชาวพุทธส่วนใหญ่ในอินเดีย ณ เวลานั้นยังไม่ยอมรับแนวคิดใหม่นี้

ต่อมาก็มายัง การสังคายนาธรรมวินัยครั้งที่สอง(พศ 100) ก็มีเรื่องกลุ่มภิกษุวัชชีประพฤตินอกพระธรรมวินัย และกรณีวัตถุ10ประการ ที่พระสัพพกามีนำหลักธรรมวินัยดั้งเดิม มาแสดงคัดค้านกลุ่มภิกษุวัชชีเหล่านั้น. ตรงจุดนี้ แนวคิดใหม่ก็ยังไม่ได้รับการเห็นด้วยจากชาวพุทธส่วนใหญ่ในอินเดียในเวลานั้น

การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สาม(พศ 236 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช) เป็นการสังคายนาโดยฝ่ายเถรวาทฝ่ายเดียว เพื่อชำระความสับสนในสมัยนั้น.......

จึงตรงกับที่มีผู้กล่าวสรุปไว้ว่า

“นิกายที่ได้รับความนับถือและมีอิทธิพลมากที่สุดในระยะ ๕ ทศวรรษแรกได้แก่ เถรวาท “

http://ecurriculum.mv.ac.th/ebhuddismmusiem/religion/dhammathai/chapter05_2.php.htm


คราวนี้

ก็ มาถึงจุดสำคัญ
ก็คือ การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สี่ (พศ 643 -693)ในประเทศอินเดีย ที่พระเจ้ากษินกะเป็นองค์อุปถัมภ์ เป็นการสังคายนาโดยพระสงฆ์ฝ่ายมหายานแล้ว......
ซึ่งแสดงว่า ณ เวลานี้ ชาวพุทธส่วนใหญ่ในอินเดียหันไปศรัทธามหายานกันแล้ว

http://ecurriculum.mv.ac.th/ebhuddismmusiem/religion/dhammathai/chapter05_3.php.htm


และจาก

“ในระหว่างสมัยที่พวกกุษาณะกำลังแผ่อิทธิพลอยู่ในอินเดียภาคเหนือ และพวกอันธระกำลังเสวยอำนาจ ณ อินเดียภาคทักษิณ (ใต้) ราวพุทธศตวรรษที่ ๖-๗ ในสมัยดังกล่าว ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในพุทธศาสนา นั้นคือการถือกำเนิดของลัทธินิกายใหม่ นิกายนี้เรียกตัวเองว่า "มหายาน"….”
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 11:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมชอบคำกล่าวนี้ครับ


ถ้าไม่มีมหายาน ก็เป็นที่น่ากลัวว่าพระพุทธศาสนาจะสูญสิ้นไปโดยเร็ว ผู้นับถือจะลดน้อยไปทุกที และจะกลายเป็นศาสนาเล็กๆ ไม่แพร่หลายกว้างขวาง

ถ้าไม่มีเถรวาท ก็น่ากลัวว่าพระพุทธศาสนาจะถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ทำให้เตลิดเปิดเปิงไป โดยไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้ง ไม่มีผู้รักษาหลักการที่แท้จริงเอาไว้

เป็นอันว่าทั้งสองนิกายทำหน้าที่อย่างดีอยู่คนละทาง

มหายานสร้างความไพศาล เถรวาทสร้างความมั่นคง


หลวง วิจิตร วาทการ





เถรวาทเน้นการรักษาหลักการดั้งเดิมของคำสอนพระพุทธเจ้าศากยมุนี ซึ่งทำให้สามารถรักษาพระธรรมวินัยได้ใกล้เคียงครั้งพุทธกาลมากที่สุด.....แต่ก็ทำให้การเผยแผ่ศาสนาไปยังกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างจากหลักการดั้งเดิมของเถรวาทเป็นไปได้ช้า(เมื่อเทียบกับทางมหายาน)

มหายานมีจุดเด่นตรงประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมความเชื่อต่างๆได้ง่ายกว่า ทำให้เผยแผ่ได้ง่ายกว่า..... แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีโอกาสจะคลาดเคลื่อนออกจากหลักการดั้งเดิมของคำสอนพระพุทธเจ้าศากยมุนีได้ง่ายกว่าด้วย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 7:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุคับคุณตรงประเด็น
สาธุ สาธุ สาธุ

เคยได้ยินหลวงปู่เทสก์กล่าว
ผมจำคำเป๊ะๆไม่ได้นะ

เรื่องแก่น กับกระพี้ ของต้นไม้
ท่านพูดเปรียบเทียบ เรื่องพิธีกรรมทางศาสนา VS แก่นคำสอนศาสนา
กระพี้มันห่อแก่นอยู่ แก่นจึงอยู่ได้
และเพราะมีแก่น กระพี้ถึงอยู่ได้


ชวนให้นึกคำท่านพุทธทาสขึ้นมาอีกว่า "ธรรมะคือหน้าที่"
สิ่งต่างๆล้วนมีหน้าที่ตามธรรมชาติของมัน
หินวางอยู่เฉยๆ มันก็มีหน้าที่ของมัน

แล้วก็ชวนให้นึกถึงเพลงการ์ตูน ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน "Colours of the wind"
ที่ว่า " we are all connected to each other
In a circle, of a hoop that never ends"

ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 27 ก.ย. 2008, 3:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพราะอิทธิพลของภาษาที่นิยมใช้ในแต่ละภูมิภาค
และแนวคิดทางปรัชญาของอินเดีย
ที่อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ยังคงอยู่อย่างแข็งแกร่ง
ในช่วงของการสังคายนาครั้งที่ ๔ นะคะ...


พิจารณาจากข้อมูลที่ยกมา....ดังนี้

การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป

ก็คือ การสังคายนาครั้งที่ ที่ ๒ และที่ ๓
ซึ่งทำในอินเดียอันเป็นของฝ่ายเถรวาท
กับอีกครั้งในอินเดียภาคเหนือ
ซึ่งพระเจ้ากนิษกะทรงอุปถัมภ์
อันเป็นการสังคายนาผสมรวมเป็น ๔ ครั้ง

แต่ฝ่ายเถรวาทมิได้รับรู้และรับรองเข้าอันดับในการสังคายนาครั้งที่ ๔ นี้
เพราะเป็นการสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท
ซึ่งแยกออกไปจากเถรวาททำผสมกับฝ่ายมหายาน
เพราะการสืบสายศาสนาแยกกันออกคนละทาง
ทั้งการสืบต่อ สั่งสอน อบรม ไม่ติดต่อเกี่ยวข้องกัน
ตลอดจนภาษาที่รองรับคัมภีร์ทางศาสนาก็ใช้ต่างกัน

ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต บางครั้งก็ปนปรากฤต
ส่วนฝ่ายเถรวาทก็ใช้ภาษาบาลี

คือ ของเถรวาทหรือศาสนาพุทธ
แบบที่ไทย พม่า ลังกา เขมร ลาวนับถือใช้ภาษาบาลี

ส่วนของฝ่ายมหายานหรือศาสนาพุทธ
แบบที่ญี่ปุ่นและเกาหลีนับถือใช้ภาษาสันสกฤต

ในสมัยที่ตำราภาษาสันสกฤตสาบสูญ
ก็มีเฉพาะคัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาจีนและภาษาธิเบตเป็นหลัก
แล้วมีผู้แปลภาษาอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง

(คัดลอกบางตอนจาก : การสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐, กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, หน้า ๒๗ และ ๓๐)

สาธุ สาธุ สาธุ

อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเถรวาท
ก็มิได้มีเพียงเถรวาทกลุ่มที่ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์
อย่างที่ยอมรับนับถือกันในไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา

แต่ยังมีเถรวาทสายอื่นๆ ที่ใช้ภาษาปรากฤต และภาษาสันสกฤต
ที่ใช้กันอยู่ในพระพุทธศาสนนา
เช่น สรรวาสตวาทิน มูลสรรวาสติวาทิน มหีสาสกะ
มาหาสางกิหะ ธรรมคุปตะ ฯลฯ

ในส่วนที่เรียกว่ามหายาน ก็มิได้มีเพียงพวกเดียว
แต่มีหลายกลุ่มหลายพวกแยกส่วนกัน
ตามความคิดทางปรัชญาบ้าง ความเชื่อส่วนอื่นๆบ้าง

ลางครั้งก็เรียกว่าฝ่ายเหนือ
เพราะเจริญทางเหนือของอินเดียไปจนถึงจีนถึงมองโกเลีย
ส่วนเถรวาทบาลีมักเรียกกันว่าฝ่ายใต้
ด้วยเหตุที่มาจากทางใต้ของอินเดีย


(คัดลอกบางตอนจาก: บทนำ “โพธิสัตวจรรยา : มรรคาเพื่อมหาชน” โดย ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาบาลีสันสกฤต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า ๑-๒)

สาธุ สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง