Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แด่เธอผู้รู้สึกตัว อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
poivang
บัวตูม
บัวตูม


เข้าร่วม: 18 มิ.ย. 2005
ตอบ: 224

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2006, 11:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แด่เธอผู้รู้สึกตัว
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

ธรรมะคือตัวเรานี่เอง ทุกๆคนคือธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง คนไทย คนจีน หรือชาวตะวันตก ทั้งหมดคือธรรมะ การปฏิบัตินั้นอยู่ที่ตัวเรา และคำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถนำเราไปสู่สภาพของการดับทุกข์อย่างแท้จริง มนุษย์ก็คือธรรมะ ธรรมะก็คือมนุษย์ เมื่อเรารู้ธรรมะเราก็เข้าใจว่าทุกๆสิ่งนั้นมิได้เป็นอย่างที่เราคิด ทุกๆสิ่งคือสมมติ (สิ่งที่ยอมรับตกลงกัน) นี่คือปัญญาที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะประจักษ์แจ้งในคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมนั้นมีอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเราเห็นสิ่งนี้อย่างแท้จริง เราจะอยู่เหนือความเชื่อที่งมงายทั้งหลาย เพราะเรารู้ว่าธรรมะก็คือตัวเรา ตัวเราเท่านั้นที่จะนำชีวิตของเราเองมิใช่ใครอื่น นี้คือจุดเริ่มต้นของความสิ้นสุดแห่งทุกข์


ทุกข์เปรียบเหมือนกับปลิงที่เกาะติดแน่นกับตัวเรา และดูดเลือดของเรา ถ้าเราพยายามดึงมันออก มันก็ยิ่งเกาะแน่นขึ้นและเราก็เจ็บปวดยิ่งขึ้น แต่ถ้าเราฉลาด เราเพียงแต่ใช้น้ำผสมกับใบยาและปูนกินหมาก และบีบน้ำที่ผสมแล้วลงบนตัวปลิง ปลิงมันกลัวแล้วมันจะหลุดของมันไปเอง ดังนั้นเราไม่ต้องไปแกะมันออกหรือไปดึงมัน เพื่อที่จะกำจัดมัน เช่นเดียวกับบุคคลที่ไม่รู้ พยายามจะหยุด โทสะ โมหะ โลภะ เขาเหล่านั้นพยายามต่อสู้และกดมันไว้ แต่สำหรับบุคคลผู้รู้เพียงมีสติเข้าไปดูจิตและเห็นความคิด
เปรียบเหมือนการเปิดไฟฟ้า บุคคลที่ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้า จะพยายามหมุนที่หลอดไฟ หลอดไฟจึงไม่ติด แทนที่จะไปแตะที่สวิตซ์ แต่สำหรับบุคคลผู้ซึ่งรู้เกี่ยวไฟฟ้า จะรู้จักวิธีใช้สวิตซ์ไฟและดวงไฟก็สว่างขึ้น โทสะ โมหะ โลภะ เปรียบเหมือนกับหลอดไฟฟ้า ความคิดเปรียบเหมือนกับสวิตซ์ ความคิดเป็นต้นเหตุของความผิดปกติเหล่านี้ ถ้าเราต้องการขจัดความยุ่งเหยิงผิดปกติเหล่านี้ ให้เรามาจัดการที่ความคิด เมื่อเรามีสติเฝ้าดูความคิดอยู่ โทสะ โมหะ โลภะ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แท้จริงแล้วไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีโลภะ เราแตะสวิสซ์ไฟที่นี่เพื่อให้เกิดความสว่างที่นั่น เราเจริญสติที่นี่เพื่อยังความสิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง


จิตดั้งเดิมของเรานั้นสะอาด สว่าง สงบ สิ่งซึ่งมิได้สะอาด สว่าง สงบนั้น มิใช่จิตเรามันคือกิเลส (ยางเหนียว) เราพยายามที่จะเอาชนะกิเลสนี้ แต่แท้จริงแล้วกิเลสมิได้มีอยู่จริง แล้วเราจะไปชนะมันได้อย่างไร สิ่งที่เราต้องกระทำเพียงอย่างเดียวคือ เราเพียงแต่ดูจิตใจโดยชัดเจน เผชิญหน้ากับความคิดโดยแจ่มชัด เมื่อเราเห็นจิตใจอย่างชัดเจนโมหะก็จะไม่มีอยู่


การเจริญสติ เมื่อเรามีความรู้สึกตัวอยู่ จะไม่มีความหลงเปรียบเหมือนการเทน้ำลงไปในถ้วยแก้ว ขณะที่เราเทน้ำลงไป น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศและเมื่อเราเทน้ำจนเต็มแก้ว อากาศทั้งหมดในถ้วยแก้วก็จะหายไป แต่ถ้าเราเทน้ำออกอากาศก็จะเข้าไปในถ้วยแก้วทันที ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อมีโมหะอยู่สติปัญญาก็ไม่สามารถเข้ามาได้ แต่เมื่อเราปฏิบัติเจริญสติ ทำความรู้สึกที่ตัวของเราเอง ความรู้สึกตัวนี้จะเข้ามาแทนที่โมหะ เมื่อมีสติอยู่โมหะก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้


มรรคคือวิถีแห่งการปฏิบัติอันนำไปสู่ความสิ้นสุดแห่งทุกข์ วิถีแห่งการปฏิบัติคือการรู้สึกตัวเท่าทันความคิด ร่างกายของเราทำงานไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบ แต่จิตใจของเราจะต้องดูความคิด ทุกข์เกิดขึ้น เพราะเราไม่เห็นมัน มันจึงชนะเรา และยังให้เราเป็นทาส


การทำบุญและการรักษาศีล เปรียบประดุจดั่งข้าวเปลือกซึ่งไม่อาจกินได้ แต่ก็เป็นประโยชน์ เพราะเราจะใช้มันสำหรับการเพาะปลูกในปีถัดไป การทำตนเองให้สงบนั้นเปรียบดั่งเช่นข้าวสารที่ยังมิได้หุง และก็ยังคงกินไม่ได้ ความสงบนั้นมีสองอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือความสงบแบบสมถะ (ความจดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งหรือสงบแบบไม่รู้) อย่างที่สองคือความสงบแบบวิปัสสนา (ปัญญาณ เห็นแจ้งรู้จริงสัมผัสได้ ไม่ทุกข์) ในการกระทำสมถภาวนานั้น เธอจะต้องนั่งนิ่งๆหลับตาแล้วดูลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เมื่อลมหายใจละเอียดอ่อนมากเข้าบางครั้งเธอจะไม่รู้สึกถึงลมหายใจนั้น และเธอรู้สึกสงบมาก แต่โทสะ โมหะ โลภะ ไม่สามารถถูกขจัดออกไปเพราะยังคงมีความไม่รู้อยู่ และเธอเองก็ไม่รู้สึกตัวของความคิดของเธอ แต่วิปัสสนาภาวนานั้นสามารถขจัดโทสะ โมหะ โลภะ และความสงบชนิดนี้สามารถมีในที่ทุกหนแห่งและในทุกเวลา ดังนั้นแล้วเราจึงไม่จำเป็นต้องนั่งปิดหูปิดตา ตาของเราสามารถดู หูของเราสามารถได้ยิน แต่เมื่อความคิดเกิดขึ้นเราเห็นมัน ( ตาเห็นสักแต่ว่าเห็น หูได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน จิตไม่เข้าไปปรุงแต่งมัน เป็นต้น ) ความสงบแบบนี้เป็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวทุกคน


ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังป่าแห่งหนึ่ง พร้อมด้วยภิกษุจำนวนหนึ่ง พระองค์ทรงหยิบใบไม้แห้งกำมือหนึ่งขึ้นมา แล้วตรัสถามแก่ภิกษุว่า “ใบไม้ทั้งหมดในป่าและในมือของเราตถาคต เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วอย่างไหนจะมีมากกว่ากัน” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ใบไม้ทั้งหมดในป่าย่อมมีมากกว่าใบไม้ที่อยู่ในมือของพระองค์อย่างเปรียบเทียบกันมิได้พระเจ้าข้า” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “พระธรรมที่ตถาคตรู้นั้นมีมาก เปรียบเหมือนใบไม้ทั้งป่า แต่พระธรรมที่ตถาคตสอนแก่พวกเธอทั้งหลายนั้น เปรียบเหมือนใบไม้ในกำมือเดียว” โปรดเข้าใจความหมายนี้ให้ถูกต้อง พระพุทธเจ้าทรงสอนเฉพาะเรื่องทุกข์ และการดับไปของทุกข์เท่านั้น มิได้มีสิ่งอื่นใด การศึกษาตำรา การบริจาคทาน การรักษาศีล การปฏิบัติสมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ควรจะนำมาที่จุดนี้ (การพ้นทุกข์) มิฉะนั้นแล้วก็เป็นสิ่งที่ไร้ค่า เมื่อเรามาถึงจุดนี้ กิจที่ต้องทำทั้งหมดก็เป็นอันสิ้นสุด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 5:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 11:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 20 ก.ย. 2008, 3:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง