Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ประกาศสงกรานต์ ปี ๒๕๕๑ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
webmaster
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 04 มิ.ย. 2004
ตอบ: 769

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 8:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๑

ปีนี้ วันมหาสงกรานต์ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๑๓ เมษายน
วันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ เวลา ๑๘ นาฬิกา ๒๔ นาที
ปีชวด เทวดาผู้ชาย ธาตุน้ำ สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๓๗๐ ทางจันทรคติ
เป็นปกติมาสวาร ทางสุริยคติ เป็นอธิกสุรทิน
อธิกสุรทิน คือ ปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี ๒๙ วัน
สัมฤทธิศก คือ ปีที่จุลศักราชลงท้ายด้วย ๐ ศูนย์
นางสงกรานต์ ทรงนามว่า ทุงสะเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกทับทิม
อาภรณ์แก้วปัทมราค ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร
พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังครุฑ เป็นพาหนะ

วันที่ ๑๕ เมษายน เวลา ๒๒ นาฬิกา ๕๓ นาที ๒๔ วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ เป็น ๑๓๗๐ ปีนี้ วันพุธเป็นธงชัย วันอังคารเป็นอธิบดี วันอังคารเป็นอุบาทว์ วันพฤหัสบดีเป็นโลกาวินาศ

ปีนี้ วันอาทิตย์เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก ๔๐๐ ห่า ตกในโลกมนุษย์ ๔๐ ห่า
ตกในมหาสมุทร ๘๐ ห่า ตกในป่าหินพานต์ ๑๒๐ ห่า ตกในเขาจักรวาล ๑๖๐ ห่า
นาคให้น้ำ ๔ ตัว เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ ๒ ชื่อวิบัติ ข้าวกล้าในภูมินา
จะได้ผลกึ่ง เสียกึ่ง เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีวาโย (ลม) น้ำน้อย

จากประกาศสงกรานต์ข้างต้น และดูตามคำพยากรณ์โบราณ จะเห็นได้ว่า วันมหาสงกรานต์ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ท่านว่าพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้งอกงามนัก ส่วนวันจันทร์เป็นวันเนา มักจะเกิดความไข้ต่างๆ เกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ วันอังคารเป็นวันเถลิงศก ข้าราชการทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล ส่วนทางล้านนาว่า ถ้าวันสังกรานต์ล่อง (หรือวันมหาสงกรานต์) ตรงกับวันอาทิตย์แล้ว ปีนั้นข้าวหมากเกลือจักแพง คนจักเป็นพยาธิ ข้าศึกจะมีแก่บ้านเมือง หนอนแมลงจักกินพืชไร่ แถมนางสงกรานต์ท่านเสด็จมา “ท่านั่ง” ซึ่งอิริยาบถนี้ เขาก็ว่าจะนำมาซึ่งความเจ็บไข้ ผู้คนล้มตาย และจะเกิดเหตุเภทภัยต่างๆ

อ่านโดยรวมแล้ว ดูท่าว่าจากวันปีใหม่สากลจนถึงปีใหม่แบบไทย คือวันสงกรานต์ปีนี้ มีแต่เรื่องชวนหดหู่ไม่น้อย ส่วนดีมีนิดเดียว และแม้จะไม่ดูคำทำนาย แต่จากสภาพเศรษฐกิจ ตลอดจนดินฟ้าอากาศที่ผ่านมาก็บ่งบอกอนาคตได้อยู่แล้ว ยิ่งมีความเชื่อสมัยก่อนมาตอกย้ำเช่นข้างต้น หลายคนคงแทบหมดหวัง หรือเกิดอาการท้อแท้ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปดูนางทุงสะเทวี นางสงกรานต์ปีหนูนี้ ถ้าอ่านให้ดีจะพบว่า พระนางนั้นนอกจากจะดูไม่ดุแล้ว ยังทรงครุฑ ซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ผู้เป็นหนึ่งในสามมหาเทพของพราหมณ์ และในพระหัตถ์ยังทรงจักรและสังข์ ที่เป็นอาวุธของพระนารายณ์อีกเช่นกัน

ดังนั้น หากจะมองในด้านบวก นางทุงสะเทวีก็เป็นเสมือน “นอมินี” ของพระนารายณ์ ที่ทรงมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองโลก และปราบปรามเหล่ายักษ์อสูรที่คอยมาสร้างความเดือดร้อนแก่มนุษย์ ส่วนภักษาหารที่เป็นผลมะเดื่อนี้ ทางฮินดูถือเป็นไม้มงคล และตามหลักวิทยาศาสตร์ก็เป็นผลไม้ที่มีแคลเซียมสูง สัตว์ต่างๆ จึงชอบกินผลมะเดื่อ อีกทั้งเปลือก ราก และผลของมะเดื่อ ก็มีสรรพคุณทางยา โดยสามารถแก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล สมานแผล ถอนพิษไข้ และเป็นยาระบายอีกด้วย ดังนั้น หากเรามีความเชื่อมั่นว่า “เมืองไทยไม่สิ้นคนดี” พร้อมยึดพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต คือ รู้จัก “พอ” ในการกิน การอยู่ และใช้ชีวิตแล้ว ก็เชื่อว่า เหล่ามารทั้งหลายไม่ว่าจะมาจากระบบทุนนิยม บริโภคนิยม ฯลฯ ก็มิอาจมาทำร้ายเราได้

Image

คำทำนายเกี่ยวกับวันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก ก็มีว่า

๑. ถ้าวันอาทิตย์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเนา ข้าวจะตายฝอย คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ

๒. ถ้าวันจันทร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิงคุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะมีความสุขสำราญ

๓. ถ้าวันอังคาร เป็น วันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง แต่ถ้าวันอังคารเป็น วันเนา ผลหมากรากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็น วันเถลิงศก ข้าราชการทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล

๔. ถ้าวันพุธ เป็น วันมหาสงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็น วันเนา ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็น วันเถลิงศก บรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ

๕. ถ้าวันพฤหัสบดี เป็น วันมหาสงกรานต์ ผู้น้อยจะแพ้ผู้เป็นใหญ่ และเจ้านาย ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเนา ผลไม้จะแพง ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเถลิงศก สมณชีพราหมณ์จะปฏิบัติกรณียกิจอันดีงาม

๖. ถ้าวันศุกร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ พืชพันธุ์ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก ถ้าวันศุกร์เป็น วันเนา พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็น วันเถลิงศก พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก

๗. ถ้าวันเสาร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ถ้าวันเสาร์เป็น วันเนา ข้าวปลาจะแพง ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ถ้าวันเสาร์เป็น วันเถลิงศก บรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู

นอกจากนี้ ยังมีคำพยากรณ์อันเป็นความเชื่อทางล้านนา อีกตำราว่า

ถ้า วันมหาสงกรานต์ ตรงกับ วันอาทิตย์ นางสงกรานต์ชื่อ นางแพงศรี ปีนั้นข้าวจักแพงมากนัก คนทั้งหลายจักเป็นพยาธิ (เป็นโรค) ข้าศึกจักเกิดมีกับบ้านเมือง หนอนแมลงจักลงกินพืชไร่ข้าวนา ฝนตกบ่ทั่วเมือง คนมั่งมีเศรษฐีจักฉิบหาย ไม้ยางเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้ไผ่ คนเกิดวันพุธมีเคราะห์ คนเกิดวันเสาร์มีโชค

หากตรงกับ วันจันทร์ นางสงกรานต์ชื่อ มโนรา ปีนั้นงูจักเกิดมีมาก คนทั้งหลายจักเกิดเป็นพยาธิมากนัก ฝนหัวปีดี หางปีบ่พอดี ข้าวกล้าลางที่ดี ลางที่ก็บ่ดี ไม้กุ่มเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้เดื่อเกลี้ยง คนเกิดวันอังคารมีเคราะห์ คนเกิดวันพุธมีโชค

หากตรงกับ วันอังคาร นางสงกรานต์ชื่อ รากษสเทวี ปีนั้นฝนหัวปีดี กลางปีไม่ดี ปลายปีดีมาก ข้าวไร่ข้าวนาจักเสีย ลูกไม้บ่มีหน่วยหลาย (ได้ผลน้อย) บ้านเมืองจักเกิดกลียุค แมลงมีปีกจักทำร้ายพืชผักข้าวกล้ามากนัก ไม้พิมานเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้อ้อยช้าง คนเกิดวันอาทิตย์มีเคราะห์ คนเกิดวันพฤหัสบดีมีโชค

หากตรงกับ วันพุธ นางสงกรานต์ชื่อ มันทะ ปีนั้นฝนตกบ่ทั่วเมือง หัวปีมีมาก กลางปีน้อย ข้าวในนาจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจะแพง ขุนนางขุนเมืองจะตกต่ำ ไม้สะเดาเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้คราม คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดวันจันทร์และวันเสาร์มีโชค

ถ้าตรงกับ วันพฤหัสบดี นางสงกรานต์ชื่อ นางกัญญาเทพ ปีนั้นฝนตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ ไม้สักเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้ทองกวาว คนเกิดวันศุกร์มีเคราะห์ คนเกิดวันอาทิตย์มีโชค

ถ้าตรงกับ วันศุกร์ นางสงกรานต์ชื่อ ริญโท ปีนั้นฝนตกหัวปีดี กลางปีบ่มีหลาย เพลี้ย บุ้งจักกัดกินทำร้ายข้าวนาพืชไร่ อันตรายจักเกิดมีแก่สมณพราหมณ์ สัตว์น้ำจะแพง พืชผักจะถูก ไม้สะเดาเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้พุทธา คนเกิดวันพุธมีเคราะห์ คนเกิดวันพฤหัสบดีมีโชค

หากตรงกับ วันเสาร์ นางสงกรานต์ชื่อ สามาเทวี ปีนั้นฝนแล้ง แมลงต่างๆ จักทำร้ายพืชไร่มากนัก ไฟจักไหม้บ้านไหม้เมือง เกิดอัคคีภัยใหญ่ ข้าวยากหมากแพง คนเกิดวันจันทร์มีเคราะห์ คนเกิดวันศุกร์มีโชค

Image


โดย อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวัฒนธรรม เอื้อเฟื้อข้อมูลคำทำนายสงกรานต์ ปี ๒๕๕๑
 

_________________
ธรรมจักรดอทเน็ต
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 993

ตอบตอบเมื่อ: 13 เม.ย.2008, 9:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พระธรรมเทศนาเรื่อง “สงกรานต์”
โดย พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ)


ต่อไปนี้จะว่าด้วย เรื่องสงกรานต์ ประเพณีขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ โดยถือเอาวันที่พระอาทิตย์โคจรจากราศีมีนขึ้นสู่ราศีเมษตามตำราโหราศาสตร์ เรียกว่า “สงกรานต์” หมายถึง การเคลื่อน การย้าย การเปลี่ยนราศี เมื่อครบรอบการโคจรของดวงอาทิตย์ เป็นเวลา ๓๖๕ วัน นั่นเอง

เรื่องของสงกรานต์นี่ไม่มีปรากฏอยู่ในบาลี แต่เป็นตำนานมาจากชมพูทวีป ชมพูทวีปในขณะนั้น มีเขาพระสุเมรุ มีต้นชมพูเป็นสัญลักษณ์ของเกาะ ๔ เกาะ ซึ่งเป็นโลกสมมติ ที่มาของประเพณีสงกรานต์มีอยู่ว่า “พระเจ้าชมพูทีปะ” ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ปกครองชมพูทวีป มีอิทธิฤทธิ์มากตั้งแต่โลกมนุษย์จนถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช พระเจ้าชมพูทีปะสามารถเรียกฝนให้ตกได้ และสั่งฝนให้หยุดได้

แต่พระเจ้าชมพูทีปะนี้ แม้มีอิทธิฤทธิ์มากมากมายปกครองตั้งแต่โลกมนุษย์จนถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ยังไม่มีความรู้สึกพอใจ จึงคิดจะได้ไปครอบครองจนถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อีก

ความทราบถึงเทวดา เทวดาก็เกรงว่าถ้าจะมาถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตนเองจะสู้พระเจ้าชมพูทีปะไม่ได้ เทวดาจึงนำเรื่องราวไปฟ้องต่อพระอินทร์ พระอินทร์เมื่อทราบจึงได้ไปฟ้องต่อมหาพรหม คือ พระกบิลพรหม เมื่อทราบดังนั้น จึงมีความคิดว่ามนุษย์นี้จะมีความทะเยอทะยานเกินไปแล้ว ถ้าอยากจะขึ้นมาครอบครองดาวดึงส์ ก็จะต้องมีการตกลงกันก่อน

ดังนั้น “พระกบิลพรหม” จึงได้มีการต่อรองกับ “พระเจ้าชมพูทีปะ” โดยพระกบิลพรหมได้ลงมาตั้งปัญหาถามพระเจ้าชมพูทีปะ ดังนี้ “ในร่างกายมนุษย์เรามีราศี ๔ และอราศี ๔ คืออะไร” เมื่อพระเจ้าชมพูทีปะได้ฟังคำถามนั้นแล้ว คิดว่าเป็นปัญหาซึ่งยากมาก ซึ่งพระกบิลพรหมก็ได้ให้เวลา ๗ วันในการคิดคำตอบ และได้มีการตกลงกันว่า ถ้าให้เวลาคิดแล้ว ๗ วัน พระเจ้าชมพูทีปะซึ่งตอบคำถามไม่ได้ ก็ต้องตัดคอพระเจ้าชมพูทีปะเพราะถือว่าเป็นผู้แพ้ แต่ถ้าพระเจ้าชมพูทีปะตอบถูกก็ต้องตัดคอพระกบิลพรหม

เมื่อได้ตกลงกันแล้ว พระเจ้าชมพูทีปะก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ เวลาล่วงเลยมา ๕ วันก็ยังคิดค้นหาคำตอบไม่ได้ พระเจ้าชมพูทีปะเห็นว่าคงจะถึงฆาตเสียแล้ว จึงคิดว่าถ้าจะตายก็น่าจะตายในป่าเสียจะดีกว่า อยู่ในเมืองก็ให้อายมนุษย์ทั้งหลาย

เมื่อคิดดังนั้นแล้ว พระเจ้าชมพูทีปะจึงเดินออกไปอยู่ในป่า และได้ไปอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ ต้นหนึ่ง บังเอิญต้นไม้ใหญ่นั้น บนต้นมีรังของนกแร้งอาศัยอยู่ ในเวลาบ่ายๆ นกแร้งก็กลับมายังรังซึ่งอาศัยอยู่กับลูก ๓ ตัว วันนั้นแม่นกแร้งและลูกนกแร้งหาอาหารไม่ได้ แม่นกแร้งก็ให้ลูกอดทนไว้ โดยบอกลูกนกแร้งว่าให้อดทนอีก ๒ วัน ซึ่งคิดว่าอีก ๒ วันนี้คงจะได้กินเนื้อมนุษย์แล้ว คือพระเจ้าชมพูทีปะ แม่นกแร้งบอกลูกว่า พระเจ้าชมพูทีปะจะต้องแพ้พระกบิลพรหมอย่างแน่นอน เนื่องจากตอบคำถามไม่ได้ เมื่อพระเจ้าชมพูทีปะถูกตัดคอแล้ว ก็จะถูกเอามาทิ้งไว้ในป่า และเมื่อนั้นแหละเราจะได้กินเนื้อมนุษย์กันอย่างอิ่มอร่อย ซึ่งในขณะนั้นพระเจ้าชมพูทีปะอยู่ใต้ต้นไม้ก็ได้ยินคำสนทนาของแม่นกแร้งและลูกแร้งอย่างชัดแจน

ลูกแร้งและแม่นกแร้งก็คุยกันต่อไปถึงคำถามที่พระกบิลพรหมถามต่อพระเจ้าชมพูทีปะ ลูกแร้งจึงถามว่าแล้วอะไรคือราศี ๔ และอราศี ๔ ซึ่งลูกแร้งเองก็ไม่เข้าใจ แม่นกแร้งจึงตอบว่า ราศี ๔ คือส่วนสำคัญที่อยู่ในร่างกายมนุษย์ เช้าอยู่ที่ใบหน้า คือตื่นมาในตอนเช้าต้องล้างหน้าให้สะอาด พอเลยเที่ยงคืนไป ราศีก็จะอยู่ที่ปัทมะ (หน้าอก) บ่ายเข้าบ้านก็จะอยู่ที่เท้า คือเมื่อเข้าบ้านก็ต้องล้างเท้าให้สะอาด พอตอนดึกจะอยู่ที่เหนือหน้าอกเพราะต้องทากระแจะขมิ้น ซึ่งทั้ง ๔ อย่างนี้เป็นราศี แต่ถ้าไม่ชำระล้างไม่ทำให้สะอาดก็จะเป็นอราศี

เมื่อพระเจ้าชมพูทีปะได้ยินคำตอบของแม่นกแร้งแล้ว จึงรีบเดินทางกลับวัง สร้างโรงพิธีใหญ่โต เพื่อรอรับวันที่ ๗ วันที่ครบกำหนดตอบคำถาม เมื่อถึงครบกำหนด ๗ วัน ผู้คนก็มาร่วมฟังคำตอบกันมากมาย พระกบิลพรหมก็เสด็จลงมาฟังคำตอบจากพระเจ้าชมพูทีปะ ซึ่งพระเจ้าชมพูทีปะตอบคำถามได้ถูกทุกข้อตามที่ได้ฟังมาจากแม่นกแร้ง พระกบิลพรหมจึงเป็นผู้แพ้และต้องทำตามข้อตกลง คือถูกตัดศีรษะ แต่ก็ไม่กล้าตัดศีรษะ จึงมีการอธิษฐานเอานิ้วมือตัดศีรษะพระกบิลพรหมเพราะถ้าหากศีรษะตกลงบนดิน ก็จะทำให้พื้นดินเอียง หากศีรษะตกลงในทะเล น้ำก็จะเหือดแห้ง หากศีรษะตกอยู่ในอากาศ ฝนก็จะไม่ตก

พระกบิลพรหมมีลูกสาว ๗ องค์ คือ (๑) นางทุงษะเทวี (๒) นางโคราคะเทวี (๓) นางรากษสเทวี (๔) นางมณฑาเทวี (๕) นางกิริณีเทวี (๖) นางกิมิทาเทวี (๗) นางมโหทรเทวี ลูกสาวทั้ง ๗ องค์นี้ จึงผลัดเปลี่ยนกัน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปีเป็นเกณฑ์ ถ้าวันที่ ๑๓ เมษายนเป็นวันอาทิตย์ก็จะเป็นหน้าที่ลูกสาวองค์ที่ ๑ หากเป็นวันเสาร์ก็เป็นหน้าที่ลูกสาวองค์ที่ ๗ จึงเรียกว่า นางสงกรานต์ ลูกสาวทั้ง ๗ องค์จึงมารับศีรษะของพระกบิลพรหมไว้คนละปี ร่างของพระกบิลพรหมก็ยังไม่เน่า ยังมีชีวิตอยู่

พระเจ้าชมพูทีปะจึงเรียกให้โหรมาทำนาย โหรจึงทูลว่าในวันที่ ๓ หลังจากถูกตัดศีรษะแล้ว ให้เสนาอำมาตย์ไปหาใครก็ได้ที่นอนหันศีรษะไปทางทิศเหนือ ถ้าไปเจอก็ให้ไปตัดศีรษะมา เพื่อมาต่อกับร่างของพระสหปติพรหม เสนาอำมาตย์รับคำสั่งไปดำเนินการ เดินไปพบช้างนอนหันศีรษะไปทางทิศเหนือ จึงตัดคอช้าง และนำศีรษะช้างมาต่อเข้ากับร่างของพระสหปติพรหม ก็เลยเกิดเป็นพระกบิลพรหมองค์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งมีศีรษะเป็นช้างร่างเป็นพรหม

ลูกสาวพระกบิลพรหมซึ่งมารับศีรษะจะต้องลงมาล้างศีรษะ อาบน้ำผู้ซึ่งเป็นบิดาและจัดเป็นพิธีทุกปีหรือ ๓๖๕ วัน ซึ่งก็ต้องมีเทวดาลงมาร่วมในพิธีนี้ และนางสงกรานต์ก็จะต้องลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มาร่วมในการอาบน้ำชำระล้างพระกบิลพรหมที่เมืองพาราวะหนึก ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นที่ตั้งของวังใหญ่ มีแม่น้ำใสสะอาด แม่น้ำสายนี้มาจากหิมพานต์ และที่เมืองพาราวะหนึกนี้เป็นที่แม่น้ำ ๔ สายมารวมกัน จึงเป็นแม่น้ำลึกที่ใสสะอาด และต้องอาบน้ำให้คนที่มาถือศีรษะให้พระกบิลพรหม ๓ วัน ๓ คืน

ดังนั้น จึงเป็นประเพณีของมนุษย์สืบเนื่องมาจากนางสงกรานต์ลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อมาอาบน้ำให้แก่ผู้ถือศีรษะพระกบิลพรหม ในวันสงกรานต์มนุษย์เราก็จะไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่มีอายุมาก และเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลนั้นๆ หรืออาจไปรดน้ำผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว เช่น บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย เป็นเมตตาจิต เปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจปีละครั้ง

Image


คัดลอกมาจาก
http://www.navy34.com/
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
รุ่งลลิดา สกุลงาม
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 21 ก.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): 75/8 ม.3 ม.จามจุรี 2 ต.ท่ามะกา อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120

ตอบตอบเมื่อ: 14 เม.ย.2008, 1:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ หลวงพ่ออุตตมะ
 

_________________
มีสติไว้
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ย. 2008, 9:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง