Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปฏิจจสมุบาท ขณะจิตเดียว และข้ามภพข้ามชาติ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 9:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สืบเนื่องจากมีความเห็นที่ขัดแย้งกัน 2 สาย

สายอภิธรรมแสดงปฏิจจสมุบาทเกิดขึ้นและดับลงในขณะจิตเดียว

ในพระสูตรมีแสดงปฏิจจสมุบาทไว้แบบข้ามภพข้ามชาติ

ผมไม่มีความรู้จริงๆ

จึงขอความรู้จากท่าน

เพื่อเป็นวิทยาทาน

จะเป็นความคิดเห็นก็ได้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 9:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เท่าที่ผมเข้าใจ ภพ ในปฏิจจะนี้หมายถึงว่า

เรา"แช่ใจ" .. อยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง
เช่นกำลังโมโห ก็เป็นภพหนึ่ง ที่ไม่ดี บางคนเรียกว่าภพอสุรกาย
กำลังดีใจ ก้มีภพเป็นเทวดา

จิตขณะหนึ่ง มีภพเดียว จะมีสองภพหรือกว่านั้นในชั่วขณะไม่ได้
แต่ที่ดุเหมือนว่ามันมีจิตเดียว เพราะมันเกิดดับเร็วมาก
เหมือนภาพยนตร์ที่รูปร่างในภาพ มันจะเปลี่ยนไปจากเดิม 12 รูปต่อวินาที
บางเรื่องก็ 24 รูปต่อวิ

แต่ภพของจิต เกิดดับเร็วกว่านี้มากๆ จึงมองไม่ทัน


แต่ภพ ก้ต้องมีชรา คือเริ่มเสื่อมลง จนถึงมรณะคือหมดจากภพนี้ ไปต่อภพนู้น

หมายความว่าจิตในวันหนึ่ง
มีภพเกิดดับมากมายตามจำนวนที่จิตเราไปแช่

จะเรียกว่า จิตหนึ่งดับไป คือภพดับไป 1 ภพ ก็น่าจะพูดอย่างัน้นได้

ทั้งหมดนี้ผมจำๆ อ่านๆ ฟังๆ แล้วมาคิดๆ จากความรู้ที่มีนะคับ อาจจะผิดก็ได้
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 10:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ภพ (Process of Becoming) พระธรรมปิฎก (2544 : 125-133) กล่าวว่า “...ภพ คือ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดที่แสดงออกเพื่อสนองตัณหา และอุปาทาน ...”

“...ภพ หรือ กรรมภพ เป็นภาวะที่การกระทำหรือกรรมภพบังเกิดผลให้เป็นขันธ์ 5 หรือชีวิตและการเกิดเพราะกรรมภพนั้นเรียกว่า อุปปัตติภพ อีกอย่างหนึ่ง กรรมภพจึงเป็นการเตรียมภาวะแห่งชีวิต คือขันธ์ 5 ที่จะปรากฎในภพที่สมควรกับกรรมที่ทำไว้ ครั้นชีวิตหรือธาตุขันธ์เดิมสิ้นสุดลง พลังแห่งกรรมที่สร้างสมไว้ (กรรมภพ) ก็จะผลักดันให้เกิดการสืบต่อวงจรคือชาติต่อไป...”

“....ปฏิจจสมุปบาทช่วงนี้ เป็นขั้นตอนสำคัญในการทำกรรมและรับผลของกรรม การก่อนิสัย และการสร้างบุคลิกภาพ....”

สรุปความว่า การกระทำใดๆ ในปัจจุบัน ย่อมส่งผลไปในอนาคต เมื่อสร้างกรรมดี ก็ได้รับชาติที่ดี สร้างกรรมชั่ว ก็ได้รับชาติที่ชั่ว การเกิด-ดับของชีวิตจึงเป็นไปตามกรรม

http://suwalaiporn.com.www.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=420665&Ntype=3
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 10:36 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชาติ (Birth) พระธรรมปิฎก (2544 : 133-134) ได้กล่าวว่า “...ชาติ คือ ชีวิตที่เป็นไปในภาวะต่างๆทั้งหมด ว่าตามความหมายแท้ ก็คือ ขันธ์ 5 ที่เกิด - ดับ เปลี่ยนแปลงไป สำหรับปุถุชน ย่อมมิใช่มีเพียงการเกิด- ดับของขันธ์ 5 ตามธรรมดาของธรรมชาติเท่านั้น แต่เมื่อมีภพขึ้นตามอุปาทานแล้ว ก็เกิดมีตัวตนซึ่งสำนึกตระหนักขึ้นมาว่า เรา ได้เป็นนั่นเป็นนี่ อยู่ในภาวะชีวิตอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งตรงกับความต้องการ หรือไม่ตรงกับความต้องการ พูดสั้นๆว่า ตัวตนเกิดขึ้นในภพนั้น จึงมีตัวเราที่เป็นเจ้าของ ตัวเราที่เป็นโจร ตัวเราที่เป็นคนมีเกียรติ ตัวเราที่เป็นผู้ชนะ ตัวเราที่เป็นผู้แพ้ ฯลฯ..”

“....ในชีวิตประจำวันของปุถุชน การเกิดของตัวตนจะเห็นได้เด่นชัด ในกรณีความขัดแย้ง เช่น การถกเถียง แม้ในการเถียงหาเหตุผล ถ้าใช้กิเลส ไม่ใช้ปัญญา ก็จะเกิดตัวตนที่เป็นนั่นเป็นนี่ขึ้นมาชัดว่า เราเป็นนาย เราเป็นผู้มีเกียรติ พร้อมกับ เขาเป็นลูกน้อง เขาเป็นคนชั้นต่ำ นี่เป็นความเห็นของเรา เราถูกขัดแย้ง ทำให้ความเป็นนั่นเป็นนี่ด้อยลง พร่องลง หรือ จะสูญสลายไป ชาติจึงยิ่งชัด เมื่อปรากฎชรามรณะ แต่เพราะมีชาติ จึงมีชรามรณะได้…”

สรุปได้ว่า ชาติก็คือ ชีวิต หรือขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นด้วยปัจจัยของกรรมภพ เหตุเพราะมีการสร้างกรรมภพ จึงเกิดเป็นชาติและมีอุปทานว่ามีตัวมีตนและยึดมั่นตัวตนนั้นไว้ด้วยกิเลส ตัณหา หากไม่ใช้ปัญญาตัดความยึดมั่นในตัวตนนั้นออกไปเสียบ้าง ความเป็นอัตตาก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อโลกและสังคม

»ชรา มรณะ

http://suwalaiporn.com.www.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=420666&Ntype=3
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 10:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระธรรมปิฎก (2544:96) ได้กล่าวถึงหลักปฏิจจสมุปบาทที่เกี่ยวเนื่องกับขันธ์ 5 ดังนี้

v สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน

v สิ่งทั้งหลายมีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย

v สิ่งทั้งหลายไม่มีความคงที่ อยู่อย่างเดิมแม้แต่ขณะเดียว

v สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คือไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน

v สิ่งทั้งหลายไม่มีต้นกำเนิดเดิม

สิ่งทั้งหลายที่ปรากฏอยู่เป็น รูปต่างๆ มีความเจริญ ความเสื่อม เป็นไปต่างๆนั้นแสดงถึงสภาวะที่แท้จริงของมันว่า เป็นกระแส หรือ กระบวนการ รูปกระแสปรากฏเพราะองค์ประกอบทั้งหลายมีความสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน กระแสดำเนินไปได้เพราะองค์ประกอบต่างๆไม่คงที่อยู่อย่างเดิมแม้แต่ขณะเดียวเพราะไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน ตัวตนที่แท้จริงไม่มี สิ่งทั้งหลายจึงเกิดเพราะเหตุปัจจัยต่างๆสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไม่สิ้นสุด โดยไม่มีต้นกำเนิดเดิม การเริ่มต้นของวัฏฏะนับเอาอวิชชาเป็นจุดเริ่มเพราะมนุษย์ทั้งหลายมักทำกรรมใดๆโดยความไม่รู้ เป็นกรรมดีบ้าง กรรมชั่วบ้าง ซึ่งการกระทำหรือกรรมต่างๆนั้น เป็นภาวะที่ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดแล้วกระทำแล้วก็สลายไป เรียกว่า อนิจจตา ทำให้เกิดภาวะต่อเนื่องเป็นทุกข์ เรียกว่า ทุกขตา และภาวะที่ไร้ตัวตนที่แท้จริงของมันเรียกว่า อนัตตา ซึ่งเป็นลักษณะสามัญรวมเรียกว่าไตรลักษณ์....”

“....ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ 5 ซึ่งมีกระบวนการตั้งอยู่และดับไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท...."



ขันธ์ 5 หรือ ชีวิต มีความเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ คืออยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดดับเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัว จะเข้ายึดครองเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความปรารถนาของตนจริงจังไม่ได้ ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้และยึดติดถือมั่น...”
“... กระบวนการแห่งขันธ์ 5 หรือชีวิต ซึ่งดำเนินไปพร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกขณะโดยไม่มีส่วนที่เป็นตัวเป็นตนคงที่อยู่นี้ ย่อมเป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์แก่กันล้วนๆตามวิถีทางแห่งธรรมชาติของมัน....”
“...แต่ในกรณีของชีวิตมนุษย์ปุถุชน ความฝืนกระแสจะเกิดขึ้น โดยที่จะมีความหลงผิดเกิดขึ้นและยึดถือเอารูปปรากฏของกระแสหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของกระแสว่าเป็นตัวตน และปรารถนาให้ตัวตนนั้นมีอยู่ คงอยู่ หรือเป็นไปในรูปใดรูปหนึ่ง…”
“....ในเวลาเดียวกัน ความเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในกระแสก็ขัดแย้งต่อความปรารถนา เป็นการบีบคั้นและเร่งเร้าให้เกิดความยึดอยากรุนแรงยิ่งขึ้น ความดิ้นรนหวังให้มีตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง และให้ตัวตนนั้นเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้คงที่เที่ยงแท้ถาวรอยู่ในรูปที่ต้องการก็ดี ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อไม่เป็นไปตามที่ยึดอยาก ความบีบคั้นก็ยิ่งแสดงผลเป็นความผิดหวัง ความทุกข์ความคับแค้นรุนแรงขึ้นตามกัน พร้อมกันนั้น ความตระหนักรู้ในความจริงอย่างมัวๆ ว่าความเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน และตัวตนที่ตนยึดอยู่อาจไม่มีหรืออาจสูญสลายไปเสีย ก็ยิ่งฝังความยึดอยากให้เหนียวแน่นยิ่งขึ้น พร้อมกับความกลัว ความประหวั่นพรั่นพรึงก็เข้าแฝงตัวร่วมอยู่ด้วยอย่างลึกซี้งและซับซ้อน ภาวะจิตเหล่านี้ก็คือ อวิชชา (ความไม่รู้ตามเป็นจริง หลงผิดว่ามีตัวตน) ตัณหา (ความอยากให้ตัวตนที่หลงว่ามีนั้นได้เป็น หรือ ไม่เป็น ต่างๆ) อุปาทาน (ความยึดถือผูกตัวตนในความหลงผิดนั้นไว้กับสิ่งต่างๆ) กิเลส หรือความหลง เหล่านี้แฝงลึกซับซ้อนอยู่ในจิตใจ และเป็นตัวคอยบังคับบัญชาพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลให้เป็นไปต่างๆตามอำนาจของมัน ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ตลอดจนเป็นตัวหล่อหลอมบุคลิกภาพและมีบทบาทสำคัญในการชี้ชะตากรรมของบุคคลนั้นๆ และเป็นที่มาแห่งความทุกข์ของมนุษย์ปุถุชนทุกคน....”
“...การมีชีวิตอยู่อย่างที่กล่าวข้างต้นนอกจากเป็นการแฝงเอาความกลัวและความกระวนกระวายไว้ในจิตใจส่วนลึกที่สุดเพื่อไว้บังคับบัญชาพฤติกรรมของตนเองทำให้กระบวนการแห่งชีวิตไม่เป็นตัวของตัวเอง หรือทำตนเองให้ตกเป็นทาสไปโดยไม่รู้ตัวแล้ว ยังแสดงผลร้ายออกมาอีกเป็นอันมาก คือ
w ทำให้มีความอยากได้อย่างเห็นแก่ตัว ความแส่หาสิ่งต่างๆที่จะสนองความต้องการของตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และยึดอยากหวงแหนไว้กับตนโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของผู้ใดอื่น เรียกว่า กามุปาทาน

w ทำให้เกาะเหนียวแน่นเอาความคิดเห็น ทฤษฎี หรือทัศนะอย่างใดอย่างหนึ่งมาตีค่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตนหรือเป็นของตนแล้วกอดรัดยึดมั่นทะนุถนอมความคิดเห็น ทฤษฎีหรือทัศนะนั้นๆไว้เหมือนอย่างป้องกันรักษาตัวเองเป็นการสร้างกำแพงขึ้นมาบังตนเองไม่ให้ติดต่อกับความจริงหรือถึงกับหลบตัวปลีกตัวจากความจริงทำให้เกิดความกระด้างทื่อๆ ไม่คล่องตัวในการคิดเหตุผลและใช้วิจารณญาณ ตลอดจนเกิดความถือรั้น การทนไม่ได้ที่จะรับฟังความคิดเห็นของอื่น เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน

wทำให้เกิดความเชื่อและการประพฤติปฏิบัติงมงายไร้เหตุผลต่างๆที่หวังว่าจะบันดาลผลให้และยึดมั่นในความเชื่อความประพฤติและวิธีปฏิบัติเหล่านั้น เพราะรู้เห็นความสัมพันธ์ในทางเหตุผลของสิ่งเหล่านั้นอย่างรางๆมัวๆ แม้จะไม่มีความแน่ใจ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็มีความห่วงใยในตัวตนที่สร้างขึ้นยึดถือมั่นไว้ กลัวจะเกิดความสูญเสียแก่ตัวตนนั้นได้ จึงรีบไขว่คว้ายึดฉวยเอาอะไรๆที่พอจะหวังได้ไว้ก่อน แม้จะอยู่ในรูปที่รางๆมืดมัวก็ตาม เรียกว่า สีลัพพตปาทาน

wทำให้เกิดมีตัวตนลอยๆ อันหนึ่งที่จะต้องคอยยึดคอยถือ คอยแบกเอาไว้ คอยรักษาทะนุถนอมป้องกันไม่ให้ถูกกระทบกระเทือนหรือสูญหายพร้อมกันนั้น ก็กลายเป็นการจำกัดตนเองให้แคบ ให้ไม่เป็นอิสระแบ่งแยก และพลอยถูกกระทบกระแทกไปกับตัวตนที่สร้างขึ้นยึดถือแบกไว้นั้นด้วย เรียกว่า อัตตวาทุปาทาน

โดยนัยนี้ความขัดแย้งบีบคั้นและความทุกข์จึงมิได้มีอยู่เฉพาะในตัวบุคคลผู้เดียวเท่านั้น แต่ยังขยายตัวออกไปเป็นความขัดแย้ง บีบคั้น และความทุกข์แก่คนอื่นๆ และระหว่างกันในสังคมด้วย กล่าวได้ว่าภาวะเช่นนี้ เป็นที่มาแห่งความทุกข์ ความเดือดร้อน และปัญหาทั้งปวงของสังคม ในฝ่ายที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์....”
หลักปฏิจจสมุปบาทกับขันธ์ 5จึงแสดงให้เห็นว่าชีวิตมีกระบวนการเกิด-ดับ เป็นวงจร ที่เรียกว่า วัฏสงสาร วนเวียน ไม่สิ้นสุดดุจกงล้อรถที่หมุนเวียนไปไม่รู้จบ หากผู้ใดยังตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา กิเลส ตัณหา และอุปาทาน การเกิด- ดับของความทุกข์ที่มีอยู่ประจำชีวิต หรือ การเกิด- ดับของชีวิต ( แห่งความทุกข์ ) ก็ไม่มีสิ้นสุด เช่นเดียวกัน


http://suwalaiporn.com.www.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=420670&Ntype=3
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ขันธ์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 ก.ค. 2008
ตอบ: 520

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 10:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สรุปง่ายที่สุด ก็คือ มีทั้ง ขณะจิตเดียวและ ข้ามภพชาติ จะไปหมายอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

คำว่า ภพ ก็คือ ติดอยู่ อันเกิดจากอำนาจ อวิชชา ก็โลกนี้ โลกหน้า ก็เรียกว่า ภพภูมิ

ทีนี้ สายปฏิจสมุบาท นั้นมันก็โยงใย ในขณะจิตนี้ก็มี และ โยงใยสานกันก็มี มาจากชาติที่แล้วก็มี มาจากชาตินี้ก็มี

ทีนี้ เราก็มาดูว่า เกิดอะไรขึ้น อวิชชาเป็นต้นสาย อวิชชาดับ ก็ต่อเมื่อ มีอำนาจโคตรภูเข้ามาเท่านั้น นอกนั้น อวิชชาไม่ดับ และ เกิดสืบเนื่องกันไปตลอด ให้นึกถึงต้นสายที่มีลูกตามมา ถ้าลูกดับ ก็ใช่ว่า ตัวแม่จะดับไป
แต่หากดับตัวแม่ ลูกก็ดับไป ได้

ก็มาดูที่ปัญหาว่า ข้ามภพชาติหรือไม่ ตอบว่า ตามธรรมดา หากว่า อวิชชาไม่ข้ามภพชาติแล้ว เราจะไม่มีทางเกิด เลย เพราะว่า อวิชชาดับไปแล้วจะไปเกิดตรงนั้นตรงนี้ได้อย่างไร แต่แสดงว่า ต้นสายหลักนั้นยังอยู่

ส่วนสายใหม่ ที่เราสร้างขึ้นในปัจจบันขณะนี้ ก็อีกส่วนหนึ่ง

ก็อยากจะเปรียบเทียบ ง่ายๆ ที่สุดคือ ลองดูงู และหางงู หัวมันไปที่ใด ถ้าตัวมันยาว แม้ว่าหัวมันไปที่อื่นๆ แล้ว หางมันก็ยังคงอยู่ นึกถึงภาพที่มัน ขดไปขดมา หัวนั้นเปรียบเหมือน ปัจจุบันขณะ แต่ใช่ว่า จะไม่ยอมรับหางมันด้วย

ชาติที่แล้ว ตายขณะนั้นมีสายอวิชชาอยู่ก็เกิด หัวงูก็ผลักไสมาเกิด หางก็ค่อยๆ ตามมา

จนกว่า จะตัดหางงูให้สั้นที่สุดนั้นแหละ จึงจะเห็นเป็นปัจจุบันขณะ ตลอดทุกวินาที ก็สายปฏิจสมุบาทก็จะสั้นลง จนเหลือแต่สายสั้นๆ เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ

พระอริยะจึงกล่าวว่า ปฏจสมุบาท นั้นเป็นขณะจิตเดียว เพราะท่าน หดสั้นลงมาแล้ว

ส่วนปุถุชน ก็บอกว่า ข้ามภพชาติ ก็เพราะว่า จิตมันยังไม่หดสั้นลงมา

อันนี้ก็คงจะเป็นข้อสรุปที่ชัดนะ คุณ mes

เรื่องปฏิจสมุบาทนี้ ถามผมได้ ผมเชี่ยวชาญในเรื่องนี้โดยตรง
 

_________________
เพราะเอาใจเข้าไปวิพากษ์ จึงมีบาปและบุญ
สรรพสิ่งมันอยู่อย่างนั้นเอง เราเองคือผู้หลงเข้าไปเอาทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ย. 2008, 12:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องของการข้ามภพข้ามชาติ เพราะวิญญาณของเรา
สืบเนื่องไปเรื่อยๆ ในช่วงต้น-ช่วงกลางของชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุไม่เข้าใจ
เรื่องนี้ เลยไปสอนเรื่องสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ และสอนว่าเรื่องเทวดา
เปรต นรก สวรรค์ไม่มีจริง

แต่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตท่านพุทธทาส ท่านจึงรู้ว่า วิญญาณของเรา
สืบเนื่องไปเรื่อยๆ แสดงว่าเรื่องสวรรค์นรก เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมีจริง
แต่ตำราผิดๆของท่านออกไปมากมายแล้ว ไม่รู้จะทำยังไง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 6:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องของการข้ามภพข้ามชาติ เพราะวิญญาณของเรา
สืบเนื่องไปเรื่อยๆ ในช่วงต้น-ช่วงกลางของชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุไม่เข้าใจ
เรื่องนี้ เลยไปสอนเรื่องสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ และสอนว่าเรื่องเทวดา
เปรต นรก สวรรค์ไม่มีจริง

แต่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตท่านพุทธทาส ท่านจึงรู้ว่า วิญญาณของเรา
สืบเนื่องไปเรื่อยๆ แสดงว่าเรื่องสวรรค์นรก เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมีจริง
แต่ตำราผิดๆของท่านออกไปมากมายแล้ว ไม่รู้จะทำยังไง


ผมว่า ท่านพุทธทาส คงไม่ได้เข้าใจปฏิจจสมุปบาทอย่างถ่องแท้หรอกครับ แม้ในช่วงชีวิตสุดท้ายของท่าน ก็ยังกล่าวตู่พระพุทธพจน์ อรรถกถา อยู่เช่นเดิม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 8:37 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หากมีคำถามว่า คำว่า “ปฏิจจสมุปบาท” แปลว่า อะไร ?

คุณเฉลิมศักดิ์ จะตอบว่าอย่างไรครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 1:30 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่คลางแคลงสงสัยในพุทธศาสนา สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 6:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากเสนอ ให้อ่านที่ ท่าน อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก วิสัชนาไว้ ในบทความ

“มัชฌิมาปฏิปทา : สายกลางสองมิติ”



“.....ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักการที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนให้รู้จักมอง ให้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง เป็นจุดเด่นของพระพุทธศาสนา ใสขณะที่ลัทธิอื่นนั้นไม่ Yes ก็ No ไม่มีก็ขาดสูญโลกนั้นก็เลยมีอยู่สองอย่างคือมีอยู่ชั่วนิรันดร์กับไม่มีเลย

เพราะฉะนั้น “ปัญหาตายแล้วไปไหน” ซึ่งสมัยโน้นถามกันมากและก็มีคำตอบมาก แยกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า คนเราก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ตลอด เกิดแล้วก็ตาย รางกายก็ดับสูญสลายไป จิตวิญญาณที่เขาเรียกว่า วิญญาหรือชีวะเป็นอมตะ จะต้องไปหาที่เกิดใหม่ตามผลกรรมที่ทำไว้จัดสรรไป วิญญาณนี้ก็จะไปเกิดใหม่เรื่อยๆจนกว่าจะหมดกรรม หมดกิเลสตัณหา แล้วก็จะไม่ต้องเกิดอีก

การอธิบายอย่างนี้ ฟังเผินๆคล้ายๆจะเป็นการอธิบายแบบชาวพุทธเหมือนกัน เพราะชาวพุทธส่วนมากก็อธิบายกันแบบนี้ และบางท่านก็อธิบายชัดเจนยิ่งไปกว่านี้ว่า เวลาเราตายร่างกายดับไปแล้ว เผาไหม้ไปแล้ว แต่ว่าจิตวิญญาณออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ วิญญาณไม่ตายด้วย ถามว่าไปเกิดเป็นอะไร ก็แล้วแต่กรรมที่ทำไว้ จะจัดสรร ก็ดูน่าจะถูกต้อง แต่ถ้าดูตามหลักที่แท้แล้วไม่ถูกต้อง เพราะถ้าเชื่ออย่างนี้ก็ยังเข้าสู่จุดที่ว่า ทุกสิ่งนิรันดร ทุกสิ่งเป็นอมตะ ไม่เปลี่ยนแปลง ยอมรับว่าร่างกายเปลี่ยนแปลง แต่จิตใจหรือวิญญาณไม่เปลี่ยน เมื่อยอมรับว่าจิตหรือวิญญาณไม่เปลี่ยน จิตวิญญาณก็สามารถออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ แสดงว่าเป็นอมตะอยู่ตลอด ก็ผิดหลักอีก

พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่ามีศาสดาอยู่ 3 ประเภท

ประเภทหนึ่ง ยอมรับว่า อัตตามีในชาตินี้ ปฏิเสธอัตตาในชาติหน้า ประเภทนี้เรียกว่า อุจเฉทวาท ยอมรับเฉพาะในชาตินี้ตายไปแล้วก็หมดกัน

อีกประเภทหนึ่ง ยอมรับอัตตาทั้งในชาตินี้และชาติหน้าพวกนี้เป็น สัสสดตวาท คือเชื่อว่าทุกสิ่งนิรันดร วิญญาณนิรันดร

อีกประเภทหนึ่ง ปฏิเสธอัตตาทั้งในชาตินี้และชาติหน้าเรียกว่า สัมมาสัมพุทธะ ก็คือพระพุทธเจ้าของเรา

พระพุทธศาสนาของเราปฏิเสธอัตตาทั้งในชาตินี้และชาติหน้าทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่มีอัตตา ใครที่สอนว่ายังมีอะไรๆ ที่เป็นอัตตาอยู่นั้นไม่ถูกหลักพระพุทธเจ้า เพระฉะนั้นถ้าเชื่อว่า ตายแล้ววิญญาณยังไม่ตาย ไปหาที่เกิดใหม่นั้น ก็แสดงว่าเชื่อว่าเป็นสัสสตวาท ซึ่งก็เป็นมิจฉาทิฎฐิ สัสสตทิฎฐิ และก็ถ้าเชื่อว่าเราก็มีชีวิตอยู่เท่าที่เห็นๆ อยู่นี่แหละ ยอมรับว่ามี แต่ว่าพอตายแล้วทุกอย่างก็หมดสิ้นกัน เผาก็เหลือแต่เถ้าแต่ถ่านไม่มีอะไรเหลือก็เป็นอุจเฉทวาท หรือนัตถิกทิฎฐิ ซึ่งเป็นมิจฉาทิฎฐิอีกอย่างหนึ่ง

มัชฌิมาปฎิปทาทางสายกลางของพระพุทธองค์ ซึ่งทางสายกลางในแง่หลักการ คือ ปฏิจจสมุปบาท ไม่ข้องแวะสัสสตทิฎฐิและไม่ข้องแวะอุจเฉททิฎฐิ อยู่กึ่งกลางแต่กึ่งกลางอย่างไหน มีวาทะของนักปราชญ์อีกท่านหนึ่ง (จอห์น โรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์) ที่พูดยกย่องพระพุทธศาสนา ท่านผู้นี้พูดลึกมากว่า

"หากแม้เราจะตั้งคำถามว่าอิเล็กตรอนอยู่ที่เดิมหรือไม่ เราก็ต้องตอบว่า "ไม่"

หากเราจะถามว่าอิเล็กตรอนเปลี่ยนที่ไปตามกาลเวลาหรือไม่ เราก็ต้องตอบว่า "ไม่"

หากเราจะถามว่าถ้าเช่นนั้นอิเล็กตรอนอยู่นิ่งๆ หรือ ก็ต้องตอบว่า "ไม่"

ถ้าจะถามว่ามันกำลังเคลื่อนที่หรือ ก็ต้องตอบว่า "ไม่"

คำตอบเป็น "ไม่" ทั้งหมด

ท่านผู้นี้สรุปว่า "คำตอบเป็น (ไม่) ทั้งหมด" เช่นเดียวกัน พระพุทธองค์ทรงตอบคำถามเช่นนี้มาแล้ว เมื่อถูกทูลถามเรื่องสภาพของมนุษย์หลังตาย แต่ก็ยังเป็นคำตอบที่วิทยาศาสตร์สมัยศตวรรษที่ 17 หรือ 18 ยังค้นไม่ถึง

"สัตว์ตายไปแล้วเกิดหรือไม่"

พระพุทธองค์ตรัสว่า "อย่าพูออย่างนั้น"

"สัตว์ตายไปแล้วเกิดหรือ"

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อย่าพูดอย่างนั้น"

"สัตว์ตายไปแล้วไม่เกิดหรือ"

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อย่าพูดอย่างนั้น"

"สัตว์ตายไปแล้วจะเกิดก็ไม่ใช่ ไม่เกิดก็ไม่ใช่หรือ"

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อย่าพูดอย่างนั้น"

แล้วจะให้พูดอย่างไร ?

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อวิชฺชาปจฺจยางสงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญญาณํ...เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ"

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดเป็นนามรูปไล่ไปจนกระทั่งจบ


ตอนผมเป็นสามเณรน้อยศึกษาธรรมะอยู่ อ่านคำตอบของพระพุทธเจ้า รู้สึกงงไปหมด คล้ายๆถามว่า "ไปไหนมา" แล้วตอบว่า "สามวาสองศอก" ยอมสารภาพจริงๆ ว่าไม่เข้าใจ ไม่ถามอาจารย์ที่สอนธรรมะ ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถให้คำอธิบายให้กระจ่างได้ สงสัยมาจนสกระทั่งแก่ กระทั้งผมลาสิกขามาศึกษาใหม่มาอ่านใหม่ อ่านหนังสือธรรมะที่มีผู้รู้ท่านอธิบายก็เลยถึงบางอ้อ (แต่ไม่ทราบว่า บางอ้อจริงหรือเปล่า) บางอ้อที่ผมถึงก็คือว่า ผิดมาตั้งแต่คำถามแล้ว พระพุทธเจ้าจึงไม่ตรัสตอบ

ถามว่า "สัตว์ตายไปแล้วเกิดหรือไม่ ?"

ถ้าตอบว่า "เกิด" คนถามกก็จะแล่นไปสู่ สัสสตทิฏฐิทันที

"อ๋อ..คนเราน่ะตายไปแล้วไม่ตายจริง ตายไปแล้วก็ยังจะต้องเกิดใหม่ จิตวิญญาณตัวเดิมนี่แหละจะไปเกิดใหม่" ก็จะมีความเชื่อเรื่องวิญญาณอมตะ ก็ผิดอีก

ถ้าพระพุทธเจ้าตอบว่า Yes คนรับคำตอบก็จะเข้าใจผิด แต่ถ้าตอบว่า "ไม่เกิด" คนถามก็จะแล่นไปสู่ อุจเฉททิฏฐิ ทันทีว่า ตายไปแล้วทุกอย่างสูญสิ้นไปหมดเลย ไม่มีเกิด เป็น อุจเฉททิฏฐิ ก็เป็น มิจฉาทิฏฐิอีก

เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุดพระพุทธองค์ก็ตรัสว่า "อย่าพูดอย่างนั้น อย่าอยู่อย่างนั้น" แล้วจะให้พูดอย่างไร ก็ให้พูด แบบปัจจยการ พูดแบบ ปฏิจจสมุปบาท จึงจะถูกต้อง ให้มองทุกสิ่งทุกอย่างในฐานะที่เป็นเหตุและเป็นปัจจัยอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่มีผู้ใด ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ คนถามนั้นถามผิดมาตั้งแต่ต้น คือมีความคิดว่ามีตัวมีตน ก็ถามว่าตัวตนตายไปแล้วจะเกิดใหม่ ถ้าตอบว่าเกิดก็จะเข้าใจผิดเป็นสัสสตทิฏฐิ ถ้าตอบว่าไม่เกิดจะเข้าใจผิดเป็นอุจเฉททิฏฐิ พระพุทธองค์จึงไม่ให้พูดอย่างนั้น อย่าไปพูด อย่าไปคิดว่ามีตัวมีตน คือความจริงมันเป็นอนัตตาอยู่แล้วตั้งแต่ต้น ไม่มีตัวมีตน เป็นเพียงธาตุ 4 ขันธ์ 5 แต่ถ้าถามว่า "มีกระบวนการตายการเกิดใหม่" "มีการเกิดการไม่เกิดไหม" ตอบได้ว่า "มีกระบวนการตายการเกิด"

เพราะฉะนั้นในพุทธวจนะบทนี้บอกว่า

ทุกข์มีอยู่ ผู้ถึงทุกข์ไม่มี หนทางมีอยู่ ผู้เดินไม่มี
มีทุกข์เท่านั้นเกิด ทุกข์เท่านั้นดับ ไม่มี "ผู้" ถึงทุกข์

ถ้ามี "ผู้" ถึงทุกข์เมื่อไหร่ก็แดงว่ามีตัวมีตน เราพูดถึง ตัวตน เรายึดมั่นในตัวเอง ตัวตนเป็นแต่เพียงก้อนธรรมชาติก้อนหนึ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ถึงเลาก็ดับสลายไปไม่มีตัวมีตนในนั้น ถ้าเราคิดว่ามีตัวมีตน พอตัวตนตายแล้วเกิดใหม่แสดงว่า ตัวตนไม่ตายจริง เป็นอมตะนิรันดร ตรงนี้มองลึกๆ จะเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นทางสายกลางในแง่หลักการที่ไม่แวะข้องเกี่ยวกับ อุจเฉททิฏฐิ จึงเรียกว่ากึ่งกลางระหว่าง สัสสตทิฏฐิ กับ อุจเฉททิฏฐิ ซึ่งละเอียดอ่อนออกมากในความคิดของผม

พวกฮินดูก็เชื่อการตายเกิด เชื่อกรรมว่ากรรมแล้วคนจะไปเกิดเป็นอะไรก็ตามแต่ผลของกรรม พุทธก็เชื่อการตายเกิด เชื่อว่าคนเราจะเกิดเป็นอะไรกัน ก็ขึ้นอยู่ที่กรรมที่เรากระทำไว้เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่จะส่งให้เป็นไป แต่พุทธนั้นไม่ได้เชื่อวิญญาณอมตะว่าวิญญาณอมตะนี้จะต้องไปเกิดไปถือภพไปถือชาติใหม่ เหมือนคนออกจากบ้านหลังเก่าไปอยู่หลังใหม่ พุทธมองเนื้อในจริงๆ ว่ามันไม่มีตัวมีตน มีการตายเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะฉะนั้นตรงนี้

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน

อย่างตัวเราไม่ใช่ตัวเรา เป็นแต่เพียงธาตุ 4 ขันธ์ 5 มาประชุมกันเข้า แล้วกก็สมมติกันว่าเป็นตัวเป็นตน แต่มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน

ถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้เราก็จะไม่เข้าใจหลักคำสอนตรงนี้ เมื่อไหร่ๆ เราก็ยังยึดมั่นในตัวตนอยู่อย่างงั้น เขียนคำไว้อาลัยในหนังสืองานศพทีก็มักจะบอกว่า ขอให้ดวงวิญญาณของท่านผู้นั้นจงไปสู่สุคติ แนวคิดที่เป็นแนวคิดของพราหมณ์ ทำให้เราแวะเข้าไปสู่สัสสตทิฏฐิ โดยไม่รู้ตัว เราสอนธรรมะสอนพุทธศาสนา แต่บางทีสอนไปๆ อาจจะเผลอสอนพราหมณ์ฮินดูก็ได้ จึงขอฝากไว้เป็นข้อสังเกต......”
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 6:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็น เรื่อง " การเกิดใหม่" ในคำสอนทางพระพุทธศาสนา นั้นแตกต่างกับลัทธิวิญญาณอมตะอย่างสิ้นเชิงน่ะครับ


ลองอ่าน ที่ท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านวิสัชนาไว้น่ะครับ


ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ๆ ท่านเคยวิสัชนาไว้ดังนี้



ถาม - คำว่า soul ภาษาไทยใช้คำว่า วิญญาณ จะเป็นอันเดียวกับปฐมวิญญาณหรือไม่

ตอบ - ในวงการพระพุทธศาสนานี่ เราหลีกเลี่ยงไม่ยอมใช้คำว่า soul
เพราะว่า soul นี่มีลักษณะอย่างที่เขาใช้สำหรับ อาตมัน เป็นวิญญาณในความหมายที่คลาดเคลื่อนหรือเพี้ยนไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่ความหมายในภาษาบาลี
ในวงการศาสนาภาษาอังกฤษ ไม่มีใครแปลวิญญาณว่า soul เขาใช้เพียง consciousness
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ หรืออังกฤษ-บาลีทั้งหลายใช้ soul เป็นคำแปลของอัตตาหรืออาตมัน และแปลอัตตา หรืออาตมันว่า soul ทั้งนั้น ไม่มีใครใช้คำนี้กับวิญญาณ

หลักพุทธศาสนาถือว่าจิตนี้เกิดดับตลอดเวลา เป็นกระแสไม่ใช่เป็นตัวยืนที่ตายตัว ถ้าหากเป็น soul ก็จะเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวรคงอยู่ยั่งยืนตลอดไปเป็นอมตะนิจนิรันดร เพราะฉะนั้นก็จึงใช้กันไม่ได้

เหมือนคำว่า เกิดใหม่ ในภาษาอังกฤษ สำหรับพวกฮินดู ที่ถือว่ามี soul เขาใช้คำว่า reincarnation
แต่ในพุทธศาสนาคำนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ เราใช้คำว่า rebrith และถือว่า การเกิดใหม่เป็นปรากฏการณ์ในกระแสของการเกิดดับตลอดเวลา



.................................................


และ ท่านเจ้าคุณๆ ท่านเคยวิสัชนา เรื่อง ชาติหน้า เอาไว้อย่างน่าสนใจครับ

"....ๆลๆ...... เพราะชาติหน้าเรามองไม่เห็น แล้วที่สำคัญก็คือว่า ตามกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัย ชาติหน้าเป็นฝ่ายผลที่สืบเนื่องจากปัจจุบัน เพราะฉะนั้นตามหลักเหตุปัจจัยนี้ สิ่งที่เราต้องทำก็คือเหตุ เมื่อเราทำปัจจุบันที่เป็นเหตุให้ดีแล้วก็ไม่ต้องห่วงผลซึ่งเป็นอนาคต เพราะเรามั่นใจในความจริงข้อนี้ว่าผลเกิดจากเหตุเพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราจึงอยู่ที่การทำความดีซึ่งเป็นเหตุในปัจจุบัน จุดเน้นอยู่ที่ปัจจุบัน เมื่อทำเหตุ(ปัจจุบัน) ดีแล้ว ผล(อนาคต)ก็ย่อมจะดี


การกระทำอย่างนี้นอกจากเป็นการปฏิบัติตาามหลักความจริงของกฎธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยแล้ว เราก็เกิดความมั่นใจตามหลักเหตุปัจจัยนั้นด้วยว่า เรื่องภพหน้าเราไม่ต้องเป็นห่วงอย่างนี้ถูกเหมือนอย่างพุทธภาษิตที่ว่า ธมฺเม ฐิโต ปรโลกํ น ภาเย (สํ.ส.15/208/59) แปลว่า ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก นี้เป็นภาษิตบทหนึ่งที่บอกให้มั่นใจว่า เมื่อเราทำเหตุดีในชาตินี้แล้วจะต้องหวาดกลัวอะไรกับชาติหน้าเล่า


แม้ในกาลามสูตรก็บอกทำนองนี้ว่า คนที่ทำดีในปัจจุบันชาตินี้แล้ว ก็มีความมั่นใจได้ว่า ฉันไม่กลัวชาติหน้าหรอก ชาติหน้ามีหรือไม่มีฉันไม่ต้องหวั่น เพราะฉันทำความดีจนมั่นใจตนเองแล้วถ้าชาติหน้ามีฉันก็ไปดีแน่


แต่ทีนี้ การที่จะเลยไปถึงจุดที่ปฏิเสธชาติหน้าเสียเลย ก็ล้ำเส้นเกินไป

วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับปุถุชน ซึ่งยังไม่รู้แจ้งโลกและชีวิต เมื่อจะต้องพูดถึงชาติหน้าในแง่ว่ามีจริงหรือไม่มี จะออกมาในทำนองว่าเรื่องชาติหน้านั้นฉันยังไม่รู้ว่ามีจริงหรือไม่มี แต่ฉันก็รู้วิธีที่จะไม่ต้องหวั่นกลัวชาติหน้า เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย และเพราะเหตุที่ฉันไม่รู้นี่แหละ ฉันจึงต้องปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการทำดีไว้ เมื่อทำความดีแล้ว ชาตินี้ก็สบายใจชาติหน้าก็มั่นใจไม่ต้องหวั่นต้องกลัว ฉะนั้นคนที่ทำดีในปัจจุบันจึงได้ผลทั้งสองอย่าง คือในปัจจุบันก็ดีสบายไปข้างหน้าก็มั่นใจไม่ต้องกลัวด้วย ก็หมดปัญหา

แต่เราไม่ต้องปฏิเสธชาติหน้า เพราะเรายังไม่รู้....."




.......................................


ปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน

จาก หนังสือพุทธธรรม ฉบับ ปรับปรุงและขยายความ พศ ๒๕๓๘
หน้า๑๔๕ ต่างหาก

บันทึกที่2 เกิดและตายแบบปัจจุบัน

ผู้ต้องการสืบความในบาลีเกี่ยวกับสังสารวัฎฎ์ หรือ การเวียนว่ายตายเกิด แบบที่เป็นไปในปัจจุบันภายในชาตินี้ อาจศึกษาพระสูตรตอนหนึ่งต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง

"ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่ประการ (คือ ปัญญา สัจจะ จาคะ อุปสมะ), เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ"

ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร?(ชี้แจงว่า) ความสำคัญตนย่อมมีว่า เราเป็นบ้าง เราไม่เป็นบ้าง เราจักเป็นบ้าง เราจักไม่เป็นบ้าง เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง ;

ดูกร ภิกษุ ความสำคัญตน เป็นโรคร้าย เป็นฝีร้าย เป็นศรร้าย ,

เพราะ ก้าวล่วงความสำคัญตน (ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้)ทั้งหมดได้ จึงจะเรียกว่า เป็นมุนีผู้สงบ;

ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่วุ่นใจ ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน ,
สิ่งอันเป็นเหตุที่เขาจะเกิดย่อมไม่มี ,
เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร,
เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร,
เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจได้อย่างไร,
เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร,

"ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรมสี่
ประการ .....ๆลๆ


ท่านเจ้าคุณๆ ท่านกล่าวชัดเจนครับ ว่านี่เป็นหลักฐานในชั้นพระสูตร(บาลี) ที่กล่าวถึง "เกิดและตายแบบปัจจุบัน" หรือ "การเวียนว่ายตายเกิด แบบที่เป็นไปในปัจจุบันภายในชาตินี้"
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 6:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอวาทธรรม ปฏิจจสมุปบาทที่เป็นไปในปัจจุบัน

จากบทเทศนา กุญแจภาวนา

หลวงปู่ ชา สุภัทโท



"....มันจะเกิดยินร้ายก็เป็นสังขาร มันอยากจะไปโน่นไปนี่ก็เป็นสังขาร ถ้าไม่รู้เท่าสังขารก็วิ่งตามมันไป เป็นไปตามมัน เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใดก็เป็นสมมติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขารคือจิตมันเคลื่อนไหวนั่นเอง

เมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตา ท่านให้พิจารณาอันนี้ ท่านจึงให้รับทราบสิ่งเหล่านี้ไว้ ให้พิจารณาสังขารเหล่านี้ ปฏิจจสมุปบาทธรรมก็เหมือนกัน....

อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร

สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญ-ญาณ

วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปฯลฯ

เราเคยเล่าเรียนมาศึกษามาก็เป็นจริงคือท่านแยกเป็นส่วนๆไปเพื่อให้นักศึกษารู้ แต่เมื่อมันเกิดมาจริง ๆ แล้วท่านมหานับไม่ทันหรอก

อุปมาเหมือนเราตกจากยอดไม้ก็ตุ๊บถึงดินโน่น ไม่รู้ว่ามันผ่านกิ่งไหนบ้าง จิตเมื่อถูกอารมณ์ปุ๊บขึ้นมาถ้าชอบใจก็ถึงดีโน่น อันที่ติดต่อกันเราไม่รู้มันไปตามที่ปริยัติรู้นั่นเองแต่มันก็ไปนอกปริยัติ ด้วย มันไม่บอกว่าตรงนี้เป็นอวิชชาตรงนี้เป็นสังขารตรงนี้เป็นวิญญาณตรงนี้เป็นนามรูปมันไม่ได้ให้ท่านมหาอ่านอย่างนั้นหรอกเหมือนกับการตกจากต้นไม้ท่านพูดถึงขณะจิตอย่างเต็มที่ของมันจริงๆอาตมาจึงมีหลักเทียบว่าเหมือนกับการตกจากต้นไม้ท่านพูดถึงขณะจิตอย่างเต็มที่ของมันจริงๆอาตมาจึงมีหลักเทียบว่าเหมือนกับการตกจากต้นไม้เมื่อมันพลาดจากต้นไม้ไปปุ๊บมิได้คณนาว่ามันกี่นิ้วกี่ฟุตเห็นแต่มันตูมถึงดิน....เจ็บแล้ว

ทางนี้ก็เหมือนกันเมื่อมันเป็นขึ้นมาเห็นแต่ทุกข์โสกะปริเทวะทุกข์โน่นเลยมันเกิดมาจากไหนมันไม่ได้อ่านหรอกมันไม่มีปริยัติที่ท่านเอาสิ่งละเอียดนี่ขึ้นมาพูดแต่ก็ผ่านไปทางเส้นเดียวกันแต่นักปริยัติเอาไม่ทัน....."
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ย. 2008, 6:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่ลึกซึ้งสุดประมาณ

อธิบายครอบคลุมกว้างไกล...... ขึ้นกับว่าจะมองจุดไหน

เสมือน สมการที่ลึกซึ้งสมการหนึ่ง จะใช้ตัวแทนค่าใดลงไปในสมการ ก็ได้คำตอบที่น่าอัศจรรย์ด้วยกันทั้งสิ้น

การพูดคุยเรื่องนี้ ต้องมองกว้างๆ

ปฏิจจสมุปบาท อธิบายครอบคลุม ได้ตั้งแต่การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ของหมู่สัตว์(เกิดแบบกำเนิด๔-ตายแบบทำกาละ)

หรือ แม้นแต่ทุกข์ใจที่เรา-ท่านประสบในปัจจุบัน ก็อธิบายด้วยวงจรปฏิจจสมุปบาททั้งวงได้เลย


ผมพิจารณาเห็นว่า

เรื่องอันยาวไกลในสังสารวัฏฏ์อันยาวนาน มันก็ล้วนแต่เป็นเรื่องของปัจจุบันในแต่ล่ะขณะที่เหนี่ยวนำด้วยกรรมมาเรียงสืบต่อกัน(สันตติ)

ตราบใดถ้าอวิชชาไม่สิ้นไปจากใจ ตราบนั้นทุกข์ก็จะดำเนินไปตลอด
โดยวงจรนี้ไม่ได้จบลงตรงที่ทำกาละ(ร่างกายแตกดับ).... เพราะ การเกิดใหม่ย่อมมีสำหรับผู้ที่ยังมีตัณหา-อุปาทานอยู่


เปรียบเสมือน จุด กับ เส้นตรง

ถ้าเรานำจุดมาเรียงต่อกันไปเรื่อยๆ เราจะได้เป็นเส้นตรง.... ซึ่งเปรียบแบบยาวข้ามภพ-ชาติ

ถ้าเรานำเส้นตรงมาซอยให้ละเอียดที่สุด ในแต่ล่ะขณะ เราจะได้เป็นจุด..... ซึ่งเปรียบแบบในปัจจุบันแต่ล่ะขณะ

มันขึ้นกับมุมมอง



สิ่งที่ปรากฏและแสดงตนอยู่ มันเป็นเรื่อง ของเหตุ-ปัจจัยและผล ที่เกิด-ดับ สืบเนื่องติดต่อกันไปด้วยกรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
wv
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 13 ก.ย. 2008
ตอบ: 5

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 10:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ พิมพ์ว่า:
ปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องของการข้ามภพข้ามชาติ เพราะวิญญาณของเรา
สืบเนื่องไปเรื่อยๆ ในช่วงต้น-ช่วงกลางของชีวิต ท่านพุทธทาสภิกขุไม่เข้าใจ
เรื่องนี้ เลยไปสอนเรื่องสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ และสอนว่าเรื่องเทวดา
เปรต นรก สวรรค์ไม่มีจริง

แต่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตท่านพุทธทาส ท่านจึงรู้ว่า วิญญาณของเรา
สืบเนื่องไปเรื่อยๆ แสดงว่าเรื่องสวรรค์นรก เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมีจริง
แต่ตำราผิดๆของท่านออกไปมากมายแล้ว ไม่รู้จะทำยังไง


เรียน คุณพลศักดิ์

1. ท่านไม่ผิดหรอกครับเรื่องนรกที่อยู่ในใจ นั้น พระพุทธองค์ สอนไว้ครับ และย้ำด้วยว่า ร้อนกว่านรกไหนๆ ไม่ใช่ท่านพุทธทาสว่าเอาเอง หวังว่าเคยศึกษาพุทธพจน์มาบ้างนะครับ
2. ไม่ทราบคุณพลศักดิ์ เป็นใครครับ บวชอยู่หรือไม่ ถือศีลขนาดไหน ศึกษาพระไตรปิฏกขนาดไหน ปฏิบัติขนาดไหน ลองพิจารณาก่อนกล่าวหาผู้อื่นนะครับ เพราะกรรมมีจริง ลองดูตัวเองว่าหลังจากว่าท่านพุทธทาสแล้วชีวิตเป็นอย่างไร ถ้ายังไม่ชัดก็ว่าอีก ว่าไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เห็นครับ
3. พุทธศาสนามีทั้งระดับ โลกียะ กับโลกุตระ หวังว่าคงทราบนะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
wv
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 13 ก.ย. 2008
ตอบ: 5

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 10:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฉลิมศักดิ์1 พิมพ์ว่า:

ผมว่า ท่านพุทธทาส คงไม่ได้เข้าใจปฏิจจสมุปบาทอย่างถ่องแท้หรอกครับ แม้ในช่วงชีวิตสุดท้ายของท่าน ก็ยังกล่าวตู่พระพุทธพจน์ อรรถกถา อยู่เช่นเดิม


เรียน คุณเฉลิมศักดิ์


เพื่อแสดงว่า ไม่ได้โกหกไปวันๆ ขอตัวอย่างที่ท่านพุทธทาสกล่าวตู่พุทธพจน์ด้วยครับ

ขอย้ำว่าพุทธพจน์นะครับ เพราะเป็นหลักฐานชั้น 1

ผมกล่าวหาร้ายแรงนะครับ ว่าคุณโกหก อย่าหนีไปเฉยๆ หละ เพราะเท่ากับว่ายอมรับว่าคุณเป็นคนโกหก แล้ววันหลัง มาเขียนอีกใครจะเชื่อ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ย. 2008, 11:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบพระคุณท่านตรงประเด็นครับ

เป็นตัวอย่างขอการแสดงธรรมที่เป็นสัมมาทิฏฐิ

คื่อพยายามแสดงให้รอบด้านโดยไม่มีอคติ

จะท่านพุทธทาส ท่านอ.บุญมี ท่าอ.บุษกร ให้ดูที่เนื้อหา

อย่าถือตัวบุคคล

ผมเองไม่ยึดว่าสวรรค์มีหรือไม่มี

แต่ยึดมั่นว่า

ถึงจะมีหรือไม่มีก็ไม่ใช่หนทางแห่งการหลุดพ้น

และคงพิสุจน์ไม่ได้ด้วยตรรก

ที่สำคัญ

สำหรับผู้ที่เชื่อในมโนมยิทธิ

หรือการทรงเจ้า

ท่านมีสิทธิในการเชื่อของท่าน

เช่นเดียวกับท่านพุทธทาสท่านมีสิทธในการเชื่อของท่านเช่นกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง