Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศาสนาและคุณธรรม (พระราชดำรัส & พระบรมราโชวาท) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 01 ต.ค.2005, 5:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"...พระพุทธศาสนาชี้ทางดำเนินชีวิตที่ปราศจากโทษ
ช่วยให้เกิดความเจริญร่มเย็น ได้อย่างแท้จริง
เพราะมีคำสั่งสอนที่ มีลักษณะพิเศษประเสริฐ
ในประการอาศัย เหตุผลอันถูกต้องเที่ยงตรง
ตามความ เป็นจริง เป็นพื้นฐาน
เป็นประโยชน์แท้จริงแก่ทุกคน..."



พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
การเปิดประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนา
ทั่วราชอาณาจักร ณ วิทยาลัยครูจันทบุรี 6 ธันวาคม 2518

................................................................


"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ
และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติ
ให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญา ที่ถูกต้อง
จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."



พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน
ในการเปิดประชุมใหญ่
สมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร
ณ จังหวัดกาฬสินธุ์ 17 ธันวาคม 2512

................................................................


"...พระพุทธศาสนา แสดงความจริงของชีวิต
แสดงทางปฏิบัติที่จะให้บรรลุความสุขสูงสุดของชีวิต
มีวิธีการสั่งสอนที่ยึดหลักเหตุและผลว่า
ทุกสิ่งเกิดจากเหตุ ผู้ใดประกอบเหตุอย่างไร
เพียงใด ก็ได้ผลอย่างนั้นเพียงนั้น..."



พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่พุทธ
สมาคมแห่งประเทศไทย 26 พฤศจิกายน 2513

................................................................


"...พระพุทธศาสนานั้น หากหมายถึงคำสั่งสอน
ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้ๆ
ย่อมมี ความแน่นอนมั่นคง
เพราะคำสอนของพระบรมศาสดา เป็นธรรม
คือ หลักความจริงที่คง ความจริงอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ
ไม่มีแปรผัน..."



พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้เข้าประชุม
ใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ณ ประเทศเนปาล 27 พฤศจิกายน 2529

................................................................


"...พระพุทธศาสนา ถึงแม้ปัจจุบันนี้จะมีหลายนิกาย
แต่ก็ยึดหลักธรรมอันเป็นแก่นแท้อย่างเดียวกัน
คือ ถือว่าธรรมทั้งหลายทั้งสิ้นเกิดแต่เหตุ
เมื่อมีเหตุ ก็ต้องมีผล ไม่มีสิ่งใดที่อยู่เหนือเหตุและผล
นอกจากนั้นยังต่างถือว่าการแผ่เมตตาสงเคราะห์
เกื้อหนุนกัน เป็นกรณียกิจสำคัญในการจรรโลงความสงบสุข
ของชาวโลก..."



พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
งานฉลอง 25 ปี ของ องค์การพุทธศาสนิก
สัมพันธ์แห่งโลก 20 กุมภาพันธ์ 2519

................................................................


"...พระพุทธศาสนา นั้น มีลักษณะพิเศษประเสริฐในการ
ที่อาศัยเหตุผลอันเที่ยงแท้ตามเป็นจริง เป็นพื้นฐาน
และหยิบยกขึ้นปฏิบัติเพื่อ ความสุขความเจริญ
และความบริสุทธิ์ได้ตาม วิสัยของตน
จึงเป็นศาสนาที่ เข้ากับหลักวิทยาศาสตร์..."



พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
การเปิดประชุมใหญ่ของ สมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร
ณ พุทธสถาน จังหวัดเชียงใหม่ 27 ตุลาคม 2515

................................................................


"...ธรรมะในพระพุทธศาสนา มีความหมดจดบริสุทธิ์
และ สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยเหตุผล
ซึ่งบุคคลสามารถจะศึกษา และปฏิบัติด้วย ปัญญา
ความเพ่งพินิจ ให้เกิดประโยชน์
คือความเจริญผาสุกแก่ตนได้ อย่างแท้จริง..."



พระบรมราโชวาท พระราชทานในพิธีเปิดการ
ประชุมใหญ่ของสมาคมพุทธศาสนาทั่ว
ราชอาณาจักร 19 ธันวาคม 2524

................................................................


"...ธรรมะในพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่แสดง
สัจธรรม ความแท้จริงของสภาวธรรมทุกสิ่ง
ดังนั้น ถึง หากสังคมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ก็ไม่เกินไปกว่า ที่ชาวพุทธจะพิจารณารู้เท่าทันได้
เมื่อได้ปฏิบัติ อยู่ในธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โดยถูกต้อง มั่นคงแล้ว ความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสังคม
ก็ไม่ใช่ เหตุที่ควรวิตกอีกต่อไป..."



พระบรมราโชวาท พระราชทานในพิธีเปิดการประชุมใหญ่
สมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร 14 ธันวาคม 2534

................................................................


"...ทุกคนที่ถือตัวว่าเป็นชาวพุทธ
จะต้อง สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาตามภูมิปัญญา
ความสามารถ และโอกาสของตน ที่มีอยู่
เพื่อให้ เกิดความรู้และความเข้าใจที่กระจ่างถูกต้อง
พระศาสนาก็จะมั่นคง ขึ้นได้..."



พระราชดำรัส พระราชทานแก่ที่ประชุมใหญ่ของ
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ณ ประเทศเนปาล 27 พฤศจิกายน 2529

................................................................


"...ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ว่าเป็นชาติเชื้อใด
และแม้อยู่ใน นิกายใด
ล้วนถือทางปฏิบัติในกายวาจาใจเป็นอย่างเดียวกัน
คือ ย่อม พยายามอยู่ทุกเมื่อที่จะรักษากายวาจาใจ
ให้สะอาด ด้วยระเบียบปฏิบัติ อันดีงามและสุจริต
ที่จะควบคุมประคองใจ ให้สงบ
ด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ ตลอดเวลา..."



พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
การประชุมใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ณ ตึกรัฐสภา 22 พฤศจิกายน 2523

................................................................


"...ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ว่าเป็นชาติเชื้อใด
และแม้อยู่ใน นิกายใด ล้วนถือทางปฏิบัติในกายวาจาใจ
เป็นอย่าง เดียวกันคือย่อมพยายามอยู่ทุกเมื่อ
ที่จะรักษากายวาจาใจให้ สะอาดควบคุมประคองใจ
ให้สงบด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
ชาวพุทธที่แท้อยู่ ณ ที่ใดย่อม ทำให้ที่นั่นสงบร่มเย็น
มีแต่ความปรองดอง และสร้างสรรค์..."



พระราชดำรัส พระราชทานในการประชุมใหญ่
องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ณ อาคารรัฐสภา 22 พฤศจิกายน 2523

................................................................


"...การธำรงความเจริญมั่นคงของพระศาสนา
จึงน่าที่จะเน้นที่การแนะนำ
ให้เห็นประโยชน์ของการศึกษาปฏิบัติธรรมเป็นสำคัญ
เมื่อ ประโยชน์แห่งการปฏิบัติธรรมเกิดขึ้นแล้ว
ก็จะพึงพอใจและจะขวนขวาย ศึกษาปฏิบัติให้สูงขึ้น
และเมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะปฏิบัติธรรมกันอย่างถูกต้อง
ทั่วถึงมากขึ้นพระศาสนาก็จะเจริญ มั่นคง..."



พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไป
อ่านในการเปิดประชุมใหญ่ของ สมาคมพุทธ
ศาสนาทั่วราชอาณาจักร 7 มิถุนายน 2528

................................................................


"...ความจริงใจต่อผู้อื่น เป็นคุณธรรมสำคัญมาก
สำหรับผู้ที่ ต้องการความสำเร็จและความเจริญ
เพราะช่วยให้ สามารถขจัดปัดเป่าปัญหาได้มากมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา
อันเกิดจากความกินแหนง แคลงใจ
และเอารัดเอาเปรียบกัน..."



พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 11 กรกฎาคม 2534

................................................................


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 06 ส.ค. 2006, 2:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

"...การสั่งสอนธรรมะโดยบริสุทธิ์ และการปฏิบัติธรรม
เป็นแบบอย่างโดยประจักษ์ผลนี้
จะเป็นเหตุชักนำ และช่วยให้คนทั่วไป
สามารถศึกษาเข้าใจหลักธรรมได้กระจ่างชัด
และเกิดศรัทธาความเชื่อใน พุทธศาสนาอย่างถูกต้อง..."



พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
วันเปิดประชุมใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
22 พฤศจิกายน 2537

................................................................


"...เมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะ ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องทั่วถึง
พระศาสนาก็จะมั่นคงขึ้นได้
ทั้งนี้ เพราะเหตุที่บ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองนั้น
มักจะมาจากการกระทำของชาวพุทธผู้ไม่รู้ ไม่เข้าใจ
และไม่ ปฏิบัติตามธรรมะนั่นเองเป็นสำคัญ..."



พระราชดำรัส ในการประชุมใหญ่ของ
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
27 พฤศจิกายน 2529

................................................................


"...ผู้ที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามสิ่งที่ยึดมั่นนั้น
คือ ความดี เป็นผู้ที่เจริญ
เพราะว่าคนเราถ้าทำงานอะไร
ไม่มีความคิดที่แจ่มใส ไม่มีความคิดที่บริสุทธิ์
ไม่สามารถ ที่จะปฏิบัติงานได้
เป็นผลสำเร็จที่ดีงามและยั่งยืน..."



พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการ
จัดงานเมาลิดกลาง ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
24 กรกฎาคม 2522

................................................................


"...ในการดำเนินชีวิตของเรา
ต้องข่มใจไม่กระทำ สิ่งใดๆ ที่ รู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่ว
ว่าเสื่อม ต้องฝืนต้องค้านความคิดและความประพฤติทุกอย่าง
ที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ
เราต้องกล้า และบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่า
เป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม..."



พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านใน
พิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 12 ธันวาคม 2513

................................................................


"...การดำเนินชีวิตโดยใช้วิชาการอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ
จะต้องอาศัยความรู้รอบตัวและหลักศีลธรรมประกอบด้วย
ผู้ที่มีความรู้ดีแต่ ขาดความยั้งคิด
นำความรู้ไปใช้ในทาง มิชอบ
ก็เท่ากับเป็นบุคคลที่เป็นภัยแก่สังคมของมนุษย์..."



พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทาน ปริญญาบัตรของ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 18 กันยายน 2504

................................................................


"...ความเจริญของคนทั้งหลาย
ย่อมเกิดมาจากการ ประพฤติชอบ
และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นหลักสำคัญ
ผู้ที่ จะสามารถประพฤติชอบและหาเลี้ยงชีพได้ด้วยนั้น
ย่อมจะต้องมีทั้ง วิชาความรู้และหลักธรรมทางศาสนาวิชาการ
กับหลักธรรมนี้มีประกอบกันพร้อมในผู้ใด
ผู้นั้นจะได้ประสบความสุข
และความสำเร็จในชีวิตโดยสมบูรณ์..."



พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะครู
โรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ๔ จังหวัดภาคใต้
ณ มัสยิดกลาง จังหวัดปัตตานี 24 สิงหาคม 2519

................................................................


"...การทำนุบำรุงและส่งเสริมพระศาสนานั้น
ไม่มีทางใดจะดี จะตรง
จะสำคัญยิ่งไปกว่าการธำรงรักษา
ความบริสุทธิ์บริบูรณ์ของพระธรรมวินัย
ทั้งในด้านปริยัติและในด้าน ปฏิบัติ..."



พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญไป
อ่านในการเปิดประชุมใหญ่ของ สมาคมพุทธ
ศาสนาทั่วราชอาณาจักร 16 ธันวาคม 2526

................................................................


"...ชาวไทยซึ่งเป็นพุทธมามกชนมีจิตสำนึกมั่นคง
อยู่ในกุศลสุจริต และในความเมตตาการุญ
เห็นว่าศาสนาทั้งปวง ย่อมสั่งสอนความดีให้บุคคล
ประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ชอบ
จึงมิได้ดูแคลนเบียดเบียนผู้ถือศาสนาอื่น
ดังนี้คริสต์ศาสนาจึงเจริญงอกงาม ขึ้นได้ในประเทศไทย..."



พระราชดำรัสในโอกาสที่สมเด็จพระสันตะปาปา
จอห์นพอล ที่ 2 เข้าเฝ้า
ณ พระที่นั่งจักรีมหาประสาท 10 พฤษภาคม 2527

................................................................


"...ศาสนาอิสลามนี้ มีความดีเป็นพื้นฐาน
เพราะ ว่าศาสนาอิสลาม สอนให้ทุกคนเป็นพลเมืองดี
ทุกคนมี ความเข้มแข็ง มีวินัย และมีความปรารถนาดีต่อกันนี้
เป็นหลักที่สำคัญ ประชาชน ที่นับถือศาสนาอิสลาม
จึงมีส่วนสำคัญในการสร้างบ้านเมืองให้เจริญและ มั่นคง..."



พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะธรรมจาริก
ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
จังหวัด นราธิวาส 22 สิงหาคม 2516

................................................................


"...อิสลามิกชน มีพระคัมภีร์กุรอ่านเป็นแม่บทศักดิ์สิทธิ์
สำหรับ การประพฤติปฏิบัติตนและดำเนินชีวิต
ถ้าแต่ละคน จะพยายามศึกษาพระคัมภีร์ให้เข้าใจ
ถ่องแท้ยิ่งขึ้น พร้อมกับเอาใจใส่ศึกษาวิทยาการด้านอื่นๆ
ให้กว้างขวางและก้าวหน้าอยู่เสมอ
ก็จะ ส่งเสริมให้เป็นผู้มีความดี ความรู้ ความสามารถ
ครบถ้วน จะเป็นหลักเป็นกำลัง ในการพัฒนาสังคม..."



พระบรมราโชวาท เพื่อเชิญไปอ่านในพิธีเปิด
การสัมมนาเรื่องวิถีชีวิตอิสลามกับการพัฒนา
สังคม ของ สมาคมสตรีไทยมุสลิมแห่ง
ประเทศไทย 7 พฤศจิกายน 2531

................................................................


"...ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ยกย่องกันทั่วไปว่า
ประกอบด้วยคำสอนอันสมบูรณ์ครบถ้วน
ทั้งส่วน ที่เป็นบทบัญญัติทางศาสนาแท้ๆ
และส่วนที่เป็นบทบัญญัติทางระเบียบสังคม
ซึ่งเอื้ออำนวยให้อิสลามิกชนสามารถครองตนอยู่ ได้
ในความสุจริต และครองชีวิตอยู่
ร่วมกันได้โดยผาสุกมั่นคง..."



พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้นำศาสนา
อิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้
ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ 23 กันยายน 2529

................................................................


"...เรื่องศาสนานี้ จะเป็นศาสนาใด
หากปฏิบัติโดยดี และถูกต้อง ก็ย่อมจะมีประโยชน์
สำหรับแต่ละบุคคล และเป็นประโยชน์สำหรับส่วนรวมด้วย
เพราะว่าบุคคลที่มีความคิดดี ทำดี ตั้งใจดี ทำให้ส่วนรวม
อยู่เย็นเป็นสุข..."



พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการ
จัดงานเมาลิดกลาง ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
29 มิถุนายน 2524

................................................................


"...ศาสนานั้น จะเป็นศาสนาใดก็ตาม
ย่อมมีจุดประสงค์หลายอย่างหลายขั้น
และแต่ละศาสนามีวิธีปฏิบัติ ต่างๆ กัน
ซึ่งสรุปแล้วก็คือ วิธีหาความสุข
ความร่มเย็นให้แก่ตัว
การ ขึ้นสวรรค์หรือการสำเร็จ คือ
การบรรลุความสุขสุดยอด นั่นเอง..."



พระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้แทนสถาบัน
และองค์การที่เกี่ยวกับศาสนา เนื่องในพระราชพิธี
เฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาผกาภิรมย์ 4 ธันวาคม 2511

................................................................


"...ประเทศไทยได้ถือเป็นนโยบายเสมอมา
ในการให้ ประชาชน พลเมืองมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
ชาวไทยทุกคน มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ในการเลือกนับถือ
ศาสนาใดๆ ตลอดทั้งการปฏิบัติบูชาตามความเชื่อถือของตน
โดยเหตุนี้ผู้ที่นับถือศาสนาต่างๆ กันในประเทศไทย
จึงมีชีวิตที่ อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก..."



พระราชดำรัส ในโอกาสที่เอกอัครราชฑูตแห่ง
วาติกัน เข้าเฝ้าฯ ถวายพระราชสาสน์ตราตั้ง
ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 16 ตุลาคม 2512

................................................................

ที่มา : http://www.thaisnews.com/
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
marissa
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 10 ส.ค. 2006
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): สิงห์บุรี

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2006, 3:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาบุญกับความรู้ที่ให้นะค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2008, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง