Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ภาวะแห่งนิพพาน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ส.ค. 2008, 7:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3 ภาวะทางความประพฤติหรือการดำเนินชีวิต


ในด้านความประพฤติทั่วไปที่เรียกว่า ศึล ไม่สู้มีคำกล่าวแสดงลักษณะ

ของผู้บรรลุนนิพพานแล้วบ่อยครั้งนัก ทั้งนี้เพราะตามหลัก ศีลเป็นสิกขา

หรือการศึกษาขั้นต้น พระอริยบุคคลย่อมเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์แล้วตั้งแต่ขั้น

โสดาบัน (เช่น องฺ.นวก.23/216/394 ฯลฯ) และเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ ที่ผู้เข้าถึงนิพพานบรรลุ ก็เป็นภาวะที่ทำให้ความทุศีลหรือ

ความประพฤติเสียหายไม่มีเหลือต่อไป (องฺ.ทสก.24/75/149)


ที่ควรพิจารณา ณ ที่นี้ จึงเหลือจำกัดเพียงข้อที่ว่า พระอรหันต์ดำเนิน

ชีวิตอย่างไร ทำกิจกรรมหรือประกอบกิจการงานอะไรในรูปลักษณะ

อย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 8:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประการแรก พระอรหันต์เป็นผู้ดับกรรม-

(สํ.สฬ.18/229/166)

หรือสิ้นกรรม-

(ที.ปา.11/256/242 ฯลฯ)

การกระทำของท่านไม่เป็นกรรมอีกต่อไป

ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม มีคำเรียกการกระทำของท่านว่า เป็นกิริยา-

(อภิ.สํ.34/665/260)

ที่ว่าดับกรรมนั้น หมายถึงไม่กระทำการต่างๆ โดยมีอวิชชา ตัณหา

อุปทาน ครอบงำหรือชักจูงใจ แต่ทำด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ มีปัญญา

รู้แจ้งชัดตามเหตุผล เลิกทำการอย่างปุถุชน เปลี่ยนเป็นทำอย่าง

อริยชน คือ ไม่ทำการด้วยความยึดมั่นในความดีความชั่วที่เกี่ยวกับตัวฉันของฉัน

ผลประโยชน์ของฉัน ที่จะให้ฉันได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่มีความปรารถนา

เพื่อตัวตนเหลือบแฝงอยู่ ไม่ว่ารูปที่หยาบหรือละเอียด

แม้แต่ความภูมิพองอยู่ภายในว่านั่นเป็นความดีของฉัน หรือ ว่าฉันได้ทำความดี

เป็นต้น ทำไปด้วยวัตถุประสงค์ของกิจนั้นๆ

ตามเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ตามที่มันควรจะเป็นของมันล้วนๆ จึงเป็นการกระทำขั้น

ที่ลอยพ้นเหนือกรรมดีขึ้นไปอีก

ส่วนกรรมชั่วเป็นอันไม่ต้องพูดถึง เพราะหมดโลภะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุ

ปัจจัยให้ทำความชั่วเสียแล้ว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2010, 7:12 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 5:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่างไรก็ดี บางคราวมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่า ตามปกติคนเราจะทำอะไรได้
จะต้องมีแรงจูงใจในการกระทำ และแกนสำคัญของแรงจูงใจทั้งหลาย
ก็คือ ความปรารถนา ความต้องการ ซึ่งควรจะรวมอยู่ในคำว่า ตัณหา เมื่อผู้บรรลุนิพพานละตัณหาเสียแล้ว ก็หมดแรงจูงใจ จะทำการต่างๆได้อย่างไร คงจะกลายเป็นคนอยู่นิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย
แม้จะไม่ทำความชั่วก็จริง แต่ก็ไม่ทำความดีอะไรด้วย ก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ?

ในที่นี้ คำตอบขั้นต้นอย่างง่าย ๆ มีว่า มิใช่แต่ความอยาก ความปรารถนาเท่านั้น ที่เป็นแรงจูงใจ แม้ความคำนึงเหตุผลก็เป็นแรงจูงใจได้เช่นกัน

ดังจะเห็นได้ในปุถุชน เมื่อจะทำการบางอย่าง บางคราวมีการต่อสู้กันภายในจิตใจระหว่างพลัง สองฝ่าย คือ
ระหว่างความปรารถนาผลประโยชน์ส่วนตัว กับความรู้เหตุรู้ผลรู้ดีรู้ชั่ว

บางคราวเขาก็ทำตามความอยากได้ บางคราวเขาก็ทำตามเหตุผล

..............


ศึกษาแรงจูงใจในการกระทำการของมนุษย์สองอย่าง คือ แรงจูงใจที่เป็น

ตัณหาฉันทะ กับแรงจูงใจที่เป็นธรรมฉันทะ ที่


http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13590
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 7:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พิจารณาดีดี

-ต่อ


พิจารณาลึกลงไปอีกชั้นหนึ่ง

ชีวิตเป็นอยู่ได้ด้วยอาศัยพลังที่ทำให้มันเป็นชีวิต คือมีความเคลื่อนไหว
ขยายตัว ถ้าไม่มีองค์ประกอบอย่างอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง ชีวิตจะเคลื่อน
ไหวไปตามทางที่ความรู้บอกให้

แต่เพราะขาดความรู้หรือความรู้ไม่เพียงพอ ตัณหาจะได้โอกาสเข้ามา
บิดเบือนหรือบงการความ เคลื่อนไหวของชีวิต ไม่เฉพาะบงการให้ทำ
เท่านั้น บางครั้งเมื่อความรู้บอกให้แล้วว่า ควรกระทำ

แต่ตัณหาในรูปของความเกียจคร้าน เป็นต้น เข้าครอบงำเสีย กลับเหนี่ยวรั้งไว้ไม่ให้กระทำก็มี

ในภาวะเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่าตัณหาหรือความอยากไม่เป็นแต่เพียง
แรงจูงใจให้กระทำเท่านั้น แต่เป็นแรงจูงใจไม่ให้กระทำด้วย

แต่ถ้าจะพูดให้ถูกทีเดียว การไม่กระทำในกรณีนี้ ก็เป็นการกระทำ
อย่างหนึ่งเหมือนกัน คือกระทำการไม่กระทำ เพราะมีกิจกรรมที่เรียกว่าการไม่กระทำนี้เกิดขึ้นในรูปของการหน่วงรั้งไว้

ดังนั้น หน้าที่ของตัณหาในที่นี้ คือ เป็นแรงจูงใจ ทั้งในการกระทำ
การกระทำ และในการกระทำการไม่กระทำ เพราะมีตัณหา
คอยขัดขวางบีบและบงการ จึงทำให้การเคลื่อนไหวโดยพลัง
ของชีวิต ไม่เป็นอิสระตามทางที่ความรู้บอกให้

เมื่อใดพ้นจากอำนาจครอบงำหรือแฝงกระซิบของตัณหา เมื่อนั้นก็จะมี
การเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระ ตามทางของปัญญา นี่คือภาวะที่มีปัญญาเป็นแรงจูงใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 7:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ควรย้ำไว้อีกว่า เมื่อมีการไม่กระทำสิ่งที่ควรทำ เช่น นักเรียน

ไม่สนใจบทเรียน หรือคนไม่ช่วยเหลือกัน เป็นต้น ไม่พึงคำนึงถึง

แต่เพียงการขาดแรงจูงใจที่จะให้กระทำเท่านั้น แต่ควรพิจารณาถึง

แรงจูงใจให้ไม่กระทำด้วย คือ พิจารณาถึงตัณหาที่มาในรูปความ

เกียจคร้าน ความไม่ชอบใจ ความเพลิดเพลินกับอารมณ์อื่น

เป็นต้น ซึ่งมีกำลังมากกว่าฉุดดึงไว้ การใช้แรงจูงใจแบบ

ตัณหา จึงมักเป็นการเพิ่มหรือเร่งเร้าพลังแข่งขันต้านทานระหว่างแรง

จูงใจให้กระทำกับแรงจูงใจให้ไม่กระทำ ฝ่ายไหนแรงกว่าก็ชนะ

ข้อนี้ เป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากกรณีที่ปัญญาเป็นแรงจูงใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 10:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ว่ามีการเคลื่อนไหวที่เป็นอิสระตามทางของปัญญา หรือภาวะที่มีปัญญาเป็นแรงจูงใจนั้น ถ้าพิจารณาแยกแยะออกไปให้ละเอียด จะมองเห็นว่ามีคุณธรรมอย่างหนึ่งเกิดแทรกอยู่ด้วย ได้แก่ ความกรุณา

กรุณานี้เกิดขึ้นมาเอง เมื่อเราประสบพบเห็นคนอื่นที่กำลังมีปัญหา ถูกความทุกข์บีบคั้น ขาดอิสรภาพอยู่ ถ้าในขณะนั้นตัวเราเองอยู่ในภาวะที่มองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นและมีจิตใจเป็นอิสระอยู่ คือ ไม่ถูกอวิชชา ตัณหา อุปาทาน เข้าครอบงำชักจูง เช่น มิใช่กำลังคำนึงถึงผลได้เพื่อตัว ไม่มีความห่วงกังวลเกี่ยวกับตัวตน ไม่มีตัวตนที่
กำลังถูกกระทบกระแทกบีบคั้นอยู่ ไม่เกิดความชอบใจจากการได้เห็นคน
อื่นประสบทุกข์อันเป็นการสนองความอยากแฝงเร้นภายใน
ของอัตตาที่จะได้ขยายตัวใหญ่โตขึ้นไปบ้าง

พูดง่ายๆ ว่าถ้าตัวเองไม่มีปัญหาบีบคั้นทำให้ติดข้องคับแคบ ยังเป็นอิสระอยู่
ในขณะนั้นจิตใจของเราจะเปิดกว้างออก แผ่ไปรับรู้ทุกข์สุขและปัญหาของผู้อื่นที่กำลังประสบอยู่นั้นได้เต็มที่ จะเกิดความรู้สึกเห็นออกเห็นใจ เกิดความเข้าใจ เกิดความคิดที่จะช่วยเหลือปลดเปลื้องเขาจากปัญหา ทำให้เขาหลุดพ้นเป็นอิสระด้วย เมื่อเกิดความคิดช่วยเหลือขึ้นมาแล้วเช่นนี้
ถ้าไม่เกิดตัณหาแทรกเข้ามาอีก ในรูปของความห่วงใยความสุขของตน กลัวสูญเสียประโยชน์ส่วนตัว และความเกียจคร้าน เป็นต้น พลังเคลื่อนไหวของชีวิตก็จะดำเนินไปอย่างอิสระ สุดแต่ปัญญาจะคิดรู้และบอกทางให้ คือมีการช่วยเหลือเกื้อกุลเกิดขึ้น ความรู้สึกของบุคคลผู้มีจิตใจปลอดโปร่ง เป็นอิสระเปิดกว้างออก พร้อมที่จะรับรู้เรื่องราวของชีวิตอื่นๆ เคลื่อนไหวตามรู้ตามเห็นปัญหาข้อติดขัดบีบคั้น คือความทุกข์ของเขา คิดเผื่อแผ่เกื้อกูลต้องการให้เขาหลุดพ้นเป็นอิสระจากปัญหาหรือความทุกข์นั้น พร้อมที่จะทำการเพื่อแก้ไขข้อคับข้องติดขัดให้เขา

ความรู้สึกที่แผ่ออกไปช่วยเหลือเกื้อกูลอย่างนี้แหละเรียกว่า กรุณา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 1:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เท่าที่กล่าวมา เป็นอันสรุปได้ว่า กรุณาเป็นผลสืบเนื่องจากปัญญาและความมีจิตใจเป็นอิสระ

ปัญญาในที่นี้ มีคำเรียกจำเพาะว่า วิชชา และความมีใจเป็นอิสระ ก็มีคำเรียกจำเพาะว่า วิมุตติ
จัดลำดับเข้าชุดเป็น วิชชา วิมุตติ และกรุณา เป็นคู่ปรับตรงข้ามกับ อวิชชา ตัณหา และอุปาทาน

ผู้บรรลุนิพพานละ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน แล้วจึงมีปัญญาและกรุณาเป็นแรงจูงใจในการกระทำกิจสืบต่อไป

โดยนัยนี้จะเห็นได้ว่า ถ้าจะต้องใช้ตัณหาเป็นแรงจูงใจในการกระทำทุกอย่างแล้ว การทำความดีต่อกันหรือการช่วยเหลือกัน จะเป็นการช่วยเหลือที่แท้จริง หรือเป็นการช่วยเหลือที่บริสุทธิ์ไม่ได้เลย และในทำนองเดียวกัน ตราบใดที่ยังมีตัณหา หรือใช้ตัณหาเป็นแรงจูงใจ ในการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น การช่วยเหลือนั้นย่อมมิใช่เป็นกรุณาที่แท้จริง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 3:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความหมายของศัพท์ดังกล่าว

วิชชา - ความรู้เท่าทันสภาวะ ซึ่งทำให้อัตตาไม่มีที่ตั้งอาศัย

วิมุตติ-ความหลุดพ้นปลอดโปร่งโล่งเป็นอิสระ

กรุณา-ความรู้สึกแผ่ออกของจิตใจที่ไวต่อและไหวตามทุกข์ของสัตว์ ต้องการช่วยปลดเปลื้องให้ผู้อื่นหลุดพ้นเป็นอิสระ


อวิชชา- ความไม่รู้ตามสภาวะ ที่ทำให้เกิดมีอัตตาขึ้นมาเป็นที่ข้องขัด

ตัณหา-ความอยากที่จะให้อัตตาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งหรือภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาการที่จะสนองความขาดความพร่องของอัตตา หรือหล่อเลี้ยงเสริมขยายอัตตานั้น

อุปาทาน-ความยึดติดเกาะเกี่ยวเหนี่ยวแน่นกับสิ่ง หรือ ภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งในเมื่อเห็นไปว่าสิ่ง หรือภาวะนั้น มีความหมายสำคัญต่อการสนองอัตตา หรือความยิ่งใหญ่เข้มแข็งมั่นคงของอัตตา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ย. 2008, 3:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความจริง ตัณหา (คลุมถึงอวิชชาและอุปาทานด้วย) ไม่เพียงเป็น

แรงจูงใจที่มีอันตรายเท่านั้น แต่ยังทำให้มองข้ามหรือมองไม่เห็น

ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านอีกด้วย หรือแม้เห็น ก็เห็นผิดพลาดบิด

เบือนไปเสีย ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์

อย่างแท้จริง สิ่งที่เป็นประโยชน์กลับเห็นไปว่าไม่เป็นประโยชน์ สิ่งที่ไม่

เป็นประโยชน์ กลับเห็นไปว่าเป็นประโยชน์ โดยปรากฏออกมา

ในรูปของราคะ โทสะ โมหะ ที่ครอบงำใจเสียบ้าง ในรูปของนิวรณ์ 5

ที่กำบังขวางกั้นการทำงานของจิตใจเสียบ้าง

ต่อเมื่อปราศจากกิเลสเหล่านั้นแล้ว จิตใจจึงจะราบเรียบผ่องใส

มองเห็นและรู้จักตัวประโยชน์ที่แท้จริง

(องฺ.ติก.20/511/278; 46/10 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 9:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อนึ่ง พึงทำความเข้าใจว่า คำว่า อัตถะ อรรถ หรือประโยชน์ในที่

นี้ มิได้หมายถึงผลประโยชน์ อย่างที่มักเข้าใจกัน แต่หมายถึง

ประโยชน์ที่เป็นแก่นสารของชีวิต หรือเรื่องที่เป็นสาระของชีวิต

ซึ่งทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม ทำให้เป็นคนที่เติบโตแล้วในความหมาย

ที่แท้จริง เป็นผู้มีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาเป็นที่พึ่งตัวได้

โดยสาระมุ่งเอาความเติบโตทางปัญญา พร้อมด้วยคุณธรรมอื่นๆที่เกี่ยว

ข้อง และความเป็นอิสระหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำของอวิชชา ตัณหา

อุปาทาน ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 10:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถึงตอนนี้ อาจพิจารณาภาวะด้านการดำเนินชีวิตของผู้บรรลุนิพพานแล้ว

โดยแยกเป็น 2 อย่าง คือ การทำกิจหรือการงานอย่างหนึ่ง

และกิจกรรมเนื่องด้วยชีวิตส่วนตัวอย่างหนึ่ง

ในการงานหรือการทำกิจนั้น พระอรหันต์ซึ่งเป็นผู้หลุดแล้วจากบ่วง

ไม่มีอะไรจะหน่วงรั้งให้พะวง ย่อมอยู่ในฐานะเป็นสาวกชั้นนำ ซึ่งจะ

ทำหน้าที่ของพุทธสาวกได้ดีที่สุด บริบูรณ์ที่สุด

ลักษณะการทำกิจการงานของพุทธสาวกนั้นก็มีบ่งชัดอยู่แล้วในคำสอนที่

พระพุทธเจ้าตรัสย้ำ เริ่มต้นแต่ทรงส่งสาวกออกไปประกาศพระศาสนา

ในพรรษาแรกแห่งพุทธกิจ - (วินย.4/32/39 ฯลฯ) คือ ทำเพื่อ

ประโยชน์สุขของพหูชน- (พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย) เพื่อ

อนุเคราะห์ชาวโลก - (โลกานุกมฺปาย) เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ

ความสุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย- (อตฺถาย หิตาย สุขาย

เทวมนุสฺสานํ)

ความข้อนี้ถือเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของพรหมจรรย์ คือ พระศาสนานี้-

(ที.ม.10/107/140 ฯลฯ

เป็นหลักวัดความประพฤติปฏิบัติของภิกษุสาวก- (องฺ.ปญฺจก.22/88/130

ฯลฯ) และเป็นคุณประโยชน์ที่พึงเกิดมีจากบุคคลที่ถือว่าเลิศหรือ

ประเสริฐตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงเป็นข้อคำนึงประจำ

ในการบำเพ็ญกิจและทำการงานของพุทธสาวก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 9:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เนื่องด้วยประโยชน์ หรือ อรรถ มีความหมายดังได้กล่าวแล้ว ดังนั้นกิจหรืองาน
หลักของผู้บรรลุนิพพานแล้ว จึงได้แก่การแนะนำสั่งสอน การให้ความรู้
การส่งเสริมสติปัญญา และ คุณธรรมต่างๆตลอดจนการดำเนินชีวิตและประพฤติ
ตัวเป็นแบบอย่าง ในทางที่มีความสุข มีคุณธรรม และเป็นชีวิตที่ดีงาม ซึ่ง
คนภายหลังจะถือเป็นทิฏฐานุคติได้ โดยเฉพาะการแนะนำสั่งสอนให้ความรู้ความ
เข้าใจแก่ผู้อื่นนั้น แทบจะเรียกได้ว่า เป็นหน้าที่หรือสิ่งที่พึงต้องทำสำหรับ
ผู้บรรลุนิพพานแล้ว (ที.สี.9/358/289)

ในด้านการดำเนินชีวิตส่วนตัว ก็มีหลักคล้ายกับการทำกิจการงาน คือมุ่งประโยชน์แก่พหูชน แม้ว่าพระอรหันต์จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ข้อปฏิบัติต่างๆที่เคยต้องปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน เมื่อท่านบรรลุนิพพานแล้ว จะเลิกเสีย ไม่ปฏิบัติต่อไปก็ย่อมได้ แต่ก็ปรากฏว่าเมื่อเป็นการสมเหตุสมผลท่านก็ปฏิบัติต่อไปอย่างเดิม

ทั้งนี้ในด้านส่วนตัว เพื่อความอยู่สบายในปัจจุบันที่เรียกว่าทิฏฐธรรมสุขวิหาร และในด้านที่เกี่ยวกับผู้อื่น เพื่ออนุเคราะห์ชุมชนที่จะเกิดตามมาภายหลัง (ปัจฉิมาชนตานุกัมปา) เพื่อเป็นแบบอย่างอันดี ที่ชนภายหลังจะได้ถือปฏิบัติตาม (ทิฏฐานุคติ) เช่นในกรณีที่พระพุทธเจ้า ทรงเสพเสนาสนะในราวป่า - (องฺ.ทุก.20/274/77) และพระมหากัสสปะเถระถือธุดงค์- (สํ.นิ.16/481/239) เป็นต้น
ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ย. 2008, 5:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในรายนามเอตทัคคะเท่าที่มีอยู่นั้นเอง ก็จะเห็นได้ว่า คุณสมบัติที่เป็นเอตทัคคะ เป็นเรื่องเกี่ยวกับงานเทศนาสั่งสอนเสียหลายส่วน อาจกล่าวได้ว่างานเทศนาสั่งสอนแนะนำฝึกอบรมผู้อื่น เป็นกิจสำหรับผู้บรรลุนิพพานแล้วทุกท่านซึ่งจะพึงทำตามความสามารถ

ส่วนกิจการ และ กิจกรรมอย่างอื่นแตกต่างกันไปตามพื้นเพการศึกษาอบรมและตามธาตุ คือ ความถนัดและอัธยาศัยของแต่ละท่าน
สำหรับท่าน ที่สามารถในการอบรมสั่งสอน และได้รับความเคารพนับถือ มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมาก เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์มีศิษย์มาก
นอกจากมีงานเทศนาสั่งสอนทั่วๆไปแล้ว ยังมีภาระที่ต้องให้การศึกษาแก่หมู่ศิษย์จำนวนมากด้วย ดังจะเห็นได้ว่า พระมหาสาวกหลายท่านเวลาเดินทางคราวๆหนึ่งๆ มีภิกษุสงฆ์ติดตามเป็นหมู่ใหญ่- (เช่น พระสารีบุตร โมคคัลลาน์
ม.ม.13/185/193 พระมหากัสสปะ ที.ม. 10/154/187 พระยโสชะ
ขุ.อุ.25/71/107)

การให้การศึกษาแก่ศิษย์เช่นนี้ รวมไปถึงการให้การศึกษาแก่สามเณรด้วย
ดังเช่น พระสารีบุตร ซึ่งมีเรื่องราวหลายแห่งแสดงให้เห็นว่า ท่านคงจะมีความ
สามารถมากในการฝึกอบรมเด็กและคงมีสามเณรอยู่ในความดูแลมิใช่น้อย
เมื่อพระราหุลจะบวชเป็นสามเณร พระพุทธเจ้าก็ทรงมอบให้พระสารีบุตร
เป็นอุปัชฌาย์- (วินย.4/118/168)

สามเณรเล็กอายุน้อยๆ ที่เป็นศิษย์พระสารีบุตรมีชื่อเสียงเก่งกล้าสามารถหลาย
รูป- (เช่น สังกิจสามเณร บัณฑิตสามเณร โสปากสามเณร
และเรวตสามเณร ขุ.เถร.26/377/356 ฯลฯ)

พระสารีบุตร เคยเดินบิณฑบาตไปพบเด็กกำพร้าอดโซ เที่ยวเร่ร่อนหาเศษอาหารเก็บกินอย่างอนาถา ก็สงสารชวนมาบวชเณรและให้ศึกษาธรรมวินัย - (ชา.อ.2/1) เป็นตัวอย่างของการให้ทั้งการศึกษาและการสงเคราะห์แก่เด็กๆ
แม้พระพุทธเจ้าเอง ก็ตรัสเตือนให้ใส่ใจความเป็นอยู่ของเด็กๆที่มาบวชไม่ให้ทอดทิ้ง- (ชา.อ.1/245)

ในเมื่อมีผู้มาอยู่ในความดูแลให้การศึกษาเป็นหมู่ใหญ่ ก็ย่อมเกิดมีกิจอย่างหนึ่ง คือ การปกครองงานบริหารหรืองานปกครองนี้ ท่านถือเป็นกิจสำคัญ
อย่างหนึ่ง เรียกอย่างสามัญก็คือ ท่านสอนให้มีความรู้สึกรับผิดชอบในงาน
ปกครอง- (ดู ม.ม.13/189/197)

อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าการปกครองสงฆ์นี้ เป็นงานทีสืบเนื่องมาจากการศึกษา ดังนั้น การปกครองสงฆ์จึงมีความหมายเป็นการให้การศึกษานั่นเอง แต่เป็นการให้การศึกษาในขอบเขตที่กว้างขวาง เพื่อฝึกคนพร้อมกันจำนวนมาก และเพื่อทำสมาชิกทั้งหลายของหมู่ให้มีชีวิตเกื้อกูลแก่กันในการดำเนินก้าวหน้าไปสู่จุดหมายที่ดีงาม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ย. 2008, 1:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(พระอรหันต์ครั้งพุทธกาลท่านรับผิดชอบงานส่วนรวมของหมู่คณะและงานพระ
ศาสนา...กันอย่างไร คห.นี้จะเห็นภาพชัดขึ้น)



-นอกจากความรับผิดชอบในงานเทศนาสั่งสอน
-การให้การศึกษา
-และการปกครองแล้ว

หลักฐานและเรื่องราวต่างๆ เท่าที่ปรากฏในคัมภีร์แสดงให้เห็นว่า พระอรหันต์ ได้ประพฤติเป็นตัวอย่างในการแสดงความเอาใจใส่ รับผิดชอบต่อกิจการของส่วนรวม และความเคารพสงฆ์ ซึ่งเป็นความสำนึกที่สำคัญในฐานะที่ระบบชุมชนของพระพุทธศาสนาถือสงฆ์คือส่วนรวมเป็นใหญ่ และพระพุทธเจ้าก็ทรงย้ำอยู่เสมอเกี่ยวกับความพร้อมเพรียงของหมู่ ทั้งโดยคำสอนทางธรรม เช่น หลักอปริหานิยธรรม- (ที.ม.10/70/90 ฯลฯ)
การถือธรรมเป็นใหญ่- (ม.อุ.14/107-115/90-97 ฯลฯ) และบทบัญญัติทางพระวินัย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสังฆกรรมต่างๆ
(ดู วินยปิฎก เล่ม 4-7)

เรื่องราวที่แสดงว่าพระอรหันต์เอาใจใส่ และ พึงเอาเอาใจใส่รับผิดชอบต่อกิจการของส่วนรวม และเคารพสงฆ์นั้นมีมากมาย เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำอุโบสถสวดปาติโมกข์สอบทานความบริสุทธิ์ของภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน
พระมหากัปปินเถระ ได้คิดว่าท่านควรจะไปทำอุโบสถสังฆกรรมหรือไม่ เพราะท่านเองเป็นพระอรหันต์ มีความบริสุทธิ์เป็นยอดยิ่งอยู่แล้ว

พระพุทธเจ้าทรงทราบความคิดของท่าน และได้เสด็จมาตรัสเตือน
ว่า “ถ้าท่านผู้เป็นพราหมณ์ (คือพระอรหันต์) ไม่เคารพอุโบสถแล้ว ใครเล่าจักเคารพอุโบสถ จงไปทำอุโบสถสังฆกรรมเถิด”

พระทัพพมัลลบุตร สำเร็จอรหัตผลตั้งแต่อายุยังน้อย ท่านจึงมาคิดว่า

“เรานี้เกิดมาอายุ 7 ปี ได้ทำให้สำเร็จอรหัตผลแล้ว สิ่งใดๆ ที่สาวกจะพึงบรรลุถึง เราก็ได้บรรลุหมดสิ้นแล้ว กรณียะที่เราจะต้องทำยิ่งไปกว่านี้ก็ไม่มี หรือกรณียะที่เราทำเสร็จแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมาสั่งสมอีก เราควรจะช่วยขวนขวายงานอะไรของสงฆ์ดี หนอ?”

ต่อมาท่านคิดว่า “เราควรจัดแจงเสนาสนะของสงฆ์ และจัดแจกอาหารแก่สงฆ์”
ครั้นแล้วท่านจึงไปกราบทูลความสมัครใจของท่านแก่พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าก็ทรงประทานสาธุการ แล้วให้สงฆ์ประชุมพิจารณาตกลงกันแต่งตั้งท่านเป็นพระเสนาสนปัญญาปกะ - พระผู้จัดแจงที่พักอาศัย
และพระภัตตุเทศก์-พระผู้จัดแจกอาหาร (วินย.6/589-593/304-7)

เมื่อมีเรื่องราว ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของการ
พระศาสนา พระอรหันต์เถระ จะขวนขวายดำเนินการอย่างเอาจริงเอาจังเพื่อระงับเรื่องราวหรือจัดกิจการให้เสร็จเรียบร้อย ทั้งที่ตามปกติท่านเหล่านั้นชอบอยู่สงบในที่วิเวก ดังเช่น พระมหากัสสปเถระริเริ่มดำเนินการสังคายนาครั้งที่ 1 - (วินย.7/614/380)

พระยสกากัณฑบุตร พระสัมภูตสาณวาสี และพระเรวัต ริเริ่มการสังคายนาครั้งที่ 2 (วินย.7/638-641/403-407) เป็นต้น

ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ที่ประชุมได้ปรับอาบัติ ตัดสินลงโทษ
พระอานนท์เกี่ยวกับความบกพร่องบางอย่างของท่านในการทำหน้าที่อุปัฏฐาก
แม้ว่าพระอานนท์จะมีเหตุผลบริบูรณ์ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านปฏิบัติหน้าที่โดย
ไม่บกพร่อง แต่ท่านก็ปฏิบัติตามมติลงโทษของสงฆ์ โดยได้ชี้แจงเหตุผลเหล่านั้นแก่ที่ประชุมอย่างชัดเจนเสียก่อน (วินย.7/622/387)

เมื่อพระสงฆ์ประชุมพิจารณาระงับอธิกรณ์ในคราวสังคายนาครั้งที่ 2
พระอรหันต์ 2 รูป มาไม่ทันประชุม พระเถระที่ประชุมก็ลงโทษ ทำทัณฑกรรมแก่ทั้งสองท่านโดยการมอบภารกิจบางอย่างให้ทำ- (วินย.อ. 1/35 ฯลฯ) เมื่อครั้งพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกในอินเดียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ทรงปรีชาในหลักศาสนาและปรัชญา ทรงท้าโต้วาทะกับลัทธิศาสนาต่างๆ ทำให้
วงการพระศาสนาสั่นสะเทือนมาก

พระอรหันต์เถระประชุมกันพิจารณาหาทางแก้ไขสถานการณ์
มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อโรหณะ ไปเข้านิโรธสมาบัติเสียที่ภูเขาหิมาลัย ยังไม่ทันทราบจึงไม่ได้ไปร่วมประชุม ที่ประชุมจึงส่งทูตไปนิมนต์ท่านมาและลงโทษทำทัณฑกรรมแก่ท่าน โดยมอบภาระเรื่องการเอาตัวเด็กชายนาคเสนมาบวชให้
แก่ท่าน- (มิลินทปัญหา - Miln. 7-8 ฉบับไทย = 12 )

ในคัมภีร์สมัยหลังต่อมาอีกก็มีเรื่องเล่าคล้ายกัน เช่น เมื่อคราวที่คณะสงฆ์กำลัง
ช่วยอุดหนุนพระเจ้าอโศกมหาราชในการทำนุบำรุงพระศาสนา

พระอรหันต์ชื่ออุปคุตต์ ปลีกตัวไปทำที่สงัดเสวยสุขจากฌานสมาบัติเสียไม่ทราบเรื่อง ที่ประชุมจึงส่งพระภิกษุไปตามท่านมา แล้วทำทัณฑกรรมลงโทษท่าน ในข้อที่ท่านไปหาความสบายผู้เดียว ไม่อยู่ในสามัคคีสงฆ์ และไม่เคารพสงฆ์ โดยให้รับภาระดูแลคุ้มกันงานสมโภชมหาสถูปของพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งพระอุปคุตต์ก็รับภาระนั้นด้วยความเคารพต่อสงฆ์

เรื่องราวเหล่านี้โดยเฉพาะเรื่องหลังๆ จะมีรายละเอียดถ่องแท้แค่ไหนก็ตาม แต่
ก็เป็นเครื่องแสดงอย่างชัดเจนว่า คติที่ถือว่าพระอรหันต์เป็นตัวอย่างความประพฤติ
เกี่ยวกับการเคารพสงฆ์และเอาใจใส่ต่อกิจการของส่วนรวม เป็นประเพณีปฏิบัติที่สืบเนื่องกันมาในพระพุทธศาสนา

เหตุผลที่เป็นข้อปรารภ (จะเรียกว่าเป็นแรงจูงใจก็ได้) สำหรับการกระทำเหล่านี้ ก็อย่างเดียวกับที่กล่าวมาแล้วแต่ต้นคือ “เพื่อให้การครองชีวิตประเสริฐ (พรหมจรรย์คือพระศาสนา) นี้ ยั่งยืนดำรงอยู่ชั่วกาลนาน เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวะและมนุษย์ทั้งหลาย”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 12 ก.ย. 2008, 9:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ภาวะทางปัญญา

ภาวะทางจิต

และภาวะทางความประพฤติและการดำเนินชีวิต ของผู้บรรลุนิพพาน

เท่าที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด รวมอยู่ในหลักสามข้อ คือ ปัญญาที่เรียก

จำเพาะว่า วิชชา

ความหลุดพ้นเป็นอิสระที่เรียกว่า วิมุตติ

และกรุณาที่เป็นพลังแผ่ปรีชาญาณออกไปทำให้ผู้อื่นพลอยได้วิชชา

และถึงวิมุตติด้วย

ถ้าเปรียบปุถุชนเหมือนคนถูกมัด วิชชาก็เป็นมีดตัดเครื่องผูกขาดออก

ไป

วิมุตติ ก็คือ การหลุดพ้นออกไปจากเครื่องผูกมัดเป็นอิสรเสรี

กรุณา ก็คือ เมื่อหายเดือดร้อนวุ่นวายกับเรื่องของตัวเองแล้ว ก็มองกว้าง

ออกไปเห็นคนอื่นๆ ถูกมัดอยู่ ตัวเองไม่มีอะไรต้องวุ่นพวงอีกแล้ว

ก็เอาแต่เที่ยวแก้มัดคนอื่นต่อไป ในทางหลักวิชา ถือว่า วิชชาเป็น

มรรค

ส่วนวิมุตติ เรียกคร่าวๆว่า เป็นผล

แต่ตามตำราท่านแยกวิมุตติละเอียดออกไปเป็นสองตอน คือ เป็นทั้ง

มรรคและทั้งผล

กิริยาที่หลุดหรือพ้นออกไป หรือ ขณะที่หลุดพ้น ท่านว่าเป็นมรรค

ภาวะที่เมื่อหลุดพ้นออกไปแล้ว มีความเป็นอิสรเสรีอยู่เป็นปกติ

เรียกว่า เป็นผล- (วิชชา เช่น ม.อ.2/469; 32743 ฯลฯ)

ลำพังการบรรลุนิพพานย่อมเสร็จสิ้นเพียงแค่วิชชาและวิมุตติ

ส่วนกรุณาเป็นเรื่องของการทำเพื่อผู้อื่นต่อไป

ฯลฯ

บอร์ดใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง