Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เห็น ในปัจจุบัน เป็นหนึ่งเดียว...สมถะประสานกับวิปัสสนา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 10:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็น ในปัจจุบัน เป็นหนึ่งเดียว

โอวาทธรรม หลวงปู่สิม พุทธาจโร

มาจากบทธรรมเต็มๆ

.....“เห็น ในปัจจุบัน เป็นหนึ่งเดียว.....

.....มีสติ เห็นตามความเป็นจริงเท่าที่เห็น.....

.....มีปัญญา เลิกละความยึดมั่นถือมั่น จิตก็หยุดไม่สงสัย.....

.....เป็นการเห็นเพื่อการเลิกละทั้งหมด.....

.....เป็นการรู้เพื่อการเลิกล่ะทั้งหมด.....”


อ่านบทธรรมเทศนานี้ ทำให้นึกถึง อริยมรรคสมังคี จากพระสูตร


ถ้าพระโยคาวจรตั้งใจมั่นดีแล้ว ย่อมเห็นแจ้ง ฉันใด
ถ้าเมื่อเห็นแจ้ง ก็พึงตั้งใจไว้ให้มั่นคงดี ฉันนั้น

สมถะและวิปัสสนาได้มีแล้วในขณะนั้น ย่อมเป็นคู่ที่มีส่วนเสมอกันเป็นไปอยู่




" เห็น ในปัจจุบัน เป็นหนึ่งเดียว "

เห็น....คือ เห็นแจ้ง (วิปัสสนา)

เป็นหนึ่งเดียว ..... คือ เอกัคตาจิต หรือ ความมีจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง(สมถะ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 10:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเจริญสมาธิภาวนา ในยุคปัจจุบัน...เช่น อานาปานสติ
สำหรับบางท่าน กลับกลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรศึกษาและปฏิบัติไปเสียแล้ว....

ผมเห็นว่าเป็นเพราะ

1. มีการแยกขาด สมถะ ออกจาก วิปัสสนา

โดยเห็นว่า สมถะเป็นตัวถ่วงในการเจริญวิปัสสนา หรือ เป็นสิ่งที่จะคอยปิดกั้นการเจริญวิปัสสนา..
คือ เห็นว่า สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ เป็นแบบเดียวกับ สมถะแบบของฤาษี หรือ อาจเป็นในลักษณะการเก็บกดอารมณ์

แทนที่จะเห็นว่า สมถะเป็นองค์ประกอบของอริยมรรคเคียงคู่กับวิปัสสนา



2. เมื่อพูดถึงผลของสมาธิภาวนา
มักจะพูดแต่เพียงข้อเสียบางจุด(ซึ่ง ก็อาจเกิดได้จริง)... โดยไม่ยอมพูดถึง อานิสงส์ของสมาธิภาวนาที่อาจได้รับข้ออื่นๆ

ตัวอย่างเช่น

เมื่อกล่าวถึงสมาธิภาวนาก็จะพูดถึงแต่ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้ภาวนาหลงเพลินกับสมาธิจนเกินไป เช่น การติดสุขจากสมาธิ และ การหลงในญาณทัศนะ ...

โดย ไม่ยอมกล่าวถึง อานิสงส์ของสมาธิภาวนาข้ออื่นๆตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้

พระพุทธองค์ทรงแสดง สมาธิภาวนาเอาไว้ว่า มี 4 อย่าง ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา (การเจริญสมาธิ) มี 4 อย่าง ดังนี้ คือ

1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
(การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)

2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ

3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ

4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

(องฺ. จตุก.ก. 21/41/53; ...)


เวลา ผู้ที่กล่าวโทษสมถะ

ก็จะกล่าวแต่เพียง ผลเสียที่อาจเกิดจาก2ข้อแรก(ใน กรณีที่หลงเพลินจนเกินไป)

แต่ เขาจะไม่ยอมกล่าวถึงข้อ3 ซึ่งก็คือ "สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ"
...และ ข้อ3 ก็จะเป็นเหตุนำไปสู่ข้อ4 ซึ่งก็คือ สัมมาสมาธิในองค์อริยมรรค นั่นเอง



ผมกำลังจะบอกว่า ไม่ใช่ว่า ถ้าเราฝึกหัดอานาปานสติกันแล้ว จะทำให้ไม่สามารถเจริญสติในชีวิตประจำวันเสียเมื่อไร....

เวลาที่เราฝึกอานาปานสติ เราก็ฝึกไป
เวลาเราเลิกฝึกอานาปานสติ เราก็มาเจริญสติต่อไปเลย.

อานาปานสติ ช่วยให้ การเจริญสติในชีวิตประจำวันดีขึ้นเสียด้วยซ้ำ

ผมไม่ได้กล่าว ลอยๆ
มีพระพุทธพจน์รับรองครับ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ



ก็ ลองพิจารณากันดูตามเห็นควรน่ะครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 10:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะ-วิปัสสนาในพระสูตรนั้น สามารถอ่านได้จากพระสูตรโดยตรงครับ

(การศึกษา สมถะ-วิปัสสนา ผ่านความเห็นของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลควรศึกษาอย่างรอบครอบ เพราะ หลายจุด ไม่ตรงกับในระดับพระสูตร)


ในพระสูตร มีพุทธพจน์ที่ตรัส ถึง สมถะ คู่กับ วิปัสสนา มากมาย

ที่ชัดเจนมากอีกจุดหนึ่ง คือ

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=31&start_byte=535516

[๕๖๑] ชื่อว่าโพชฌงค์

เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสนา
ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสนา
ว่าตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน




ถึงแม้น สมถะ และ วิปัสสนา จะมีนัยยะที่แยกแยะความแตกต่างในความหมาย และ อานิสงส์ได้ (สมถะมีอานิสงส์คือความไม่ฟุ้งซ่าน ส่วนวิปัสสนามีอานิสงส์คือความเห็นแจ้ง)

แต่ สมถะ และ วิปัสสนา แยกขาดออกจากกันไม่ได้ครับ ต้องประชุมรวมกันเป็นอริยมรรคสมังคี ...เช่น จากพระสูตร "ความมีกิจอันเดียวกันแห่งสมถะและวิปัสสนา"... คือ ทั้งสมถะ และ วิปัสสนา ต่างรวมกันเป็นองค์อริยมรรคสมังคี เพื่อนำไปสู่การสิ้นทุกข์ นั่นเอง
 


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 29 ส.ค. 2008, 10:34 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 10:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในระดับพระสูตร ท่านพระอานนท์ท่านได้สรุปประมวล แนวทางการเจริญ สมถะ-วิปัสสนา ไว้ดังนี้


ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา
ใน ๒ อย่างนี้
จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ?
จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป....

มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒


จาก http://www.84000.org/true/220.html


ผู้ภาวนาบางท่าน
เหมือนอาจจะกำลังเข้าใจว่า การเดินมรรคสามารถเดินได้ด้วยการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ต้องจบด้วยส่วนของสมถะ.... ไม่ใช่ลักษณะ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า แบบในพระสูตร

และ บางท่าน กล่าวว่า ท่านไปเจริญสมถะมาก่อน โดยสมถะนั้นมีลักษณะ "ตื้อๆ ตันๆ คิดอะไรก็คิดไม่ออก" ....ซึ่ง นี่ตรงกับ มิจฉาสมาธิเลยครับ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ

ทำให้ผมนึกถึง คำกล่าวของ วิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่ง เคยกล่าวไว้ดังนี้

“...หลักของสมถะ เรื่องของสมถะ หรือ สมาธิ โดยย่อ ก็คือ การทำจิตให้สงบนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ต้องการ จะเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ เพื่อให้จิตจับสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์นั้นโดยไม่กวัดแกว่งไปในอารมณ์อื่น ตามอำนาจของกิเลสนิวรณ์ก็ใช้ได้
ส่วนการที่จะให้รู้อะไรหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญ ขอเพียงแต่ให้จิตใจตั้งมั่นนิ่งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งนั้นก็แล้วกัน เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิแล้ว ในด้านความรู้นั้น อย่างดีก็จะมีความรู้สึกเพียง ว่าง ๆ เฉย ๆ หรือ สงบเยือกเย็น เท่านั้น ที่จะให้เกิดความรู้ในเหตุผลนั้น ไม่มีเลย….”


ซึ่งวิปัสสนาจารย์ท่านนี้ กำลังกล่าวถึง มิจฉาสมาธิอยู่เช่นกันครับ
(ท่านไม่ได้แยก สัมมาสมาธิ ออกจาก มิจฉาสมาธิ...แต่ท่านกล่าว โทษสมาธิทั้งหมด โดยใช้มิจฉาสมาธิเป็นประเด็น)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 10:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การภาวนาตามหลักแห่ง มหาสติปัฏฐานสี่ ย่อมมีพร้อมทั้ง ส่วนแห่งสมถะ และ วิปัสสนา อยู่ในตัว....




ดังเช่น ที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านสรุปประมวลไว้ดังนี้


สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ


”......สติปัฏฐาน แปลกันว่า ที่ตั้งของสติบ้าง การปรากฏของสติบ้าง ฯลฯ

ถือเอาแต่ใจความง่ายๆ ก็คือ การใช้สติ หรือ วิธีปฏิบัติเพื่อใช้สติให้บังเกิด
ผลดีถึงที่สุด

อย่างที่กล่าวถึงในพุทธพจน์ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นมรรคาเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้ง
หลาย เพื่อข้ามพ้นโสกะและปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐาน

การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมา และยกย่อง
นับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะ และวิปัสสนาในตัว.....”




ใครจะเดินแนวทางไหน ใน3แนวทางนี้ ก็แล้วแต่จริตนิสัยของแต่ล่ะท่านเถิด
ขอเพียง ให้เดินอยู่ในหลักแห่ง มหาสติปัฏฐานสี่

ถ้าหากเดินถูกทางแล้ว องค์แห่งอริยมรรคทุกข้อ รวมทั้ง”สัมมาสมาธิ” ....ย่อมต้องปรากฏครบเช่นกันครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 10:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โอวาทธรรม หลวงปู่ชา สุภัทโท สาธุ สาธุ สาธุ


เกี่ยวกับ สมถะ-วิปัสสนา

จาก

http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html#mk722_11


ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก

ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยาม

หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา

เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย

เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง




และ

ภาวนาก็เหมือนกับไม้ท่อนเดียว

วิปัสสนาอยู่ปลายท่อนทางนี้ สมถะอยู่ปลายท่อนทางนั้น

ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายไม้จะขึ้นข้างเดียวหรือสองข้าง

ถ้าเรายกไม้ท่อนนี้ขึ้น ปลายทั้งสองข้างจะขึ้นด้วย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ย. 2008, 10:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีพระสูตรที่ตรัสถึง " สมถะ และ วิปัสสนนา คู่เคียงกันไป" มาเสนอเพิ่มครับ




[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
มีสติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
ถึงความเจริญบริบูรณ์

บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ละธรรม ที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



นี่เป็นหลักฐานสำคัญจากพระพุทธพจน์
ที่ระบุชัดเจนอีกจุดหนึ่งว่า ในการเจริญภาวนาตามหลักมหาสติปัฏฐานสี่ เมื่อการภาวนานั้น"ถึงความเจริญบริบูรณ์" ...ย่อมมีทั้ง "สมถะ และ วิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป"





และมีพระพุทธพจน์ที่ตรัสถึง การเจริญภาวนาตามหลักแห่งมหาสติปัฏฐานสี่สามารถบังเกิดฌานได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กายคตาสติอันภิกษุเสพแล้วโดยมาก เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นฌานแล้ว ทำให้เป็นพื้นที่ตั้งแล้ว ให้ดำรงอยู่เนือง ๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว
พึงหวังอานิสงส์ ๑๐ ประการนี้ คือ


ปล... กายคตาสติ เป็นการเจริญภาวนาตามหลักแห่งมหาสติปัฏฐานสี่หมวดกายานุปัสสนา นั่นเอง




จึงขอเสนอย้ำ มาว่า

สติปัฏฐาน ไม่ได้มีเพียงเฉพาะส่วนแห่งวิปัสสนาอย่างที่บางท่านเข้าใจกันเท่านั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ย. 2008, 2:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สมถะของฤาษ๊....ต่างจากสมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้(ที่มีปรากฏในพระสูตรต่างๆ)ตรงจุดนี้ด้วย



สุขที่เกิดจากเกิดฌานสมาบัตินั้น จัดว่าเป็นสุขที่เว้นจากกาม ....

ใน ขณะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ไม่พึงกลัวสุขที่เว้นจากกาม
เช่น จาก

ฌานทั้งสี่นี้เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุขเกิดแต่ความสงัด ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก

ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.


และจาก

เรามีความคิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดาเรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอ จะพึงเป็นทางเพื่อความตรัสรู้. เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทางเพื่อความตรัสรู้.

เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมนั้นหรือ?
จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.


http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=13&start_byte=906254


แต่ในขณะเดียวกัน
พระพุทธองค์ก็ทรงสอนไม่ให้ยึดติดอยู่กับ รูปภพ และ อรูปภพ...
ถ้าผู้ใด สามารถเจริญภาวนาจนได้ฌาน ท่านก็มีคำสอนที่ให้ใช้ฌานเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนากรรมฐานโดยตรง คือ ไม่ให้ยึดมั่นแม้นแต่ใน ภพที่ประณีตเหล่านั้น

เช่น

ฌานสูตร นว. อํ. (๒๐๔)
ตบ. ๒๓ : ๔๓๘-๔๓๙ ตท. ๒๓ : ๓๙๐-๓๙๑


“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาหร เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา


หรือ ที่ทรงแสดงใน การเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น(อย่างเดียวกับ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า)



ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่า พิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ





ลองย้อนกลับไปดู สมาธิภาวนา๔ ลักษณะ

1. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร
(การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
2. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
3. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
4. สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย”

องฺ. จตุก.ก. 21/41/53; ..



ฤาษี จะรู้จักประโยชน์ของสมาธิภาวนา เพียงใน2ข้อแรก (และ อาจติดอยู่ในสุขจากสมาธิ หรือ เกิดอัตตาที่หนาแน่นขึ้นเพราะหลงในญาณทัศนะได้)

แต่ พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้จักสมาธิภาวนาครบทุกแง่มุม คือ ทรงสอนถึงข้อ๓(สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ) และ ข้อ๔ (สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย)...คือ ทรงสอนให้ รู้จักประโยชน์ของสมาธิภาวนาครบทุกด้าน แต่ ไม่ให้ยึดถือในผลของสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นสุขจากรูปภพ หรือ อรูปภพ


นี่เป็นจุดแตกต่าง ที่สำคัญอีกจุดหนึ่งของ สมถะแบบฤาษี กับ สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้



ปล....
สมถะ ในความหมายแห่งภาษา ของ การเก็บกดอารมณ์ หรือ การที่จิตรู้สึก"ตื้อๆ มึนๆ เบลอร์ๆ คิดหาเหตุผลไม่ได้" อะไรทำนองนั้น ... ผมขออนุญาต ไม่นำมาเปรียบเทียบ กับ สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้(ซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรค) น่ะครับ ด้วยเห็นว่า มีความหมายที่ต่างกันมาก.... จนไม่สมควรนำมาเปรียบเทียบกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ย. 2008, 10:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 4:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

16620. ถึงคุณตรงประเด็น อนุรักษ์ “สัมมาสมาธิ” ไม่ใช่การนั่งหลับตา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=69276&sid=4d86a03b0ee5f77f03ada01c350b5386

----------------------------------------------------
สมถะ (สมาธิ) - ต่างกันอย่างไร ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16060

สมถะ --- วิปัสสนา

๑. สมถะ คือ ตัวสมาธิ ส่วน วิปัสสนา ก็คือ ตัวปัญญา (ที่เห็นลักษณะต่างๆ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น)

๒. ศีลธรรมดา มีอารมณ์เป็นภายนอก ส่วนศีลที่เกิดร่วมกับวิปัสสนานั้น เป็นศีลที่มีอารมณ์เป็นภายใน หมายถึง อินทรีย์สังวรศีลนั่นเอง เพราะอินทรีย์สังวรศีล เป็นศีลที่มีประสิทธิภาพในอันที่จะกางกั้น อาสวธรรมที่จะไหลเข้าทางตา เป็นต้นได้

๓. สมถะ มีประสิทธิภาพ ในการกำจัดกิเลสอย่างกลาง ด้วยอำนาจของวิกขัมภนปหาน ส่วนวิปัสสนานั้น มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุสัยกิเลสอย่างละเอียด ที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานได้ด้วยอำนาจของตทังคปหาน

๔. สมถะ ไม่สามารถจะละหรือทำลายอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดได้ เพราะแม้ในฌานสมาบัติเอง ก็ยังมีอนุสัยกิเลสอย่างละเอียดนอนเนื่องอยู่ เหตุนั้นจึงทำให้ผู้ได้ฌานสมาบัติยังมีความชื่นชมยินดี ในความสุขที่เกิดจากฌานนั้นอยู่ ส่วนวิปัสสนานั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถเปิดเผยความจริงของนามรูป ที่อวิชชา คือ ความไม่รู้ อันเป็นตัวปิดบังความจริงไว้ เมื่ออวิชชาทำกิจปกปิดความจริงไม่ได้แล้ว ก็ได้ชื่อว่า “กำลังถูกวิปัสสนาทำลายให้หมดไปในตัวอีกส่วนหนึ่งด้วย”

-----------------------------------------------------

คุณตรงประเด็นครับ หากไม่รู้จริง ก็ไม่ควรไปอธิบายพระพุทธพจน์เองนะครับ

หรือไปยก อาจาริยวาท มาสนับสนุนทิฏฐิของตนเอง


อ้างอิงจาก:
ปล....
สมถะ ในความหมายแห่งภาษา ของ การเก็บกดอารมณ์ หรือ การที่จิตรู้สึก"ตื้อๆ มึนๆ เบลอร์ๆ คิดหาเหตุผลไม่ได้" อะไรทำนองนั้น ... ผมขออนุญาต ไม่นำมาเปรียบเทียบ กับ สมถะที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้(ซึ่งเป็นองค์ประกอบแห่งอริยมรรค) น่ะครับ ด้วยเห็นว่า มีความหมายที่ต่างกันมาก.... จนไม่สมควรนำมาเปรียบเทียบกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ย. 2008, 4:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

16785. อาศัยสมาธิระดับไหนในการทำให้ปัญญาเกิดขึ้น

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16785&postdays=0&postorder=asc&start=0

อ้างอิงจาก:
คุณตรงประเด็นครับ หากไม่เชื่อถือใน อรรถกถา ก็ไม่ต้องไปอ้างหลักธรรมที่ท่านอธิบายไว้นะครับ


หรือจะอ้างก็อ้างที่มาให้ครบ (ควรละอายใจบ้าง)

อนึ่งในแนวทางปฏิบัติแบบ สมถะยานิกะ และ วิปัสสนายานิกะ นี้ มีอธิบายอย่างละเอียดในอรรถกถา

ที่คุณตั้งประเด็นว่า ไม่มีในพระสูตร เพื่อต้องการชี้ประเด็นว่า ไม่ควรเชื่อถือ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 09 ก.ย. 2008, 7:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

น้ำไหลนิ่ง

ธรรมเทศนา หลวงปู่ชา สุภัทโท



"....โยมรู้จักน้ำที่มันไหลไหม เคยเห็นไหม
น้ำนิ่งโยมเคยเห็นไหม
ถ้าใจเราสงบแล้ว มันจะเป็นคล้ายๆกับน้ำมันไหลนิ่ง โยมเคยเห็นน้ำไหลนิ่งไหม
แน่ะ ก็โยมเคยเห็นแต่น้ำนิ่ง กับน้ำไหล น้ำไหลนิ่งโยมไม่เคยเห็น.....

ตรงนั้นแหละ ตรงที่โยมคิดยังไม่ถึงหรอกว่า มันเฉยมันก็เกิดปัญญาได้ เรียกว่าดูใจของโยมมันจะคล้ายน้ำไหล แต่ว่านิ่ง ดูเหมือนนิ่ง ดูเหมือนไหล เลยเรียกว่า น้ำไหลนิ่ง

มันจะเป็นอย่างนั้น ปัญญาเกิดได้ ...."


http://www.watnongpahpong.org/aj27.htm



น้ำ เปรียบเสมือนจิต

ลักษณะของน้ำที่นิ่ง เปรียบเสมือนสมถะ

ลักษณะของน้ำที่ไหล เปรียบเสมือนวิปัสสนา


อริยมรรคสมังคี คือ อาการของน้ำไหลนิ่ง... เป็น อาการที่น้ำไหลแบบนิ่ง คือ ทั้งนิ่งและไหล

คือ ในขณะที่ จิตสงบตั้งมั่นก็เกิดปัญญาได้

เพราะ ลืมเลือนหลักการแห่งอริยมรรคสมังคี
จะเหลือ แต่เพียงความเห็นที่ว่า ถ้าสงบคือ ต้องไม่เกิดปัญญา....หรือ ถ้าเกิดปัญญาคือ ต้องไม่สงบ....

ขณะจิตที่สงบตั้งมั่นและเกิดปัญญาด้วย(อริยมรรคสมังคี) กลับไม่ค่อยมีใครพูดถึง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง