Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ขอเชิญร่วมงานทอดกฐินสามัคคี ปี ๕๑ วัดโพธิ์ทัยมณี จ.เพชรบุรี อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
อมฤตยุ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 06 ก.ย. 2008
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 6:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ImageImage

ขอเชิญร่วมงานทอดกฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๕๑
เพื่อสร้างศาลาการเปรียญเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๑ พรรษา
ณ วัดโพธิ์ทัยมณี ต.บางจาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี ๗๖๐๐๐ โทร. ๐๓๒-๗๗๐๑๓๔
ในวันพุธที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑


กำหนดการงานพิธี
วันอังคารที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (วันออกพรรษาตั้งองค์กฐินสมโภช)
๐๗.๐๙ - ๐๙.๐๙ น. - สาธุชนตักบาตรเถวายสังฆทานภัตตาหารในวันออกพรรษาแด่พระสงฆ์
๑๐.๐๙ น. - พระครูกิตติวัชราภรณ์ เจ้าอาวาส แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ กัณฑ์อุโบสถในภาคเช้า
๑๑.๐๙ น. - น้อมถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ - สามเณร ๒๙ รูป และอุบาสิกาชีพราหมณ์ จำนวน ๒๕ คน
๑๒.๐๙ น. - สาธุชนผู้ร่วมงานทุกท่านพร้อมร่วมรับประทานอาหารกลางวันโดยพร้อมเพรียงกันสร้างสามัคคี
๑๓.๐๙ น. -๑๗.๐๙ น. - สาธุชนคณะสศิษย์ผู้ศรัทธาพร้อมนำองค์กฐินสามัคคีมาจัดตั้งฉลองสมโภช
๑๘.๐๙ น. - พระสงฆ์ - สามเณร ๒๙ รูป เจริญพระพุทธมนต์เย็นฉลองสมโภชองค์กฐินทุกองค์ ณ มณฑลพิธี
๒๐.๐๙ น.-๒๔.๐๙ น. - มีมหรสพสมโภชองค์กฐินทุกองค์ ณ บริเวณงานวัดโพธิ์ทัยมณี


วันพุธ ที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ (วันตักบาตรเทโว และทอดถวายผ้ากฐินสามัคคี)
๐๗.๐๙ - ๐๙.๓๙ น. - สาธุชนพร้อมตักบาตรเทโวโรหณะดาวดึงษ์ แด่พระสงฆ์ - สามเณร จำนวน ๑๐๙ รูป
๑๐.๐๙ น. - พระครูกิตติวัชราภรณ์ เจ้าอาวาส แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ ในวันเทโวโรหณะดาวดึงษ์
๑๑.๐๙ น. - น้อมถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ - สามเณร ๒๙ รูป และอุบาสิกาชีพราหมณ์ จำนวน ๒๕ คน
๑๒.๐๙ น. - สาธุชนผู้ร่วมงานทุกท่านพร้อมร่วมรับประทานอาหารกลางวันโดยพร้อมเพรียงกันสร้างสามัคคี
๑๓.๐๙ น. - อัญเชิญองค์กฐินทุกองค์ แห่ลงเวียนรอบอุโบสถ ๓ รอบ ถวายเป็นพุทธบูชาสักการะสามัคคีธรรม
๑๔.๐๙ น. - พระครูกิตติวัชราภรณ์ เจ้าอาวาส แสดงพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ (อานิสงส์ทอดถวายกฐินทาน)
๑๕.๐๙ น. - สาธุชนพร้อมน้อมถวายผ้ากฐินสามัคคีพร้อมกัน และถวายบริขารองค์กฐิน จตุปัจจัยไทยธรรม
๑๖.๐๙ น. - พระสงฆ์ - สามเณร จำนวน ๒๙ รูป พร้อมอนุโมทนา สาธุชนกรวดน้ำ รับพรพระอนุโมทนา เสร็จพิธี


ในการน้อมถวายผ้ากฐินสามัคคีในปีนี้ ด้วยตั้งจิตเจตนาจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยศรัทธาตั้งมั่นถวายพุทธบูชา และมีความปรารถนาที่จะร่วมสมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญที่ถูกเพลิงไหม้ ให้สมบูรณ์เป็นศาลาเอนกประสงค์ จึงขอเชิญท่านผู้ศรัทธาได้พร้อมกันทอดถวาย ผ้ากฐินสามัคคีประจำปี ๒๕๕๑ นี้ โดยทั่วกันตามกำลังศรัทธาสามารถ ด้วยกุศลนี้ขอพระบารมี จงส่งผลประทานพร ลาภยศ สุขสรรเสริญ ปรากฎแด่ท่านตลอดกาลนาน เทอญฯ

อนึ่งหากท่านผู้มีใจบุญ มีความปรารถนาจะร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญกฐินสามัคคี ประจำปี 2551 ของวัดโพธิ์ทัยมณี จ.เพชรบุรี กับหลวงพ่อน้อย (พระครูกิตติวัชราภรณ์ ) กับทางคณะชมรมเทพสถิตย์ธรรม โดยคุณจอย เป็นประธานดำเนินการฝ่ายฆารวาส และเป็นประธานในการถวายผ้ากฐินทานในครั้งนี้ สามารถโอนเงินเข้า


บัญชี นายภวัคร สิทธิศักดิ์
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์
เลขที่บัญชี 048-0-18961-2
ธนาคารกรุงเทพ
สาขาเซ็นทรัลพระราม 3


(หากท่านใด โอนเงินร่วมทำบุญในการครั้งนี้ ขออนุโมทนา และขอให้ท่านแจ้งมายัง e-mail : thepsatid15@hotmail.comอีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้ เพื่อทางเราจะได้จัดส่งวัตถุมงคลให้ท่านเป็นที่ระลึก และทำใบอนุโมทนาบัตรไปยังท่านผู้ใจบุญที่มีเมตตาจิต ทุกท่าน)

เรียนเชิญมาด้วยความนับถือ
คณะศิษยานุศิษย์สาธุชน และท่านที่เคารพนับถือพร้อมใจร่วมทอดถวายผ้ากฐิน ประจำปี ๒๕๕๑

*** เดินทางโดยรถบัส VIP ปรับอากาศ ค่ารถ 500 บาท ***
ออกเดินทางในวันพุธที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ เวลา ๗.๐๐ น. ที่ร้านเทพสถิตย์ธรรม
ท่านที่มีประสงค์จะร่วมเดินทางกับคณะบุญ ในครั้งนี้ โปรดจองที่นั่ง ได้ที่..

คุณจอย โทร. 083-123-7699 ,086-064-9624
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อมฤตยุ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 06 ก.ย. 2008
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 8:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลวงพ่อน้อย วัดโพธิ์ทัยมณี พระแก้กรรม แห่งเมืองเพชรฯ Image

“ตลอดทั้งปีมีคนมาหาฉันนับหมื่นคน มาด้วยทุกข์ ร้อยแปด คำถามที่ถามกันมากที่สุด คือ หลวงพ่อเมื่อไร ชีวิตจะดี เมื่อไรจะรวย ถ้าเก็บ ๒ คำถามนี้ วันๆ หนึ่งคง ได้หลายเข่ง ที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนส่วนใหญ่เต็ม ไปด้วยความทุกข์ ขณะเดียวกันก็ไม่รู้จะนำ ความทุกข์ ซึ่งเป็นกิเลส ของตัวเองนั้นไปเล่าให้ใครฟัง ส่วนคนที่ เข้ามาหาและสนทนาธรรมนั้นปีหนึ่งๆ ไม่เกิน ๑๐ คน"

.....นี่คือคำบอกเล่าของ พระครูกิตติวัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทัยมณี และเจ้าคณะตำบลบางจาน-หนองโสน อ.เมือง จ.เพชรบุรี หรือที่รู้จักกันในนาม “หลวงพ่อน้อย พระหมอดูและพระหมอยาแห่งเมืองเพชรบุรี”

.....ส่วนหลวงพ่อน้อย จะช่วยปลดทุกข์ให้ญาติโยม ทั้งทุกข์ทางใจและทุกข์ทางกายได้ทุกคนหรือไม่นั้น ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์แบบ "คม ชัด ลึก"


หลวงพ่อเริ่มรักษาและดูหมอตั้งแต่เมื่อไรครับ ?
.....ฉันไม่ได้เรียนวิชาหมอดูมาจากใครที่ไหน ตั้งแต่บวชไม่เคยเรียนมาเลย ฉันจะใช้จิตในการดู แม้ว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดปริยัติ แต่ฉันจะเน้นการนั่งปฏิบัติสมาธิเพื่อเอาชนะความง่วง จำได้ว่าพรรษาที่ ๓ ตอนนั้นยังเป็นหลวงพี่น้อย วันหนึ่งมีโยมคนหนึ่งมาหา พร้อมกับเล่าให้ฟังว่าป่วยมากว่า ๒๐ ปี แล้ว เดินไปไหนมาไหนไม่สะดวก มาวัดนี้ตามความฝัน ซึ่งก่อนหน้านี้เดินทางไปวัดทุกแห่งที่มีชื่อว่า “โพธิ์” แต่ก็ไม่พบว่าวัดไหน มีพระชื่อหลวงพ่อน้อยจนกระทั่งมาถึงที่วัดโพธิ์ทัยมณี
.....เขาตั้งใจมาหาฉันตรงๆ พร้อมกับบอกว่าฉันสามารถช่วยรักษาเขา ให้หายจากโรคที่เป็นอยู่ได้ ตอนนั้นฉันรู้สึกงงมาก เพราะไม่มีวิชาอะไร ฉันจึงไปขออนุญาตหลวงพ่อก่อนท่านก็อนุญาต

.....ครั้งนั้นฉันตั้งอธิฐานจิตทำน้ำมนต์ให้อาบ โดยไม่คิดมาก่อนว่าจะได้ผล ปรากฏว่าคนนั้นจากที่มีคน พยุงมา ก็กลับกลายเป็นว่าสามารถเดินออกจากวัดได้ด้วยตัวเอง จากนั้นเป็นต้นมาข่าวก็แพร่ กระจายออกไปแบบปากต่อปาก ชนิดที่เรียกว่าบางวันมีคนมารักษาโรค ด้วยการพ่นน้ำมนต์ นับร้อยคน


แล้วเริ่มดูหมอตอนไหนครับ ?
.....หลังจากรักษาโรคด้วยการพ่นน้ำมนต์ได้ประมาณ ๓ เดือน มันก็เกิดนิมิตขึ้นมาว่า แต่ละคนที่เจ็บไข้ ได้ป่วยด้วยสาเหตุอะไร ฉันก็แนะนำไปตามนิมิตที่เห็น ใครที่มาให้ฉันรักษา ก็จะใช้จิตดูเรื่อง วิบากกรรมของคนที่ถามก่อนว่า จะต้องไปแก้วิบากกรรมอะไรบ้าง ฉันจะไม่แนะนำและก็ไม่ สะเดาะเคราะห์ให้ แต่ฉันจะแนะนำให้ทำบุญใส่บาตร ปล่อยปลา และก็เลี้ยงสัตว์ดุ เช่น จระเข้ เสือ จากนั้นคนก็ไปลือกันต่อๆ ว่าฉันดูหมอแม่นมาจนถึงทุกวันนี้

ทำไมต้องเลี้ยงสัตว์ดุครับ ?
.....การแก้วิบากกรรมนั้นมีเยอะ แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน อย่างกับเลี้ยงสัตว์ดุก็ไปซื้อโครงไก่ ไปเลี้ยงจระเข้ ที่ฟาร์ม ระหว่างนั้นก็อธิฐานจิตให้คน ที่ปองร้ายแก่ ตัวเองซึ่งเปรียบเหมือนสัตว์ดุ การให้อาหารเปรียบได้ กับการให้ความเมตตา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อมฤตยุ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 06 ก.ย. 2008
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 8:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
ชานหมาก วัตถุมงคลที่หลวงพ่อแจกให้กับลูกศิษย์

ท่านเริ่มแจกชานหมากเมื่อไรครับ ?
.....ตอนแรกเคี้ยวแล้วก็กลืนหมด บางส่วนก็คายทิ้งบ้าง ครั้งหนึ่งลูกศิษย์นิมนต์ไปเปิดบริษัทแห่งหนึ่ง ย่านบางเขน หลังจากทำพิธีเสร็จ มันก็ขอของจากฉันไว้ติดตัวเพื่อความเป็นสิริมงคล ตอนนั้นฉัน ไม่มีอะไร จึงคายชานหมากพร้อมกับบอกว่า กูไม่มีอะไรให้มึงหรอก กูเป็นพระ ไม่พกพระอยู่แล้ว กูมีชานหมากให้มึงคำหนึ่ง เก็บบูชาไว้ดีๆ ถ้าชานหมากนี้กลายเป็นแก้ว มึงไม่ต้องมาเหยียบวัดกู แล้วมันก็ไม่มาเหยียบวัดจริงๆ

.....พอแจกคำแรกคนก็ขอเรื่อยมา บางวันต้องฉันหมากเป็นร้อยๆ คำ ชนิดที่เรียกว่าฉันหมากมากกว่า ฉันข้าวเลยทีเดียว หมากคำใดฉันแล้วมีรสขมก็จะกลืน คำไหนอร่อยมีรสหวานก็จะคายเก็บใส่ห่อ ไว้แจกจ่ายลูกศิษย์ที่นับถือกัน


ชานหมากของหลวงพ่อดีอย่างไรครับ ?
.....คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเมื่อนำไปบูชาจะช่วยให้ค้าขายดีขึ้น ขณะเดียวกันระหว่างฉันหมาก ฉันจะกำ หนดจิตและบริกรรมคาถาลงไปด้วย แต่ฉันก็ไม่เคยบอกว่าชานหมากของฉันดีอย่างไร เพียงแต่ ให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวเท่านั้น ต้องปฏิบัติดี สวดมนต์ไหว้พระ หมั่นทำบุญจึงจะได้ดีด้วย แต่ถ้าหาก ใครทำตรงกันข้ามชานหมากจะหายไปเอง และปาฏิหาริย์ก็จะไม่เกิดขึ้น บางคนมาของชานหมาก จากฉันไป ๔-๕ ครั้ง แต่ชีวิตก็ไม่ดีขึ้นที่เป็นเช่นนี้ เพราะไม่ยึดตามคำสอนของฉัน

แล้วยาสมุนไพรของหลวงพ่อดีอย่างไรครับ ?
.....เราต้องทำความเข้าใจสำนวนที่ว่า รางเนื้อชอบ รางยาก่อน ซึ่งหมายถึง โรคบางโรคหมอหลวง รักษาได้ กินยาแผนปัจจุบันก็หายขาด แต่โรคบางโรคต้องรักษา และใช้ยาแผนโบราณถึงจะหาย ยาสมัยใหม่ที่ว่าแน่ยัง แพ้สมุนไพรไทยที่ถูกทั้งโรคถูกทั้งราคา แต่คนไทยกลับ ไม่เห็นค่า กลับให้ ความสำคัญของยาฝรั่งมากกว่า

.....ก่อนจะให้ยาต้องบริกรรมคาถาด้วย โดยเฉพาะบท สรรพสี ซึ่งใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ในการทำยาของพระ ขณะเดียวกันฉันก็อธิษฐานจิตให้ด้วย ยาทุกชนิดฉันจะ ให้กินก่อนอาหาร เพราะไม่มีผลกระทบต่อกระเพาะ เหมือนกับยาแผนปัจจุบัน

.....นอกจากนี้แล้ว ก่อนจะให้ยาใครไป เช่น ถ้าใครปวดขามา ฉันจะใช้จิตตรวจสอบวิบากกรรมก่อน สมควรที่จะให้ยาหรือ ถ้าไม่สมควรฉันก็จะไม่ให้ แต่จะแนะนำให้ไปหาหมอหลวงแทน เพราะยา ฉันช่วยไม่ได้ บางครั้งก็จะแนะนำวิบากกรรมก่อน ตั้งแต่พรรษาที่ ๓ มาจนถึงพรรษาที่ ๓๐ ได้รับยา ไปแล้วไม่มีใครกลับมาด่า หรือต่อว่าฉันสักรายเดียว


แต่คนสมัยใหม่มักไม่เชื่อว่าวิบากกรรมทำให้เจ็บไข้ ?
.....เชื่อหรือไม่เชื่อ ก็ไม่เกี่ยวกับฉัน ใครเชื่อก็ได้กับคนๆ นั้น บอกไปแล้วจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เป็นสิทธิ ของคนๆ นั้น ฉันจะไปบังคับใครได้ คนที่ป่วยเป็นโรคส่วนหนึ่งเกิดจาก วิบากกรรมที่ทำไว้ในอดีต ชาติและชาติปัจจุบัน โรคบางโรคไม่ต้องกินยา สามารถแก้ไขด้วยการทำบุญ บางคนเพียงดื่ม น้ำมนต์หรือรดน้ำมนต์ก็หายจากโรคร้ายได้ การรักษาโรคให้ได้ผลจริงๆ นั้น ต้องแก้ที่วิบากกรรม ควบคู่ไปกับการรักษาหรือการกินยา สิ่งเหล่านี้มันขึ้นอยู่กับความเชื่อ

ท่านได้รับการถ่ายทอดสูตรยามาจากใครครับ ?
.....ไม่มี นึกเอาเอง สูตรยาทุกอย่างมาจากนิมิต ว่านสมุนไพรแต่ละอย่างแก้อะไรได้บ้าง ตอนแรกจะ บอกสูตรให้จดไป จากนั้นก็ไปต้มกินเอง พร้อมกับแนะนำวิธีการต้มและการกิน แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ให้เอาน้ำมนต์ไปหยอดใส่ในหม้อยาเสมอ เพราะวัดนี้จะสวดธรรมจักรตลอด ถือว่าเป็นพุทธคุณ อาศัยบารมีของพระพุทธเจ้า

.....เท่าที่จำได้ครั้งแรกเคยรักษาคนด้วยมะพร้าว เผือก และน้ำตาล เมื่อทำแล้วจะกลายเป็นขนมแกงบวชเผือก โดยแนะนำให้กินครั้งละถ้วยก่อนอาหาร ไม่น่าเชื่อว่า เขาหายจากโรคที่เป็นอยู่ได้


ที่หลวงพ่อทำมาทั้งหมดมันเกี่ยวกับพระตรงไหนครับ ?
.....การสงเคราะห์เป็นกิจของสงฆ์ สุดแล้วแต่สงฆ์รูปใดจะมีความถนัดในทางใด การดูหมอ การรักษาโรค การอาบน้ำมนต์ ฯลฯ รวมทั้งวิชาช่างต่างๆ เป็นสิ่งที่พระกระทำสืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าเป็นอุบายอย่างหนึ่งในการดึงคนให้เข้าวัด คนเข้าวัดส่วนหนึ่งเพราะมีทุกข์ เพราะการดำเนินชีวิตประจำวัน การให้ธรรมะตรงๆ คนอาจจะไม่เข้าหาพระ

.....การเป็นพระหมอดู พระหมอยาแผนโบราณ รวมทั้งพระที่ทำหน้าที่อื่นๆ อย่ามองว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ ควรจะมีมุมมองใหม่ว่า เป็นการสงเคราะห์อย่างหนึ่ง ที่สำคัญคือเป็นการแก้โรคด้วยยาที่ถูกกับโรค เขามีทุกข์อะไรมาต้องแก้ทุกข์ ตามที่เขาต้องการก่อน จากนั้นก็ให้ธรรมะเข้าไป ดังนั้นไม่ว่าจะทุกข์ กายหรือทุกข์ใจ ทุกข์นั้นเป็นผล เมื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้ถูกวิธีก็จะนำ ความสุขความสงบมาสู่ ตนเองได้อย่างมีสติปัญญา


หลวงพ่อยังกลัวตายอยู่หรือเปล่าครับ ?
.....ยังกลัวอยู่และกิเลสก็ยังไม่หมด ไอ้ที่กลัวตายเพราะกลัวไม่ได้ทำบุญ ทุกวันนี้แม้ฉันบวชเป็นพระฉัน ก็ยังต้องทำบุญ เพราะพระไม่ใช่ตัวบุญ จริงอยู่คนมาทำบุญกับพระเพื่อให้ได้บุญ แต่พระก็ต้องทำ บุญด้วย ก่อนที่จะเชิญชวนชาวบ้านมาทำบุญ พระควรทำบุญให้เป็นตัวอย่างก่อน พระที่ดีต้องไม่ ตระหนี่ ไม่โลภ ไม่สะสม และตั้งใจบำเพ็ญบุญ ส่วนตายแล้วจะไปไหนนั้นมันขึ้นอยู่ที่กรรมซึ่งได้ทำ ไว้ระหว่างมีชีวิตอยู่ ใครทำกรรมดีก็ไปสู่ภพชาติที่ดี ใครทำกรรมชั่วก็ไปสู่ภพชาติที่ไม่ดี

.....ฉันกล้ายอมรับว่ากิเลสยังมีอยู่ ยิ่งเป็นเจ้าอาวาสแล้วกิเลสยิ่งเยอะ กิเลศที่ว่าคืออย่าทำโน่น อยากทำนี่ อยากสร้างวัดให้ดีขึ้น ฉันไม่กังวลพระที่จะมาดูแลวัดต่อจากฉัน เพราะก่อนจะตายไปฉันจะพยายาม สร้าง และทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ พระที่ขึ้นมาเป็นเจ้าอาวาสต่อจากฉันไม่ต้องสร้างเพิ่ม ไม่ต้องต่อ เติม เพียงรักษาของเก่าไว้ก็เพียงพอแล้ว


หลวงพ่อรู้สึกอย่างไรกับพระที่ชอบดูโทรทัศน์มากกว่าอ่านพระไตรปิฎก ?
.....พระอยากทำตนให้ทันสมัยจึงฟังวิทยุดูทีวี พระไตรปิฎกอยู่ในตู้ทำไมไม่มาดู ฉันกล้าพูดได้อย่าง เต็มปาก ว่าพระไตรปิฎกที่มีเพื่อประดับวัดเท่านั้น วัดแต่ละแห่งเมื่อญาติโยม สร้างตู้และถวาย พระไตรปิฎกแล้ว ทางวัดไม่เคยเปิดให้คนที่ไปทำบุญอ่านเลยสักครั้งเดียว แม้แต่เจ้าอาวาสยัง ไม่เคยเปิดอ่านเลย แต่กลับไปเปิดทีวีดูทุกๆ วัน เสพเรื่อทางโลกจนลืมที่จะศึกษาพระธรรม ทุกวันนี้เวลาของพระ หมดไปกับเรื่องทางสังคมพระทั้งเรื่องของเกียรติและศักดิ์ศรี

ชีที่วัดนี้มีมานานหรือยังครับ ?
.....มีตอนที่ฉันเป็นเจ้าอาวาส ประเพณีการใส่บาตรของคนเพชรบุรี อย่างหนึ่งคือจะใส่บาตร เฉพาะข้าว เท่านั้น ส่วนกับข้าวจะใส่ปิ่นโตไปถวายทีหลัง ทุกวันนี้เริ่มใส่กับข้าวบ้างแล้ว โดยได้รับอิทธิพลจากวัด ในเมือง

.....ปัญหามันอยู่ที่ว่าพระที่มาจากต่างจังหวัดมาบวชที่นี่ บิณฑบาตได้แต่ข้าวเท่านั้น ขณะเดียวกันพระในพื้นที่ บางรูปก็ไม่รู้จักเจือจานพระด้วยกัน เมื่อเป็นเช่นนี้เมื่อ โยมผู้หญิงมาขอบวชชี ฉันจึงให้ชีทำกับข้าวให้พระฉัน

.....เมื่อมีงาน ก็จะได้ชีและอุบาสิกาเป็นกำลังสำคัญ ในการช่วยทำความสะอาดวัด เมื่อใครมาแล้วก็จะ ชักชวนเพื่อนๆ ให้ร่วมมาทำงานและทำบุญที่วัด ส่วนอุบาสกและผู้ชายนั้นจะตรงกันข้าม นอกจะมีน้อย แล้วจะไม่มีการชวนกันให้มาเข้าวัดทำบุญ ที่เป็น เช่นนี้เพราะผู้ชายอาจคิดว่ายังหนุ่มอยู่ คิดว่าค่อยเข้าวัดทำบุญตอนแก่


ในภาวะปัจจุบันนี้ ธรรมข้อไหนสำคัญมากที่สุดครับ ?
.....อภัยธรรม ความสับสนวุ่นวายและปัญหาต่างๆ ของสังคมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้เพราะคน ไม่รู้จักคำว่า ให้อภัย เริ่มจากคนในครอบครัวก่อน ถ้าครอบครัวไม่รู้จักอภัยให้กันก่อน อย่างหวังว่าคนในสังคม จะให้อภัยกัน ในระดับชาติก็เช่นกันถ้าไม่ให้อภัยกันบ้านเมืองก็ไม่พัฒนา

.....ขณะเดียวกันฉันอยากฝากถึงคณะสงฆ์ ด้วยว่าอย่าทำตัวเหมือนปลาใหญ่กินปลาน้อย ทำอะไรต้อง นึกถึงพระผู้น้อยที่ทำงานในพื้นที่ด้วย ควรจะพิจารณาความดีความชอบอย่างเสมอภาค แต่ละปีวัด แต่ละแห่งต้องทำเรื่องรายงานต่างๆ หลายร้อยเรื่อง ค่าใช้จ่ายในส่วนของเอกสารรวมทั้งค่าใช้จ่าย ในการเดินทางก็มีไม่น้อย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
อมฤตยุ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 06 ก.ย. 2008
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ย. 2008, 8:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ชาติภูมิหลวงพ่อน้อย

Image

....."มานพ ชูศรี" เป็นชื่อและสกุลเดิมของหลวงพ่อน้อย เกิดเมื่อ วันจันทร์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๙๘ ณ บ้านเลขที่ ๒๘ หมู่ ๔ ต.บางจาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี เป็นลูกคนโตในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๙ คน บิดาชื่อ ลาภ ชูศรี มารดาชื่อ เตือน ชูศรี มีอาชีพทำนา และรับ จ้างทำงานสารพัด ฐานะทางบ้านยากจน ต้องช่วยพ่อแม่ทำงาน ตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ

.....จบชั้น ป.๖ จากโรงเรียนวัดโพธิ์ทัยมณี ระหว่างที่เรียนสอบได้ที่ ๑ ทุกชั้นปี โดยได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำนักเรียนกว่า ๗๐๐ คน ในการร้อง เพลงชาติ สวดมนต์ตั้งแต่ ป.๒ ขณะเดียวกันก็เป็นเด็กวัดด้วย หลังจากเรียนจบก็ออกจากบ้าน ไปหางานทำจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นปีสุดท้ายของการใช้คำนำหน้านามว่า "นายมานพ ชูศรี" โดยได้โกนผมออกบวช ณ อุโบสถวัดโพธิ์ทัยมณี โดยมีพระครู วัชรศีลคุณ (เชื้อ พัทธศีโล) เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทัยมณีในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระกรรม วาจาจารย์ ๕ รูป ได้แก่ พระอาจารย์ประทุม พระอาจารย์กิ่ง หลวงพ่อชิด (วัดลาด) หลวงพ่อวัด พระธาตุศิริชัย และพระครูพัชรบุญญากร ได้ฉายาว่า "กิตติวัณโณ"

.....หลังจากบวชแล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมและขยันท่องบทสวดต่างๆ โดยสามารถสวดปาติโมกข์ ได้ในพรรษาแรกจากนั้นพรรษาที่ ๓ ก็สอบได้นักธรรมชั้นเอก ขณะเดียวกันก็ช่วยพัฒนา วัดอย่างต่อเนื่อง เมื่อหลวงพ่อเชื้อมรณภาพ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๓๓ และแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๓๔

.....นอกจากส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์ พัฒนา และสร้างวัด หลวงพ่อน้อย ยังให้ความสำคัญต่อการ ศึกษาของเด็กยากจน สร้างที่อยู่อาศัยสำหรับคนยากจนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้รับรางวัลเสมา ธรรมจักร สาขาสงเคราะห์ประชาชน พ.ศ. ๒๕๓๙ ด้วยฝีมือและผลงานต่อพระศาสนา พ.ศ. ๒๕๔๘ จึงได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ ให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางจาน-หนองโสน

.....สำหรับพุทธศาสนิกชนสนใจเดินทางไปกราบไหว้หลวงพ่อน้อย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วัดโพธิ์ทัยมณี ต.บางจาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี ๗๖๐๐๐ โทร. ๐-๓๒๔๕-๕๑๘๕ และ ๐-๓๒๔๒-๖๖๖๔

.....การสงเคราะห์เป็นกิจของสงฆ์ สุดแล้วแต่สงฆ์รูปใดจะมีความถนัดในทางใด การดูหมอ การรักษาโรค การอาบน้ำมนต์ ซึ่งอาจจะพูดได้ว่าเป็นอุบายอย่างหนึ่งในการดึงคนให้เข้าวัด


แหล่งที่มา : คม-ชัด-ลึก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง