Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อโหสิกรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2005, 10:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ ๒ คำ คือ

อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ได้มีแล้ว”

หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว

กับคำว่า กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ

หมายถึงการกระทำที่มีเจตนา

อโหสิกรรม แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป



ตามหลักพระพุทธศาสนา

บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น

จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน

คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น

เช่น ตนเองได้รับโทษถูกจำคุก

หรือลูกหลานประสบเคราะห์ร้ายต่างๆ

ทำให้ตนต้องเสียใจทุกข์ทรมานเพราะการสูญเสีย

หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า



แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้

หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม

วิธีทำกรรมให้เป็นอโหสิกรรมวิธีหนึ่งคือการยกโทษให้

เช่น เมื่อเราประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ

แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้

เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม

ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า



ในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม

จึงกลายมามีความหมายว่า การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน

ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ

เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้

และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้

ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน

เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข



การที่เราประพฤติล่วงเกินผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือใจ

เราจะต้องรับกรรมนั้น อาจจะในชาตินี้หรือชาติหน้า

แต่ถ้าเราทำกรรมนั้นให้เป็นอโหสิกรรม

คือขอให้ผู้ถูกล่วงเกินนั้นยกโทษให้ กรรมนั้นก็จะสิ้นผล

เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่หมดสิ้นเชื้อชีวิตแล้ว ไม่อาจเพาะขึ้นเป็นต้นไม้ได้อีก



มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาธรรมบท

ว่ามีบุตรชายของเศรษฐีคนหนึ่งอยู่ในเมืองโสเรยฺยนคร

ได้เดินทางไปเมืองสาวัตถี และได้พบพระมหากัจจายนเถระ

พระอรหันต์ที่สำคัญองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนา

พระมหากัจจายนเถระเป็นผู้มีรูปโฉมงดงามมาก

บุตรชายของเศรษฐีนั้นเห็นท่านแล้วเกิดอกุศลจิตคิดว่า

“ภรรยาของเราควรจะมีผิวพรรณงดงามเช่นพระเถระนี้”

การล่วงเกินต่อพระอรหันต์เช่นนี้ ทำให้ได้รับกรรมทันตาเห็น

คือกลายร่างเป็นหญิงไปในทันที



บุตรชายเศรษฐีรู้สึกละอายมากที่ร่างกายกลายเป็นหญิง

จึงไม่ยอมกลับบ้านเมืองและไปอาศัยอยู่ที่เมืองตักกสิลา

จนกระทั่งได้แต่งงานกับชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นบุตรเศรษฐีในเมืองตักกสิลา

และมีบุตรด้วยกัน



ต่อมาเขาได้พบกับเพื่อนคนหนึ่งที่เดินทางมาจากเมืองสาวัตถี

เขาจึงเล่าเรื่องราวให้เพื่อนฟังว่าเหตุใดจึงมีร่างกายเป็นหญิง

เพื่อนผู้นั้นแนะนำว่าให้ไปขอขมาต่อพระมหากัจจายนะ

เขาจึงได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเพื่อน

เมื่อพระมหากัจจายนเถระทรงทราบเช่นนั้นก็ยกโทษให้

กรรมที่เคยล่วงเกินท่านก็เป็นอโหสิกรรม

คือสิ้นผล บุตรของเศรษฐีผู้นั้นก็หxxxรรมและกลับมีร่างกายเป็นชายเช่นเดิม





คัดลอกจาก:
http://dhammathai.org/webboard/view.php?No=2021



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 26 พ.ย.2005, 2:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน





สาธุด้วยครับ



อย่าลืมอโหสิกรรมให้ผลด้วยนะคุณลูกโป่ง



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
หยง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2005, 1:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณลูกโป่งน่ารักจังเลย มีบทความดี ๆ มาให้อ่านเสมอ (ตามมาเจอกันอีก)
 
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ย.2005, 5:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีครับคุณตันหยง



ยินดีที่ได้รู้จัก อย่าลืมเข้ามาที่บ่อยๆ นะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ningnita
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 7:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเราขออโหสิกรรมแล้วเขาไม่ยอมอโหสิกรรด้วยละค่ะเราควรจะทำอย่างไรจึงจะพ้นกรรมนั้นละค่ะใครทราบช่วยตอบด้วยนะค่ะ
 
admin
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2004
ตอบ: 1886

ตอบตอบเมื่อ: 30 ม.ค. 2006, 8:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดีแท้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 12:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม

จึงกลายมามีความหมายว่า การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน


อนุโมทนาสาธุ กับทุกท่านที่อโหสิกรรมให้กันและกัน
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง