Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เกี่ยวกับความดี-ความชั่ว-บุญ-บาป-กุศล-อกุศล (ต่อ) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2008, 9:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ผลในระดับที่สามนี้ ส่วนมากเป็นเรื่องของโลกธรรม ซึ่งมีความผันผวน ปรวนแปรไม่แน่

นอน แต่ก็เป็นเรื่องชั้นเปลือกนอกผิวภายนอก มิใช่แกนในของชีวิต จะกระทบกระทั่งหนักเบา

ก็อยู่ที่ว่าจะมีความยึดติดถือมั่นมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่ยึดติด สามารถวางใจก็มีความสุข

ได้เสมอหรืออย่างน้อยก็ทุกข์ไม่มาก และผ่านเหตุการณ์ไปได้ด้วยดี

ด้วยเหตุนี้

ท่านจึงสอนให้มีปัญญารู้เท่าทันธรรมดา ประกอบด้วยสติ มิให้หลงใหลประมาทมัวเมา

คราวสุขคราวได้ ก็ไม่เหลิงลำพองเคลิ้มไป คราวทุกข์คราวเสียก็ไม่ขุ่นมัวคลุ้มคลั่งปล่อยตัว

ถลำลงไนทางชั่วทางเสีย ค่อยผ่อนผันแก้ไขเหตุการณ์ด้วยสติปัญญา เมื่อยังต้องการ

โลกธรรมฝ่ายดี คือ ที่ชื่นชอบเป็นอิฏฐารมณ์ ก็กำหนดสมบัติวิบัติที่เป็นกำลังหรือ

จุดอ่อนของตนและจัดสรรเลือกองค์ประกอบฝ่ายสมบัติที่จัดเลือกได้ หลีกเว้นวิบัติเสีย

แล้วพยายามเข้าถึงผลดีที่มุ่งหมายด้วยกรรมที่เป็นกุศล ซึ่งมีผลมั่นคงและลึกซึ้งถึงชีวิต

ทุกระดับของตน ไม่สร้างผลด้วยอกุศลกรรม และไม่ถือโอกาสยามสมบัติอำนวยประกอบการ

อกุศล เพราะสมบัติและวิบัติสี่ประการนั้นเป็นของไม่แน่นอน เมื่อกาลโอกาสที่เอื้ออำนวยผ่าน

ไป กรรมร้ายก็จะแสดงผล

พึงถือโอกาสยามสมบัติช่วย เร่งประกอบกุศลกรรมเท่านั้น คือ ถือเอาส่วนที่ดีงามไร้โทษ

ของหลักการที่กล่าวมานี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ค.2008, 7:52 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2008, 9:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โดยนัยนี้ ก็สรุปได้ว่า ถ้าจะทำการใด ในเมื่อมีองค์ประกอบของนิยามหลายฝ่ายเข้ามา

เกี่ยวข้อง อย่างน้อยก็พึงทำองค์ประกอบฝ่ายกรรมนิยามให้ดี เป็นส่วนที่ยึดเอาไว้ได้อย่าง

แน่นอนมั่นใจแล้วอย่างหนึ่งก่อน

ส่วนองค์ประกอบฝ่ายนิยามอย่างอื่น ก็พึงใช้ปัญญาศึกษาพิจารณาเอามาใช้เสริม

เท่าที่ไม่เป็นโทษในแง่ของกรรมนิยามต่อไป

หากปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็เรียกว่า เป็นผู้รู้จักถือเอาประโยชน์จากกุศลกรรมและสมบัติวิบัติทั้งสี่

หรือ รู้จักใช้ทั้งกรรมนิยามและสังคมน์นิยมในทางที่เป็นคุณ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2008, 6:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สำหรับบางคน อาจต้องเตือนว่า อย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลยว่า ทำไมคนนั้นไม่ทำดี แต่กลับ

ได้ดี ทำไมคนนี้ทำไม่ดี แต่ไม่เห็นเป็นอะไร ทำไมเราทำอย่างนี้ ไม่เห็นได้อะไร

ดังนี้เป็นต้น ปัจจัยหรือองค์ประกอบของนิยามทั้งหลาย เราอาจยังตรวจดูรู้ไม่ทั่วถึง

และพึงคิดว่า ตัวเรานี้ ปัญญาที่จะรู้จักเลือกถือเอาประโยชน์จากนิยามอื่นๆ ก็ไม่มี หนำซ้ำ

องค์ประกอบฝ่ายกรรมนิยาม ที่เป็นฐานยืนพื้นแน่นอนอยู่นี้ ก็ยังไม่ใส่ใจที่จะทำให้ดีเสียอีก

ถ้าขืนเป็นอย่างนี้ ก็คงมีแต่จะต้องทรุดหนักลงไปอีกทุกที
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 พ.ค.2008, 6:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้เข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ผู้ประกอบกรรมดี

ย่อมไม่ติดอยู่เพียงขั้นที่ยังมุ่งหวังผลอันเป็นโลกธรรม (ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ) ตอบสนอง

แก่ตน เพราะกุศลธรรมที่แท้จริง เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เขาจึงทำ

กรรมด้วยจาคะ สละอกุศลในใจและเผื่อแผ่เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ทำกรรมด้วยเมตตากรุณา ช่วยคน

อื่นให้พ้นทุกข์และสนับสนุนความอยู่ร่วมกันโดยสุขสงบ มีไมตรี ทำกรรมด้วยปัญญาเพื่อให้

เกิดความรู้ความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง เพื่อโพธิ เพื่อให้ธรรมแพร่หลาย

ครองใจคนและครองสังคม ซึ่งจัดเข้าได้ว่า เป็นกรรมขั้นสูงสุด

คือกรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 9:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ที่ผ่านมาท่านกล่าวพาดพิงถึง นิยาม กรรมนิยาม ฯลฯ หลายแห่ง

คห. นี้จึงจะนำนิยาม พร้อมความหมายมาลงไว้พอเข้าใจ

ความจริงที่กล่าวลิงค์แรกซึ่งเกี่ยวความดี-ชั่ว-บุญ-บาป-กุศล-อกุศล

ก็รวมอยู่ในชุดเดียวกันกับกรรม-นิยาม-กรรมนิยามนี่เอง แต่ได้ตัดเอา

เฉพาะที่มีผู้กล่าวถึงข้างต้น และที่สำคัญกรรม-นิยามเป็นหลักธรรม

ที่เนื่องอยู่ในปฏิจจสมุปบาท



นิยาม 5 หรือ กฎธรรมชาติ 5 อย่าง คือ


1. อุตุนิยาม- กฎธรรมชาติเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฝ่ายวัตถุ โดยเฉพาะความ

เป็นไปของธรรมชาติแวดล้อมและความเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ เช่น

เรื่องลมฟ้าอากาศ ฤดูกาล ฝนตก ฟ้าร้อง การที่ดอกบัวบานกลางวัน

หุบกลางคืน การที่ดินน้ำปุ๋ยช่วยให้ต้นไม้งาม การที่คนไอหรือจาม

การที่สิ่งทั้งหลายผุพังเน่าเปื่อยเป็นต้น

แนวความคิดของท่านมุ่งเอาความผันแปรที่เนื่องด้วยความร้อน หรือ

อุณหภูมิ


2.พืชนิยาม- กฎธรรมชาติเกี่ยวกับสืบพันธ์ หรือที่เรียกกันว่า

พันธุกรรม เช่น หลักความจริงที่ว่าพืชเช่นใดก็ให้ผลเช่นนั้น พืชมะม่วง

ก็ออกผลเป็นมะม่วง เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 ส.ค. 2008, 9:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

3. จิตตนิยาม- กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต เช่น เมื่ออารมณ์

(สิ่งเร้า) กระทบประสาท จะมีการรับรู้เกิดขึ้น จิตจะทำงานอย่างไร คือ

มีการไหวแห่งภวังคจิต ภวังคจิตขาดตอน แล้วมีอาวัชชะนะแล้วมีการเห็น

การได้ยิน ฯลฯ มีสัมปฏิจฉะนะ สันตีระณะ ฯลฯ หรือเมื่อจิตที่มีคุณสมบัติ

อย่างนี้เกิดขึ้น จะมีเจตสิกอะไรบ้างประกอบได้ หรือประกอบไม่ได้ เป็นต้น


4. กรรมนิยาม- กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการ

ก่อการกระทำ และการให้ผลของการกระทำ หรือพูดให้จำเพาะลงไป

อีกว่า กระบวนการแห่งเจตน์จำนง หรือความคิดปรุงแต่งสร้างสรรค์

ต่างๆ พร้อมทั้งผลที่สืบเนื่องออกไปอันสอดคล้องสมกัน เช่น ทำ

กรรมดีมีผลดี ทำกรรมชั่วมีผลชั่วเป็นต้น


5. ธรรมนิยาม- กฎธรรมชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุ

เป็นผลแก่กันของสิ่งทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างที่เรียกกันว่า ความเป็น

ไปตามธรรมดา เช่นว่า สิ่งทั้งหลายมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

เป็นธรรมดา คนย่อมมีความเกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดา ธรรมของคน

ยุคนี้มีอายุขัยประมาณร้อยปี ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ย่อม

เป็นธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย ที่เป็นสภาพไม่เที่ยง ถูกปัจจัยบีบคั้น

และไม่เป็นอัตตา ดังนี้ เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 26 ส.ค. 2008, 10:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1. อุตุนิยาม- law of energy; law of physical phenomena;

physical inorganic order หรือ เหมารวมว่า physical laws


2. พืชนิยาม- law of heredity; physical organic order;

biological laws


3. จิตนิยาม- psychic law; psychological laws


4. กรรมนิยาม- Law of Karma; order of act and result;

karmic laws; moral laws


5. ธรรมนิยาม- the general law of cause and effect; order

of the norm;

ธรรมนิยามนี้ อรรถกถาอธิบายโดยยกตัวอย่างธรรมดาในโอกาสต่างๆ

เกี่ยวกับพุทธประวัติ เช่นว่าในเวลาที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิ

ทรงประสูติ ตรัสรู้ เป็นต้น เป็นธรรมดาที่หมื่นโลกธาตุจะหวั่นไหว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง