Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อะไรเป็นเครื่องมัดใจสัตว์ทั้งหลายให้ต้องผูกเวรกัน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
nimmita
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 26

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2007, 10:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

.................

ขอยกตัวอย่างการบรรลุธรรมอันลือลั่นของพระอินทร์ ซึ่งมาเข้าเฝ้าสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า เรื่องนี้มีมาในสักกปัญหสูตร อันหมายถึงปัญหาที่ท่านท้าวสักกะหรือพระอินทร์ลง มากราบทูลถามพระพุทธเจ้าถึงในโลกมนุษย์ หากคุณศึกษาเนื้อความดังต่อไปนี้ให้ดี ก็จะเห็น ตัวอย่างการบรรลุมรรคผลอันเกิดจากการพิจารณาธรรมที่ไม่ยากจนเกินไป และเมื่อเข้าใจแล้วก็ย่อมทราบชัดว่าการบรรลุมรรคผลเป็นของสากล ไม่จำเพาะว่าต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น ขอเพียงมีดวงจิต เป็นกุศล สามารถเข้าใจภาษาธรรมะ จะเป็นเทวดาอินทร์พรหมไหนๆก็มีสิทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้น

ครั้งนั้นพระพุทธองค์ท่านประทับอยู่ในถ้ำชื่ออินทสาละ พระอินทร์รวมทั้งเหล่าเทวดาอัน เป็นเทพบริวารได้มาเข้าเฝ้า พระอินทร์กล่าวสรรเสริญคุณแห่งพระพุทธศาสนาว่าทำให้เทวดามี สหายใหม่มากขึ้น ส่วนสัตว์ในอบายภูมิได้เพื่อนน้อยลง อีกทั้งพระอินทร์ได้เห็นตัวอย่างการบรรลุ ธรรมในหมู่เทพด้วยกัน จึงมากราบทูลขอพุทธานุญาต ถามธรรมเพื่อความบรรลุถึงเช่นนั้นบ้าง

พระพุทธองค์ทรงอนุญาตและตรัสรับรองว่าจะตอบปัญหาของพระอินทร์ให้หายสงสัยถึง ที่สุด เนื่องจากเล็งเห็นว่าท้าวสักกะเป็นบัณฑิต จะถามอะไรย่อมประกอบด้วยประโยชน์ กับทั้งมี ความสามารถเข้าใจเนื้อความธรรมะได้รวดเร็วฉับพลัน ฉะนั้นพระองค์จะไม่เปลืองแรงเปล่ากับการตอบคำถามเป็นแน่

ครั้งนั้นความสงสัยอย่างที่สุดของพระอินทร์ท่าน คืออยากทราบว่าอะไรเป็นเครื่องมัดใจสัตว์ ทั้งหลายให้ต้องผูกเวรกัน ทั้งที่บางพวกไม่อยากมีเวร ก็ไม่แคล้วต้องถูกเบียดเบียน ต้องตอบโต้ ต้องก่อเวรกับผู้รุกราน ต่อให้เป็นเทวดา หรือกระทั่งเป็นพระอินทร์ผู้ยิ่งใหญ่ในดาวดึงส์ ยังถูกเหล่า อสูรราวีเข้าจนได้

ในการตอบเพื่อให้มรรคให้ผลแก่ผู้ควรบรรลุ พระพุทธเจ้าทรงเลือกที่จะไม่ให้คำตอบโยงไป เกี่ยวพันกับอดีตกรรมหนหลังที่เทวดาและอสูรเคยผูกเวรกันมา ทว่าจำกัดขอบเขตอยู่ในเหตุผลของจิต และคำตอบแบบยิงเข้าเป้าโดยตรงของพระพุทธองค์ก็คือ…

ดูกรจอมเทพ เหล่าเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ต่างก็มีความริษยาและความ ตระหนี่เป็นเครื่องผูกใจไว้ แม้เหล่าชนจำนวนมากปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท แม้กระนั้นพวกเขาก็ยังต้องเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่

คำตรัสของพระพุทธองค์หมายความว่า พวกเราตกอยู่ในจักรวาลแห่งการเบียดเบียน ถูก จองจำพันธนาการอยู่ด้วยสายโซ่คือความริษยาและความตระหนี่ ต่อให้ไม่อยากมีเวรก็ต้องมีเวร ต่อ ให้ไม่อยากมีศัตรูก็ต้องมีศัตรู เราไม่ทำเขาเขาก็มาทำเราอยู่วันยังค่ำ ยากที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ตลอด รอดฝั่ง

ดังกล่าวแล้วว่าพระอินทร์เป็นผู้มีปัญญามาก เพียงฟังเท่านั้นท่านก็เบี่ยงเบนความสนใจจาก เวรนอกตัว มาเป็นเหตุแห่งเวรอันเป็นของภายใน นั่นคือความริษยาและความตระหนี่ทันที ซึ่งในขั้น นี้ผู้มีปัญญาใกล้ถึงธรรมทั้งหลายต่างก็เหมือนกัน คือตัดความสนใจนอกตัว เอาสติเข้ามาตั้งที่ภายใน รู้อยู่กับเรื่องของใจตน

เมื่อเกิดสติรู้อยู่ที่จิตอันเป็นของจริงในตนแล้ว พระอินทร์ก็ทูลถามต่อ…

ข้าแต่พระสุคต ด้วยคำตอบของพระองค์ทำให้ข้าพระองค์ข้ามความสงสัยเรื่องต้นเหตุแห่งภัยเวรแล้ว แต่กระนั้นก็ยังสงสัยอยู่ ว่าความริษยาและความตระหนี่มีอะไรเป็น ต้นเหตุให้เกิดขึ้น ข้าพระองค์ใคร่ที่จะทราบว่าเมื่ออะไรมี ความริษยาและความตระหนี่จึงมี และเมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี?

พระอินทร์ไม่ได้ถามอย่างคนช่างซักหรือสักแต่อยากรู้อยากเห็น เพราะท่านถามเจาะเอา แก่นสารอันเป็นที่สุดด้วย นั่นคือ ‘เมื่ออะไรไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี’ อันนี้ถือเป็น คำถามที่ลึกซึ้งสุดยอดของศาสนาพุทธเรา ซึ่งกล่าวถึงเหตุแห่งการมีทุกข์ และเหตุแห่งการดับทุกข์ ผู้รู้ทางศาสนาย่อมทราบดีว่าคำถามนี้ของพระอินทร์เริ่มเข้าข่ายอริยสัจจ์ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการถามเอาความรู้แจ้งในระดับอริยะแล้ว

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า…

ดูกรจอมเทพ ความริษยาและความตระหนี่ มีวัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่ รักเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น เมื่อวัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักมีอยู่ ความริษยาและความตระหนี่จึงมี เมื่อวัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักไม่มี ความริษยาและความตระหนี่จึงไม่มี

พระอินทร์ย่อมเห็นแจ้งตามจริงตามพุทธพจน์ทันที ว่าเมื่อปราศจากเครื่องยึดให้จิตรักใคร่ใจย่อมว่างจากความริษยาและความตระหนี่ แต่กระนั้นก็ยังไม่ถึงที่สุดของความสงสัย พระอินทร์จึง ทูลถามต่อไป…

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รัก มีอะไรเป็นต้นเหตุ ให้เกิดขึ้น ข้าพระองค์ใคร่ที่จะทราบว่าเมื่ออะไรมี วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักจึง มี และเมื่ออะไรไม่มี วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี?

พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า

ดูกรจอมเทพ วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักนั้น มีความพอใจเป็นต้นเหตุ ให้เกิดขึ้น เมื่อความพอใจมี วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักจึงมี เมื่อความพอใจไม่มี วัตถุอันเป็นที่รักและวัตถุอันไม่เป็นที่รักจึงไม่มี

บัดนั้นพระอินทร์เห็นเข้ามาที่จิตอีกครั้ง เห็นว่าบุคคลหรือวัตถุภายนอกย่อมไม่อาจเป็นที่รักได้เลย หากขาดตัวแปรสำคัญตัวเดียวคือ ‘ความพอใจ’ หากขาดความพอใจเสียแล้ว ทั้งโลกย่อมไม่มีสิ่งใดควรยึดมั่นว่าน่ารักหรือน่าชังอีกต่อไป

พระอินทร์ยังมีคำถามต่อ…

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความพอใจมีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น ข้าพระองค์ใคร่ที่จะ ทราบว่าเมื่ออะไรมี ความพอใจจึงมี และเมื่ออะไรไม่มี ความพอใจจึงไม่มี?

พระพุทธองค์ตรัสตอบ

ดูกรจอมเทพ ความพอใจมีความตรึกเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น เมื่อความตรึกมี ความ พอใจจึงมี เมื่อความตรึกไม่มี ความพอใจจึงไม่มี

นี่คือคำตอบที่ชัดเจน เรียบง่าย และตรงไปตรงมายิ่ง คนเราถ้าไม่ตรึกนึกถึงสิ่งใด ความพอใจหรือความไม่พอใจเกี่ยวกับสิ่งนั้นย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย ขอให้พิจารณาดูว่าถ้าคุณผ่านไปเห็นหรือมีอะไรผ่านมาให้ได้ยิน แต่คุณไม่ยินยลสนใจ ไม่ใส่ใจตรึกนึกเปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสียต่างๆ คุณย่อมไม่รู้สึกรู้สา แม้เห็นอยู่ว่าสวยงามหรือชวนชัง แต่ทุกอย่างก็สักแต่ผ่านมาแล้วผ่านไป โดยไม่มีใจคุณติดตามไปด้วย

แต่ธรรมดาคนเราเมื่อพบเห็นหรือได้ยินอะไร ก็มักเอากลับมานึกถึง เอากลับมาคิดต่อ แล้วก็เกิดอาการตอกย้ำ ตัดสินยิ่งๆขึ้นว่านั่นน่าพอใจ นั่นน่าจับต้อง นั่นน่าได้มาไว้เป็นสมบัติ นี่แหละ พระพุทธองค์จึงตรัสว่าเพราะความตรึกนึกเป็นเหตุ จึงมีความพอใจเกิดขึ้นได้

พระอินทร์ทูลถามต่อ…

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ความตรึกมีอะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น ข้าพระองค์ใคร่ที่จะ ทราบว่าเมื่ออะไรมี ความตรึกจึงมี และเมื่ออะไรไม่มี ความตรึกจึงไม่มี?

คราวนี้พระพุทธองค์ตรัสตอบมาถึงระดับพ้นวิสัยที่จะเข้าใจด้วยมุมมองของการมีตัวตน (ลองอ่านช้าๆจะไม่ยากเกินเข้าใจนะครับ)

ดูกรจอมเทพ ส่วนหนึ่งของความตรึกมาจากความสำคัญมั่นหมาย อันประกอบด้วยความทะยานอยาก ความถือตัว และความเห็นผิด ความสำคัญมั่นหมายนั่นแหละเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้น เมื่อความสำคัญมั่นหมายมี ความตรึกจึงมี เมื่อความสำคัญมั่นหมายไม่มี ความตรึกจึงไม่มี

ความสำคัญมั่นหมายคืออาการที่จิตทรงจำ ตลอดจนหมายรู้ได้ว่าอะไรคืออะไร หน้าตาแบบ ไหนเป็นของคนรัก หน้าตาแบบไหนเป็นของศัตรู และหน้าตาแบบไหนเป็นตัวคุณเอง หาก ปราศจากอาการสำคัญมั่นหมายอันประกอบไปด้วยความทะยานอยาก ความถือตัว และความเห็นผิดเสียแล้ว คุณจะไม่แบ่งเขาแบ่งเรา ไม่มีข้างคนรัก ไม่มีข้างศัตรูเลย ทุกคนเป็นพวกเดียวกัน คือ เป็นเหยื่อของความไม่รู้ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

เมื่อ ‘รู้สึกชัด’ เข้ามาในภายใน เห็นว่าจิตนี้ มีองค์ประกอบส่วนหนึ่งเป็นความสำคัญมั่น หมาย หรือความจำได้หมายรู้ ก็เท่ากับคุณเห็นแบบแยกส่วน ว่าความจำได้หมายรู้เป็นแค่อะไรชิ้นหนึ่ง เป็นต่างหากจากจิต เป็นต่างหากจากตัวตน และถ้าตั้งความเห็นไว้ถูกต้อง ว่าความจำได้ หมายรู้เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน เกิดขึ้นด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง แล้วต้องสาบสูญไปสู่ความเป็นอื่น คุณก็จะไม่เห็นตัวคุณอยู่ในความจำ และไม่เห็นความจำโดย ความเป็นตัวคุณแต่อย่างใดเลย

มาต่อกันเรื่องพระอินทร์ พอฟังคำตอบถึงตรงนี้ ‘ตัวสำคัญมั่นหมาย’ ก็ปรากฏต่อจิตของ ท่านแล้ว คือท่านเห็นความสำคัญมั่นหมายเป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่ง อันนำมาซึ่งความตรึก ความพอใจ แล้วเป็นเหตุให้เกิดสิ่งที่รัก สิ่งที่เป็นต้นตอแห่งความริษยาและความตระหนี่ ดังนั้นท่านจึงทูล ถามพระพุทธเจ้าต่ออย่างจะเอาคำตอบสำคัญสุดยอด คือ…

ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงได้ชื่อว่าทำเหตุอันควรที่จะให้ถึง ความดับในส่วนของความสำคัญมั่นหมาย อันประกอบด้วยความทะยานอยาก ความถือตัว และความเห็นผิด?

คำตอบสำหรับคำถามนี้ พระพุทธองค์ตรัสโดยถือหลักว่าจะต้องปฏิบัติได้จริงสำหรับเทวดา เหล่าเทวดาประสบกับสัมผัสดีๆอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจะหาเครื่องพิจารณาให้จิตถอนจากความ ทะยานอยาก ความถือตัว และความเห็นผิด จึงต้องว่ากันด้วยเรื่องความดีใจและความเสียใจกันเป็น หลัก เพราะแม้ในโลกสวรรค์ที่อุดมด้วยทิพยสภาพอันแสนประณีตไร้ที่ติ ก็อาจเป็นทางมาแห่งโสมนัสและโทมนัสได้

พระพุทธองค์จึงอาศัยโอกาสแคบๆนี้เป็นช่องชี้ทางสว่างให้พระอินทร์ คือ…

ดูกรจอมเทพ อาตมภาพจะกล่าวถึงโสมนัสโดยแยกเป็น ๒ คือโสมนัสที่ควรเสพก็มี โสมนัสที่ไม่ควรเสพก็มี โทมนัสก็แยกเป็น ๒ คือโทมนัสที่ควรเสพก็มี โทมนัสที่ไม่ควรเสพก็ มี และอุเบกขาก็แยกเป็น ๒ คืออุเบกขาที่ควรเสพก็มี อุเบกขาที่ไม่ควรเสพก็มี โสมนัส โทมนัส และอุเบกขาใดทำให้กุศลเจริญขึ้น กับทั้งปราศจากความตรึก ความ ตรอง อย่างนั้นควรเสพ แต่ถ้าทำให้อกุศลเจริญ อย่างนั้นไม่ควรเสพ

ได้ฟังอย่างนี้ สำหรับพระอินทร์ก็โดนใจเต็มๆ เพราะท่านเพิ่งมีประสบการณ์อันทำให้ระลึก ได้ถึงการเสพโสมนัสควบคู่ไปกับโทมนัสมาสดๆร้อนๆ กล่าวคือเหล่าพรรคพวกเทวดาของท่านเพิ่ง รบกับเหล่าอสูร ซึ่งเมื่อพระอินทร์เป็นฝ่ายชนะ ก็ย่อมมีความโสมนัสยินดี

ความโสมนัสยินดีอันเกิดจากชัยชนะต่ออริราชศัตรูนั้น เมื่อพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ก็ย่อม เห็นชัด ว่าเป็นโสมนัสที่ประกอบไปด้วยทางมาแห่งอาชญา ประกอบไปด้วยทางมาแห่งศาตรา ไม่ เป็นไปเพื่อความแหนงหน่ายคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์อันเกิดจากการรู้แจ้งมรรคผล
นิพพาน

ส่วนการได้รับความยินดี การได้รับความโสมนัสอันเกิดจากการได้ฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคนั้น ไม่เป็นทางมาแห่งอาชญา ไม่เป็นทางมาแห่งศาตรา แต่เป็นไปเพื่อความแหนงหน่ายคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับทุกข์อันเกิดจากการรู้แจ้งมรรคผลนิพพาน

ระหว่างฟังเทศนาธรรมไขปัญหาอยู่นั้นเอง พระอินทร์ก็บรรลุธรรม (กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า บรรลุมรรคผล หรือได้ดวงตาเห็นธรรม รู้จักพระนิพพานเป็นวาระแรก) ดังความตามพระสูตรที่ว่า…

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพ เพราะเห็นแจ้งว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งเหล่านั้นทั้งมวลล้วนมีความดับลงเป็นธรรมดา

การสืบเหตุสืบผลของความมีความเป็นทั้งหลายตามลำดับนั้น เปรียบเสมือนการปอกกาบใบของต้นกล้วยออกทีละชั้นจนไม่เหลืออะไร ไม่พบแก่นอันเป็นสุดท้ายนอกจากความว่างเปล่า และ ณ ที่ที่พบความว่างเปล่าจากตัวตนนั้นเอง ความรู้สึกในตัวตนย่อมหายไป

กล่าวโดยสรุปอีกครั้ง เทวดาบรรลุมรรคผลได้นะครับ แต่ตามอัตภาพอันเป็นอัครมหาสุขแล้ว ท่านจะไม่มีโอกาสเจริญสติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ เหมือนมนุษย์โลก พวกท่านไม่มีกายอันเต็มไป ด้วยอึฉี่และตับไตไส้พุงโสโครก ตั้งอยู่อย่างอุดมโรค เป็นรังโรคที่รอวันแตกดับ มีแต่กายทิพย์อัน หอมหวนนุ่มนิ่ม กับสภาพแวดล้อมน่ารื่นรมย์สุดประมาณ การจะพิจารณาให้เกิดความแหนงหน่าย

จึงยาก แต่ก็มีโอกาสอันแคบอยู่ คือพิจารณาเห็นสายโซ่แห่งเหตุผลของการมีการเป็น หรือเห็นเข้า มาในจิต ในอารมณ์ของตนเป็นขณะๆ ว่าเกิดแล้วต้องดับไปทั้งหมด กระทั่งจบลงที่การรู้แจ้งว่ากาย ทิพย์ใจทิพย์นั้น หาใช่ตัวตนของใครไม่

http://dungtrin.com/mag/?3.prepare
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 04 ธ.ค.2007, 4:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 12:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบคุณอย่างสูง ท่านNimmita
ขออภิวาท แด่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บุญยิ่งแล้วที่ได้อ่านบทความนี้
ทำให้เข้าใจการดับกิเลสมากขึ้น ทั้งด้านโลภะ โทสะ โมหะ
.............................................................................
ข้อความนี้กินใจอย่างมาก คือ
ระหว่างฟังเทศนาธรรมไขปัญหาอยู่นั้นเอง พระอินทร์ก็บรรลุธรรม (กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า บรรลุมรรคผล หรือได้ดวงตาเห็นธรรม รู้จักพระนิพพานเป็น

ด้วยว่าผู้มีจิตใกล้จากกิเลสพอสมควรแล้ว ได้ฟังธรรมดังนี้ ก็บรรลุธรรม
ก็เราทั้งหลาย เมื่อได้อ่านบทความเหล่านี้ ใยจึงไม่บรรลุธรรม

ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควร Print ข้อความนี้ เพื่อนำอ่านเป็นประจำ เตือนสติ เทียบเท่าบทสวดมนต์ คงจักทำให้จิตทบทวน จิตสำนึกได้ ผลสุดท้ายคงเข้าใจและบรรลุธรรมได้ ตามแบบอย่างพระอินทร์ท้าวสักกะ

อนุโมทนา สาธุ สาธุ
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nimmita
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 26

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 10:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัตถา เทวมนุสสานัง ผู้เป็นศาสดาของเทพดาแลมนุษย์ทั้งหลาย สาธุ สาธุ สาธุ

ถ้าพระพุทธองค์ยังประทับอยู่ เหล่าเราชาวพุทธทั้งหลาย คงอาจจะบรรลุธรรมได้ง่ายขึ้น ด้วยพระพุทธญาณที่ล้ำเลิศนั้น ทำให้ผู้ฟังธรรมนั้นได้รับธรรมที่เหมาะสมแก่บุคคลนั้นๆ จึงทำให้บรรลุธรรมได้ง่าย

แต่ในความเป็นจริง เมื่อพระพุทธองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว เหล่าเราชาวพุทธทั้งหลาย ก็ต้องปฏิบัติตามคำสอนต่อไป ตามบุญบารมีที่ได้สั่งสมกันมา ถ้าสบโอกาสเหมาะเมื่อใด ก็คงได้บรรลุธรรมกันอย่างแน่นอน

สาธุๆ ขอนิพพานเป็นจุดหมายสูงสุด หากแม้นยังไม่ได้เข้าถึงซึ่งกระแสแห่งนิพพานเลย ชาติภพต่อๆไป ขอให้อยู่แต่ในการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นอย่างนี้ตลอดไปเทอญ

magic_storm
http://board.palungjit.com/showthread.php?t=103157
 


แก้ไขล่าสุดโดย nimmita เมื่อ 05 ธ.ค.2007, 10:58 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
nimmita
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 12 ส.ค. 2007
ตอบ: 26

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 10:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

" ดูกรจอมเทพ เหล่าเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ต่างก็มีความริษยาและความ ตระหนี่เป็นเครื่องผูกใจไว้ แม้เหล่าชนจำนวนมากปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท แม้กระนั้นพวกเขาก็ยังต้องเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ "

ชอบมาก จะได้ทำใจได้ซักที ไม่เคยปราถนาจะเบียดเบียน มีเวร เป็นศัตรูกับผู้ใดทางโลกเลย อยู่เงียบๆ แต่ก็ยังไม่พ้นถูกพยาบาท ตามจองเวรอยู่เรื่อยๆ ปากก็หาเรื่องว่า วิพากษ์ วิจารณ์ มาตลอด ทำอะไรก็ตามมาดู แล้วบอกว่าไม่เห็นเก่งอย่างที่คนอื่นเขาว่า หลงตัวเอง ถามหน่อยเถอะ ใครจะมาตามดูคนที่คิดว่า มั่นใจว่าเขาต่ำต้อยกว่า ถ้าไม่มีความริษยาเป็นเครื่องผูกใจไว้ เฮ้อ...

ขอระบายหน่อย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
bad&good
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 06 ส.ค. 2007
ตอบ: 115

ตอบตอบเมื่อ: 05 ธ.ค.2007, 8:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านNimmita
คำว่า ถ้า............นั้น
ใน ที่นี้ คงเป็นสิ่งสมมุติไม่ได้แล้ว เพราะเวลาผ่านไปแล้ว ดังนั้น ถ้า.........เช่นนี้ คงเป็นไปไม่ได้อีกแล้ว
สิ่งที่คงเหลืออยู่ คือ พระธรรม และ พระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดี ปฎิบัติชอบ
คงเป็นที่พึ่งสุดท้าย ต่อท่านทั้งหลาย ต่อไป
เหมือน ดั่งอาจารย์ปู่ทวด อาจารย์ปู่ จากไปแล้ว
คงเหลือแต่อาจารย์ ก็คงต้องพึ่งอาจารย์ต่อไป
การเรียนรู้วิชานั้นจะสำเร็จ
บางครั้งคลื่นลูกใหม่ อาจรู้เข้าใจกว่า คลื่นลูกใหม่ ก็เป็นได้ อย่าได้คิดว่า ความรู้พุทธนั้น จะค่อย ๆ เสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ
(แน่นอนแหละที่ตอนนี้ใน พุทธศาสนา ยังไม่มีใครเทียบเท่า กับ พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ ผู้เปิดโลกแห่งทางการดับทุกข์ได้)
ข้าพเจ้าเชื่อว่า การสืบต่อ การถ่ายทอดวิชาการใด เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นหลักการเดียวกัน.
เชื่อว่าคงไม่เรียนรู้เพียงคนเดียวโดบลำพัง ตามมีตามเกิด พึงให้พระสงฆ์ประชุมกัน คุยกันเรื่องธรรมะ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เพื่อว่าได้บรรลุธรรมด้วยกัน
.....................................
พุทธธรรม บางครั้งก็เหมาะสำหรับผู้ใกล้บรรลุธรรม
พุทธธรรม บางครั้งจึงไม่แยกไว้ว่า นี้เพื่อ เทพ เทวดา นี้เพื่อมนุษย์
เมื่อพิจารณาไป คิดตามไปกับความคิดเห็นผู้ตั้งคำถามว่าทำไมเขาจึงตั้งคำถามแบบนั้น คิดตามไปกับผู้ตอบคำถามว่าทำไมพระองค์จึงได้ตอบเช่นนั้น คิดให้ได้โดยละเอียด โดยแยบคลาย
ผู้ที่เข้าใจตามคำตอบของพระองค์ ผู้นั้นคือผู้เห็นธรรม คือ เข้าใจและรู้ตาม ความคิดเห็นของพระพุทธเจ้านั่นเอง ความเข้าใจในแก่นพุทธ หรือ หลักของพุทธ จึงเจริญอยู่ในจิตผู้นั้น
ดังนี้น ผู้ที่นึกออก ผู้ที่แจ่มแจ้งแล้ว ระดับหนึ่ง จึงสามารถตอบปัญหาอื่น แทนพระพุทธเจ้าได้เป็นจำนวนมาก หลายเรื่อง ผู้รู้ตาม ๆ กัน จะตอบปัญหาได้คล้าย ๆ กัน เสมือนหนึ่งจบวิชาการพุทธ เดียวกัน รับรู้ซึ่งกันและกัน และพอประมาณการได้ว่า ผู้นั้นได้มีชีวิตที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยพุทธ ในช่วงระดับใด
.................................
ประโยคที่ว่า
" ดูกรจอมเทพ เหล่าเทวดา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ ต่างก็มีความริษยาและความ ตระหนี่เป็นเครื่องผูกใจไว้ แม้เหล่าชนจำนวนมากปรารถนาความเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีศัตรู ไม่มีความพยาบาท แม้กระนั้นพวกเขาก็ยังต้องเป็นผู้มีเวร มีอาชญา มีศัตรู มีความพยาบาท ยังจองเวรกันอยู่ "

สิ่งนั้นเป็นตัวอักษร เป็นเพียงตัวหนังสือ ที่เป็นเพียงบทความ
ณ ที่นี้ ยังไม่มีใคร ตีความ แปลความหมาย อันแท้จริง ว่า เจตนาต่อความสอนนี้ ผู้ฟัง-ท่านท้าวสักกะ เข้าใจว่าอย่างไร พระพุทธเจ้า หมายถึงอย่างไร แต่ที่ทราบคือ พระพุทธเจ้า เข้าใจกันดีแล้วว่า ท้าวสักกะ เข้าใจดี และบรรลุธรรมแล้ว

สำหรับข้าพเจ้า เมื่ออ่านบทความท่อนนี้ เข้าใจว่า คนเรามุ่งหวังที่จะไม่มีกิเลสด้านโทสะ แต่แล้วโทสะก็พยายามวนเวียนมาหา คนเรา จนได้
เหมือนพระพุทธเจ้า ตรัสเป็นนัย ๆ ว่า เป็นเทพ ก็ไปพ้นกิเลส วนเวียน ไม่ต่างจากมนุษย์ มีกิเลส มาวนเวียนเช่นกัน
จิตไม่ยอมไปสู่ นิพพาน มันจึงต้องวนเวียนต่อ กิเลสทั้งหลาย เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่าย
ไม่ได้ให้ไปโกรธผู้อื่นอีกว่า ฉันอยู่เฉยแล้ว คนอื่นอย่ามายุ่งกับฉัน
..............................................................
บทความท่อนดังกล่าว ที่ท่านNim ทาแดงไว้นั้น จึงไม่ใช่ตอนจบ
บทความอื่น จึงกล่าวต่อไปว่า ท้าวสักกะ เข้าใจแล้วว่า กิเลสโทสะภายนอกกายมีอยู่ ถ้าแม้นแล้วไม่สนใจภายนอก ไม่สนใจผู้อื่นล่ะ ทำไมเหมือนกับยังติดกิเลสอื่นอยู่ จึงถามต่อไปเรื่อย จนจบ จนเข้าใจอย่างที่สุด จึงบรรลุนิพพาน
ข้าพเจ้าจึงขอสรุปตามความเข้าใจของข้าพเจ้า ดังนี้
1.ถาม อะไรเป็นเครื่องมัดใจสัตว์ ทั้งหลายให้ต้องผูกเวรกัน ทั้งที่ทำแต่กรรมดี
2.ตอบ ความริษยาและความตระหนี่ เป็นเครื่องผูกมัดใจ
ซึ่งต่อให้ไม่อยากมีเวรก็ต้องมีเวร ต่อ ให้ไม่อยากมีศัตรูก็ต้องมีศัตรู เราไม่ทำเขาเขาก็มาทำเราอยู่วันยังค่ำ ยากที่จะหลีกเลี่ยงไปได้ตลอด รอดฝั่ง
3.ผู้ถามรับรู้ว่า ไม่ริษยาและตระหนี่ต่อผู้อื่น คือไม่สนใจเรื่องเลวร้ายจากผู้อื่น จึงสงสัย จึงถามต่อ
4.ถาม ทำอย่างไร ไม่ให้เกิด ริษยาและตระหนี่
5.ตอบ หยุด เลิก ความพอใจ ความรักห่วงแหนต่อวัตถุ ซิ
หยุด เลิก ความไม่พอใจ ต่อสิ่งที่เกียดชัง ต่อสิ่งที่อยากทำลาย ซิ
จิตจึงจะทำให้ไม่เกิดริษยาและตระหนี่
6.ผู้ถามรับรู้ว่า อ๋อ จิตไม่ยึดติดกับตระหนี่ ต่อสิ่งที่เป็นของรัก ของห่วงแห จิตจึงว่างจากกิเลส
จิตไม่ยึดติดกับริษยา ต่อสิ่งที่เกียดชัง ต่อสิ่งที่อยากทำลาย จิตจึงว่างจากกิเลส
7.ถาม ก็อะไรเล่า ที่ทำให้รู้สึกเกิด รัก ของรัก ของห่วง
อะไรเล่า ที่ทำให้รู้สึกเกียดชัง สิ่งที่ไม่ชอบ สิ่งที่อยากจะทำลาย
8.ตอบ ก็เพราะความพอใจ (ความรัก ความห่วงแหน) จึงเกิดรัก และ เกียดชัง
9.ผู้ถามรับรู้ว่า อ๋อ เพราะใจ มัน พอใจ และไม่พอใจ นี้เอง
10.ถาม เอ แล้วจะทราบได้อย่างไรเล่า ว่า เมื่อไหร่จึงพอใจ เมื่อไหร่จึงไม่พอใจ
11.ตอบ เพราะตรึก(คิดพิจารณา)
ถ้าไม่คิดพิจารณา จะไม่เกิดความพอใจ และ ความไม่พอใจ
12.ผู้ถามรับรู้ว่า อ๋อ เพราะจิตมันคิดพิจารณา
13.ถาม อ้าว แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่า ไม่คิดพิจารณา ล่ะ อะไรเล่าที่ทำให้จิตมันคิด
14.ตอบ ก็เพราะความสำคัญมั่นหมาย
(ประกอบด้วย ความอยาก
ความเห็นผิด คือ อาจเห็นว่าคนอื่นทำผิดหมด ฉันนี่แหละทำถูกต้อง
ความถือตัว คือ ตัวกู ของกู ตามความหมายของพระพุทธทาส)
ซึ่งความสำคัญมั่นหมาย ดูเหมือนกับไปพ่วงกับคำว่า สัญญา ในเรื่องของขันธ์ 5
สัญญา คือ จิตจำสิ่งนั้นได้ เรื่องนั้นได้อย่างแม่นยำ เกิดของ2สิ่ง เกิดความเป็นตรงกันข้าม เกิดการแตกแยก เกิดเรื่อง เกิดโลภะ โทสะ โมหะ
ซึ่งความสำคัญมั่นหมาย อาจหมายถึง ตัวข้านี่แหละเก่ง ข้านี่แหละยิ่งใหญ่ เองอย่ามาเก่ง อย่ามาใหญ่กว่าข้า

15.ระหว่างนั้น พระพุทธเจ้าคงเห็นว่า ท้าวสักกะ พบต้นตอแล้ว คือ ความสำคัญมั่นหมาย นั่นเอง จึงตรัสต่อไปอีกว่า โสมนัส มี 2 แบบ โทมนัส มี 2 แบบ อุเบกขา มี 2 แบบ
.........................................................
แบบหนึ่งทำแล้วเกิดกุศลกรรม คือ จิตคิดทำแต่เรื่องดี เรื่องปองดองกัน เรื่องคิดจะดับทุกข์ ดับกิเลสให้หมดไป
ความโทมนัส จึงเกิดขึ้น (เพราะการดับทุกข์ทำได้ยาก ทำได้ลำบากตน)
ความโสมนัส ดีใจ จึงเกิดขึ้น (ดีใจเพราะมีความสุข ที่ทำดี ไม่มีใครตีกัน)
ความอุเบกขา(สงบสันติ) จึงเกิดขึ้น เพราะทำแต่เรื่องดี ทำแต่เรื่องสามัคคีกัน ทำแต่เรื่องสันติ
............................................
แบบหนึ่งทำแล้วเกิดอกุศลกรรม คือ จิตคิดทำแต่เรื่องเลว เรื่องสงคราม เรื่องทะเลาะวิวาทกัน เรื่องเอาชนะกัน
ความโทมนัส จึงเกิดขึ้น (เพราะแพ้) ความโสมนัส จึงเกิดขึ้น (เพราะชนะ) ความอุเบกขาจึงเกิดขึ้น คือ บ้านเมืองสงบ ไม่มีสงคราม (เพราะเพิ่งรบชนะมา หรือทะเลาะชนะมา จึงหยุดสงครามลงได้ จึงหยุดทะเลาะวิวาทกันได้)

ข้าพเจ้าก็ต้องขออภัยที่ต้องใช้คำสอนของพระพุทธเจ้า มาขยายความ ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า
เมื่อตั้งใจอ่านให้มาก พิจารณาให้มาก ดูเหมือนเราทั้งหลายเห็นสิ่งนั้นแล้วมาทั้งหมดจากการประวัติศาสตร์ หลายยุดหลายสมัย โดยมาก จะเป็นสงคราม ซึ่งพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่เคยเห็นด้วย พระองค์เห็นว่า สงคราม หรือ ทะเลาะวิวาทกัน คือ การทำอกุศลกรรม อย่างแท้จริง
ความสันติสุขจากความสามัคคีกัน จึงเป็นภาพรวมทั่เกิดขึ้นจากการทำความดี ทั้งสิ้น

เพียงแต่ พระพุทธเจ้า เป็นผู้ชี้ให้เห็นว่า นี่แหละ คือ กิเลส และ นี่แหละ คือ นิพพาน ให้ทราบพร้อม ๆ กัน
 

_________________
อริยมรรคมีองค์ 8 คือ สูตรสำเร็จแห่งการดับทุกข์
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Story Note
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2007
ตอบ: 97

ตอบตอบเมื่อ: 09 ม.ค. 2008, 6:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มแก้มปริ อ่า.. กว่าจะอ่านจบ

ซาบซึ้งงงง ค่ะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sittidet
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 26 ธ.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 6:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมชอบมากของคุณดังตฤณใช่ไหมครับ ดูเป็นวิทยาศาสตร์ดีครับ
 

_________________
ผู้ใดมีตนเป็นที่พึ่งนับว่าหาที่พึ่งอันหาได้ยาก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
manio
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 10 เม.ย. 2008
ตอบ: 16

ตอบตอบเมื่อ: 10 เม.ย.2008, 11:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สงสัยชาตินี้ กรรมเรายังคงไม่หมด ตกใจ อ่านเเล้ว ไม่ค่อยเข้าใจเลย ฟ้งซ่านจังเเฮะเรา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 18 ส.ค. 2008, 10:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คงเป็นกรรมมัง คนพูดน้อย เจริญในธรรมจ้า สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง