Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ควรศึกษาธรรมะให้ครอบคลุม ทั้งด้านสภาวธรรม และจริยธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2) ความปลอดกิเลส



คือ เป็นอิสระหลุดพ้นจากอำนาจบีบคั้นครอบงำและบงการของกิเลส

ทั้งหลาย เช่น ความโลภ ความโกรธ และความติดใคร่

ชอบชัง ความหลง ความริษยา และความถือตัวถืออำนาจ

เป็นต้น โปร่งโล่ง เป็นอิสระ สงบ และบริสุทธิ์ ลักษณะข้อนี้

มีผลโดยตรงต่อจริยธรรมทั้งด้านภายในที่จะคิดการ หรือ ใช้ปัญญา

อย่างบริสุทธิ์เป็นอิสระ ไม่เอนเอียง ไปด้วยชอบชังรังเกียจ

และความปรารถนาผลประโยชน์ส่วนตัว เป็นต้น

และด้านภายนอก ที่จะไม่ทำความผิดความชั่วต่างๆ ตามอำนาจ

บังคับบัญชาของกิเลสทุกอย่าง ตลอดจนสามารถทำการต่างๆที่ดีงาม

ตามเหตุผลได้อย่างจริงจังเต็มที่ เพราะไม่มีกิเลสเช่นความเกียจ

คร้าน ความห่วงใยผลประโยชน์ เป็นต้น มาคอยยึดถ่วงหรือดึงให้

พะวักพะวน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 3:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่างไรก็ดี คุณค่าข้อที่ 1 นี้ ในขั้นที่อยู่ระหว่างกำลังพัฒนา ยังไม่

สมบูรณ์สิ้นเชิง ถ้ามีแต่ลำพังอย่างเดียว ก็มีช่องทางเสียคือ อาจก่อให้

เกิดโทษได้ ตามหลักที่ว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศลได้ กล่าวคือ

เมื่อทำจิตได้แล้ว ใจสบายมีความสุขแล้ว ก็ติดใจเพลิดเพลินอยู่

กับความสุขทางจิตใจเสีย หรือพอใจในผลสำเร็จทางจิตนั้น และ

หยุดความเพียรพยายามเสีย หรือ ปล่อยปละละเลยไม่เร่งทำกิจที่ควร

ทำ ไม่จัดการแก้ไขปัญหาภายนอกที่ค้างคาอยู่ เรียกว่าตกอยู่

ในความประมาท

ดังตัวอย่างในพุทธพจน์ที่ว่า

“นันทิยะ อย่างไรอริยสาวกจะชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ?

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

ในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม...ในพระสงฆ์...ประกอบด้วยศีลทั้งหลายที่

พระอริยะยอมรับ...อริยสาวกนั้น พอใจ ( หรือ อิ่มพอ=

สันโดษ) ด้วยความเลื่อมใส...ด้วยศีลทั้งหลายที่พระอริยะยอมรับ

เหล่านั้น ย่อมไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป ฯลฯ อย่างนี้แล นันทิยะ

อริยสาวก ชื่อว่าเป็นอยู่ด้วยความประมาท”

(สํ.ม.19/1601/500)


ทางออกที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียที่กล่าวถึงนี้ ก็คือ จะต้องปฏิบัติ

ตามหลักการที่จะให้เกิดคุณค่า ข้อที่ 2 ควบคู่กันไปด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 9:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


2. คุณค่าด้านการทำกิจ หรือ คุณค่าเพื่อความไม่ประมาท



ในด้านการทำกิจ คือ ปฏิบัติหน้าที่การงาน หรือ ทำสิ่งที่ควรทำนั้น

เป็นธรรมดาที่ว่า ปุถุชนทั้งหลายมักมีความโน้มเอียง ต่อไปนี้


ก) เมื่อถูกทุกข์บีบคั้นเข้าแล้ว มีภัยมาถึงตัว เกิดความ

จำเป็นขึ้นเฉพาะหน้า จึงหันมาเอาใจใส่ปัญหาหรือกิจที่จะต้องทำ

แล้วดิ้นรน หรือ บางทีถึงกับตะลีตะลานที่จะพยามแก้ไขปัญหา หรือ

ทำการนั้นๆ ซึ่งบางคราวก็แก้ไขหรือทำได้สำเร็จ แต่บางทีก็ไม่ทัน

การ ต้องประสบความสูญเสียหรือถึงกับพินาศย่อยยับ แม้ถึง

จะแก้ไขหรือทำได้สำเร็จ ก็ต้องเดือดร้อนกระวนกระวายมาก และ

ยากที่จะสำเร็จอย่างเรียบร้อยด้วยดี อาจเป็นอย่างที่เรียกว่า สำเร็จ

ยับเยิน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 9:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข) ยามปกติอยู่สบาย หรือแก้ไขปัญหาลุล่วงไปได้ ทำกิจเฉพาะ

หน้าเสร็จไปทีหนึ่งแล้วก็นอนกายนอนใจ เฝ้าแสวงหาแส่เสพแต่

ความสุขสำราญ หลงใหลมัวเมาในความปรนเปรอบำรุงบำเรอ หรือ

ไม่ก็เพลิดเพลินติดในความปกติสุขอยู่สบายไปชั่วโมงวันๆ ไม่คิด

คำนึงที่จะป้องกันความเสื่อมและภัยที่อาจมาถึงในวันข้างหน้า มีกิจที่

ควรทำ ถ้ายังไม่จวนตัว ก็ผัดเพี้ยนรอเวลาไว้ก่อน


พอทุกข์บีบคั้น ภัยถึงตัว จำเป็นเข้า ก็ตะลีตะลานแก้ไข

พอผ่านพ้นไปได้ ก็ลงนอนเสพสุขต่อไปอีก ปฏิบัติวนเวียนอยู่ในวงจร

เช่นนี้ จนกว่าจะถึงวันหนึ่งที่ไม่อาจแก้ไขได้ทันการ หรือแก้ไข

สำเร็จอย่างยับเยินเกินกว่าจะดำรงอยู่ต่อไปได้ ก็เป็นอันจบสิ้น


สภาพความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตอย่างที่กล่าวมานี้ เรียกว่าความ

ประมาท ซึ่งแปลง่ายๆว่า ความละเลย หลงเพลินปล่อยตัว

ทอดทิ้งกิจ ไม่ใส่ใจ ไม่เห็นสำคัญ ไม่กระตือรือร้นขวนขวาย

เรื่อยเปื่อยเฉื่อยชา มักพ่วงมาด้วยความเกียจคร้าน ขาดความ

เพียรพยายาม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 9:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมานั้น เรียกว่า

ความไม่ประมาท หรืออัปปมาท แปลง่ายๆว่า ความเป็นอยู่อย่าง

พากเพียร โดยมีสติเป็นเครื่องเร้าเตือนและควบคุม คือสำนึกอยู่เสมอ

ถึงสิ่งที่จะต้องเว้นและสิ่งที่จะต้องทำ ใส่ใจที่จะเว้นและจะทำให้

สำเร็จ มองเห็นความสำคัญของกาลเวลา กิจกรรม และเรื่องราว

ทุกอย่าง แม้ที่เล็กน้อย ไม่ยอมถลำพลาดไปในทางเสื่อม

เสีย และไม่ทอดทิ้งโอกาสสำหรับความดีงาม ความเจริญ

เร่งรุดก้าวหน้าไปในทางที่ดำเนินสู่จุดหมาย หรือในทางแห่งความดี

งาม ไม่หยุดยั้ง และคิดเตรียมการโดยรอบคอบ กล่าวได้

ว่า ลักษณะสำคัญของอัปปมาท หรือความไม่ประมาทนี้ มี 3

อย่าง คือ

1) เห็นคุณค่าและความสำคัญของเวลาที่ผ่านไปทุกๆขณะ ไม่ปล่อย

กาละและโอกาสให้ผ่านไปเสียเปล่า ใช้เวลาอย่างมีคุณค่า ให้คุ้มค่า

และเกิดประโยชน์อย่างคุ้มควร


2) ไม่หลงระเริง ไม่มัวเมา ระมัดระวังควบคุมตนอยู่เสมอ ที่จะไม่ให้

เผลอพลาดลงไปในทางผิดไม่ปล่อยตัวให้ถลำลงไปในทางที่เสื่อมเสีย

หรือที่จะทำกรรมชั่ว


3) เร่งสร้างสรรค์ความดีงามและประโยชน์สุข กระตือรือร้นขวนขวายใน

การทำกิจหน้าที่ ไม่ละเลย แต่ขะมักเขม้นในการพัฒนาจิตปัญญา

และทำการอย่างรอบคอบ-

(ข้อนี้เรียกว่า ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย)

.........

เกี่ยวกับสติและความไม่ประมาทศึกษาที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13497
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 17 ส.ค. 2008, 12:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลักษณะสำคัญของอัปปมาท หรือความไม่ประมาทนี้ มี 3

อย่าง คือ

1) เห็นคุณค่าและความสำคัญของเวลาที่ผ่านไปทุกๆขณะ ไม่ปล่อย

กาละและโอกาสให้ผ่านไปเสียเปล่า ใช้เวลาอย่างมีคุณค่า ให้คุ้มค่า

และเกิดประโยชน์อย่างคุ้มควร


2) ไม่หลงระเริง ไม่มัวเมา ระมัดระวังควบคุมตนอยู่เสมอ ที่จะไม่ให้

เผลอพลาดลงไปในทางผิดไม่ปล่อยตัวให้ถลำลงไปในทางที่เสื่อมเสีย

หรือที่จะทำกรรมชั่ว


3) เร่งสร้างสรรค์ความดีงามและประโยชน์สุข กระตือรือร้นขวนขวายใน

การทำกิจหน้าที่ ไม่ละเลย แต่ขะมักเขม้นในการพัฒนาจิตปัญญา

และทำการอย่างรอบคอบ-

(ข้อนี้เรียกว่า ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย)

.........



อนุโมทนาด้วยค่ะ แปลกใจในความเพียรของท่านกรัชกายจริง ๆ สาธุ พุทโธ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง