Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทำไมมนุษย์จึงมีความเชื่อเรื่องกรรม ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ป๊อบ
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 07 มี.ค. 2008
ตอบ: 2

ตอบตอบเมื่อ: 07 มี.ค.2008, 5:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2008, 6:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออ้างอิง หลักการหน่อยน่ะครับ


***

จากหนังสือ พุทธธรรม หน้า ๑๖๔

โดยเฉพาะลัทธิที่ ๑ คือ ปุพเพกตเหตุวาท นั้น เป็นลัทธิของนิครนถ์
ดังพุทธพจน์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
‘สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดที่บุคคลได้เสวย ทั้งหมดนั้น เป็น
เพราะกรรมที่ตัวทำไว้ในปางก่อน โดยนัยดังนี้ เพราะกรรมเก่าหมดสิ้นไป
ด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ ก็จะไม่ถูกบังคับต่อไป เพราะไม่ถูกบังคับต่อไป
ก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรม ก็สิ้นทุกข์ เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะ
สิ้นเวทนา ก็จักเป็นอันสลัดทุกข์ได้หมดสิ้น ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์มี
วาทะอย่างนี้’
นอกจากนี้ พุทธพจน์ที่เคยยกมาอ้างข้างต้น ซึ่งย้ำความอันเดียวกัน
ก็มีว่า
ดูกรสิวกะ เวทนาบางอย่างเกิดขึ้น มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิด
จากความแปรปรวนแห่งอุตุก็มี...เกิดจากการบริหารตนไม่สม่ำเสมอก็มี...
เกิดจากถูกทำร้ายก็มี...เกิดจากผลกรรมก็มี ฯลฯ สมณพราหมณ์
เหล่าใด มีวาทะ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ‘บุคคลได้เสวยเวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ดี เวทนานั้นเป็นเพราะ
กรรมที่ทำไว้ปางก่อน’ ฯลฯ เรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นเอง
พุทธพจน์เหล่านี้ ป้องกันความเห็นที่แล่นไปไกลเกินไป จนมองเห็น
ความหมายของกรรมแต่ในแง่กรรมเก่า กลายเป็นคนนั่งนอนรอคอยผล
กรรมเก่า สุดแต่จะบันดาลให้เป็นไป ไม่คิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง กลายเป็น
ความเห็นผิดอย่างร้ายแรง ตามนัยพุทธพจน์ที่กล่าวมาแล้ว
นอกจากนั้น จะเห็นได้ชัดด้วยว่า ในพุทธพจน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงถือ
ความเพียรพยายามเป็นเกณฑ์ตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรม
และคำสอนเหล่านี้ทั้งหมด
พุทธพจน์เหล่านี้ มิได้ปฏิเสธกรรมเก่า เพราะกรรมเก่าก็ย่อมมีส่วนอยู่
ในกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย และย่อมมีผลต่อปัจจุบัน สมกับชื่อที่ว่าเป็นเหตุ
ปัจจัยด้วยเหมือนกัน แต่มันก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยอยู่นั่นเอง ไม่ใช่อำนาจ
นอกเหนือธรรมชาติอะไรที่จะไปยึดไปหมายมั่นฝากโชคชะตาไว้ ผู้เข้าใจ
ปฏิจจสมุปบาท รู้กระบวนการแห่งเหตุปัจจัยดีแล้ว ย่อมไม่มีปัญหาในเรื่องนี้


๕) ทำกรรมเก่าให้เกิดประโยชน์
คนไทยสมัยนี้ได้ยินคำว่า “กรรม” มักจะนึกไปในแง่ว่ากรรมจะตามมา
ให้เคราะห์ให้โทษอย่างไร พูดถึงกรรมก็จะนึกถึงอะไรอย่างหนึ่งที่คอยตามจะ
ลงโทษ หรือทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยเฉพาะคิดไปถึงชาติก่อน คือ
มองกรรมในแง่กรรมเก่า และเป็นเรื่องไม่ดี
คำว่า “กรรมเก่า” ก็บอกอยู่ในตัวเองแล้วว่า มันถูกจำกัดให้หดแคบ
เข้ามาเหลือเพียงส่วนหนึ่ง เพราะเติมคำว่า “เก่า” เข้าไป กรรมก็เหลือแคบ
เข้ามา ยิ่งนึกในแง่ว่ากรรมไม่ดีอีก ก็ยิ่งแคบหนักเข้า รวมแล้วก็คือเป็นกรรม
ที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไปๆ มาๆ ก็เลยอะไรๆ ก็แล้วแต่กรรม (เก่า-ที่ไม่ดี)
บางทีถึงกับมีการหาทางตัดกรรม เลยพลัดออกไปจากพระพุทธศาสนา
ความจริง กรรมก็เป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติ คือเป็นเรื่องความเป็น
ไปตามเหตุปัจจัยของชีวิตมนุษย์ ที่มีเจตนา มีการคิด การพูด และการ
กระทำ แสดงออก มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย แล้วก็เกิดผลต่อเนื่องกัน
ไปในความสัมพันธ์นั้น
ถ้ามัวไปยึดถือว่า แล้วแต่กรรมเก่าปางก่อนอย่างเดียว ก็จะทำกรรม
ใหม่ที่เป็นบาปอกุศลโดยไม่รู้ตัว
หมายความว่า ใครก็ตามที่ปลงว่า “แล้วแต่กรรม (เก่า)” นั้น ก็คือ
เขากำลังทำความประมาท ที่ปล่อยปละละเลย ไม่ทำกรรมใหม่ที่ควรทำ
ความประมาทนั้นก็เลยเป็นกรรมใหม่ของเขา ซึ่งเป็นผลจากโมหะ แล้วกรรม
ใหม่ที่ประมาทเพราะโมหะหลงงมงายนั้น ก็จะก่อผลร้ายแก่เขาต่อไป
ความเชื่อว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่กรรมเก่า กรรมปางก่อน หรือ
กรรมในชาติก่อน คือลัทธิกรรมเก่านั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่เรียกว่าปุพเพกตเหตุวาท
หรือเรียกสั้นๆ ว่า ปุพเพกตวาท ดังพุทธพจน์ที่แสดงแล้วข้างต้น
ท่านไม่ได้สอนว่าไม่ให้เชื่อกรรมเก่า แต่ท่านสอนไม่ให้เชื่อว่าอะไรๆ
จะเป็นอย่างไรก็เพราะกรรมเก่า
- การเชื่อแต่กรรมเก่า ก็สุดโต่งไปข้างหนึ่ง
- การไม่เชื่อกรรมเก่า ก็สุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง

!
!
๖) อยู่เพื่อพัฒนากรรม ไม่ใช่อยู่เพื่อใช้กรรม
ที่พูดมานี้ เท่ากับบอกให้รู้ว่า เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องต่อกรรมที่
แยกเป็น ๓ ส่วน คือ กรรมเก่า-กรรมใหม่-กรรมข้างหน้า
ขอสรุปวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องต่อกรรมทั้ง ๓ ส่วนว่า
กรรมเก่า (ในอดีต) เป็นอันผ่านไปแล้ว เราทำไม่ได้ แต่เราควรรู้ เพื่อ
เอาความรู้จักมันนั้นมาใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปรับปรุงกรรมใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
กรรมใหม่ (ในปัจจุบัน) คือกรรมที่เราทำได้ และจะต้องตั้งใจทำให้ดีที่
สุด ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ
กรรมข้างหน้า (ในอนาคต) เรายังทำไม่ได้ แต่เราสามารถเตรียมหรือ
วางแผนเพื่อจะไปทำกรรมที่ดีที่สุด ด้วยการทำกรรมปัจจุบันที่จะพัฒนาเรา
ให้ดีงามและงอกงามยิ่งขึ้น จนกระทั่งเมื่อถึงเวลานั้นเราก็จะสามารถทำ
กรรมที่ดีสูงขึ้นไปตามลำดับ จนถึงขั้นเป็นกุศลอย่างเยี่ยมยอด
นี่แหละคือคำอธิบายที่จะทำให้มองเห็นได้ว่า ทำไมจึงว่า คนที่วางใจ
ว่าจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่กรรม(เก่า) นั้นแล กำลังทำกรรมใหม่(ปัจจุบัน) ที่
ผิด เป็นบาป คือความประมาท ได้แก่การปล่อยปละละเลย อันเกิดจาก
โมหะ และมองเห็นเหตุผลด้วยว่า ทำไมพุทธศาสนาจึงสอนให้หวังผลจาก
การกระทำ
ขอย้ำอีกครั้งว่า กรรมใหม่สำหรับทำ กรรมเก่าสำหรับรู้ อย่ามัวรอ
กรรมเก่าที่เราทำอะไรมันไม่ได้แล้ว แต่หาความรู้จากกรรมเก่านั้น เพื่อเอา
มาปรับปรุงการทำกรรมปัจจุบัน จะได้พัฒนาตัวเราให้สามารถทำกรรมอย่าง
เลิศประเสริฐได้ในอนาคต
มีคำเก่าได้ยินมานานแล้วประโยคหนึ่ง คือที่พูดว่า “คนเราเกิดมาเพื่อ
ใช้กรรมเก่า” ความเชื่ออย่างนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา และต้องระวังจะเป็นลัทธิ
นิครนถ์

จากหนังสือ พุทธธรรม ฉบับขยายความ online

http://www.geocities.com/dharma_buddha/

เชื่ออย่างไรผิดหลักกรรม
http://www.geocities.com/wilawanwiseschinda/p205.doc

ซึ้ง
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2008, 6:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เริ่มต้นจากการเชื่อเรื่องบุญ-บาป
คือคนเราถ้าทำดี ก็จะได้รับผลดี
ถ้าทำชั่วทำบาป ก็จะได้รับผลชั่ว ผลที่ไม่ดี

การเชื่อทำนองนี้เป็นการเชื่อตามกฏแห่งกรรม
ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนานั้นเอง

บางคนก็เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
แต่ก็ยังทำกรรมชั่วกรรมไม่ดีอยู่
เพราะจิตใจไม่กำลังพอที่จะต้าน
สิ่งยั่วยุให้ทำกรรมชั่วกรรมไม่ดีได้

การฉ้อโกงทรัพย์สินข้าวของๆคนอื่นมาเป็นของตนเอง
ด้วยอำนาจของความโลภความต้องการที่ไม่รู้จักพอ
ที่มีอยู่ภายในจิตใจของคนนั้น มีอำนาจเหนือฝ่ายคุณธรรม
จึงบังคับบ่งการให้คนนั้นกระทำกรรมไม่ดี
เพราะสำนองความต้องการที่อยู่ภายในจิต

ถ้ามนุษย์เราไม่ได้รับการส่งเสริม เพิ่มเติมคุณธรรมแล้ว
จิตใจก็จะเอียนเอียงไปสู่ฝ่ายชั่ว ฝ่ายไม่ดีได้ตลอดเวลา
จึงต้องส่งเสริมภายในจิตใจมีคุณธรรมให้มาก
ยิ่งมีมากเท่าไรก็ยิ่งดี เพราะจะได้เป็นกำลังต่อต้านฝ่ายชั่ว
ที่นับวันก็จะมีการวิวัฒนาการตามกระแสความเจริญของโลก

อืมม์
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ตามรอย
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 16 เม.ย. 2008
ตอบ: 109
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 17 พ.ค.2008, 6:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วคุณเชื่อหรือไม่ล่ะครับ ว่ามันมีหรือเปล่าลองดูก็ได้นี่
กรรมดีย่อมส่งผลดี กรรมชั่วย่อมส่งผลชั่ว เอวัง
 

_________________
อย่าประมาทลืมตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 16 มิ.ย.2008, 3:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทโธ ในความคิดของผมนะครับที่ถูกผู้ใหญ่ปลูกฝังมาก็คือ ถ้าเราทำกรรมดีไว้ เราก็จะได้รับสิ่งดีๆเข้ามาในชีวติ อยู่ในสิ่งที่เจริญจิตใจมีแต่ความแจ่มใส แต่ถ้าทำกรรมชั่วไว้ ก็จะได้รับสิ่งที่ทำชั่วไว้ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่น่าอยุ่ จิตใจก็มีแต่ความเศร้าหมอง และการเชื่อเรื่องกรรมดีกรรมชั่วนั้นก็จะทำให้คนเกรงกลัวต่อปาบ เพราะเมื่อเกรงกลัวต่อปาบแล้ว ก็จะมุ่งทำความดี เพื่อที่จะทำให้ตนเองมีแต่ความเจริญเข้ามาในชีวิต
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 9:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เพราะมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ได้รับผลของกรรม(การกระทำ) แล้ว จึงได้เชื่ออย่างนั้น อมิตพุทธ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง