Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากเริ่มลองฝึกสมาธิดูบ้างครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
cometboy
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 15 ธ.ค. 2007
ตอบ: 2
ที่อยู่ (จังหวัด): เชียงใหม่

ตอบตอบเมื่อ: 22 ธ.ค.2007, 8:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เท่าที่ได้อ่านการทำสมาธิแบบคร่าวๆ ดูแล้ว ผมก็รู้สึกว่าน่าสนใจดีนะครับ ผมเพิ่งจะอายุ 15 เรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย อยากจะลองฝึกสมาธิดูบ้าง เพื่อที่จะได้มีจิตใจที่สงบเกิดสติปัญญา ไปใช้ในการเรียนและการดำเนินชีวิตประจำวันอ่ะครับ จึงขออยากทราบเทคนิคการทำสมาธิ และการกำหนดจิตในช่วงที่ทำสมาธิน่ะครับ เพราะผมกำหนดจิตไม่ค่อยได้ จิตมันไม่อยู่ที่ลมหายใจ มันล่องลอยคิดไปเรื่อยๆ อ่ะครับ แล้วก็อีกอย่างที่สำคัญคือ "การหายใจด้วยกระบังลมทำยังไง มีเทคนิคอย่างไรบ้าง" ขอทราบโดยละเอียดนะครับ


ขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยตอบให้นะครับ....
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
ชัย
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 26
ที่อยู่ (จังหวัด): ร้อยเอ็ด

ตอบตอบเมื่อ: 23 ธ.ค.2007, 9:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาสาธุกับบทความธรรมทานจากท่านครับ สาธุ สาธุ
 

_________________
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
Mr.Tanongsak
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 03 ธ.ค. 2007
ตอบ: 1
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 26 ธ.ค.2007, 12:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อารมณ์คุณยังหยาบอยู่
1. ขั้นแรกให้หายใจเข้าช้าๆสบายๆแต่ให้มีเสียงกระทบคล้ายๆเราถอนหายใจ หายใจเข้าถูกท้องต้องพองออก
2.ขั้นสองให้หายใจออกช้าๆ สบายๆเช่นกันให้มีเสียงเช่นกัน หายใจออกถูกท้องต้องแฟ่บพร้อมแขม่วเล็กน้อย
3.นับลมหายใจเป็นคู่ คือ หายใจเข้านับหนึ่งลากเสียงยาวในใจตามลมหายใจ หายใจออกนับหนึ่งลากเสียงยาวเช่นกัน หายใจเข้านับสองงงงงง....ลากเสียงยาวในใจตามลมหายใจ หายใจออกนับสองงงง....ลากเสียงยาวอีกเช่นกัน นับลมหายใจไปจนถึงห้า หายใจเข้านับห้า หายใจออกนับห้า
พอถึงห้าแล้ว ให้นับถอยหลังอีก คือ หายใจเข้านับห้า....ลากเสียงยาวในใจตามลมหายใจ หายใจออกนับห้า......ลากเสียงยาวเช่นกัน นับลมหายใจเข้าออกจนถึงหนึ่ง
จากนั้นนับแบบเดิมแต่เพิ่มจำนวนจาก 1-1 2-2 3-3 4-4 5-5 จนถึง 6-6 จากนั้นนับถอยหลังอีกคือหายใจเข้านับ 6 หายใจออกนับ 6 5-5 4-4 3-3 2-2 1-1 แล้วเพิ่มการนับไปอีกคือ
1-1 2-2 3-3 4-4 5-5 6-6 7-7 , 7-7 6-6 5-5 4-4 3-3 2-2 1-1
1-1 2-2 3-3 4-4 5-5 6-6 7-7 8-8 , 8-8 7-7 6-6 5-5 4-4 3-3 2-2 1-1
1-1 2-2 3-3 4-4 5-5 6-6 7-7 9-9 , 9-9 7-7 6-6 5-5 4-4 3-3 2-2 1-1
1-1 2-2 3-3 4-4 5-5 6-6 7-7 10-10,10-10 7-7 6-6 5-5 4-4 3-3 2-2 1-1
การหายใจต้องถูกต้องคือหายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ (การหายใจให้มีเสียงแบบนี้ใช้แก้อารมณ์หยาบได้ดีเพื่อให้จิตมีอารมณ์กำหนดอยู่ที่เสียงอีกทางหนึ่ง)
4. ถ้านับถึงชุดสิบแล้วสังเกตุดูว่าลมหายใจจะเริ่มละเอียดขึ้นเองหรือบางทีเราอยากจะหายใจธรรมดาแล้วรู้สึกสบายก็ไม่ต้องบังคับให้มีเสียงก็ได้
5. จากนั้นให้นับลมหายใจเป็นชุดคือ หายใจเข้านับ 1-2-3-4-5 หายใจออกนับ 1-2-3-4-5
ครั้งที่สอง หายใจเข้านับ 1-2-3-4-5-6 หายใจออกนับ 1-2-3-4-5-6
ครั้งที่สาม หายใจเข้านับ 1-2-3-4-5-6-7 หายใจออกนับ 1-2-3-4-5-6-7
ครั้งที่สี่ หายใจเข้านับ 1-2-3-4-5-6-7-8 หายใจออกนับ 1-2-3-4-5-6-7-8
ครั้งที่ห้า หายใจเข้านับ 1-2-3-4-5-6-7-9หายใจออกนับ 1-2-3-4-5-6-7-9
ครั้งที่หก หายใจเข้านับ 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10 หายใจออกนับ 1-2-3-4-5-6-7-8-9-10
ให้สังเกตุดูว่าชุดไหนที่นับแล้วสบายที่สุดให้จับเอาชุดนั้นไว้
(สังเกตุว่าถ้าอารมณ์ฟุ้งมากชุดที่จำนวนมากๆจะช่วยลดความฟุ้งได้เยอะ ถ้าอารมณ์ละเอียดจำนวนเลขน้อยจะสบายกว่า)
แต่ของผมที่สบายคือ 1-2-3-4-5 ของคุณอาจเป็นชุดอื่นก็ทดลองดูนะครับ
6. จากนั้นให้นับคู่ที่เราคิดว่าสบายที่สุดให้กำหนดเป็นอารมณ์ไว้ นับไปเรื่อยจนจิตลืมการนับไปเอง ไม่ต้องกังวลให้กำหนดจิตเราไว้ที่ลมหายใจแทน ให้ตามดูลมตั้งแต่ต้นว่าเริ่มที่ไหน สิ้นสุดที่ไหนทั้งหายใจเข้าและออก ถ้าลมละเอียดก็ให้รู้ว่าละเอียด ถ้าลมหยาบก็ให้รู้ว่าลมหยาบ ถ้าลมสั้นก็ให้รู้ว่าลมสั้น ถ้าลมยาวก็ให้รู้ว่ายาว อย่าไปบังคับปล่อยใจสบายๆที่สุดให้คิดว่าเรามาหาที่พักของจิตเท่านั้นเองแล้วจะดีขึ้นครับ
7.ถ้าลมหายใจคุณละเอียดจนเหมือนกับว่าไม่หายใจอย่าตกใจให้กำหนดผู้ที่รู้ว่าใครเป็นผู้รู้ว่าลมหายใจไม่มีไปอีก นั่นคือจิตผู้รู้ กำหนดจิตไว้ที่ดวงจิตผู้รู้ไปเรื่อยครับ ช่วงนี้อาจเกิดอารมณ์แปลกก็อย่าไปตกใจกลัว ให้คิดว่าธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม อะไรจะเกิดก็จะมีธรรมคุ้มครองทุกขณะจิตให้สบายใจได้ครับ

Tips...
1.ก่อนปฏิบัติสมาธิให้หาอารมณ์สำรองก่อน เช่น สวดมนต์ แผ่เมตตา อ่านประวัติพระพุทธเจ้า อ่านประวัติพระสงฆ์ที่เราเคารพ หรือนึกถึงความดีที่เราเคยทำไว้ สิ่งที่เรานึกต้องเป็นสิ่งสะอาดบริสุทธิ์หรือนึกถึงภาพวิวทิวทัศน์ ให้ใจสบายก่อนแล้วจึงค่อยทำสมาธิ
2.อาบน้ำชำระร่างกายถ้าหิวมากๆก็ให้ทานอาหารสักเล็กน้อย อาจเป็นน้ำดื่ม น้ำผลไม้ก็ได้จะช่วยได้เยอะครับ
3.ท่านั่งควรเลือกท่าที่เรานั่งแล้วสบาย นั่งเก้าอี้ห้อยขาก็ได้ แต่ต้องไม่สบายจนเกินไปเพราะจะทำให้ง่วงและหลับในได้ครับ
4.ทำงานทุกอย่างให้เสร็จก่อนแล้วจึงค่อยทำสมาธิ
5.ถ้าเริ่มปฏิบัติควรกำหนดเวลาไว้แต่น้อยเช่น 5 นาที หรือ 10 นาที ถ้าปฏิบัติแล้วเกิดปีติสุขภายหลังจะเพิ่มเองก็ได้ไม่เป็นไร
6.เวลาช่วงเช้าหลังนอนพักผ่อนเพียงพอแล้วจะดีกว่าช่วงดึกเพราะร่างกายและจิตเรากระทบอารมณ์ภายนอกต่างๆมาก จิตสูญเสียพลังงานไปเยอะแล้วการปฏิบัติช่วงนี้จะไม่ค่อยได้ผลมากสำหรับผู้เริ่มใหม่ ส่วนมากจะนั่งหลับไปก่อน
7.การทานอาหารสำหรับผู้เริ่มใหม่ควรทานแต่พอดีอย่าให้อิ่ม และควรทำสมาธิหลังทานอาหารไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมงครับ
8.สมาธิอาศัยศีลเป็นฐาน ควรรักษาศีลไม่ด่างพร้อยแล้วการปฏิบัติสมาธิจิตจะรวมได้เร็วกว่าครับ

หวังว่าเทคนิคที่ว่าทั้งหมดคงมีประโยชน์พอสำหรับคุณนะครับ
 

_________________
ปัจจุบันสำคัญที่สุด
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
1เอง
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 29 ต.ค. 2007
ตอบ: 43
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 28 ธ.ค.2007, 5:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เราจะนั่งขัดสมาธิก็ได้ เฉพาะผู้ที่ท่านจะตั้งหน้าตั้งตาทำภาวนาเป็นการเป็นงานจริงๆ ส่วนมากท่านมักขัดสมาธิกันทั้งนั้นเพราะมันไม่หนักทางโน้นหนักทางนี้ มันเสมอ ถ้านั่งพับเพียบอย่างนี้มันจะหนักทางหนึ่งและเจ็บทางหนึ่งมากกว่ากัน แต่ถ้านั่งขัดสมาธิแล้วมันเสมอ

ทีนี้เราจะกำหนดเอาพุทโธ หรือธัมโม หรือสังโฆ หรือธรรมบทใดก็ตามที่เหมาะกับจริต หากมีลักษณะของจิตที่ทำให้รู้สึกโล่งๆในใจของเรา เราก็เอาอันนั้นมาเป็นหลักแล้วกำหนดยึดเอาตรงนี้ ยกตัวอย่างเช่น พุทโธเป็นต้นนะ เรากำหนดเฉพาะพุทโธๆๆให้มันรู้อยู่ภายในนี้ ไม่ต้องไปกำหนดไว้ที่ตรงนั้น ตรงนี้ ให้เรารู้ว่าเรานึกพุทโธ ไม่ให้จิตส่งไปทางโน้นส่งมาทางนี้ บังคับไว้ให้อยู่กับพุทโธๆๆ ทีนี้คำว่าพุทโธนี้มันเป็นเครื่องยึดของความรู้ ความรู้ถ้าไม่มีที่ยึดที่เกาะก็รวนเรไปหมด หาที่เกาะไม่ได้ เมื่อหยุดเกาะอยู่กับคำว่าพุทโธก็ค่อยสงบตัวเข้ามาๆพอสงบตัวเข้ามา ริงๆแล้วคำว่าพุทโธกับความรู้นั้นเลยกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน ตอนนั้นไม่จำเป็นที่จะว่าพุทโธหรือไม่ว่า พุทโธก็รู้อยู่ชัดๆ เด่นอยู่ภายใน อันนั้นพุทโธก็ปล่อยได้เอง นี่วิธีการภาวนาให้จิตสงบเป็นอย่างนั้น อย่างกำหนดอานาปานสติก็เหมือนกัน เราไม่ต้องทำให้มีภาระอะไรมากในขั้นเริ่มแรก ส่วนมากลมจะสัมผัสที่ดั้งจมูกมากกว่าเพื่อน เวลากำหนดลมหายใจเข้า-ออก เวลามันผ่านดั้งจมูกนี้มันก็รู้ว่าลมออก-ลมเข้า ให้กำหนดรู้อยู่ที่ตรงนี้ เข้าก็รู้ ออกก็รู้ แต่ไม่ตามลมเข้าไปไม่ตามลมออกไป ให้มีแต่รู้เหมือนกับว่าคนยืนอยู่ที่ประตูคนเข้าก็รู้แต่ไม่ตามเขาเข้าไป คนออกมาก็รู้แต่ไม่ตามเขาออกไป ดูคนเข้าก็รู้-ออกก็รู้ๆแล้วจิตก็ค่อยๆสงบ ทีนี้เมื่อจิตค่อยสงบกับลมค่อยละเอียดลงไปมันทำงานไปพร้อมๆกัน ยิ่งลมละเอียดเข้าไปๆแล้วการกำหนดอานาปานสตินี่นะ ทีแรกเราได้ตั้งลมไว้ตรงนี้ เวลาทำไปเพลินๆมันอาจจะมีความสำคัญอันหนึ่งหลอกขึ้นมาได้ เอ๊ะ...ก็เรากำหนดลมที่ตรงนี้ทำไมจึงไปอยู่สูงไปต่ำไป เลยกำหนดที่เราตั้งไว้บ้าง นี้เป็นเครื่องหลอก อย่าไปสำคัญกับความสูงความต่ำ ให้มีกำหนดกฎเกณฑ์อยู่กับความสัมผัสของลมเข้า-ออกเท่านั้น ให้รู้กันอยู่ตรงนี้ จะสูงก็ตามจะต่ำก็ตาม ไม่เหนือความรู้ของเราที่รู้อยู่นี้ เอาตรงนี้ แล้วมันก็ปล่อยกังวลได้

ทีนี้พอลมหายใจละเอียดเข้าไป ๆ จนกระทั่งถึงขั้น ลมดับจริงๆมันมีได้ในความรู้สึก แต่ลมจะดับจริงๆหรือไม่จริงเราไม่ไปสนใจ เราเอาความจริงที่ปรากฏในตัวของเรานี้พอ ทีนี้ลมละเอียดลงๆจนสุดขีดแล้วหายเงียบไปเลย นี่อันหนึ่งที่จะสร้างปัญหาหลอกเรา พอลมหายเงียบไปในขณะนั้นจิตเรียกว่าละเอียดมากเต็มที่ พอลมหายเงียบไปมันจะมีวิตกอันหนึ่งขึ้นมา เอ๊...นี่ลมหายใจดับไปแล้วจะไม่ตายหรือ พอกลัวตายจิตมันเคลื่อนปั๊บขึ้นมา ลมหายใจเลยมีตามเดิม ภาวนาคราวหลังเลยไม่ได้เรื่องก็ไปถึงแค่กลัวตายนั่นแหละ เพื่อตัดปัญหาอันนี้ เมื่อลมหายใจค่อยละเอียดลงไปๆจนกระทั่งลมหายใจหมดไปในความรู้สึกอย่างเด่นชัดก็ตาม เมื่อผู้รู้ยังครองร่างอยู่แล้วไม่ตายเท่านั้นละจิตก็พุ่งของมัน นี่เรียกว่าเป็นได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่มีอะไรมาหลอก ให้จำไว้ตรงนี้ เป็นไปได้จริงๆนักภาวนา ถ้ากำหนดลมหายใจจะเป็นอย่างนั้นจริงๆพอถึงขั้นนี้

แต่เวลาภาวนาอย่าคาดว่าจะเห็นนั่นจะเห็นนี่ เห็นเปรต เห็นผี เห็นยักษ์ เห็นมาร เห็นคนนั้นคนนี้ เห็นสวรรค์ เห็นวิมาร เห็นนรก เห็นสวรรค์ อย่าไปคาดขณะนั้น ห้ามคาดเป็นอันขาด ให้รู้อยู่กับงานของตนที่ทำกำหนดรู้อยุ่ตรงนี้เท่านั้น เมื่ออันนี้พอตัวแล้วผลของมันจะแสดงขึ้นมาเองตามเหตุอันนี้ เรื่องที่ว่าเหล่านั้นปิดไม่อยู่ ถ้ามีนิสัยที่จะรู้แล้วต้องรู้ของมัน นี่เป็นหลักสำคัญ


คัดลอกจาก http://www.buddhismthailand.com/qa/bua.php
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
sittidet
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 26 ธ.ค. 2007
ตอบ: 53
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 15 เม.ย.2008, 6:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เทคนิคของพระพุทธเจ้าครับ เมื่อหายใจออกก็รู้ว่าหายใจออก เมื่อหายใจเข้าก็รูว่าหายใจเข้า สังเกตหายใจออกก่อนเพราะอะไร เพราะทำให้เราเหมือนถอนหายใจครับ เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่าหายใจออกยาวเมื่อหายใจเข้ายาวก็ให้รู้ว่าหายใจเข้ายาว ทริกคือ ให้เราดูลมหายใจเหมือนเรานั่งดูนาฬิกาลูกตุ้ม มันแกว่งไปทางไหนก็รู้ตามอย่างเดียวเท่านั้นครับ ไม่ต้องสนใจอะไรมากว่ารู้ตามจริงครับ ลมหายใจเรามีโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่ต้องเกร็งปล่อยไปตามธรรมชาติเรามีหน้าที่แค่ดูแล้วรู้ว่าลมหายใจเป็นอย่างไร สั้นหรือยาว หยาบหรือละเอียดแค่นั้นพอครับ ในระหว่างวันน้องก็ดูลมหายใจได้นะ นั่งเรียนเพลินลองระลึกดูสักครั้งหนึ่ง บ่อยเข้าแล้วจะเจออะไรดีๆขึ้นอีกเยอะเลยครับ เพราะมันคือการปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้วครับ หาคำตอบเองนะครับ สาธุ เด็กรุ่นใหม่อนาคตของชาติ อนาคตของศาสนาครับ สู้ สู้
 

_________________
ผู้ใดมีตนเป็นที่พึ่งนับว่าหาที่พึ่งอันหาได้ยาก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 15 เม.ย.2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ง่ายๆคือ
หลับตา แล้วสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ออกลึกๆ ทำใจให้สบาย


หลังจากนั้นก็เฝ้าดูลมหายใจ
คือหายใจเข้าก็ให้รู้ว่ากำลังหายใจเข้า
หายใจออกก็ให้รู้ว่ากำลังหายใจออก


ไม่ต้องสนใจว่าจะยาวหรือว่าสั้น นะครับ
ขั้นแรกเอาแค่ให้รู้ว่าเข้าหรือออกเท่านั้นเอง


ให้ตามดูเฉยๆไม่ต้องทำอะไร ถ้าเผลอคิดไปทางอื่น
เมื่อรู้ว่ากำลังคิดก็ให้รีบกลับมาดูลมหายใจต่อ


ทำให้ได้วันละหลายๆรอบนะครับ
ขั้นแรกเอาแค่นี้แหละไม่ต้องคิดมาก

ที่สำคัญทำใจให้สบาย อย่าเกร็ง เพราะเราไม่ต้องการอะไรแค่รู้กองลมเท่านั้น
ขอให้มีความสุขกับการตามดูลมหายใจนะครับ
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 1:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อายุยังน้อย แต่สนใจฝึกสมาธิ ถือว่าเป็นบุญของตัวเอง ฝึกต่อไปนะจ๊ะ
อนุโมทนาสาธุ สาธุ สู้ สู้
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง