Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นั่งสมาธิครั้งแรก นั่งเองคนเดียวที่บ้านได้มั้ยคะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Ja_aea
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 23 เม.ย. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ปราจีนบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 30 เม.ย.2008, 10:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าต้องการจะฝึกนั่งสมาธิ จำเป็นต้องฝึกครั้งแรกกับพระอาจารย์หรือคนที่มีประสบการณ์หรือเปล่าคะ
นั่งครั้งแรกคนเดียว จะมีผลยังไงหรือเปล่าค่ะ ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ แลบลิ้น
 

_________________
ททมาโน ปิโยโหติ ==> ผู้ให้ย่อมเป็นผู้รับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
น้อม
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 02 ก.พ. 2008
ตอบ: 58
ที่อยู่ (จังหวัด): England

ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ค.2008, 4:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดิฉันหัดครั้งแรกจากที่วัด คำสอนบางอย่างยังจำได้จนถึงทุกวันนี้แม้ว่าผ่านไปกว่า 20 ปี แล้ว

มีเพื่อนดิฉัน กำลังหัดนั่ง โดยทำเอง และไม่ยอมอ่านหนังสือและบทความเกี่ยวกับการทำสมาธิ ดิฉันรู้สึกว่า เค้าเกิดความยากลำบากในการฝึกค่ะ

ถ้าจะฝึกเองดิฉันแนะนำให้อ่านก่อนค่ะ ในเวปนี้มีให้อ่านมากมาย อ่านไปฝึกไป

การฝึกสมาธิจะได้ผลดี ควรถือศีล 5 ด้วยค่ะ

เจริญในธรรมค่ะ สาธุ
ปรบมือให้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 7:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(คุณ Ja_aea พิจารณา ตัวอย่างอารมณ์กรรมฐานของคนๆ หนึ่ง
ซึ่งๆ พอจะเป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้นได้
จับเอาสาระของเรื่อง สงสัยข้อปลีกย่อยตรงไหน ค่อยถามครับ)


ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆ จังๆ เลยจนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่นนี่
ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่มเป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตรแล้วผมก็กราบลาท่านมา

หลังจากได้หนังสือสามเล่มนั้นมาแล้ว ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อนใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวันจะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือแต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตรให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวันเวลาเดิน ก็รู้สึกดีครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน
แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา๔ (ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่อง
สมถ ๔o วิธีแล้วรู้สึกว่าเราน่าจะเหมาะกับวิธีนี้ คือเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้าจากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวาพอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณกำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้นจากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วยรู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียวกายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกายเวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้วคนทั้งโลก(ส่วนใหญ่)มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะมันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามากอยู่กับตัวเองแท้ๆ คน(ส่วนใหญ่)ในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมากถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไงก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติคือปิติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับแต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า"นี่คือปฐมฌาณหรือเปล่านี่ ปฐมฌาณเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิเริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆ ตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

แต่หลังจากนั้นมาผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลยคือทำได้มากสุดก็แค่ทำปิติให้เกิดขึ้นแวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที) แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้ จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปิติแล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 7:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในการปฏิบัติธรรม หรือกระทำการตามหลักการใดๆก็ตาม จะต้องเข้าใจความหมาย

และความมุ่งหมายของธรรมหรือหลักการนั้นๆว่า ปฏิบัติหรือทำไปเพื่ออะไร ธรรมหรือหลัก

การนั้นกำหนดวางไว้เพื่ออะไร จะนำไปสู่ผลหรือที่หมายใดบ้าง ทั้งจุดหมายสุดท้ายปลาย

ทาง และเป้าหมายท่ามกลางในระหว่างที่จะส่งทอดต่อไปยังธรรมหรือหลักการข้อนั้นๆ

ความเข้าใจถูกต้อง ในเรื่องหลักการและความมุ่งหมายนี้ นำไปสู่การปฏิบัติถูกต้องที่เรียก

ว่า ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 7:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ แปลว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แปลตามความหมายว่า ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ หรือปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อย

ตามหลักใหญ่

แปลง่ายๆว่า ปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อยเข้ากันได้ สอดคล้องกัน และส่ง

ผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้องการ

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวตัดสินว่า การปฏิบัติธรรม

หรือการกระทำนั้นๆ จะสำเร็จผลบรรลุจุดหมายได้หรือไม่

ถ้ายังไม่มีธรรมานุธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมหรือดำเนินตามหลักการก็คลาดเคลื่อน

ผิดพลาด เลื่อนลอย ว่างเปล่า งมงาย ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้ามคือ

เกิดโทษขึ้นได้

ธรรมทุกข้อมีอรรถ หลักการทุกอย่างมีความมุ่งหมาย ธรรมเพื่ออรรถ

หลักการเพื่อจุดหมาย จะทำอะไรต้องถามได้ตอบได้ เพื่ออะไร

ในทางธรรมท่านเน้นความสำคัญของการมีความคิดมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 7:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หมายถึงการปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย

คือหลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ หลักเบื้องต้นเอื้อแก่หรือเป็นไปเพื่อหลักเบื้องปลาย

เช่น ปฏิบัติศีลถูกหลัก เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพาน มิใช่ปฏิบัติโดยงมงาย

ไร้หลักการ หรือทำให้เขวไปด้วยตัณหาและทิฏฐิ

ในคัมภีร์จูฬนิเทส (ขุ.จู.30/797/417) แสดงตัวอย่างธรรมหรือธรรมหลักใหญ่ เช่น

สติปัฏฐาน 4 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น (คือโพธิปักขิยธรรม 37 นั่นเอง)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Ja_aea
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 23 เม.ย. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ปราจีนบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 1:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะ คุณน้อม สาธุ และคุณกรัชกาย สาธุ (แหม!! ชื่อเพราะจังค่ะ) ปรบมือ

ก่อนอื่น ต้องขอขอบคุณมากๆนะคะ สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องของการฝึกสมาธิด้วยตัวเอง
เรา (ขอแทนตัวเองว่า "เรา" นะคะ) เคยอ่าน กฎแห่งกรรม ของหลวงพ่อจรัญ (วัดอัมพวัน) แล้วรู้สึกน่ากลัวจังค่ะ เพราะบางคนฝึกสมาธิ ทำกรรมฐาน ต่างๆ แล้วเค้าว่ากรรมที่เราเคยทำมา มาถึงตัวเราเร็วขึ้น บางคนต้องสูญเสียอะไรต่างๆมากมาย บางคนต้องอดทนรับกรรม เป็นเวลานาน กว่ากรรมจะหมด แต่ก็ดีช่วงท้ายค่ะ ทุกคนที่เจอต่างเชื่อว่ากรรมหมดแล้ว และเค้าก็อยู่อย่างสบายใจ สบายกายค่ะ พออ่านแล้ว ก็รู้สึกกลัวๆน่ะค่ะ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ทำอะไรที่เลวร้ายมาก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะมีติดมาจากชาติที่แล้วหรือเปล่า
เรื่องนี้ ทำให้เราคิดว่า จะยอมทนทุกข์เพื่อรับกรรมให้หมดภายในชาตินี้ หรือจะปล่อยให้มันเป็นไปเรื่อยๆดีหรือเปล่าค่ะ
จริงๆ เราก็อยากชดใช้กรรมให้หมดนะคะ แต่กลัวการสูญเสียอ่ะค่ะ ซึ้ง
ยังไงช่วยแนะอีกซักหน่อยนะคะ สู้ สู้

~Ja_aea~ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ททมาโน ปิโยโหติ ==> ผู้ให้ย่อมเป็นผู้รับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 4:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอขอบพระคุณในคำชมนะครับ คุณ Ja... ไม่เคยมีใครชมเลย อายหน้าแดง

ก่อนสนทนากัน (อาจยาวหน่อย) กรัชกายขออนุญาตแก้ลายเซ็นคุณที่ว่า

ททมาโน ปิโย โหติ ==> ผู้ให้ย่อมเป็นผู้รับ


บาลีถูกครับ ททมาโน ปิโย โหติ แต่คำแปลไม่ถูกครับ
ที่ถูกแปลว่า ผู้ให้ ย่อมเป็น ที่รัก.
ปิโย แปลว่า ที่รัก
คุณ Ja... เอามาจากหนังสืออะไรครับ

คุณเชื่อกรัชกายไหมว่า บางครั้งความเชื่อหรือสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังมาอาจไม่ใช่เรื่องจริง
แต่เรื่องจริงๆ ซึ่งเกิดต่อหน้าต่อตา แต่เรานึกว่าไม่จริง เพราะไม่เข้าใจว่าสิ่งนั้นคืออะไร เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจก็จึงโยนความผิดให้กับสิ่ง...ว่าน่าจะเป็น...ว่าน่าจะมีสิ่งดลบันดาลให้เป็นไป
เหมือนคนอยู่ในที่มืดเงียบและวังเวง มองเห็นตอไม้ก็คิดว่าผี
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 4:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรื่องกรรม/กฎแห่งกรรม ชาวพุทธได้ยินได้ฟังกันมานมนานแล้ว แต่ไม่ค่อยตรงกับกรรม
ที่เป็นคำสอนของพุทธศาสนาเท่าไหร่ รีบด่วนตัดสินใจจึงเกิดเพลี่ยงพล้ำ ฯลฯ
จึงปรากฏรูปที่แสดงออกมีการไหว้วอนขอร้องให้สิ่ง...ยกโทษให้บ้าง หรือ ตกเป็นเหยื่อเค้าบ้าง

http://www.dmbd.org/scruple_2.php

ข้อมูลที่คุณ Ja ได้มา ที่ 07 พ.ค.2008, 1:56 pm
เป็นเรื่องของความไม่รู้ทั้งสิ้น
ปัจจุบันธรรมะปฏิรูปมีเยอะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 4:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณJa มีเวลาแนะนำให้อ่านลิงค์นี้ แล้วคุณจะเข้าใจภาพพุทธศาสนาโดยรวม ซึ้ง

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14591&postdays=0&postorder=asc&start=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 4:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

อยากชดใช้กรรมให้หมดนะคะ แต่กลัวการสูญเสียอ่ะค่ะ


อย่างที่บอกไว้ข้างต้น เป็นเรื่องของความไม่รู้ (อวิชชา)
คุณไม่มีอะไรจะต้องเสีย และคุณจะไม่เสียอะไร
มีแต่ได้ (หากทำอย่างถูกวิธี และเข้าใจสภาวธรรม) เช่น ตัวอย่างผู้ปฏิบัติท่านหนึ่ง (ตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 7:24 pm) เขาประสบสุข (นิรามิสสุข) อย่างนั้นแล้ว
ต่อให้มีผู้ตะโกนบอกเขาว่า อย่าทำๆๆ เดี๋ยวจะประสบกับความสูญเสียนะ เลิกเถอะๆ
(น้องทราย...คุณแม่ขอร้อง) จ้างเขาก็ไม่เชื่อครับ เพราะเขาประสบสุขด้วยตนเองแล้ว
เขาเชื่อแล้วว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ผลการปฏิบัติมีจริง นี่ขั้นต้นๆนะครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 5:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผู้ปฏิบัติกรรมฐานอย่างว่า เมื่อประสบกับสภาวธรรมความจริงประมาณลิงค์นี้แล้วติดตัน
ไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่มีทางออก อาจโยนให้เวรกรรม ฯลฯ ดังที่คุณอ่านพบในหนังสือได้
แต่เมื่อมีทางออกแล้ว นั่นก็คือทางพ้นทุกข์ และจะประสบสุขที่อยู่เหนือความสุข

ดูลิงค์นี้ แต่อ่านแล้วปล่อยวางนะครับ

http://www.free-webboard.com/view.php?user=vipassanatipani&wb_id=28&topic=รวมสภาวะของผู้เริ่มภาวนา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 พ.ค.2008, 6:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อีกลิงค์หนึ่งที่ผู้ปฏิบัติกรรมฐานควรศึกษา ท่านอธิบายเกี่ยวกับไตรลักษณ์ ซึ้ง

www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Ja_aea
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 23 เม.ย. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ปราจีนบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 5:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดี สาธุ และ ขอบคุณค่ะ สาธุ คุณกรัชกาย...

ข้อของเราที่ว่า ททมาโน ปิโย โหติ ===> ผู้ให้ย่อมเป็นผู้รับ นั้น เราเอามาจากคำพุทธศาสนสุภาษิตหลังข่าวของช่อง 7 ตั้งนานแล้วค่ะ หลายปีแล้วค่ะ นานมากๆ ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมต้น เราชอบก็เลยจำไว้ค่ะ เราก็ไม่รู้ว่ามันผิด หรืออะไรอ่ะค่ะ ไม่ได้เคยคิดจะหาคำตอบเลยด้วย ยังไงต้องขอบคุณคุณกรัชกายที่ แปลให้เราอีกทีนะคะ สู้ สู้

ต้องขอขอบคุณมากๆที่ไขข้อข้องใจของเราค่ะ เราว่าอาทิตย์นี้จะไปสำนักปฏิบัติธรรม ใกล้บ้านค่ะ ปรบมือ

ยังไงถ้าคุณกรัชกายมีข้อแนะนำต่างๆอีก ก็ช่วยแนะนำเราเรื่อยๆนะคะ ยินดีที่จะรับฟังทุกอย่างค่ะ แลบลิ้น

~Ja_aea~
 

_________________
ททมาโน ปิโยโหติ ==> ผู้ให้ย่อมเป็นผู้รับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาทิตย์นี้จะไปสำนักปฏิบัติธรรม ใกล้บ้านค่ะ

ไปแล้วกลับมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ เจ๋ง
ชอบฟังอะคับ ซึ้ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 12:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตามมาฟัง(อ่าน)ค่ะ ชอบฟังประสบการณ์ครั้งแรกของการนั่งสมาธิ ช่วงนี้ว่างมาก เลยตามเก็บอ่านตามกระทู้ต่าง ๆ ก็ได้ความรู้ดี แล้วก็มานั่งคิดว่า ไม่น่าไปตั้งกระทู้ใหม่เลยเรา แค่กระทู้ในลานที่มีผู้ตั้งไว้อยู่แล้ว อาทิตย์หนึ่งก็อ่านไม่หมดแล้ว กรรม อย่างนี้แหละค่ะ เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ มิถุนายน 08 ยังจับต้นชนปลายไม่ถูก แรกๆ ก็ไม่มีเวลาเปิดเว็ปอ่าน ตอนนี้ชื่อ บัวหิมะ เลยเกลื่อนไปหมดตามกระทู้ต่างๆ ไม่ได้ไปตอบปัญหาอะไรกับเขาหรอกค่ะ ไม่มีภูมิ แค่ตามอ่านเอาความรู้ แล้วก็อนุโมทนาสาธุ กับเขาเท่านั้นเอง

เจริญในธรรมค่ะ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Ja_aea
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 23 เม.ย. 2008
ตอบ: 5
ที่อยู่ (จังหวัด): ปราจีนบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 8:34 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จัก คุณบัวหิมะ นะคะ
ตอนนี้เราก็นั่งสมาธิเองบ้าง แต่ไม่สม่ำเสมอ จริงๆแล้ว อยากนั่งให้ได้ทุกวัน ติดตรงที่เวลาไม่ค่อยเพียงพอ (ทำงานด้วย + ธุรกิจส่วนตัวด้วยค่ะ) แต่ก็พยายามหาเวลาให้ได้
ตอนนี้มีวัดใกล้บ้านเราเค้าเปิดให้มีการปฎิบัติธรรม นั่งสมาธิแล้วค่ะ เพิ่งจะมีเอง (ที่ จ.ปราจีนบุรี ค่ะ) ชื่อวัดสุทธิธรรม และเราเพิ่งจะไปถวายสังฆทานเมื่อวาน (12 สิงหาคม 2551) ค่ะ เนื่องจากเป็นวันเกิดเราด้วยค่ะ
...ก็อยากรู้จักกัลยาณมิตรหลายๆท่านนะคะ ยังไงก็เข้ามาแสดงความคิดเห็นได้หรือคุยกันเรื่องอื่นๆได้เสมอค่ะ...

~Ja_aea~
 

_________________
ททมาโน ปิโยโหติ ==> ผู้ให้ย่อมเป็นผู้รับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง