Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ศาสนาพุทธบูม !! ในเยอรมัน อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 27 ธ.ค.2005, 5:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ศาสนาพุทธบูม !! ในเยอรมัน

หากมองย้อนหลังไปในอดีต ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมันเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากนักปราชญชาวเยอรมัน “อาเธอร์ โชเปนฮอยเออร์ (Arthur Schopenhauer)” ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปประกาศแก่ชาวตะวันตก และอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชนเยอรมันคนแรกของประเทศ

นอกจากนี้ ยังมี นายแอนทัน กูเอ็ธ (ชาวเยอรมันคนแรกที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ชื่อว่า พระญาณติโลกมหาเถร) และ นายยูเจน ชาวออสเตรีย ผู้รวบรวมคำสอนหลักและนำพระไตรปิฎกมาแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน จนกลายเป็นพระไตรปิฎก ฉบับมาตรฐานสำหรับชาวพุทธในเยอรมัน

ศาสนาพุทธที่เข้ามาในช่วงแรกเริ่มนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากนิกายเถรวาทของพระสงฆ์ที่ธุดงค์มาจากประเทศศรีลังกา อย่างไรก็ดี การเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงนี้ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศเยอรมันในสมัยนั้นมีรากฐานความเชื่อมาจากศาสนาคริสต์และลัทธิมาร์ก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าเปิดรับความคิดใหม่ๆ ที่เข้ามา จึงทำให้ฆราวาสที่สนับสนุนพระสงฆ์มีจำนวนไม่มากพอที่จะส่งเสริมให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปได้

แต่ในที่สุดปี ค.ศ.1924 นายแพทย์พอล ดาห์เก้ (Paul Dahlke) ก็ได้เป็นผู้นำสถาปนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุทธศาสนาขึ้นแห่งแรก บนเนินเขาทางตอนเหนือของเมืองเบอร์ลิน ทำให้พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักปราชญ์และนักศึกษาที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนเทือกเขา

ในบรรดาปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเยอรมันมากมายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อาทิ แฮร์มัน โอล-เดนบวร์ก (Hermann Oldenburg), ยอร์จ กริมม์ (George Grimm), คาร์ล นูมานน์ (Karl- Nueumann), คาร์ล ไซเดนสตุ๊กเกอร์ (Karl Seidenstucker), ไฟรดริช ซิมเมอร์มานน์ (Friedrich Zimmermann), ฮันส์ มุช (Hans Much) ฯลฯ นั้น ได้มีนักเขียนชาวเยอรมันผู้โด่งดังอีกคนหนึ่ง คือเเฮร์มัน เฮสเส (Hermann Hesse) ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดพุทธปรัชญาออกมาในงานเขียนหลายเรื่อง เช่น นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนท์ (Narziss and Goldmund) สเตปเปนวูล์ฟ (Steppenwolf) เกมลูกแก้ว (The Glass Bead Game) และสิทธารถะ (Siddhartha) แต่ที่ชาวไทยรู้จักกันดีก็คือเรื่อง สิทธารถะ ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1922 และในปี1946 เฮสเสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

ต่อมาในปี ค.ศ.1960-70 นิกายมหายานจากประเทศญี่ปุ่นและทิเบตเริ่มเข้ามามีบทบาท และเผยแพร่ไปสู่ชาวเยอรมันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการคมนาคมที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ และศึกษาพุทธศาสนามาจากอาจารย์ในแถบประเทศเมืองพุทธจนเข้าใจถึงแก่นของสัจธรรม โดยไม่มีกรอบของวัฒนธรรมมาปิดกั้น พวกเขาจึงนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้กลับมา พร้อมกับร่วมส่งเสริมศูนย์พุทธศาสนาให้เติบโตขึ้นตามลำดับ จนในปัจจุบันกว่าร้อยละ 90 ของชาวพุทธในเยอรมันได้เรียนรู้หลักพุทธศาสนามาจากนิกายมหายานและวัชรยาน

ปัจจุบัน ในสังคมวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน ชาวเยอรมันในยุคไอทีเริ่มไม่พึงพอใจกับชีวิตที่วุ่นวาย และเริ่มมองหาความหมายของชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าการคลั่งไคล้ในพระผู้เป็นเจ้าที่มองไม่เห็นมากขึ้น ศาสนาพุทธจึงกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาวเยอรมัน โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาระดับสูงจากหลากหลายอาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร ครูอาจารย์ พวกเขาเริ่มหันกลับมาถามตัวเองและพบกับคำตอบว่าการหาเงินมากๆ และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ไม่สามารถทำให้พวกเขาพบกับความสุขที่แท้จริงได้ และแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงของประเทศในปัจจุบันก็หันมาศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เช่น ราล์ฟ บอยเออร์ (Ralf Bauer) นักแสดงหนุ่ม, เมเม็ต โชว์(Mehmet Scholl) นักฟุตบอล รวมถึงนักร้องสาวนีนา ฮาเกน (Nina Hagen) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีศรัทธา และช่วยทำให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น

นีน่ากล่าวพร้อมอารมณ์ขันว่า “อย่างน้อยพุทธศาสนาสามารถสร้างความสงบในจิตใจให้แก่ประชาชน ในขณะที่ประเทศยังมีระดับอัตราการว่างงานที่สูง รวมทั้งระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุที่ยังคลุมเครืออยู่”

ดังนั้น ช่วงค่ำของทุกวัน บรรยากาศของศูนย์ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาประจำเมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน จึงเต็มไปด้วยผู้คนนับร้อย คนที่สนใจร่วมคอร์สอบรมภาวนาสมาธิตามแบบฉบับ ของทิเบต ภาพของชาวเยอรมันผู้เคร่งเครียดกับการแข่งขันในโลกอุตสาหกรรม หันมาสวดมนต์และปฏิบัติสมาธิหลังเลิกงาน กลายเป็นภาพที่มีให้เห็นมากขึ้นในศูนย์ปฏิบัติธรรม ประจำเมืองต่างๆ

ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลเยอรมันจะไม่ได้เก็บข้อมูลจำนวนพุทธศาสนิกชนในประเทศไว้อย่างแน่ชัด แต่ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) คาดการณ์ไว้ว่า ชาวเยอรมันที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน มีประมาณ 100,000 คน โดยไม่รวมชาวต่างชาติกว่า 120,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธไทยและเวียดนาม

จากสถิติปี พ.ศ.2547 พบว่าจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จดทะเบียนกับทางการ เยอรมันมีกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2513 ซึ่งมีจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมเพียง 15 แห่ง แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธกำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของประเทศเยอรมันที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

ปัจจุบัน ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติธรรมในเครือรวม 52 แห่ง ได้มีนโยบายส่งเสริมพุทธศาสนา โดยเฉพาะนิกายเถรวาท อย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มีรูปแบบของประเพณีและพิธีกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาอื่น เช่น ฮินดู ชินโต เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทางกลุ่มได้พยายามผลักดันจนทำให้พุทธศาสนาเป็นวิชาเลือกหนึ่ง ในโรงเรียนมัธยมศึกษาบางแห่ง และยังได้พิมพ์ตำราและเอกสารทางพุทธศาสนาที่จำเป็นแจกจ่าย โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเงินบริจาคของกลุ่มสมาชิกทั่วประเทศ ส่วนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐเชค สวิตเซอร์แลนด์ ศรีลังกา ไทย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดในระดับสากล นับว่าเป็นก้าวใหม่ของพุทธศาสนาที่กำลังเบ่งบานในประเทศเยอรมัน

อนึ่ง เยอรมันมีประชากรราว 82,424,609 ล้านคน นับถือศาสนาโปรเตสแตนท์ 34%, โรมันคาธอลิก 34%, มุสลิม 3.7% และอื่นๆ 28.3%

รายชื่อวัดไทยในประเทศเยอรมัน

เมืองบาเยิร์น (Bayern)
- วัดไทยมิวนิค, วัดไทยเนิร์นแบร์ก, วัดพุทธเอาสบวร์กใหม่

เมืองเบอร์ลิน (Berlin)
- วัดพุทธวิหาร, วัดพุทธารามเบอร์ลิน

เมืองฮัมบวร์ก (Hamburg)
- วัดพุทธบารมี

เมืองเฮสเสน (Hessen)
- วัดพุทธปิยวราราม, วัดพุทธเบญจพล, วัดโพธิธรรม, วัดป่าภูริทัตตาราม

เมืองไนเดอร์ซัสเชน (Niedersachsen)
- วัดธรรมวิหาร

เมืองนอร์ดรินเวสฟาแลง (Nordrhein-Westfalen)
- วัดป่าอนาลโย, วัดธรรมบารมี, วัดธรรมนิวาส

เมืองซาอาแลนด์ (Saarland)
- วัดสมเด็จฯ เยอรมนี

เมืองชูวิก โฮสไตน์ (Schleswig-Holstein)
- วัดกตัญญุตาราม


โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 สิงหาคม 2547 11:40 น.
 

_________________
ศรัทธาในพระพุทธศาสนายิ่ง...ปรารถนาจะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
ใบโพธิ์
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 307

ตอบตอบเมื่อ: 13 มี.ค.2008, 2:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ทำความดีทุกๆ วัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 12:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิง- อนึ่ง เยอรมันมีประชากรราว 82,424,609 ล้านคน นับถือศาสนาโปรเตสแตนท์ 34%, โรมันคาธอลิก 34%, มุสลิม 3.7% และอื่นๆ 28.3%

--------------------------------------------------------------------------------


ศาสนาพุทธบูม !! ในเยอรมัน

หากมองย้อนหลังไปในอดีต ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมันเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากนักปราชญชาวเยอรมัน “อาเธอร์ โชเปนฮอยเออร์ (Arthur Schopenhauer)” ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปประกาศแก่ชาวตะวันตก และอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชนเยอรมันคนแรกของประเทศ

นอกจากนี้ ยังมี นายแอนทัน กูเอ็ธ (ชาวเยอรมันคนแรกที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ชื่อว่า พระญาณติโลกมหาเถร) และ นายยูเจน ชาวออสเตรีย ผู้รวบรวมคำสอนหลักและนำพระไตรปิฎกมาแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน จนกลายเป็นพระไตรปิฎก ฉบับมาตรฐานสำหรับชาวพุทธในเยอรมัน

ศาสนาพุทธที่เข้ามาในช่วงแรกเริ่มนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากนิกายเถรวาทของพระสงฆ์ที่ธุดงค์มาจากประเทศศรีลังกา อย่างไรก็ดี การเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงนี้ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศเยอรมันในสมัยนั้นมีรากฐานความเชื่อมาจากศาสนาคริสต์และลัทธิมาร์ก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าเปิดรับความคิดใหม่ๆ ที่เข้ามา จึงทำให้ฆราวาสที่สนับสนุนพระสงฆ์มีจำนวนไม่มากพอที่จะส่งเสริมให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปได้

แต่ในที่สุดปี ค.ศ.1924 นายแพทย์พอล ดาห์เก้ (Paul Dahlke) ก็ได้เป็นผู้นำสถาปนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุทธศาสนาขึ้นแห่งแรก บนเนินเขาทางตอนเหนือของเมืองเบอร์ลิน ทำให้พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักปราชญ์และนักศึกษาที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนเทือกเขา

ในบรรดาปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเยอรมันมากมายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อาทิ แฮร์มัน โอล-เดนบวร์ก (Hermann Oldenburg), ยอร์จ กริมม์ (George Grimm), คาร์ล นูมานน์ (Karl- Nueumann), คาร์ล ไซเดนสตุ๊กเกอร์ (Karl Seidenstucker), ไฟรดริช ซิมเมอร์มานน์ (Friedrich Zimmermann), ฮันส์ มุช (Hans Much) ฯลฯ นั้น ได้มีนักเขียนชาวเยอรมันผู้โด่งดังอีกคนหนึ่ง คือเเฮร์มัน เฮสเส (Hermann Hesse) ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดพุทธปรัชญาออกมาในงานเขียนหลายเรื่อง เช่น นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนท์ (Narziss and Goldmund) สเตปเปนวูล์ฟ (Steppenwolf) เกมลูกแก้ว (The Glass Bead Game) และสิทธารถะ (Siddhartha) แต่ที่ชาวไทยรู้จักกันดีก็คือเรื่อง สิทธารถะ ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1922 และในปี1946 เฮสเสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

ต่อมาในปี ค.ศ.1960-70 นิกายมหายานจากประเทศญี่ปุ่นและทิเบตเริ่มเข้ามามีบทบาท และเผยแพร่ไปสู่ชาวเยอรมันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการคมนาคมที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ และศึกษาพุทธศาสนามาจากอาจารย์ในแถบประเทศเมืองพุทธจนเข้าใจถึงแก่นของสัจธรรม โดยไม่มีกรอบของวัฒนธรรมมาปิดกั้น พวกเขาจึงนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้กลับมา พร้อมกับร่วมส่งเสริมศูนย์พุทธศาสนาให้เติบโตขึ้นตามลำดับ จนในปัจจุบันกว่าร้อยละ 90 ของชาวพุทธในเยอรมันได้เรียนรู้หลักพุทธศาสนามาจากนิกายมหายานและวัชรยาน

ปัจจุบัน ในสังคมวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน ชาวเยอรมันในยุคไอทีเริ่มไม่พึงพอใจกับชีวิตที่วุ่นวาย และเริ่มมองหาความหมายของชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าการคลั่งไคล้ในพระผู้เป็นเจ้าที่มองไม่เห็นมากขึ้น ศาสนาพุทธจึงกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาวเยอรมัน โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาระดับสูงจากหลากหลายอาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร ครูอาจารย์ พวกเขาเริ่มหันกลับมาถามตัวเองและพบกับคำตอบว่าการหาเงินมากๆ และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ไม่สามารถทำให้พวกเขาพบกับความสุขที่แท้จริงได้ และแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงของประเทศในปัจจุบันก็หันมาศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เช่น ราล์ฟ บอยเออร์ (Ralf Bauer) นักแสดงหนุ่ม, เมเม็ต โชว์(Mehmet Scholl) นักฟุตบอล รวมถึงนักร้องสาวนีนา ฮาเกน (Nina Hagen) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีศรัทธา และช่วยทำให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น

นีน่ากล่าวพร้อมอารมณ์ขันว่า “อย่างน้อยพุทธศาสนาสามารถสร้างความสงบในจิตใจให้แก่ประชาชน ในขณะที่ประเทศยังมีระดับอัตราการว่างงานที่สูง รวมทั้งระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุที่ยังคลุมเครืออยู่”

ดังนั้น ช่วงค่ำของทุกวัน บรรยากาศของศูนย์ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาประจำเมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน จึงเต็มไปด้วยผู้คนนับร้อย คนที่สนใจร่วมคอร์สอบรมภาวนาสมาธิตามแบบฉบับ ของทิเบต ภาพของชาวเยอรมันผู้เคร่งเครียดกับการแข่งขันในโลกอุตสาหกรรม หันมาสวดมนต์และปฏิบัติสมาธิหลังเลิกงาน กลายเป็นภาพที่มีให้เห็นมากขึ้นในศูนย์ปฏิบัติธรรม ประจำเมืองต่างๆ

ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลเยอรมันจะไม่ได้เก็บข้อมูลจำนวนพุทธศาสนิกชนในประเทศไว้อย่างแน่ชัด แต่ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) คาดการณ์ไว้ว่า ชาวเยอรมันที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน มีประมาณ 100,000 คน โดยไม่รวมชาวต่างชาติกว่า 120,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธไทยและเวียดนาม

จากสถิติปี พ.ศ.2547 พบว่าจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จดทะเบียนกับทางการ เยอรมันมีกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2513 ซึ่งมีจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมเพียง 15 แห่ง แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธกำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของประเทศเยอรมันที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

พุทโธ อนุโมทนาบุญ ท่านผู้สืบสานทุกท่าน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง