Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สวรรค์-นรก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ysri123
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 07 ส.ค. 2008
ตอบ: 8

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 8:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านคิดอย่างไรกับเรื่อง สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์นั้นอยู่บนฟ้ามีวิมานที่สวยงาม มีนางฟ้า ส่วนนรก อยู่ใต้ดิน เป็นที่ที่น่ากลัว มีกะทะทองแดง ต้นงิ้ว ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องของวัตถุ

กับ สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ซึ่งเป็นเรื่องของอายตนะทั้ง 6 ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น

ผมได้อ่านบทความของท่านพุทธทาส เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยส่วนตัวแล้วผมว่า สวรรค์ อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ น่าจะเป็นแก่นหรือสาระสำคัญในแง่ของศาสนาพุทธที่แท้จริง

ใครสนใจบทความของท่านพุทธทาส สามารถหาอ่านได้ที่
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/heaven92.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ฌาณ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 1145
ที่อยู่ (จังหวัด): หิมพานต์

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมว่าสวรรค์ก็อยู่ในใจ
นรกก็อยู่ในใจ
เดรัจฉานก็อยู่ในใจ
เปรตก็อยู่ในใจ
มนุษย์ก็อย่ในใจ....

แต่เป็นใจที่ยังมีกิเลสอยู่....


นิพพานก็อยู่ในใจ....แต่ใจที่สิ้นกิเลสแล้วอะครับพี่ๆ..... ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ผมจะพยายามให้ได้ดาวครบ 10 ดวงครับ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 10:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นรก-สวรรค์ ในพระไตรปิฎก ไม่มีการกล่าวถึงว่า นรกอยู่ใต้ดิน หรือ สวรรค์อยู่บนฟ้าครับ

ความเชื่อที่ว่า นรกอยู่ใต้ดิน หรือ สวรรค์อยู่บนฟ้า มีอยู่ในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลครับ

มันก็จะคล้ายๆกับอีกหลายความเชื่อ ที่เราเข้าใจผิดกันว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ เช่น
จิตตั้งอยู่ที่หัวใจเนื้อๆลๆ

ซึ่งเรื่องเหล่านี้ พอสืบย้อนไปยังระดับพระสูตร กลับไม่มีการกล่าวเช่นนั้นไว้


นรก-สวรรค์ ในพระไตรปิฎกมีการกล่าวไว้ 3แง่มุม
1.นรก-สวรรค์ ที่เป็นภพภูมิ (ไม่ได้กล่าวว่า นรกอยู่ใต้ดิน หรือ สวรรค์อยู่บนฟ้า)
2.นรก-สวรรค์ ทางอายตนะ
3.นรก-สวรรค์ ประเภท สรรค์ในอก-นรกในใจ


โดยต้องไม่ลืมว่า นรก-สวรรค์ ที่เป็นภพภูมิ นั้น...ก็สืบเนื่องไปจาก นรก-สวรรค์ ทางอายตนะ และ นรก-สวรรค์ ประเภท สรรค์ในอก-นรกในใจ นั้นเอง

สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ "ปัจจุบัน"

ถ้าทำปัจจุบันดี อนาคตก็จะดีเอง
ถ้าทำปัจจุบันไม่ดี อนาคตก็ย่อมไม่ดี


อยากเสนอลองอ่าน

กรรมและนรกสวรรค์สำหรับคนรุ่นใหม่

พระพรหมคุณาภรณ์


http://www.jvkk.go.th/library/library_detail.asp?code=4209001120

ท่านเจ้าคุณ กล่าวไว้ครบทุกแง่มุม ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไรปิฎก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 10:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.pantown.com/board.php?id=1321&name=board1&topic=5&action=view


นรก-สวรรค์ มีจริงหรือไม่

เรื่องชาติก่อน ชาติหน้า นรก-สวรรค์ มีจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่คนสนใจกันมาก และเป็นข้อกังวลค้างใจของคนทั่วไป เพราะเป็นความลับของชีวิตที่อยู่ในอวิชชา จึงเห็นควรกล่าวสรุปเฉพาะแง่ว่า มีจริงหรือไม่ พิสูจน์ได้อย่างไร

๑. ตามคำสอนในพุทธศาสนา เมื่อว่าตามหลักฐานในคัมภีร์และแปลความตามตัวอักษรก็ตอบได้ว่า สิ่งเหล่านี้มี

๒. การพิสูจน์เรื่องนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่อาจแสดงให้เห็นประจักษ์แก่ผู้ไม่รู้ ไม่ว่าในทางบวกหรือในทางลบ คือไม่ว่าในแง่มี หรือในแง่ไม่มี เป็นไปได้เพียงขั้นเชื่อว่ามี หรือเชื่อว่าไม่มี เพราะทั้งผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อ หรือผู้พยายามพิสูจน์ว่ามีและผู้พยายามพิสูจน์ว่าไม่มี ต่างก็ไม่รู้ที่มาที่ไปแห่งชีวิต ไม่ว่าของตนหรือผู้อื่น ต่างก็มืดต่ออดีต รู้ไกลออกไปไม่ถึงแม้เพียงการเกิดคราวนี้ของตนเอง แม้แต่ชีวิตตนเองที่เป็นอยู่ขณะนี้ก็ไม่รู้และมองไม่เห็นอนาคตแม้เพียงว่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร

๓. ถ้าจะพิสูจน์ หลักมีว่า สิ่งที่เห็น ต้องดูด้วยตา สิ่งที่ได้ยิน ต้องฟังด้วยหู สิ่งที่ลิ้ม ต้องชิมด้วยลิ้น เป็นต้น สิ่งที่เห็นถึงจะใช้สิบหู และสิบลิ้นรวมกัน ก็พิสูจน์ไม่ได้ หรือสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน แต่ต่างระดับคลื่น ต่างความถี่ ก็ไม่รู้กัน บางอย่างที่แมวมองเห็น สิบตามคนรวมกันก็มองไม่เห็น บางอย่างที่ค้างคาวได้ยิน สิบหูคนรวมกันก็ไม่ได้ยิน เป็นต้น ในแง่ที่หนึ่ง การตายการเกิดเป็นประสบการณ์ของชีวิตโดยตรง หรือแคบลงมาเป็นปรากฏการณ์ของจิต ซึ่งต้องพิสูจน์ด้วยชีวิตหรือจิตเอง การพิสูจน์จึงควรเป็นไปดังนี้
ก) พิสูจน์ด้วยจิต ท่านให้ต้องใช้จิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่ถึงที่ แต่ถ้าไม่ยอมทำตามวิธีนี้ หรือกลัวว่าที่ว่าเห็นในสมาธิ อาจเป็นการเอานิมิตหลอกตัวเอง ก็เลื่อนสู่วิธีต่อไป
ข) พิสูจน์ด้วยชีวิต ตั้งแต่เกิดมาคราวนี้ คนที่อยู่ยังไม่เคยมีใครตาย ดังนั้น จะรู้ว่าเกิดหรือไม่ ต้องพิสูจน์ด้วยการตายของใครของคนนั้น แต่วิธีนี้ไม่ปรากฏว่ามีใครกล้าทดลอง
ค) เมื่อไม่ยอมพิสูจน์ ก็ได้เพียงขั้นแสดงหลักฐานพยานและชี้แจงเหตุผล เช่น หาตัวอย่างคนระลึกชาติได้และสอบสวนกรณีต่างๆ เช่นนั้น หรือแสดงเหตุผลโดยหาความจริงอื่นมาเปรียบเทียบ อย่างเรื่องวิสัยแห่งการเห็น การได้ยิน ที่ขึ้นต่อระดับคลื่นและความถี่ เป็นต้น ดังได้กล่าวมาแล้ว ช่วยให้เห็นว่าน่าเชื่อ เชื่อบ้าง หรือเชื่อมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งรวมอยู่ในขั้นของความเชื่อเท่านั้น

๔. ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ หรือจะพยายามพิสูจน์ให้กันและกันดูได้แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครหนีพ้น ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง และเป็นที่สืบต่อออกไปของชีวิตข้างหน้าที่เชื่อหรือไม่เชื่อว่ามีนั้นด้วย ก็คือ ชีวิตขณะนี้ ที่มีอยู่แล้วนี้ ที่จะต้องปฏิบัติต่อมันอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรเอาใจใส่ให้มากจึงได้แก่ชีวิตปัจจุบัน และสำหรับพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ สิ่งที่เป็นจุดสนใจกว่า และเป็นที่สนใจแท้ จึงได้แก่การปฏิบัติต่อชีวิตที่เป็นอยู่นี้ว่าจะดำเนินชีวิตที่กำลังเป็นไปอยู่นี้ได้อย่างไร จะใช้ชีวิตที่มีอยู่แล้วนี้อย่างไร เพื่อให้เป็นชีวิตที่เป็นอยู่อย่างดี และเพื่อให้ชีวิตข้างหน้าถ้ามีก็มั่นใจได้ว่า จะสืบต่อออกไปเป็นชีวิตที่ดีงามด้วย ดังนั้น สิ่งที่ควรกล่าวถึงจึงได้แก่ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติดังต่อไปนี้
- สำหรับคนที่ไม่เชื่อ ในเมื่อยังได้เพียงแค่เชื่อ คือเชื่อว่าไม่มี ยังไม่รู้แจ้งประจักษ์จริง ย่อมไม่อาจปฏิเสธความสงสัยในส่วนลึกแห่งจิตใจของตนได้โดยเด็ดขาด คนเหล่านี้ เมื่อเรี่ยวแรง ความมัวเมาในวัยหนุ่มสาวเสื่อมไปแล้ว ถูกชราครอบงำ ความหวาดหวั่นต่อโลกหน้าก็มักได้ช่องแสดงตัว ซึ่งเมื่อไม่ได้เตรียมความดีไว้ ก็จะมีทุกข์มาก ดังนั้น เพื่อความมั่นใจ ถึงคนที่ไม่เชื่อก็ควรทำดีไว้ จะมีหรือว่าไม่มี ก็มั่นใจและโล่งใจ

- สำหรับคนที่เชื่อ
ก) พึงให้ความเชื่อนั้นอิงหลักแห่งความเป็นเหตุปัจจัยอย่างแท้จริง คือ ให้มองผลในชาติหน้าว่าสืบต่อไปจากคุณภาพของจิตใจที่ได้สร้างขึ้นไว้แล้วในชาตินี้ แล้วเน้นที่การทำกรรมดีในปัจจุบัน เพื่อสร้างเสริมคุณภาพจิตคุณภาพชีวิตที่ดีงาม เพื่อให้ชีวิตที่สืบต่อไปข้างหน้าเป็นชีวิตที่ดีงามด้วย การเน้นในแง่นี้จะทำให้การเกี่ยวข้องกับชาติหน้าหรือความหวังผลชาติหน้าเป็นไปในรูปของความมั่นใจโดยอาศัยปัจจุบันเป็นฐาน และการหวังผลชาติหน้านั้น จะยิ่งทำให้เอาใจใส่ให้ความสำคัญแก่ชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากขึ้น ไม่เสียหลักที่ว่า ถึงจะยุ่งเกี่ยวกับชาติหน้าอย่างไร ก็อย่าให้สำคัญกว่าชาติที่เป็นอยู่ขณะนี้ คืออย่าให้เสียการกระทำในปัจจุบัน และจะได้ไม่เน้นการทำกรรมดีแบบเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไร
ข) ความเชื่อต่อชาติหน้านั้น ควรช่วยให้เลิกหรือให้บรรเทาการพึ่งพาอาศัยอำนาจดลบันดาลหรือสิ่งลึกลับภายนอกลงด้วย เพราะการเชื่อชาติหน้า หมายถึงการเชื่อกรรมดีที่ตนกระทำและการที่จะต้องก้าวหน้าเจริญสูงขึ้นในสังสารวัฏนั้น ส่วนการรอหวังพึ่งอำนาจภายนอก ย่อมเป็นการทำตัวให้อ่อนแอลง และเป็นการกดตัวเองให้ถอยจมลงหรือล้าหลังห่างออกไปในสังสารวัฎ หากผู้ใดถลำตัวหวังพึ่งอำนาจเหล่านั้นไปบ้างแล้ว ก็ควรรีบถอยตัวออกมาสร้างเรี่ยวแรงกำลังของตนเองขึ้นใหม่โดยเร็ว

- สำหรับผู้เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม จะต้องพยายามก้าวไป หรือได้รับการสอนให้ก้าวไปถึงขั้นเว้นกรรมชั่ว ทำกรรมดี โดยไม่ต้องขึ้นต่อความเชื่อหรือความไม่เชื่อนั้นเลย คือ ทำดีได้โดยไม่ต้องหวังผลชาติหน้า หรือถึงแม้ไม่เชื่อว่ามีชาติหน้าก็จะไม่ทำชั่ว ผลขั้นนี้ทำให้เกิดขึ้นได้โดย
๑) ฝึกอบรมกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ให้กล้าแข็ง คือทำให้เกิดความใฝ่ธรรม รักความดีงาม ต้องการความประณีตหมดจด มุ่งให้ทุกสิ่งทุกอย่างบรรลุอุดมสภาวะของมัน
๒) สร้างความใฝ่รักในปีติสุขอันประณีตลึกซึ้งภายใน และให้ความใฝ่ปีติสุขประณีต หรือการได้ประสบปีติสุขประณีตนั้น เป็นเครื่องป้องกันการทำชั่ว และหนุนการทำดีโดยตัวของมันเอง ทั้งนี้ เพราะการที่จะได้ปีติสุขประณีตนั้น ย่อมมีเงื่อนไขอยู่ในตัวว่า ต้องเว้นทุจริตประกอบสุจริต และการได้ปีติสุขประณีตนั้นแล้ว ก็จะเป็นแรงหน่วงเหนี่ยวไม่ให้หลงใหลกามถึงขั้นที่จะประกอบกรรมชั่วร้ายได้ อย่างไรก็ตาม สำหรับปีติสุขประณีตขั้นโลกีย์อาจต้องระมัดระวังบ้างที่จะไม่ให้ติดเพลินมากเกินไปจนเสียงาน หรือหยุดความก้าวหน้า
๓) ฝึกอบรมจิตปัญญาให้เจริญถึงขั้นที่จะเป็นอยู่ด้วยปัญญา หรือดำเนินชีวิตด้วยปัญญา คือ มีความรู้เท่าทันสภาวะของโลกและชีวิต หรือรู้ธรรมดาแห่งสังขารพอที่จะทำจิตใจให้เป็นอิสระได้บ้างพอสมควร ไม่หลงใหลติดอามิสหรือกามวัตถุ ถึงกับจะทำกรรมชั่วร้าย มองชีวิตจิตใจของมนุษย์อื่นสัตว์อื่นด้วยความเข้าใจ หยั่งเห็นทุกข์สุขและความต้องการของเขา พอที่จะทำให้คิดการในทางที่เกื้อกูลช่วยเหลือด้วยกรุณา ใจไม่โน้มน้อมไปในทางที่จะเบียดเบียนผู้อื่น ข้อนี้นับเป็นขั้นแห่งการดำเนินชีวิตของท่านผู้ได้เข้าถึงโลกุตตรธรรม ซึ่งมีโลกุตตรสัมมาทิฎฐิเกิดขึ้นแล้ว หรืออย่างน้อยก็เป็นขั้นของผู้ดำเนินชีวิตตามแนวปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโลกุตตรธรรมนั้น ถ้าแม้ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นอยู่ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ก็เป็นอยู่ด้วยศรัทธาที่เป็นบุพภาคของปัญญานั้น คือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาและเป็นไปเพื่อปัญญา ซึ่งเชื่อในวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา มั่นใจในชีวิตที่เป็นอิสระด้วยปัญญานั้นว่า เป็นชีวิตที่ดีงามประเสริฐสุด และพยายามดำเนินปฏิปทาแห่งการเป็นอยู่ด้วยปัญญาที่ประกอบด้วยกรุณานั้นด้วยตนเอง

ความจริงหลักปฏิบัติทั้งสามข้อนี้เนื่องถึงกัน ใช้ประกอบเสริมกันได้โดยเฉพาะข้อที่ ๑) ต้องใช้ในการทำสิ่งดีงามทุกอย่างจึงเป็นที่อาศัยของข้อ ๒) และ ๓) ด้วย
ถ้าปฏิบัติได้ตามหลักสามข้อนี้ ความเชื่อเรื่องผลกรรมในชีวิตหน้า ก็จะเป็นเพียงส่วนช่วยเสริมความมั่นใจในการเว้นชั่วทำดีให้มั่นคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นสำหรับบางคน แต่ไม่ถึงกับเป็นตัวตัดสินเด็ดขาดว่า ถ้าเขาจะไม่ได้รับผลนั้นในชาติหน้าแล้ว เขาจะไม่ยอมทำความดีเลย
ถ้าอ่อนแอเกินไป ไม่สามารถฝึกคนหรือฝึกตนให้ปฏิบัติตามหลักสามข้อนี้ได้ การใช้ความเชื่อต่อผลกรรมชาติหน้าเป็นเหตุจูงใจให้เว้นชั่วทำดี ก็ยังดีกว่าปล่อยให้ดำเนินชีวิตกันอย่างหลงใหลในการเสพเสวยกามวัตถุ มุ่งแต่แสวงหาอามิสมาปรนเปรอตน ซึ่งมีแต่จะทำให้การเบียดเบียนและความชั่วร้ายนานาระบาดแพร่หลาย นำชีวิตและสังคมไปสู่หายนะถ่ายเดียว และถึงอย่างไร ความเชื่อผลกรรมชาติหน้า ก็จัดเข้าในโลกียสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อให้ก้าวหน้าไปในทางดีงามง่ายขึ้น
หลักสำหรับวินิจฉัยในเรื่องนี้ อาจพูดอย่างสั้นๆ ได้แนวหนึ่งว่า ความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกรรมในชาติหน้า จะต้องเป็นความเชื่อที่มีลักษณะช่วยเสริมธรรมฉันทะให้เข้มแข็งแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น หากความเชื่อเกี่ยวกับผลกรรมในชาติหน้าอย่างใด ไม่ช่วยเสริมธรรมฉันทะ แต่กลับเป็นไปในทางส่งเสริมโลภะหรือตัณหาถ่ายเดียว ก็พึงเข้าใจว่า ความเชื่ออย่างนั้น เป็นความเชื่อที่คลาดเคลื่อน และควรได้รับการแก้ไข.

หมายเหตุ: คัดจากหนังสือ “นรก-สวรรค์ สำหรับคนรุ่นใหม่” พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) สำนักพิมพ์ มูลนิธิพุทธธรรม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 2:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากขอเสนอให้อ่าน บทความของ ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ สาธุ ในเรื่องนี้ดู



ท่านกล่าวเกี่ยวกับเรื่อง ชาตินี้-ชาติหน้า เอาไว้ครับ


ถาม - มีผู้ร่วมงานคนหนึ่ง สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาและเชื่อยึดมั่นในคำสั่งสอนของอาจารย์ท่านหนึ่งว่า ให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบในชาตินี้ ย่อมได้รับผลในชาตินี้เอง ไม่ต้องมุ่งหวังในชาติหน้าภพหน้า (เขาเชื่อว่าไม่มีชาติหน้าภพหน้า) เป็นความเห็นถูกต้องหรือไม่อย่างไร ในฐานะที่เราเป็นกัลยาณมิตรของเขา เราควรวางตัวอย่างไร

ตอบ - การพูดแต่เรื่องชาตินี้ถ้ามองในแง่เป็นจุดเน้นก็ใช้ได้ แต่ถ้าจะเอาไปปิดกั้นปฏิเสธชาติหน้าเสียเลย ก็เลยเถิดไป เป็นจุดที่ต้องระวัง คือในแง่จุดเน้นนั้นจริง เพราะชาติหน้าเรามองไม่เห็น แล้วที่สำคัญก็คือว่า ตามกฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัย ชาติหน้าเป็นฝ่ายผลที่สืบเนื่องจากปัจจุบัน เพราะฉะนั้นตามหลักเหตุปัจจัยนี้ สิ่งที่เราต้องทำก็คือเหตุ เมื่อเราทำปัจจุบันที่เป็นเหตุให้ดีแล้วก็ไม่ต้องห่วงผลซึ่งเป็นอนาคต เพราะเรามั่นใจในความจริงข้อนี้ว่าผลเกิดจากเหตุเพราะฉะนั้น หน้าที่ของเราจึงอยู่ที่การทำความดีซึ่งเป็นเหตุในปัจจุบัน จุดเน้นอยู่ที่ปัจจุบัน เมื่อทำเหตุ(ปัจจุบัน) ดีแล้ว ผล(อนาคต)ก็ย่อมจะดี


การกระทำอย่างนี้ นอกจากเป็นการปฏิบัติตาามหลักความจริงของกฎธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยแล้ว เราก็เกิดความมั่นใจตามหลักเหตุปัจจัยนั้นด้วยว่า เรื่องภพหน้าเราไม่ต้องเป็นห่วงอย่างนี้ถูกเหมือนอย่างพุทธภาษิตที่ว่า ธมฺเม ฐิโต ปรโลกํ น ภาเย (สํ.ส.15/208/59) แปลว่า ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวปรโลก นี้เป็นภาษิตบทหนึ่งที่บอกให้มั่นใจว่า เมื่อเราทำเหตุดีในชาตินี้แล้วจะต้องหวาดกลัวอะไรกับชาติหน้าเล่า


แม้ในกาลามสูตรก็บอกทำนองนี้ว่า คนที่ทำดีในปัจจุบันชาตินี้แล้ว ก็มีความมั่นใจได้ว่า ฉันไม่กลัวชาติหน้าหรอก ชาติหน้ามีหรือไม่มีฉันไม่ต้องหวั่น เพราะฉันทำความดีจนมั่นใจตนเองแล้วถ้าชาติหน้ามีฉันก็ไปดีแน่


แต่ทีนี้ การที่จะเลยไปถึงจุดที่ปฏิเสธชาติหน้าเสียเลย ก็ล้ำเส้นเกินไป

วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับปุถุชน ซึ่งยังไม่รู้แจ้งโลกและชีวิต เมื่อจะต้องพูดถึงชาติหน้าในแง่ว่ามีจริงหรือไม่มี จะออกมาในทำนองว่า เรื่องชาติหน้านั้นฉันยังไม่รู้ว่ามีจริงหรือไม่มี แต่ฉันก็รู้วิธีที่จะไม่ต้องหวั่นกลัวชาติหน้า เพราะว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย และเพราะเหตุที่ฉันไม่รู้นี่แหละ ฉันจึงต้องปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการทำดีไว้ เมื่อทำความดีแล้ว ชาตินี้ก็สบายใจชาติหน้าก็มั่นใจไม่ต้องหวั่นต้องกลัว ฉะนั้น คนที่ทำดีในปัจจุบันจึงได้ผลทั้งสองอย่าง คือในปัจจุบันก็ดีสบายไปข้างหน้าก็มั่นใจไม่ต้องกลัวด้วย ก็หมดปัญหา แต่เราไม่ต้องปฏิเสธชาติหน้า เพราะเรายังไม่รู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 6:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

543 อนาคตของคนจิตเศร้าหมองและผ่องใส
http://84000.org/true/543.html

----------------------------------------------------------------
021 มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/021.html
-------------------------------------------------------
073 คนเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/073.html
------------------------------------------------------
074 คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก
http://www.84000.org/true/074.html
------------------------------------------------------
072 นรกมีจริงหรือ
http://84000.org/true/072.html
---------------------------------------------------
495 ตรัสว่าคนตายแล้วเกิดจริง
http://www.84000.org/true/495.html
----------------------------------------------------
526 พระพุทธองค์ทรงรับรองการตายแล้วเกิด
http://www.84000.org/true/526.html
-----------------------------------------------------
061 เหตุให้เชื่อชาติหน้า
http://www.84000.org/true/061.html
--------------------------------------------------------
037 โลกหน้ามีจริงหรือไม่
http://www.84000.org/true/037.html
-----------------------------------------------------------
166 เหตุให้เกิดในภพ
http://www.84000.org/true/166.html
------------------------------------------------------------
046 พุทธทำนาย
http://www.84000.org/true/046.html
-------------------------------------------------------------

พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/083.htm
--------------------------------------------------
กรรมอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/084.htm
-------------------------------------------------------
กรรมนิมิตอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/085.htm

-----------------------------------------------------------
คตินิมิตอารมณ์
http://abhidhamonline.org/aphi/p5/086.htm

-----------------------------------------------------------

จากการบรรยายของท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร


ความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11128



ผีสางเทวดา ที่เป็นรูปปรมาณูทั้งหลายเกี่ยวข้องพัวพันอยู่ในโลกมนุษย์นั้นเกิดขึ้นมาด้วยเหตุอะไร ในขณะกำลังเกิดนั้นมันมีงานอะไรบ้าง เหตุไฉนจึงมีรูปกายแปลกประหลาดน่าอัศจรรย์ใจเช่นนั้น มันเป็นไปได้อย่างไร แล้วมาเกี่ยวข้องพัวพันกับมนุษย์ทำไม


สัตว์ที่มีร่างกายเป็นปรมาณูคือ เทวดาในชั้นต่าง ๆ มีกี่ชั้นแต่ละชั้นอยู่ที่ไหน (ที่ไม่ได้อยู่ในโลกมนุษย์) และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร


พรหมซึ่งมีร่างกายเป็นปรมาณูประณีตยิ่งกว่าเทวดา เกิดขึ้นมาได้ด้วยเหตุอะไร อยู่ที่ไหน มีการงานอะไร


สัตว์นรก เปรต และอสุรกาย ตลอดจนสัตว์เดรัจฉานชนิดต่าง ๆ มีร่างกายหยาบและเป็นรูปปรมาณูมองเห็นไม่ได้ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร อยู่ที่ไหนบ้าง และมีความเป็นอยู่ มีความเป็นไปประการใด ฯลฯ


ผู้ที่ชอบทำแต่บาปเป็นอาจิณก็ย่อมจะหนีจากอบายภูมิคือสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ไปไม่พ้น เพราะด้วยอำนาจของอกุศลกรรมได้ผลักส่งให้ปฏิสนธิเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉานที่มีกายหยาบและกายละเอียด เปรต และอสุรกาย โดยจิตที่ปฏิสนธิตั้งชื่อว่า อุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก


ผู้ที่ชอบทำบุญแล้วก็มีบุญส่งให้เกิดในภพชาติใหม่ แต่มีบุญกำลังน้อยลงไป เพราะมีบาปเข้าไปพัวพันเป็นบริวารเป็นต้น ดังนั้น การเกิดมีชีวิตขึ้นมาใหม่ก็จะเอาดีไม่ได้ เช่น เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา (ชั้นต่ำ) แล้วก็เป็นง่อยเปลี้ยเสียแข้งขาเพราะไปยิงสัตว์เอาไว้ หรือเป็นคนปัญญาอ่อนเพราะชอบดื่มสุราหรือยาเสพติดเมามาย ขาดสติอยู่เสมอ ๆ บาปดังได้กล่าวเอาไว้มาเป็นบริวาร จึงทำให้กำลังของกุศลลดลงไป จิตที่ปฏิสนธินี้ชื่อว่าอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก


ผู้ที่ชอบทำกุศลอยู่เสมอโดยบริจาคทาน ช่วยเหลือเจือจานผู้อื่นที่ควรช่วย รักษาศีลและเจริญภาวนาหรือมีปัญญาเพราะได้ศึกษาเล่าเรียนเรื่องของชีวิตจิตใจจากในพระธรรม ก็จะเกิดเป็นเทวดา ๖ ชั้นด้วยกันคือ ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานนรดี และปรนิมมิตวสวัตตี ก็แล้วแต่อำนาจของกุศลที่ทำไว้ ผู้ทื่ทำสมาธิอยู่เสมอจนได้ฌานชั้นต่าง ๆ (ซึ่งมีองค์และมีหลักเกณฑ์มากมายจะตัดสินเอาง่าย ๆ ไม่ได้) ก็จะเกิดเป็นพรหมและอรูปพรหม


-----------------------------------

จากหนังสือ พุทธธรรม

http://larndham.net/index.php?showtopic=25621&per=1&st=21&#entry354740

ในกรณีที่ผู้ฟังยังไม่รู้ไม่เข้าใจและยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใดๆ ก็ไม่
ทรงชักจูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้พิจารณาตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขา
เห็นได้ด้วยตนเอง เช่น ในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับชาตินี้ชาติหน้าในแง่จริย-
ธรรม ก็มีความในตอนท้ายของสูตรเดียวกันนั้นว่า

กาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิต
ปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้ มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิต
บริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง ๔ ประการ ตั้งแต่ใน
ปัจจุบันนี้แล้ว คือ
ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่า
เมื่อเราแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็น
สิ่งที่เป็นไปได้ นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๑ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วไม่มี เราก็ครอง
ตนอยู่ โดยไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่แต่ในชาติ
ปัจจุบันนี้แล้ว นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๒ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่วก็เป็นอันทำไซร้ เรามิได้คิดการชั่วร้ายต่อ
ใครๆ ที่ไหนทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้มิได้ทำบาปกรรมเล่า นี้เป็นความอุ่น
ใจประการที่ ๓ ที่เขาได้รับ
ก็ถ้าเมื่อคนทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้ ในกรณีนี้ เราก็มอง
เห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งสองด้าน นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๔ ที่เขาได้รับ

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ พระองค์
จะตรัสธรรมเป็นกลางๆ เป็นการเสนอแนะความจริงให้เขาคิด ด้วยความ
ปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึงว่าหลักธรรมนั้นเป็น
ของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชักจูงให้เขาเชื่อหรือเลื่อมใส
ต่อพระองค์ หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์

------------------------------------------------------------



จาก หนังสือ อันตรายร้ายแรงที่เกิดจากความเห็นผิด โดยท่านอาจารย์บุญมี เมธางกูร

http://larndham.net/index.php?showtopic=24493&per=1&st=5&#entry332714


ในครั้งพุทธกาล มีอาจารย์ที่เรียกว่า "เดียรถีย์" (ผู้ข้ามไม่ถูกท่า) ก็ตกอยู่ในฐานะมีความเห็นผิดทั้ง ๓ ประการนี้ ได้แก่
อาจารย์อชิตตเกสกัมพล มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น นัตถิกทิฏฐิ เห็นว่าการเวียนว่ายตายเกิดไม่มี
อาจารย์มักขลิโคศาล มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น อเหตุกทิฏฐิ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นไปโดยมิได้อาศัยเหตุ
อาจารย์ปูรณกัสสป มีความเห็นผิดชนิดที่เป็น อกิริยทิฏฐิ เห็นว่าการกระทำทั้งหลายไม่สำเร็จเป็นบุญหรือเป็นบาปได้
บุคคลผู้มีความเห็นผิดชั้นอาจารย์ ย่อมมีความเห็นผิดที่หนักแน่นมากที่สุด และบรรดาศิษย์ทั้งหลายก็หนักแน่นมากบ้างน้อยบ้างรองๆ กันลงมา บรรดาอาจารย์และศิษย์ทั้งหลายผู้ไม่เปลี่ยนใจเหล่านี้จะหลีกหนี นรก ไปไม่พ้นอย่างแน่นอนภายหลังจากจุติ คือดับหรือตายโดยไม่มีอะไรมาคั่น
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ทรงทรมานอาจารย์เหล่านี้ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อจะได้ละ ได้ถอนความเห็นที่แสนร้ายนี้ ออกไปจากจิตใจเสียแต่อาจารย์เหล่านี้ก็รับไม่ได้ ยกเว้นศิษย์ของอาจารย์เหล่านี้บางคนที่มีความเห็นผิดยังไม่เข้าขั้นหนักรุนแรง
บรรดาบุคคลผู้มีความเห็นผิดดังกล่าวนี้ นอกจากจะไม่มีหนทางเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ เพราะขาดปัญญาในปัญหาของชีวิตแล้ว ยังขึ้นๆลงๆ นรก ดังได้กล่าวมาแล้วอีก อาจจะมากครั้งทีเดียว จึงถือว่ามีโทษร้ายยิ่งกว่า อนันตริยกรรม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในอังคุตตรพระบาลีว่า
" ปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ" แปลความว่า " ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดชนิดที่เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้มีโทษอันยิ่งใหญ่ที่สุด"



แม้ว่าอนันตริยกรรมที่หนักที่สุด เช่น ฆ่าพ่อ หรือ ฆ่าแม่ เป็นต้น อนันตริยกรรมจะนำไปเกิดในนรกแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกเป็นต้น ก็คงจะไม่ได้ทำอนันตริยกรรมซ้ำๆอีก แต่ความเห็นผิดนั้นยากนักที่จะเปลี่ยนความคิดให้เป็นเห็นถูกได้ แม้จะเกิดเป็นมนุษย์หรือเกิดเป็นเทวดา ความเห็นผิดก็ยังติดตามตัวไป ดังนั้น จึงขึ้นๆลงๆ นรก ครั้งแล้วครั้งเล่าจึงน่ากลัวอย่างจะสุดพรรณา
สมัยหนึ่ง พราหมณ์ผู้หนึ่งได้เข้ามาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถามปัญหาเรื่องกรรม เรื่องการตายการเกิดเป็นสัตว์ในภพภูมิต่างๆ เช่น เป็นผีสางเทวดาได้ เป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหลับพระเนตรเสียไม่ตอบ พราหมณ์ถามอยู่หลายครั้งไม่ได้รับคำตอบ จึงได้หลีกไป พระอานนท์จึงได้ถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คำถามก็ดีๆทั้งสิ้น เหตุใดพระองค์จึงไม่ตอบเขา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อานนท์เธอยังไม่รู้ว่าพราหมณ์ผู้นี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่มีกำลังความเห็นผิดเหนียวแน่นมาก ผ่านนรกมาหลายชาติแล้ว ที่เข้ามาถามวันนี้ ก็มิได้ปรารถนาจะมาหาความรู้ หากแต่ต้องการจะมาโต้คารมแสดงความคิดเห็น จะได้ไปโอ้อวดกับคนทั้งหลายว่า ได้มาโต้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องการสร้างพยานหลักฐานเพื่อจะให้คนทั้งหลายเชื่อในความคิดเห็นผิดๆ ของตน

-----------------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 7:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุค่ะ ที่นำบทความดีๆมาให้อ่าน สาธุ

คุณตรงประเด็นค่ะ ครูบาฯท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ กับท่านเจ้าคุณ ปยุตโต ใช่คนเดียวกันหรือเปล่าคะ
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 7:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ysri123 พิมพ์ว่า:
ท่านคิดอย่างไรกับเรื่อง สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์นั้นอยู่บนฟ้ามีวิมานที่สวยงาม มีนางฟ้า ส่วนนรก อยู่ใต้ดิน เป็นที่ที่น่ากลัว มีกะทะทองแดง ต้นงิ้ว ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องของวัตถุ

กับ สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ซึ่งเป็นเรื่องของอายตนะทั้ง 6 ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น

ผมได้อ่านบทความของท่านพุทธทาส เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยส่วนตัวแล้วผมว่า สวรรค์ อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ น่าจะเป็นแก่นหรือสาระสำคัญในแง่ของศาสนาพุทธที่แท้จริง

ใครสนใจบทความของท่านพุทธทาส สามารถหาอ่านได้ที่
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/heaven92.html


เรียนเจ้าของกระทู้ อย่าเพิ่งเชื่อตามท่านพุทธทาสครับ ท่านสอนให้คนเป็นมิจฉาทิฏฐิ เชื่อว่าตายแล้วสูญ ผีสางเทวดาไม่มี

แต่ที่มีปรากฏในพระไตรปิฏก ท่านพุทธทาสคิดว่า พระพุทธเจ้าคงเอออวยกับศาสนาพราหมณ์ในสมัยนั้น เพราะคนเชื่อแบบนั้นอยู่ ค้านไปก็เปล่าประโยชน์ หรือไม่ก็มีพวกศาสนาพราหมณ์แอบเข้ามาปลอมปน

มาถึงยุคนี้ ท่านจึงกล้าประกาศต่อชาวโลก สู้ สู้

เดี๋ยวหาว่าผมกล่าวหาท่านพุทธทาส ลองอ่านความเห็นท่านพุทธทาสดูเองแล้วกันครับ

ดูเหมือนท่านปฏิเสธกลาย ๆ นะครับ คือท่านแสดงความเห็นว่า เรื่องนรก สวรรค์ที่เป็นภพภูมินี้ มีในศาสนาพราหมณ์ก่อนหน้านี้อยู่แล้ว พอพุทธศาสนาอุบัติ พระพุทธเจ้าจะไปหักล้างความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้ไม่ได้ ก็เลยทรงเอออวยไปกับศาสนาพราหมณ์ในสมัยนั้น (ผมไม่แน่ใจว่าการที่ท่านพุทธทาสคิดแทนพระพุทธเจ้าจะถูกหรือผิด ? )


http://www.buddhadasa.com/index_subj.html

เทวดามีจริงหรือไม่ (โดยท่านพุทธทาส)
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/tevada83.html


“ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย
---------------------------------------------


เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา โดยท่านพุทธทาส
http://www.buddhadasa.org/html/life-work/bio/tell_chapter6-04.html

อาจารย์ครับ แม้แต่ระยะหลังที่อาจารย์เสนอให้ฉีกพระไตรปิฎก อาจารย์ก็อาศัยหลักอันเดียวกันนี้มาตลอด หรือมีหลักอย่างอื่นด้วย เวลาวินิจฉัยว่าอันไหนควรจะฉีก อันไหนไม่ควรฉีก

อย่างนั้นใช้หลักอย่างที่ว่า ที่เห็นชัดว่ามันไม่เกี่ยวกับความทุกข์ที่มันไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ เช่นเรื่องสุริยคราส จันทรคราส ไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ แต่เป็นการสร้างความเชื่อในหมู่คนที่ไร้การศึกษาสมัยนั้นให้หันมาสนใจพระพุทธเจ้า ถ้าเพียงแต่ออกชื่อพระพุทธเจ้า ราหูก็ต้องปล่อยพระจันทร์ เข้าใจว่าในอินเดียหรือในลังกา สมัยที่เติมสูตรนี้เข้ามา คนมันเชื่ออย่างนั้นมาก เลยเอามาพูดไว้เสียเลย มาบรรจุไว้ในพระไตรปิฎกเสียเลย เรื่องยักษ์ก็เหมือนกัน คนกลัวยักษ์กันมาก ฉะนั้น ถ้ามีเรื่องที่ไม่ต้องกลัวยักษ์ มันก็มีประโยชน์แก่มหาชน ท่านเหล่านี้คงมองถึงประชาชนชั้นที่ต่ำสุด ชั้นที่ไร้การศึกษา เขาเชื่อเทวดากันอยู่อย่างนั้นโดยมากถือโอกาสเอาเทวดามาเป็นเครื่องชักจูงให้เขาหันมาถือพุทธศาสนา โดยใจความสำคัญว่า แม้แต่เทวดาก็ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า คนธรรมดาทำไมจะไม่ต้องยอมรับนับถือ ในพระสูตรเรื่องอริยสัจแท้ ๆ เรื่องมรรคมีองค์ ๘ แท้ ๆ ยังต้องเอาเทวดามาช่วยสนับสนุน ว่าสิ่งวิเศษเกิดขึ้นแล้วในโลก บอกกันทุกชั้น ๆ ของเทวดา ธรรมะที่ใคร ๆ ไม่อาจจะคัดค้านได้เกิดขึ้นแล้ว ประชาชนได้ยินถึงเรื่องเทวดาก็ยอมด้วย เพราะเขาฝากกันไว้กับเทวดาอยู่เป็นพื้นฐาน ใช้คำว่าฉีกรู้สึกมันหยาบคาย แต่ไม่รู้จะใช้คำว่าอะไร

อาจารย์หมายความว่าอย่างไรครับ คำว่าฉีกของอาจารย์

ปลดออก ระงับเสีย สำหรับเมื่อจะแสดงแก่คนชนิดไหน ถ้าจะมีสำหรับคนทั่วไป คนพื้นฐานที่ไร้การศึกษาก็ไม่ต้องฉีกออก และไม่มีอะไรที่จะต้องฉีกออก แต่ถ้าจะแสดงแก่นักวิทยาศาสตร์แท้จริง นักโบราณคดีแท้จริง ต้องปลด ๆ ออกเสีย ๖๐% เหลือ ๔๐% จึงจะสะอาด สะอาดบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เหลือแต่แกนกับแก่น เหลือแต่เพชรเหลือแต่ทองคำ (หัวเราะ)

---------------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 7:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุญาตอ้างอิงความเห็นของคุณตรงประเด้น ที่ยกย่องท่านพุทธทาสเป็นอรหันต์ ( อ้างว่ากระดูกเป็นพระธาตุ และ สอนได้ตรงประเด็นมั่ก ๆ )

http://larndham.net/index.php?showtopic=31840&st=85

อ้างอิงจาก:
ความคิดเห็นที่ 85 : (ตรงประเด็น)

กรณี ท่านพุทธทาสภิกขุ กับ หลวงปู่บุดดา ถาวโร


พระสุปฏิปันโนทั้งสองนี้ อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทน ของแนวปฏิจจสมุปบาททั้งสองนัยยะ

ท่านพุทธทาส เป็นตัวแทนของแนวปฏิจจสมุปบาทแบบที่มีนัยยะที่อธิบายเน้นการดับทุกข์ในปัจจุบัน

ในขณะที่ หลวงปู่บุดดา เป็นตัวแทนของแนวปฏิจจสมุปบาทที่อธิบายการเกิด-ตายข้ามภพชาติ(ชาติแบบกำเนิด๔ หรือ ชาติที่ตรัสในบุพเพนิวาสานุสติญาณ).... เพราะท่านกล่าวตรงๆ แบบมั่นใจ ว่าท่านระลึกชาติย้อนหลังได้มากมาย


ตอนที่หลวงปู่บุดดา ถูกเชิญตัวมาสอบสวนที่กรุงเทพๆ ท่านพุทธทาสก็ได้แวะเยี่ยมเยียนหลวงปู่บุดดา....
และหลวงปู่บุดดา ก็ได้แวะไปเยี่ยมท่านพุทธทาสถึงสวนโมกข์
ท่านทั้งสอง ต่างนับถือ ซึ่งกันและกัน


ผมตั้งข้อสังเกตุดังนี้

1.ถ้า แนวปฏิจจสมุปบาทสองแนวนี้ เป็นแนวทางที่ขัดแย้งกันจริง ไม่มีทางที่ท่านทั้งสองจะเคารพนับถือซึ่งกันและกันได้เลย

2.ถ้า แนวปฏิจจสมุปบาทแบบที่มีนัยยะที่อธิบายการดับทุกข์ในปัจจุบัน เป็นแนวทางทำให้คนเป็นอุจเฉทิฏฐิทั้งหมดจริง..... ทำไมหลวงปู่บุดดาไม่ตำหนิท่านพุทธทาส

3.ถ้า แนวปฏิจจสมุปบาทที่อธิบายการเกิด-ตายข้ามภพชาติ(ชาติแบบกำเนิด๔ หรือ ชาติที่ตรัสในบุพเพนิวาสานุสติญาณ)ทำให้คนเป็นสัสตทิฏฐิทั้งหมดจริง....... หรือ หลวงปู่บุดดาระลึกชาติ(แบบกำเนิด๔)ได้ไม่จริง..... ทำไมท่านพุทธทาสไม่ตำหนิหลวงปู่บุดดา


ก็ฝากพิจารณาตรงนี้ด้วย

อยากเสนอให้ผู้ที่ขัดแย้งกันในประเด็นนี้ ในยุคปัจจุบัน
ลองเปิดใจให้กว้าง แล้วมองด้วยมุมมองของผู้อื่นดูบ้าง



---------------------------------------------------------------------------


คุณตรงประเด็น มั่วมาก ๆ ครับ

มีด้วยหรือ ตัวแทนของพระพุทธองค์ แบบสอนแต่ปัจจุบันอย่างเดียว ( ปฏิเสธหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ผีสาง เทวดา เปรต อสุรกาย)

และสอนแบบข้ามภพข้ามชาติ



คุณตรงประเด็นครับ อย่าเชื่อเพราะมีผู้อ้างกระดูกเป็นพระธาตุ อย่าเชื่อเพราะได้รับการยกย่องจากยูเนสโก อย่าเชื่อเพราะแต่งหนังสือไว้มาก ฯลฯ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 7:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ความคิดเห็นที่ 75 : (ตรงประเด็น)

http://larndham.net/index.php?showtopic=31840&st=75


คุณ เฉลิมศักดิ์ครับ



คุณลองไปหาอ่าน ตอนที่ศาสนจักรดั้งเดิมของชาวตะวันตกบังคับให้กาลิเลโอยอมรับว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และ ดวงอาทิตย์หมุนรอบโลก ดูน่ะครับ....
เหตุการณ์ตอนนั้น กาลิเลโอ จำเป็นต้องยอมรับคำตัดสินของศาสนจักร เพราะมีนักวิทยาศาสตร์ก่อนหน้ากาลิเลโอที่ปฏิเสธคำตัดสินของศาสนจักร ถูกลงทัณฑ์มาแล้ว(คุ้นๆว่า ถึงขั้นตายเลยครับ)

นักวิทยาศาสตร์ทางตะวันตกส่วนใหญ่ จึงรู้สึกว่า วิทยาศาสตร์ กับ ศาสนาดั้งเดิมของเขา ไปด้วยกันไม่ได้... จนถึงปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ทางตะวันตก ก็ยังรู้สึกเป็นลบต่อศาสนาดั้งเดิมของเขา.
และ ส่วนหนึ่งหันมาหาพระพุทธศาสนา ในปัจจุบัน



คุณตรงประเด็นครับ คิดว่า ตนเองกับท่านพุทธทาส เป็นกาลิเลโอ ที่จะเปลี่ยน ความเชื่อในพระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาท มั่งครับ ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 7:32 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
http://www.84000.org/true/index.html

นรกมีจริงหรือ ?
http://www.84000.org/true/072.html

046 พุทธทำนาย (เกิดในนรก - สวรรค์)
http://www.84000.org/true/046.html

399 หญิงที่ต้องไปเกิดในอบาย
http://www.84000.org/true/399.html

075 ทำดีไปนรก-ทำชั่วไปสวรรค์
http://www.84000.org/true/075.html

511 ฆราวาสกับการเข้าถึงสวรรค์
http://www.84000.org/true/511.html

141 ปิดประตูนรก (พระโสดาบัน)
http://www.84000.org/true/141.html
-------------------------------------------------------------------------

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ปริฬาหสูตร
ว่าด้วยความเร่าร้อน
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10601&Z=10631&pagebreak=0


ขณสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=18&A=3253

อรรถกถาขณสูตรที่ ๒
ในขณสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ฉ ผสฺสายตนิกา นาม ความว่า นรกชื่อว่าผัสสายตนะ ๖ ไม่มี. นรกทั้งหลายที่ชื่อฉผัสสายตนิกาแต่ละชื่อไม่มี. จริงอยู่ บัญญัติว่าผัสสายตนะทางทวาร ๖ ย่อมมีในมหานรก แม้ทั้งหมด ๓๑ ขุมนั่นเอง.
แต่คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาอเวจีมหานรก.
แม้ในบทว่า สคฺคา (สวรรค์) นี้ ท่านประสงค์เอาเฉพาะบุรีดาวดึงส์เท่านั้น. แต่ชื่อว่าบัญญัติแห่งอายตนะหก แม้แต่ละอย่างในกามาวจรเทวโลกไม่มีก็หาไม่.
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฉผัสสายตนิกานี้ไว้ทำไม.
ตอบว่า ใครๆ ไม่อาจจะอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในนรกได้ เพราะได้รับแต่ทุกข์โดยส่วนเดียว และไม่อาจอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในเทวโลกได้ เพราะเกิดความประมาทด้วยสามารถความยินดีในการเล่นโดยส่วนเดียว เพราะได้รับความสุขโดยส่วนเดียว.
ส่วนมนุษยโลกมีความสุขและความทุกข์ระคนกัน ในมนุษยโลกนี้เท่านั้น ย่อมมีทั้งอบายและสวรรค์ปรากฏ. นี้ชื่อว่าเป็นกรรมภูมิของมรรคพรหมจรรย์.
กรรมภูมินั้น พวกท่านได้แล้ว เพราะฉะนั้น ขันธ์ซึ่งเป็นของมนุษย์ที่พวกเธอได้กันแล้ว จัดเป็นลาภของพวกท่าน และภาวะเป็นมนุษย์ที่พวกเธอได้แล้วนี้ ก็เป็นขณะเป็นสมัยของการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่พวกเธอได้.
สมจริงดังคำที่พระโปราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า.
การเจริญมรรคในที่นี้ นี้ก็เป็นกรรมภูมิ ธรรมเป็นที่ตั้ง
แห่งความสังเวชเป็นอันมาก ในที่นี้ก็เป็นฐานะอยู่
ท่านเกิดความสังเวชแล้ว ก็จงประกอบความเพียรโดย
แยบคายในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวชเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํเวคา แปลว่า ความสังเวช.

จบอรรถกถาขณสูตรที่ ๒

------------------------------------------------------


ทางแห่งความดี : ความสำคัญของใจ ตอนที่ 2/4
http://www.mgronline.com/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=4543793618082

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 19 มิถุนายน 2545 17:29 น.


วันนั้น พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยอันงามของมหาบาลแล้ว ทรงหลั่งพระธรรมเทศนามุ่งมหาบาลเป็นสำคัญ ทรงเทศนาอนุปุพพิกถา 5 คือ

1. ทานกถา ว่าด้วยการให้ทาน
2. สีลกถา ว่าด้วยการรักษาศีล
3. สัคคกถา ว่าด้วยความสุขในสวรรค์
4. กามาทีนวกถา ว่าด้วยโทษและความต่ำทรามของกาม
5. เนกขัมมานิสังสกถา ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการหลีกออกจากกาม

----------------------------------------------------------------------

http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1

อนุปุพพีกถา ๕
เหตุนั้น วันนั้น พระศาสดาทอดพระเนตรอุปนิสัยของกุฎุมพีมหาปาละแล้ว เมื่อทรงแสดงธรรม ได้ตรัสอนุปุพพีกถา คือทรงประกาศทานกถา(พรรณนาทาน) สีลกถา(พรรณนาศีล) สัคคกถา(พรรณนาสวรรค์) โทษ ความเลวทรามและความเศร้าหมองแห่งกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะ(คือความออกไปจากกามทั้งหลาย)

มหาปาละขอบวช
กุฎุมพีมหาปาละได้สดับธรรมนั้นแล้ว คิดว่า “บุตรและธิดาก็ดี โภคสมบัติก็ดี ย่อมไปตามผู้ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่ แม้สรีระก็ไปกับตัวไม่ได้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช” พอเทศนาจบ เขาก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอบวช.
ขณะนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า “ญาติไหนๆ ของท่านที่ควรจะต้องอำลาไม่มีบ้างหรือ?”
เขาทูลว่า “พระเจ้าข้า น้องชายของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่.”
พระศาสดารับสั่งว่า “ถ้าอย่างนั้นท่านจงอำลาเขาเสีย [ก่อน].”

--------------------------------------


ysri123 พิมพ์ว่า:
ท่านคิดอย่างไรกับเรื่อง สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์นั้นอยู่บนฟ้ามีวิมานที่สวยงาม มีนางฟ้า ส่วนนรก อยู่ใต้ดิน เป็นที่ที่น่ากลัว มีกะทะทองแดง ต้นงิ้ว ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องของวัตถุ

กับ สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ซึ่งเป็นเรื่องของอายตนะทั้ง 6 ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น

ผมได้อ่านบทความของท่านพุทธทาส เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยส่วนตัวแล้วผมว่า สวรรค์ อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ น่าจะเป็นแก่นหรือสาระสำคัญในแง่ของศาสนาพุทธที่แท้จริง

ใครสนใจบทความของท่านพุทธทาส สามารถหาอ่านได้ที่
http://www.buddhadasa.com/dhamanukom/heaven92.html



ผมคิดว่า เหตุที่พระพุทธองค์ตรัสเรื่อง นรก สวรรค์ทางอายตนะ ในขณสูตร ก็เนื่องด้วยให้ผู้ฟังเร่งประพฤติพรมจรรย์ ในขณะเป็นมนุษย์นี้ เพราะใน นรก สวรรค์ นั้น ไม่เอื้อต่อการประพฤติพรมจรรย์ (ตามที่อรรถกถาท่านอธิบาย)

แต่ไม่ใช่การปฏิเสธแบบที่ท่านพุทธทาส ที่ทำให้คนเชื่อว่าตายแล้วสูญ การประพฤติพรหมจรรย์ย่อมไม่มี

มีแต่จะตักตวงหาความสุขใส่ตัว ก่อนที่จะตาย หรือไม่ก็ทำ จิตให้ว่าง จากสัมมาทิฏฐิ

ปัจจุบันคำสอนของท่านเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการสมัยใหม่บางท่าน ( ที่ไม่เชื่อเรื่อง นรกสวรรค์ ผี สางเทวดา (โอปปาติกะ))
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 7:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อก่อนก็อ่านหนังสือของท่านพุทธทาส จนเกือบจะเชื่อว่า ผีสางเทวดา นรก สวรรค์ ที่เป็นภพภูมิไม่มี เพราะท่านอธิบายดูมีเหตุผลดี

แต่ภายหลัง มาพบท่านผู้รู้ ที่นำพระไตรปิฏก (โดยเฉพาะพระอภิธรรม) อรรถกถา พระอภิธัมมัตถสังคหะ มาเผยแพร่ เพื่อให้สาธุชนทั้งหลายเห็นภัยในวัฏฏะสงสาร และหาทางพ้นทุกข์



เรื่อง "ชีวิต" นั้นสำคัญยิ่งกว่าสิ่งใดในโลก
โดย อาจารย์บุญมี เมธางกูร

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11132

ผมได้เคยบรรยายมาหลายครั้งแล้วว่า ถ้าไม่มีเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว ก็ย่อมไม่มีพระพุทธศาสนา เมื่อไม่มีพระพุทธศาสนาแล้วก็ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมื่อไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ไม่มีการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอันเป็นทุกข์

เมื่อพิจารณาด้วยดีแล้วก็จะเห็นว่า การเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นทุกข์ที่หาทุกข์อะไรมาเปรียบเทียบไม่ได้ เพราะจะต้องแก้ปัญหาให้แก่ชีวิตไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ทุกชาติ ทุกชาติไป จนนับชาติที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่ได้ว่ามากมายสักเท่าใด และจะเกิดต่อไปข้างหน้าอีกก็ไม่อาจจะนับชาติไหว

ในพระธรรมทั้ง ๓ ปิฎกนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้พร่ำสอนถึงความเกิดอันเป็นความทุกข์ พร่ำสอนให้ปลูกเพาะปัญญาจะได้พัฒนาจิตใจ ให้รู้เหตุผลในเรื่องของ ชีวิตจิตใจ และการเวียนว่ายตายเกิดแล้วจะได้ไม่กล้าที่จะทำบาป สอนให้หวาดเกรงผลในชาติข้างหน้าที่จะได้รับ เพราะน่ากลัวหวั่นพรั่นพรึงอย่างที่สุดจะพรรณาได้แล้วพระองค์จึงเสนอให้พัฒนาจิตใจจนเกิดปัญญาที่เรียกว่าโลกุตตรปัญญา ด้วยหวังว่าจะให้ชีวิตเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ได้เด็ดขาดแท้จริง และสิ้นเชิง ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เพราะเมื่อไม่มีชาติหน้าคือความเกิดเสียแล้ว จะเอาความทุกข์มาแต่ไหน

!
!
ลูกศิษย์ของพระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเป็นพระภิกษุ พยายามจะช่วยแก้ให้โดยกล่าวโจมตีผมว่า เห็นสอนพระอภิธรรมอยู่ดี ๆ แต่เดี๋ยวนี้เหตุใดจึงได้กลายเป็นพ่อมดหมอผีไปเสียเล่า ท่านไม่เคยได้ศึกษาพระอภิธรรมมาก่อนเลย แม้ในพระวินัยและพระสูตรท่านก็ยกเอาเรื่องผีสางเทวดาออกไปเสีย เพราะท่านเชื่ออาจารย์ใหญ่มิจฉาทิฏฐิของท่าน จึงหาได้ทราบไม่ว่าทั้ง ๓ ปิฎกนั้นสอนเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดและผีสางเทวดาอยู่ทั่วไป มีเหตุมีผล มีข้อเท็จจริง มีบทพิสูจน์พร้อมบริบูรณ์



ท่านไม่เชื่อการเวียนว่ายตายเกิด อันเป็นทุกข์ยิ่งใหญ่มหาศาลของสัตว์ทั้งหลาย เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านเป็นภิกษุขึ้นมาได้อย่างไร เพราะภิกษุหมายถึงผู้เห็นทุกข์โทษภัยในวัฏฏะ คำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาไม่ยอมให้เอาไว้ จะเอาแต่ศีลธรรมจรรยาที่บรรดาโลกเขาก็สอนกันอยู่ทั่วไปเท่านั้นหรือ แล้วหนทางเดินอันเอกอันมีอยู่สายเดียวที่ขึ้นชื่อลือชาเพระสมารถทำให้เกิดปัญญาพาให้พ้นทุกข์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไปเสียได้จะมีเอาไว้ทำไม แล้วพระพุทธศาสนาจะตั้งอยู่ต่อได้นานไปอีกสักเท่าใด ใคร ๆ เขาก็พากันเห็นว่า มีแต่ศีลธรรมจรรยาความตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน แล้วพระพุทธศาสนาจะไม่ล้มละลายไปโดยเร็วได้อย่างไร เพิ่งจะได้เพียง ๒๕๐๐ ปีเศษเท่านั้น จะรีบเร่งให้พระพุทธศาสนาสลายตัวไปเร็วนักทำไป แต่ไม่กลัวตกนรกเสียอย่างก็ทำได้ทั้งนั้น

บางท่านบวชมาตั้งแต่หนุ่มจนแก่ชรา แสดงธรรมะไปทั่วประเทศไทย หนังสือพิมพ์ออกจำหน่ายกองโตเป็นภูเขา แต่ไม่เคยแสดงการเวียนว่ายตายเกิดอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาเลยแม้แต่น้อย เฝ้าสอนแต่ศีลธรรมจรรยาไม่เคยได้อธิบายโทษภัยที่จะได้รับในชาติหน้า ประชาชนทั้งหลายก็เลยเข้าใจว่าชาติหน้าคงจะไม่มี เพราะแต่งตัวนุ่งเหลืองเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าก็ไม่เห็นท่านยืนยันแม้แต่สักครั้ง

------------------------------------------

ความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=11128
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 7:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

walaiporn พิมพ์ว่า:
สาธุค่ะ ที่นำบทความดีๆมาให้อ่าน สาธุ

คุณตรงประเด็นค่ะ ครูบาฯท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ กับท่านเจ้าคุณ ปยุตโต ใช่คนเดียวกันหรือเปล่าคะ



ใช่ครับ

สมณศักดิ์เดิมของท่านเป็น พระธรรมปิฎก
สมณศักดิ์ปัจจุบันเป็น พระพรหมคุณาภรณ์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
kokorado
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 104
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 9:28 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อก่อนผมก็ชอบอ่านงานของท่านพุทธทาสครับ แน่นอนว่าท่านมีความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ที่จะเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ท่านเข้าใจผิดในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดปฏิเสธโลกหน้า แต่รู้สึกว่าช่วงปลายของชีวิตท่านก็ทราบถึงความจริง แต่ก็สายไปแล้ว เพราะผลงานของท่านก้ได้แพร่หลายไปทั่วแล้ว หัวหน้าโคที่นำฝูงโคไปผิด ฝูงโคก็จะเดินผิดทางไปด้วย น่าเศร้าใจจริงๆ
 

_________________
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 10:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่มีภูมิรู้หรอกค่ะ แต่นับถือท่านพุทธทาสเหมือนกัน ก็ขออนุโมทนาด้วย สาธุ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
akegato
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 05 ก.พ. 2007
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 27 ส.ค. 2008, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับ เห็นด้วยกับคุณ kokorado ที่บอกว่า หัวหน้าโค เดินผิด ฝูงโค ก็เดินผิดตามไปด้วย

ส่วนใครใคร่จะนับถือก็นับถือกันไป เพราะทุกคนก็มีความคิดความเห็นของตัวเองอยู่แล้ว จะให้ไปนั่งเถียงกัน ก็ไม่มีประโยชน์ พูดไปก็รู้สึกไม่ดีทั้งสองฝ่าย

แต่อยากจะฝากนิดหนึ่ง การที่ไม่เห็นไม่มีประสบการณ์ ไม่ได้หมายความว่าเรื่องนั้นจะไม่มีจริง
อย่างเช่น เทวดา นางฟ้า สวรรค์ นรก

เพราะไม่อย่างนั้นในพระสูตรต่างๆ พระพุทธเจ้าคงไม่ตรัสไว้มากมายขนาดนี้ หรือยังจะบอกว่า เป็นเรื่องแต่งขึ้น ก็ตามใจ

อย่างที่เค้าว่าๆกันว่า กรรมใครก็กรรมมัน การบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้ามีโทษถึงลง อเวจีมหานรก

แต่อย่างว่า ถ้าปฎิเสธ นรก สวรรค์ ก็คงไม่เชื่อ งั้นก็คอยลุ้นเวลาจะตายเอาแล้วกัน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 10:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์ชื่นชอบเสน่หา

อาจารย์บุญมี เมธางกูร

อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

โดย อ.บุษกร เมธางกูร


และไม่ชอบท่านพุทธทาสเป็นการส่วนตัว



อีกเรื่องหนึ่ง

ผมจำได้คร่าวๆว่ามีคนไปทำเรืองรุ่มร่ามไว้ที่สวนโมกข์เป็นเรืองเล่าขานกันถึงความอวดรู้กับท่านพุทธทาส

มีการบอกให้ท่านพุทธทาสทำ สั่งสอนบางสิ่งบางอย่าง

อาจจะหมายถึงต้องการเผยแพร่ชื่อเสียงมูลนิธิตน

เพื่อชื่อเสียง ลาภ เกียรติยศ

แต่ท่านพุทธทาสท่านไม่เอาด้วย

เหมือนพระเทวาทัตกับพระพุทธเจ้านั่นแหละ

จึงมีการผูกใจเจ็บแค้น

ในฝั่งของสวนโมกข์เขาปล่อยวางแล้ว

เหมือนถ่ายอุดจาระทิ้งนั่นแหละ



ท่านทั้งหลายก่อนจะเชื่อใคร

กรุณาศึกษาด้วยครับ

ผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสวนโมกข์

ไม่เคยแม้แต่เดินทางไป

หรือพบกับท่านพุทธทาส

แต่ศรัทธาท่านเช่นเดียวกับ

สัมมาปฏิปทาสงฆ์ทั่วไป



แต่ทั้งนี้ใครไม่ศรัทธาท่านพุทธทาสนั้น

ไม่ผิด ไม่บาปแต่ประการใด

แต่ผู้จากไป

ไม่ควรถูกใส่ร้ายประนาม

อันนี้บาป


ไปดูการกล่าวตู่ตถาคตที่นี่ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16059&postdays=0&postorder=asc&start=20
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 10:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีคนบางกลู่มพยายามสร้างภาพให้เหมือนกับเป็นเจ้าของพระอภิธรรม

เมื่อมีคนขึ้นต่อท่านพุทธทาสมากกว่า

ส่วนองค์กรของตนและพวกตนไม่มีใครรู้จัก

ที่รู้จักก็ออกมาโจมตีคัดค้านทางสื่อหนังสือพิมพิ์เมื่อหลายสิบปีก่อน

ว่าเป็นพระสัทธรรมบิดเบือน

เป็นศีลพัตตปรามาส

เป็นไสยศาสตร์

รายละเอียดต้องไปค้นในหน้าหนังสือพิมพิ์เก่าๆ

จึงเกิดอาการ อิสสามัจฉริยะ



ส่วนเวปที่คุณเฉลิมศักดิ์แนะนำผมเองก็เคยเข้าไปอ่านพระอภิธรรม

ก็เป็นพระอภิธรรมของพระไตรปิฎก

หรือคุณเฉลิมศักดิ์จะบอกว่าเป็นของ

ท่านบุญมี เมธางกูร

หรือท่านบุษกร เมธางกูร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 10:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ"ysri123" ครับ



1. บทความของท่านพุทธทาส และคำสอนของท่านพุทธทาส แบ่งเป็นช่วงครับ

ช่วงต้นและช่วงกลาง - ท่านพุทธทาสมั่วสถานเดียว เพราะไปตีความพระ
พุทธศาสนาจากการใช้สมองคิด สิ่งที่ท่านสอนคือ สัทธรรมปฏิรูป(ของปลอม)

ช่วงบั้นปลายของชีวิต - หลังจากท่านพุทธทาสตระหนักว่า วิญญาณมันสืบต่อ
เนื่องไปเรื่อยๆ ถ้าสังขารยังปรุงแต่งอยู่ ตอนนั้นแหละท่านจึงรู้ว่า สวรรค์ นรก
ของจริงอาจจะมี พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนมั่ว อย่างไรก็ตาม ตำราคำสอนสมัย
ช่วงต้น-ช่วงกลางของชีวิตท่านแพร่ออกไปมากแล้ว ไม่สามารถเรียกกลับคืนได้


2. ท่านคิดอย่างไรกับเรื่อง สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์นั้นอยู่บนฟ้ามีวิมานที่สวยงาม มีนางฟ้า ส่วนนรก อยู่ใต้ดิน เป็นที่ที่น่ากลัว มีกะทะทองแดง ต้นงิ้ว ซึ่งดูเหมือนเป็นเรื่องของวัตถุ

......เป็นเช่นนั้นจริงๆ ถ้ายังไม่ได้อภิญญา 5 ก็ยังไม่รู้หรอกว่า เรื่องสวรรค์
นรก ของจริงนั้นมีจริงๆ ผมเจอเทพ พรหม ผีนรก เปรต ฯลฯ มานับไม่ถ้วน
จึงยืนยันว่าเรื่องเหล่านี้มีจริง


3. กับ สวรรค์ นรก ในแง่ที่ว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ ซึ่งเป็นเรื่องของอายตนะทั้ง 6 ทั้งนรก ทั้งสวรรค์ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือ ความรู้สึก ที่เกิดขึ้น ที่นั่น

.....ถ้าสวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ เท่านั้น จงรีบทำชั่วให้หนักเลย เพราะทุกข์
ในใจมันเทียบกับความสุขจากการได้ทำความชั่วไม่ได้ ผมบอกแล้วว่าใน
บั้นปลายชีวิตท่านพุทธทาส ท่านพบว่าวิญญาณสืบเนื่องต่อไปได้เรือยๆ ถ้าคน
ทำชั่วในชาตินี้ ไม่ได้รับผลในชาติต่อๆไป รับแค่ความทุกข์ในใจเล็กๆน้อยๆ
เทียบกับความสุขในการทำความชั่วไม่ได้ กฎแห่งกรรมก็ไม่มีจริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ส.ค. 2008, 11:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

แล้วคุณยุติธรรมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไรครับ

ขอฟังความคิดเห็นของท่านครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง