Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 3 วันแรกของการฝีกสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

7. อีกประการหนึ่ง อริยสาวก ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

ถ้าใครจะพูดจากะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบ

ที่พอใจแก่เรา

ก็ถ้าเราจะพูดจากะคนอื่นด้วยคำเพ้อเจ้อ ก็จะไม่เป็นข้อที่ชื่นชอบ

ไม่พอใจเหมือนกัน

สิ่งใดตัวเราเอง ก็ไม่ชอบ ไม่พอใจ ไฉนจะพึงเอาไปผูกใส่

ให้คนอื่นเล่า

อริยสาวกนั้น พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

ด้วยตนเองด้วย ย่อมชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อด้วย

ย่อมกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการพูดเพ้อเจ้อด้วย วจีสมาจารของอริยสาวก

นั้น ย่อมบริสุทธิ์ ทั้งสามด้านอย่างนี้

(สํ.ม.19/1458-1465/442-6)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

นอนยังคะ วันนี้ออนนานเลยนะคะ...ของเราเวลาที่อยู่นี้คือ 16.26 นาทีค่ะยังไม่หลับค่ะ มีเวลาอีกนานค่ะ

คุณกรัชกายคะว่าจะไม่ถาม ถามอีกดีกว่า ยิ้มเห็นฟัน คุณเคยบวชเรียนมาหรือเปล่าคะ หรือว่าศึกษาด้านพระธรรมมานานแล้ว แบบว่าความรู้เยอะมากจังค่ะ เราถามอะไรนี่คุณตอบเราได้หมดเลยแล้วแบบละเอียดด้วยนะ มีแจกแจงด้วยขอบคุณค่ะ ชอบนะคะเนี่ย ยิ้ม

ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนอ่านแล้วเหมือนประโยคหนึ่งที่คนพูดกันว่า "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"เลยนะคะ ซึ่งท่านพูดถูกนะคะ ถ้าคนอื่นทำแบบนี้กับเราเราก็คงไม่พอใจเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วเราก็ไม่ควรที่จะทำกับใคร เพราะถ้าเราทำคนอื่นก็จะไม่พอใจเช่นเดียวกัน...


คำว่าส่อเสียดนี่ รวมถึงการเขียนว่าคนอื่นกระแทกแดกกัน จิกกัด อันนี้ด้วยหรือเปล่าคะ

แล้วพูดเพ้อเจ้อนี่ประมาณไหนคะ คือพูดเกินจริงใช่หรือเปล่าคะ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 9:54 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้าว พอทักหายไปเลย สงสัยจะนอนแล้ว ตอนนี้ที่เมืองไทยน่าจะสี่ทุ่มแล้วนะคะ..

คุณกรัชกายคะ ที่บอกว่าตามดูตามรู้จิตของเราเนี่ย ถามว่านานไหมคะกว่าเราจะฝึกได้แบบมันเป็นอัตโนมัติของมัน โดยที่ไม่หลงหรือว่ากำหนดได้ทันทุกครั้ง ทุกเรื่องน่ะค่ะ..เพราะตอนนี้ตัวเองก็ยังหลงอยู่บ่อยเหมือนกัน บางทีเดินไปเตะอะไรเงี๊ยะ พอสติกลับคืนมาก็คิดได้ว่า เพราะเมื่อกี้นี้เราไม่มีสติ..บางวันก็อารมณ์ฉุนเฉียว ขี้โมโห...ไม่รู้เป็นอะไร สงสัยอากาศมันร้อนค่ะ ขนาดที่นี่ร้อนไม่เท่าเมืองไทยเรายังจะบ้าเลยบางที อากาศร้อนทำไมทำให้หงุดหงิดได้ขนาดนี้ก็ไม่รู้ เศร้า
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 30 ก.ค.2008, 10:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ครับสี่ทุ่มแล้ว ติดตามดู รายการความจริงวันนี้ ทางทีวี

และแอบไปตั้งกระทู้แตกจากกระทู้ของคุณ

มะเราไปสนทนากันที่=>

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16882
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 12:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

คุณกรัชกายคะ ที่บอกว่าตามดูตามรู้จิตของเราเนี่ย ถามว่านานไหมคะกว่าเราจะฝึกได้แบบมันเป็นอัตโนมัติของมัน โดยที่ไม่หลงหรือว่ากำหนดได้ทันทุกครั้ง ทุกเรื่องน่ะค่ะ
..เพราะตอนนี้ตัวเองก็ยังหลงอยู่บ่อยเหมือนกัน บางทีเดินไปเตะอะไรเงี๊ยะ พอสติกลับคืนมาก็คิดได้ว่า เพราะเมื่อกี้นี้เราไม่มีสติ..

บางวันก็อารมณ์ฉุนเฉียว ขี้ โมโห...ไม่รู้เป็นอะไร สงสัยอากาศมันร้อนค่ะ ขนาดที่นี่ร้อนไม่เท่าเมืองไทย เรายังจะบ้าเลยบางที อากาศร้อนทำไมทำให้หงุดหงิดได้ขนาดนี้ก็ไม่รู้

กตัญญุตา30 กรกฎาคม 2008, 9:29 pm



คุณกรัชกายคะ ที่บอกว่าตามดูตามรู้จิตของเราเนี่ย ถามว่านานไหมคะ กว่าเราจะฝึกได้แบบมันเป็นอัตโนมัติของมัน โดยที่ไม่หลงหรือว่ากำหนดได้ทันทุกครั้ง ทุกเรื่องน่ะค่ะ



แหม...คุณก็ กะเอากันแบบไม่หลงทุกดอกทุกเม็ดเลยหรอ

คับ ยิ้มเห็นฟัน

คุณเองก็พอมองเห็นบ้างแล้วว่า จิตมันไวเร็ว หลุกหลิกซุกซนยิ่งกว่า

ลิง คงต้องฝึกไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ยังหายใจอยู่ เล่นกันแบบนี้

เลยดีกว่า หมั่นระลึกรู้สึกตัวเท่าที่ทำได้ ฝึกๆทำให้เหมือนหนึ่งว่า

เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต


แต่มีพุทธพจน์ว่า อย่างมาก 7 ปี อย่างน้อย 7 วัน แต่น่าจะ

หมายถึงภิกษุที่เจริญภาวนาเป็นการเป็นงาน และถูกทาง เป็น

สัมมาปฏิปทาด้วย

แต่หากปฏิบัติผิด (มิจฉาปฏิปทา) อย่าว่าแต่ 7 ปี เลย ต่อให้ 7 ชาติ

ก็ไม่สำเร็จครับ

พุทธพจน์ดังกล่าว ดังนี้

“เราย่อมกล่าวดังนี้ว่า บุรุษผู้เป็นวิญญู ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา

เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะแสดงธรรม เมื่อเขา

ปฏิบัติตามคำสั่งสอน ก็จักประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองซึ่ง

ประโยชน์ยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน บวชเป็น

อานาคาริกโดยชอบต้องการ อันเป็นจุดหมายของพรหมจรรย์ เข้าถึง

อยู่ในปัจจุบันนี้ทีเดียว - (โดยใช้เวลา) 7 ปี...6 ปี...5 ปี ฯลฯ

1 เดือน...กึ่งเดือน...7 วัน”

(ที.ปา.11/31/58; ฯลฯ )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 1:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


..เพราะตอนนี้ตัวเองก็ยังหลงอยู่บ่อยเหมือนกัน บางทีเดินไปเตะอะไร
เงี๊ยะ พอสติกลับคืนมาก็คิดได้ว่า เพราะเมื่อกี้นี้เราไม่มีสติ..



ยังหลงอยู่บ่อยเหมือนกัน...แสดงว่าหลงน้อยกว่าแต่ก่อน ถูกไหมครับ

กรัชกายเองก็ซุ่มซ่ามไม่น้อยนะครับ เดินเตะนั่นเตะนี่บ่อยๆ เตะแล้ว

นึกได้อย่างคุณว่า เออ..เมื่อกี้เราขาดสติ ลืมตัวไปนะ แต่ก็เตะไป

แล้ว จิตดวงนั้นมันดับไปแล้ว กำลังเจ็บตัวอยู่ ได้รับผลของความซุ่ม

ซ่ามอยู่ (=ขาดสติ) (เมื่อก่อนจะโมโหซ้ำโทษนั่นโทษนี่ ไม่

เคยโทษตนเอง)

แต่เดี๋ยวนี้... เออ...ดี ดี ซุ่มซ่ามนักจำไว้...บางครั้งได้แผล นั่งเอายา

แดงใส่แผลค่อยๆจิ้มๆ ให้มันแสบเล่น

แล้วดูความคิด...เออ...ทำเองรับโทษเองโทษใครล่ะ จำไว้ๆ จะเตือนตน

เอง ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 1:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
บางวันก็อารมณ์ฉุนเฉียว ขี้ โมโห...ไม่รู้เป็นอะไร สงสัยอากาศมันร้อนค่ะ ขนาดที่นี่ร้อนไม่เท่าเมืองไทย เรายังจะบ้าเลยบางที อากาศร้อนทำไมทำให้หงุดหงิดได้ขนาดนี้ก็ไม่รู้



(ความคิด) จิตยังขึ้นๆลงๆอยู่ก็เป็นแบบที่ว่าธรรมดาครับ ไม่ผิดปกติ

แต่ประการใด กำหนดความคิดนั่น ไม่ปล่อยให้ผ่านไปเฉยๆครับ


เหตุปัจจัยภายนอกทุกสิ่ง (ปรโตโฆสะ) มีผลกระทบถึงจิตใจคนทั้งสิ้น

ปัจจัยภายใน (โยนิโสมนสิการ) เมื่อกระทบกับอารมณ์แล้ว คนรู้จักคิด

คิดเป็น คิดถูกวิธีก็ พอบรรเทา

แต่กระทบแล้วคิดไม่เป็น คิดไม่ถูกวิธี (อโยนิโสมนสิการ) ก็จะโทษ

นั่นโทษนี่ไปตามเรื่อง คือ จะมองให้ไกลตัวออกไป


หากรู้จักมองรู้จักคิดในเชิงบวก เป็นประโยชน์ทั้งนั้นครับ

สู้ สู้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 1:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ตามดูตามรู้จิตของเราเนี่ย ถามว่านานไหมคะกว่าเราจะฝึกได้แบบมันเป็นอัตโนมัติของมัน



ฉายคำถามนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง มีตัวอย่างของจริง มิใช่สิ่งเพ้อฝัน

หรือ คิดกันเองว่าน่าจะเป็นยังงั้น ไม่น่าจะเป็นอย่างนี้ ใช่นั่นไหม หรือ

นี่ ฯลฯ แบบที่สนทนากันตามบอร์ดส่วนมาก

ตัวอย่างนี้ นำมาจากกระดานสนทนานั่นแหละ

ต้องการชี้ให้ดูแบบมันเป็น...อัตโนมัติเท่านั้น ว่าเป็นไปได้ไม่ใช่สิ่งเลื่อน

ลอย

แต่ว่ารายนี้ต้องปรับอินทรีย์ให้พอดีกัน หมายถึงตอนนี้เค้าสมาธินทรีย์

เกินวิริยินทรีย์ ต้องเพิ่มวิริยะ ลดสมาธิลง

สังเกตที่เน้นสีครับ



ตอนนี้ได้ตามดูการกระทำของร่างกาย แทบจะตลอดเวลาค่ะ ถนนอยู่ตลอดเวลาที่ขับรถไปก็จะพยายามทำสติกำหนดตามตลอดเวลา เช่น มือขวากำลังจะจับพวงมาลัยก็รู้ตามว่ากำลังจะจับ เท้าขวากำลังจะ
เหยียบเบรคก็รู้ตามทัน พอหยุดก็รู้ว่ามือขวาจับพวงมาลัยอยู่ เท้าซ้ายเหยียบเบรคอยู่ ตามองถนนข้างนอก พยายามตามรู้ทันทุกอิริยาบถ
แปลกนะคะ ตอนแรกจะเป็นแบบว่า เหมือนเราพยายามที่จะกำหนด
ให้ทันกับร่างกาย ที่กำลังจะกระทำอะไร เช่น ไม่ว่าจะเท้ารีบ
เหยียบเบรค หรือ เปลี่ยนมือจับพวงมาลัย ก็จะต้องพยายามตาม
ให้ทัน แต่สักพักขับรถไป รู้สึกพอจะยกแขนขาทำอะไร แทบจะไม่ต้องพยายามตามมัน แต่มันเป็นเองค่ะ มันตามดูทันของมันเอง ไม่ว่าจะเหยียบเบรคเท้าไหน มือไหนจะจับอะไร มันตามดูแบบเร็วทันค่ะ

พอมันเป็น AUTO แบบนี้สักพัก รู้สึกว่ามองเห็นรถที่วิ่งที่ถนนมัน

วิ่งช้าเหมือน SLOW คือค่อยๆ ไปทั้งถนน เลยตกใจค่ะว่า

ทำไม เขาวิ่งกันช้าอย่างนั้นนะ ทั้งๆ ที่รถไม่ติดค่ะ และตอนแรกก็

เห็นวิ่งเร็วๆกันอยู่ พอตกใจเท่านั้นค่ะ สติก็ไม่ได้ตามดูการกระทำ

ของร่างกายแล้ว เลยหลุดจากการเป็น AUTO ตรงนั้น และก็ได้เห็นรถ

บนถนนกลับมาวิ่งเร็วเหมือนเดิมค่ะ


ดิฉันปฏิบัติถูกไหมคะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 2:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ที่พระพุทธเจ้าท่านสอน อ่านแล้วเหมือนประโยคหนึ่งที่คนพูดกันว่า "เอาใจเขามาใส่ใจเรา"
เลยนะคะ ซึ่งท่านพูดถูกนะคะ
ถ้าคนอื่นทำแบบนี้กับเรา เราก็คงไม่พอใจเช่นเดียวกัน
ดังนั้นแล้วเราก็ไม่ควรที่จะทำกับใคร เพราะถ้าเราทำคนอื่นก็จะไม่พอใจเช่นเดียวกัน...

กตัญญุตา : 30 กรกฎาคม 2008, 9:29 pm



พระพุทธเจ้าสอนให้คนรู้จักใช้ความคิด สอนให้รู้คิดด้วยตนเอง

ไม่ชี้นำความคิดผู้ฟัง สาธุ สาธุ สาธุ

แม้กาลามสูตรที่ตรัสสอนชาวกาลามะก็ทำนองนี้

แต่ปัจจุบันชาวพุทธยกหลัก 10 ข้อมาถกกัน แล้วตีความกันเอาว่า

พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เชื่ออะไรหรือใคร โดย ไม่ดูเหตุเกิดของเรื่อง

และสุดท้ายของพระสูตรนั้น

เขาจึงไม่ได้แง่คิดจากสูตร และกลวิธีสอนธรรมของพระพุทธเจ้า ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 2:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พิจารณาต่ออีกครับ ก็จะเห็นวิธีสอนอย่างที่กรัชกายตั้งข้อสังเกตไว้

(ท่านแปลรวบความตัดๆที่ซ้ำๆกัน)



“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็น

หรือได้ยินบ้างไหมว่า บุรุษนี้ละปาณาติบาตเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

แล้ว พระราชาทั้งหลายจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ

กระทำการตามปัจจัย เพราะการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นเหตุ ?

“ไม่เคย พระเจ้าข้า”


“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน...

มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ ฆ่าหญิงหรือชายตาย

พระราชาทั้งหลายจึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำ

การตามปัจจัย เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ

อย่างนี้เธอทั้งหลาย เคยเห็นหรือเคยได้ยินบ้างไหม ?


“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 2:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเข้าใจว่าอย่างไร เธอทั้งหลายเคยได้เห็น

หรือได้ยินบ้างไหมว่า- ( บุรุษนี้ละอทินนาทาน เป็นผู้งดเว้นจาก

อทินนาทานแล้ว....

จากกาเมสุมิจฉาจารแล้ว...

จากมุสาวาทแล้ว...

จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานแล้ว)

พระราชาทั้งหลาย จึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ

กระทำการตามปัจจัย

เพราะการงดเว้นจากอทินนาทาน...

จากกาเมสุมิจฉาจาร...

จากมุสาวาท...

จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานเป็นเหตุ” ?

“ไม่เคย พระเจ้าข้า”


“ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน...

มีแต่เขาจะประกาศการกระทำชั่วว่า คนผู้นี้ ลักทรัพย์เขามาจากบ้าน

หรือจากป่า...

คนผู้นี้ ประพฤติละเมิดในสตรีหรือในบุตรีของผู้อื่น....

คนผู้นี้ ทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือ ลูกชาวบ้าน

ด้วยการกล่าวเท็จ...

คนผู้นี้ ร่ำสุราเมรัย ฯ แล้วประพฤติละเมิดในสตรี หรือ ในบุตรีของผู้

อื่น....

คนผู้นี้ ร่ำสุราเมรัยฯ แล้วทำลายประโยชน์ของชาวบ้าน หรือลูก

ชาวบ้าน ด้วยการกล่าวเท็จ

พระราชาทั้งหลายจึงจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือ

กระทำการตามปัจจัย

เพราะอทินนาทาน..

.กาเมสุมิจฉาจาร...

มุสาวาท...สุราเมรัยฯ เป็นเหตุ

อย่างนี้เธอทั้งหลาย เคยเห็นหรือเคยได้ยินบ้างไหม ?”


“เคยเห็น เคยได้ยิน และจักได้ยินต่อไปด้วย พระเจ้าข้า”


องฺ.ปญฺจก.22/178/232
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 3:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้จักมองปัญหารอบๆ ตัว คือ ใช้ความเป็นจริง

ที่เกิดขึ้นในสังคมนั่นเองสอน

เหมือนการปฏิบัติกรรมฐาน ก็ใช้สภาวะที่เกิดกับคนๆนั้นนั่นเองสอนเค้า

เอง ให้รู้จักโลกรู้ชีวิตจิตใจ

ยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น สิ่งนั้นแหละจะสอนตนว่าควรปฏิบัติ

อย่างไร คิดอย่างไร วางใจตรงไหน จึงจะไม่วุ่นใจไปกับสิ่งเหล่านั้น

ซึ่งมันเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาอยู่ทุกขณะ


เมื่อโยคีรู้เห็นความจริงเช่นนั้นบ่อยๆ ก็จะวางเฉยๆ ไม่ยึดติดถือมั่น

ต่อสภาวะนั้น

ต่อไปอะไรเกิดก็อ้อ เกิดแล้ว เดี๋ยวมันเปลี่ยน ไม่แน่ ฯลฯ

นี่คือจุดหมายเบื้องต้นสำหรับความเข้าใจต่อการปฏิบัติ

วิปัสสนากรรมฐาน ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 01 ส.ค. 2008, 3:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ

แวะเข้ามาอ่านธรรมตอนดึก นึกว่ากระทู้นี้ปิดไปแล้ว แต่แอบเห็นชื่อคุณมาตอบเลยเข้ามาดู เผื่อได้ข้อคิดอะไรอีกสำหรับวันนี้..ขอบคุณนะคะ เด๋วมีอะไรสงสัยอีกจะเขียนไปขอคำแนะนำจากคุณกรัชกาย ยิ้ม
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 10:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2008, 8:57 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เสริมสาระศีลดังกล่าวแล้วให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น


สำหรับศีลข้อที่ 1 แม้ว่าการฆ่าสัตว์ ท่านจะมุ่งเอาสัตว์ที่เรียกว่ามนุษย์เป็นหลัก ดังพุทธพจน์ที่ยกมาแสดงแล้ว แต่สัตว์จำพวกที่เรียกว่าดิรัจฉาน ก็รักชีวิต รักสุขเกลียดทุกข์ เป็นเพื่อนร่วมโลก เกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน ไม่ควรเบียนเช่นเดียวกัน

ศีลข้อนี้ ท่านจึงให้แผ่คลุมไปถึงสัตว์จำพวกที่เรียกว่าดิรัจฉานด้วย แต่ยอมรับว่าการฆ่าสัตว์จำพวกดิรัจฉานมีโทษน้อยกว่าการฆ่าสัตว์จำพวกมนุษย์
และพระอรรถกถาจารย์ก็ได้แสดงหลักสำหรับวินิจฉัยว่า การฆ่าสัตว์ใดมีโทษน้อยหรือโทษมาก คือ

1. คุณ สัตว์มีคุณมาก ฆ่าก็มีโทษมาก สัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณก็มีโทษน้อย เช่น ฆ่าพระอรหันต์มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น

2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์จำพวกดิรัจฉานที่ไม่มีคุณเหมือนกัน ฆ่าสัตว์ใหญ่มีโทษมาก ฆ่าสัตว์เล็กมีโทษน้อย

3. ความพยายาม มีความพยายามมากในการฆ่ามีโทษมาก มีความพยายามน้อยมีโทษน้อย

4. กิเลสหรือเจตนา กิเลสหรือเจตนาแรงมีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อนมีโทษน้อย เช่น ฆ่าสัตว์ด้วยโทสะหรือจงใจเกลียดชัง มีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ด้วยป้องกันตัว เป็นต้น

แม้ในศีลข้ออื่นๆ ท่านก็กล่าวถึงการละเมิดที่มีโทษมากหรือโทษน้อยไว้แนวเดียวกัน เช่น อทินนาทานมีโทษมากหรือน้อยตามคุณค่าของสิ่งของ คุณความดีของเจ้าของ และความพยายามในการลัก

กาเมสุมิจฉาจารมีโทษมากหรือน้อยตามคุณค่าของคนที่ถูกละเมิด ความแรงของกิเลสและความเพียรพยายาม

มุสาวาทมีโทษมากหรือน้อย แล้วแต่ประโยชน์ที่จะตัดรอนเป็นเรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็กน้อย และแล้วแต่ผู้พูด เช่น คฤหัสถ์จะไม่ให้ของของตน พูดไปว่าไม่มี ก็ยังมีโทษน้อย ถ้าเป็นพยานเท็จมีโทษมาก

สำหรับบรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย จงใจบอกของที่ไม่เคยเห็นว่าเห็น มีโทษมาก

สำหรับการดื่มของเมา มีโทษมากน้อยตามอกุศลจิตหรือกิเลสในการที่จะดื่ม ตามปริมาณที่ดื่ม และตามผลที่จะก่อให้เกิดการกระทำผิดพลาดชั่วร้าย-
(วิภงฺค. อ. 497)


สำหรับข้อ 5 ปัจจุบันมีสิ่งเสพติดที่เสพได้โดยวิธีการอย่างอื่นนอกจากดื่ม พึงจับเอาสาระมาเทียบเคียง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ก.ย. 2008, 9:03 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2008, 9:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สำหรับข้อสทารสันโดษ ที่เป็นข้อปฏิบัติตรงข้ามกับกาเมสุมิจฉาจาร
มีข้อสังเกตที่ควรกล่าวไว้ สทารสันโดษ แปลว่า ความพอใจด้วยภรรยาของตน ว่าโดยสาระก็คือความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน แม้ว่ามองกว้างๆ หลักการจะเปิดให้เกี่ยวกับจำนวนของคู่ครอง มิได้กำหนดไว้ตายตัวว่าคนเดียวหรือกี่คน สุดแต่ตกลงยินยอมกัน โดยสอดคล้องกับประเพณีและบัญญัติของสังคม
โดยถือสาระว่า ไม่ละเมิดต่อคู่ครองหรือของหวงห้ามที่เป็นสิทธิของผู้อื่น ไม่ละเมิดฝ่าฝืนความสมัครใจของคู่กรณีและไม่นอกใจคู่ครองของตน เมื่อพร้อมใจกันและเป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ละเมิดและไม่เสียความซื่อสัตย์ต่อกันแล้ว ก็ไม่จัดเป็นเสีย
แต่กระนั้นก็ตาม เมื่อว่าโดยนิยมท่านยกย่องการมีคู่ครองแบบ
ผัวเดียวเมียเดียว ซึ่งมีความรักใคร่ภักดีต่อกันมั่นคงยั่งยืน มีความมั่นคงภายในครอบครัว ลูกหลานมีความร่มเย็นเป็นสุขและอบอุ่นใจ ดังชีวิตของคู่อริยสาวกนกุลบิดา และ นกุลมารดา ที่เป็นแบบฉบับบันทึกไว้ในพระสูตรเป็นตัวอย่าง

สามีภรรยาคู่นี้ เป็นอริยบุคคลชั้นโสดาบันและเป็นเอตทัคคะในทางสนิทสนมคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า ทั้งสองท่านมีความประสานสอดคล้องโดยความรักภักดี และความซื่อสัตย์ ซึ่งนำไปสู่ความกลมกลืนกันโดยคุณธรรม จนปรารถนาจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ฯลฯ
สทารสันโดษนี้ ท่านจัดเป็นพรหมจรรย์อย่างหนึ่ง แสดงว่าเป็นความประพฤติและการดำเนินชีวิตที่ได้รับยกย่องอย่างสูงใน
พระพุทธศาสนา ท่านว่าเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ไม่ตายแต่ยังหนุ่มสาว
ดังความว่า “พวกเราไม่ประพฤตินอกใจภรรยา และภรรยาก็ไม่ประพฤตินอกใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ในหญิงอื่น นอกจากภรรยาของพวกเรา ฉะนั้น พวกเราจึงไม่มีใครตายตั้งแต่ยังหนุ่มสาว”
(ที.อ. 2/222 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ย. 2008, 9:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ภาษิตต่อไปนี้ถือได้ว่าเป็นบทสรุปศีล

“ผู้ใด สำรวมด้วยกาย วาจา ใจ ไม่กระทำความชั่วใดๆ ไม่พูดเหลาะ

แหละเพราะเห็นแก่ตน คนเช่นนั้นเรียกว่า ผู้มีศีล”


และพุทธพจน์ต่อไปนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นสาระแห่งศีล

“จงสร้างความเกษมในปวงสัตว์”


(ม.มู. 12/98/70 - อรรถกถาว่า ความเกษม หมายถึง

อภัย ความเกื้อกูล เมตตา และว่าความข้อนี้ หมายถึงความ

บริสุทธิ์ทางมโนทวาร – ม.อ.1/247)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 12:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข้อสังเกตบางอย่างที่ควรทราบเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างศีลในพระพุทธศาสนา กับ ศีลในศาสนาเทวนิยม (รวมถึงเรื่องกรรม ความดี ความชั่ว) ดังนี้


1. ในพุทธธรรม ศีลเป็นหลักความประพฤติที่กำหนดขึ้นตามหลักเหตุผลของกฎธรรมชาติ

ส่วนในศาสนาเทวนิยม ศีลเป็นเทวโองการ ที่กำหนดขึ้นโดยเทวะประสงค์

2. ในแง่ปฏิเสธ ศีลตามความหมายของพุทธธรรม เป็นหลักฝึกอบรมตนในการงดเว้นจากความชั่ว จึงเรียกศีลที่กำหนดเป็นข้อๆ ว่า สิกขาบท- (ข้อฝึกหัด - rule of training)

ส่วนศีลในศาสนาเทวนิยมเป็นข้อห้าม หรือคำสั่งห้ามจากเบื้องบน (divine commandment)

3. แรงจูงใจที่ต้องการในการปฏิบัติตามศีลแบบพุทธธรรม ได้แก่
อาการวตีศรัทธา คือ ความมั่นใจ (confidence) ในกฎแห่งกรรม โดยมีความเข้าใจพื้นฐานมองเห็นเหตุผลว่าพฤติกรรมและผล
ของมันจะต้องเป็นไปตามแนวทางแห่งเหตุปัจจัย

ส่วนแรงจูงใจที่จะต้องการ ในการปฏิบัติตามศีลของศาสนาเทวนิยม ได้แก่ ศรัทธาแบบภักดี (faith) คือ เชื่อ ยอมรับ และทำตามสิ่งใดๆ ก็ตามที่กำหนดว่า เป็นเทวะประสงค์ มอบความไว้วางใจให้โดยสิ้นเชิง ไม่ต้องถามหาเหตุผล

4. ในพุทธธรรม การรักษาศีลตามความหมายที่ถูกต้อง ก็คือ การฝึกอบรมในทางความประพฤติ เริ่มแต่เจตนาที่จะละเว้นความชั่วอย่างนั้นๆ จนถึงประพฤติความดีงามต่างๆ ที่ตรงข้ามกับความชั่วนั้นๆ

ส่วนในศาสนาเทวนิยม การรักษาศีล ก็คือการเชื่อฟังและปฏิบัติตามเทวโองการโดยเคร่งครัด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 12:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

5. ในพุทธธรรม การประพฤติปฏิบัติในขั้นศีล มีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ เพื่อเป็นบาทฐานของสมาธิ กล่าวคือ เป็นระบบการฝึกอบรมบุคคลให้มีความพร้อมและความสามารถที่จะใช้กำลังงานของจิตให้เป็นประโยชน์อย่างมากที่สุด ในทางที่จะก่อให้เกิดปัญญาและนำไปสู่ความหลุดพ้น หรืออิสรภาพสมบูรณ์ในที่สุด
ส่วนการไปสวรรค์เป็นต้น เป็นเพียงผลพลอยได้ของวิถีแห่งความประพฤติโดยทั่วไป

ส่วนในศาสนาเทวนิยม การประพฤติศีลตามเทวโองการ เป็นเหตุให้ได้รับความโปรดปรานจากเบื้องบน เป็นการประพฤติถูกต้องตามเทวะประสงค์ และเป็นเหตุให้พระองค์ทรงประทานรางวัลด้วยการส่งไปเกิด
ในสวรรค์

6. ในพุทธธรรม ผลดีหรือผลร้ายของการประพฤติศีลหรือไม่ประพฤติศีล เป็นสิ่งที่เป็นไปเองโดยธรรมชาติ คือ เป็นเรื่องการ
ทำงานอย่างเที่ยงธรรมเป็นกลางของกฎธรรมชาติที่เรียกว่ากฎแห่งกรรม
การให้ผลนี้ แสดงออกตั้งแต่จิตใจ กว้างออกไปจนถึงบุคลิกภาพและวิถีชีวิตทั่วไปของบุคคลผู้นั้น ไม่ว่าในชาตินี้หรือชาติหน้า

ส่วนในศาสนาเทวนิยม ผลดีหรือผลร้ายของการประพฤติตามหรือการละเมิดศีล (เทวโองการ) เป็นเรื่องของการให้ผลตอบแทน (retribution) ผลดีคือการได้ไปเกิดในสวรรค์ เป็นฝ่ายรางวัล (reward) ผลร้าย คือ ไปเกิดในนรกเป็นฝ่ายการลงโทษ (punishment) การจะได้ผลดีหรือผลร้ายนั้นย่อมสุดแต่การพิพากษาหรือวินิจฉัยโทษ (judgment) ของเบื้องบน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ก.ย. 2008, 4:34 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 12:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

7. ในแง่ความเข้าใจความดีความชั่ว ทางฝ่าย พุทธธรรมสอนว่า ความดีเป็นคุณค่าที่รักษาและส่งเสริมคุณภาพของจิต ทำให้จิตใจสะอาดผ่องใสบริสุทธิ์ หรือยกระดับให้สูงขึ้น จึงเรียกว่า บุญ (good, moral หรือ meritorious)
เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่ชีวิตจิตใจ เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นหรืออิสรภาพทั้งทางจิตใจและทางปัญญา เป็นการกระทำที่ฉลาด ดำเนินตามวิถีแห่งปัญญา เอื้อแก่สุขภาพจิต จึงเรียกว่า กุศล (skilful หรือ wholesome)

ส่วนความชั่ว เป็นสภาพที่ทำให้คุณภาพของจิตเสื่อมเสีย หรือทำให้ตกต่ำลง จึงเรียกว่า บาป (evil) เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่ชีวิตจิตใจ ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น เป็นการกระทำที่ไม่ฉลาด ไม่เอื้อแก่สุขภาพจิต จึงเรียกว่า อกุศล (unskillful หรือ unwholesome)

ส่วนในศาสนาเทวนิยม ความดีความชั่ว กำหนดด้วยศรัทธาแบบภักดีต่อองค์เทวะเป็นมูลฐาน คือถือเอาการเชื่อฟังยอมรับและปฏิบัติตามเทวะประสงค์และเทวะบัญชาหรือไม่เป็นหลัก โดยเฉพาะ ความชั่วหมายถึงการผิดหรือล่วงละเมิดต่อองค์เทวะ (sin) ในรูปใดรูปหนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง