Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 วัฏสงสาร ๓๑ ภูมิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
วัชรพงษ์
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2005, 2:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมสนใจที่จะศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังครับ

ไม่ทราบว่ามีแหล่งข้อมูลมั้ยครับ

ท่านผู้รู้กรุณาชี้แนะครับ

ขอบคุณครับ

วัชรพงษ์ ครับ
 
โอ่
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2005, 7:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า 31 ภูมินั้นไม่ได้หมายถึงวัฏฏสงสาร แต่วัฏฏสงสารหมายถึงเวลาอันยาวนานที่สัตว์โลกเวียนว่ายตายเกิดท่องเที่ยวไปในภูมิต่างๆหมุนวนกันไปเรื่อย เวลาอันยาวนั้นยาวมากจนไม่รู้ว่าเริ่มต้นแต่เมื่อไร และสิ้นสุดเมื่อไร ไม่มีต้นไม่มีปลาย เลยไม่รู้ว่าคุณจะศึกษาเรื่องใดและศึกษาในแง่ไหน



และคิดว่าน่าจะลองค้นหาในพระไตรปิฏกดู
 
TU
บัวทอง
บัวทอง


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 1589

ตอบตอบเมื่อ: 06 มี.ค.2005, 7:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระอภิธรรม หลักสูตรเรียนทางอินเตอร์เนต

อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย



http://buddhism-online.org/Index1.htm



อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร



http://aphidham.mcu.ac.th



มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


http://www.abhidhamonline.org



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวYahoo Messenger
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 09 มี.ค.2005, 3:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขออนุโมทนาสาธุค่ะ คุณ TU

 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
charoem
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2008
ตอบ: 31

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 11:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การที่สัตว์ในโลกทั้งปวงทุกรูปทุกนาม ต้องท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในภูมิทั้งหลายคือต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกต่างๆ อย่างไม่มีวันสิ้นสุดนั้นในทางพระพุทธศาสนาเรียกชื่อว่า วัฏสงสาร = การท่องเที่ยวเวียนตายเวียนเกิด เพราะวัฏฏะวนเวียน วัฏสงสารนี้ เมื่อจะจำแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ เพื่อให้จำได้ง่าย ก็มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประเภท คือ ๑. เหมฐิมวัฏสงสาร การท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภูมิชั้นต่ำชั้นทรามอันมีความทุกข์มากหรือมีทุกข์โดยส่วนเดียว กล่าวคือ นิรยภูมิ เปตติวิสยภูมิ อสุรกายภูมิ ติรัจฉานภูมิ ๒. มัชฌิมวัฏสงสาร การท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภูมิชั้นกลาง เป็นโลกชั้นดี มีโลกิยสุขพอประมาณคือมีสุขบ้างทุกข์บ้างหรือมีสุข โดยส่วนเดียวแต่เป็นสุขชั้นโลกีย์ ซึ่งมีอยู่ ๗ ภูมิ คือ มนุสสภูมิ จาตุมหาราชิกาภูมิ ตาวติงสภูมิ ยามาภูมิ ตุสิตาภูมิ นิมมานรดีภูมิ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ ๓. อุปริมวัฏสงสาร การท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในภูมิชั้นสูง อันเป็นภูมิชั้นดีวิเศษมีสุขมากแต่ยังเป็นสามิสสสุข คือเป็นสุขเจือทุกข์ ซึ่งมีอยู่ ๒๐ ภูมิคือรูปภูมิ ๑๖ ภูมิและอรูปภูมิ ๔ ภูมิ บรรดาภูมิทั้ง ๓๑ ภูมินี้ ยกเว้นสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ แล้ว ย่อมเป็นที่ อุบัติเกิด เป็นที่อยู่และเป็นที่ตายแห่งสัตว์ทั้งหลายทุกรูปทุกนามสัตว์โลกทั้งหลายย่อมต้องท่องเที่ยวเวียนเกิดเวียนตาย อยู่ในภูมิ เหล่านี้เรื่อยไปไม่มีวันสิ้นสุดลงได้ต้องอยู่ภายในวัฏสงสารนี้ มิภูมิใดก็ภูมิหนึ่งอย่างแน่นอน

ภูเขาสิเนรุ
เป็นศูนย์กลางของมงคลจักรวาล คือ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่นี้
เป็นเขาที่ละเอียดมองไม่เห็นด้วยตา

จักรวาลหนึ่ง ๆ วัดโดยรอบได้ ๓,๖๑๐,๓๕๐ โยชน์
ส่วนที่เป็นพื้นดินหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์
โดยมีพื้นน้ำรองรับหนา ๘๔๐,๐๐๐ โยชน์
น้ำนี้ตั้งอยู่บนลม ซึ่งมีความหนา ๙๖๐,๐๐๐ โยชน์

เขาสิเนรุ เป็นภูเขาสูงสุดตั้งอยู่ท่ามกลางจักรวาล
ยอดเขาสิเนรุ เป็นผืนแผ่นดินแห่งแรก
ที่โผล่ขึ้นหลังจากโลกธาตุได้ถูกทำลายลงด้วยน้ำ
ซึ่งทำลายขึ้นไปจนถึงเทวโลก และพรหมโลก
คือ ถึง ชั้นสุภกิณหา (ตติยฌานภูมิ ๓)

แผ่นดินที่โผล่เป็นครั้งแรกนี้ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น ดาวดึงสาภูมิ
ภูมิที่อยู่สูงขึ้นไป คือ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี
ต่อจากนั้นก็เป็นภูมิของ รูปพรหม ๑๖ ชั้น และ อรูป พรหม ๔ ตามลำดับ
ภูมิเหล่านี้สถิตอยู่สูงขึ้นไป ต่อจากยอดเขาสิเนรุทั้งสิ้น


ขุนเขาสิเนรุ สูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์
จมอยู่ในมหาสมุทรสีทันดรครึ่งหนึ่ง
คือหยั่งลงสู่ห้วงน้ำ ๘๔,๐๐๐ โยชน์
และสูงขึ้นไปในอากาศ ๘๔,๐๐๐ โยชน์
วัดรอบเขาได้ ๒๕๒,๐๐๐ โยชน์ พื้นดินยอดเขาประกอบด้วย
รัตนะ ๗ ตามไหล่เขา ๔ ด้าน...ด้านตะวันออกเป็น เงิน
ด้านตะวันตก เป็น แก้วผลึก...ด้านใต้ เป็นแก้ว มรกต
ด้านเหนือเป็น ทอง...น้ำในมหาสมุทร อากาศ ต้นไม้ ใบไม้
ที่อยู่ในด้านนั้น ๆ จะเป็น สีน้ำเงิน สีผลึก สีเขียว สีทอง
ตามสีของไหล่เขานั้นด้วย

กลางเขาสิเนรุ เป็นที่ตั้งของเทวดาชั้น จาตุมหาราชิกาภูมิ
รอบเขาทั้ง ๔ ทิศ เป็นที่สถิตของท้าวมหาราชทั้ง ๔ คือ
ท้าวธตรัฏฐ ประจำอยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก ประจำอยู่ทิศใต้
ท้าววิรุฬปักข์ ประจำอยู่ทิศตะวันตก และท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ
ประจำอยู่ทิศเหนือ มหาราชทั้ง ๔ เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ที่ดูแล
เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ ทั้งหมด รวมทั้งมนุษยโลกของเราด้วย

ตอนกลางของภูเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงตอนใต้พื้นมหาสมุทร
มีชานบันไดเวียน ๕ รอบ คือ
ชั้นที่ ๑ ที่อยู่ใต้พื้นน้ำ เป็นที่อยู่ของพญานาค
ชั้นที่ ๒ เป็นที่อยู่ของครุฑ
ชั้นที่ ๓ เป็นที่อยู่ของ กุมภัณฑ์เทวดา
ชั้นที่ ๔ เป็นที่อยู่ของยักเทวดา
ชั้นที่ ๕ เป็นที่อยู่ของ จาตุมหาราชิกา ๔ องค์

รอบเขาสิเนรุ มีภูเขาล้อมรอบอยู่ ๗ รอบ
เป็นภูเขาทิพย์ เรียกว่า สัตตบรรพ์
รอบที่ ๑ ชื่อว่า ยุคันธร
รอบที่ ๒ ชื่อว่า อีสินธร
รอบที่ ๓ ชื่อว่า กรวิก
รอบที่ ๔ ชื่อว่า สุทัสสนะ
รอบที่ ๕ ชื่อว่า เนมินธร
รอบที่ ๖ ชื่อว่า วินัตตถะ
รอบที่ ๗ ชื่อว่า อัสสกรรณ

นอกจากนี้ ยังมีภูเขาจักรวาล ซึ่งเป็นภูเขาที่กั้นระหว่างจุฬโลกธาตุด้วย

ในสารัตถทีปนีฎีกา กล่าวไว้ว่า
มหานรก ทั้ง ๘ ขุม และ อุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกบริวารของมหานรก
ตั้งอยู่ที่ใต้พื้นดินธรรมดา ลึกลงไปตรงกันกับชมพูทวีป
รวมเนื้อที่กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ สูง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นรูปสี่เหลี่ยม
[/img]
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง