Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กรรมฐาน 40 ตามคัมภีร์ศาสนา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรมฐานพูดถึงกันกว้างขวางพอควรในหมู่ชาวพุทธ ซึ่งก็ถูกบ้างผิดบ้าง

ว่ากันไปตามแหล่งหรือข้อมูลที่ตนมีตนได้มา ก็จึงเป็นผลให้การปฏิบัติถูก

บ้างผิดบ้างไปตามเหตุตามผลตามเหตุปัจจัย

หัวข้อนี้ จึงจะลอกหลักกรรมฐานจากหนังสือพุทธธรรม หน้า 850 ซึ่ง

ท่านก็นำมาจากคัมภีร์ศาสนานั่นเองมาลงไว้ ต่อไปนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรมฐาน-แปลว่า ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต หรือ ที่ให้จิตทำ

งาน

มีความหมายเป็นทางการว่า สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา

หรือ อุปกรณ์ในการฝึกอบรมจิต หรือ อุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำ

สมาธิ

พูดง่ายๆว่า สิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด จิตจะได้มีงานทำเป็นเรื่อง

เป็นราว สงบอยู่ที่ได้ ไม่เที่ยววิ่งเล่นเตลิดหรือเลื่อนลอยฟุ้งซ่านไป

อย่างไร้จุดหมาย

เฉพาะในกรณีนี้ ก็คือสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนดเพื่อชักนำให้เกิด

สมาธิ หรืออะไรที่พอจิตกำหนดจับเข้าแล้ว จะชักนำให้แน่วแน่อยู่กับ

มันจนเป็นสมาธิได้เร็วและมั่นคงที่สุด

พูดให้สั้นที่สุดว่า สิ่งที่ใช้ฝึกสติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรมฐานเท่าที่พระอรรถกถาจารย์ รวบรวมแสดงไว้ มี 40 อย่างคือ


ก. กสิณ 10 แปลกันว่าวัตถุอันจูงใจ หรือวัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูง

จิตให้เป็นสมาธิ เป็นวิธีใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย โดยวิธีเพ่งเพื่อ

รวมจิตให้เป็นหนึ่ง มี 10 อย่างคือ

ก) ภูตกสิณ- กสิณ คือ มหาภูตรูป 4 คือ

ปฐวี-ดิน

อาโป-น้ำ

เตโช-ไฟ

วาโย-ลม

ข) วรรณกสิณ-กสิณ คือ สี 4 คือ

นีล-เขียว

ปีต-เหลือง

โลหิต-แดง

โอทาต-ขาว

ค) กสิณอื่น ๆ คือ

อาโลก-แสงสว่าง

ปริจฉินนากาส - เรียกสั้นว่า อากาศ (ช่องว่าง)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กสิณ 10 ในบาลีเดิมไม่มีอาโลกกสิณ แต่มีวิญญาณกสิณแทนเป็น

ข้อที่ 10 และเลือนอากาศกสิณเข้าเป็นข้อที่ 9 -

( เช่น ที.ปา.11/358/283; ฯลฯ)


กสิณ 10 นี้ จะใช้ของที่อยู่ตามธรรมชาติก็ได้ ตกแต่งจัดทำขึ้น

ให้เหมาะกับการใช้เพ่งโดยเฉพาะก็ได้ แต่โดยมากนิยมวิธีหลัง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ข. อสุภะ 10 ได้แก่ พิจารณาซากศพในระยะต่างๆกัน

รวม 10 ระยะ เริ่มแต่ศพที่ขึ้นอึดไปจนถึงศพที่เหลือแต่โครงกระดูก


อุธุมาตกะ –ศพขึ้นอืด

วินีลกะ-ศพเป็นสีเขียวคล้ำคละสีต่างๆ

วิปุพพกะ-ศพมีน้ำเหลือไหลเยิ้มตามที่แตกปริ

วิจฉิททกะ-ศพขาดจากกันเป็น 2 ท่อน

วิกขายิตกะ-ศพถูกสัตว์จิกทึ้งกัดกินแล้ว

วิกขิตตกะ-ศพกระจุยกระจายมือเท้าศีรษะหลุดไปอยู่ข้างๆ

หตวิกขิตตกะ-ศพถูกสับเป็นท่อนๆกระจาย

โหติกะ-ศพมีโลหิตอาบ

ปุฬุวกะ-ศพมีหนอนคลาคล่ำ

อัฏฐิกะ-ศพเหลือแต่ร่างกระดูกหรือท่อนกระดูก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในบาลีเดิม จัดเข้าเป็นสัญญาต่างๆ คือ ขุ.ปฏิ.31/213/140 ฯลฯ

ในบาลีฝ่ายพระสูตร กล่าวถึงอย่างมากเพียง 6 ข้อ

(เช่น ที.ป.11/238/238 ฯล) บ้าง 5 ข้อ (รวมอยู่กับพวกอื่น

เช่น สํ.ม.19/646/181 ฯลฯ ) บ้าง

และที่ใกล้เคียงที่สุดคือ เป็นการสรุปเอามาจาก นวสีวถิกาปัพพะใน

สติปัฏฐาน หรือ กายคตาสติ เช่น ที.ม.10/279/330 ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ค. อนุสติ 10 คือ อารมณ์ที่ดีงามที่ควรระลึกถึงเนื่องๆ ได้แก่


1. พุทธานุสติ-ระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาคุณของพระองค์

2. ธัมมานุสติ-ระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาคุณของพระธรรม

3. สังฆานุสติ-ระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาคุณของพระสงฆ์

4. สีลานุสติ-ระลึกถึงศีล พิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติบริสุทธิ์

ไม่ด่างพร้อย

5. จาคานุสติ-ระลึกถึงจาคะ ทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็น

คุณธรรม คือ ความเผื่อแผ่เสียสละที่มีในตน

6. เทวตานุสติ-ระลึกถึงเทวดา หมายถึงเทวดาที่ตนเคยได้รู้ได้ยินมา

และพิจารณาเห็นคุณธรรมซึ่งทำคนให้เป็นเทวดา ตามที่มีในตน

7. มรณสิต –ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณา

ให้เกิดความไม่ประมาท

8. กายคตาสติ-สติอันไปในกาย หรือระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย คือ

กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ คืออาการ 32

อันไม่สะอาด ไม่งาม น่าเกลียด เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้

มิให้หลงใหลมัวเมา

9. อานาปนสติ –สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก

10. อุปสมานุติ –ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบคือนิพพาน และพิจารณา

คุณของนิพพาน อันเป็นที่หายร้อนดับกิเลสและไร้ทุกข์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ง. อัปปมัญญา 4 คือ ธรรมที่พึงแผ่ออกไปในสัตว์มนุษย์

ทั้งหลาย อย่างมีจิตใจสม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัด

ขอบเขต โดยมากเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 - (ธรรมเครื่องอยู่อย่าง

ประเสริฐ ธรรมประจำใจที่ประเสริฐบริสุทธิ์ หรือคุณธรรมประจำตัว

ของท่านผู้มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่) คือ


1.เมตตา- ความรัก คือ ปรารถนาดี มีไมตรี อยากให้มนุษย์สัตว์มีสุข

ทั่วหน้า

2. กรุณา-ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

3. มุทิตา-ความพลอยยินดี คือ พลอยมีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อผู้อื่น

อยู่ดีมีสุข และเจริญงอกงามประสบความสำเร็จยิ่งขึ้นไป

4. อุเบกขา-ความีใจเป็นกลาง คือ วางจิตเรียบสงบ สม่ำเสมอ

เที่ยงตรงดุจตราชั่ง มองเห็นมนุษย์สัตว์ทั้งหลายได้รับผลดีร้ายตามเหตุ

ปัจจัยที่ประกอบ ไม่เอนเอียงไปด้วยชอบหรือชัง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จ. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา - กำหนดหมายความเป็นปฏิกูลในอาหาร***


*** ในพระสูตร มาด้วยกันกับอสุภะ 5 ที่มาในชุดสัญญา 10

เช่น องฺ.เอก.20/224/54



ฉ. จตุธาตุววัฏฐาน- กำหนดพิจารณาธาตุ 4 คือ พิจารณาเห็นร่างกาย

ของตน โดยสักว่าเป็นธาตุ 4 แต่ละอย่างๆ **


**บางทีเรียกสั้นๆว่า ธาตุววัตถานบ้าง ธาตุมนสิการบ้าง

ธาตุกัมมัฏฐานบ้าง

ที่มาในบาลี คือ ที.ม.10/278/329 ฯลฯ (มาในกายานุปัสสนาสติ

ปัฏฐานนั่นเอง)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช. อรูป หรือ อารุปป์ 4 ได้แก่ กำหนดภาวะที่เป็นอรูปธรรม

เป็นอารมณ์ ใช้ได้เฉพาะผู้ที่เพ่งกสิณ 9 อย่างแรก ข้อใด

ข้อหนึ่ง จนได้จตุตถฌานมาแล้ว คือ **


1. อากาสานัญญายตนะ -กำหนดช่องว่างหาที่สุดมิได้-

(ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป) เป็นอารมณ์


2. วิญญาณัญจายตนะ- กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้

(คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณที่แผ่ไปสู่ที่ว่าง

แทน) เป็นอารมณ์


3. อากิญจัญญายตนะ- (เลิกกำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ เลยไป)

กำหนดภาวะไม่มีอะไรเลย เป็นอารมณ์


4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ- (เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะไม่มีอะไรเลย)

เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

** ที่มาในบาลี เช่น ที.ปา.11/235/235 ฯลฯ เฉพาะ

เนวสัญญานาสัญญายตนะ วิสุทธิมรรคว่ากำหนดอากิญจัญญายตนะ

นั่นเอง เป็นอารมณ์ แต่กำหนดมิใช่เพื่อเข้า แต่เพื่อผ่านเลย

(วิสุทธิ.2/145,151)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรรมฐานทั้งหมดนี้ บางทีท่านจัดเป็น 2 ประเภท คือ***


1. สัพพัตถกกรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานที่ใช้ประโยชน์ได้

หรือ ควรต้องใช้ทุกที่ทุกกรณี คือ ทุกคนควรเจริญอยู่เสมอ ได้แก่

เมตตา และมรณสติ


2. ปาริหาริยกรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานที่ต้องบริหาร หมายถึง

กรรมฐานที่เหมาะกับจริยาของแต่ละบุคคล ซึ่งเมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว

จะต้องคอยเอาใจใส่รักษาอยู่ตลอดเวลาให้เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ

ที่สูงยิ่งขึ้นไป



***วิสุทธิ.1/122; วินย.อ.1/509; ฯลฯ วิสุทธิ. ว่า อาจารย์บาง

พวกจัดอสุภสัญญาเป็นสัพพัตถกกรรมฐานด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านว่า กรรมฐาน 40 อย่างนั้น แตกต่างกันโดยความเหมาะสม

แก่ผู้ปฏิบัติ ซึ่งควรเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะนิสัยความโน้มเอียง

ของแต่ละบุคคล ที่เรียกว่าจริยาต่างๆ

ถ้าเลือกได้ถูกกันเหมาะกัน ก็ปฏิบัติได้ผลดีและรวดเร็ว

ถ้าเลือกผิด อาจทำให้ปฏิบัติได้ล่าช้าหรือไม่สำเร็จผล

จริยา แปลว่า ความประพฤติปกติ หมายถึงพื้นเพของจิต

พื้นนิสัย ลักษณะความประพฤติที่หนักไปทางใดทางหนึ่ง

ตามสภาพจิตที่เป็นปกติของบุคคลนั้นๆ ตัวความประพฤติ หรือ

ลักษณะนิสัยนั้น เรียกว่า จริยา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 10:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บุคคลผู้มีลักษณะนิสัยและความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า จริต

ตัวอย่างเช่น คนมีราคจริยา เรียกว่า ราคจริต เป็นต้น

จริตประเภทใหญ่ๆ มี 6 คือ **



1. ราคจริต -ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนัก

ไปทางราคะ ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม ละมุนละไม

ควรใช้กรรมฐานคู่ปรับ คือ อสุภะ (และกายคตาสติ)


2. โทสจริต - ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนัก

ไปทางโทสะ ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิดรุนแรง

กรรมฐาน ที่เหมาะ คือ เมตตา

(รวมถึงพรหมวิหารข้ออื่นๆ และกสิณโดยเฉพาะวรรณกสิณ)


3. โมหจริต-ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยหนัก

ไปทางโมหะ ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึม เงื่องงง งมงาย

ใครว่าอย่างไรก็คอยเห็นคล้อยตามไป พึงแก้ด้วยมีการเรียน ไต่ถาม

ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาล หรืออยู่กับครู

(กรรมฐานที่เกื้อกูลคือ อานาปานสติ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ส.ค. 2013, 7:59 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 10:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

4. สัทธาจริต-ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยมาก

ด้วยศรัทธา ประพฤติหนักไปทางมีจิตใจซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจ

เลื่อมใสโดยง่าย พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส และความเชื่อ

ที่มีเหตุผล เช่น ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และศีลของตน

(กรรมฐานอนุสติ 6 ข้อแรกได้ทั้งหมด)


5. พุทธจริต หรือ ญาณจริต -ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ

มีลักษณะนิสัยความประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา และมอง

ไปตามความจริง พึงส่งเสริมด้วยแนะนำให้ใช้ความคิดพิจารณา

สภาวธรรมและสิ่งดีงามที่ให้เจริญปัญญา เช่น พิจารณาไตรลักษณ์

(กรรมฐานที่เหมาะ คือ มรณสติ อุปสมานุสติ จตุธาตุววัฏฐาน

อาหาเร ปฏิกูลสัญญา)


6. วิตกจริต -ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ มีลักษณะนิสัยความ

ประพฤติหนักไปทางชอบครุ่นคิดวกวน นึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน พึงแก้ด้วย

สิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ (หรือ เพ่งกสิณเป็นต้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 10:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

**ที่มาในบาลีเดิม ขุ.ม.29/7272435; 889/555 ฯลฯ ความจริงลำดับ

ในบาลีเดิมเป็น ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต

และญาณจริต

และพึงทราบว่าข้อความในวงเล็บเป็นของเพิ่มเติมตามแนวอรรถกถา

รายละเอียดเพิ่มเติมจากนี้ ดู วิสุทธิ.1/127-139
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 10:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


หมายเหตุ- ท่านว่า กสิณวงเล็กเหมาะแก้วิตกจริต กสิณใหญ่

ไม่จำกัดเหมาะแก่โมหจริต

อนึ่ง ท่านเตือนว่า เรื่องกรรมฐานที่เหมาะกับจริตต่างๆนั้น

อย่าถึงกับถือตายตัวทีเดียวว่าเป็นอย่างที่ได้แสดงไว้ พูดอย่างกว้างๆ

แล้วกรรมฐานทุกอย่าง ก็เป็นประโยชน์ช่วยข่มอกุศล และเกื้อกูล

หนุนกุศลธรรมได้ทั้งนั้น (วิสุทธิ. 1/145)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 10:21 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาการแสดงออกต่างๆกันในทางความประพฤติของจริตเหล่านี้ เช่น


เมื่อพบเห็นสิ่งของสักอย่าง ถ้ามีอะไรเป็นส่วนดีน่าชมอยู่บ้าง

ใจของคนราคจริตจะไปจับอยู่ที่ส่วนนั้น ติดใจ

เล็งแลอยู่ได้นานๆ ส่วนอื่นที่เสียๆ ไม่ได้ใส่ใจ

ส่วนคนโทสจริต แม้ของนั้นจะมีส่วนดีอยู่

หลายอย่าง แต่ถ้ามีส่วนเสียหรือข้อบกพร่องอยู่สักหน่อย ใจของเขา

จะกระทบเข้ากับส่วนที่เสียนั้นก่อน ไม่ทันได้พิจารณาเห็นส่วนดี

ก็จะไปเสียเลย

คนพุทธิจริตคล้ายคนโทสจริตอยู่บ้าง ที่ไม่ค่อยติด

ใจอะไร แต่ต่างกันที่ว่าคนโทสจริต มองหาส่วนเสียหรือมองให้เสียทั้งที่

ไม่เป็นอย่างนั้นจริง และผละไปอย่างหงุดหงิดขัดใจ ส่วนคนพุทธิจริต

มองหาส่วนเสียข้อบกพร่องที่เป็นจริงและเพียงแต่ไม่ติดใจผ่านไป

ส่วนคนโมหจริต มองเห็นแล้วจับจุดอะไรไม่ชัด

ออกจะเฉยๆ ถ้าใครว่าดี ก็พลอยเห็นดีว่าตามเขาไป ถ้าเขาว่า

ไม่ดี ก็พลอยเห็นไม่ดีคล้อยตามเขาไป

ฝ่ายคนวิตกจริต คิดจับจด นึกถึงจุดดีตรงนี้บ้าง

ส่วนไม่ ดีตรงนั้นบ้าง วุ่นไปวุ่นมา ชั่งไม่เสร็จ ตัดสินใจไม่ตก จะเอา

หรือไม่เอา

ส่วนคนศรัทธาจริต มีลักษณะคล้ายคนราคจริตอยู่

บ้าง คือ มักมองเห็นส่วนที่ดี แต่ต่างที่ว่าคนศรัทธาจริต

เห็นแล้วก็ชื่นชมซาบซึ้งใจเรื่อยๆไป ไม่ติดอ้อยอิ่งอย่างพวกราคจริต
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 ก.ค.2008, 10:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อย่างไรก็ตาม คนมักมีจริตผสม เช่น ราคะผสมวิตก โทสะผสมพุทธิ

เป็นต้น ในการปฏิบัติบำเพ็ญสมาธิ นอกจากเลือกกรรมฐานให้เหมาะ

กับจริตแล้ว แม้แต่สถานที่อยู่อาศัย บรรยากาศ หนทาง ของใช้

อาหาร เป็นต้น ท่านก็ยังแนะให้เลือกสิ่งที่เป็นสัปปายะ คือ เกื้อกูล

เหมาะกันด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ปกรณัม
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 12 ก.ค. 2008
ตอบ: 52
ที่อยู่ (จังหวัด): ขอนแก่น

ตอบตอบเมื่อ: 03 ส.ค. 2008, 10:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ ขอบคุณครับ
 

_________________
คนที่ไม่ทำงานไม่สมควรจะมีชีวิตอยู่!
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง