Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงกับพระพาหิยะคืออะไรครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สีเทา
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2005, 9:45 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอเป็นคำตรงและอธิบายเพิ่มนิดหน่อยนะครับ
 
มาร่วมด้วย
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2005, 11:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่าสนใจในรูป..............

เหตุเพราะพระพาหิยะในตอนนั้น..ไม่ใส่เสื้อผ้า...เพราะตอนประสบภัยจมแล้วลอยมาที่ฝั่งไม่มีเสื้อผ้าใส่ ชาวบ้านมาเห้นว่าไม่ใส่เสื้อผ้า ก็ต่างชมว่าเป็นพระอรหันต์

....ทำให้หลงว่าการที่ไม่ยึดติดกับเสื้อผ้า ....คือการบรรลุแล้ว เลยสวมรอยโดยไมใส่เสื้อผ้าไปเลย

....พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ให้พิจารณาว่าอย่าไปสนใจในรูป....คือกายของเราที่มันไม่เที่ยง....ทำนองนี่แหละครับ........จำไม่ค่อยได้

.........ผิดอย่างไรก็ขออภัย......แบบว่าไม่ได้อ่านตำรามาตอบอาศัยความจำที่ครูบาอาจารย์ท่านเคยเทศน์ไว้
 
เกียรติ
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2005, 12:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระพาหิยะ จัดเป็นพระอรหันต์ผู้เป็นเลิศในการตรัสรู้ได้เร็วนะครับ

ในเว็บhttp://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.html

มีแสดงถึงผู้เลิศในด้านต่างๆ ดังข้างล่างนี้ครับ



๓. เอตทัคคปาลิ

บาลีว่าด้วยเอตทัคคะ คือบุคคลที่ได้รับยอย่องว่าเป็นผู้เลิศ



ฝ่ายภิกษุ ๑ . พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นผู้เลิศในทางรู้ราตรี (รัตตัญญูเป็นคนเก่าแก่เห็นเหตุการณ์มามาก).

๒. พระสารีบุตร เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญามาก.

๓. พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้เลิศทางมีฤทธิ์.

๔. พระมหากัสสปะ เป็นผู้เลิศในทางกล่าวขัดเกลา ( ธูตวาทะ พูดยกย่องธุดงค์ ).

๕. พระอนุรุทธะ เป็นผู้เลิศในทางมีทิพยจักษุ.

๖. พระภัททิยะ กาฬิโคธายบุตร เป็นผู้เลิศในทางมีสกุลสูง.

๗. พระลกุณฏกะ ภัททิยะ เป็นผู้เลิศในทางมีเสียงไพเราะ.

๘. พระปิณโฑละ ภารทวาชะ เป็นผู้เลิศในทางบรรลือสีหนาท (เปล่งวาจาอย่างองอาจ).

๙. พระปุณณะ มันตานีบุตร เป็นผู้เลิศในทางแสดงธรรม.

๑๐. พระมหากัจจานะ เป็นผู้เลิศในทางจำแนกอรรถแห่งภาษิตโดยพิสดาร.

๑๑. พระจุลลปันถกะ เป็นผู้เลิศในทางนิรมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ.

๑๒. พระจุลลปันถกะ เป็นผู้เลิศในทางฉลาดในวิวัฏฏะ (ธรรมที่ไม่เวียนว่าย ) ฝ่ายสมาธิ.

๑๓. พระมหาปันถกะ เป็นผู้เลิศในทางฉลาดในวิวัฏฏะฝ่ายปัญญา.

๑๔. พระสุภูติ เป็นผู้เลิศในทางมีอรณวิหาร ( ธรรมเป็นเครื่องอยู่ที่ไม่มีข้าศึก).

๑๕ . พระสุภูติ เป็นผู้เลิศในทางควรแก่การของถวาย ( ทักขิเณยยะ).

๑๖. พระเรวตะ ขทิรวนิยะ เป็นผู้เลิศอยู่ป่า.

๑๗. พระกังขาเรวตะ เป็นผู้เลิศในทางเข้าฌาน.

๑๘. พระโสณะ โกลิวิสะ เป็นผู้เลิศในทางปรารภความเพียร.

๑๙. พระโสณะ กุฏกัณณะ เป็นผู้เลิศในทางกล่าววาจาไพเราะ.

๒๐. พระสีวลี เป็นผู้เลิศในทางมีลาภ.

๒๑. พระวักกลิ เป็นผู้เลิศในทางน้อมใจไปตามความเชื่อ ( สัทธาธิมุต).

๒๒. พระราหุล เป็นผู้เลิศในทางใคร่ต่อการศึกษา.

๒๓. พระรัฏฐปาละ เป็นผู้เลิศในทางบวชด้วยศรัทธา.

๒๔. พระกุณฑธานะ เป็นผู้เลิศในทางจับฉลากเป็นองค์แรก

๒๕. พระวังคีสะ เป็นผู้เลิศในทางมีปฏิภาณ.

๒๖. พระอุปเสนะ วังคันตบุตร เป็นผู้เลิศในทางทำให้เกิดความเลื่อใสทั่วไป.

๒๗. พระทัพพะ มัลลบุตร เป็นผู้เลิศในทางจัดเสนาสนะ ( จัดที่อยู่อาศัย).

๒๘. พระปิลินทวัจฉะ เป็นผู้เลิศในทางเป็นที่รักเป็นที่พอใจของเทวดา.

๒๙. พระพาหิยะ ทารุจีริยะ เป็นผู้เลิศในทางตรัสรู้ได้เร็ว.

๓๐. พระกุมารกัสสปะ เป็นผู้เลิศในทางกล่าวธรรมะอันวิจิตร (ด้วยอุปมา).

๓๑. พระมหาโกฏฐิตะ เป็นผู้เลิศในทางบรรลุปฏิสัมภิทา ( ความแตกฉาน).

๓๒. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางพหุสุต ( สดับตรับฟังมาก).

๓๓. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางมีสติ ( ความระลึกได้ ความทรงจำ).

๓๔. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางมีคติ ( คติ แปลว่า ทางไปหรือที่ไป อรรถกถาอธิบายว่า ตั้งอยู่ในบทเดียว เรียนได้หกพันบท จำได้ทุกบทตามที่พระพุทธเจ้าตรัส น่าจะหมายความว่าเป็นผู้รู้จักหลักการในการเรียนรู้ คือเมื่อจับหลักได้อย่างหนึ่งแล้ว แม้จะอธิบายยักย้ายนัยไปอย่างไร ก็เข้าใจและจำได้หมด รวมความว่า เมื่อได้หลักเพียงข้อเดียวก็มีทางเข้าใจไปได้มากข้อ).

๓๕. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางมีธิติ ( ธิติ โดยทั่วไปแปลว่า ความอดทน อรรถกถาแก้ว่าความเพียร คือเพียรในการเรียน, การท่องจำ, การทรงจำ, การอุปฐาก หรือรับใช้พระศาสดา).

๓๖. พระอานนท์ เป็นผู้เลิศในทางอุปฐาก (รับใช้พระพุทธเจ้า).

๓๗. พระอุรุเวลกัสสปะ เป็นผู้เลิศในทางมีบริษัท (บริวาร) มาก.

๓๘. พระกาฬุทายี เป็นผู้เลิศในทางทำสกุลให้เลื่อมใส.

๓๙. พระพักกุละ เป็นผู้เลิศในทางมีอาพาธน้อย.

๔๐. พระโสภิตะ เป็นผู้เลิศในทางระลึกชาติได้.

๔๑. พระอุบาลี เป็นผู้เลิศในทางทรงจำพระวินัย.

๔๒. พระนันทกะ เป็นผู้เลิศในทางให้โอวาทแก่นางภิกษุณี.

๔๓. พระนันทะ เป็นผู้เลิศในทางสำรวมอินทรีย์ ( คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ).

๔๔. พระมหากัปปินะ เป็นผู้เลิศในทางให้โอวาทแก่ภิกษุ.

๔๕. พระสาคตะ เป็นผู้เลิศในทางฉลาดในธาตุไฟ ( หมายถึงฉลาดในการเข้าสมาบัติ มีธาตุไฟเป็นอารมณ์ทำให้เกิดธาตุไฟขึ้นได้).

๔๖. พระราธะ เป็นผู้เลิศในทางทำให้เกิดปฏิภาณ ( ในการแสดงพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า).

๔๗. พระโมฆราชะ เป็นผู้เลิศในทางทรงจัวรสีหมอง.



(หมายเหตุ: นับตามทางที่เลิศได้ ๔๗ ทาง แต่นับจำนวนบุคคล จะได้เพียง ๔๑ ท่าน เพราะบางท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศหลายทาง)





ฝ่ายภิกษุณี ๑ . พระนางมหาปชาบดี โคตมี เป็นผู้เลิศในทางรู้ราตรี ( รัตตัญญู เพราะเป็นภิกษุณีองค์แรก ).

๒. พระนางเขมา เป็นผู้เลิศในทางมีปัญญามาก ( พระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารออกทรงผนวช).

๓ . นางอุปปลวัณณา เป็นผู้เลิศในทางมีฤทธิ์.

๔. นางปฏาจารา เป็นผู้เลิศในทางทรงจำพระวินัย.

๕. นางธัมมทินนา เป็นผู้เลิศในทางแสดงธรรม.

๖. พระนางนันทา ( น้องพระอนุรุทธ์) เป็นในทางเข้าฌาน.

๗. นางโสณา เป็นผู้เลิศในทางปรารภความเพียร.

๘. นางสกุลา เป็นผู้เลิศในทางมีทิพยจักษุ.

๙. นางกุณฑลเกสา เป็นผู้เลิศในทางตรัสรู้ได้เร็ว.

๑๐. นางภัททากาปิลานี เป็นผู้เลิศในทางระลึกชาติได้.

๑๑. พระนางภัททา กัจจานา ( พระนางยโสธรา ) เป็นผู้เลิศในทางบรรลุอภิญญาใหญ่ ( อรรถกถาแสดงว่ามีความสามารถระลึกเหตุการณ์ในกัปป์ต่าง ๆ ย้อนหลังไปได้มากนับไม่ถ้วน).

๑๒. นางกิสาโคตมี เป็นผู้เลิศในทางทรงจีวรสีหมอง.

๑๓. นางสิคาลมาตา เป็นผู้เลิศในทางน้อมไปตามความเชื่อ ( สัทธาธิมุต).





ฝ่ายอุบาสก ( สาวกที่มิได้บวช) ๑ . พ่อค้าชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ เป็นผู้เลิศในทางถึงสรณะ ( ถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะ) รายแรก.

๒. อนาถปิณฑิกะ คฤหบดี ( ผู้มีชื่อเดิมว่า สุทัตตะ) เป็นผู้เลิศในทางถวายทาน.

๓. จิตตะ คฤหบดี ผู้อยู่ ณ นครมัจฉิกาสณฑ์ เป็นผู้เลิศในทางแสดงธรรม.

๔. หัตถกะ อาฬวกะ ( ชาวอาฬวี) เป็นผู้เลิศในทางสงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ ๓ .

๕. มหานาม ศากยะ เป็นผู้เลิศในทางถวายของที่ประณีต.

๖. อุคคะ คฤหบดี ชาวกรุงเวสาลี เป็นผู้เลิศในทางถวายของที่ชอบใจ.

๗. อุคคตะ คฤหบดี เป็นผู้เลิศในทางอุปฐาก (รับใช้) พระสงฆ์.

๘. สูระ อัมพัฏฐะ เป็นผู้เลิศในทางมีความเลื่อมใสไม่หวั่นไหว.

๙. ชีวก โกมารภัจจ์ เป็นผู้เลิศในทางเลื่อมใสในบุคคล (เจาะจงเฉพาะผู้ที่เห็นตนว่าดีงาม).

๑๐. คฤหบดี ผู้เป็นบิดาของนกุลมาณพ เป็นผู้เลิศในทางมีความคุ้นเคย ( กับพระพุทธเจ้า).





ฝ่ายอุบาสิกา (สาวิกาที่มิได้บวช) ๑ . นางสุชาดา ผู้เป็นธิดาของกุฏุมพี ( เศรษฐี ) ชื่อเสนิยะ เป็นผู้เลิศในทางถึงสรณะ เป็นคนแรก ( นางสุชาดาคนนี้เป็นผู้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระผู้มีพระภาค และเป็นมารดาของยสกุลบุตร).

๒. นางวิสาขา มิคารมาตา ๔ . เป็นผู้เลิศในทางถวายทาน.

๓. นางขุชชุตตรา เป็นผู้เลิศในทางสดับตรับฟังมาก.

๔. นางสามาวดี เป็นผู้เลิศในทางมีเมตตาเป็นธรรมเครื่องอยู่.

๕. นางอุตตรา ผู้เป็นมารดาของนันทมาณพ เป็นผู้เลิศในทางเข้าฌาน.

๖. นางสุปปวาสา ธิดาของโกลิยกษัตริย์ เป็นผู้เลิศในทางถวายของปราณีต.

๗. นางสุปปิยา อุบาสิกา เป็นผู้เลิศในทางพยาบาลไข้.

๘. นางกาติยานี เป็นผู้เลิศในทางเลื่อมใสไม่หวั่นไหว.

๙. คฤหปตานี ผู้เป็นมารดาของนกุลมาณพ เป็นผู้เลิศในทางมีความคุ้นเคย ( กับพระพุทธเจ้า).

๑๐. นางกาลี อุบาสิกา เป็นผู้เลิศในทางเลื่อมใส เพราะฟังจากผู้อื่น ( ฟังผู้อื่นสรรเสริญพระรัตนตรัยได้บรรลุโสดาปัตติผล).



 
0
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 04 มี.ค.2005, 7:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สภาวะ สักว่ารู้ ส่งผลให้ไม่มีตัวตนและถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้จริง สมดังคำสอนของพระบรมศาสดาที่ประทานแก่ท่านพระพาหิยะว่า



ดูกร พาหิยะ ในกาลใดแล



เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง



เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง



ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี



ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้



ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง



นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ



(พาหิยสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ 25/49)



 
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง