Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พระพุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา : มจร. อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 3:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า กั บ ป รั ช ญ า ก า ร ศึ ก ษ า
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.)


• การศึกษาคืออะไร ?

ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวว่า คำว่าสิกขามาจากคำว่า

สยํ + อิกฺขา
สมฺมา + อิกฺขา
สห + อิกฺขา

ผู้ศึกษาจะต้องเห็นชัดในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
จนดับทุกข์ได้และสามารถจะอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ด้วยความสงบสุข
ดังนั้น การศึกษาจึงมิใช่การเรียนเพียงด้านภาษา และอาชีพเท่านั้น

แต่หมายถึงการดับทุกข์ตนเอง
และผู้อื่นให้ได้ทำตนให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์

ดร.สาโรช บัวศรี กล่าวว่า การศึกษาคือขบวนการพัฒนาขันธ์ ๕
ให้เจริญเต็มที่เพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ
ของมนุษย์ให้เบาบางลงและหมดไปในที่สุด

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวว่า
การศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อทำชีวิตให้เข้าถึงอิสรภาพ
คือทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากอำนาจครอบงำจากปัจจัยภายนอกให้มากที่สุด

และ มีความเป็นใหญ่ในตัว
สามารถกำหนดความเป็นอยู่ของตนให้ได้มากที่สุด

• กระบวนการศึกษาแบบพุทธ

คือ กระบวนการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง
ด้วยการทำลายอวิชชาและตัณหา
และสร้างเสริมปัญญา ฉันทะ และกรุณา

• ความหมายและจุดมุ่งหมายการศึกษา

ก. ความหมายที่มองในแง่สภาพที่เผชิญการศึกษา

ก็คือการแก้ปัญหาของมนุษย์
ถ้าไม่มีปัญหา การศึกษาก็ไม่มี

มองในแง่สภาพที่จะประสบผล
การศึกษาก็คือการทำให้ชีวิตหลุดพ้นจากปัญหา (-)
ปราศจากสิ่งบีบคั้นกีดขวาง แล้วเข้าถึงสิ่งที่ดีงาม (+)

สิ่งที่ประเสริฐที่สุดหรือดีที่สุดที่ชีวิตจะพึงได้มีอิสรภาพสมบูรณ์

มองในแง่ความสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอกการศึกษา
คือการทำให้มนุษย์พ้นจากการต้องพึ่งปัจจัยภายนอก
มีความสมบูรณ์ในตัวมากยิ่งขึ้นตามลำดับ

ข. จุดหมายของการศึกษาเป็นอันเดียวกันกับจุดหมายของชีวิต

คือความหลุดพ้น (วิมุตติ) ได้แก่ความปลอดโปร่งเป็นอิสระ

• คุณสมบัติของผู้ได้รับการศึกษา

ผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบพุทธ จะมีลักษณะเด่น
คือ มีคุณธรรม ๒ ประการประจำตน

๑. มีปัญญา ซึ่งเกิดพร้อมกับการสิ้นอวิชชา
๒. มีกรุณา ซึ่งเป็นแรงเร้าในการกระทำในการดำรงชีวิต

จะมีลักษณะ ๒ คือ

อัตตัตถะ การบรรลุถึงประโยชน์ตน ฝึกตนเองได้ดี (ปัญญา)
ปรัตถะ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น สามารถช่วยผู้อื่นได้ดี (กรุณา)

• พุทธธรรมที่เป็นสาระสำคัญของการศึกษา

๑) ธรรมที่พึงวิเคราะห์ เพื่อแสวงหาพุทธปรัชญา

การศึกษาหลักธรรม หลักได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท นิพพาน และอริยสัจ ๔

หลักธรรมรอง คือ ขันธ์ ๕ ไตรลักษณ์ กรรม และไตรสิกขา

๒) ความหมายของหลักธรรมแต่ละอย่าง

๒.๑ ปฏิจจสมุปบาท แสดงกฎเหตุผลและปัจจัยสนับสนุน
๒.๒ อริยสัจ แสดงปัญหาและการแกัปัญหาของมนุษย์
๒.๓ ขันธ์ ๕ แสดงชีวิตมีองค์ประกอบ
๒.๔ ไตรลักษณ์ แสดงสภาพที่เป็นจริงที่เราจะพึงเกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
๒.๕ กรรม แสดงความเป็นไปของมนุษย์และเหตุผล
ที่จะแก้ไขปรับปรุงได้ผลสำเร็จ
และจุดมุ่งหมายที่จะเข้าถึงได้ด้วยการกระทำมิใช่การอ้อนวอน

๒.๖ ไตรสิกขา แสดงความหมายแท้ของการศึกษา
ขอบเขตการฝึกตน การพัฒนาชีวิตที่ดี (มรรค)

๒.๗ นิพพาน แสดงถึงสภาวะที่เข้าถึงเมื่อแก้ปัญหามนุษย์ได้แล้ว
และประโยชน์สูงสุดที่จะพึงได้จากการมีชีวิต และการมีสุขภาพจิตที่สมบูรณ์

• มองการศึกษาแนวพุทธจากภาคปฏิบัติ

ครู คือผู้ทำหน้าที่ ๒ อย่าง คือ

๑. สิปปทายก เป็นผู้ให้วิทยาการ
๒. กัลยาณมิตร เป็นเพื่อนคิด
ตามหลักปัจจัยสัมมาทิฐิ ๒ ประการ คือ
ปรโตโฆสะ เสียงจากภายนอกรวมทั้งกัลยาณมิตร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 3:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

• วิ ธี คิ ด แ บ บ โ ย นิ โ ส ม น สิ ก า ร

วิธีคิดแบบ โยนิโสมนสิการ
ก็คือการนำเอาโยนิโสมนสิการมาใช้ในทางปฏิบัติ
หรือโยนิโสมนสิการที่เป็นภาคปฏิบัติการ

วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หรือเรียกสั้นๆ ว่า วิธี โยนิโสมนสิการ นี้
แม้จะมีหลายอย่างหลายวิธี แต่เมื่อว่าโดยหลักการก็มี ๒ แบบคือ

โยนิโสมนสิการที่มุ่งสกัดหรือกำจัดอวิชชาโดยตรงนั้น
ตามปกติเป็นแบบที่ต้องใช้ในการปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุด
เพราะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริง
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการตรัสรู้

ส่วนโยนิโสมนสิการแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา
มักใช้เป็นข้อปฏิบัติขั้นต้นๆ เพื่อมุ่งเตรียมพื้นฐานหรือพัฒนาตนเอง
ในด้านคุณธรรมให้เป็นผู้พร้อมสำหรับการปฏิบัติขั้นสูงขั้นไป
เพราะเป็นเพียงขั้นขัดเกลากิเลส

แต่โยนิโสมนาสิการหลายวิธีใช้ประโยชน์ได้ทั้งสองอย่าง
คือ ทั้งกำจัด อวิชชา และบรรเทาตัณหา ไปพร้อมกัน


วิธีโยนิโสมนสิการ คือการคิดเป็นระบบ ๑๐ แบบ
เท่าที่พบในบาลี พอประมวลเป็นแบบใหญ่ได้ดังนี้ คือ


๑. คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย หรือ สัมพันธภาพ (อิทัปปัจจยตา)

๒. คิดแบบวิเคราะห์ หรือ แยกแยะส่วนประกอบ (ขันธ์ ๕)

๓. คิดแบบอริยสัจจ์ คิดแบบแก้ทุกข์ แก้ปัญหา (อริยสัจ)

๔. คิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ สามกระแส (ไตรลักษณ์)

๕. คิดแบบสามมิติ หรือ เห็นคุณ เห็นโทษ ทางออก
(คุณ-โทษ-ทางออก)

๖. คิดแบบรู้คุณค่าแท้-คุณค่าเทียม (ปฏิสังขาโย)

๗. คิดแบบอรรถสัมพันธ์เสาสภา (สัตบุรุษ)

๘. คิดแบบเร้าคุณธรรม หรือ กุศลภาวนา (ชูความดี)

๙. คิดแบบอยู่กับปัจจุบัน (สติปัฎฐาน)

๑๐. คิดแบบวิภัชชวาท (แบบวิธีตอบปัญหา ๔ อย่าง
คือ ยืน-แยก-ย้อน-หยุด)


• ขบวนการทางการศึกษาของพระพุทธเจ้า

อาจกล่าวได้โดยสรุปดังนี้

บุรพภาคของการศึกษา
คือพื้นฐานที่จะให้เกิดระบบการศึกษาที่ถูกต้องมี ๗ อย่าง คือ

๑) กัลยาณมิตตตา - คบคนดี

๒) ฉันทสัมปทา - ใฝ่ดี

๓) สีลสัมปทา - มีระเบียบวินัย

๔) อัตตสัมปทา - รู้ศักยภาพตนเอง

๕) ทิฏฐิสัมปทา - เห็นชอบ

๖) ปอัปมาทสัมปทา - รู้จักค่าของเวลา-ไม่ประมาท

๗) โยนิโสมนสิการ - คิดเป็นระบบ


• ตัวการศึกษา

คือ มรรคมีองค์ ๘ มีความเห็นชอบเป็นต้น มีเป้าการศึกษา คือ

- พัฒนากาย (ภาวิตกาโย)
- พัฒนาสังคม (ภาวิตสีโล)
- พัฒนาจิต (ภาวิตจิตฺโต)
- พัฒนาปัญญา (ภาวิตปญฺโญ)


ผลการศึกษา คือ จิตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ
ซึ่งจะอำนวยประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและสังคม


สาธุ สาธุ สาธุ

รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก :
- หน่วยที่ ๖ พระพุทธศาสนากับปรัชญาการศึกษา :
พระไตรปิฎกวิจารณ์ (A Critical Study of the Tipitฺaka) ใน
พระไตรปิฎก ฉบับ CD ROM ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ. ปยุตฺโต), หน้า ๒๗, ธรรมสภา จัดพิมพ์, พ.ศ. ๒๕๕๐
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 28 ก.ค.2008, 4:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุจ้า...คุณกุหลาบสีชา

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ ทักทาย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง