Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 อยากถามเรื่องสังฆาทิเสส อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ani
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 23 ก.ค. 2008
ตอบ: 6

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2008, 2:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนนี้ผมบวชเป็นพระจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ผมได้คุยโทรศัพท์กับสีกาที่เป็นแฟน โดยได้คุยเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ แล้วก็มีอารมณ์ทางเพศกันทั้งสองฝ่าย แต่ระหว่างคุยผมไม่ได้ช่วยตัวเองและไม่ได้เก็บไปคิดจนฝันเปียก อยากถามว่าจะต้องสังฆาทิเสสหรือไม่ ถ้าติดสังฆาทิเสสต้องปฏิบัติอย่างไร
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2008, 3:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วินัยสงฆ์

วินัยสงฆ์ หรือพระวินัย เป็นกฎหมายของพระภิกษุ เป็นเครื่องควบคุมความประพฤติการปฏิบัติตนของภิกษุให้เป็นนักบวชที่น่าเคารพเลื่อมใส ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความศรัทธาชื่นชม และมีใจโน้มเข้าหาเพื่อฟังธรรมต่อไป

พระวินัยนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติตามเหตุที่บังเกิดขึ้น เมื่อมีภิกษุทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงประชุมสงฆ์ ตรัสถามเรื่องราวจากภิกษุผู้กระทำผิดให้ได้ความกระจ่าง แล้วทรงชี้ให้เห็นโทษของความประพฤติผิดนั้นๆ พร้อมกับทรงชี้ทางที่ควรประพฤติให้สงฆ์ได้ทราบ

ข้อห้ามนั้นจึงบัญญัติขึ้นเป็นพระวินัย ห้ามมิให้ภิกษุทำอีกต่อไป การทำผิดพระวินัยเรียกว่า อาบัติ พระภิกษุที่อาบัติต้องรับโทษหนักเบาตามความรุนแรงของอาบัติที่กระทำ

พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติชั้นความผิดที่รุนแรงมากน้อยตามลำดับ ดังนี้ คือ ความผิดขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก ชั้นรองลงมาตามลำดับคือ สังฆาทิเสส อนิยต นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ แต่ละขั้นมีจำนวนและรายละเอียดต่างกันไป แต่รวมแล้วเป็นข้อห้ามทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การไม่ทำสิ่งที่ทรงห้ามทั้ง ๒๒๗ ข้อ ก็คือการรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ที่พระภิกษุทุกรูปต้องถือปฏิบัติให้เคร่งครัดนั่นเอง

อาบัติ

คำว่า อาบัติ มาจากภาษาบาลีว่า อาปตติ หมายถึง “การทำผิดทางวินัยของพระสงฆ์” พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยแก่พระภิกษุสงฆ์ไว้เป็นสิกขาบท ๑๕๐ ข้อ ให้พระภิกษุปฏิบัติเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อการปฏิบัติธรรม ขจัดอาสวะกิเลสตามที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ หากภิกษุละเมิดวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็เรียกว่า อาบัติ หรือต้องอาบัติ เมื่อวินัยมีจำนวนมากดังนี้ ในบางครั้งพระภิกษุจึงอาจเผอเรอ กระทำผิดไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จึงได้ทรงบัญญัติวิธีแก้ความผิดนั้น คนทำผิดต้องรับโทษตามความผิดเพื่อจะได้รู้สำนึกและไม่กระทำผิดอีกต่อไป เมื่อความผิดมีความหนักเบาต่างกัน โทษก็ต้องหนักเบาต่างกันไปด้วย

การทำผิดทางวินัยหรืออาบัติของพระภิกษุสงฆ์ จำแนกตามหมวดหมู่ได้ดังนี้

อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่ละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ เสพเมถุน ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเอง ฆ่ามนุษย์ให้ตาย หรืออวดอุตริมนุสสธรรม ภิกษุผู้กระทำผิด เรียกว่า ต้องอาบัติปาราชิก โทษที่ได้รับเป็นโทษหนัก คือ การขาดจากความเป็นภิกษุ

อาบัติขั้นรองลงมา คือ สังฆาทิเสส หมายถึง ความผิดในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวน ๑๓ ข้อ เช่น มีความกำหนัดอยู่แล้วจับต้องกายหญิง มีความกำหนดอยู่แล้วพูดเกี้ยวหญิง เป็นสื่อชักให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นต้น ภิกษุผู้กระทำผิดเรียกว่า ต้องสังฆาทิเสส เป็นโทษระดับกลาง ต้องรับโทษ “อยู่กรรมทรมานตน” จึงจะพ้นอาบัติ การอยู่กรรมทรมานตน คือ การอยู่ในที่สงบในช่วงเวลาหนึ่ง สำรวมกายใจ ใคร่ครวญพิจารณาโทษของตนแล้วตั้งใจไม่กระทำความผิดเช่นนั้นอีก

อาบัติขั้นรองลงไป คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มีจำนวน ๓๐ ข้อ ปาจิตตีย์ มีจำนวน ๙๒ ข้อ เป็นโทษเบา เรียกชื่อเช่นเดียวกับความผิดนั้นเช่นเดียวกัน คือ ผิดขั้นนิสัคคิยปาจิตตีย์ ก็เรียกว่าต้องอาบัตินิสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติขั้นต่ำลงไปเป็นโทษเบา คือ ปาฏิเทสนียะ มีจำนวน ๔ ข้อ การปฏิบัติผิดเสขิยวัตรข้อใดข้อหนึ่งใน ๗๕ ข้อ จัดเป็นโทษเบา ผู้ที่ทำผิดโทษเบาจะต้องแสดงความผิดของตนต่อคณะสงฆ์

อนิยต มีจำนวน ๒ ข้อ เป็นความผิดที่ไม่กระจ่างชัด ว่าควรจัดเป็นโทษระดับใด จึงต้องมีการไต่สวนและพิจารณากำหนดขั้นโทษตามพยานหลักฐาน

อธิกรณสมถะ มีจำนวน ๗ ข้อ เป็นวิธีการพิจารณาว่าจะตัดสินความผิดนั้นหรือไม่อย่างไร เช่น ตัดสินตามเสียงข้างมาก การประนอมยอมความ เป็นต้น

ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอาบัติ ก็ถือกันว่าภิกษุรูปนั้นไม่บริสุทธิ์ จะไม่สามารถลงโบสถ์ร่วมทำสังฆกรรมกับภิกษุอื่นๆ ได้ จะต้องแก้อาบัติให้ตนกลับมีความบริสุทธิ์เสียก่อน การไม่กระทำความผิดข้อใดๆ ก็คือการรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัด นั่นเอง

การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัด เฉพาะเพื่อสำนึกผิด ยกจนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มุทิตาภาวนา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 24 ก.พ. 2008
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ค.2008, 3:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สังฆาทิเสส ๑๓

๑. ภิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส.

๒. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส.

๓. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส.

๔. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส.

๕. ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส.

๖. ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ จำเพาะเป็นที่อยู่ของตน ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาวเพียง ๑๒ คืบพระสุคต โดยกว้างเพียง ๗ คืบ วัดในร่วมใน และต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องสังฆาทิเสส.

๗. ถ้าที่อยู่ซึ่งจะสร้างขึ้นนั้น มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกินประมาณนั้นได้ แต่ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส.

๘. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสส.

๙. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส.

๑๐. ภิกษุพากเพียรเพื่อจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส

๑๑. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.

๑๒. ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.
๑๓. ภิกษุประทุษร้ายตระกูล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับว่าติเตียนสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.


อ้างอิง
หนังสือ...นวโกวาท (ฉบับประชาชน)
http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=1234&stissueid=2470&stcolcatid=2&stauthorid=19
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 10:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่ได้หมายถึงเณรใช่ไหมครับ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง