Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 3 วันแรกของการฝีกสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอถามนิดนะคะ ปีติ ในที่นี้ คืออะไรคะ ความยินดี ความสุขหรือว่า ดีใจ

ก็ทั้งหมดแหละครับ รวมความเอาว่า คือความอิ่มเอิบใจใจขณะทำสมาธินั้นอยู่

อย่าเช่นคุณดูยุบหนอ พองหนอ ก็ อิ่มเอิบใจใน ตอนดูยุบหนอ พองหนอ

แต่อยู่ไปสนใจมาก ให้ดูเฉย ๆ แล้วมันก็ต้องจากเราไป เปลี่ยนไปเป็นสภาวะอื่นอีก

ตอนท้ายสุดก่อนที่จะเลิกทำ ท่านอาจารย์ของผมท่านสอนว่า ให้ท่อง

สัพเพ สังขารา สัพเพสัญญา อนิจจา

สัพเพ สังขารา สัพเพสัญญา ทุกขา

สัพเพ สังขารา สัพเพสัญญา อนัตตา

ทุกครั้ง ป้องกันวิปลาสธรรม

เศร้า

ป.ล. อย่าติดใจในผู้ให้ธรรม แต่นำธรรมนั้นไปพิจารณาเป็นเพียงพอแล้วครับ

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 5:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะ สาธุ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 2:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วันนี้นั่งสมาธิมีคำถามอีกแล้วค่ะ(ถามบ่อยอย่าเพิ่งรำคาญนะคะ)..

วันนี้นั่งได้ประมาณเกือบหนึ่งชม.ค่ะ (จับเวลาดูนะคะขาดไปประมาณ 4 นาที ได้)แต่การนั่งไม่ได้ประติดประต่อสักเท่าไหร่ ตอนแรกเริ่มนั่งไปแล้วประมาณสิบกว่านาที ทีนี้ปวดท้อง(เหมือนท้องเสียอ่ะค่ะ)ก็กำหนดแต่ว่ามันไม่หายแบบว่ามันไม่ไหวแล้วก็เลยต้องออกจากสมาธิก่อน (อย่างนี้ผิดไหมคะ หรือว่าจริง ๆเราควรกำหนดให้มันหายไป)

ละก็รอบสองที่มานั่งนั้น ตอนท้าย ๆ รู้สึกว่าความปวดหายไป ลมหายใจอ่อนถึงอ่อนมาก สั้นมาก แล้วรู้สึกเหมือนตัวโยก คิดว่าโยกจริงค่ะ เพราะว่าตอนนั่งหลังมันใกล้ๆ กะเตียงรู้สึกมันไปเฉียด ๆนิดหน่อย(รู้สึกน่ะค่ะ) มันโยกไปข้างหน้ามากกว่าข้างหลัง โยกแรงมากกว่าเมื่อวานอีกค่ะ ขอถามว่าถ้าเกิดอาการแบบนี้เราตามดูแล้วกำหนดว่าโยกหนอ ๆๆจนหยุดได้ไหมคะหรือว่ายืดตัวให้ตรงหรือควรทำให้อาการโยกนั้นหยุดหรือปล่อยมันหยุดเองดีคะ

มีจังหวะหนึ่งตอนเรากำลังนั่งช่วงนั้นกำหนดโยกหนออยู่ แล้วสามีเปิดประตูเข้ามาพอดีแบบว่าร่างกายตกใจอัตโนมัติลืมตาเลยค่ะ ตกใจ แต่ไม่ได้ตกใจเลยแม้นิดเดียวนะคะ เพียงแต่ตามันลืมเอง ทั้งๆ ที่กำหนดอยู่ไม่คิดจะลืมตาแต่มันลืม เป็นเพราะอะไรคะ แต่หลังจากนั้นเราก็หลับตากำหนดต่อนะคะ (ได้หรือเปล่าคะ แบบว่ามันสะดุดลืมตาขึ้นมาแล้วอ่ะ)

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ....การฝึกจิตระหว่างวัน อย่างเวลาออกไปข้างนอก เราเข็นรถเข็น ลูกร้อง ขณะเดียวกันได้กลิ่นอะไรบางอย่าง และได้ยินเสียงคนคุยกันหรือเจอคนรู้จักทักทาย (ในเวลาเดียวกันนะคะ) เราควรกำหนดอะไรก่อนคะ

แล้วเวลาคนที่คุยกับเราปกติถ้าเรามีจิตอยู่กับตัวมีสมาธิเราต้องมีจิตที่จดจ่ออยู่กับคนที่เราคุยด้วยถูกหรือไม่คะ..

เดี๋ยวจะมาเอาคำตอบนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ สาธุ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ลองปฏิบัติก่อน แก้ปัญหาที่เกิด และพิจารณาด้วยปัญญา

อีก 7วัน จะกลับมาตอบครับ

เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 2:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ถ้าพรุ่งนี้เรานั่งแล้วไม่ปวดได้อีก เราก็คงจะนั่งราวๆ เวลาเท่านี้ทุกวัน (ถ้าหากทำได้) และก็จะเดินจงกรมก่อนอย่างที่คุณกรัชกายแนะนำแต่ว่า..คงจะเดินให้นานขึ้นกว่าเดิมสักนิด...ไม่รู้ว่าเพราะเหตุผลนี้ด้วยหรือเปล่าคะ ทำให้การนั่งสมาธิในวันนี้เป็นอย่างที่เล่ามา

ตอนที่ความปวดเราหายไปนั้น ที่รู้สึกว่ามันเย็นๆ ขึ้นมา เรารู้สึกตอนที่หลับตาด้วยว่า สีมันออกขาวๆ นวล ๆ นะคะ ไม่รู้จิตคิดปรุงแต่งไปเองหรือเปล่า ปกติเวลาหลับตาใหม่ ๆ สีมันจะเป็นเหมือนแดง ๆ ดำ ๆ ไม่ใช่แบบนี้อ่ะค่ะ

ขอถามอีกสักข้อนะคะว่า.....ถ้าหากเวลาที่จิตเราเผลอแว๊บไปคิดอะไรเนี่ย แล้วเราดันไม่รู้ตอนนั้นในขณะนั้นแบบว่า มันเร็วมากจะกำหนดคิดหนอๆๆก็ไม่ทันแล้ว คือ มันมารู้ตัวอีกทีตอนที่ว่ามันคิดผ่านไปแล้วอ่ะค่ะ ทำไงดีค่ะ..คือมันเร็วมาก แว๊บเดียวเองค่ะ ไม่นาน แต่ว่าเราไม่ทันมันอ่ะค่ะ
มีวิธีแนะนำไหม

กตัญญุตา : 10 ก.ค.2008, 2:23 am



มะได้เข้าเน็ตสะหลายวันคร้าบคุณกตัญญุตา

คุณคงปฏิบัติไปเรื่อยๆนะครับ

เริ่มตอบปัญหากันเลยครับ

ภาวะทุกอย่างที่เราประสบในขณะนั้นๆ เป็นประโยชน์แก่เราทั้งสิ้น ไม่ว่า

สุขหรือทุกข์ จะเปรียบก็เหมือนสิ่งที่สอนเรา ฝึกจิตใจเราให้เข็ม

แข็ง ฉลาดมีภูมิคุ้มใจ ไม่ให้หวั่นไหวกับความทุกข์เวทนา

แม้ประสบกับความสุขจิตใจก็เป็นปกติ ไม่ไหลไปกับสุขเวทนา

กำหนดดูรู้ทันมัน เพราะในแต่ละนาที แต่ละชั่วโมงที่ผ่านไปๆ

เราจะเห็นว่าสุขก็ดีทุกข์ก็ดี ไม่คงที่คงทนสักกะอย่างเดี่ยว

สิ่งที่คงทน ก็คือ ความมีจิตใจเป็นกลางไม่สุขไม่ทุกข์ หรือจะพูดว่ามี

จิตใจอยู่เหนือสุขเหนือทุกข์นั่น


แต่ปฏิบัติใหม่ๆก็เป็นธรรมดา เมื่อประสบสุข ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนอาจ

หวั่นไหวไปบ้าง ไม่เสียหาย แต่ให้กำหนดรู้ “สุขหนอๆๆ” ก็ใช้ได้

เมื่อรู้สึกเจ็บปวดเป็นทุกข์ “ทุกข์หนอๆๆ” แบบนี้ก็ไช้ได้เหมือนกัน

เพราะเราทำปริญญาในทุกข์สัจจะะแล้ว

อ้างอิงจาก:

ขอถามอีกสักข้อนะคะว่า.....ถ้าหากเวลาที่จิตเราเผลอแว๊บไปคิดอะไรเนี่ย แล้วเราดันไม่รู้ตอนนั้นในขณะนั้นแบบว่า มันเร็วมากจะกำหนดคิดหนอๆๆก็ไม่ทันแล้ว คือ มันมารู้ตัวอีกทีตอนที่ว่ามันคิดผ่านไปแล้วอ่ะค่ะ ทำไงดีค่ะ..คือมันเร็วมาก แว๊บเดียวเองค่ะ ไม่นาน แต่ว่าเราไม่ทันมันอ่ะค่ะ มีวิธีแนะนำไหม


เป็นธรรมดาครับ ใหม่ๆก็งี้แหละ เอาไว้สติตามทันกายใจถี่

ขึ้นๆ (จากการเดินจงกรม และการกำหนดอารมณ์แต่ละขณะๆอย่างที่

แนะนำนั่นล่ะ) ก็จะทันความคิดเอง

แต่ตอนนี้ นึกได้ ตอนไหน ก็กำหนดตอนนั้น เช่น นึกได้ว่า

อ้าว...เมื่อกี้เราคิดเรื่องนั้นๆ แต่จบไปแล้วนี่หว่า... กำหนด

“ลืมหนอๆ” หรือ “นึกได้หนอๆ” กำหนดรู้แล้วปล่อยมันไป ไม่มัว

พวงกับความคิดนั้นอีก ก็ใช้ได้แล้ว แล้วอยู่กับปัจจุบันธรรมในขณะนั้นๆต่อ

ปฏิบัติได้อย่างนี้ก็โอ.เคแล้วครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 5:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะคุณกรัชกาย สาธุ มินาล่ะหายไปเลย ก็ยังสงสัยว่าคงจะยุ่งๆ ละมัง..สบายดีนะคะ...
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 6:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ก็สบายตามสมควรแก่อัตภาพครับ)

อ้างอิงจาก:

วันนี้นั่งได้ประมาณเกือบหนึ่งชม.ค่ะ (จับเวลาดูนะคะขาดไปประมาณ 4 นาที ได้)
แต่การนั่งไม่ได้ประติดประต่อสักเท่าไหร่ ตอนแรกเริ่มนั่งไปแล้วประมาณสิบกว่านาที ทีนี้ปวดท้อง (เหมือนท้องเสียอ่ะค่ะ)
ก็กำหนด แต่ว่ามันไม่หายแบบว่า มันไม่ไหวแล้วก็เลยต้องออกจากสมาธิก่อน (อย่างนี้ผิดไหมคะ หรือว่าจริง ๆเราควรกำหนดให้มันหายไป)

เมื่อ: 10 ก.ค.2008, 5:41 pm



ไม่ผิดหรอกครับ

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่การตามดูกำหนดรู้รูปนาม คือ กายใจนี่

เอง อะไรเกิดขึ้นกำหนดอาการนั้นใช้ได้แล้วครับ


แล้วท้องเสียจริงๆหรือเปล่าครับ สังเกตหรือไม่ แล้วมันหายไปได้

อย่างไร
คุณสังเกตภาวะต่างๆครับ

พูดอีกอย่างว่า สภาวธรรมทั้งหลายมันมันเหมือนสิ่งมีชีวิตแล้วก็ฉลาด

ครับ เช่น สภาวะนี้ดับ สภาวะอีกอย่างก็เกิด ยิ่งกำหนดดูรู้ทัน

แล้วสนุกครับ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 6:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ตอนท้าย ๆ รู้สึกว่าความปวดหายไป ลมหายใจอ่อนถึงอ่อนมาก สั้นมาก แล้วรู้สึกเหมือนตัวโยก คิดว่าโยกจริงค่ะ เพราะว่าตอนนั่งหลังมันใกล้ๆ กะเตียงรู้สึกมันไปเฉียด ๆนิดหน่อย
(รู้สึกน่ะค่ะ) มันโยกไปข้างหน้ามากกว่าข้างหลัง โยกแรงมากกว่าเมื่อวานอีกค่ะ

ขอถามว่า ถ้าเกิดอาการแบบนี้เราตามดูแล้วกำหนดว่าโยกหนอ ๆๆจนหยุดได้ไหมคะ หรือว่ายืดตัวให้ตรงหรือควรทำให้อาการโยกนั้นหยุดหรือปล่อยมันหยุดเองดีคะ



คุณกตัญญุตา ควรเพิ่มจุดกำหนดอีกได้แล้ว ซึ่งก็คือ รูปนั่งเราเอง

นั่นแหละอีก

ตอนนี้คุณใช้พอง-ยุบแล้ว ตัวอย่าง เช่น พองหนอ ยุบหนอ

นั่งหนอ ฯลฯ

เมื่อกำหนดอาการนั่งอย่างนี้ เท่ากับว่าเราติดตามรูปนั่งด้วย จะเอียง

ซ้ายเอียงขวา โยกหน้า-โย้ไปข้างหลัง ตามทันหมดครับ


เมื่อรู้ตัวว่าเอียง “เอียงหนอๆ” รู้ตัวว่าโยก “โยกหนอๆ” ฯลฯ

เมื่อกำหนดรู้แล้วก็แล้วกัน เพียงเท่านี้อาการโยกเป็นต้นก็หยุดๆเพราะ

สติสัมปชัญญะตามทันครับ

โดยไม่ต้องยึดไม่ต้องขยับตัว กายจะตั้งตรงแน่ว


ไม่เชื่อทดลองครับ อยากให้รู้ด้วยการทดลองด้วยตนเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 6:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

มีจังหวะหนึ่ง ตอนเรากำลังนั่งช่วงนั้นกำหนดโยกหนออยู่ แล้วสามีเปิดประตูเข้ามาพอดีแบบว่าร่างกายตกใจอัตโนมัติลืมตาเลยค่ะ แต่ไม่ได้ตกใจเลยแม้นิดเดียวนะคะ เพียงแต่ตามันลืมเอง
ทั้งๆ ที่กำหนดอยู่ไม่คิดจะลืมตาแต่มันลืม เป็นเพราะอะไรคะ
แต่หลังจากนั้นเราก็หลับตากำหนดต่อนะคะ (ได้หรือเปล่าคะ แบบว่ามันสะดุดลืมตาขึ้นมาแล้วอ่ะ)



เป็นสัญชาติญาณระวังภัยของมัน (จิต)

ที่ไม่ตกใจ เพราะจิตใจเริ่มๆมั่นคงในกรรมฐานแล้วครับ

ไม่เป็นอะไรหรอกครับ

รู้สึกยังไงก็กำหนดอย่างนั้นเสีย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 6:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

การฝึกจิตระหว่างวัน อย่างเวลาออกไปข้างนอก เราเข็นรถเข็น ลูกร้อง ขณะเดียวกันได้กลิ่นอะไรบางอย่าง และได้ยินเสียงคนคุยกันหรือเจอคนรู้จักทักทาย (ในเวลาเดียวกันนะคะ)
เราควรกำหนดอะไรก่อนคะ

แล้วเวลาคนที่คุยกับเราปกติ ถ้าเรามีจิตอยู่กับตัวมีสมาธิ เราต้องมีจิตที่จดจ่ออยู่กับคนที่เราคุยด้วยถูกหรือไม่



จิตกระทบอารมณ์เช่นไร เรารู้สึกตัวก่อนก็อันนั้นแหละครับ


แต่เวลาเราคุยกับเพื่อนหรือทักทายกะคนรู้จักกัน เพียงคุมอารมณ์ให้อยู่

กับปัจจุบัน ณ ขณะนั้น หรือ เรื่องราวที่คุยกันก็ใช้ได้ครับ


(การกำหนด ก็คือการสำรวมอินทรีย์ ทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางกาย ทางใจไว้ได้หมด ตัวอย่าง เช่น เห็นหนอ

เสียงหนอ กลิ่นหนอ ฯลฯ คิดหนอ กิเลสใหม่ก็เข้าสู่จิตไม่ได้

และกำจัดกิเลสเก่าให้หมดไปด้วยการกำหนดนี่แหละครับ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

อ้อ อีกนิดๆๆๆๆนะคะ ลืมเล่าค่ะว่าตอนท้ายๆ ก่อนจะออกสมาธิ ตอนที่ไม่ปวดแล้ว รู้สึกสบายแล้ว
การหายใจของเราเป็นจังหวะดี แต่ทำไมเหมือนตัวเรากระเพื่อมขึ้นลงคะ คือ รู้ตัวนะคะ แต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น และก็ที่แปลกกว่านั้นก็คือ นั่งนานกว่าทุกวัน แต่เท้าเป็นตะคิวแค่นิดเดียวเอง ไม่ต้องถึงกับนวดก็หายไปเอง
แต่วันก่อนๆ ที่นั่งแค่สามสิบนาที นวดเป็น 5-10 นาทีเลยค่ะ กว่าตะคริวจะหาย แปลกจัง

กตัญญุตา: 10 ก.ค.2008, 2:29 am


ไม่แปลกหรอกครับ ในเมื่อเราฝึกนั่งฝึกเดินดังกล่าวบ่อยๆ

อกุศลธรรมที่คอยกีดกันก็ลดน้อยลงๆ

เลือดลมในกายก็เดินสะดวกด้วย กุศลธรรมต่างๆก็เจริญขึ้น ๆ

จึงมีผลถึงลมหายใจด้วย หมายความว่า เมื่อร่างกายเบา

สบาย เพราะทุกข์เวทนาบางเบา ลมหายใจก็นิ่มนวลเป็นจังหวะดี

สติเพิ่มขึ้นก็จึงรู้สึกว่าตัวท้องกระเพื่อมๆ เพราะลมเข้าลมออกกระทบ

ครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 17 ก.ค.2008, 7:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ขอบคุณค่ะคุณ rarm ตั้งใจจะปฏิบัติต่อไปเรื่อย ๆค่ะ นอกจากมีเหตุจริง ๆที่ไม่สามารถทำได้..และพยายามจะไม่ขี้เกียจด้วย..เพราะเคยเป็นนะคะ บางครั้งแบบว่าสวดมนต์ทุกวัน แล้วมีบางวันแบบ
ขี้เกียจจัง หรือไม่ไหวแล้ว (คือปวดหัว ไม่สบาย) ก็จะไม่ได้สวดไป ซึ่งจะทำให้รู้สึกผิดทุกครั้งเลยนะคะ แต่คิดว่าพระท่านคงจะเข้าใจบ้างน่ะค่ะ หนูก็ปุถุชนคนหนึ่ง

กตัญญุตา: 10 ก.ค.2008, 1:03 pm



ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ไม่หวั่นไหวต่ออกุศลจิตหรือต่อกุศลจิต

รู้สึกอย่างไรให้กำหนดอย่างนั้น

รู้สึกขี้เกียจขึ้นมา “ขี้เกียจหนอๆ”

รู้สึกขยัน “ขยันหนอๆๆ”

รู้สึกปวดหัว หรือ ไม่สบาย เป็นต้น ก็เช่นกัน

กำหนดแล้วแล้วเลย จะนอนพักก็ได้ เพราะจบกิจที่การกำหนดภาวะนั้น

แต่ละขณะๆแล้ว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 19 ก.ค.2008, 3:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะ สาธุ อุตส่าห์มาตอบให้..ละเอียดมากเลยค่ะ ยิ้ม

เดี๋ยวไว้มีคำถามจะมาถามอีกนะคะ ตอนนี้อ่านหนังสือที่ดร.สนอง วรอุไร เขียนดีจังค่ะ.. ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ค.2008, 10:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะ วันนี้มีคำถามอีกแล้วค่ะ


ตอนนี้ก็นั่งสมาธิไปเรื่อย ๆนะคะ ตอนนี้กลายเป็นว่าเดินจงกรมอยู่ที่ประมาณ 40-45 นาทีแล้ว เป็นไปเองอัตโนมัติในทุกวัน ก็แปลกนะคะ พอถึงเวลาเลิกเดินแล้วดูนาฬิกาตรงเป๊ะเลย..จากนั้นก็นั่งสมาธิ จากเมือก่อนนั่งไม่ถึงชั่วโมงตอนนี้ก็นั่งไป 1 ชม. บางทีก็ 1 ชม. 5 นาที ลืมตาขึ้นมาก็เป๊ะเหมือนทุกวัน คือเหมือนร่างกายจะรู้ว่าตอนเกิดเวทนาแล้ว พอถึงตรงนี้ๆ แล้ว พอเสร็จแล้วเวลาจะเท่าเดิมอ่ะค่ะ อาจมีต่างกันบ้างก็เล็กน้อย..และมีความรู้สึกว่าเด๋วนี้เวลาเดินไปเร็วจัง อย่างเวลาเดินหรือนั่ง ทังๆ ที่ดูเหมือนไม่นานแต่จริงๆ แล้วนาน..ไม่นาเชื่อเลยว่าเราเดินไปได้ ไม่เหมือนตอนนั่งแรกๆ 10-30 นาทีนี่แบบเหมือนนานมากเลยนะคะ แล้วทำไมเหมือนว่ามันนั่งนานขึ้นๆ เดินนานขึ้น ๆ ล่ะคะ แปลกจัง

อยากถามว่าตอนนั่งสมาธิบางครั้งมีความรู้สึกว่าตัวเองหยุดหายใจจริง ๆค่ะ แล้วสติมาอีกทีเราก็แบบหายใจเข้ารู้ว่าตะกี้เราไม่ได้หายใจ มันหยุดไปอ่ะค่ะ เป็นเพราะว่าสติเราไม่อยู่กับเราใช่ไหมคะ ความรู้สึกไม่ได้หลับนะ แต่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ทุกวันนี้ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็รู้สึกว่ามันสงบมากขึ้นตอนท้าย ๆ ก่อนจะออกสมาธิอ่ะค่ะ แล้วความปวดเมื่อยที่เคยมากมาย ตอนนี้มันก็แป๊บๆ ละ แล้วก็หายไป เด๋วก็มาอีก เด๋วก็หายไป แต่ก็ไม่ถึงกับทรมานมากเท่าตอนแรกๆ แป๊บเดียวมันก็ชาและเย็น ช่วงขาไม่รู้สึก

ถามหน่อยนะคะวาการนั่งสมาธิจำเป็นต้องนั่งตรงแด่วตลอด 1 ชม.เลยไหมคะ เพราะว่าเวลาเรานั่งเริ่มนั่งก็ตัวตรงนะคะ แต่ไป ๆมาๆ รู้สึกเหมือนหลังคอ่มลงแล้วก็หน้าก้มนิด ๆ เราก็กำหนดให้ยืดตัวตรง เงยหน้าขึ้นได้หรือเปล่าคะ หรือว่าต้องตรงแด่วแบบไหนแบบนั้นตั้งแต่เริ่มจนออกจากสมาธิเลยคะ

แล้วอาการตัวโยกยังมีอยู่บ้างแต่ไม่แรงมาก อ่อน ๆ พอเรากำหนดรู้เด๋วมันก็หยุด แต่มันก็เป็นอีกน่ะค่ะ บางทีถึงตอนที่กำลังแผ่อยู่ เราโยก เราก็รู้ว่าโยก แต่ว่าติดแผ่อยู่ก็เลยไม่ได้กำหนดโยกเพราะว่าอยากแผ่ให้จบก่อนแล้วค่อยกลับมากำหนดได้ไหมคะ

ตอนท้ายๆ ทำไมอารมณ์มันเหมือนกับเราไม่ได้กำหนดยุบพอง ๆ อ่ะค่ะ ไม่เหมือนตอนแรก บอกไม่ถูก จะมีช่วงหนึ่งเหมือนว่าเราไม่ได้กำหนด แต่เรารู้ตัว มันเกิดจากอะไรคะ เพราะเราไม่มีสมาธิใช่หรือไม่

ถามอีกนะคะถ้าเราไม่มีชุดขาวใส่เวลาปฏิบัติเราใส่ชุดธรรมดามีสีสัน การ์ตูนบ้างเป็นอะไรหรอืเปล่าคะ เพราะว่าหาไม่มีจริง ๆกางเกงเสื้อขาวเราก็ไม่ค่อยซื้อ แต่ว่าแม่จะส่งเสื้อยืดสีขาวมาให้อ่ะค่ะ เราขอเองเพราะรู้สึกเหมือนว่ามันไม่สุภาพหรือเปล่า

ตอนนอนบางวันและเวลาลืมตาขึ้นมา บางทีเหมือนน้ำตาไหล แต่ไม่ได้ร้องไห้ มันเกี่ยวกับการนั่งสมาธิไหมคะ แต่ว่าเมื่อก่อนไม่เป็นนะ..หรือว่าสายตาเราไม่ดีกันแน่..

เอาถามแค่นี้ก่อนละกันค่ะ คุณกรัชกาย คุณ Rarm สบายดีนะคะ ช่วงนี้อ่านหนังสือที่เว็บกัลยาณธรรมหลายเล่ม ชอบมากๆ เลยอ่านแล้วคิดตามดีจังค่ะ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2008, 6:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ทำได้นานขึ้นนั้น เป็นเพราะใจเริ่มเป็นสมาธิมากขึ้นแล้วครับ

ไม่ว่าจะเดินหรือนั่งก็ตาม ยิ่งอิริยาบทเดินนั้นได้สติดีกว่านั่งมาก และสมาธิก็ตั้งอยู่ได้นานกว่าด้วยครับ

เป็นอาการของสมาธิน่ะครับ

---

แล้วความปวดเมื่อยที่เคยมากมาย ตอนนี้มันก็แป๊บๆ ละ แล้วก็หายไป เด๋วก็มาอีก เด๋วก็หายไป แต่ก็ไม่ถึงกับทรมานมากเท่าตอนแรกๆ แป๊บเดียวมันก็ชาและเย็น ช่วงขาไม่รู้สึก

ตรงนี้ได้โอกาสแล้ว ให้ดูความไม่เที่ยงของเวทนาเลยครับ ว่า ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ถือว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาควบสมถะไม่เสียเปล่าครับ

----

ถามหน่อยนะคะวาการนั่งสมาธิจำเป็นต้องนั่งตรงแด่วตลอด 1 ชม.เลยไหมคะ เพราะว่าเวลาเรานั่งเริ่มนั่งก็ตัวตรงนะคะ แต่ไป ๆมาๆ รู้สึกเหมือนหลังคอ่มลงแล้วก็หน้าก้มนิด ๆ เราก็กำหนดให้ยืดตัวตรง เงยหน้าขึ้นได้หรือเปล่าคะ หรือว่าต้องตรงแด่วแบบไหนแบบนั้นตั้งแต่เริ่มจนออกจากสมาธิเลยคะ

ตอบ เป็นก็ได้ ไม่เป็นก็ได้ เพราะเราอาจเผลอสติเมื่อไหร่ก็ไม่รู้เป็นเพียงอาการทางกายที่เปลี่ยนแปลงไป

เอาไว้ถ้าสมาธิเราสามารถทรงอยู่ได้นานๆ จะหายสงสัยเองครับ

-----
ตอนท้ายๆ ทำไมอารมณ์มันเหมือนกับเราไม่ได้กำหนดยุบพอง ๆ อ่ะค่ะ ไม่เหมือนตอนแรก บอกไม่ถูก จะมีช่วงหนึ่งเหมือนว่าเราไม่ได้กำหนด แต่เรารู้ตัว มันเกิดจากอะไรคะ เพราะเราไม่มีสมาธิใช่หรือไม่

ตอบ ก็เรารู้ตัวว่า จะเลิกทำแล้ว ใจมันก็ปล่อยหมดน่ะซิครับ อันนี้และของแท้ครับ ว่าง แต่ยังเป็นว่างแบบผิวๆ นะครับ

ลองทำดูแล้วจะรู้ว่าว่างโล่งเป็นอย่างไร ทำดูนะครับ
---
ส่วนสองคำุถามสุดท้ายอันแรกอยู่ที่ใจ แต่ถ้าใส่ขาวได้ก็ดีครับ เรียกว่า ขาวนอกขาวใจ คือ กายขาว จิตขาว จะทำให้ความรู้สึกนั้นมันบริสุทธิ์ ดี



เศร้า

ไม่ได้แล้วต้องเร่งปฏิบัติซะหน่อย เดี๋ยวโดนแซง ขายหน้าแย่

ขออนุโมทนาด้วยนะครับ

จงรักษาความเพียรเท่าชีวิตครับแล้วจะเห็นผลทันตา

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2008, 12:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ตอนนี้ก็นั่งสมาธิไปเรื่อย ๆนะคะ ตอนนี้กลายเป็นว่าเดินจงกรมอยู่ที่ประมาณ 40-45 นาทีแล้ว เป็นไปเองอัตโนมัติในทุกวัน ก็แปลกนะคะ พอถึงเวลาเลิกเดินแล้วดูนาฬิกาตรงเป๊ะเลย..จากนั้นก็นั่งสมาธิ จากเมือก่อนนั่งไม่ถึงชั่วโมงตอนนี้ก็นั่งไป 1 ชม. บางทีก็ 1 ชม. 5 นาที ลืมตาขึ้นมาก็เป๊ะเหมือนทุกวัน คือเหมือนร่างกายจะรู้ว่าตอนเกิดเวทนาแล้ว พอถึงตรงนี้ๆ แล้ว พอเสร็จแล้วเวลาจะเท่าเดิมอ่ะค่ะ อาจมีต่างกันบ้างก็เล็กน้อย..และมีความรู้สึกว่าเด๋วนี้เวลาเดินไปเร็วจัง
อย่างเวลาเดินหรือนั่ง ทั้งๆ ที่ดูเหมือนไม่นานแต่จริงๆ แล้วนาน..ไม่น่าเชื่อเลยว่าเราเดินไปได้ ไม่เหมือนตอนนั่งแรกๆ 10-30 นาทีนี่แบบเหมือนนานมากเลยนะคะ แล้วทำไมเหมือนว่ามันนั่งนานขึ้นๆ เดินนานขึ้น ๆ ล่ะคะ แปลกจัง

กตัญญุตา: 22 กรกฎาคม 2008, 10:35 pm



สวัสดีเช่นกันครับ คุณกตัญญุตา

สบายดีครับ หวังว่าคุณก็คงสบายดี

อนุโมทนาสาธุในสัมมาปฏิบัติครับ

คุณมีความมุ่งมั่นจิตใจเด็ดเดี่ยวพอควร กิเลสมารมันก็ยอมครับ

หมั่นสังเกตสภาพธรรมที่กระทบทั้งทางกาย ทางใจ (ความรู้สึกนึก

คิด) อย่างนั้นแหละถูกต้องแล้วครับ


เรื่องเวลาก็เดินตามปกติของมัน แต่คุณกำลังเพลินอยู่กับสิ่งที่ทำ

จึงรู้สึกว่าเวลาเดินเร็วจัง เด๋วชั่วโมงเด๋ววัน

ในทางตรงข้าม หากเรารอคอยใครหรือรอเวลาอะไรสักอย่าง

หนึ่ง ความรู้สึกจะตรงข้ามเลยว่าทำไมเวลาช้าจัง หรือเมื่อไรจะ

สว่างสักที เคยเป็นหรือรู้สึกเช่นนี้ไหมครับ


นาฬิกาจับเวลา แรกๆจำเป็น แต่เมื่อฝึกจนชำนาญแล้ว นาฬิกาก็

ไม่จำเป็นอีกต่อไป มันจะรู้เอง


คุณทบทวนสิครับกระทู้แรก คุณกลัวจนไม่กล้าหลับตา

อารมณ์นั้น วันนี้ยังหลงเหลืออยู่ไหม

สมมุติว่าวันนี้มีคนมาพูดอย่างนั้นอีกคุณจะรู้สึกอย่างไร น่าจะพูดกับเขา

เหล่านั้นว่าอย่างไร


ทุกข์เวทนาก็เหมือนกัน แรกๆทุกข์ปางตาย กับวันนี้เป็นอย่างไร

เมื่อนึกทบทวนก็จะเห็นว่า อารมณ์ความรู้สึกดังกล่าวเป็นต้น แปร

แปรเปลี่ยนไป ไม่แน่นอน

แต่จิตใจกลับมั่นคงตั้งมั่นหนักแน่นขึ้น

เข้าใจกายใจตนกว่าแต่ก่อน

ฝึกและหมั่นสังเกตทบทวนด้วยตนต่อไปครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2008, 12:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ตอนนั่งสมาธิบางครั้งมีความรู้สึกว่าตัวเองหยุดหายใจจริง ๆ ค่ะ แล้วสติมาอีกทีเราก็แบบหายใจเข้ารู้ว่าตะกี้เราไม่ได้หายใจ มันหยุดไปอ่ะค่ะ เป็นเพราะว่าสติเราไม่อยู่กับเราใช่ไหมคะ
ความรู้สึกไม่ได้หลับนะ แต่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ทุกวันนี้ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็รู้สึกว่ามันสงบมากขึ้น ตอนท้าย ๆ ก่อนจะออกสมาธิอ่ะค่ะ แล้วความปวดเมื่อยที่เคยมากมาย
ตอนนี้มันก็แป๊บๆ ละ แล้วก็หายไป เด๋วก็มาอีก เด๋วก็หายไป แต่ก็ไม่ถึงกับทรมานมากเท่าตอนแรกๆ แป๊บเดียวมันก็ชาและเย็น ช่วงขาไม่รู้สึก


ลมหายใจไม่หยุดหรอกครับ ยังหายใจอยู่นั่นแหละ แต่บางครั้งมัน

ละเอียดบางเบาจนสติละเอียดไม่พอ ก็จึงไม่เห็น

อย่ากังวลประเด็นนี้ครับ ไม่เสียหายอะไร

หมั่นกำหนดไปอย่างนั้นแหละแล้วสติจะละเอียดเอง

เมื่อลมหายก็กำหนดว่าหายไป แล้วจึงกำหนดภาวะที่ชัดเจนไว้ก่อน

เมื่อลมมาแล้วค่อยกำหนดต่อ


เรื่องทุกขเวทนา อย่างที่คุณรู้ด้วยตนนั่นแหละ เกิดได้ดับได้ตาม

ธรรมชาติของมัน

เมื่อสติตามทันถี่ขึ้นๆ จิตไม่ยึดอยู่นานครับ กำหนดรู้ก็ดับๆ

ตามสภาพของมัน ไม่มีอะไรผิดปกติครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2008, 12:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
การนั่งสมาธิจำเป็นต้องนั่งตรงแด่วตลอด 1 ชม.เลยไหมคะ เพราะว่าเวลาเรานั่งเริ่มนั่งก็ตัวตรงนะคะ แต่ไป ๆมาๆ รู้สึกเหมือนหลังค่อมลงแล้วก็หน้าก้มนิด ๆ เราก็กำหนดให้ยืดตัวตรง
เงยหน้าขึ้นได้หรือเปล่าคะ หรือว่าต้องตรงแด่วแบบไหนแบบนั้นตั้งแต่เริ่มจนออกจากสมาธิเลยคะ



รู้สึกเหมือนหลังค่อมลงแล้วก็หน้าก้มนิด ๆ เราก็กำหนดให้ยืดตัวตรง
เงยหน้าขึ้นได้หรือเปล่าคะ หรือว่าต้องตรงแด่วแบบไหนแบบนั้นตั้งแต่เริ่มจนออกจากสมาธิเลยคะ


เคยลืมตาสังเกตดูไหม ว่าก้มหน้านิดๆหลังค่อมลงจริงๆ หรือเป็นเพียง

ความรู้สึกเท่านั้น

ค่อยๆลืมตาสังเกตดูได้ครับ ไม่มีปัญหา

แต่เมื่อรู้สึกว่า....ก็กำหนดตามความรู้สึกนั้น เพื่อตัดความรู้สึกเช่นว่า

นั้นก่อน

ไม่ต้องกังวลประเด็นนี้นะครับ อาจเป็นเพียงความรู้สึก จึงให้กำหนด

ตามที่รู้สึกไงครับ

แต่เมื่อต้องการรู้ว่าจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ ก็ลืมตาดูมันเลย

หรืออย่างที่คุณทำก็ไม่เสียหายครับ


หรือว่าต้องตรงแด่วแบบไหนแบบนั้นตั้งแต่เริ่มจนออกจากสมาธิเลยคะ


ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวถึงขนาดนั้นหรอกครับ

เป็นอย่างไรก็กำหนดรู้เท่านี้เอง เมื่อกำหนดแล้วกายใจมันจะปรับเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2008, 12:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
แล้วอาการตัวโยกยังมีอยู่บ้างแต่ไม่แรงมาก อ่อน ๆ พอเรากำหนดรู้เด๋วมันก็หยุด แต่มันก็เป็นอีกน่ะค่ะ บางทีถึงตอนที่กำลังแผ่อยู่ เราโยก เราก็รู้ว่าโยก แต่ว่าติดแผ่อยู่ก็เลยไม่ได้กำหนดโยกเพราะว่าอยากแผ่ให้จบก่อนแล้วค่อยกลับมากำหนดได้ไหมคะ



คุณกำลังนึกคำแผ่เมตตาใช่ไหมครับ ไม่เป็นไร

เมื่อจิตแวบไปเกาะโยก เราก็แค่ “รู้” วิบเดียวพอ

แล้วแผ่เมตตาต่อไป ไม่มีปัญหาครับ

ที่คุณทำนั่นถูกแล้วพอกำหนดมันก็หยุด เพราะสติคุมอาการนั้นโดยตรง

แต่พอไปนึกคำแผ่เมตตา จึงโยก แสดงว่า จิตยังไม่สงบหรือนิ่งพอ

หรือจะพูดว่า องค์ธรรมมีสติเป็นต้น ยังคุมจิตไม่เต็มร้อย

แต่ก็อยู่ในระดับที่ดีสำหรับคุณตอนนี้

อาการที่เล่าว่าโยกอ่อนๆ ไม่แรง นั่นแหละบอกให้รู้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ค.2008, 12:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ตอนท้ายๆ ทำไมอารมณ์มันเหมือนกับเราไม่ได้กำหนดยุบพอง ๆ อ่ะค่ะ ไม่เหมือนตอนแรก บอกไม่ถูก จะมีช่วงหนึ่งเหมือนว่าเราไม่ได้กำหนด แต่เรารู้ตัว มันเกิดจากอะไรคะ เพราะเราไม่มีสมาธิใช่หรือไม่



พอง-ยุบเป็นอารมณ์หลัก แต่เมื่อจิตมันไม่อยู่กับพองกับยุบ

เบลอๆ ไม่รู้ว่าจะกำหนดว่าอย่างไรดี แต่ก็รู้ตัวไม่หลับ กำหนด

เพียงแค่ “รู้หนอๆ” ตามความรู้สึกนั้น ก็ได้

คือ เรารู้ว่ามันเป็นอย่างนั้น กำหนดอาการนั้นได้เลย ไม่ปล่อยอารมณ์

นั้นให้ค้างใจอยู่

มันเกิดจากสติสัมปชัญญะไม่ชัดพอ แต่ไม่ต้องตกใจครับ

ไว้เมื่อเราตามทันอารมณ์ย่อยๆ

ได้มากขึ้นก็ชัดเอง เอางี้สะครับ ยามใช้ชีวิตประจำวัน จะหยิบจับ

อะไรทำความรู้สึกให้ได้บ่อยครับเท่าที่ทำได้ เป็นการสร้างสติเก็บเล็ก

ผสมน้อยไปเรื่อยๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง