Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 พุทธมามากะผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา :กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ภาพจิตรกรรม “บัวทิพย์ บัวสวรรค์”
สร้างสรรค์โดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]



พุ ท ธ ม า ม า ก ะ : ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

• ความหมาย

คำว่า “พุทธมามกะ” ตามรูปศัพท์มาจากคำว่า พุทธ (พระพุทธเจ้า)
มามก (เรา, ของเรา) แปลว่า ผู้ยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นของเรา
หมายถึง ผู้ประกาศตนว่านับถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ที่พึ่งของชีวิต

ในภาษาไทย ปรากฏความหมาย
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ว่า
พุทธมามกะ หมายถึง ผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา
หรืออักนัยหนึ่ง การแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ คือ

การประกาศตนยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่งที่นับถือของตน
โดยความหมาย ก็คือ ประกาศตนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา
เป็นการประกาศศรัทธา คือ ความเคารพนับถือในพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์
ที่มีอยู่ในใจตนให้ปากฎออกมาภายนอกด้วยกิริยาวาจา
เพื่อให้ผู้อื่นได้รับทราบว่า
ตนมีความเคารพนับถืออย่างไร

• ประวัติของพุทธมามะกะ

การแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ
ปรากฏเป็นครั้งแรกสมัยพุทธกาล
โดยเริ่มตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ
ณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์แล้ว
ประทับเสวยวิมุตติสุขในสถานที่ต่างๆ รวม ๗ แห่งๆ ละ ๗ วัน

และในสัปดาห์ที่ ๗ อันเป็นสัปดาห์สุดท้าย
พระพุทธองค์ประทับเสวยวิมุติสุขที่ภายให้ร่มไม้เกตุ
อันได้นามว่า “ราชายะตะนะ” นั้น

ขณะนั้น สมเด็จพระอมรินทราธิราช ทรงดำริว่า

“พระผู้มีพระภาค ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วนับได้ ๔๙ วัน
ถึงวันนี้ พระองค์ยังไม่ได้เสวยพระกระยาหารและถ่ายพระบังคน”


จึงนำผลสมออันเป็นทิพยโอสถมาจากเทวโลก เข้าไปถวาย
พระพุทธองค์ทรงรับมาเสวย
แล้วทำสรีรกิจลงพระบังคน
แล้วท้าวสหัสสนัยน์ก็อยู่เฝ้าถวายการปฏิบัติพุทธองค์ด้วยกิจต่างๆ
เช่น การถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์ เป็นต้น

ครั้งนั้น มีพ่อค้าพาณิชย์ ๒ พี่น้อง ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ
นำสินค้าบรรทุกกองเกวียนเดินทางมาจาก อุกกละชนบทผ่านมาทางนั้น
ด้วยอานุภาพแห่งเทวดาองค์หนึ่งซึ่งเคยเป็นญาติกับ ๒ พ่อค้าในอดีตชาติ
เห็นสองพ่อค้าแล้วคิดว่า

“พ่อค้าทั้งสองนี้ พากันลุหลงวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏสิ้นกาลช้านาน
ควรที่เราจะสงเคราะห์ให้ได้รับประโยชน์สุขอันอุดม”


จึงบันดาลพาเกวียนไปผิดทางแล้วแสดงตนให้ปรากฏ
กล่าวชี้แนะให้สองพ่อค้านำสัตตุก้อนสัตตุผง
อันเป็นเสบียงทางเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค

สองพ่อค้าก็ปฏิบัติตามน้อมนำข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงเข้าไปถวาย
พบพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใต้ร่มไม้เกตุ
ประกอบด้วยทวัตติงสะมหาปุริสสลักษณะ
มีพระรัศมีรุ่งเรืองไม่เคยพบเห็นมาก่อน

จึงคิดว่า

“พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก
ซึ่งนับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐยิ่งนักแล้ว”


เข้าไปกราบทูลว่า

“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
ขอพระองค์จงทรงอนุเคราะห์รับบิณฑบาตไทยทาน
เพื่อประโยชน์สุขแก่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งตลอดกาลนานเถิด”


(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 5:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า

“บาตรของตถาคตได้หายไปก่อนวันตรัสรู้
ต้องรับข้าวมธุปายาสของนางสุดชาดาด้วยพระหัตถ์
หลังจากนั้นมา ยังมิได้เสวยพระกระยาหารเลย

บัดนี้สองพาณิชย์นำอาหารมาถวาย
ตถาคตจะได้บาตรมาแต่ที่ไหน”


เมื่อพุทธองค์ทรงดำริอย่างนั้น

ทันใดนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ได้นำบาตรศิลาสีเขียวองค์ละใบ
มาจากทิศทั้ง ๔ น้อมเข้าไปถวาย

พระผู้มีพระภาคทรงดำริว่า

“บรรพชิตรูปหนึ่งไม่ควรมีบาตรเกินกว่า ๑ ใบ”

จึงทรงอธิษฐานให้บาตรทั้ง ๔ ใบนั้น
ประสานเข้าเป็นใบเดียวกัน
แล้วทรงรับข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงของสองพานิชด้วยบาตรนั้น

เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว
นายพานิชสองพี่น้องกราบทูลแสดงตนเป็นอุบาสก
ขอถึงพระพุทธะกับพระธรรมเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต
เนื่องจากด้วยขณะนั้นยังไม่มีพระสงฆ์เกิดขึ้น

อุบาสกทั้งสองจึงได้นามว่า “เทววาจิกอุบาสก”
นับเป็นอุบาสกคู่แรก และคู่เดียวในโลก ผู้ถึงรัตนะสองประการ


นอกจากนี้ยังมีบิดามารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ
ได้ประกาศตนนับถือพระพุทธศาสนา
โดยประกาศรับเอาพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะของตน
นับเป็นอุบาสก อุบาสิกา
ผู้ถึงพระรัตนตรัยชุดแรกในพระพุทธศาสนา

(มีต่อ : พุทธมามกะในประเทศไทย)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส


• พุทธมามกะในประเทศไทย

เรื่องการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
ปรากฏครั้งแรกในประเทศไทยมาเมื่อไรนั้น
ยังไม่มีหลักฐานบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ
ปรากฏแต่ในหนังสือที่มีคำนำนิพนธ์
ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ได้ทรงชี้แจงเหตุผลและที่มาของพิธีแสดงตน
เป็นพุทธมามกะอย่างละเอียดว่า

“เมื่อการถือศาสนาไม่เป็นเพียงเฉพาะตัว
ถือกันทั่วทั้งสกุลและสืบชั้นลงมา
มารดาบิดายอมนำบุตรธิดาของตนให้เข้าถึงพระศาสนา
ที่ตนนับถือตั้งแต่ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสา
มีเรื่องเล่าไว้ในอรรถกถาว่า

นิมนต์พระสำหรับสกุลไปแล้ว
ขอให้ขนานชื่อและให้สิกขาบทแก่เด็ก
ขอให้ขนานชื่อไม่เคอะ
ขอให้สิกขาบทเคอะอยู่หรือให้พอเป็นพิธีเท่านั้น

ธรรมเนียมเมืองเรา
เจ้านายประสูติใหม่นำเข้าเมื่อสมโภชเดือน
เชิญเสด็จออกมาหาพระสงฆ์

ถ้าเป็นพระกุมาร
พระสังฆเถระผูกพระหัตถ์ด้วยด้ายสายสิญจน์
ถ้าเป็นพระกุมารีพาดสายสิญจน์ไว้มุมเบาะข้างบน
แล้วพระสงฆ์สวดอำนวยพระพรด้วยบาลีว่า

โส อตฺถลทฺโธ... หรือ สา อตฺถลทฺธา... โดยควรแก่ภาวะ

บุตรธิดาของสกุลที่ไม่ได้ทำขวัญเดือน
ดูเหมือนนำมาขอให้พระผูกมือให้เท่านั้น
ความรู้สึกก็มาเป็นทางเข้าพระศาสนา
เป็นไปเพียงทางรับมงคลเนื่องด้วยพระศาสนา”

“นำเข้าพระศาสนาแต่ยังเด็ก
เด็กไม่รู้สึกด้วยตนเอง
เมื่อโตขึ้นที่เป็นชายจึงนำเข้าบรรพชาเป็นสามเณร
และอุปสมบทเป็นภิกษุที่เจ้าตัวได้ปฏิญาณและได้ความรู้สึก
การนำและสำแดงซ้ำอย่างนี้เป็นทัฬหีกรรม
คือ ทำให้มั่น เช่นเดียวกับอุปสมบทซ้ำ”

“เมื่อความนิยมในการบวชเณรจืดจางลง
พร้อมกับเข้ากับการส่งเด็กออกไปเรียนในยุโรป
ก่อนแต่มีอายุสมควรบวชเณร
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัว
ทางพระราชปริวิตกว่า
เด็กๆ จักหาได้ความรู้สึกในทางพระศาสนาไม่

จึงโปรดให้พระราชโอรสผู้มิได้เคยทรงผนวชเป็นสามเณร
ทรงปฏิญาณพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา
อนเสด็จออกไปศึกษาในยุโรป

ครั้งนั้นใช้คำสำแดงเป็นอุบาสกตามแบบบาลี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เป็นพระองค์แรกปฏิญาณพระองค์
ตามธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่นั้น
และใช้เป็นราชประเพณี ต่อมาได้ทราบว่า
ผู้อื่นจากพระราชวงศ์เห็นชอบตามพระราชดำริ ทำตามบ้างก็มี”

“ธรรมเนียมนี้แม้ได้ใช้นานมาแล้ว
ยังไม่ได้เรียบเรียงไว้เป็นแบบแผน

คราวนี้ สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า (รัชกาลที่ ๖)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จะส่ง
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมพฏพงศ์บริพัตร
พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
กับหม่อมเจ้าอื่นๆ ออกไปศึกษาในยุโรป

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิต
มีพระประสงค์จะให้พระโอรสได้ปฏิญาณพระองค์
ในพระพุทธศาสนาตามธรรมเนียมที่พระองค์ได้เคยทรงมา
พระบิดาและพระญาติของหม่อมเจ้าอื่นก็ทรงดำริร่วมกัน

เป็นอันว่า ธรรมเนียมนี้ยังจักใช้อยู่ต่อไป
ข้าพเจ้าจึงเรียบเรียงตั้งเป็นแบบไว้ทีเดียว
สำหรับใช้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจ้านาย
ได้แก่บท “อุบาสก” เฉพาะผู้ใหญ่ผู้ได้ศรัทธาเลื่อมใสด้วยตนเอง
เป็น “พุทธมามะกะ” ที่แปลว่า ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน”


(มีต่อ : วัตถุประสงค์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 08 ก.ค.2008, 5:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

• วัตถุประสงค์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

๑. เมื่อมีบุตรหลานของตนมีอายุพ้นเขตเป็นทารก
เจริญวัยอยู่ในระหว่างอายุ ๑๒ ถึง ๑๕ ปี
ก็ประกอบพิธีให้บุตรหลานได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ
เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธตามตระกูลวงศ์ต่อไป

๒. เมื่อจะส่งบุตรหลานของตนซึ่งเป็นชาวพุทธอยู่แล้ว
ให้ไปอยู่ในถิ่นที่ไม่ใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนา
เพื่อการศึกษาหรือเพื่อประโยชน์ใดๆ ก็ตาม
เป็นการที่ต้องจากถิ่นไปนานแรมปี
ก็นิยมประกอบพิธีให้บุตรหลานของตนที่จะจากไปนั้น
แสดงตนเป็นพุทธมามกะ
เพื่อให้เด็กระลึกอยู่เสมอว่าตนเป็นพุทธศาสนิกชนหรือ

๓. เมื่อจะปลูกฝังนิสัยเยาวชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนา
ส่วนมากทางโรงเรียนที่สอนวิชา
ทั้งสามัญและอาชีวศึกษาแก่เด็ก ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มชาวพุทธ
นิยมประกอบพิธีให้นักเรียนที่เข้าศึกษาใหม่ในรอบปี
ได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะหมู่

คือ แสดงรวมกันเป็นหมู่ ทำปีละครั้งในวันที่สะดวกที่สุด
เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญ
ในการที่ตนเป็นชาวพุทธร่วมอยู่กับชาวพุทธทั้งหลาย
และ

๔. เมื่อมีบุคคลต่างศาสนาเกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ต้องการจะประกาศตนเป็นชาวพุทธ
ก็ประกอบพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
เพื่อประกาศว่า นับแต่นี้ไปตนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว

(มีต่อ : ความสำคัญของการเป็นพุทธมามกะ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง