Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 3 วันแรกของการฝีกสมาธิ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 6:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดิฉันเริ่มนั่งสมาธิสามวันมาแล้วค่ะ ขจัดความกลัวออกไปได้แล้ว ตอนนี้ไม่มีตกใจแล้วค่ะ

การนั่งสมาธิวันแรก ดิฉันไม่ได้กำหนดเวลานะคะ เอาเท่าที่เราพอจะทำได้เท่านั้น วันแรกรู้สึกเท้าชา และก็เหมือนจะชาจนเราไม่อยากจะทนนั่งอีกต่อไป(อาจเพราะเราไม่อดทนด้วยมั๊งคะ)ใช้กำหนด พุทโธ ดูลมหายใจเข้าออกแต่เราทำแบบเหมือนฝืนคือนึกว่าต้องสูดยาว ๆ อ่ะค่ะ มันเลยเหมือนหายใจไม่ธรรมชาติ พอฝึกเสร็จถามแม่ แม่บอกว่าให้หายใจปกติ ไม่ต้องฝืน คนเราหายใจสั้นยาวไม่เท่ากัน ของใครของมันก็ให้กำหนดไปตามที่มันจะเป็น ตามลมหายใจของเรา

วันที่สอง(เอาใหม่) ดีหน่อยค่ะ รู้สึกสบายมาก เบาเลย ไม่เจ็บเท้าเหมือนวันแรก ใจยังคิดว่า เอ๊ะทำไมไม่ปวด รอให้ปวดก็ไม่ปวด แต่ว่ามีตะคริวกินนิดหน่อย แต่ไม่เหมือนวันแรก รู้สึกลมหายใจยาวขึ้น เป็นจังหวะ คือรู้สึกว่ามันเป็นเองโดยธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนสูดเข้าออกยาวๆ เหมือนวันแรก รู้สึกเหมือนว่าจะนั่งได้นานเท่าไหร่ก็ได้(อาจเพราะไม่ปวดขา) ได้ยินเสียงอะไรขณะนั่งก็พยายามไม่สนใจและดึงสติกลับมาที่เดิมคือดูลมหายใจ เข้าออกอย่างเดียว

ส่วนวันที่สามเมื่อวานนี้รู้สึกปวดชาเท้าขวามาก ปวดหลังด้วยทั้งๆ ที่นั่งหลังตรง แต่นั่งๆ ไปเรื่อย ๆทำไมเหมือนหน้าเราก้มลงตลอดเลย(เป็นเองทุกครั้ง) ทั้งๆ ที่พยายามมองให้หน้าตรงแล้ว ปวดหลัง ปวดก้นกบมากๆๆจนเหมือนจะทนไม่ไหว พยายามจะทน (แต่ก็ทนไม่ได้อีกแล้ว)และก็ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่เลย เพราะว่าวันที่สามเราลองกำหนดแบบยุบหนอ พองหนอ กำหนดที่ท้องยุบ เข้า แล้วสับสนมาก รู้สึกว่ายากกว่าพุทโธ การหายใจกับการยุบพองเราไปไม่พร้อมกัน พอทำไม่ได้เราก็กำหนดพุทโธต่ออีก พอพุทโธได้ก็ลองมายุบหนออีก สรุปว่าเหมือนตีกันไปหมดเลยค่ะ...

มีคำถามค่ะ..ขอท่านผู้รู้ช่วยตอบด้วย..


1. ดิฉันนั่งสมาธิวันแรก ไม่ทราบนั่งถูกหรือไม่ รู้สึกปวดเท้าขวาที่ขึ้นมาวางทับซ้ายน่ะค่ะ เวลาลุกทีชามาก เหมือนตะคริวกิน อันนี้ปกติหรือไม่คะ


2. ถ้าดิฉันถนัดภาวนาพุทโธ กำหนดที่ลมหายใจเข้าออก คือตามลมหายใจไปเลย เช่น หายใจเข้า ออกเป็นอย่างไร ลมผ่านตรงไหน สุดตรงไหน อะไรอย่างนี้ โดยไม่สนใจสิ่งอื่น คือไม่กำหนดที่พุงได้ไหมคะ เพราะคิดว่าแบบนี้ง่ายกว่าสำหรับดิฉัน

3. ถ้าเวลาได้ยินเสียงหรืออะไรก็แล้วแต่ มีบางคนบอกว่าให้กำหนด เสียงหนอ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มากระทบ แต่ถ้าเราไม่ถนัดคำที่ลงท้ายด้วยหนอ เราสามารถใช้วิธีนี้แทนได้ไหมคะ คือ พยายามไม่สนใจสิ่งที่มากระทบ ดึงจิตกลับมาให้อยู่ที่ลมหายใจต่อไป เวลาได้ยินเสียงก็เหมือนเราใช้จิตบอกตัวเองว่า เราได้ยินเสียงนะ แต่ว่าไม่ต้องกำหนดว่าเสียงหนอ ได้ไหมคะ แล้วก็ดึงจิตให้กลับมาที่ลมหายใจต่อ

4. หลังจากรู้สึกพอกับการนั่งสมาธิแล้ว เราก็ลืมตาได้เลยถูกไหมคะแล้วไม่ทราบว่าหลังจากนั่งสมาธิแล้วเราจะแผ่เมตตาแบบสัพเพ สัตตา ฯ แบบสั้น ๆ ได้ไหมคะ หรือว่าบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำจากการนั่งสมาธิในวันนี้ขอแผ่(หรือใช้คำว่าอุทิศคะ)ให้กับ.........อย่างนี้ได้ไหมคะ

5. ถ้าเรารู้สึกปวดมากๆ จนทนไม่ไหว เราควรนั่งต่อไปหรือว่าไม่ต้องฝืนดีคะ หรือสามารถเปลี่ยนอิริยาบถให้ความปวดนั้นหายไปแทนได้ไหม เช่น เปลี่ยนท่านั่งเป็นขัดสมาธิชั้นเดียว(เหมือนเคยดูคลิปของหลวงพ่อจรัญท่านบอกว่าได้อ่ะค่ะ)

อาจจะถามเยอะไปหน่อยนะคะ แต่ว่าอยากทำให้ถูกต้องน่ะค่ะ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยตอบให้ด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าเลยค่ะ สาธุ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 7:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอตอบตามที่ได้ปฏิบัติมานะครับ

1. ดิฉันนั่งสมาธิวันแรก ไม่ทราบนั่งถูกหรือไม่ รู้สึกปวดเท้าขวาที่ขึ้นมาวางทับซ้ายน่ะค่ะ เวลาลุกทีชามาก เหมือนตะคริวกิน อันนี้ปกติหรือไม่คะ

อันนี้เป็นปกติสำหรับทุกคนที่จะต้องเจอกับอาการนี้ตอนฝึกใหม่นะครับ

ต้องอดทนนิดนึงให้เลยความชาไป หรือเอาสติไปอยู่กับลม โดยไม่ต้องสนใจกับอาการชา ก็จะหายไปเองครับ

2. ถ้าดิฉันถนัดภาวนาพุทโธ กำหนดที่ลมหายใจเข้าออก คือตามลมหายใจไปเลย เช่น หายใจเข้า ออกเป็นอย่างไร ลมผ่านตรงไหน สุดตรงไหน อะไรอย่างนี้ โดยไม่สนใจสิ่งอื่น คือไม่กำหนดที่พุงได้ไหมคะ เพราะคิดว่าแบบนี้ง่ายกว่าสำหรับดิฉัน

ก็ได้เหมือนกัน แต่จะไม่ชำนาญในสมาธิวิธี และจะไม่สามารถทรงสมาธิอยู่ได้นาน

การกำหนดที่ถูกต้องตาม หลักที่พระพุทธเจ้าทรงสอน และได้รจนามาโดยหลวงพ่อพุทธทาส กล่าวว่า

มีอยู่ 4 ขั้นง่าย คือ
1 กำหนด
2 ตาม
3 ตั้ง
4 เพ่ง

1 กำหนดคือ กำหนดจุดที่ลมหายใจกระทบ คือ

จุดที่ 1---หายใจเข้าที่ปลายจมูก

จุดที่ 2---ผ่าน หทัย ( ลิ้นปี่)

จุดที่ 3---สุดที่สะดือ แต่ในความเป็นจริง จุดสุดที่ก่อนถึงสะดือ 2นิ้วครับ แต่เพือให้กำหนดได้โดยง่าย เลยสมมติเอาว่าสุดที่สะดือครับ

2 กำหนดคือ เวลาลมหายใจออก ก็จะเริ่มจากสะดือ ผ่านลิ้นปี่ และสุดที่ปลายจมูก

เมื่อกำหนดจุดได้แล้ว ก็มาทำความรู้จักกับลมก่อน คือลมเข้ายาวสุดเป็นอย่างไร มีผลกับร่างกายอย่างไร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็ให้สังเกตดูนะครับ

แล้วมาลองหายใจสั้นสุดซิว่า มันเป็นผลกับร่างกายอย่างไรบ้าง

ฝึกอย่างนี้ซัก 3-4 ครั้ง คือก่อนเริ่มดูลมปกติ ให้ทำอย่างนี้ก่อนทุกครั้งครับ

แล้วก็มาหาว่า หายใจปกติและสบายที่สุดเป็นอย่างไรมีลมยาวขนาดไหนจึงจะพอดีกับร่างกายเราคือร่างกายเรานั้นมีความเบาสบาย กายเบา จิตก็เบาครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 7:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่อข้อ 3ครับ

3. ถ้าเวลาได้ยินเสียงหรืออะไรก็แล้วแต่ มีบางคนบอกว่าให้กำหนด เสียงหนอ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มากระทบ แต่ถ้าเราไม่ถนัดคำที่ลงท้ายด้วยหนอ เราสามารถใช้วิธีนี้แทนได้ไหมคะ คือ พยายามไม่สนใจสิ่งที่มากระทบ ดึงจิตกลับมาให้อยู่ที่ลมหายใจต่อไป เวลาได้ยินเสียงก็เหมือนเราใช้จิตบอกตัวเองว่า เราได้ยินเสียงนะ แต่ว่าไม่ต้องกำหนดว่าเสียงหนอ ได้ไหมคะ แล้วก็ดึงจิตให้กลับมาที่ลมหายใจต่อ

อันนี้ถูกต้องแล้วครับ

ให้เราดึงจิตกลับมาดูลมได้เลย ไม่ต้องสนใจ หรือใส่ใจก็ได้

หรือจะกำหนดแบบว่า เสียงที่เราได้ยินนั้น มันเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ในขณะลมเข้าหรือว่า ลมออกก็ได้ นะครับ ผมใช้อันนี้อยู่ครับ

หรือจะลองวิธีอื่นที่ถนัด แล้วแต่อุบายของตัวเองที่จะคิดได้ ไม่ตายตัวครับ

4. หลังจากรู้สึกพอกับการนั่งสมาธิแล้ว เราก็ลืมตาได้เลยถูกไหมคะแล้วไม่ทราบว่าหลังจากนั่งสมาธิแล้วเราจะแผ่เมตตาแบบสัพเพ สัตตา ฯ แบบสั้น ๆ ได้ไหมคะ หรือว่าบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำจากการนั่งสมาธิในวันนี้ขอแผ่(หรือใช้คำว่าอุทิศคะ)ให้กับ.........อย่างนี้ได้ไหมคะ

อันนี้ก็ถูกต้องแต่ยังไม่ทั้งหมดครับ

เคยไปกราบพระเดชพระคุณหลวงพ่อ มหาวิบูลย์ พุทธญาโณ หลวงพ่อท่านบอกว่า เมื่อเวลาทำสมาธิเสร็จแล้ว นั้น อย่าออกมาเลย ให้พิจารณา ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ของขันธ์ 5 หรือ พิจารณาอาการ 32 ก็ได้ เพื่อเป็นบาทฐานของวิปัสสนา ทุกครั้ง จิตจะได้เคยชิน และทำเป็นอาจิน จะได้ ชำนาญ ในสมาธิและวิปัสสนา คือไม่เสียเปล่าทั้งสองด้านครับ

แต่อีกพระอาจารย์หนึ่งคือพระอาจารย์ที่ผมฝึกอยู่กับท่าน ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อ ได้สอนว่า เมื่อก่อนจะเลิกทำ ให้กำหนด การทำสมาธิตั้งแต่ต้นมาเสียก่อนว่า เราทำอะไรไปบ้าง เป็นการทวนสมาธิ หรือว่าถ้าได้ญาณ ก็จะเป็นการทวนญาณไปในตัว หรือเป็นบาทฐาน ต่อไปก็ได้ด้วย

แล้วค่อยมาอธิฐาน เสร็จแล้วแผ่เมตตาให้ตัวเอง จนมีกำลังแล้ว จึงแผ่ให้กับผู้อื่นด้วย เพราะแล้วเราก็เหมือนกับท่องคำแผ่นเมตตาไปเฉย แต่แผ่เมตตานั้นไปได้ไม่ไกล ต้องทำจิตให้มีกำลังเสียก่อนจึงแผ่เมตตาครับ

5. ถ้าเรารู้สึกปวดมากๆ จนทนไม่ไหว เราควรนั่งต่อไปหรือว่าไม่ต้องฝืนดีคะ หรือสามารถเปลี่ยนอิริยาบถให้ความปวดนั้นหายไปแทนได้ไหม เช่น เปลี่ยนท่านั่งเป็นขัดสมาธิชั้นเดียว(เหมือนเคยดูคลิปของหลวงพ่อจรัญท่านบอกว่าได้อ่ะค่ะ)

อันนี้ถ้าทนได้ก็ลองทนดูครับ แต่ว่า จะมีเวทนามาก ก้นเหมือนติดไฟไว้เลย ซึ่งถ้าเลยจุดนี้ไป ก็ผ่านครับ ผ่านเวทนา

แต่ถ้าเราทำอานาปานสติ อย่างที่คุณทำอยู่ ส่วนใหญ่ปัญหานี้จะเกิดน้อย เพราะเราสามารถกำหนดให้ลมหายใจไปวนอยู่บริเวณที่ปวดได้ จะทำให้เวทนานั้นเบาเทาลงได้บ้างครับ

ขออนุโมทนานะครับ

คุณเริ่มต้นได้ดีแล้ว แต่ต้องทำต่อเนื่องนะครับ จึงจะเห็นผล

แต่อย่าคาดหวังอะไรในการทำ แต่ให้ทำใจให้สบาย นะครับ จิตจะได้ผ่อนครายไม่เครียด แต่ก็ต้องตั้งใจนะครับ

เอาแต่พอดีๆ อันนี้ต้องหมั่นสังเกต เอาเองครับ

ป.ล. หลังจากเลิกทำแล้วให้จับลมหายใจต่อไปอย่าปล่อยใจไปอันนี้จะได้ผลเร็วขึ้นไปอีกคือทำได้ทั้งวันนั่นเองครับ

เศร้า สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ดิฉันเริ่มนั่งสมาธิสามวันมาแล้วค่ะ ขจัดความกลัวออกไปได้แล้ว ตอนนี้ไม่มีตกใจแล้วค่ะ


ธรรมชาติมันสอนเราว่ากลัวคู่กับไม่กลัว เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ไม่มี

อะไรคงตัวถาวรครับ ไม่ว่าสุขว่าทุกข์

เมื่อตั้งความเห็นชอบอย่างนี้แล้ว ต่อๆไปอะไรเกิดขึ้น หรือประสบกับสิ่ง

ใด ก็ไม่หวั่นไหวหวาดหวั่นต่อสิ่งนั้น สาธุในการตั้งใจจริงครับ

อ้างอิงจาก:

การนั่งสมาธิวันแรก ดิฉันไม่ได้กำหนดเวลานะคะ เอาเท่าที่เราพอจะทำได้เท่านั้น วันแรกรู้สึกเท้าชา และก็เหมือนจะชาจนเราไม่อยากจะทนนั่งอีกต่อไป (อาจเพราะเราไม่อดทนด้วยมั๊งคะ)


แรกๆ ควรกำหนดเวลาประกอบด้วยครับ จะได้ฝึกไปพร้อมๆกันทั้งกาย

และใจ จะได้เข็มแข็งคู่กันไป

สมมุตินั่ง 20 นาที เดินจงกรม 20 นาที ฝึกไปแบบนี้แหละ

เมื่อร่างกายพร้อมจิตใจเข็มแข็งสติสมาธิเพิ่มขึ้น ก็เพิ่มเวลาขึ้นไปอีก

5-10 นาที เป็น 25-30 นาที ฯลฯ เมื่อร่างกายปรับอยู่ตัวแล้วจิตใจ

สงบขึ้นอีก ก็ปรับเวลาขึ้นไปอีก 5-10 นาที

ฝึกทำนองนี้แหละไปเรื่อยๆ กุศลธรรม ณ ภายในจะเจริญๆขึ้นเรื่อยๆ


อ้างอิงจาก:

พอฝึกเสร็จถามแม่ แม่บอกว่าให้หายใจปกติ ไม่ต้องฝืน คนเราหายใจสั้นยาวไม่เท่ากัน
ของใครของมันก็ให้กำหนดไปตามที่มันจะเป็น ตามลมหายใจของเรา


คุณแม่พูดถูกต้องครับ ไม่ฝืนลมหายใจ มันเป็นอย่างไรก็รู้ตาม

ที่มันเป็น เรามิได้ฝึกหายใจครับ แต่ใช้ลมหายใจเป็นที่ฝึกสติ


อ้างอิงจาก:

ได้ยินเสียงอะไรขณะนั่งก็พยายามไม่สนใจ และดึงสติกลับมาที่เดิม คือ ดูลมหายใจ เข้าออกอย่างเดียว


ไม่ต้องพยายามอะไรหรอกครับ มันได้ยินของมันเอง หน้าที่เรา คือ รู้

ตามที่ธรรมชาติมันเป็น

เป็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้นแต่ละขณะๆไป

หูได้ยินเสียงเป็นเรื่องธรรมชาติ เมื่ออายตนะภายในคือหู กระทบกับ

อายตนะภายนอก คือ เสียงเกิดโสตวิญญาณก็รู้ว่า เออ นั่นเสียงนี่ ก็จบ

ครับ ไม่ต้องถามต่อว่านั้นเสียงอะไรเสียงใคร ฯลฯ

เมื่อไม่ถนัดหนอ ก็บ่เป็นหยังคับ แค่รับรู้ว่าเสียง โดยไม่ปรุงต่อก็ใช้

ได้ แล้วดูลมเข้าออก

สังเกตลมเข้าลมออกไปเรื่อยๆ อะไรกระทบก็ใช้วิธีดังกล่าว

อ้างอิงจาก:
ส่วนวันที่สามเมื่อวานนี้รู้สึกปวดชาเท้าขวามาก ปวดหลังด้วยทั้งๆ ที่นั่งหลังตรง แต่นั่งๆ ไปเรื่อย ๆ ทำไมเหมือนหน้าเราก้มลงตลอดเลย (เป็นเองทุกครั้ง) ทั้งๆ ที่พยายามมองให้หน้าตรงแล้ว ปวดหลัง ปวดก้นกบมากๆๆ จนเหมือนจะทนไม่ไหว พยายามจะทน (แต่ก็ทนไม่ได้อีกแล้ว)และก็ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่เลย เพราะว่าวันที่สามเราลองกำหนดแบบยุบหนอ พองหนอ
กำหนดที่ท้องยุบ เข้า แล้วสับสนมาก รู้สึกว่ายากกว่าพุทโธ การหายใจกับการยุบพองเราไปไม่พร้อมกัน พอทำไม่ได้เราก็กำหนดพุทโธต่ออีก พอพุทโธได้ก็ลองมายุบหนออีก สรุปว่าเหมือนตีกันไปหมดเลยค่ะ...



ใช้กรรมฐานหลายอย่างปนกันอารมณ์จึงตีกันเป็นธรรมดาครับ

พุทโธเหมาะกับเราก็ใช้พุทโธ

แต่ขณะใดรู้สึกเจ็บปวดที่นั่นที่นี่ หรือ รู้สึกว่าหน้าก้ม เป็นต้น ให้ทำ

ความรู้สึกตัวว่ามันเป็นอย่างนั้น มิใช่ฝืนมัน ทำความรู้สึกตัวครับ

กำหนดจิตตามอาการ แล้วดูลมต่อ

ตรงนี้สำคัญ มันเป็นอย่างไร ก็รู้อย่างนั้น ไม่ฝืนสภาวะ รู้ตามที่

มันเป็น มิใช่ทำให้มันเป็นตามที่เราต้องการ

แม้กระทั่งความไม่รู้สึกว่าปวดดังกล่าวข้างต้น แต่เมื่อจิตหลุดคิดถึง

อาการนั่นว่า ทำไมๆไม่ปวดอีกล่ะ รออยู่นะ อย่างนี้แหละท่าน

เรียกว่าปรุงแต่งแล้วครับ ทิ้งกรรมฐานแล้ว


เมื่อจิตคิดอย่างนั้นกำหนดด้วย คิดแล้วๆๆ

(ในเมื่อไม่ถนัด ใช้...หนอ ก็ไม่เป็นไร จุดประสงค์เพื่อให้

โยคีกำหนดรู้ทันความคิดแต่ละขณะๆ โดยไม่ปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆต่อ

อีก)

บอร์ดใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ย.2010, 6:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

1. ดิฉันนั่งสมาธิวันแรก ไม่ทราบนั่งถูกหรือไม่ รู้สึกปวดเท้าขวาที่ขึ้นมาวางทับซ้ายน่ะค่ะ เวลาลุกทีชามาก เหมือนตะคริวกิน อันนี้ปกติหรือไม่คะ


1. ปกติครับ จึงได้บอกว่า กำหนดเวลาด้วย ควรเริ่มจากน้อยไปหา

มาก แล้วเดินจงกรมร่วมด้วย

อ้างอิงจาก:

2. ถ้าดิฉันถนัดภาวนาพุทโธ กำหนดที่ลมหายใจเข้าออก คือตามลมหายใจไปเลย เช่น หายใจเข้า ออกเป็นอย่างไร ลมผ่านตรงไหน สุดตรงไหน อะไรอย่างนี้ โดยไม่สนใจสิ่งอื่น คือไม่กำหนดที่พุงได้ไหมคะ เพราะคิดว่าแบบนี้ง่ายกว่าสำหรับดิฉัน


2. ถนัดแบบนั้นใช้อย่างนั้นได้ครับ

อ้างอิงจาก:

3. ถ้าเวลาได้ยินเสียงหรืออะไรก็แล้วแต่ มีบางคนบอกว่าให้กำหนด เสียงหนอ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่มากระทบ แต่ถ้าเราไม่ถนัดคำที่ลงท้ายด้วยหนอ เราสามารถใช้วิธีนี้แทนได้ไหมคะ คือ พยายามไม่สนใจสิ่งที่มากระทบ ดึงจิตกลับมาให้อยู่ที่ลมหายใจต่อไป เวลาได้ยินเสียงก็เหมือนเราใช้จิตบอกตัวเองว่า เราได้ยินเสียงนะ แต่ว่าไม่ต้องกำหนดว่าเสียงหนอ ได้ไหมคะ แล้วก็ดึงจิตให้กลับมาที่ลมหายใจต่อ


3. ประเด็นนี้บอกไว้แล้วข้างต้น ได้ครับ ในเมื่อไม่ถนัดหนอ เสียงนะก็

ได้ แล้วหยุดแค่นั้น

ไม่ปรุงแต่งว่า เสียงอะไรใครพูด ดีไม่ดีเป็นต้น แค่รู้ว่าเสียงก็พอ

และพุทโธๆ ดูลมเข้าออกต่อ

อ้างอิงจาก:

4. หลังจากรู้สึกพอกับการนั่งสมาธิแล้ว เราก็ลืมตาได้เลย ถูกไหมคะ แล้วไม่ทราบว่า หลังจากนั่งสมาธิแล้ว เราจะแผ่เมตตาแบบสัพเพ สัตตา ฯ แบบสั้น ๆ ได้ไหมคะ หรือว่าบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำจากการนั่งสมาธิในวันนี้ขอแผ่(หรือใช้คำว่าอุทิศคะ)ให้กับ.........อย่างนี้ได้ไหมคะ



4. เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว คิดว่าจะพอแล้วจะเลิกแล้ว ก็รู้ตัวว่าจิต

คิดอย่างนั้น แล้วก็ค่อยๆลืมตา เหยียดแข้งเหยียดขาให้เลือดลมเดิน

สะดวก หลังจากนั้น จะกรวดน้ำแผ่เมตตาอุทิศยังไงให้ใครก็สุดแล้วแต่

เราครับ

อ้างอิงจาก:

5. ถ้าเรารู้สึกปวดมากๆ จนทนไม่ไหว เราควรนั่งต่อไป หรือ ว่าไม่ต้องฝืนดีคะ หรือ สามารถเปลี่ยนอิริยาบถให้ความปวดนั้นหายไปแทนได้ไหม เช่น เปลี่ยนท่านั่งเป็นขัดสมาธิชั้นเดียว (เหมือนเคยดูคลิปของหลวงพ่อจรัญท่านบอกว่าได้อ่ะค่ะ)



5. ประเด็นนี้แหละ จึงบอกว่าควรกำหนดเวลาก่อน เพื่อที่เราจะได้รู้

ว่า ขณะที่ปวดนั้นกี่นาที

สมมุติว่านั่งได้ 5-10 นาทีปวดอย่างนี้น้อยไปควรต่อ

แต่ถ้านั่งนานเกินไปทั้งๆที่เราเพิ่งฝึกได้ไม่กี่วันเอง นั่งพรวดเอาเป็น

ชั่วโมงๆเลย อย่างนี้เกินไป

ฝึกใหม่ๆควรกำหนดเวลาด้วย แล้วก็ค่อยๆปรับขึ้นไปอย่างที่เล่าข้างต้น

แบบนี้ดิถึงจะเรียกว่า ฝึกกายฝึกใจ


สมมุติว่า กรัชกายจะถามว่า คุณนั่งนานไหมจึงปวดแบบที่ว่านั้น

คุณคงตอบไม่ได้ว่านานเท่าใด


เพราะฉะนั้นจึงแนะนำกว้างๆให้พิจารณาเท่านี้ก่อน ไว้แน่นอนแล้วค่อย

ถามประเด็นนี้ใหม่นะครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 10:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณมากนะคะที่มาตอบให้ สาธุ

เป็นประโยชน์กับเราผู้ฝึกใหม่มาก ๆ มีหลายอย่างที่เราไม่ค่อยรู้ ทำผิดทำถูก ตอนนี้พอรู้แล้วว่าอะไรถูกเราก็จะปฏิบัติตามให้ได้นะคะ

อ้อ มีคำถามอีกข้อค่ะ ถามว่าอย่างเราอยู่ต่างประเทศ เป็นแม่ มีลูกสองคน(คนโต 6 ขวบ คนเล็ก 3 ขวบ) บางทีการเข้านอนในบางวันอาจไม่เป็นเวลา ปกติจะเป็นเวลานะคะ แต่อย่างวันนี้ถ้านอนกลางวันลูกจะนอนดึกในตอนกลางคืน หรือบางวันไปข้างนอกกลับมาเลยเวลาปฏิบัติหรือมีงานต้องให้ทำแล้วเวลาที่ปฏิบัติอาจไม่ได้มีมาก เราควรทำอย่างไรคะ คือ เราสวดมนต์ทุกวันนะคะ แต่ยกเว้นวันที่ทำไม่ได้จริง ๆ ด้วยเหตุผลข้างต้นที่กล่าวไป แต่ถ้าสมาธิอย่างสมมติวันนี้ลูกนอนดึก เราก็ไม่รู้ว่าจะได้ฝึกตอนกี่โมง ปกติฝึกตอนลูกหลับอ่ะค่ะ (ตอนหนึ่งทุ่ม)ถ้าไม่หลับก็คงทำไม่ได้แน่ๆ อย่างนี้ถ้าเรามียกเว้นบ้างในบางครั้งเช่นบางวันที่เราอาจไม่สบายด้วย จะเป็นอะไรหรือเปล่าถ้าหากว่ามีเหตุให้วันนี้ทำไม่ได้จริง ๆ เพราะว่าชอบจะรู้สึกผิดถ้าเคยทำแล้วไม่ได้ทำน่ะค่ะ..
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 5:44 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าเป็นการดูลมก็ทำได้ทั้งวันอยู่แล้ว

ก็ไม่ประมาท ทำซัก 5 นาทีก็ยังดีครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 7:33 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ถ้าเรามียกเว้นบ้างในบางครั้ง เช่น บางวันที่เราอาจไม่สบายด้วย
จะเป็นอะไรหรือเปล่า
ถ้าหากว่ามีเหตุให้วันนี้ทำไม่ได้จริง ๆ เพราะว่าชอบจะรู้สึกผิดถ้าเคยทำแล้วไม่ได้ทำน่ะค่ะ.


การเจริญสติ ปลุกความรู้สึกตัว ทำได้ฝึกได้ทุกอิริยาบถครับ

เอางานที่กำลังจับกำลังทำฝึกได้เลย

ดูวิธีใช้งานฝึกอิทธิบาทลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14744

และตัวอย่างการฝึกกรรมฐานที่ดี คห. 11 ลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16427&postdays=0&postorder=asc&start=20

ความรู้สึกผิดอย่างที่บอก อย่ากังวลใจครับ ว่างตอนไหนทำตอนนั้น

ไม่ว่างก็ไม่ทำ เพราะเราใช้งานประจำฝึกสติสัมปชัญญะอยู่แล้ว ก็

เท่ากับว่าเราค่อยๆเจริญกุศลธรรมอยู่แล้ว

หากยังรู้สึกกังวลใจอย่างที่บอก ก็กำหนดความคิดนั่นเสีย (คิด

หนอๆๆ)

จับเอาความคิดขณะนั้นเป็นกรรมฐานเลย ความคิดความวิตกกังวล

ก็เป็นประโยชน์ทันที เห็นไหมครับ ไม่เป็นปัญหาเลย ยิ้ม


การตามดูรู้ทันกายใจ ทำได้ทุกที่ทุกเวลาทุกนาทีทุกวินาทีทุกเสี้ยว

วินาทีครับ นอกจากหลับ เจ๋ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กตัญญุตา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 29 มิ.ย. 2008
ตอบ: 73

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 11:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณค่ะ

เมื่อวานนั่งสมาธิมีคำถามอีกแล้วค่ะ..

ตอนที่กำลังเกิดเวทนาคือปวดมากๆๆๆๆๆๆ จนจะทนไม่ไหว(และก็ไม่ไหวจริง ๆอ่ะค่ะ) คือว่าตอนปวดนี่เราก็กำหนดปวดๆๆๆๆ แล้วความรู้สึกเท้าที่ปวดก็หายไปนะคะ แต่ว่าตรงก้นข้างขวาเนี่ย พอหายไปแป๊บ มันกลับมาอีกละ แล้วแบบยิ่งกำหนดยิ่งปวดๆๆๆๆๆ หนักขึ้นไปอีกจนทนไหวเลยค่ะ ไม่สามารถทนได้จริงๆ..และจังหวะนั้นลองสังเกตุลมหายใจดูเหมือนว่าทำไมลมหายใจเราสั้นลงคะ แผ่วลง สั้นมากๆ แต่ไม่ใช่แบบเหนื่อยหรือหอบนะคะแต่มันเป็นการหายใจที่แปลกคือปกติมันจะยาวแล้วเป็นจังหวะแต่นี่แบบสั้นและเร็วแต่ว่าไม่ได้ฝืนนะคะแล้วก็ไม่ได้ทรมานในการหายใจแต่อย่างใด แต่ความรู้สึกเหมือนว่ามันจะไม่หายใจอ่ะค่ะ คือมันสั้นลงๆๆบอกไม่ถูก อย่างนี้เรียกว่าอะไรเหรอคะ และถามหน่อยนะคะว่าถ้าเราผ่านเวทนาไปได้...มันจะรู้สึกแบบไหนเหรอคะ คือไม่ปวดเลยใช่ไหมคะ แต่เราทนไม่ได้อ่ะค่ะ(เราบาปมากหรือเปล่า) ..คือเราคิดว่าคงจะทนให้ผ่านไม่ได้แน่ๆ ...มันทรมานมากเลยค่ะ..

อ้อ แล้วมีอยู่ช่วงหนึ่งค่ะ ความรู้สึกเป็นไรไม่รู้ ไม่ได้หลับนะคะ แต่เหมือนมันวูบไปแป๊บหนึ่ง เราก็รู้ตัวนะคะ แต่ไม่รู้มันคืออะไร จิตมันวูบเหมือนว่าเราจะหลับแต่รู้สึกตัวว่ากำลังหลับแต่เราไม่ได้หลับอ่ะค่ะ (งงไหมคะ) แล้วทีนี้พอเราปวดปุ๊บ เราก็ภาวนาพุทโธต่อไปได้แล้ว สรุปว่าเราต้องกำหนดปวดหนอๆๆไปจนกว่ามันจะหายก่อนใช่หรือไม่คะ
 

_________________
สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 6:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้ากำหนดที่ตัวปวดมันก็ยิ่งจะปวดมากขึ้นครับ

ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม แล้วลองกลับมาดูลม แต่ต้องดูลมยาวๆ นะครับ

คราวนี้ลองทำอย่างนี้ดูก่อนเป็นอันดับแรกนะครับ
คือว่า ตอนนั่งตอนแรก นั่งในท่าที่สบายที่สุด ทำความรู้สึกไปในกายเบาๆ แล้วค่อยดูลมหายใจ แต่ดูลมยาวอย่างเดียวนะครับ พยายามดูลมยาวอย่างเดียวครับ แล้วลองสังเกตดูการเปลี่ยนแปลง
ลองวิธีนี้ดูก่อนนะครับ

ส่วนเกิดเวทนาแล้ว หายใจสั้นนั้นเป็นปกติของร่างกายครับ คือเวลาปวดมาก ๆจำทำให้เหมือนเราเหนื่อย แต่กายไม่ได้เหนื่อย ใจ(จิต)เหนื่อยน่ะครับ เพราะมัวแต่ไปกำหนดอยู่ที่เวทนาที่เดียว แล้วยึดเวทนาเป็นเรา ต้องย้ายจิตไปกำหนดที่อื่นอย่างที่บอกน่ะครับ

ส่วนอาการวูบ น่าจะเป็นเพียงการตกภวังค์แบบสายฟ้าแลบ เป็นอาการเฉยๆ ดีแล้วครับ แต่อย่าไปยึดมั่นกับมัน เพราะมันก็ไม่เที่ยง ถ้าเรารู้อย่างนี้แล้ว จิตจะพัฒนาขึ้นไปอีก ถ้ามัวติดใจอยู่ ของใหม่ๆ จะไม่ปรากฏ เศร้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประเด็นหลักเกี่ยวสภาวะทุกข์

สั้นๆ แต่คำตอบคงยาวมิใช่น้อย ยิ้ม

คุณกตัญญุตาภาวนาถึงจุดที่ผู้ปฏิบัติธรรมส่วนมากถกเถียงกันแล้ว

ครับ ยิ้มเห็นฟัน

สาธุในความตั้งใจปฏิบัติจริงของคุณครับ สาธุ

เบื้องต้นรับรองว่าไม่มีอะไรผิดปกติ ที่เล่ามาธรรมดาเป็นอย่างนั้นครับ

ไม่ต้องกังวลใจ

หากมีเวลาอ่านทำความเข้าใจ (ทุกขลักษณะ/ทุกข์อริยสัจ /

ทุกขเวทนา - สาระเดียวกัน)

ลิงค์นี้ เฉพาะ คห.15-17

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=40
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สภาวะทุกข์ที่คุณประสบอยู่ตอนนี้ กรัชกายก็เคยประสบมาแล้ว

จึงพอเข้าใจความรู้สึกของคุณครับ

นี้นะหากคุณตั้งนาฬิกาไว้ว่านั่งถึงเท่าไหร่นาทีเวทนาเกิด- (พอ

ประมาณเวลาได้ไหมครับ)

คงแนะนำได้ชัดกว่านี้ เพราะการปฏิบัติกรรมฐานมีอุบายวิธีอยู่เหมือน

กัน โดยเฉพาะวิธีปฏิบัติเมื่อประสบกับทุกขเวทนา

แต่เอาเป็นว่าท้ายๆ กรัชกายจะขออนุญาตเล่าอุบายวิธี (มรรค) ของ

ตนเองพอเป็นแนวทางให้แก่คุณก็แล้วกัน (แต่ตอนนี้ตอบประเด็นย่อย

ก่อน)

ด้วยความสัตย์จริง หากไม่จำเป็นแล้วไม่อยากเล่า เพราะอาจมีผู้แปล

เจตนาผิดได้

ชาวพุทธมีสองกลุ่ม คือ พวกหนึ่งอ่านหนังสืออ่านตำราแล้ววิเคราะห์

วิจารณ์สภาวธรรมตามตัวอักษร 1

กับกลุ่มที่ลงมือปฏิบัติแล้วเรียนรู้ธรรมะจากประสบการณ์นั้นๆอีก 1


สองกลุ่มนี้ จะมองธรรมะโดยเฉพาะเรื่องทุกข์เวทนาต่างกันโดยสิ้นเชิง

จนแทบจะพูดได้ว่าขาวกับดำทีเดียว ไม่มีวันที่คนสองกลุ่มนี้จะเห็นเรื่อง

นี้ ในแนวเดียวกันได้ เช่น ตัวอย่างที่สนทนากับคุณเฉลิมศักดิ์

เป็นต้น นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
..และจังหวะนั้นลองสังเกตลมหายใจดูเหมือนว่าทำไมลมหายใจเราสั้นลงคะ แผ่วลง สั้นมากๆ แต่ไม่ใช่แบบเหนื่อยหรือหอบนะคะแต่มันเป็นการหายใจที่แปลก คือ ปกติมันจะยาวแล้วเป็นจังหวะ
แต่นี่แบบสั้น และ เร็วแต่ว่าไม่ได้ฝืนนะคะ แล้วก็ไม่ได้ทรมานในการหายใจแต่อย่างใด
แต่ความรู้สึกเหมือนว่ามัน จะไม่หายใจอ่ะค่ะ คือ มันสั้นลงๆๆ บอกไม่ถูก อย่างนี้เรียกว่า อะไรเหรอคะ



เรียกว่า รูปนามถูกสภาวะทุกข์บีบคั้น (เป็นธรรมดานะครับ ไม่ผิด

ปกติ)

(หนทางรู้แจ้งอริยสัจธรรมไปทางนี้แหละครับ หมั่นสังเกตกายใจต่อ

ไป)

โดยธรรมชาติ กายใจโยงใยเกี่ยวเนื่องกระทบถึงกันครับ ตัวอย่าง

เช่น เมื่อกายเจ็บ จิตใจก็พลอยเจ็บไปด้วย ใจจะรู้สึกหวิวสั่นเต้นแรง

เร็วร้อนรนกระวนกระวาย ฯลฯ

ทางกลับกัน เมื่อจิตใจเกิดผัสสะ หรือ กระทบกับสิ่งที่พอใจไม่พอใจ

(อิฏฐารมณ์-อนิฏฐารมณ์) ก็ส่งผลถึงกายด้วย สมมุติว่ามีคนด่า

เรา ซึ่งจริงๆ เป็นเพียงเสียง หรือลมปาก กายไม่เจ็บอะไรเลย

(เพราะเขาไม่ได้ตีหัวเรา) แต่จิตใจมันจี๊ดๆ ...แล้วส่งผลถึงกาย คือ

เนื้อตัวสั่นเทา หูตาพร่าพราย หายใจไม่ทั่วท้องอึดอัดๆฯลฯ

(ซึ่งขณะนั้นลมหายใจเข้าออก (กายสังขาร) ก็สั่นระริกระรัว สับสนจับ

ต้นชนปลายไม่ถูก...มันเป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรเป็นของเก่า แต่ใน

ชีวิตเราไม่เคยตามดูรู้ทันมาก่อน เมื่อมาปฏิบัติกรรมฐาน สติสัมปชัญญะ

เพิ่มพูนขึ้นจึงเห็นอาการนั้น แต่เพราะไม่เคยเห็นมาก่อนนั่นแหละจึง

สงสัย....เป็นต้นขึ้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
และถามหน่อยนะคะว่า ถ้าเราผ่านเวทนาไปได้...มันจะรู้สึกแบบไหนเหรอคะ คือ ไม่ปวดเลยใช่ไหมคะ แต่เราทนไม่ได้อ่ะค่ะ
(เราบาปมากหรือเปล่า) ..คือเราคิดว่า คงจะทนให้ผ่านไม่ได้แน่ๆ ...มันทรมานมากเลยค่ะ..



ประเด็นบุญ-บาป ทำความเข้าใจลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15732&postdays=0&postorder=asc&start=0

ปฏิบัติกรรมฐาน คิดอย่างไรกำหนดอย่างนั้น รู้สึกกลัว

(กลัวหนอๆๆ) หรือ “รู้สึกกลัวๆๆ” ก็ได้

แล้วปล่อย ดูลมหายใจต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
อ้อ แล้วมีอยู่ช่วงหนึ่งค่ะ ความรู้สึกเป็นไรไม่รู้ ไม่ได้หลับนะคะ แต่เหมือนมันวูบไปแป๊บหนึ่ง เราก็รู้ตัวนะคะ แต่ไม่รู้มันคืออะไร จิตมันวูบเหมือนว่า เราจะหลับแต่รู้สึกตัวว่า กำลังหลับแต่เราไม่ได้หลับอ่ะค่ะ (งงไหมคะ) แล้วทีนี้พอเราปวดปุ๊บ เราก็ภาวนาพุทโธต่อไปได้แล้ว
สรุปว่า เราต้องกำหนดปวดหนอๆๆไปจนกว่ามันจะหายก่อนใช่หรือไม่คะ


(ไม่งง ครับ) เป็นอาการความคิดดับ (ความสืบต่อ หรือ สันตติขาด)

หมายความว่า ความคิดเรื่องเดิมดับก็วูบหรือผงะ

เมื่อดับแล้ว ก็คิดเรื่องใหม่ต่อ ภาษาธรรมเรียกว่า เกิดดับ เกิดดับ

ฯลฯ รูปธรรม นามธรรมเกิดดับๆ อย่างนี้

แต่ตอนนั้นดับแรงจนรู้สึก เพราะความคิดขณะนั้นแรง (สติอ่อนไป)

กำลังกำหนดเพลินๆ แล้วดับวูบ ไม่เสียหายอะไรหรอกครับ รู้สึกตัววูบ

กำหนดรู้เสียก็จบ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

ตอนที่กำลังเกิดเวทนา คือ ปวดมากๆจนจะทนไม่ไหว (และก็ไม่ไหวจริง ๆอ่ะค่ะ) คือว่าตอนปวดนี่เราก็กำหนดปวดๆๆๆๆ แล้วความรู้สึกเท้าที่ปวดก็หายไปนะคะ


แต่ว่าตรงก้นข้างขวาเนี่ย พอหายไปแป๊บ มันกลับมาอีกละ แล้วแบบยิ่งกำหนดยิ่งปวดๆๆ หนักขึ้นไปอีกจนทนไหวเลยค่ะ ไม่สามารถทนได้จริงๆ

ถามหน่อยนะคะว่า ถ้าเราผ่านเวทนาไปได้...มันจะรู้สึกแบบไหนเหรอคะ คือ ไม่ปวดเลยใช่ไหมคะ แต่เราทนไม่ได้อ่ะค่ะ ..คือเราคิดว่า คงจะทนให้ผ่านไม่ได้แน่ๆ ...มันทรมานมากเลยค่ะ..

สรุปว่า เราต้องกำหนดปวดหนอๆๆไปจนกว่ามันจะหายก่อนใช่หรือไม่คะ



แนะนำอุบายวิธีปฏิบัติต่อสภาวะทุกข์ที่อ้างอิง

กรัชกายจะเล่าวิธีปฏิบัติของตนเอง แล้วคุณกตัญญุตานำเอาสาระ

ไปปรับใช้กับตนเองนะครับ ปรับได้ มรรค แปล วิธี อุบาย หนทาง

ปรับวิธีปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมแก่ตนได้ แต่อยู่บนพื้นฐานของสติ

ปัฏฐาน 4



กรัชกายรับกรรมฐานจากพระอาจารย์ เริ่มต้นท่านบอกให้นั่ง 30 นาที

(พองหนอ ยุบหนอ) จงกรม 30 นาที ( ระยะ 1 ซ้าย ย่าง หนอ

ขวา ย่าง หนอ) สลับกันไป ปฏิบัติได้มากน้อยแล้วแต่กำลัง-

(ในการดำรงชีวิตปกติประจำวัน ก็ใช้งานที่ทำขณะนั้นๆเป็นกรรมฐาน

กำหนดรู้ดูกายใจไปเท่าที่สามารถ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อเดินๆ นั่งๆ ตามอุบายวิธีปฏิบัตินั้นแล้ว ซึ่งก็ต้องใช้เวลามิใช่วัน

สองวัน...เมื่อร่างกายและจิตใจเข้มแข็งขึ้น (หมายถึงองค์ธรรม เป็น

ต้นว่า วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เจริญขึ้น ซึ่งก็จากการกำหนดทัน

อารมณ์ที่ผ่านมานั่นเอง ) ...ท่านบอกให้ขยับเวลาขึ้นไปอีก 10

นาที เป็นจงกรม 40 นาที นั่ง 40 นาที และเพิ่มจุดกำหนดขึ้น

อีก คือ รูปนั่งเราในขณะนั้น-

(พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ คิดหนอ ง่วงหนอ เป็นต้นไป)

เพิ่มครั้งละ 10 นาที ฯลฯ ซึ่งก็ต้องใช้เวลา มิใช่วันสองวัน ฯลฯ

แล้วเสริมจุดที่กำหนดหมาย “ถูกหนอ” ตรงๆบริเวณก้นกบที่กดทับพื้น

พอรู้สึกได้

(พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ คิดหนอ ฯลฯ แล้วแต่ว่า

อารมณ์ใดปรากฏ มิใช่ตายตัวติดแน่นว่า จะต้องพองหนอ ยุบหนอ

นั่งหนอ ถูกหนอ มิใช่ เราพลิกแผลงได้ตามระยะการหายใจ

เช่น ขณะใด ลมหายเร็ว ก็กำหนดแค่พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ

หรือ เร็วมากกว่านั้น ก็พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ )

จนถึง 60 นาที คือ นั่ง 60 นาที จงกรม 60 นาที

แล้วก็ปฏิบัติไปทำนองนั้นเรื่อยไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พอมองเห็นภาพแล้วนะครับ

ถ้าอย่างนั้น ตัดเข้าประเด็นปฏิบัติต่อสภาวะทุกข์ อย่างที่คุณประสบ

นั่นเลย

ดูวิธีปฏิบัติให้ไว้เป็นแนวทาง ดังนี้


-เมื่อยังไม่ครบเวลาที่ตั้งปณิธานไว้ ทุกข์เกิดแรง จะลืมตากำหนดก็

ได้ แต่ไม่เคลื่อนไหว นั่งลืมตาเบาๆ พองหนอ ยุบหนอ ทุกข์

หนอ ฟุ้งซ่านหนอ คิดหนอ ฯลฯ อยู่อย่างนั้นแหละ จนกว่าจะครบ

เวลา หรือ หลับๆลืมๆก็ได้

บางครั้งหมดเวลาแล้ว แต่เห็นว่า ไหนดูดิมันจะปวดสักแค่ไหน

ก็นั่งอยู่อย่างนั้นจนหนำใจแล้วค่อยเดินจงกรม


แนวทางที่หนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ลืมตาก็แล้ว หลับตาก็แล้ว ไม่ไหวๆ ทุกข์เหลือประมาณปานกระดูก

จะแตก...เลิกลุกไปเดินจงกรมก็มี

แล้วมานั่งต่อ หรือ เคลื่อนไหวก่อนเวลาที่กำหนดไว้ก็มี

ทั้งๆที่เหลือเวลาเพียง 4-5 นาทีเอง แต่เหมือนมันนานนักหนา

บางครั้งคิดเข้าข้างตนเองว่า นาฬิกาแกล้งเดินช้าบ้างก็ยังคิดเลย

ชั่วโมงไหนทุกข์หนัก นอนเหยียดยาวคิดหาอุบายวิธี แล้วลุกเดิน

จงกรม แล้วมานั่งอีก


แนวทางที่สอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 5:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-แต่จากการสังเกตก็รู้ว่า เราปฏิบัติผ่านทุกข์เวทนา เป็นต้นไปไม่ได้

ที่เวลาเท่าไหร่

อีกสภาวะอะไรก็ตามที่ยังกำหนดไม่ผ่าน ถึงเวลาเท่านั้น

ก็จะประสบกับภาวะเช่นนั้น ที่เวลาเท่านั้นอีก จนกว่าเราจะปฏิบัติผ่านไป

ได้


คุณลองสังเกตดูเอง ซึ้ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง