Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผลได้หรือไม่ ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 9:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทธพจน์ที่แสดงวิธีปฏิบัติธรรมที่โพธิปักขิยธรรมทั้งหมดเนื่องอยู่ด้วยกับ

มรรคมีองค์ 8

“เมื่อเขาเจริญมรรคมีองค์ 8 อันเป็นอริยะนี้อยู่อย่างนี้

แม้สติปัฏฐาน 4 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์

แม้สัมมัปปธาน 4...

แม้อิทธิบาท 4...

แม้อินทรีย์ 5...

แม้พละ 5 ...

แม้โพชฌงค์ 7 ก็ย่อมถึงความเจริญเต็มบริบูรณ์

เขาย่อมมีธรรม 2 อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนา

เข้าเคียงคู่กันเป็นไป

ธรรมเหล่าใด พึงกำหนดรู้ด้วยอภิญญา เขาก็กำหนดรู้ด้วยอภิญญาซึ่ง

ธรรมเหล่านั้น

ธรรมเหล่าใด พึงละด้วยอภิญญา เข้าก็ละด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมเหล่า

นั้น

ธรรมเหล่าใด พึงได้เกิดมีด้วยอภิญญา เขาก็ทำให้เกิดมีด้วย

อภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น

ธรรมเหล่าใด พึงให้ประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา เขาก็ประจักษ์แจ้งด้วย

อภิญญา ซึ่งธรรมเหล่านั้น”
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ผู้เดินทาง
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 24 มี.ค. 2008
ตอบ: 4

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 7:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวYahoo Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ใช้ทำวิปัสสนา ไม่ได้



เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จัดได้ว่าเป็น

สมาบัติจำพวกเสวยผล มิใช่ประเภทสำหรับใช้ทำกิจ สมาบัติที่ต่ำ

กว่านั้น คือ ตั้งแต่อากิญจัญญายตนะลงไป จึงจะใช้ได้ทั้งสำหรับเสวย

ผลและสำหรับทำกิจ ทั้งนี้เพราะยังมีสัญญาและธรรมอื่นๆ ที่

ประกอบร่วมอยู่ชัดเจนพอ ดังที่ท่านเรียกอากิญจัญญายตนะว่า เป็น

ยอดแห่งสัญญาสมาบัติ- (ขุ.จู.30/260/134 ฯลฯ)

คือ เป็นสมาบัติชั้นสูงสุดที่ยังมีสัญญา หรือบางทีเรียกว่าสัญญัคคะ

แปลว่า ยอดแห่งสัญญา หรือสัญญาอย่างยอด เพราะเป็นสมาบัติ

โลกีย์ชั้นสูงสุดที่ใช้ทำกิจ

ได้ (ที.อ.1/424)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นภาวะที่ละเอียดเกินไปจนเรียกได้ว่า

มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ และได้ชื่ออีกอย่างหนึ่ง

ว่า สังขาราวเสสสมาบัติ แปลว่า สมาบัติที่มีสังขารสักว่าเหลือ

อยู่ หรือ เรียกอย่างง่ายๆว่า สมาบัติเศษสังขาร เพราะมี

สังขารซึ่งอยู่ในภาวะละเอียดเป็นที่สุด

ตามปกติถือว่า ไม่ชัดพอหรือไม่หยาบพอที่จะใช้ทำกิจของ

วิปัสสนา ไม่ต้องพูดถึงอยู่ในสมาบัติ

แม้ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว จะกลับยกเอาองค์ธรรมต่างๆ ที่มีใน

สมาบัตินี้ขึ้นมาพิจารณา ก็แทบไม่มีผู้ใดทำได้ เว้นแต่ผู้มีปัญญา

อย่างพระสารีบุตรขึ้นไป และแม้แต่พระสารีบุตรเองก็พิจารณาได้

เพียงแบบเหมารวม หรือรวบเป็นกลุ่ม อย่างที่เรียกว่า

กลาปวิปัสสนาอย่างเดียว


มีแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ที่จะกำหนดองค์ธรรมแยกออก

พิจารณาเป็นรายข้อตามลำดับ คือทำอนุปทธรรมวิปัสสนาได้

(ม.อุ.14/32/32; สํ.นิ.16/354/181 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


แม้ว่าโดยหลักการทั่วไป ท่านมักกล่าวคลุมๆรวมๆกันไปว่า สมาบัติทั้ง

8 หรือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 เป็นบาทแห่งวิปัสสนาได้ทั้งหมด-

(ปฏิสํ.อ.236 = สงฺคณี อ.356=วิสุทธิ.3/312 ฯลฯ)

เป็นบาทแห่งผลสมาบัติได้ทั้งหมด- (อุ.อ.233)

และร่วมกันหมดได้ทุกข้อ รวมเป็นบาทของนิโรธสมาบัติ-

(ม.อ.2/316)

แต่ภาวะที่เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นบาท หาเหมือนกับเอาฌาน

สมาบัติข้ออื่นๆ เป็นบาทไม่ คือไม่ใช่เป็นตัวทำกิจแท้จริง

ดังเห็นได้ชัดในการเข้านิโรธสมาบัติ ท่านชี้แจงให้เห็นว่า สมาบัติที่

เป็นขั้นทำการ คืออากิญจัญญายตนะ


ส่วนเนวสัญญานาสัญญายตนะ แม้จะเป็นขั้นตอนที่จำเป็น แต่ก็มี

สภาพคล้ายเป็นทางผ่านเท่านั้น-

(ที.อ.1/424)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ผู้ใดจะเข้านิโรธสมาบัติ แม้เข้าสมาบัติมาโดยลำดับจนถึง

เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว

แต่ในตอนที่ผ่านจากอากิญจัญญายตนะ ก่อนจะเข้า

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ได้บุพกิจ คือไม่ได้เตรียมจิตให้พร้อม

ที่เข้านิโรธไว้ ก็ไม่อาจเข้านิโรธได้ และเมื่อเข้านิโรธไม่สำเร็จก็ต้องถอย

กลับไปอยู่ในอากิญจัญญายตนะ มิใช่คงอยู่เนวสัญญานาสัญญายตนะ- (วิสุทธิ.3/369 ฯลฯ)

เหตุผลเหล่านี้ พอให้ลงสันนิษฐานได้ว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ

สมาบัติเป็นภาวะเฉพาะตัว เป็นจุดจำเพาะแห่งการเสวยผลของมันเอง

ล้วนๆ เมื่อออกจากสมาบัตินี้ ก็เป็นการออกมาเลย

พูดโดยนิปริยายว่า ไม่มีภาวะจิตสืบเนื่องในระดับนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ส.ค. 2008, 8:23 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ในการเจริญวิปัสสนา เมื่อออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ

มาพิจารณาสังขารธรรม ก็มิใช่ออกเพียงเพื่อเปลี่ยนอารมณ์ เหมือน

อย่างออกจากฌานสมาบัติข้ออื่น-

(ความจริง เนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติ ไม่มีอารมณ์ของมัน

เองด้วยซ้ำ คนที่จะเข้าสมาบัติข้อนี้ กำหนดเอา

อากิญจัญญายตนะนั่นเองเป็นอารมณ์ เพื่อจะก้าวล่วงไปเสีย

เมื่อก้าวล่วง คือ ปล่อย หรือผละออกจากอารมณ์นั้นได้ จึงเข้าสู่

สภาวะที่เรียกว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัตินี้

ที.ปา.11/355/280 ฯลฯ)


แต่เป็นการออกมาสู่ภาวะจิตในระดับของสมาบัติที่รองลงมา คือ

อากิญจัญญายตนะ จึงนับว่าเป็นการออกจากสมาบัติชนิดที่มีความหมาย

ครบถ้วนทั้งโดยปริยายและโดยนิปปริยาย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ส่วนสำนวนพระสูตรจึงบรรยายความตอนนี้ว่า

“ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัตินั้น” แล้วพิจารณาสังขารธรรม

ทั้งหลาย

แม้ว่าโดยหลักการทั่วไป อาจพูดได้ว่า

“ทำเนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติให้เป็นบาทของวิปัสสนา”

(แต่ความจริง คำที่กล่าวจำเพาะเจาะจงลงไปอย่างนี้ยังไม่พบเลย)

คำว่าเป็นบาทในที่นี้ ก็จะมีความหมายเพียงว่าได้ผ่านการเข้า

เนวสัญญานาสัญญายตนะออกมาแล้ว ซึ่งก็ย่อมจะช่วยทำให้จิตประณีต

สนิทมากขึ้นอีก แต่ก็จะต้องถือว่าภาวะจิตที่ใช้เจริญวิปัสสนาเวลานั้น

เป็นอัปปนาสมาธิระดับ อากิญจัญญายตนะอยู่นั่นเอง - (พึงระลึกไว้ด้วย

ว่า สมาบัติในอรูปฌานทั้งหมด ล้วนเป็นระดับจตุตถฌานทั้งสิ้น

มีข้อพิเศษเพียงว่าเป็นภาวะที่ประณีต ห่างไกลจากปัจจนีกธรรม คือ

สิ่งรบกวนออกไปมากขึ้นเท่านั้น- อภิ.สํ. 34/192/18 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ก.ค.2008, 9:20 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ


ส่วนสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นข้อที่ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นสมาบัติสำหรับ

เสวยผลแท้ๆ และไม่อาจเจริญวิปัสสนาภายในสมาบัติได้ เพราะไม่มี

สัญญาและเวทนารวมทั้งขันธ์อื่นๆ อันประกอบร่วมที่จะใช้กำหนด

พิจารณาได้ ยิ่งกว่านั้นยังมีภาวะพิเศษจากฌานสมาบัติอื่นๆทั้งหมด

คือ เป็นแต่สมาบัติอย่างเดียวไม่เป็นสมาธิ- (วิภงฺค.อ.305) จึง

เป็นการแน่นอนว่าต้องออกจากสมาบัติก่อนจึงเจริญวิปัสสนาได้

เมื่อออกจากสมาบัตินี้แล้วจะเจริญวิปัสสนาก็ควรมาอยู่ในภาวะจิตที่เป็น

สมาธิในระดังสูงสุดที่จะใช้ทำกิจได้ กล่าวคืออากิญจัญญายตนะ

(หรือจะลงไปใช้ภาวะจิตระดับต่ำลงไป แม้จนถึงขณิกสมาธิ ซึ่งไม่ใช้

กำลังฌานสมาบัติเลยก็ย่อมได้ เพราะผู้ที่ได้สมาบัติสูงกว่าย่อมมี

สิทธิในสมาบัติที่ต่ำลงมากว่านั้นเป็นธรรมดา)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสมาบัติสูงสุดข้อนี้จะใช้เจริญวิปัสสนาเองโดยตรงไม่

ได้ แต่การเข้าสมาบัตินี้ก็ย่อมช่วยเสริมคุณสมบัติของจิตให้ประณีตสนิท

ยิ่งขึ้น มีผลดีต่อการปฏิบัติธรรมเป็นอันมาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 4:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ขณะจิตที่บรรลุมรรคผล



ตามหลักที่ว่า ในขณะที่บรรลุอริยมรรค แม้แต่ผู้มิได้ฌาน

มาก่อน จิตก็จะเป็นสมาธิถึงขั้น อัปปนา คือ ถึงระดับฌาน


ในเรื่องนี้ สำหรับผู้มีพื้นฐานความรู้ด้านอภิธรรม พึงดูลำดับกระบวนการ

ทำงานของจิต

ในตอนที่บรรลุมรรคผล- (อัปปนาชวนวาระแห่งมรรควิถี)

ของพระวิปัสสนายานิก ตามนัยที่ท่านแสดงไว้ใน อุทาน อ. 42

ปฏิสํ.อ.32 สงฺคณี อ. 359 วิสุทธิ.3/316,324 สงฺคห. 22)



ดังที่ถอดความออกเป็นแผนผังได้ (สังขารุเปกขาญาณ – วิปัสสนาญาณ

ข้อที่ 8) ดังนี้

(สังขารุเปกขาญาณ => ภวังค์=>) มโนทวาราวัชชนะ => บริกรรม=>

อุปจาร => อนุโลม => โคตรภู => มรรคจิต => ผลจิต => ภวังค์


(วิปัสสนาวิถีนี้ เป็นการแสดงแบบคลุมๆ ความจริงมีการตกภวังค์ได้

แล้วๆ เล่าๆ ในระหว่าง)

(บริกรรม ฯลฯ โคตรภู เป็นกามาวจรชวนะ; มรรคจิต ผลจิต

เป็นโลกุตรอัปปนาชวนะ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 8:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนลำดับจิตของสมถยานิก อาจแสดงคร่าวๆ ได้ ดังนี้-

(ตอนมรรควิถีเหมือนข้างบน จึงไม่แสดงรายละเอียด

ภวังค์=> ฌานวิถี =>ภวังค์ => วิปัสสนาวิถี=> ภวังค์ =>มรรควิถี

=> ภวังค์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 8:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

การเจริญวิปัสสนา
วิปัสสนาก็คือ การเอาสติเข้าไปตามดูตามสังเกต เข้าไปจดจ่อ เข้าไปใส่ใจ ต่อสภาวะลักษณะที่ปรากฎในขณะนั้น และต่อความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปต่าง ๆ ทั้งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของรูปของนาม หรือของร่างกายของจิตใจ หรือของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สะสมข้อมูลที่สังเกตได้นั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ และนำข้อมูลที่ได้จากการตามดูตามสังเกตนั้น มาพินิจพิเคราะห์ พิจารณาโดยแยบคาย ให้เห็นว่ารูปนามนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือทุกข์ หรือความสุขที่ได้มานั้นคุ้มกับความทุกข์ที่ต้องเผชิญหรือไม่ อยู่ในอำนาจหรือไม่ เป็นไปตามความปรารถนาหรือไม่ ควรค่าแก่การยึดมั่นหรือไม่ ควรหรือไม่ที่จะถือว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ( ถ้าจะถือว่าสิ่งใดเป็นเราแล้วสิ่งนั้นก็ควรจะอยู่ในอำนาจ และเป็นไปตามความปรารถนาของเราอย่างแท้จริง ) ทั้งนี้ก็เพื่อทำการศึกษา ให้เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนามทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปนามภายใน ภายนอก ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต คือให้รู้แจ้งเห็นจริงอย่างชัดเจนด้วยปัญญาของตนเองอย่างทะลุปรุโปร่ง โดยไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ และไม่ต้องอาศัยความเชื่อผู้อื่นอีกต่อไป ( เพราะรู้ด้วยปัญญาของตนเองแล้ว ) จนกระทั่งเห็นแจ้งว่าภายในเป็นอย่างไรภายนอกก็เป็นอย่างนั้น ปัจจุบันเป็นอย่างไรอดีตและอนาคตก็เป็นอย่างนั้น ไม่ว่ารูปนามใด ๆ ในเวลาไหน ๆ ก็เป็นอย่างนั้น

ทั้งนี้ควรทำประกอบกันทั้งการตามดูตามสังเกต และการพิจารณาโดยแยบคาย ไม่ใช่ทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการตามดูตามสังเกตแล้วไม่นำข้อมูลที่ได้นั้น มาพิจารณาโดยแยบคาย ก็จะไม่ได้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นอย่างเต็มที่ ส่วนการตั้งหน้าตั้งตาพิจารณาโดยแยบคาย โดยไม่มีข้อมูลจากการตามดูตามสังเกตอย่างมากพอ การพิจารณานั้นก็อาจผิดพลาดได้ ดังนั้นจึงควรตามดูตามสังเกตไปเรื่อย ๆ แล้วนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาโดยแยบคายเป็นระยะ ๆ สลับกันไป

เมื่อพิจารณาอะไรไม่ออกแล้ว ก็แสดงว่าข้อมูลที่สังเกตได้มานั้นยังไม่มากพอที่จะพิจารณาต่อไป ก็พักการพิจารณาเอาไว้ก่อนอย่าท้อใจเพราะเป็นธรรมดาของการปฏิบัติ ใช้สติตามดูตามสังเกตรูปนามกันต่อไป เมื่อข้อมูลมากขึ้นก็จะพิจารณาต่อไปได้เอง หรือบางครั้งเมื่อข้อมูลมากพอแล้ว แม้จะไม่ได้ตั้งใจพิจารณาจิตก็จะแล่นไปได้เอง คือถึงไม่ได้ตั้งใจพิจารณาก็เหมือนพิจารณา เมื่อเห็นธรรมชาติที่แท้จริงชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ในที่สุดก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาจากส่วนลึกที่สุดของจิตใจของตนเอง เป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูปนามทั้งปวงอย่างแรงกล้า เมื่อเบื่อหน่ายก็จะเกิดความรู้สึกคลายความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามทั้งปวงลงไป เมื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นมากเท่าไร กิเลสทั้งหลายที่อยู่ในระดับความหยาบ / ความประณีตเดียวกันกับความยึดมั่นถือมั่นนั้น ก็จะถูกทำลายลงไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการทำลายที่ต้นตอของกิเลสนั้นโดยตรง จึงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาได้อีกเลย และความรู้สึกนี้จะแผ่ซ่านไปทั่วทุกอณูของร่างกาย ( คล้ายกับเวลาที่ประสบกับความตกใจ ความกลัว หรือความเสียใจอย่างสุดขีด จนกระทั่งความรู้สึกเหล่านั้นแผ่ซ่านไปทั่วทุกรูขุมขน ฉัน นั้น ) สำนวนในพระไตรปิฎกจะใช้คำว่า เมื่อเบื่อหน่ายก็จะคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดก็จะหลุดพ้น .

ที่กล่าวมานี้เป็นการเกิดขึ้นของปัญญาขั้นมรรคผล ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงสุด จนมีอิทธิพลไปถึงจิตใต้สำนึกที่อยู่ลึกที่สุด แต่ถ้าเห็นธรรมชาติของรูปนามยังไม่ชัดเจนพอ หรือยังไม่มากพอ ก็จะเกิดความรู้สึกคลายความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน แต่ความรู้สึกนั้นจะอยู่แค่ระดับจิตสำนึก หรือลงไปถึงจิตใต้สำนึกบางส่วน จะทำให้เกิดการละกิเลสได้ชั่วคราว ที่เรียกว่าตทังคประหาร ผู้ปฏิบัติบางคนเมื่อปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้ว ก็อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าตนเองบรรลุมรรคผลแล้วก็ได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติทั้งหลายพึงระวัง และพิจารณาให้ดี เพราะตทังคประหารนั้นนานวันไปก็จะเสื่อมลงไปได้ เมื่อมีเหตุมีปัจจัยมากพอ กิเลสก็จะฟูขึ้นมาได้อีก การทดสอบ / ตรวจสอบกิเลสที่เหลืออยู่ และคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวของมรรคผลแต่ละขั้น ( เช่น ความบริบูรณ์ของศีล ความบริบูรณ์ของสมาธิ ความบริบูรณ์ของสติ ) จะเป็นเครื่องตัดสินที่ดีที่สุด สำหรับกิเลสที่ละได้แล้วนั้น จะต้องละได้เพราะความบริสุทธิ์ของจิตจริง ๆ คือกิเลสนั้นจะต้องไม่เกิดขึ้นอีกอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่ละได้ด้วยการข่มไว้ด้วยสติ ข่มไว้ด้วยสมาธิ หรือการคอยพิจารณาเพื่อข่มไว้ การทดสอบก็ควรทำในสิ่งแวดล้อมที่บีบคั้นและยาวนาน เพื่อกระตุ้นให้กิเลสข้อนั้นเกิดขึ้น ( ควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือนในการทดสอบ แต่ถ้าให้ดีก็ควรใช้เวลาให้มากกว่านี้ )


--------------------------------------------------------------------------------
๑.การทำสมาธิสามารถทำได้ทุกขณะอิริยาบถ
ท่านพ่อลี (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) พระสายธุดงที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งแห่งภาคอีสาน ได้เคยให้คำอธิบายวิธีการทำสมาธิในชีวิตประจำวัน เวลาที่จะทำสมาธินั้นท่านได้อธิบายอย่างง่ายๆไว้ว่าทำได้ทั้งยืน เดิน นั่ง และนอน ในอิริยบททั้ง ๔ นี้เมื่อใดที่ใจเป็นสมาธิก็ถือว่าเป็นภาวนามัยกุศล ซึ่งถือเป็นกุศลกรรมสิทธิ์เฉพาะตัว ถือว่าได้บุญด้วยอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงพอสรุปจากคำแนะนำของท่านไว้ได้ดังนี้คือ
การยืน ทำโดยยืนให้ตรง วางมือขวาทับมือซ้าย คว่ำมือทั้งสอง หลับตาหรือลืมตาสุดแท้แต่จะสะดวกในการทำ แล้วเพ่งไปที่คำว่า พุทโธ จนจิตตั้งมั่นได้
การเดิน เรียกว่าเดินจงกรม ให้กำหนดความสั้น ความยาว ของเส้นทางที่จะเดินสุดแท้แต่เราเอง ควรจะหาสถานที่ และเวลาที่เหมาะสม ไม่อึกทึกครึกโครม และไม่มีสิ่งรบกวนจากรอบข้าง นอกจากนั้นที่ที่จะเดินไม่ควรสูงๆ ต่ำๆ แต่ควรเรียบเสมอกัน เมื่อหาสถานที่และเวลาที่เหมาะสมได้แล้วก็ตั้งสติ อย่าเงยหน้าหรือก้มหน้านัก ให้สำรวมสายตาให้ทอดลงพอดี วางมือทั้งสองลงข้างหน้าทับกันเหมือนกับยืน การเดินแต่ละก้าวก็ให้จิตตั้งมั่นอยู่กับคำบริกรรมว่า พุทโธ โดยเดินอย่างสำรวม ช้าๆ ไม่เร่งรีบ กำหนดรู้ในใจ
การนั่ง คือนั่งให้สบาย แล้วเพ่งเอาจิตไปที่การบริกรรมคำว่า พุทโธ ท่องภาวนาไว้เป็นอารมณ์ให้กำหนดรู้อยู่ในใจ
การนอน คือให้นอนตะแคงข้างขวา เอามือขวาวางรองศีรษะ ยืดมือซ้ายไปตามตัว ไม่นอนขด นอนคว่ำ หรือนอนหงาย แล้วก็สำรวมสติตั้งมั่นด้วยการภาวนาคำว่า พุทโธ ให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่นเดียวกัน


คือ ความประพฤติ , ปฏิปทา , ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชาหรือนิพพาน

ผมเองใช้ จตุถฌาน เป็น บาท แล้วออก จตุถฌาน เข้า ปฐม ดำเนิน จิต ผ่องใสแล้วพิจารณา คิดว่า คงแค่ ตติยฌาน เป็นที่สุดเท่าที่ปฏบัติมา
ข้อคิด จากปฏิบัติจริง ครับ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 12:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ผมเองใช้ จตุถฌาน เป็น บาท แล้วออก จตุถฌาน เข้า ปฐม ดำเนิน จิต ผ่องใสแล้วพิจารณา คิดว่า คงแค่ ตติยฌาน เป็นที่สุดเท่าที่ปฏิบัติมา
ข้อคิด จากปฏิบัติจริง ครับ



ขอความรู้จากคุณบุญชัยครับ คุณปฏิบัติแบบใด ใช้กรรมฐานอะไรหรอ

ครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 1:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ใช้ ภาวนา พุทโธ แนว สายพระ อ.จ. มั่น
ลูกศิษย์ ท่าน พระ อ.จ. วิริยังค ครับ
ผมเรียน จากท่านมา รุ่น4 สาขา5 ครับ
สนใจ ไหมครับ 089737451..
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 1:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่ข้าง ต้นคือหลัการ ครับ ยังไม่ถึง
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บุญชัย พิมพ์ว่า:
ใช้ ภาวนา พุทโธ แนว สายพระ อ.จ. มั่น
ลูกศิษย์ ท่าน พระ อ.จ. วิริยังค ครับ
ผมเรียน จากท่านมา รุ่น4 สาขา5 ครับ
สนใจ ไหมครับ 089737451..




สนใจครับใช้ภาวนาพุทโธด้วย ดีครับ ดีครับ

กรัชกายเห็นกระทู้หนึ่ง ทำสมาธิแล้วกลัว

คุณบุญชัยมีอะไรแนะนำให้เค้าทำสมาธิได้ต่อไหมครับ

ช่วยเค้าทีครับเอาบุญ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 9:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณบุญชัยอ่านดูครับ


ชื่อกระทู้ว่า=> มีวิธีขจัดความกลัว เวลานั่งสมาธิมัยค่ะ


คือว่า มีปัญหาเวลานั่งสมาธิค่ะ เนื่องจากว่า เมื่อตอนเด็กๆ

(อายุประมาณ 11-12 ขวบ)

ลองหัดนั่งสมาธิตามที่เรียนมาจากห้องจริยธรรม (ในสมัยนั้น) เป็นการนั่ง

แบบ อานาปานสติ คือ กำหนดลมหายใจเข้าออก

มีครั้งหนึ่งก่อนนอน จำได้ว่า นั่งสมาธิได้สงบมาก มีความรู้สึกว่า ตัวเอง

ลอยขึ้นไปอยู่บนเพดานห้อง มองลงมาเห็นกายตัวเองนั่งนิ่งอยู่

เหมือนกายกับจิตแยกออกจากกันเป็นคนละคนกัน

ด้วยความรู้สึกวูบนั้น จิตเหมือนรีบกลับเข้าร่าง

ตอนนั้นกลัวมาก, ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น และไม่กล้านั่งสมาธิอีกเลย

จนกระทั่งเวลาผ่านไป 7-8 ปี ก็ได้เริ่มนั่งสมาธิอีกครั้ง แต่เป็นแบบ

สมถภาวนา มีคุณอาเป็นผู้แนะนำให้ไปวันแห่งหนึ่ง (แถวปทุมธานี)

เป็นการนั่งแบบสมถภาวนาสักระยะ ก็มีอาการสงบ พอสงบมากๆ

ถึงจุดหนึ่งก็เกิดความกลัว โดยไม่รู้สาเหตุไม่กล้านั่งต่อไป

(ขณะที่นั่งสมาธิไม่เคยเห็นอะไรเลยอย่างที่เขาแนะนำว่าต้องเห็น)

ประกอบกับได้อ่านหนังสือธรรมะ และหนังสือเกี่ยวกับการนั่งสมาธิมากขึ้น

ได้รับความรู้เกี่ยวกับการนั่งสมาธิจากหลายๆทางมากขึ้น ก็เลยเลิกนั่ง

สมาธิแบบสมถภาวนาไป เวลาผ่านมาอีกหลายปี ก็เริ่มนั่งสมาธิใหม่

เป็นแบบวิปัสสนาสมาธิ กำหนดกายานุปัสสนา บางครั้งก็เวทนานุปัสสนา

(ดู กาย ดูจิต) เคยนั่งสมาธิกำหนดกายานุปัสสนา จนรับรู้เหมือนว่า

เห็นโครงกระดูกตัวเอง แม้จะยืน เดิน นั่ง หรือทำอิริยาบถใด ก็จะ

สัมผัสได้ แต่เป็นโครงกระดูกเท่านั้นที่เคลื่อนไหว ก็เกิดความกลัว

ขึ้นมาอีก เลยหยุดกำหนดสมาธิไป

ตอนนี้พึ่งเริ่มใหม่ จากที่เว้นมานาน ก็เริ่มนั่งแบบอานาปานสติ

พยายามเอาใจให้สงบก่อน มันเหมือนจิตใต้สำนึกกับประสบการณ์

ครั้งแรก (ตอน 11-12 ขวบ) ทำให้ไม่กล้า ให้ใจสงบนิ่ง

เคยมีคนบอกว่า อาการที่เป็น เหมือนคนง่วงนอน แต่ไม่กล้านอน

เพราะกลัวว่า ถ้านอนหลับแล้วจะไม่ตื่นขึ้นมา


มีวิธีขจัดความกลัวแบบนี้ได้มัยค่ะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 08 ส.ค. 2008, 9:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


มีอีกรายครับคุณบุญชัย เขาเป็นงี้ครับ =>




มีใครเป็นแบบผมบ้าง นั่งสมาธิ ช่วงแรกๆ ก็ปรกติดี (คือใช้วิธีกำหนด

ลมหายใจ)

สักครู่ก็รู้สึกเหมือนหัวหมุนแล้วตัวก็รู้สึกเหมือนกับจะล้มลง ทั้ง ๆ

ที่นั่งอยู่

แล้วทีนี้ มันก็จะหมุนบิดไปมาคล้าย ๆ กับโน้มไปข้างหน้าจนจะล้ม

แล้วก็เอนมาข้างหลัง จนจะหงายหลัง

ด้วยความตกใจเลยค่อยๆ คืนสติลืมตาขึ้น ก็ปรากฏว่ายังนั่ง

อยู่ในท่าเดิม เหมือนเดิมทุกประการ

เป็นอย่างนี้มาเป็นสัปดาห์แล้ว มันคืออะไร แล้วจะแก้อย่างไร?



อ่านจบแล้ว เขาควรปฏิบัติอย่างไรดีครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 9:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ตอนนั้นกลัวมาก, ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น และไม่กล้านั่งสมาธิอีกเลย
1 ให๊ภาวนาไปเรื่อยๆๆอย่าให้จิตด่ง ลงเร็วเกิน เพราะ จิต ดิ่งเร็ว
จะเห็นสภาวะ แรง พลังจิตอ่อน จะกลัว ให้ภาวนาแข็งๆๆท่องอยู่ในองภาวนา เมื่อ รู้ว่ากล้า แข็งจึง ให้จิต ดิ่งลงสู่ ภวังค ญานได้โดยไม่กลัว
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 9:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

1 คุณผู้หญิงคนแรก อาการทั้งหมดโดยรวมคือ
จิต ตามสมาธิที่ไปพิจารณา ร่างกายไม่ ทันก็เกิดอาการ กลัว ให้ทำ สมาธิ ตื้น มากๆๆ เดินจงกม มากๆๆ
ภาวนามากๆๆๆไม่ให้จิต ดิ่งเร็วเหมือนกล่าวข้างต้น
และอีก หน่อย เก่งขึ้น จะไม่มีอาการกลัวไม่ ทำ
รับ รองครับ หลับไม่ตื่นไม่มีแน่ แน่
บรรลุอย่างเดียว
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง