Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สติปัฏฐาน 4 (แบบของพระพุทธเจ้า) ต่อ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 10:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อใดสติตามทัน ทำงานสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างชำนาญ
คนไม่ปิดบังตัวเอง ไม่บิดเบือนภาพที่มอง และพ้นจากอำนาจความเคยชิน
หรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว
เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมัน
และรู้เข้าใจความจริง
ถึงตอนนี้ ถ้าอินทรีย์อื่นๆ โดยเฉพาะปัญญาแก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว
ก็จะร่วมทำงานกับสติ หรืออาศัยสติคอยเปิดทางให้ทำงานได้อย่างเต็มที่
ทำให้เกิดญาณทัศนะ ความหยั่งเห็นตามเป็นจริง ที่เป็นจุดหมายของวิปัสสนา
แต่การที่ปัญญินทรีย์ เป็นต้น จะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น
ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมมาโดยลำดับ
รวมทั้งการเล่าเรียนสดับฟังในเบื้องต้นด้วย
การเล่าเรียนสดับฟังและการคิดเหตุผล เป็นต้น
จึงมีส่วนเกื้อกูลแก่การรู้แจ้งสัจธรรมได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 3:59 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ความจริงนั้น สติมิไม่ใช่ตัววิปัสสนา ปัญญาหรือการใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา
แต่ปัญญาจะได้โอกาสและจะทำงานได้อย่างปลอดโปรงเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับ
หนุนอยู่ด้วย
การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติเพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง
ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็งหรือชำนาญคล่องแคล้วขึ้นได้ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน**


(ที่มา)

**สติเกิดร่วมกับปัญญา จึงจะมีกำลัง ขาดปัญญาย่อมอ่อนกำลัง (ม.อ.3/28; วิภงฺค. อ. 406)
ปัญญาปราศจากสติ ไม่มีเลย (วิสุทฺธิ.ฎีกา 1/320)
ผู้ปราศจากสติ ย่อมไม่มีอนุปัสสนา (ที.อ. 2/474; สํ.อ. 3/270)
พูดถึงสติอย่างเดียวเล็งถึงปัญญาด้วย (องฺ.อ. 3/127...)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 4:00 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไป มักมีลักษณาการที่เรียก

ว่าสัมปชัญญะ (สติ สัมปชัญญะ) ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้าย

เป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ

การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือ

ตัวเด่น

แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไป

อยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา

ปัญญา ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตาม

สภาพที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ

นี่แหละคือวิปัสสนา


(อภิ.วิ. 35/612/337...)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 3:02 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(สรุบสติปัฏฐาน)


การเจริญสติปัฏฐาน คือการอยู่อย่างไม่มีความทุกข์ที่จะต้องดับ



การดำเนินชีวิตหรือการเป็นอยู่ของมนุษย์ มองด้านหนึ่ง อาจเห็นว่าเป็น

การดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดและเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต

แต่มองอีกด้าน จะเห็นภาพซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง คือทุกคนกำลังเสวงหา

ความสุข ทั้งนี้ มิใช่เฉพาะคนมั่งมีพรั่งพร้อมอยู่แล้วที่กำลังหาทางปรน

เปรอตนเท่านั้น แม้แต่ที่กำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดอย่างสุดแรงก็กำลัง

พยายามทำให้ชีวิตของตนมีความสุขเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะมองในแง่ช่วง

กว้าง เช่น การประกอบอาชีพการงานดำเนินกิจการต่างๆก็ตาม

หรือมองช่วงสั้นถี่เข้ามาจนถึงความเป็นอยู่ ความเคลื่อนไหวและการ

กระทำในแต่ละขณะก็ตาม การใฝ่หาคามสุขจะแฝงอยู่ด้วยเสมอ

แม้ว่าจะถูกขัดถูกย้อนด้วยสำนึกทางจริยธรรมเป็นต้นบ้างในบางคราว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 3:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ความจริง การหาความสุขในช่วงกว้างยาว ก็ขยายออกไปจากการ

หาความสุขช่วงสั้นแต่ละขณะนี้เอง

ผู้ปรารถนาความสุขที่แท้จริง เมื่อจะจัดการกับชีวิตของตน จะต้อง

สนใจและหาทางทำให้ชีวิตที่เป็นอยู่บัดนี้ แต่ละขณะมีความสุขได้

การพยายามหาความสุขจึงจะมีทางสำเร็จ

แต่ถ้าชีวิตที่เป็นอยู่แต่ละขณะนี้ ยังทำให้มีความสุขไม่ได้แล้ว

การที่จะมีความสุขได้ในช่วงยาวไกล ก็เป็นเพียงความหวัง

อันเลื่อนลอย และคงจะต้องเป็นความหวังอยู่เรื่อยไป

ตรงข้าม ถ้าสามารถทำให้ชีวิตเองล้วนๆแต่ละขณะนี้ ที่กำลังเป็นอยู่

เดี๋ยวนี้มีความสุขได้แล้ว

การพยายามหาความสุขก็ประสบความสำเร็จแล้วทันที เมื่อได้ปัจจัย

แวดล้อมอื่นอำนวย ก็มีแต่จะสุขสมบูรณ์ยิ่งๆขึ้นไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 3:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

กระบวนการหาความสุขของมนุษย์ ซึ่งมองเห็นได้แม้แต่ในช่วงสั้น

แต่ละขณะๆ ก็คือ เกิดความอยากขึ้นหรือทำความอยากให้เกิดขึ้น

แล้วทำการต่างๆเพื่อสนองความอยากนั้น เมื่อได้สนอง

ทำให้ความอยากสงบระงับลง ก็ได้รับความสุข

ยิ่งเร้าความอยากให้แรงมาก ก็ต้องสนองระงับแรงขึ้น และได้รับ

ความสุขมากขึ้น ความสุขจึงได้แก่การสนองระงับความอยาก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 3:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ถามว่า ความอยาก คือ อะไร?

ไม่ต้องตอบโดยตรง ที่ชัดก็คือ เมื่อเกิดความอยากขึ้นแล้ว

จะมีอาการแสดงออกสำคัญ 2 อย่างคือ

ความขาดแคลน ความพร่อง ไม่มีสิ่งที่อยาก ไม่ว่าขาดแคลนจริง

หรือ ความขาดแคลนที่สร้างขึ้นเอง

และอีกอย่างหนึ่งคือ ความกระสับกระส่ายกระวนกระวาย หรือ

ถึงกับทุรนทุกราย เพราะถูกเหนี่ยวรั้ง หรือ ถูกดึงให้ยืดตึงออกไป

จากภาพที่เป็นอยู่ขณะนั้นๆ ทำให้สงบนิ่งอยู่ไม่ได้

ต้องดิ้นรนหาทางทำให้ความกระวนกระวายหมดไป

เวลาช่วงนั้น คือ การได้รับความสุข

แต่ถ้าความอยากไม่ถูกสนองระงับ ความขาดแคลน และ ความกระสับ

กระส่ายกระวนกระวายนั่นเอง เป็นสิ่งบีบคั้นเป็นความทุกข์

ยิ่งอยากมาก ก็ยิ่งพร่องยิ่งกระวนกระวายมาก และ

ความทุกข์ก็ยิ่งแรงมาก

ความจริง ก็เริ่มทุกข์ตั้งแต่เริ่มอยากนั่นเอง เพราะพอเริ่มอยาก

ก็เริ่มกระวนกระวาย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 06 ก.ค.2008, 8:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

โดยนัยนี้ จงพูดได้อีกสำนวนหนึ่งว่า การหาความสุขตามปกติของ

มนุษย์ก็คือ การเร้าความทุกข์ขึ้นแล้วหาทางระงับความทุกข์นั้นลงไป

คราวหนึ่งๆ หรือความสุขก็คือการดับทุกข์ได้นั้นเอง ยิ่งถูกเร้าให้ทุกข์

แรง เมื่อสนองระงับ ก็ยิ่งได้สุขมาก

ตามปกติระยะเวลาที่เริ่มอยาก เริ่มพร่อง กระวนกระวาย

มีทุกข์แล้ว แต่ยังไม่ได้สนองระงับ จะยาวนานหรือยาวนาน

มาก

ส่วนเวลาที่ได้รับการสนองระงับมักจะสิ้นนิดเดียว

ชีวิตมนุษย์ที่ระคนด้วยสุขทุกข์ จึงมากด้วยทุกข์และต้องเอาความ

หวังเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง แต่ที่ร้ายแรงก็คือ มีความอยากมากมาย

ซึ่งไม่ได้รับการสนองระงับ และทั้งไม่มีความหวังจะได้รับการ

สนองระงับ จึงมีแต่ความทุกข์ยาวนานและรุนแรงยิ่งขึ้น

เมื่อรอไม่ได้ หรือไม่มีหวัง มนุษย์จำนวนมากก็จะดิ้นรนทุกรูปแบบ

ถ้าสนองระงับทุกข์ไม่ได้ ก็ระบายทุกข์นั้นออกไป ทำให้เกิด

ปัญหาเพิ่มทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่นให้มากขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 8:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

เรื่องไม่จบแค่นั้น เมื่ออยากและดำเนินการให้ได้ตามอยาก

ก็ย่อมถูกขัดถูกแย้งหรือถูกแย่งบ้าง ชีวิตที่อยู่ด้วยความอยาก

จึงต้องมีความขัดใจ โกรธ เกลียด แค้นเคือง พร้อมทั้งความ

ทุกข์ความเดือดร้อน ปัญหาต่างๆที่เกิดจากความโกรธเกลียดนั้น

ควบคู่มาด้วย ยิ่งอยากมากอยากบ่อย ความขัดใจและความทุกข์ก็ยิ่ง

มากยิ่งบ่อย- (หมายถึงอยากด้วยตัณหา ถ้าอยากแบบฉันทะ เมื่อ

ถูกขัด อาจกลายเป็นสนุกไป)


(ลิงค์ที่อธิบายความต่างระหว่าง ตัณหากับฉันทะ)

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13590
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 8:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

แต่ร้ายยิ่งกว่านั้นอีก เมื่อฝากความสุขไว้กับความอยากและกระบวน

การสนองระงับความอยากจนเคยชิน ต่อไปเมื่อไม่มีสิ่งที่อยาก

ไม่พบสิ่งที่น่าอยาก หรือสิ่งที่เคยอยากก็หายอยากเสียแล้ว

ว่างจากกิจกรรมสนองความอยาก หรือไม่รู้จะอยากอะไร

ก็จะมีแต่ความเบื่อหน่าย หงอยเหงา ซึม และ เซ็งชีวิต

กลายเป็นภาวะที่ทนไม่ได้ ไร้ความหมาย เป็นความทุกข์อีก

แบบหนึ่ง แต่เป็นความทุกข์ที่ไม่มีรสชาด อาจยิ่งแย่

กว่าความทุกข์แบบกระวนกระวายเมื่อยังไม่ได้สนองระงับความอยาก

เสียอีก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 8:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

เมื่อมนุษย์ยึดเอาความอยากและสิ่งปรนเปรอความอยากเป็นสรณะ

ฝากความสุขไว้กับกระบวนการสนองความอยาก ปรุงแต่งความอยาก

และสิ่งสนองปรนเปรอให้หลายหลายพิสดารยิ่งขึ้น

ความทุกข์ของมนุษย์ก็จะประณีตลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนถึงขั้นที่กล่าวมานี้

นี่คือ วงจรชีวิตที่มีความทุกข์เป็นพื้นฐาน หรือการมีชีวิตอยู่จริง

ในเวลานั้นๆ ขณะนั้นๆ คือ มีจิตใจรับรู้เต็มตื่นอยู่กับสภาพ

ที่กำลังเป็นอยู่ประสบอยู่ หรือ สิ่งที่เกี่ยวข้องต้องทำเป็นปัจจุบัน

ในขณะนั้นๆ รู้เข้าใจสิ่งนั้นๆ สภาพนั้นๆ ตามสภาวะของมัน

และพิจารณาจัดการสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ ด้วยความรู้เข้าใจตามสภาวะ

นั้น เรียกสั้นๆ ว่าเป็นอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ หรือ

ด้วยสติปัญญา ตามหลักสติปัฏฐาน จะเรียกว่ามีสติตามทันปัจจุบัน

หรือมีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบันก็ได้


ผู้ที่เป็นอยู่ตามหลักการนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มีชีวิตอยู่อย่างแท้จริง -

(คนจำนวนมากไม่ได้มีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตของเขาอยู่ในอดีตบ้าง

อยู่ในอนาคตบ้าง)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 8:12 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

เมื่อมีชีวิตอยู่เต็มที่ในขณะนั้นๆ ก็ไม่มีความขาดความพร่อง และ

ไม่มีความเครียดกระวนกระวาย ที่เกิดจากถูกความอยากเหนี่ยว

หรือ ดึง ให้เป็นเหมือนยางที่ยึดออกไป รับรู้และเสวยอารมณ์

แต่ละขณะอย่างที่เต็มบริบูรณ์เสร็จสิ้นไปทีเดียว จึงมีความสุขเต็มอิ่ม

อยู่ในตัวทันทีทุกๆขณะไม่ต้องอาศัยความสุขชนิดที่เกิดจากการสนองระงับ

ความอยากดับทุกข์ไปได้คราวหนึ่งๆ คือ ไม่มีความทุกข์เกิดขึ้น

ที่จะต้องคอยตามดับ

จึงเรียกง่ายๆว่า ความเป็นอยู่อย่างไร้ทุกข์ ซึ่งหมายถึงการมีความ

สุขบริบูรณ์อยู่ในตัวแล้วตลอดเวลา นี้คือ การเปลี่ยนจากความ

เป็นอยู่อย่างมีความทุกข์เป็นพื้นฐาน มาเป็นความเป็นอยู่อย่าง

มีความสุขเป็นพื้นฐาน หรือ มีความไร้ทุกข์เป็นพื้นฐาน

ผู้ที่มีความไร้ทุกข์ หรือ ความสุขอย่างนี้เป็นพื้นฐานของชีวิตแล้ว

เมื่อต้องการเสวยความสุขอย่างใดๆ ที่อยู่ในวิสัยของตน ก็เสวย

ความสุขนั้นๆ อย่างได้รับความสุขเต็มที่
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 07 ก.ค.2008, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ถ้ายังเป็นผู้หาความสุขจากความอยากอยู่บ้าง แม้ในเวลาที่ไม่มี

สิ่งสนองความอยากหรือไม่อาจสนองความอยาก ก็ไม่ประสบ

ปัญหา เพราะมีความสุขแบบไร้ทุกข์นี้ยืนพื้นเป็นหลักประกันอยู่

นอกจากนั้น ด้วยเหตุที่ไม่มีเงื่อนปมแห่งทุกข์เป็นปัญหาขัดถ่วง

เหนี่ยวรั้งอยู่ภายใน เขาจึงเป็นผู้พร้อมที่จะทำกิจและจัดการปัญหา

ต่างๆภายนอก ไม่ว่าของบุคคลหรือของสังคมอย่างได้ผลดี

เต็มบริบูรณ์แห่งความสามารถของเขา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ทศพล
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 10 ก.พ. 2008
ตอบ: 153
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 4:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมว่าการพิจารณากฎไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ง่ายครับ สาธุครับ สาธุ
 

_________________
"ธรรมทาน คือ ทานอันสูงสุด"
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"

http://www.wimutti.net
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 4:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ไม่เคย เห็นใครรู้ ขนาดนี้ครับ โมทนา สาธุ ครับ
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 9:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติ เป็นองค์ธรรมสำคัญมีอุปการมาก จำเป็นต้องใช้ในกิจทุกอย่าง แต่มักมีปัญหาว่า ทำอย่างไรจะให้สติเกิดขึ้นทันเวลาที่ต้องใช้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำอย่างไรจะให้คงอยู่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่หลุดลอยขาดหายไปเสีย

ในเรื่องนี้ ทางธรรมแสดงหลักไว้ว่า โยนิโสมนสิการเป็นอาหารหล่อเลี้ยงสติ ช่วยให้สติที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ช่วยให้สติที่เกิดขึ้นแล้วเกิดต่อเนื่องไปอีก-(สํ.ม. 19/365/96 ฯลฯ)

คนที่มีความคิดเป็นระเบียบ ความคิดแล่นเรื่อย ได้เรื่องได้ราว เดินเป็นแถวเป็นแนว ย่อมคุมเอาสติไว้ใช้ได้เรื่อย (การปฏิบัติกรรมฐานก็เพื่อสิ่งนี้)

แต่คนที่คิดอะไรไม่เป็น หรือในเวลาที่ความคิดไม่เดิน ไม่มีจุด ไม่มีหลัก สติก็จะพลัดหายอยู่เรื่อย รักษาไว้ไม่อยู่ เพราะตามสภาวะแท้จริง เราจะไปรักษา ไปกักไปกดดึงเอาสติไว้ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง และทำไม่ได้ ที่ถูกต้องคือต้องเลี้ยงมันไว้ หมายความว่า สร้างปัจจัย- (คือ ด้วยการฝึกกำหนดอารมณ์กรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐาน ตลอดจนการเดินจงกรม เป็นต้น) ให้มันอยู่ เมื่อมีปัจจัยให้มันเกิดมันก็เกิด เป็นเรื่องของกระบวนธรรม เป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

บอร์ดใหม่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 22 พ.ย.2010, 10:42 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บุญชัย
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 ก.ค. 2008
ตอบ: 568
ที่อยู่ (จังหวัด): สงขลา

ตอบตอบเมื่อ: 24 ก.ย. 2008, 9:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบพระคุณอีกมากๆครับท่านกรัชกาย
 

_________________
ทำดีทุกทุกวัน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง