Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 จิตดับ กับ จิตหลับ แยกกันอย่างไร อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
anny
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2007
ตอบ: 6
ที่อยู่ (จังหวัด): bkk

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 2:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อยากทราบความหมายของ จิตดับ และจิตหลับ เหมือนกัน หรือ ต่างกัน อย่างไร แยกกันอย่างไร แล้วทราบได้อย่างไร ว่าแบบใหน มีวิธี ทดสอบหรือไม่
 

_________________
จงตั้งใจทำทุกสิ่ง และ ทำทุกสิ่งด้วยความตั้งใจ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 8:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

อยากทราบความหมายของ จิตดับ และจิตหลับ เหมือนกัน หรือ ต่างกัน อย่างไร แยกกันอย่างไร แล้วทราบได้อย่างไร ว่าแบบไหน มีวิธี ทดสอบหรือไม่



ดับคือรู้เห็นว่ามันดับ (ความคิดดับ) เจ๋ง

แต่หลับไม่รู้ตัวว่าหลับ รู้สึกตัวตื่นจึงรู้ว่าเมื่อกี้หลับไป หลับ

ต้องการทดสอบ ก็ลองฝึกกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งดู แล้วจะ

รู้ฤทธิ์ของความหลับ เศร้า

หมายความว่าต้องการให้มันตื่น แต่มันจะหลับ หลับ :

แต่เวลาจะให้มันหลับ แต่กลับนอนคิดฟุ้งซ่าน อายหน้าแดง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 8:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอตอบตามความเข้านะครับ

จิตดับหมายเอาการตัดความรู้สึกทางกาย ทางใจไปหมด โดยที่ไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น หรึอเรียกอีกอย่างว่า ฝึกดับจิต อันนี้ก็คือทำจิตให้เข้าสู่อสัญญี ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง

ส่วนจิตหลับนั้นเคยได้ยินพระอาจารย์ท่านบอกว่า เป็นการที่จิตเข้าสู่ภวังค์ชนิดหนึ่ง

ปฏิบัติแล้วลองสังเกตดูได้จากตอนนั่งสมาธิ แล้ว ตอนง่วงใกล้หลับ ตอนนี้แหละต้องตั้งสติให้ดี แล้วจะเป็นอาการหลับ ของจิต ซึ่งอาจทำให้จิตเลยเข้าภวังคจิตไปเลยก็ได้

เมื่อเกิดอาการแบบนี้แล้ว
ลองทำความคุ้นเคยแล้วจะรู้จักกับอาการอย่างนี้นะครับ

ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ทราบนะครับ ลองดูนะครับ ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 9:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เห็นเป็นอื่นแล้ว
จึงแก้ไขข้อความ
ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ


แก้ไขล่าสุดโดย คามินธรรม เมื่อ 03 ก.ค.2008, 3:28 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 1:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายครับ



จิตดับ คือ เจโต(จิต)วิมุติ หมายถึงความคิดปรุงแต่งดับไป

จิตหลับ ความคิดปรุงแต่งไม่ได้หลับ ยังฟุ้งซ่านอยู่

จิตหลับ ถ้าความคิดปรุงแต่งหลับไป น่าจะเรียกว่า พรหม แต่
ความคิดปรุงแต่งที่หลับไป หลับไปชั่วคราว ถ้าหลับถาวร เรียกว่า เจโตวิมุติ

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ความคิดไม่มีการหลับ เพียงแต่มันหยุดที่
จุดเดียวคือไม่คิดปรุงแต่งหรือเปล่า นิ่งสยบเคลื่อนไหว จิตนิ่ง
ตลอด คือ นิพพาน จิตเคลื่อนไหว คือ เวียนว่ายตายเกิด
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 1:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เรียนถามคุณ พลศักดิ์ วังวิวัฒน์

ผมมีข้อสงสัยครับ

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ความคิดไม่มีการหลับ เพียงแต่มันหยุดที่
จุดเดียวคือไม่คิดปรุงแต่งหรือเปล่า นิ่งสยบเคลื่อนไหว จิตนิ่ง
ตลอด คือ นิพพาน


ตรงตัวอักษรสีแดงนั้นจะทราบได้อย่างไรว่า จิตจะเป็นเพียงอุเบกขาหรือ จิตนิ่งตลอดคือนิพพาน

ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 2:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
เรียนถามคุณ พลศักดิ์ วังวิวัฒน์

ผมมีข้อสงสัยครับ

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่า ความคิดไม่มีการหลับ เพียงแต่มันหยุดที่
จุดเดียวคือไม่คิดปรุงแต่งหรือเปล่า นิ่งสยบเคลื่อนไหว จิตนิ่ง
ตลอด คือ นิพพาน


ตรงตัวอักษรสีแดงนั้นจะทราบได้อย่างไรว่า จิตจะเป็นเพียงอุเบกขาหรือ จิตนิ่งตลอดคือนิพพาน

ช่วยให้ความกระจ่างด้วยครับ



คำถามของคุณเป็นคำถามสั้นๆ แต่ต้องตอบยาวๆ จึงจะเข้าใจ

คุณรู้ไหม รูปพรหม อรูปพรหม แตกต่างจาก พรหมภูต หรือ
ธรรมภูต ธรรมกายอย่างไร

ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน

ในปารมิตาหฤทัยสูตร พระโพธิสัตว์อวโอกิเตศวรตอบพระสารีบุตร
ว่า “ ธรรมกายก็คือปรัชญาปารมิตา ซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้ ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีตฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาล ”

เพื่อจะยืนยันว่า อายตนะนิพพาน มีอยู่จริง เราต้องฟังคำยืนยันจาก
พระโอษฐ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงตรัสว่า อายตนะ(นิพพาน) นั้น มีอยู่ ดังนี้

“ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) นั้นมีอยู่. ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาส
านัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา
สัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อม
ไม่มี ในอายตนะนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการ
ไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุบัติ. อายตนะนั้นหาที่ตั้ง
อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.”
ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘/๒๐๖-๒๐๗
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
jojam
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 27 พ.ค. 2004
ตอบ: 62

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 2:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผลจากการปฏิบัติภาวนาเป็นเหตุ จนเกิดสงบ เป็น สภาวะ "จิตดับ"
ปกติจะอยู่ ประมาณ 2 - 20 ชม.

ปล. ยกสภาวะอะไร มา พิจาณาก็ไม่มี ทวนกลับไปหมด ไม่มี ซึมลงจิต เรียบสงบ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 2:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ RARM ครับ (ต่อ)



ศาสนาพราหมณ์เขาค้นพบทางเข้าไปสู่รูปพรหมและอรูปพรหม แต่
เขาไม่พบทางไปนิพพาน ทางไปนิพพาน นี้ก็คือ อาตมันเข้าไป
รวมกับปรมาตมัน หลวงปู่ดุลย์เทศน์ว่า

"เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว “จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง” จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า “นิพพาน” "


สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิพพานนี้ เป็นภาวะวิมุติ ซึ่งเป็นจุดกึ่ง
กลาง ระหว่างรูปและอรูปฌาณ ศาสนาพราหมณ์เขาหาจุดนี้ไม่เจอ
ไปข้ามจากรูปไปอรูปฌานเลย ภาวะกึ่งกลางนี้ จะเข้าไปได้ ต้อง
ไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีราคะ โทสะ โมหะเท่านั้น ถ้าอยู่ที่ฌาน 1 และได้อาสวักขยาน ทำให้กิเลสสิ้นไปได้ ก็เป็นอรหันต์สุขะวิปัสโก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 2:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิพพานนี้ เป็นภาวะวิมุติ

หลวงปู่ดุลย์อธิบายว่า

เมื่อจิตว่างจาก “พฤติ” ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึงความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้วจิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้นไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซึมซาบอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน

เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร

เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว “จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง” จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า “นิพพาน”
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 2:50 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนอุเบกขานั้นน่าจะเป็นการข่มจิตลงไป เรียกว่า สมาธิ

ผมว่าผู้ปฏิบัติเท่านั้นย่อมรู้ว่าตนเองเข้าถึงระดับไหนแล้ว แต่บางที
ผู้ปฏิบัติก็ไม่รู้ ต้องไปถามพระพุทธเจ้า ผมก็แค่ให้หลักการเบื้องต้นเท่านั้น

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านสำเร็จทั้งรูปฌานและอรูปฌานนานแล้ว
แต่ท่านไม่ยอมเข้าไปในนิพพานสักที พระพุทธเจ้าจึงมาเตือนท่าน
ว่า ออกจากฌาน 4 เข้าออกนิพพานได้แล้ว เพราะหลวงพ่อใจไม่กล้า
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พลศักดิ์ วังวิวัฒน์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 30 มิ.ย. 2008
ตอบ: 542

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 3:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หลวงพ่อฤาษีลิงดำเทศน์ว่า


ไอ้ตัวสงบนี่ต้องระวังให้ดีนะ มันไม่ใช่ว่าง คำว่าสงบนี่ไม่ใช่ว่าง จิตของคนนี่มันไม่ว่าง คือว่ามันต้องเกาะส่วนใดส่วนหนึ่ง ถ้ามันละอกุศลมันก็ไปเกาะกุศล ไอ้จิตที่เรียกว่าสงบก็เพราะว่า สงบจากกรรมที่เป็นอกุศล คืออารมณ์ที่เป็นอกุศล อารมณ์ชั่ว สงบความปรารถนาในการเกิด อารมณ์สงบ คือ ไม่คิดว่าเราต้องการความเกิดอีก และจิตก็มีความสงบ เห็นว่าสภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ไอ้ตัวคิดว่าเรา ว่าของเรา นี่สงบไป สงบตัวยึดถือวัตถุก็ตาม สิ่งมีชีวิตก็ตาม ว่าเป็นเราเป็นของเรา นี่ตัวสงบตัวนี้นะ มีอารมณ์เป็นปกติอยู่เสมอ คิดว่าอัตภาพร่างกายนี้ไม่มีเรา ไม่มีของเรา และมันก็ไม่มีอะไรเป็นเราอีก หาตัวเราในนั้นไม่ได้

การเป็นพระอรหันต์ไม่เห็นยาก คือตัดความพอใจในโลกทั้งสาม มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ตัดราคะ ความเห็นว่ามนุษย์โลกสวย เทวโลกสวย พรหมโลกสวย โลกทั้งสามไม่มีความหมายสำหรับเรา เราไม่ต้องการ สิ่งที่เราต้องการคือพระนิพพาน มีความเยือกเย็นเป็นปกติ ไม่เห็นอะไรเป็นเรา เป็นของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากระทบถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา มีอยู่เป็นปกติ คือว่าไม่มีการสะดุ้งหวาดหวั่นอันใด
.................................. ....................................

ถ้าคนจะถึงอรหันต์ ทีนี้อารมณ์ใจมันสบายทุกอย่าง คือว่าไม่หลงในฌาน ฌานทุกอย่าง ทั้งรูปฌาน และอรูปฌาน เราพอใจ แต่คิดแต่เพียงว่า นี่เป็นบันไดก้าวขึ้นสู่อริยะเบื้องสูงเท่านั้น ไม่ใช่มานั่งหลงว่ากันทั้งวันทั้งคืน นั่งกรรมฐานตลอดวันตลอดคืน นั่นมันยังเป็นเด็กเล็ก ๆ อยู่ ที่นี้หลงในฌานไม่มี ตัวมานะถือว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขาไม่มี และอารมณ์ฟุ้งซ่านสอดส่ายไปสู่อารมณ์อกุศลไม่มี และตัวสุดท้ายก็เห็นว่าโลกทั้ง 3 โลก คือ มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก ไม่มีความหมายสำหรับเรา เห็นสภาวะของโลกทุกอย่างนี้ทั้ง 3 โลก มันเป็นแดนของความทุกข์ สิ่งที่มีความสุขที่สุดคือพระนิพพาน อันนี้ถ้าเป็นสุขวิปัสสโก ท่านจะมีความสบายมาก สบายในอารมณ์ ยอมรับนับถือกฎธรรมดา ยอมรับนับถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า พระนิพพานมีจริง และพระนิพพานเป็นแดนของความสุขจริง แม้ท่านจะไม่เห็น หากว่าวิชชา 3 ก็ดี อภิญญา 6 ก็ดี ปฏิสัมภิทาญาณก็ดี นี่เขาไปที่นิพพานได้เลย จะสามารถเห็นพระนิพพานได้เท่า ๆ กับของที่มองอยู่ข้างหน้า แล้วเขาก็จะรู้สภาวะว่า ถ้าเขาทิ้งอัตภาพนี้แล้ว เขาจะไปอยู่ตรงไหน เพราะพระนิพพานไม่ได้มีสภาพสูญ เขาก็เข้าสู่จุดของเขาเลยที่พระนิพพาน เข้าที่อยู่ได้ ไปไหว้พระพุทธเจ้าได้



(คัดลอกมาจากหนังสือ รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ ของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่ม 1 )
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 4:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำถาม จขกท. ลึกเกินครับ

ถามถึงต้นตอไตรลักษณ์เลย หากผู้ใดใครก็ตามเห็นความดับของ

จิตแล้ว ก็แปลว่าผู้นั้นเห็นไตรลักษณ์แล้ว

พิจารณาพุทธพจน์นี้ดูครับ


“ภิกษุทั้งหลาย การที่บุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จะเข้าไปยึดถือร่าง

กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 ว่าเป็นตัวตน ยังดีกว่าจะยึดถือ

จิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป 4

นี้ ยังปรากฏให้เห็นว่าดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง 2 ปีบ้าง 3-4-5 ปีบ้าง

10-20-30-40-50 ปีบ้าง 100 ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง

แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณนี้ เกิด ดับอยู่

เรื่อย ทั้งคืนทั้งวัน”


สํ.นิ.16/231/114
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 4:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


หรือ จะเรียกว่าเห็นนิพพาน (ตทังคนิพพาน) ก็ได้

พิจารณาพุทธวจนะนี้อีกครับ



"ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน

แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรม

นิพพานโดยปริยาย

ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง

เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา

อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป

แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรม

นิพพานโดยนิปปริยาย

องฺ.นวก. 23/237,251,255/425,475,476

ผู้ที่มองเห็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว

หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้

ตทังคนิพพาน”


สํ. ข.17/88/54
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 03 ก.ค.2008, 10:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อืมม์
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2008, 3:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่างกันอย่างแรงครับ ดับ นั้นตื่นอยู่ครับ แต่หลับก็ย่อมหลงครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
guest
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 09 ก.ค. 2008
ตอบ: 254

ตอบตอบเมื่อ: 11 ก.ค.2008, 2:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ต่างกันตรงสติครับ

ตัวอย่าง มีอยู่ ๒ อย่างครับ แต่ไม่รู้ว่าจะเรียกว่า "จิดดับ" หรือ "จิดหลับ" ได้หรือเปล่า

๑.นั่งสมาธิไปแล้วจิตรวมลงเป็นสมาธิ ความรู้สึกว่าตัวตนไม่มีทุกอย่างดับหมด แต่มีสติรู้ประจำอยู่ในองค์สมาธิ

๒.สมาธิซึ่งรวมลงไปแล้วไม่ทราบกลางวันกลางคืน เป็นตายไม่ทราบทั้งนั้นเหมือนคนตายแล้ว พอถอนขึ้นมาจึงจะรู้ย้อนหลังว่า จิตรวมหรือจิตไปอยู่ที่ไหนไม่ทราบ ท่านเรียก "สมาธิหัวตอ" เพราะจิตรวมลงแล้วเหมือนหัวตอ ไม่มีความรู้สึก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
walaiporn
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 02 ก.ค. 2006
ตอบ: 253
ที่อยู่ (จังหวัด): สมุทรปราการ

ตอบตอบเมื่อ: 18 ก.ค.2008, 11:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณแอนนี่ พิมพ์ว่า

อยากทราบความหมายของ จิตดับ และจิตหลับ เหมือนกัน หรือ ต่างกัน อย่างไร แยกกันอย่างไร แล้วทราบได้อย่างไร ว่าแบบใหน มีวิธี ทดสอบหรือไม่
....................................................................
จากหนังสือวิปัสนาทีปนีฎีกา
ความดับของจิตและเจตสิกเรียกว่า นิโรธ ในขณะที่มีนิโรธนี้ จิตตชรูปก็ย่อมไม่เกิดด้วย การเข้าหรือการลงมือทำเพื่อวิถีดับเรียกว่า สมาบัติ พระอนาคามีหรือพระอรหันตบุคคลใดจะเข้านิโรธสมาบัตินั้นฯลฯ......
ต้องขออภัยด้วยข้อความที่จะนำมาโพสยาวมากๆ ตอบตรงๆว่าขี้เกียจพิมพ์เพราะไม่รู้ว่าจะรู้ไปทำไม ( นี่ความคิดของดิฉันเอง )

ส่วนจิตหลับก็คือจิตตกภวังค์

คิดว่าคุณแอนนี่คงจะใช่คนที่ใช่นามในลานสนทนาธรรมจักรว่า แอนนี่ ใช่คนเดียวกันหรือเปล่าคะ เพราะถ้าใช่ เพียงจะบอกว่า อาการที่คุณเป็นอยู่มีวิธีแก้คือ ให้คุณเจริญสติให้มากๆ สมาธิคุณมากไป สติคุณไม่พอ คุณก็เลยดิ่งแล้วไปติดนิ่งอยู่แบบนั้น จะกี่ช.ม.ก็ได้ค่ะ หรือจะใช้วิธีให้จิตมีที่เกาะ โดยใช้สมมติบัญญัติว่า รู้หนอ ๆๆๆ หายใจยาวๆ เวลาคุณดิ่งลงไปใหม่ๆคุณอาจจะจับไม่ทัน ให้คุณฝึกเจริญสติให้มากขึ้น ทางที่ดีคุณควรอยู่ใกล้ครูบาฯ เวลาคุณดิ่งท่านจะค่อยๆสะกิดให้คุณรู้ตัว เมื่อคุณรู้ตัวคุณค่อยๆขยับตัวให้ตรงแล้วกำหนดรู้หนอๆๆๆ คุณทำแบบนี้บ่อยๆ เมื่อสติคุณมากพอ อาการที่คุณเป็นอยู่จะหายไปเอง แล้วสมมติบัญญัติ " รู้หนอ " ที่คุณใช้ให้จิตเป็นที่ยึดเหนี่ยว มันก็จะหายไปเองโดยคุณไม่ต้องไปทำอะไร แค่เพียงให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
 

_________________
ไม่มีคำว่าทำไม่ได้ หากเราพยายามทำและตั้งใจทำอย่างต่อเนื่อง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง