Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผลได้หรือไม่ ? อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:16 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ยิ่งฌานที่เป็นบาทสูงเท่าใด สมาธิจิต ที่ใช้ทำวิปัสสนา

ก็ยิ่งประณีตมั่นคงมากขึ้นอยู่ในระดับของฌานสมาบัติที่เป็นบาทนั้น

ปัญญาที่เป็นตัววิปัสสนา ก็อาจถูกเรียกแยกเป็นชั้นๆ ตาม

ฌานสมาบัติที่เป็นบาท

เช่น เรียกว่า วิปัสสนาปัญญาในระดับปฐมฌาน

หรือ ปฐมฌานวิปัสสนาปัญญา (องฺ.อ.3/359) เป็นต้น

และมรรค คือ การตรัสรู้ที่จะเกิดขึ้น ก็จะประกอบด้วยฌาน

สมาบัติระดับเดียวกับที่ใช้เป็นบาทนั้นเช่นกัน

ทั้งนี้ ยกเว้นเนวสัญญานายัญญายตนะ

และสัญญาเวทยิตนิโรธ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

เท่าที่กล่าวมานี้ พอให้เห็นได้ว่า คำพูดว่า บำเพ็ญ

วิปัสสนาในฌานก็ดี

ออกจากฌานแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนาก็ดี ไม่ขัดแย้งกัน


อย่างแรกเป็นการพูดนัยกว้าง จะว่าเป็นการพูดแบบปริยาย

หรือสำนวนพระสูตรก็ได้

ตามนัยนี้ คำว่าฌานหมายถึงทั้งตัวฌานเองแท้ๆ และ

ภาวะจิตที่เรียบสม่ำเสมอมั่นคงด้วยกำลังของฌานนั้น


ที่ว่าบำเพ็ญวิปัสสนาในฌาน ก็คือเมื่อเข้าฌานแล้วก็ใช้ภาวะจิต

ที่ตั้งมั่นด้วยกำลังฌานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป


ส่วนการพูดอย่างหลัง (ว่าออกจากฌานแล้วบำเพ็ญ

วิปัสสนา) เป็นการพูดนัยจำเพาะ จะว่าเป็นการพูดโดยนิปริยาย

หรือ สำนวนพระอภิธรรมก็ได้ (ท่านว่า สุตตันตเทศนาเป็น

ปริยายกถา อภิธรรมเทศนา เป็นนิปปริยายกถา-

สงฺคณี อ. 452 วิสุทฺธิ-ฎีกา 2/172)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

ตามนัยนี้ คำว่าฌาน หมายถึงตัวฌานเองแท้ๆ เท่านั้น คือ

หมายถึง การที่จิตกำหนดแน่วอยู่กับอารมณ์ของสมถะ เช่น

นิมิตของลมหายใจและกสิณเป็นต้นเพียงอย่างเดียว

ส่วนภาวะจิตที่มั่นคงสม่ำเสมอด้วยกำลังฌาน สำนวนอภิธรรม

แยกออกมาเป็นอีกตอนหนึ่งต่างหาก เป็นตอนที่ออกจากฌาน

แล้ว คือจิตปล่อยอารมณ์ของสมถะหลุดไปหรือขาดตอนไป

แล้ว

แต่ด้วยกำลังฌาน จิตจึงยังคงตั้งมั่นมีสมาธิเป็นอย่างดี

ถึงตอนนี้ผู้ปฏิบัติธรรม อาศัยภาวะจิตนี้แหละบำเพ็ญ

วิปัสสนา โดยการยกเอาฌานพร้อมทั้งธรรมต่างๆ เช่น วิตก

วิจาร ปีติ สุข ฉันทะ วิริยะ เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในฌานที่ตนเพิ่ง

ออกมาแล้วนั้นเอง ขึ้นมาทำเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาเสีย


เมื่อไม่ยอมเรียกภาวะจิตนี้ว่าอยู่ในฌาน ก็ต้องหาถ้อยคำมา

เรียกให้เหมาะ เพราะถึงแม้จะออกจากฌานแล้ว แต่ภาวะจิต

ตอนนี้ก็มิใช่กลับไปมีสภาพอย่างเดิมเหมือนเวลาก่อนเข้าฌาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

อรรถกถายุติปัญหานี้ โดยคิดคำขึ้นใช้ใหม่ เรียกว่าทำฌานให้

เป็นบาท

ส่วนการตัดแยกระหว่างตัวฌานแท้ๆ กับภาวะจิตที่ตั้งมั่นอยู่ต่อมา

ด้วยกำลังฌาน อรรถกถาอาศัยหลักเรื่องภวังคจิตมากำหนดเป็นการ

ออกจาฌานให้ขาดตอนจากกัน


(คำว่า ภวังค์ หรือ ภวังคจิต มีมาในพระไตรปิฎกเฉพาะในคัมภีร์

ปัฏฐานแห่งพระอภิธรรมเท่านั้น เช่น อภิ.ป.40/509/163 ฯลฯ

ครั้นถึงรุ่นอรรถกถาจึงใช้กันดื่นขึ้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

รวมความที่สันนิษฐานตามหลักฐานเหล่านี้ว่า สำนวนพูดโดย

ปริยายว่า


“อยู่ในฌาน เจริญวิปัสสนา” มีความหมายครอบคลุมเท่ากับที่

อรรถกถา แยกพูดโดยนิปริยายว่า

“เข้าฌาน ออกจากฌานแล้ว พิจารณาสังขาร”

(องฺ.อ.2/13)

หรือ “ออกจากฌานที่เป็นบาทแล้ว จึงพิจารณาสังขาร”

(วิสุทธิ.3/312)

หรือ “ทำฌานให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนา”

(วิสุทธิฎีกา.1/316)

หรือ “ได้ฌานแล้ว เจริญวิปัสสนา ที่มีฌานเป็นบาท”

(วิสุทธิ. 1/241 วิสุทธิ.ฎีกา. 2/19)

หรือ “ออกจากสมาบัติแล้ว ทำวิปัสสนาด้วยจิตที่ตั้ง

มั่น”

(ม.อ. 1/171 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า ทั้งสำนวนพระสูตร และสำนวนอภิธรรม มีสาระ

สำคัญอย่างเดียวกันคือ ทำฌานให้เกิดขึ้น (เข้าฌาน) ก็เพื่อใช้

กำลังสมาธิของฌานนั้นเตรียมจิตให้อยู่ในสภาพซึ่งพร้อมดีที่สุด

สำหรับใช้เป็นที่ทำการของปัญญาที่จะคิดพิจารณาให้เห็นความจริง

ต่อไป เมื่อเข้าฌาน เมื่อเข้าฌานคือ ฌานเกิดขึ้นแล้ว จิตพร้อมดี

แล้ว ก็เดินหน้าต่อไปสู่ขั้นใช้ปัญญา พิจารณาสภาวะของสิ่งทั้ง

หลาย ซึ่งเรียกว่าวิปัสสนา ภาวะนี้เรียกง่ายๆ ก็ว่า เข้าฌานแล้ว

เจริญวิปัสสนา หรือคล้ายกับพูดว่า อยู่ในฌานเจริญวิปัสสนา

แต่ถ้าจะพูดให้กระชับลงไปอีก ก็ต้องว่า อาศัยฌานเจริญ

วิปัสสนา

ถึงตอนนี้ ฝ่ายอภิธรรมก็มาช่วยอธิบายว่า ฌานเป็นสมถะ

ย่อมยึดหน่วงอารมณ์ของมันไว้อย่างหนึ่งอย่างเดียวโดย

ตลอด

เมื่อหันไปใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ ก็ย่อมเปลี่ยนออกจาก

อารมณ์ที่กำหนดเดิม และเมื่อเปลี่ยนอารมณ์อย่างนั้นจิตก็ตก

ภวังค์ นั่นคือออกจากฌานไปแล้ว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ต่อจากนั้น การพิจารณาเป็นเรื่องของวิปัสสนา นับเป็นคนละ

ขั้นตอน แต่เพราะได้อาศัยฌานนั้นมีความสัมพันธ์กันอยู่

อรรถกถาจึงให้เรียกว่า เอาฌานเป็นบาท หรือ เป็นปทัฏฐานของ

วิปัสสนา


คำอธิบายอย่างนี้ ก็รับกันดีกับข้อความที่มีบ่อยๆ ในพระสูตร

ทั้งหลายว่า เข้าฌานอยู่แล้ว

ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น ...แล้วจึงน้อมจิตไปเพื่อวิชชาต่างๆ

(ม.ม.13/505-8/460-1)

ซึ่งหมายความว่า อาศัยฌานเป็นเครื่องทำจิตให้พร้อมก่อน

แล้วจึงนำไปใช้งาน

ท่านเรียกจิตเช่นนั้นว่า จิตที่ควรแก่การนำไปใช้

(อภินีหารกฺขม) และจึงเป็นบาท หรือเป็นปทัฏฐานเพื่อได้ผลสำเร็จ

ที่สูงยิ่งๆขึ้นไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พระอรรถกถานจารย์ นับแจงตามข้อความในพระสูตร

ให้เห็นว่า จิตเช่นนี้ประกอบด้วยคุณสมบัติ 8 อย่าง คือ

สมาหิตะ-ตั้งมั่น

ปริสุทธะ –บริสุทธิ์

ปริโยทาตะ-ผ่องใส

สนังคณะ-โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา

วิคตูปกิเลส-ปราศสิ่งมัวหมอง

มุทุภูตะ-นุ่มนวล

กัมมนิยะ-ควรแก่การงาน

ฐิตะ อาเนญชัปปัตตะ-อยู่ตัว ไม่วอกแวกหวั่นไหว

(นิทฺ.อ.2/59; วิสุทธิ.2/203)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 ก.ค.2008, 4:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ฌานแล้ว แต่ไม่ใช้ฌานเป็นบาท

จะเจริญวิปัสสนาเพียงด้วยอุปจารสมาธิ หรือขณิกสมาธิ เท่านั้น

ก็ย่อมได้ แต่จะมีสภาพเหมือนกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว

โดยไม่ได้ฌานมาก่อน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ช่วงนี้ขอ แทรกการปฏิบัติอานาปานสติกรรมฐานของท่านหนึ่ง เพื่อ
เป็นแนวศึกษาและสัมมาปฏิบัติซักตัวอย่างหนึ่งก่อน

กรรมฐานที่แนะกันผิด ๆ มีมากมาย บางแห่งสอนให้เค้านั่งโยกๆ
เขย่าๆกายไปมาบอกว่า เข้าฌานนี้นี้ฌานแล้ว

บางคนทำไปๆขนลุกหน่อย เข้าใจว่าถึงฌานแล้ว ฯลฯ


อ่านตัวอย่างนั้นแล้ว จับประเด็นสำคัญๆไว้ เช่น
เจตนาในการทำ (ปฏิบัติ)
ทำให้ต่อเนื่องเท่าที่จะทำได้
อารมณ์เดินเรียบสม่ำเสมออยู่กับงาน (กรรมฐาน) ที่ใช้ได้นาน
ความสุขภายใน (นิรามิสสุข)
นิมิตคือลมหายใจจะละเอียดนิ่มนวล
จิตปราศนิวรณ์
มีสติสัมปชัญญะชัด

จิตฟุ้งซ่านรู้สึกยินดีพอใจต่อภาวะนั้น จึงตกจากกรรมฐาน ซึ่งก็คือ
หลุดจากสภาวะนั้น

ควรหมั่นฝึกเนื่องๆ เพื่อความชำนาญ(วสี) ต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 9:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

(ตัดเอามาแต่พอได้ใจความ ดังนี้) =>

ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมา
นี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่นนี่ ทราบว่าท่าน
น่าจะมาโปรดสัตว์

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์
ท่านก็ไม่ตอบอะไร
ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม
แนวทางในอานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา

ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลม
หายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรมอะไรก็ให้กำหนดรู้ลม
หายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มี
สติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่

ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้
เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้


ผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน เวลาเดิน ก็รู้สึกดี
ครับ รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ก็เลยนั่ง
สมาธิกำหนดลมหายใจ
(ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่ร.ร. สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน
ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่า
ปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน
ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก)

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้
ตลอดสายเป็นเวลานาน

แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดใน
ใจเป็นสมถะแบบอัปปมัญญา ๔
(ที่ผมเปลี่ยนเป็นวิธีนี้เพราะก่อนหน้านี้เคยอ่านหนังสือเรื่องสมถ ๔0
วิธีแล้วรู้สึกว่าเราน่าจะเหมาะกับวิธีนี้ คือเกิดความรู้สึกนี้ขึ้นเอง)

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณ
ในทิศเบื้องหน้า ฯลฯ
กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยาย
ตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ
ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว จนรู้สึกว่ากายหายไป คือ
ไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่
ความสุขไปหมด

ก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ
ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุข
นี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก (ส่วนใหญ่)มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่
บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไม
นะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้
ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน(ส่วนใหญ่)ในโลกกลับไม่
รู้"


ก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก

ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง
ก่อนหน้านี้เข้าใจว่า คือ ลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

การเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ คือ ปีติเกิด
ค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์
เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่


ผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"
จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆ ตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น ฯลฯ

http://larndham.net/index.php?showtopic=27390&st=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 6:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาจมีคำถามว่าแล้วนั่นเป็นสมถะหรือวิปัสสนา
คำตอบ ไม่ควรกังวลเรื่องชื่อสมถะชื่อวิปัสสนา เพราะเมื่อกล่าวใน
แง่สภาวธรรมแล้วสมถะ ได้แก่ สมาธิ วิปัสสนา ได้แก่ ปัญญา

นึกถึงหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ไว้
ศีล เพื่อสมาธิ
สมาธิเพื่อปัญญา
ปัญญาเพื่อวิมุต เป็นธรรมสัมพันธ์กันและกัน ไม่พรากจากกันเด็ด
ขาดสิ้นเชิง
อย่ากลัวสมถะเลย แล้วก็อย่าดีใจชื่อวิปัสสนาด้วย

ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่พึงเข้าใจสมถะหรือสมาธิผิดๆ แล้วมอง
ข้ามความสำคัญของธรรมข้อนี้ไป

แต่เมื่อต้องการจะรู้แนวทางสมถะกับวิปัสสนา
ก็พึงสังเกตหลักกว้างๆ จากพุทธธรรมหน้า 822
ก่อนก็ได้ คห.ต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 6:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะและวิปัสสนา
หากพูดเปรียบเทียบระหว่างบทบาทของสติในสมถะกับใน
วิปัสสนา (ก็ดังนี้)

ในสมถะ

สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อ

ให้จิตเพ่งแน่วแน่ หรือจับแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น นิ่ง

สงบ ไม่ส่ายไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับ

อารมณ์นั้นเป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าเป็น

สมาธิ และเพียงเท่านี้ สมถะก็สำเร็จ



ส่วนในวิปัสสนา

สติกำหนดอารมณ์กุมไว้กับจิต หรือคุมจิตไว้กับอารมณ์เหมือน

กัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์

เพื่อเอาอารมณ์นั้นเสนอให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับ

อารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู

และวิเคราะห์วินิจฉัย โดยใช้จิตที่ตั้งมั่น (= สมาธิ) เป็นที่ทำงาน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 02 ก.ค.2008, 8:55 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 6:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หากจะอุปมา

ในกรณีของสมถะ

เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวพยศไว้กับหลัก

ลูกวัวจะออกไปไหนๆ ก็ไปไม่ได้ คงวนเวียนอยู่กับหลัก

ในที่สุด เมื่อหายพยศก็หมอบนิ่งอยู่ที่หลักนั้นเอง

จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ

อารมณ์เหมือนหลัก

สติเหมือนเชือก



ในกรณีของวิปัสสนา

เหมือนเอาเชือก หรือ เครื่องยึดอย่างหนึ่ง ผูกตรึงคน สัตว์

หรือวัตถุบางอย่าง ไว้กับแท่นหรือเตียง แล้วตรวจดูหรือทำกิจ

อื่น เช่น ผ่าตัด เป็นต้น ได้ถนัดชัดเจน

เชือก หรือ เครื่องยึด คือสติ

คน สัตว์ หรือ วัตถุที่เกี่ยวข้อง คืออารมณ์

แท่น หรือเตียง คือ จิตที่เป็นสมาธิ


การตรวจสอบ หรือ ผ่าตัด เป็นต้น คือ ปัญญา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 6:39 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ที่กล่าวมานั้นเป็นการพูดถึงหลักทั่วไป ยังมีข้อสังเกตปลีกย่อย

บางอย่างที่ควรกล่าวถึงอีกบ้าง

อย่างหนึ่ง คือ ในสมถะ

ความมุ่งหมายอยู่ที่ทำจิตใจให้สงบ

ดังนั้น เมื่อให้สติกำหนดอารมณ์ใดแล้ว สติก็ยึดตรึงดึงจิต

กุมไว้กับอารมณ์นั้น

ที่ส่วนนั้นอย่างเดียว ให้จิตจดจ่อแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น

เท่านั้น ไม่ให้คลาดไปเลย

จนในที่สุด จิตน้อมดิ่งแน่วแน่อยู่กับมโนภาพของสิ่งที่

กำหนด ซึ่งเป็นเพียงสัญญาที่อยู่ในใจของผู้กำหนดเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 ก.ค.2008, 6:41 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ส่วนในวิปัสสนา

ความมุ่งหมายอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจสภาวธรรม

ดังนั้น สติจึงตามกำหนดอารมณ์เฉพาะตัวจริงของมันตาม

สภาวะเท่านั้น

และเพื่อให้ปัญญารู้เท่าทันครบถ้วนชัดเจนเกี่ยวกับสภาวะของ

มัน จึงตามกำหนดอารมณ์นั้นๆ ตามความเป็นไปโดย

ตลอด เช่น ตามตั้งแต่มันเกิดขึ้น คลี่คลายตัว จนกระทั่งดับสลาย

ไป

นอกจากนั้น จะต้องกำหนดอารมณ์ทุกอย่างที่เข้ามา

หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญญาจะต้องรู้เข้าใจ เพื่อให้เกิดความรู้

เท่าทันตามความเป็นจริง

จึงเปลี่ยนอารมณ์ที่กำหนดไปได้เรื่อยๆ

และเพื่อให้รู้เท่าทันตรงตามที่สิ่งนั้นเป็นอยู่เป็นไปแท้ๆ จึงต้อง

กำหนดดูให้ทันความเป็นไป

ในแต่ละขณะนั้นๆ ทุกขณะ

ไม่ยอมให้ติดค้างอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือส่วนใด

ส่วนหนึ่งของอารมณ์ใดๆ

กำหนดอารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้

พิจารณา

และอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง สรุปลงได้ทั้งหมดใน

กาย เวทนา จิต ธรรม หรือ ในนาม และรูป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 9:14 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ดูต่อ

ความหมายของฌาน


-ฌาน แปลว่า เผา, เพ่ง ฯลฯ หมายถึงภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่ว

แน่ ได้แก่ ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง

แต่สมาธินั้น มีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใส และมีกำลังมากน้อย

ต่างๆกัน

แยกได้เป็นหลายระดับ

ความต่างของระดับนั้น กำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบ

ร่วมของสมาธิในขณะนั้นๆ องค์ประกอบเหล่านี้ ได้แก่

วิตก –การจรดจิตลงในอารมณ์

วิจาร-การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์

ปีติ-ความอิ่มใจ

สุข- ความสุข หมายถึง ความสำราญ ชื่นฉ่ำ คล่องใจ ปราศจาก

ความบีบคั้นหรือรบกวนใดๆ

อุเบกขา- ความมีใจเป็นกลาง

และ เอกัคคตา-ภาวะที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว คือ ตัวสมาธิ

นั่นเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 9:18 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

-ต่อ

(ศึกษากุศลธรรมที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์ 5 โดยตรง)

ฌาน ที่แปลว่า เผา หมายถึงเผาบาปธรรม คือ นิวรณ์ที่เป็นปฎิปักข์

กับตน

-วิตก เป็นปฏิปักข์ของ ถีนมิทธะ

-วิจาร เป็นปฏิปักข์ของ วิจิกิจฉา

-ปีติ เป็นปฏิปักข์ของ พยาบาท

-สุข เป็นปฏิปักข์ของ อุทธัจจกุกกุจจะ

-สมาธิ หรือ เอกัคคตาเป็นปฏิปักข์ของ กามฉันท์

เมื่อธรรม (วิตก วิจาร ปีติ สุข สมาธิ หรือเอกัคคตา) เหล่านี้เกิด

ขึ้น ก็ย่อมกำจัดนิวรณ์ให้หมดสิ้นไป และเมื่อธรรมเหล่านี้อยู่นิวรณ์ก็

เข้ามาไม่ได้

แต่ในทางตรงข้าม ถ้านิวรณ์ครอบงำใจอยู่ ธรรมเหล่านี้ ก็ทำ

หน้าที่ไม่ได้

และมิใช่เพียงเท่านั้น การกำหนดรู้นาม-รูปตามเป็นจริงแต่ละขณะๆ

องค์ธรรมทั้งหลายมีสติสัมปชัญญะเป็นต้นก็เจริญด้วย



-อภิชฌา ในแง่ที่เป็นนิวรณ์มีความหมายเท่ากับกามฉันทะ และใช้

แทนที่กามฉันทะอยู่เสมอ
( ที.สี. 9/324/257 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 9:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ

โดยแปลว่า เพ่ง พินิจ ครุ่นคิด เอาใจจดจ่อ ก็ได้


บางทีก็นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า

เพ่งพินิจ หรือ คิดพิจารณา

ในอรรถกถาบางแห่ง จึงแปลฌานแยกเป็น 2 พวก คือ การเพ่ง

อารมณ์ตามแบบของสมถะ

เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน (ได้แก่ฌานสมาบัตินั่นเอง)


การเพ่งพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ตามแบบวิปัสสนาหรือวิปัสสนานั่นเอง

เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน


(ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่าฌานได้ เพราะแปลว่า เผา

กิเลสบ้าง เพ่งลักษณะที่เป็นสุญญตาของนิพพานบ้าง)

องฺ.อ. 1/536; ปฏิสํ.อ.221; สงฺคณี. อ.273 ;

ขุ. ปฏิ. 31 /483 / 368
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 ก.ค.2008, 9:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โปรดสังเกตคำว่า เพ่ง

ในทางธรรม ท่านใช้คำว่า เพ่ง อธิบายทั้งฌาน ทั้งวิปัสสนา

ดังกล่าวข้างบน ใช้คำว่า เพ่ง ทั้งหมด

แต่มีบางบอร์ด แนะนำกันและกันว่า อย่าเพ่ง ๆ ไม่ให้เพ่ง

กลัวเป็นสมถะ แล้วอธิบายสมถะว่า ปฏิบัติแล้วลืมกายลืมใจ

บ้างก็ว่า สมถะติดมาในอดีตชาติ

บางบอร์ดหนักเข้าไปใหญ่ ว่า สมถะเป็นคำสอนนอกศาสนา


ทั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสวิธีปฏิบัติโพธิปักขิยธรรมว่าเนื่องอยู่ในมรรค 8

ในขณะที่ปฏิบัติตามโพธิปักขิยธรรมนั้น สมถะกับวิปัสสนาก็เจริญไปด้วย

กัน ตัวอย่างพุทธวจนะต่อไปนี้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง