Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 กอบกู้สติปัญญา กอบกู้ชาติและชุมชน : ท่านเขมานันทะ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 5:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ก อ บ กู้ ส ติ ปั ญ ญ า
ก อ บ กู้ ช า ติ และ ชุ ม ช น

ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)

การดูจิต อาจจะเป็นวัฒนธรรมที่แปลกประหลาด
สำหรับคนร่วมสมัย เพราะว่าเราสอนให้ยึดติดในโลกของวัตถุ
ชอบดูสิ่งภายนอก สิ่งสวยงาม
ผู้หญิง ผู้ชาย หรือภาพยนตร์ หรืออะไรต่างๆ


เราไม่เคยถูกสอนให้ดูจิต หรือแม้แต่ดูตัวเอง
เพราะดูตนเองแล้วมันไม่สนุกอะไร

แต่สำหรับผู้ที่เข้าอกเข้าใจดีอยู่แล้ว
การดูตนเองนั้นเป็นการลับสติปัญญาชั้นสูง
เพราะว่าการที่เราเข้าใจจิตใจมนุษย์คนหนึ่ง
คือตัวเรานั้น เท่ากับเราเข้าใจสายสัมพันธ์ของมนุษยชาติ


อีกทั้งปมปัญหาและขุมทรพย์ที่ซ่อนอยู่ในตัวเองของทุกๆ คน
เพราะคนอื่นก็เหมือนกับเรา
เพียงแต่หน้าตา รูปร่างภายนอก ภาษาที่พูด
วัฒนธรรมการกินอยู่ไม่เหมือนกัน
แต่ธาตุฐานความเป็นคนเหมือนกัน

การรู้จักตัวเองนั้นคือรู้จักมนุษย์ทั้งโลก
ทั้งในอดีต อนาคตและปัจจุบัน


ดังเรื่องที่พระจักรพรรดิองค์หนึ่งของจีน
รับสั่งเรียกตัวนักประวัติศาสตร์ราชสำนักมา
รับสั่งให้เขียนประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
นักประวัจิศาสตร์ผู้นั้นกลับไปไตร่ตรองอยู่ร่วมเดือน
เขียนไม่ออกสักประโยคหนึ่ง

เมื่อได้รับการเตือนจากองค์พระจักรพรรดิ
นักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดก็เขียนออกมาสามประโยค

มนุษย์เกิดมาแล้วพอกพูนตัณหา เป็นทุกข์แล้วก็ตาย
เท่านี้ก็คือประวัติศาสตร์ของมนุษย์


เป็นนิทานล้อเลียนว่า

มนุษย์ทั้งโลกเหมือนกันหมด
เว้นไว้แต่ท่านผู้รู้แจ้งประจักษ์


พวกเรากำลังเดินตามรอยฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้า
เชื่อกันว่าใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ นั้น
พระพุทธเจ้าทรงรู้ประจักษ์แจ้งความจริงของชีวิตด้วยตัวของท่านเอง
แล้วก็ไม่เคยได้ยินใครสอนมาก่อน

ส่วนที่ครูดาบสสององค์สอนนั้นไม่ใช่ทางนี้ คนละทาง
เมื่อพระองค์ท่านเข้าถึงความจริงอันสูงสุดนั้นแล้ว
ก็ยังไม่บัญญัติธรรมะขึ้นสอน บัญญัติช่วงหลัง

สิ่งที่ท่านสอนนั้นเป็นธรรมนิยาม
เป็นกฏตายตัวของธรรมชาติก็ว่าได้


เมื่อพระองค์เข้าถึงแล้วนั้นยังไม่ทรงบัญญัติเรียกชื่อว่าเป็นอะไร
ท่านมานึกถึงดาบสทั้งสอง
ทรงเห็นว่าเป็นบัณฑิตผู้เฉลียวฉลาด
หากได้ฟังธรรมที่ท่านตรัสรู้แล้วจะเข้าถึงๆ ได้โดยเร็วพลัน
ปรากฏข่าวว่าทั้งคู่สิ้นชีวิตไปแล้ว

ต่อมาท่านนึกถึงปัญจวัคคีย์
ซึ่งเคยดูแลรับใช้พระองค์ท่านคอยทรมานตน
ซึ่งหนีหน้าไปอู่ที่เมืองพาราณสี หรือเมืองกาสีสมัยโน้น
ก็เสด็จดำเนินมุ่งไปสู่เมืองกาสีหรือเมิองพาราณสี

พบอุปกาชีวกสวนทาง
นักบวชเร่ร่อนคนนั้น
ก็รู้สึกเลื่อมใสในท่วงท่าของพระพุทธเจ้ามาก
เข้าไปถามว่า ใครเป็นอาจารย์ของท่าน
ท่านชอบธรรมะของใคร

ตรัสตอบอาชีวกคนนั้นว่า

ท่านเป็นสยัมภูรู้เอง

และเมื่อถูกซักไซร้ไล่เลียงว่า
ท่านเป็นใครกันแน่ เป็นคนหรือเปล่า
เป็นเทพหรือไม่ หรือเป็นนาค หรือเป็นครุฑ

ชาวอินเดียสมัยโน้นเชื่อว่า
นาค ครุฑ เทพ อาจแปลงกายเป็นอะไรก็ได้
ตรัสฏิเสธตอบเพียงว่า
ขอให้จำว่าท่านเป็นพุทธะเท่านั้นเป็นพอ

ซึ่งผลก็คือ อาชีวกผู้นั้นไม่เชื่อ
แล้วก็แลบลิ้นหลอกให้ด้วย
แถมเยาะหยันว่า

เชิญเป็นให้พอนะพ่อ แล้วจากไป

การสอนครั้งแรกของพระพุทธเจ้าไม่ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้เพราะไม่มีธรรมบัญญัติ

ผมเชื่อว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นเอง
ทำให้พระพุทธเจ้าทรงดำริถึงอุบาย
ที่จะนำทางจิตไปประสบธรรมที่พระองค์เข้าถึง

อาชีวกเขาเพียงเลื่อมใสท่าทางภายนอก
ฉะนั้นเมื่อบอกเขาตรงๆ ว่า ท่านคือพุทธะ
สภาวะของท่านเป็นพุทธะ เขาก็เข้าใจไม่ได้

ต่อมาพระพุทธองค์ทรงบัญญัติธรรมขึ้นสอน
ดังนั้นธรรมะที่สอนนั้นเป็นเพียงอุบายวิธีเท่านั้น
ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปฏิจจสมุปบาท
สิ่งเหล่านี้โดยสภาวะมันมีแต่อาการ ไม่มีชื่อ


ชื่อนั้นเป็นนามบัญญัติที่พระพุทธเจ้าเรียกมันขึ้น
อันนี้ก็เป็นอุบายในการสอนให้ผู้มาใหม่รับฟัง แล้วไตร่ตรอง

แต่สาระสำคัญอยู่ที่ การเข้าถึงจิต

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 5:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

วิปัสสนานั้นมีความหมายที่ลึกซึ้งที่สุดตรงเฝ้าดูจิต
และไม่เข้าไปในความคิด
มันก็จะเห็นเรื่องราวที่ซ่อนเร้นในตัวเอง เช่น


ถ้าได้คำตอบว่า
ความริษยานั้นเป็นความคิดเปรียบเทียบ
ทันใดที่เราคิดเปรียบเทียบนี่
เราจะเริ่มริษยา เริ่มเสียสมดุล เสียความปกติ

ในทางกลับกัน
ความคิดที่จะให้ก็เป็นความคิดเหมือนกัน
ความคิดเจือจาน กล่าวได้ว่า
ความคิดนั้นได้ครอบงำเราอยู่

เหมือนเรานั่งอยู่ในมุ้ง
เรามองอะไรนี่ผ่านทางมุ้ง
เห็นบ้างไม่เห็นบ้าง คลุมๆ เครือๆ
ถ้าเราเลิกมุ้งออกมา
เราจะเห็นแจ้งขึ้น
ชัดเจนในสิ่งที่คลุมเครือนั้น.

สรุปว่าให้รู้ตัว แต่อย่าให้มันรู้อะไรโดยเฉพาะ
เพราะถ้ามันรู้อะไรเข้า มันจะยึดติด
แต่ให้รู้ตัวโดยไม่ต้องรู้อะไร อยู่กลางๆ รู้ผ่านๆ

ความคิดมันจะเกิดขึ้น
ความคิดปรากฏขึ้น
เราจะเห็นอย่างฉับพลันทันที

ถ้าไม่ฉับพลันเป็นการคิดซ้อนคิด หรือคิดถึงความคิด

ดังนั้นนิกายเซนจึงยืนยันว่า

การเห็นธรรมนั้นต้องฉับพลัน ไม่ใช่ค่อยเป็นค่อยไป

ดูตัวอย่างผีเสื้อดักแด้ห่อตัวเข้าฝักนานทีเดียว
แต่ภายในคืนเดียวมันกลายเป็นผีเสื้อทันที
ฉับพลันหมายถึงกินช่วงขณะนั่นเอง
ที่เรานั่งบ่มความรู้สึกตัวนี้เป็นการเตรียมการเพื่อจะเห็น
แต่ไม่ใช่การเห็น

การเห็นกันชั่วขณะจิตเดียว
การเห็นความคิดนั้นเป็นการเปิดประตูเข้าไปสู่สภาวะธรรม
เหนือความคิด


ดังผมอุปมาแล้วว่า

เมื่อเรานอนหลับลึกโดยไม่มีความฝัน
ที่นั้นไม่มีระยะทาง ไม่มีกาลเวลา
ไม่มีเพศ ไม่เป็นหญิง ไม่เป็นชาย

พอตื่นขึ้นมาจึงคิดหรือรับรู้ว่า
ตัวเองเป็นเพศหญิง หรือเพศชาย
พอหลับลึกลงไปไม่มี

แต่ภาวะที่หลับลึกนั้นชีวิตยังคงดำรงอยู่
แต่ดำรงอยู่อย่างแปลกประหลาด
พอมันฟื้นขึ้นมาใหม่
เราพบว่าชีวิตเราอยู่รอดมาได้เพราะการหลับลึกนั่นเอง

การนอนหลับเป็นบทบาทที่สำคัญมาก
ถ้าเรานอนไม่หลับสักสิบคืนสงสัยจะไปแน่
เว้นไว้แต่ผู้ที่เจริญสติมาดี

หลับในตื่น ตื่นในหลับ
ไม่ได้หลับแบบหลับ แต่หลับแบบตื่น
แล้วพักผ่อนพอเพียง

ดังนั้นจึงมีเรื่องเล่าว่า

พระพุทธองค์ท่านนอนเพียงชั่วยามเดียว สามถึงสี่ชัวโมง

แพทย์สมัยใหม่บอกเราว่า
เราต้องนอนอย่างน้อยแปดชั่วโมง
มันก็สมกับวิถีชีวิตซึ่งฉุกละหุก
เหน็ดเหนื่อยของผู้คนร่วมสมัย

แต่ข้อเท็จจริงอันหนึ่งว่า เรามาอยู่ป่า
นอนสักสามชั่วโมงก็อื่ม
ตื่นขึ้นมารู้สึกสดใสได้เหมือนกัน

จิตดวงแรกและดวงสุดท้ายสำคัญมาก
ก่อนจะหลับ อย่าหลับด้วยความง่วง
ต้องหลับด้วยความตื่น คือทำจิตให้แจ่มใส
แล้วก็นอนลงตั้งสติ แล้วค่อยๆ เข้าสู่นิทรารมณ์

คืออารมณ์ในการหลับ จิตตกภวังค์
เรียกว่าหลับอย่างนักภาวนา


ครั้นเวลาตื่น พอรู้สึกตัวก็ขยับไม้ขยับมือก่อน
เพื่อว่าจิตดวงแรกที่ตื่นจะแล่นไปสู่ความสดชื่น
ความสดๆ ดังนั้นจิตดวงแรกที่ปรากฏความหลับ
ควรจะแล่นเข้าสู่ความสดชื่นที่ร่างกายได้พักผ่อนเต็มอิ่ม

นั่นคือสติเริ่มมีบทบาทลึกซึ้งแล้ว
ลึกซึ้งมากกว่านั้น
ขณะที่หลับ ขณะที่ฝัน
สติจะตั้งหลักขึ้นมา แล้วก็ตื่นจากฝัน

บางทีถ้านอนหลับอยู่พอเริ่มฝัน
สติมันตอบโต้ขึ้นมาภายใต้สำนึก
ถึงขนาดลุกขึ้นนั่งโดยอัตโนมัติก็ได้ เป็นได้เหมือนกัน

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 5:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ดังนั้นสติจึงมีทั้งหลับและตื่น
ผู้ไม่คุนเคยกับสำนวนนี้ก็จะงงว่า
หลับมีสติได้ยังไง
นั่นหมายถึงสติได้ที่แล้ว

มันแล่นลึกเข้าในขณะที่เราหลับ
เพราะสติมันเริ่มทำงาน
ความฝันก็คือความคิด นั่นเอง

ตอนกลางวันเราก็ฝัน แต่เราไม่หลับ
แต่กลางคืนเราหลับแล้วก็เริ่มฝัน ฝันคือคิด

ดังนั้นถ้ากลางวันเรามีสติดีพอ คิดเรารู้
มันเริ่มทำงานลึกลงไป
ลึกลงไปจนกระทั่งในวาระที่มันหลับมันก็ทำกิจได้
แสดงว่าสติเริ่มแผลงฤทธิ์แล้ว
ชีวิตจะเปลี่ยนไป

คือทันใดที่ความโลภเกิด
หัวมันจะขาดกระเด็น
แต่ที่เราโลภนั้นเพราะว่าเราปล่อยความคิดโลภนี่ต่อเนื่องเข้า
ต่อยืดๆ มันก็ทวีคูณขึ้นมา

สำนวนที่พูดว่า
ความโลภ ความโกรธ ความริษยา นั้น
พูดโดยรวบรัด ถ้าพูดให้ถูกต้องควรเป็นคิดโลภ
คิดโกรธ คนจะโกรธโดยไม่คิดนี่ไม่ได้

ดังนั้น เราตัดหัวความคิดก่อน
เท่ากับตัดทางของกิเลสมูล
ความโลภ ความโกรธ ความหลง


บางครั้งเรานอนหลับอยู่ ตื่นขึ้นมานอนเล่น
คิดโกรธอะไรขึ้นมาทีหนึ่งก็ลุกขึ้นนั่ง
ถ้าโกรธจัดก็เดินไปด่าเขาสักพัก
ไม่มีใครนอนโกรธได้นิ่งๆ

ที่จริงพลังความโกรธเป็นพลังสมปฤดีเหมือนกัน
เป็นสติเหมือนกัน
แต่เป็นสติที่ถูกครอบง้ำดวยโทสะ
เป็นความตื่นเหมือนกัน เช่น ราคะก็เหมือนกัน

เรื่องกามอะไรเหล่านี้เป็นความตื่น
ไม่มีใครหลับลงเมื่อประกอบกามกิจ
ตื่นด้วยอำนาจของโทสะ

ถ้าว่าเป็นความตื่นล้วนๆ โดยไม่ต้องมีกาม
ไม่มีโทสะนั่นคือสมปฤดี ที่ตื่นแล้ว

ทุกครั้งที่ความคิดก่อรูปขึ้นมาและทุกครั้งที่ดูมัน
เราก็จะค่อยๆ เข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น
แต่มักจะไม่ทันกันพอคิดไปสามสี่เรื่อง
พอเรารู้ตัวมันหยุด
พอเราเพ่งจ้องความคิดไม่ไล่เลย

แต่นานๆเข้าพลังของสมปฤดีนี้จะอ่อนล้า
พออ่อนล้าความคิดก็ได้ที มันเริ่มเล่นกลอย่างนี้
เหมือนเล่นเก้าอี้ดนตรีกัน

แต่นานเข้าเราจะจับได้
คือสติเราดีขึ้น ปัญญาเราเริ่มแผ่กว้าง
เริ่มเห็นกลไกที่ประหลาดในตัวเอง
คือพอเข้าไปในความคิด เราจะไม่รู้ตัว
แต่พอดึงกลับมาได้ ความคิดมัน
เมื่อเห็นกลไกเหล่านี้จะสิ้นสุดลง
เราจะเห็นอย่างนี้


เมื่อเห็นกลไกเหล่านี้
เราจะเริ่มเข้าใจเรื่องราวของโลก ชีวิต ว่า
ทำไมมนุษย์จึงทะเลาะเบาะแว้งกัน
ทำไมจึงอาฆาตจองเวรกัน กระทำมึงๆ กูๆ
ทำไมทุกข์ยาก


เรื่องที่จะพรรณนาคุณของสตินั้นมากมาย
แต่ว่าประการที่สุดนั้นต้องพัฒนาขึ้นมา
ลำพังสตินี่ประโยชน์ใช้สอยจำกัด

มีบางคนเข้าใจคลาดเคลื่อนบิดเบือนว่า
สติเท่านั้นใช้ได้ทุกกรณี

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

สตินั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่สติละเวรไม่ได้

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 5:56 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เวลาเราโกรธ เรารู้ตัวนะ แต่ว่าเราละไม่ได้
เพราะมันยังเป็นเพียง สติ เท่านั้นเอง
ต้องพัฒนามันจะกระทั่งกลายเป็น สมาธิ
เรากำลังเจริญสติเพื่อบรรลุถึงสมาธิ

พูดอีกทีนึงว่า เจริญสติให้เป็นสมาธิ
เจริญสติบ่อยๆ จนกระทั่งมันกลายเป็นสมาธิ
ซึ่งหน้าที่การงานมันล้ำลึกขึ้น

เช่น จิตที่ซัดส่ายฟุ้งซ่านจะเริ่มระงับ
และเริ่มมีกำลัง มีความเต็มๆ ตัว เต็มเนื้อเต็มตัว
ความเหงาความโลภ ความหยิบโหย่งหายไป

แต่สติมันทำหน้าที่ของมันได้ คือละการขาดสติ
พอเราตั้งสติ เราก็มีสติ ความไม่มีสติหายไป
ประเดี๋ยวเผลอก็ขาดสติอีกแล้ว


ดังนั้นต้องเจริญสติให้เป็นสมาธิ
คือต้องขยันทำบ่อยๆ


เหมือนเราเอายาหม่องมาทานี่
ฤทธิ์ยามันยังไม่กำซาบเข้าไปในที่เจ็บปวดของเรา
เราต้องนวดมันด้วย ยาจึงจะออกฤทธิ์


เมื่อเรายกมือสร้างจังหวะการรู้ตัวอย่างนี้
มันเหมือนเราท่องจำความรู้สึกตัว
เราอยากจะจำตัวนี้ให้ได้ ตัวบริสุทธิ์ ตัวล้วนๆ

เมื่อเราจำได้แล้ว ทีหลังเราเจออารมณ์
มันไม่เอาอารมณ์ มันเอาตัวนี้
ไม่ใช่ว่าเรามีอิทธิปาฏิหาริย์ในการละกิเลส
ที่จริงมันไม่เอาเอง มันเลือกตัวมัน
มันเลือกถนอมตัวมันไว้ มันจำตัวมันได้แล้ว


ไปตลาด ไปห้างสรรพสินค้า
ก็ไม่ถูกล่อลวงในการโฆษณาชวนเชื่อ
ห้างสรรพสินค้าทุกแห่งจะไม่มีนาฬิกา
เขาอยากให้หลงระเริงอยู่ในนั้น เป็นอกาลิโก
เว้นไว้แต่มุมขายนาฬิกาถึงจะมีนาฬิกาขายอยู่บ้าง
นอกนั้นไม่มีเวลา
คือให้หลงระเริงจนมืดค่ำ
ในที่สุดต้องควักเงินจ่ายจนได้

โลกทุกวันนี้อยู่ยาก
เพราะว่าสิ่งลวงตามันมาก
จนกระทั่งวัฒนธรรมของสติสัมปชัญญะนี้อ่อนแรง

ถ้อยคำที่ครูบาอาจารย์รุ่นอาจารย์ท่านค้นพบ
ประดิษฐ์ขึ้นใช้เป็นดอกกุญแจสำคัญ
ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว

ถ้าถามว่าอาจารย์รู่นโบราณเขาแนะนำอย่างไรในการเจริญสติ
เขาพูดเป็นเชิงปริศนาธรรม


“ไม่ถอย ไม่สู้ ไม่อยู่ ไม่หนี”

นั่นคือ สติสัมปชัญญะ ที่เป็นองค์มรรคจริง
คือไม่ถอย ถอยก็ไม่ถอย สู้ก็ไม่สู้ อยู่ก็ไม่อยู่ หนีก็ไม่หนี


หาคำตอบเอาเองนะ

นี่เป็นคำของครูบาอาจารย์รุ่นโบราณ
ต่อเคล็ดลับของการภาวนา

สำหรับผู้มีสติสัมปชัญญะดี
ความสุขในตัวเองเกิดง่าย


วิถีชีวิตในปัจจุบันนี้กว่าจะสุขทั้งมีเล่นกันเหนื่อย
เสียสตางค์มาก แล้วมันก็ไม่ได้สุขอะไรเหมือนหวัง
มันกลายเป็นความคลั่งอะไรบางอย่าง

ไม่เชื่อลองเปิดจอโทรทัศน์ดู
โดยเฉพาะรายการวันเสาร์อาทิตย์นี่เหลวไหลทั้งวันเลย
ผมสังเกตดู

ผมอาจจะมองในมุมมองของนักปฏิบัติธรรมมากเกินไปก็ได้
ซึ่งชาวบ้านเขาคิดว่าดีแล้ว
แต่ผมเห็นว่าไม่ดี เหลวไหลไร้สาระทั้งวัน

โปรแกรมโทรทัศน์ที่เป็นสื่อที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดตอนนี้
ผมเองไม่เข้าใจว่าทำไมสอนเด็กๆ ด้วยสำเนียงอ้อแอ้ออดอ้อน
ซึ่งนั่นไม่ใช่วัฒนธรรมของเด็ก
แล้วเด็กก็ไม่ได้ชอบด้วย ผมสังเกตดู

และเราไม่จำเป็นต้องสอนเด็ก
ให้พูดจาเหลาะแหละ หลุดหลวมๆ อย่างนั้น
เราสามารถใช้สัมมาวาจา ปิยวาจาให้เด็ก
อย่ากลัวว่าเด็กจะไม่สนุก
แต่เราไปสนุกแทนเด็กรึเปล่า

ไปจับเด็กมาให้เป็นเครื่องมือ
ของการระบายความสนุกสนานของผู้ใหญ่หรือเปล่า
ที่จริงเด็กสามารถเรียนรู้สัมมวาจา ปิยวาจา วาจาที่ฟังแล้วชื่นใจได้

(มีต่อ)
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 6:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ถ้าเราจะสร้างภาพสักภาพหนึ่งในจินตนาการว่า
เป็นภาพที่สวยงาม

ผมอยากจะมองไปที่ภาพเด็กหนุ่มสาว
แสดงความอารีต่อผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นภาพที่งดงาม
หรือแสดงความรักต่อเด็กเล็กๆ
เราไม่ค่อยจะเห็นสิ่งนี้

ภาพเหล่านี้เลือนหายไปจากสังคมบ้านเรา
เด็กหนุ่มสาวก็เฮกันไปลานดนตรี
แทนที่จะอยู่ดูแลนวดเฟ้นผู้เฒ่า คุณย่าคุณยาย
อ่านหนังสือให้ท่านฟัง

คิดอย่างนี้ถูกหาว่าหัวโบราณ

แต่ผมยังมองว่าเป็นความงามล้ำลึกอยู่
ที่เห็นเด็กหนุ่มสาวแสดงความรักใคร่สนิทสนม
กับคุณย่าคุณยายของเขา
หรือเอ็นดูเด็กเล็กๆ อะไรเหล่านี้เป็นภาพที่งดงาม
ส่อถึงสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างอนุชน

ปัจจุบันเครือญาติแตกหักกันมากแล้ว
ลุงซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นพ่อคนที่สอง
เดี๋ยวนี้เป็นคนนอก ผมหวังว่าท่านคงเข้าใจ

ลุงคือพี่ของแม่ พี่ของแม่ก็ได้
แต่เดิมนั้นเป็นพ่อคนที่สอง
คำของลุงก็เหมือนคำของพี่พ่อนั่นเอง

เดี๋ยวนี้ครอบครัวไทยเล็กลง
แล้วก็มีแต่พ่อแม่ลูกสองสามคน
ลุงกลายเป็นเพียงคนรู้จักกัน น่าตกใจเหมือนกัน

สังคมไทยนั้นเป็นสังคมเครือญาติ
ให้เด็กมีที่รองรับ ไม่ต้องไปเสพยาเสพติด
ทะเลาะกับแม่ก็ไปนอนกับป้าสักสี่ห้าคืน
ค่อยกลับมาดีกับแม่ คือมีที่รองรับมากมาย

เดี๋ยวนี้เด็กไม่มีที่พึงพิง ที่พึ่งของเขาก็คือ
สิ่งที่ทำให้พวกเขาคลั่งใคล้ใหลหลงไปชั่วครู่ชั่วยาม


การเสพสารมึนเมาก็เป็นผลพวงมาจาก
การล่มสลายของสถาบันครอบครัว
เมื่อล่มสลายแล้ว เมื่อสติแตกเสียแล้ว คืนยากมาก
เหมือนที่เราเคยได้ยินคนโบราณพูดว่า ใจแตก


ใจแตกแล้วยากมากกว่าจะกลับมา
มีน้อยรายที่หันมาเจริญสติ
เอาจริงจนกระทั่งสมานรอยร้าวได้
กลับกลายเป็นผู้ก้าวหน้าในทางพระศาสนาของพระศาสดา

ในพระพุทธศาสนาไม่มีการอ้อนวอนเทพเจ้าให้ช่วยประทานรางวัล
เราไม่มีการอ้อนวอน
พระภิกษุสมัยพุทธกาลนั้น
บางท่านยังเข้าใจผิดต่อพระพุทธศาสนาอยู่
เข้าใจว่าอ้อนวอนได้ ก็คุกเข่าอ้อนวอนเทพเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่า

ในธรรมวินัยนี้ไม่มีการสวดอ้อนวอน
ขอรางวัล หรือขอให้งดโทษ
แต่ถ้าจะอ้อนวอน
อ้อนวอนให้ตัวเองมีสติปัญญา (เยี่ยงพระสารีบุตร)
นี่คือการอ้อนวอนในพุทธศาสนา
ขอพระเพื่อให้ตัวเองมีสติเพิ่มพูนขึ้น


แล้วเป็นประเพณีการให้พรด้วยมักเอ่ยว่า

ขอให้รู้เนื้อรู้ตัวนะลูกนะ ให้อยู่เย็นเป็นสุข

เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปหมดแล้ว
ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะไม่มีลูกมีเต้า
ว่าเขาจะให้พรกันอย่างไร

ดูเหมือนขอให้รวยขอให้รวยนี่ชินมากจนชินหู
แสดงว่าคลั่งใคล้ไหลหลงเงินและโภคทรัพย์กันมาก
แต่เดิมมาให้อยู่เย็นเป็นสุข เป็นพระแสนประเสริฐ

การอยู่เย็นเป็นสุขนี้มันเป็นคำตอบของชีวิต
ไม่ว่าจะยากจนหรือไร้ชื่อเสียงหรือตกระกำลำบาก
อะไรต่างๆ ถ้าอยู่เย็นเป็นสุขล่ะใช้ได้
วิถีอยู่เย็นเป็นวิถีของปู่ย่าตาทวดของเรามาตลอด
เขาอยู่ด้วย ธรรมะ


คนเหล่านั้นสัตย์ซื่อต่อพระศาสนา จริงใจ
เด็กรุ่นหลังนั้นห่างเหิน
ไม่ใช่เพราะเขาไม่ฝักใฝ่ในศาสนาธรรม

แต่เพราะโอกาสแทบจะไม่มี
เพราะว่าช่องว่างระหว่างพระสงฆ์และอนุชนนี่กว้างมาก
บางทีเด็กๆ มีประสบการณ์ที่แสนเลวร้ายกับพระภิกษุ
โดยพระภิกษุก็ไม่เข้าใจว่าตัวเองก็เป็นสาเหตุหนึ่ง
เช่นไปแย่งกันบิณฑบาตแถววงเวียนใหญ่
มันเป็นชนวนทำให้เด็กๆ รู้สึกเอือมระอา
เห็นภาพซึ่งไม่งดงาม

แต่แล้วเราจะโทษพระสงฆ์ก็ไม่ได้
พระสงฆ์ก็คือเยาวชนเหมือนกัน

ถ้าเราหันมาเจริญสตินั้น
แง่หนึ่งเรากอบกู้สติประจำตัวของเรา
ในแง่สังคมคือเรากอบกู้ชาติบ้านเมืองด้วย
ชาติบ้านเมืองถูกกอบกู้มาด้วยอำนาจของสติ ของปัจเจก


ถ้าคนไทยฟื้นวัฒนธรรมเก่าขึ้นมาคงจะดีไม่น้อย
แต่ตราบใดที่ยังเห็นเงินเป็นพระเจ้า
เห็นทีสังคมไทยคงยุ่งยากลำบากไปอีกนาน


สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : “กอบกู้สติปัญญา กอบกู้ชาติและชุมชน” ใน ดวงตาแห่งชีวิต
โดยท่านเขมานันทะ, สำนักพิมพ์อัมรินทร์ พรินติ้ง กรุ๊ป,
พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๙๕-๑๐๓)


ดอกไม้ รวมคำสอน “ท่านเขมานันทะ (อาจารย์โกวิท เอนกชัย)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=44291
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
ชาญวิทย์
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 04 พ.ค. 2008
ตอบ: 152

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอบคุณธรรมะครับผม
ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน สาธุ สาธุ ยิ้มแก้มปริ ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
ธรรมะคือธรรมชาติ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 11:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุจ้า...คุณกุหลาบสีชา

ที่หมั่นนำความรู้ดีดีมาฝากญาติธรรมเสมอมา...

ธรรมะสวัสดีค่ะ

ยิ้ม ยิ้มแก้มปริ สู้ สู้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง