Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักธรรม ที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลส อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 8:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สังโยชน์ 10 ________________________________________
สังโยชน์ 10 มีความหมายตาม พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ เจ้าคุณธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต
ดังนี้
กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก.โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓.สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔.กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕.ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ

ข.อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖.รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
๗.อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘.มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐.อวิชชา ความไม่รู้จริง;

พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ; ใ
นพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ ๑.กามราคะ ๒.ปฏิฆะ ๓.มานะ ๔.ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ๕.วิจิกิจฉา ๖.สีลัพพตปรามาส ๗.ภวราคะ (ความติดใจในภพ) ๘.อิสสา (ความริษยา) ๙.มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ๑๐.อวิชชา

เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่าน ความหมายของสังโยชน์ )จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตฺโต)ไปแล้วข้างต้น ก็จงคิดพิจารณาให้ดี ว่า จุดมุ่งหมายของสังโยชน์ คือ อะไร เพื่ออะไร
สังโยชน์ ไม่ใช่ข้อธรรมะ แต่เป็นเพียง คำบอกเล่า หรือ การคาดคะเน ถึงลักษณะอาการ บางอย่าง ของบุคคลแต่ละประเภท ซึ่งแท้จริงแล้ว บุคคลอื่นจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า บุคคลแต่ละประเภทนั้น ละสังโยชน์ได้จริงหรือไม่ เพราะเพียงแค่พฤติกรรมภายนอกไม่สามารถนำมาเป็นเครื่องวัดแห่งการสำเร็จธรรม หรือวัดการบรรลุสู่อริยะบุคคลในชั้นต่างๆได้
ที่ข้าพเจ้าเขียนไปนี้ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะคัดค้าน แต่ต้องการให้ท่านทั้งหลายได้หูตาสว่าง ได้ใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริงว่า
สังโยชน์ ไม่สามารถ นำมาใช้เป็นข้อธรรมะ เพื่อการหลุดพ้นใดใด เป็นเพียงคำบอกเล่า หรือคาดคะเน ถึงลักษณะแห่งสภาพสภาวะจิตใจของ บุคคลผุ้บรรลุสู่ชั้นอริยะบุคคลเท่านั้น

เพราะหลักธรรมที่จะทำให้หลุดพ้น หรือสามารถทำให้ขจัดอาสวะแห่งกิเลสนั้นมีอยู่ แล้ว ในที่นี้ไม่สอน แต่ให้ไปอ่านกระทู้เรื่อง “ศาสนา ช่วยอะไรได้บ้าง” และคิดพิจารณา ก็จะพบหลักธรรมที่แท้จริง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 8:18 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

และธรรมอะไรที่สามารถทำให้หลุดพ้นได้

ในเมื่อ สังโยชน์ 10 ไม่ใช่หลักธรรม ที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลส ได้

ขอ แค่หัวข้อธรรมก็พอ ไม่ต้อง อธิบายก็ได้ครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 11:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
และธรรมอะไรที่สามารถทำให้หลุดพ้นได้

ในเมื่อ สังโยชน์ 10 ไม่ใช่หลักธรรม ที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลส ได้

ขอ แค่หัวข้อธรรมก็พอ ไม่ต้อง อธิบายก็ได้ครับ


ตอบ....
ก่อนที่จะตอบว่า หลักธรรม ที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลส หรือหลุดพ้นจากสิ่งที่ทางศาสนาพุทธเรียกว่า สังโยชน์ ได้นั้น
ก็ต้อง อธิบาย และชี้ชัดลงไปเลยว่า
"สังโยชน์ แท้จริง แล้ว คือ ตัวกิเลส ที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั่นเอง" (พิจารณาให้ดีนะขอรับ)
ส่วนหลักธรรม ที่สามารถให้บุคคหลุดพ้น หรือละจากสิ่งที่เรียกว่าสังโยชน์ได้นั้น ให้ไปอ่าน กระทู้เรื่อง "ศาสนาช่วยอะไรได้บ้าง" ในนั้น มีอยู่เกือบครบ
เอาแค่นี้นะ ขอรับ แล้วคิดพิจารณาให้ดี ก็จะเกิดปัญญารู้แจ้ง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 12:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อันที่บอกให้ไปอ่านนั้นยังไม่ข้อความที่จะเป็นหลักธรรมใดๆได้ว่า จะสามารถ ละกิเลส หรือ แนวทางปฏิบัติอันเป็นเเครื่องนำไปสู่การละกิเลส

เป็นแต่เพียงการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองเท่านั้นเอง

คือต้องการทราบหลักธรรม อันเป็นเพียงหัวข้อธรรมเท่านั้นที่จะทำให้สามารถละกิเลสได้

อย่างเช่นพระพุทธเจ้า ทรงสอนว่า

อริยสัจ ธรรม 4 ประการนั้นคือ

1 ทุกข์
2 เหตุให้เกิดทุกข์
3 ความดับทุกข์
4 ทางสู่ความดับทุกข์

อันนี้เป็นหัวข้อธรรมพร้อมทั้ง ใจความสำคัญในหัวข้อธรรมเรื่องอริยสัจ 4

ส่วนที่บอกมานั้นยังไม่ชัดเจน คือ อยากทราบว่า นอกจาก อริยสัจ 4แล้ว ยังมีธรรมอันอื่นอีกหรือที่ทำให้ละกิเลสได้ หรือให้ละสังโยชน์ได้ และสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรียบุคคลครับ

สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 1:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณอ่านแล้วไม่เข้าใจเอง กลับไปอ่านใหม่ อย่างช้าช้า พินิจ วิเคราะห์ ความให้ละเอียด ก็จะพบตัวหลักธรรมเอง และเป็นหลักธรรมที่สร้าง อริยะสัจสี่นั่นแหละ

ไม่บอกละนะ เพราะตอบสองครั้ง ถูกลบไปหนึ่งแล้วขอรับ ให้อ่านใหม่อีกและพิจารณาให้ดี นั่นแหละ หลักธรรททำให้หลุดพ้นละคุณ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 9:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
สังโยชน์ ไม่สามารถ นำมาใช้เป็นข้อธรรมะ เพื่อการหลุดพ้นใดใด เป็นเพียงคำบอกเล่า หรือคาดคะเน ถึงลักษณะแห่งสภาพสภาวะจิตใจของ บุคคลผุ้บรรลุสู่ชั้นอริยะบุคคลเท่านั้น


ทราบแล้วคับ เปลี่ยน ....

ขอธรรมะทำให้หลุดพ้นด้วยจะดีมากเลยคับ ขำ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 10:22 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
คุณอ่านแล้วไม่เข้าใจเอง กลับไปอ่านใหม่ อย่างช้าช้า พินิจ วิเคราะห์ ความให้ละเอียด ก็จะพบตัวหลักธรรมเอง และเป็นหลักธรรมที่สร้าง อริยะสัจสี่นั่นแหละ

ไม่บอกละนะ เพราะตอบสองครั้ง ถูกลบไปหนึ่งแล้วขอรับ ให้อ่านใหม่อีกและพิจารณาให้ดี นั่นแหละ หลักธรรททำให้หลุดพ้นละคุณ


ถ้าคุณสร้าง อริยสัจ 4 คุณก็เป็นพระพุทธเจ้านะซีเนี่ย
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 6:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

RARM พิมพ์ว่า:
และธรรมอะไรที่สามารถทำให้หลุดพ้นได้

ในเมื่อ สังโยชน์ 10 ไม่ใช่หลักธรรม ที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลส ได้

ขอ แค่หัวข้อธรรมก็พอ ไม่ต้อง อธิบายก็ได้ครับ

พระไตรลักษณ์ไงครับ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
Buddha
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2007
ตอบ: 415

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:08 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าจะตอบหรือโต้แย้ง ก็คงยาวต่อไปเรื่อยๆ
ข้าพเจ้าชี้ชัดลงไปแล้วว่า คำว่า สังโยชน์ นั้น หมายถึง ลักษณะแห่งกิเลส อย่างละเอียด ไม่ใช่หลักธรรมะ
คุณยังเอาคำว่า "ไตรลักษณ์" มาบิดเบือนหลักศาสนาอีก
คุณรู้ใหม่ คำว่า ไตรลักษณ์ นั้น เป็นเพียงคำอธิบาย ลักษณะเฉพาะ ในบางเรื่องบางอย่าง ซึ่ง ถ้าสมาธิไม่ดี ความรู้ไม่ดี ก็จะเกิดกิเลสอย่างหนัก จนกลายเป็นความเศร้าหมองในจิตใจ เบื่อหน่าย และอื่นๆอีกมากมาย

แล้วคำว่าใตรลักษณ์ สามารถใช้ในการทำงานได้ไหม ไม่ได้ดอกคุณ เพราะการทำงานทุกชนิด ต้องอาศัย ความกตัญญูรู้คุณ ในหลักวิชาการ และประสบการณ์ต่างๆ
หลักวิชาการ ประสบการณ์ต่างๆ ล้วนเกิดขึ้น เคยตั้งอยู่ และบางอันก็ได้ดับไป แต่มันได้ดับไปกับเหตุการณ์เหล่านั้น มันยังตั้งอยู่ในตัวเรา ในตัวมนุษย์(เอาเฉพาะมนุษย์) ทั้งหลาย หมุนวนกันไป จากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง ไม่มีวัน ดับ ขอรับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

บิดเบือนคำสอนหรือเปล่าไม่รู้

ลองพิจารณากันเอาเองนะครับท่าน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
dd
บัวเริ่มพ้นน้ำ
บัวเริ่มพ้นน้ำ


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2008
ตอบ: 179
ที่อยู่ (จังหวัด): overseas

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 10:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ในตัวมนุษย์(เอาเฉพาะมนุษย์) ทั้งหลาย หมุนวนกันไป จากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง ไม่มีวัน ดับ ขอรับ


He has confusing mind and knows no dhamma at all!! Poor guy. He keeps posting his own "wrong view" to spread in this public place without realizing he has comitted bad "kamma" for himself. I can only spread "Karuna" to him..poor guy!
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 11:04 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สังโยชน์ ๑๐ เป็นหลักธรรมที่ทำให้บรรลุถึงความเป็นอริยะได้ครับ

เพราะหลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นต้องมีความไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งหลายเป็นที่สุด ถ้ายังมีการยึดมั่นถือมั่นอยู่ในจิตใจก็ไม่ถือว่าเสร็จกิจในพระพุทธศาสนา

สังโยชน์ข้อ ๑ สักกายทิฏฐิ

คือการพิจารณาว่า อัตภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา พิจารณาเห็นว่า ร่างกายที่ประกอบเป็นเรา ๆ ท่าน ๆ นั้น แท้จริงแล้วก็เป็นแค่รูป นาม หรือขันธ์ ๕ เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ประกอบกันภายใต้เหตุและปัจจัย

ถ้าหากว่าไม่มีการทำลายสังโยชน์ข้อสักกายทิฏฐิให้แจ้งแล้วก็ถือว่ายังไม่รู้จักรูปนามขันธ์ ๕ ที่แท้จริง ถ้ายังเห็นว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา แล้วก็ถือว่ายังปล่อยให้ความยึดมั่นถือมั่นมีในจิตใจเราอยู่เท่านั้น
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
มรรคคา
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 30 มี.ค. 2008
ตอบ: 77
ที่อยู่ (จังหวัด): ภูเก็ต

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 11:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถ้าหากว่าละสังโยชน์ข้อสักกายทิฏฐิ ได้แล้ว
ก็จะไปรองรับสังโยชน์ข้อที่ ๒ วิจิกิจฉา
ความลังเลสงสัยในคำสอนของพระพุทธองค์
ที่ว่าชีวิตนี้เป็นทุกข์ เราไม่มีตัวไม่มีตน ร่างกายเราก็แค่ ขันธ์๕

เมื่อไม่มีความลังเลสงสัยในคำสอนของพระพุทธองค์แล้วก็จะไปรองรับสังโยชน์ข้อ ๓ สีลัพพตปรามาส การรักษาศีลให้บริสุทธิ์
และพิจารณาเสมอว่า สีเลนะ สุคะติงยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติงยันติ

เพราะศีลที่บริสุทธิ์จึงจะนำไปสู่การเกิด สมาธิ และปัญญา ต่อไป
 

_________________
มีสติสัมปชัญญะกับทุกลมหายใจเข้าออก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 26 มิ.ย.2008, 9:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Buddha พิมพ์ว่า:
ถ้าจะตอบหรือโต้แย้ง ก็คงยาวต่อไปเรื่อยๆ
ข้าพเจ้าชี้ชัดลงไปแล้วว่า คำว่า สังโยชน์ นั้น หมายถึง ลักษณะแห่งกิเลส อย่างละเอียด ไม่ใช่หลักธรรมะ
คุณยังเอาคำว่า "ไตรลักษณ์" มาบิดเบือนหลักศาสนาอีก
คุณรู้ใหม่ คำว่า ไตรลักษณ์ นั้น เป็นเพียงคำอธิบาย ลักษณะเฉพาะ ในบางเรื่องบางอย่าง ซึ่ง ถ้าสมาธิไม่ดี ความรู้ไม่ดี ก็จะเกิดกิเลสอย่างหนัก จนกลายเป็นความเศร้าหมองในจิตใจ เบื่อหน่าย และอื่นๆอีกมากมาย

แล้วคำว่าใตรลักษณ์ สามารถใช้ในการทำงานได้ไหม ไม่ได้ดอกคุณ เพราะการทำงานทุกชนิด ต้องอาศัย ความกตัญญูรู้คุณ ในหลักวิชาการ และประสบการณ์ต่างๆ
หลักวิชาการ ประสบการณ์ต่างๆ ล้วนเกิดขึ้น เคยตั้งอยู่ และบางอันก็ได้ดับไป แต่มันได้ดับไปกับเหตุการณ์เหล่านั้น มันยังตั้งอยู่ในตัวเรา ในตัวมนุษย์(เอาเฉพาะมนุษย์) ทั้งหลาย หมุนวนกันไป จากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง ไม่มีวัน ดับ ขอรับ

กระผมขออภัยครับ ผมไม่ได้มีเจตนาจะบิดเบือนคำสอนของพระศาสดาด้วยคำว่าพระไตรลักษณ์เพียงคำเดียว แต่กระผมเห็นว่าพระไตรลักษณ์นั้นเป็นเหมือนผู้นำทางไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ครับ จึงได้แนะนำไปเช่นนั้น หาได้มีเจตนาบิดเบือนคำสอนของพระศาสดาแต่อย่างใด
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
mes
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 09 มิ.ย. 2007
ตอบ: 643
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 16 ก.ค.2008, 11:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สังโยชน์ ไม่ใช่ข้อธรรมะ แต่เป็นเพียง คำบอกเล่า หรือ การคาดคะเน ถึงลักษณะอาการ บางอย่าง ของบุคคลแต่ละประเภท ซึ่งแท้จริงแล้ว บุคคลอื่นจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า บุคคลแต่ละประเภทนั้น ละสังโยชน์ได้จริงหรือไม่ เพราะเพียงแค่พฤติกรรมภายนอกไม่สามารถนำมาเป็นเครื่องวัดแห่งการสำเร็จธรรม หรือวัดการบรรลุสู่อริยะบุคคลในชั้นต่างๆได้

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คื่อธรรมะ

การละสังโยชน์เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล

เจ้าของกระทู้ไปก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคล ไปสอดรู้สอดเห็นทำไม

แล้วมีเหตุผลอะไรที่ไปกล่าวหาว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ธรรมะ

ถ้าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ธรรมะ อะไรคื่อธรรมะ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 14 ส.ค. 2008, 2:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เวียน Head ? ขอพุทธองค์คุ้มครองด้วยเทอญ สาธุ ซึ้ง สงสัย
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง