Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 แนวปฏิบัติของอาจารย์แนบ แก้อารมณ์พองยุบกับพุทโธเป็นต้นไม่ได้ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 9:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ระยะที่ 3


ยกหนอ…(พร้อมยกเท้าขึ้น)

ย่างหนอ (ก้าวเดิน)

เหยียบหนอ... (เหยียบพื้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 9:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ระยะที่ 4


ยกซ่นหนอ… (ยกเฉพาะซ่นเท้าขึ้น)

ยกหนอ … (ยกเท้าขึ้น)

ย่างหนอ ...(ก้าวเดิน)

เหยียบหนอ... (เหยียบพื้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 10:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ระยะที่ 5


ยกซ่นหนอ

ยกหนอ

ย่างหนอ

ลงหนอ…(หย่อนเท้าลงพอรู้สึกแต่ยังไม่ถึงพื้น)

ถูกหนอ…(เหยียบพื้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 10:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ระยะที่ 6


ยกซ่นหนอ

ยกหนอ

ย่างหนอ

ลงหนอ…(หย่อนเท้าลงพอรู้สึกตัว แต่ยังไม่ถึงพื้น)

ถูกหนอ…(เฉพาะปลายเท้ายันที่พื้น)

กดหนอ …(กดซ่นเท้ากับพื้น)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 10:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

อีกเหตุผลหนึ่ง ที่พระวิปัสสนาจารย์
ได้แก้การปฏิบัติแนว ยุบหนอ พองหนอ
ซึ่งทำให้ผมได้เข้าใจวิธีการพิจารณารูปเดิน
เมื่อก่อนผมก็ ใช้วิธีท่องเอา ว่า
เดินหนอ ๆ ๆ รูปเดิน ๆ ๆ ๆ (เพ่งที่ขาทั้งสอง)
รูปนั่ง ๆ ๆ ๆ นามรู้ ๆ ๆ



เดินจงกรม ได้แก่ใช้ฐานกายเป็นที่ฝึกสติ
แล้วก็กำหนดตามอาการที่ก้าวไปแต่ละขณะๆ

ไม่ได้คิดแยกรูปแยกนามเอาเองแบบ ท่องเอา ว่า
เดินหนอ ๆ รูปเดิน ๆ (เพ่งที่ขาทั้งสอง)
รูปนั่ง ๆ นามรู้ ๆ


คุณเล่นแยกเอาเองอย่างนั้นไม่ได้ครับ
มันต้องเห็นเอง ด้วยการฝึกสติสัมปชัญญะ
ตามดูรู้ทันกายใจแต่ขณะๆนั่น
หากยังตามกายใจไม่ทันขณะปัจจุบันแต่ละขณะๆละก็
ต่อให้เดินจนขาหักหรือเดินกันจนตาย
ก็ไม่เห็นว่า กายกับใจมันแยกกันเป็นต้นได้ครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 21 มิ.ย.2008, 9:07 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พูดถึงเรื่องการเดิน ๖ ระยะ

เรื่องนี้มีแสดงไว้ในขอบเขตของสัมมสนญาณ ซึ่งอยู่ในส่วนของมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (สนวิสุทธิ) คือ เมื่อเกิดปัญญาแล้วจึงเห็นเป็นระยะ ๆ แบบนั้น แต่ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติมาจัดทำกันขึ้น (กันขึ้น) เอง เหมือนอย่างที่กำลังทำกันอยู่ในทุกวันนี้

...........

ข้อความข้างบนนั้น เป็นความเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์
ข้อความในวงเล็บ กรัชกายเห็นเป็นคำซ้อนเกิดมา
อยากถามว่า คุณเห็นเหมือนกรัชกายเห็นไหม ?

แต่เมื่อก๊อบปี้ ไปที่เวิร์ด ก็ปกติ ไม่มีคำที่ซ้อนในวงเล็บนั้น

นำมาวางตรงนี้เห็น (ปฏิบัติมา) ซ้อนมาอีก

เป็นงง มากๆ กับ IE เวอร์ชั่นนี้ ตอนลงวินโดว์ใหม่ มีไม่ครบ
จึงโหลดเพิ่มภายหลัง จึงเป็นแบบนี้

ช่วยสงเคราะห์ตอบให้หายข้องใจที จะได้สบายใจว่า คนอื่น
เห็นปกติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 4:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ระยะที่ 6

ยกซ่นหนอ

ยกหนอ

ย่างหนอ

ลงหนอ…(หย่อนเท้าลงพอรู้สึกตัว แต่ยังไม่ถึงพื้น)

ถูกหนอ…(เฉพาะปลายเท้ายันที่พื้น)

กดหนอ …(กดซ่นเท้ากับพื้น)


นี้คือตัวอย่างการเดิน ๖ ระยะ ของแบบยุบหนอพองหนอ

พอดีตอนนั้นผมฝึกแค่ ๓ ระยะ

เมื่อเดินได้ ๑ ชม. เหนื่อยมาก ๆ แต่เมื่อทำได้ก็ดีใจ ( อภิชฌา ) หากท้อใจทำไม่ได้ ก็เสียใจ ( โทมนัส ) บางทีก็ต้องทนทำเพราะเกรงใจผู้ปฏิบัติท่านอื่น

สมัยนั้นยังหนุ่มแน่นอยู่ยังเหนื่อย ขนาดนี้ ทนทุกข์ได้นานหน่อย แต่ถ้าเป็นปัจจุบันที่เลยวัยกลางคน ไปแล้วคงทนทุกข์ได้น้อยกว่าเดิม

มีคุณน้าท่านหนึ่งทราบว่าถูกที่ทำงานกำหนดให้ไปปฏิบัติในแนวนี้ กลับมาถึงกลับไม่สบายเลย

ตอนนี้ผมได้เลิกอยู่กับ การท่องสมมุติบัญญัติ ต่าง ๆ แล้ว และไม่อยากเห็นการเกิดดับ ๖ ระยะ


เพราะเห็นว่า การกำหนดดูอิริยาบถ ทำไมต้องสร้างท่าทางแปลก ๆ ขึ้นมา

แล้วอิริยาบถธรรมดาที่มีอยู่ ใช้เป็นอารมณ์วิปัสสนา ไม่ได้หรือ ?


-----------------------------------------------------------------
ผมได้คำตอบจากการบรรยายของ คณาจารย์สายอาจารย์แนบดังนี้



วิธีดูรูปเดิน

โดยอาจารย์สรรค์ชัย พรหมฤาษี

การดูรูปเดิน ก็คือ ดูอาการของรูปกายที่กำลังก้าวไป ๆ อาการของขาทั้งสองข้างที่กำลังก้าวไป ๆ นี้แหละเรียกว่า รูปเดิน ในการดูรูปเดินให้ดูอาการของรูปกายที่กำลังก้าวไป ๆ อาการก้าวไปของขาทั้งสองข้างนั้นแต่ละก้าวให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในการก้าวไปแต่ละก้าว คือมีจิตออกมารู้ในอาการก้าวไป พร้อมกำหนดรู้ว่า....กำลังดูรูปเดิน ๆ ( เห็นว่าเป็นรูปเดิน ไม่ใช่เราเดิน )
การก้าวไปของรูปก้าวแต่ละก้าว มีสติรู้ในอาการก้าวไป มีสัมปชัญญะ คือ ปัญญารู้อาการก้าวไปว่าเป็นรูปเดินกำหนดรู้ว่า..กำลังดูรูปเดิน
ในการเดินนั้นจะต้องลืมตา มีสายตาทอดลงที่ทางเดินประมาณ ๔ ศอก สำรวมสายตาอยู่เฉพาะทางที่จะก้าวไป ไม่มองภายนอกหรือสิ่งต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้จิตตกไปจากการก้าวไปของรูปแล้วไปคิดไปรู้อยู่กับอารมณ์ที่เห็น ก็จะกลายเป็นเดินไปคิดไปดูไปพร้อมกับความฟุ้งซ่าน
ต้องสำรวมสายตาให้ดูเฉพาะตำแห่งที่จะก้าวไป พร้อมรู้อยู่ในอาการก้าวไปของรูปกายแต่ละก้าว ให้มีสติออกไปรู้ในอาการก้าวไป มีสัมปชัญญะรู้ว่ากำลังดูรูปเดิน
ในการก้าวเดินก็เดินอย่างธรรมดาค่อนข้างช้าเล็กน้อย เพื่อให้มีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้ได้ทัน เดินช้า ๆ อย่างคนเดินแก้เมื่อย ไม่มีคำภาวนาอะไรในการก้าวไป เพียงมีสติรู้ในอาการก้าวไป สัมปชัญญะรู้การก้าวไปว่ารูปเดิน กำลังดูรูปเดิน
ขอให้เข้าใจว่า ถ้าเดินเร็วเกินไป ความต้องการที่จะเป็นไปกับกิเลสก็เข้าอาศัยในอิริยาบถเดินนั้นได้ ความเข้าใจตรงนี้มีความสำคัญมาก บางทีเราไปสร้างอารมณ์ขึ้นมาเช่น เดินเพื่อจะดูรูปเดิน, เดินเพื่อให้เห็นทุกข์ มีความต้องการที่เป็นไปกับกิเลสเข้าร่วมด้วยเสมออย่างนี้ใช้ไม่ได้ เพราะมีความต้องการเข้าอาศัยอยู่ในการเดินนั้น อาการเดินเกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการ คือเพ่งเล็งอยากเดินเพื่อจะดูรูปเดินจึงเดิน อย่างนี้รูปเดินเกิดขึ้นเพราะสร้างขึ้นมาด้วยความต้องการคือตัณหา เพราะอาศัยความปรารถนาความต้องการของตัณหา รูปเดินจึงเกิดขึ้นมีขึ้นแล้วก็ตามดูรูปเดินไปขณะนั้น อย่างนี้ใช้ไม่ได้ไม่ถูกต้อง
จำไว้ว่า รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ถ้าเกิดขึ้นแล้วโดยอาศัยความปรารถนาความต้องการของเรา คือ มีอภิชฌา เพ่งเล็งอยากได้ หรือต้องการให้เกิดขึ้นมีขึ้น รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน นั้น ๆ จะกันกิเลสไม่ได้เลย กิเลสยังต้องอาศัยอยู่ในอิริยาบถนั้น ๆ เพราะอิริยาบถนั้น ๆ เกิดขึ้นด้วยอำนาจของตัณหา ( ตัณหากับอภิชฌา มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ ความเพ่งเล็งอยากได้ )

สรุปการดูรูปเดิน
เดินไปอย่างปกติธรรมดา โดยไม่ต้องไปคิดว่าจะเดินเพื่อดูรูปเดิน ทำใจก่อนเดินว่า จะเดินเพื่อแก้ทุกข์ แล้วจึงเดินไปพร้อมกับทอดสายตาอยู่ในอาการสำรวม ไม่มองโน่นมองนี่ ไม่เหลียวไปในทิศทางต่าง ๆ มีสติออกไปรู้ในอาการก้าวไปพร้อมกับกำหนดรู้ว่า...รูปเดิน..กำลังดูรูปเดิน
การก้าวเดินช้า ๆ แต่ไม่ถึงกับย่องไป ๆ เดินช้าอย่างคนเดินแก้เมื่อยมีสติรู้อยู่กับอาการก้าวไป มีสัมปชัญญะกำหนดรู้ว่า...กำลังดูรูปเดิน
เมื่อเดินเมื่อยแล้วจะหยุดเดิน ก็กำหนดรู้ว่ารูปเดินเป็นทุกข์ จะหยุดเดินเพื่อแก้ทุกข์ จะนั่งเพื่อแก้ทุกข์แล้วจึงนั่ง เมื่อนั่งแล้วก็ดูรูปนั่งต่อไป


--------------------------------------------------------------

คุณกรัชกายครับ ตอนนี้ผมเลิกเดินย่อง ๆ ท่าทางแปลก ท่องไปด้วยแล้ว


อย่างนี้จะเรียกว่า แนวอิริยาบถบรรพะ ตามมหาสติปัฏฐาน แก้อารมณ์ยุบหนอ พองหนอ ได้ไหมครับ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 4:21 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มีเรื่องที่น่าสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจาก ผ่านเมฆมองจันทร์ โดยสัตตบงกช

ตอนที่ ๑
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=9945

ตอนที่ ๒
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=9953

ตอนที่ ๓
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=9961

มีผู้ปฏิบัติบางรายก้มหน้าก้มตาเดินกลับไปกลับมาช้าๆ นานนับเป็นชั่วโมง ท่านก็จะเดินไปหาพร้อมตั้งคำถามว่า


“ขอโทษ ...กำลังทำอะไรอยู่ครับ...”


“กำลังดูรูปเดินครับ”


“แล้วเห็นหรือเปล่าครับ”


“...........”


“ที่บอกว่าดูรูปเดิน ดูตรงไหนครับ”


“ดูตรงขาครับ”


“อ้าว แล้วรูปนั่งไม่มีขาหรือไง รูปนั่งและรูปเดินเป็นคนละรูปนะครับ แต่ก็มีขาทั้งคู่ แม้รูปในอิริยาบถอื่นก็มีขาทั้งนั้น ...แล้วที่ว่าดูตรงขานะ ดูอย่างไรครับ “


“ก็ดูเวลาที่ ขาขวาย่าง ...ขาซ้ายย่าง”


“แล้วตอนดูนั้น กำหนดอย่างไร”


“ผมก็กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ”


“อ๋อ..ผมเข้าใจแล้วล่ะ”


ว่าแล้ว พ่อก็ชวนคุณลุงคนนั้นไปนั่งคุยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา สิตางศุ์จึงรีบตามไปนั่งฟังด้วย




“ คุณต้องทำความเข้าใจในอารมณ์ของการปฏิบัติวิปัสสนาก่อนนะครับ ขอโทษครับ …คุณทราบไหมครับว่าอารมณ์ หมายถึงอะไร“


“ทราบครับ อารมณ์ หมายถึงสิ่งที่จิตเข้าไปรู้ครับ”


“ถูกต้องครับ เพียงแต่ว่า อารมณ์ที่นำมาดูในการปฏิบัติวิปัสสนานั้นต้องเป็นรูปธรรม หรือนามธรรมซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ ไม่ใช่อารมณ์บัญญัติ


เหมือนสมาธิ ที่มีการกำหนดว่า พุท-โธบ้าง สัมมาอรหังบ้าง หรือจะเป็น...หนอต่างๆ อย่างที่คุณกำหนด แล้วประการสำคัญรูป – นาม ที่เป็นอารมณ์ปรมัตถ์นั้นต้องเป็นปัจจุบันธรรมด้วย คือขณะที่กำลังมี กำลังเป็นที่สติเข้าไปพิจารณาได้ ....”


“...อ้าว งั้นที่ผมทำมานี้ก็ไม่ถูกนะซิครับ”


“ถูกครับ ถูก ถ้าเป็นการทำสมาธิ หรือที่เรียกว่าสมถกรรมฐาน ซึ่งหมายถึงการนำเอาคำ หรือภาพที่สร้างขึ้นมาเพ่ง หรือท่องอย่างซ้ำ ๆ เพื่อให้จิตเป็นสมาธิ หรือบังคับตนเองให้ติดอยู่ในคำหรือภาพนั้น เป็นการตั้งใจให้มั่นอยู่ในเรื่องที่ต้องการเพียงเรื่องเดียวไม่ให้ใจคิดฟุ้งซ่านออกไปจากเรื่องนั้น ก็อย่างเช่นที่คุณตั้งใจดูเดิน แล้วกำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ คำเหล่านี้เป็นบัญญัติธรรมจึงจัดเป็นสมถกรรมฐาน”


“แล้วที่ถูก ผมจะต้องทำอย่างไรครับ”



“ก่อนอื่นคุณต้องรู้ก่อนว่า ที่คุณมาเข้าปฏิบัตินี้มีเป้าหมายอะไร”


“เพื่อที่จะไม่ต้องเกิดอีกครับ “


“ทำไมจึงไม่อยากเกิดล่ะครับ “


“ไม่อยากมาประสบกับความทุกข์อีก”


“แล้วคุณทราบหรือไม่ครับว่า อะไรที่ทำให้เราต้องเกิด ตัวการอะไรที่ทำให้เราต้องมาประสบกับความทุกข์”


“กิเลสครับ …เห็นพระท่านเทศน์ว่า คนเราถ้าหมดกิเลส ก็ไม่ต้องเกิด แต่จะต้องปฏิบัติธรรม เพื่อนผมเขาบอกว่า ที่นี่เป็นสำนักปฏิบัติ ผมจึงมา…”



“งั้นคุณก็มาถูกที่ ถูกทางแล้วล่ะครับ เพราะที่นี่เป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนา ซึ่งเป็นการปฏิบัติในแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่าเป็น เอกายมัคโค หมายถึงเป็นทางสู่ความพ้นทุกข์ซึ่งมีเพียงสายเดียวเท่านั้น …แล้วคุณทราบมาก่อนหรือเปล่าครับว่า วิปัสสนานี้ต่างกับสมาธิราวกับฟ้าและดินทีเดียว..”


“ไม่ทราบครับ เวลาผมไปปฏิบัติที่ไหนๆ เขาก็บอกว่าเป็นการปฏิบัติวิปัสสนากันทั้งนั้น ทั้งๆ ที่แต่ละแห่งมีแนวทางการปฏิบัติไม่เหมือนกัน”


“ครับ..ผมเองก็เคยเข้าใจผิดมาก่อน เพราะได้รับการบอกเล่ามาเช่นเดียวกับคุณ จนกระทั่งผมได้มาศึกษาพระอภิธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก ที่ได้อธิบายว่า กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ สมถะกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน ผมขอยกเอาพระบาลีมากล่าวอ้างว่า

…กิเลเส สเมตีติ สมโถ
แปลว่า ธรรมชาติใด ย่อมยังกิเลสทั้งหลายให้สงบ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สมถ

…ขันธาทิสังขตธัมเม อนิจจาทิวิวิธากาเรน ปัสสตีติ วิปัสสานา
แปลว่า ปัญญาใดย่อมเห็นสังขตธรรมมีขันธ์เป็นต้น โดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น ปัญญานั้นจึงชื่อว่า วิปัสสนา

ตอนที่ ๔
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=9966

ตอนที่ ๖
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=9978

ตอนที่ ๗
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=9987

ตอนที่ ๘
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=9998

ตอนที่ ๙
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10009

ตอนที่ ๑๐
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10017

ตอนที่ ๑๑
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10024&page=2

ตอนที่ ๑๒
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10031

ตอนที่ ๑๓
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10036
------------------------------------------------------------------
สาธุ ขอให้ข้าพเจ้า ได้พบคณาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระ และ วิปัสสนาธุระ เต็มเปี่ยมด้วยความเมตตา เช่นนี้ทุกภพทุกชาติ เทอญ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 8:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กรัชกาย พิมพ์ว่า:
พูดถึงเรื่องการเดิน ๖ ระยะ

เรื่องนี้มีแสดงไว้ในขอบเขตของสัมมสนญาณ ซึ่งอยู่ในส่วนของมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (สนวิสุทธิ) คือ เมื่อเกิดปัญญาแล้วจึงเห็นเป็นระยะ ๆ แบบนั้น แต่ไม่ใช่ผู้ปฏิบัติมาจัดทำกันขึ้น (กันขึ้น) เอง เหมือนอย่างที่กำลังทำกันอยู่ในทุกวันนี้

...........

ข้อความข้างบนนั้น เป็นความเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์
ข้อความในวงเล็บ กรัชกายเห็นเป็นคำซ้อนเกิดมา
อยากถามว่า คุณเห็นเหมือนกรัชกายเห็นไหม ?

แต่เมื่อก๊อบปี้ ไปที่เวิร์ด ก็ปกติ ไม่มีคำที่ซ้อนในวงเล็บนั้น

นำมาวางตรงนี้เห็น (ปฏิบัติมา) ซ้อนมาอีก

เป็นงง มากๆ กับ IE เวอร์ชั่นนี้ ตอนลงวินโดว์ใหม่ มีไม่ครบ
จึงโหลดเพิ่มภายหลัง จึงเป็นแบบนี้

ช่วยสงเคราะห์ตอบให้หายข้องใจที จะได้สบายใจว่า คนอื่น
เห็นปกติ



ขออนุญาตแซวคุณเฉลิมศักดิ์หน่อยเถอะครับ
คุณ....ตามปัจจุบันธรรม หรือ ขณะปัจจุบันไม่ทันจริงๆ ด้วย ฮิฮิ
กรัชกายถามเกี่ยวกับโปรแกรม Internet Explorer (IE)
ที่กรัชกายใช้พิมพ์งานอยู่ตอนนี้มันแสดงผลผิดปกติ คือ
เห็นข้อความของคุณดังกล่าว เป็นต้น ที่โพสต์ไว้นั่น เป็นประโยคซ้อน
คำซ้อนขึ้นมาอีก ก็จึงถามว่า คุณเห็นอย่างที่กรัชกายเห็นไหม ? คุณพิมพ์ซ้ำหรือเปล่า
ก็เท่านี้เอง คุณเห็นอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น

แต่คุณไม่อ่านโจทก์เลยว่าไปเรื่อย ตามลิงค์ที่ตุนๆไว้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 6:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ข้อความข้างบนนั้น เป็นความเห็นของคุณเฉลิมศักดิ์
ข้อความในวงเล็บ กรัชกายเห็นเป็นคำซ้อนเกิดมา
อยากถามว่า คุณเห็นเหมือนกรัชกายเห็นไหม ?

แต่เมื่อก๊อบปี้ ไปที่เวิร์ด ก็ปกติ ไม่มีคำที่ซ้อนในวงเล็บนั้น

นำมาวางตรงนี้เห็น (ปฏิบัติมา) ซ้อนมาอีก

เป็นงง มากๆ กับ IE เวอร์ชั่นนี้ ตอนลงวินโดว์ใหม่ มีไม่ครบ
จึงโหลดเพิ่มภายหลัง จึงเป็นแบบนี้


คงเป็นความผิดพลาดของโปรแกรม ผมไม่ได้พิมพ์ซ้อนกันแต่อย่างใด


ผู้อ่านคงจะต้อง ค่อย ๆ ประติดประต่อ เอาเองนะครับ

จนกว่าจะแก้ไข ได้


แต่คุณกรัชกายครับ คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญหรอกครับ หากผู้อ่านตั้งใจจริง ๆ แต่ข้อสำคัญขอให้ได้เข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนา

ไม่มัวแต่มาเพ่งโทษเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 11:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
แต่คุณกรัชกายครับ คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญหรอกครับ
หากผู้อ่านตั้งใจจริง ๆ
แต่ข้อสำคัญขอให้ได้เข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนา

ไม่มัวแต่มาเพ่งโทษเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้




โอ เค ครับคุณเฉลิมศักดิ์ เมื่อผู้อ่านเห็นเป็นปกติ อักษรไม่ขึ้นซ้ำซ้อนมาอีก
อย่างที่ปล้ำถามคุณนั้น ก็หายกังวลแล้วล่ะครับ

การสื่อสารกันด้วยข้อความควรอ่านเข้าใจง่าย
สมมุติเราอ่านหนังสือซักเล่มหนึ่ง แต่เรียงอักษรจับต้นชนปลายไม่ถูก
สับหน้าสับหลังคำซ้ำๆซ้อนๆ ใครจะนั่งทนอ่านอยู่ครับ
สรุปประเด็นที่ถามผ่านครับ


แต่ที่คุณกล่าวว่า

แต่ข้อสำคัญขอให้ได้เข้าใจในการปฏิบัติวิปัสสนา


ขอคำแนะนำการปฏิบัติวิปัสสนา หรือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
เพื่อเป็นแนวทางจากคุณด้วยครับ
กล่าวพอเข้าใจก็ได้ ไม่เอาลิงค์ครับ นี่ประเด็นหนึ่ง


อีกคำถามหนึ่งครับที่ผ่านมา “ทางสายเอก” ที่คุณกล่าวถึง


อ้างอิงจาก:
เพราะทางที่คุณเดินอาจจะไม่ใช่ทางสายเอก ของพระพุทธองค์ก็ได้

ผมได้เกิดความสงสัยขึ้นว่า แนวทางนี้จะใช่แนวทางสายเอกหรือไม่ ?


“ทางสายเอก” หมายถึง...และได้แก่อะไรครับ

บอกพอเป็นที่เข้าใจ และนำไปปฏิบัติก็พอครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 8:05 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายครับ ตอนนี้ผมเลิกเดินย่อง ๆ ท่าทางแปลก ท่องไปด้วยแล้ว
อย่างนี้จะเรียกว่า แนวอิริยาบถบรรพะ ตามมหาสติปัฏฐาน แก้อารมณ์ยุบหนอ พองหนอ ได้ไหมครับ
เฉลิมศักดิ์ 22 มิ.ย.2008, 4:17 am


หากหมายถึงตัวคุณเฉลิมศักดิ์เองแก้ได้แล้วครับ แก้ด้วยการไม่ทำ
แก้แบบนั้น เหมือนคนกลัวเปียกน้ำก็ไม่ลงน้ำฉันใดฉันนั้น ยิ้มเห็นฟัน
ซึ่งต่างจากกรณีตัวอย่างที่ถาม

ดูตัวอย่างที่เค้าถามอีกครั้ง



ปกติผมจะนั่งสมาธิ1ชั่วโมงทุกเช้าครับ พอเริ่มนั่งปุ๊บผมจะดูท้องพองยุบ จนจิตสงบคิดว่าน่าจะประมาณ5-10นาที หลังจากนั้นก็จะเริ่มรู้รูปรู้นามไปเรื่อยๆ สุดแท้แต่จิตมันจะตามรู้ จนประมาณ15-20 นาทีก่อนจะครบเวลา
เวทนาก็จะมา ผมก็ตามดูเวทนาต่อ ตอนนี้แหละครับที่ร่างกายผมมันจะสั่นโยกอย่างรุนแรง
เหมือนกับว่า มันพยายามจะให้เวทนานั้นหายไป ก็สั่นซักพักก็หยุด เวทนามาอีกก็สั่นอีก หรือบางทีเท่าที่สังเกตพอใจลอยออกไป แล้วกลับมารู้ต่อก็จะสั่นอีกครับ มันควบคุมไม่ได้
ผมก็นั่งดูมันสั่นไป
คือแรกๆที่ผมนั่งนั้นไม่มีอาการนี้ แต่หลังๆมานี้(ประมาณ2-3เดือน) มันก็สั่นทุกวัน
ผมก็ชักงงๆไม่แน่ใจว่ามันจะถูกทางหรือเปล่า กลัวว่าจะไปหลงหรือติดอะไรอยู่รึเปล่า

http://larndham.net/index.php?showtopic=31973&st=0
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 8:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมจะดูท้องพองยุบ จนจิตสงบคิดว่า น่าจะประมาณ5-10นาที หลังจากนั้นก็จะเริ่มรู้รูปรู้นามไปเรื่อยๆ สุดแท้แต่จิตมันจะตามรู้ จนประมาณ15-20 นาทีก่อนจะครบเวลา
เวทนาก็จะมา ผมก็ตามดูเวทนาต่อ ตอนนี้แหละครับที่ร่างกายผมมันจะสั่นโยกอย่างรุนแรง
เหมือนกับว่า มันพยายามจะให้เวทนานั้นหายไป ก็สั่นซักพักก็หยุด เวทนามาอีกก็สั่นอีก
หรือบางทีเท่าที่สังเกต พอใจลอยออกไป แล้วกลับมารู้ต่อก็จะสั่นอีกครับ มันควบคุมไม่ได้
ผมก็นั่งดูมันสั่นไป



อาการดังกล่าวนี้ต่างหากครับ ที่กรัชกายกล่าวว่า วิธีที่คุณทำ กับวิธีดูจิต เข้าไม่ถึง
และแก้ไม่ได้
หรอ คุณว่าไม่จริงครับ ยิ้ม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 7:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิริยาบถบังทุกข์ลักษณะ จากหลักฐานในคัมภีร์

วิสุทฺธิ. 3/275; วิภงฺค. อ. 65; วิสุทฺธิ. ฎีกา. 3/522

ดูอธิบายเต็มๆ ที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357

เนื้อความติดต่อกันครับ แต่จะซอยสั้นๆลงเพื่อสะดวกต่อการติดตามอ่าน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้น กดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา

ก็ถูก อิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้

ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ภาวะที่ทนอยู่ มิได้

หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิม อยู่มิได้

หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้

ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น (= สภาวะทุกข์)

จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา

หรือ ความรู้สึกของมนุษย์

มักจะต้อง ใช้เวลาระยะหนึ่ง (ไม่ระบุเวลาที่แน่นอน)

แต่ในระหว่างนั้น

ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย

หรือ ทำให้แปรรูป เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน (= สภาวะเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยของมัน

แต่โยคีไม่สังเกตรู้)

หรือ ผู้สังเกตแยกพราก จากสิ่งที่ถูกสังเกต ไปเสียก่อน ก็ดี

ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น (= โยคีเคลื่อนไหว จึงไม่เห็นทุกข์

ตามสภาวะ)

ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่ มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ

ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก

แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง

ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ

จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย ในท่าเดียวได้

ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่

ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น

ยืนอย่างเดียว

นั่งอย่างเดียว

เดินอย่างเดียว

นอนอย่างเดียว

ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะ จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ

จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดัน

ที่คนทั่วไปเรียกว่า “ทุกข์”

เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย

จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น

ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น

เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง

ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา)

ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า “ความสุข”

เกิดขึ้นมาแทนด้วย

แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความ

ทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น

เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ

พอจะรู้สึก ปวด เมื่อย

เป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย

หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ

จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ ไปได้


เมื่อไม่รู้สึกทุกข์

ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย

ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ



(ขออภัยครับ โพสต์ข้อความผิดกระทู้ ตั้งใจจะลงที่นี่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=67492#67492
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เมื่อไม่รู้สึกทุกข์

ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย

ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


คุณกรัชกายครับ ในหลักการปฏิบัติวิปัสสนา ท่านจึงให้กำหนดรู้ทุกข์ก่อนที่จะเปลี่ยนอิริยาบถครับ

ดังที่ท่านอาจารย์แนบ อธิบายว่า

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-13.htm



๑๑. ก่อนทำสิ่งใด ต้องรู้เหตุจำเป็นก่อน
ก่อนจะใช้อิริยาบถ หรือก่อนจะทำสิ่งใด เช่น กินข้าว อาบน้ำ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ หรือนั่ง นอน ยืน เดิน ต้องรู้ว่าที่ทำเพราะมีความจำเป็น หรือมีเหตุให้ต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ เป็นต้น ผู้ปฏิบัติที่ ไม่ได้สังเกต บางขณะอาจลุกขึ้นเดินโดยไม่ทราบเหตุผลที่ลุกขึ้นว่าจะลุกขึ้นไปเดินเพราะอะไร บางครั้งมีความตั้งใจจะเดินกรรมฐาน การตั้งใจเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้อง หรือบางครั้งกำลังเดินอยู่ นึกอยากจะเลิกก็เลิก อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เวลาจะเลิกจากการเดินก็ต้องรู้ว่าจำเป็นต้องเลิกจึงจะค่อยเลิก และจะต้องรู้เหตุของความจำเป็นด้วยว่า ที่ต้องเลิกนั้นเพราะเหตุใด เช่น เพราะเหตุรู้สึกเมื่อยล้า ความเมื่อยล้าบีบคั้นให้ต้องเลิกเดิน เป็นต้น ไม่ใช่เราอยากเลิก ความหมายของความจำเป็นนั้น ค่อนข้างลึกซึ้ง และต้องใช้ไหวพริบในการพิจารณาพอสมควร จึงจะสามารถกันความต้องการ และความไม่รู้ได้

สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ระวังให้ดี ความต้องการที่จะทำย่อมแฝงอาศัยอยู่ในความรู้สึกนั้นได้ เมื่อกิเลสเข้า อาศัยแล้ว จิตของผู้นั้นก็จะเข้าไม่ถึงวิสุทธิได้ ในสติปัฏฐาน พระบาลี กล่าวว่า อนิสฺสิโต จ วิหรติ หมายถึงว่า ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว (จึงจะเข้าถึงวิสุทธิได้)


-----------------------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายครับ ต่างจากแนวทางยุบหนอ พองหนอของคุณ


ที่ติดอยู่กับคำภาวนาที่เป็นสมมุติ นำความสงบจากสมาธิ มาปิดบังทุกขเวทนาในอิริยาบถ

เช่น เมื่อยุบหนอพองหนอ นาน ๆ เกิดทุกขเวทนา ขึ้น กลับหลีดหนีด้วยการไป ภาวนายุบหนอ พองหนอ ยุบหนอ พองหนอ

หากภาวนายุบหนอ แล้ว สมาธิยังไม่มาก มาพะวงกับทุกขเวทนาอยู่ ก็มากำหนดจี้ลงไปตรงทุกขเวทนา แล้วก็ภาวนา ทุกข์หนอ ๆ ๆ
สงสัย
ๆ ๆ หากสมาธิมากขึ้น ๆ ๆ ๆ จิตก็ไม่รับรู้ในทุกขเวทนา กลับมาพอใจ(ตัณหา) ในความสุขจากสมาธิต่อไป เมื่อปิติใจ สุขใจมาก ๆ ก็ภาวนา สุขหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ยิ้มเห็นฟัน



นี้หรือครับ คุณกรัชกาย วิธีกำหนดรู้ทุกข์ ของคุณ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 25 มิ.ย.2008, 5:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=67591#67591


อ้างอิงจาก:
ผู้ปฏิบัติกรรมฐานไม่กลัวสมาธิเหมือนนักคิดหรอกครับ
เพราะไตรสิกขาก็มีสมาธิ เช่น ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคมีองค์ 8 ก็มีสมาธิ
อินทรีย์ 5 เป็นต้น ก็มีสมาธิ
ส่วนนักคิดจะกลัวสมาธิมาก ๆ กลัวจนลน เห็นการ(ใคร) นั่งขัดสมาธิ
เท้าขวาทับเท้าซ้าย เป็นต้น ก็เข้าใจผิดว่า นั่งสมาธิบ้าง ว่าเป็นสมถะบ้าง
เข้าใจว่าการนั่งเป็นสมาธิ



คุณกรัชกายครับ นักคิดหนอ คิดหนอ คิดหนอ อย่างคุณต่างหากที่เป็นอันตรายต่อ วิปัสสนาธุระ และ คันถธุระอย่างยิ่ง

แนวพองหนอ ยุบหนอของคุณ แยกไม่ออกระหว่าง สมาธิ วิปัสสนา เข้าใจผิดคิดว่า สมาธิคือวิปัสสนา

เที่ยวสอนไปทั่วว่า ยุบหนอ พองหนอ คือวิปัสสนา

แค่ภาวนา ยุบหนอ พองหนอได้ กำหนดเพ่งที่ท้อง ก็สำคัญตนว่า ได้นามรูปปริจเฉทฌาน แยกรูป แยกนามได้

ไม่ต้องกล่าวถึงความสำคัญผิดในวิปัสสนาฌานขั้นสูง หรือ นิพพาน จะเข้าใจผิดเพียงไหน


ต่างจากแนวการปฏิบัติแบบนามรูป หรือ อิริยาบถบรรพะ ที่อาศัยเพียงขณิกะสมาธิ พิจารณา รูปนาม ที่เป็นปัจจุบัน

คุณกรัชกาย ไม่เห็นด้วย เพราะเข้าใจผิดว่า วิปัสสนาต้องอาศัยสมาธิมาก ๆ ภาวนายุบหนอ พองหนอ ให้เกิดอัปปนาสมาธิ ได้ฌาน วิปัสสนาย่อมเกิดเอง

สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://larndham.net/index.php?showtopic=18545&st=7

แต่ในปัจจุบันนี้หาผู้ปฏิบัติสมถกรรมฐานจนสำเร็จฌานได้ยากเพราะจิตใจของบุคคลสมัยนี้เต็มไปด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ และกามคุณอารมณ์ก็อุดมสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามัวแต่ฝึกอบรมสมาธิ หรือสมถกรรมฐานกัน เพื่อให้ฌานจิตเกิดหรือให้กิเลสนิวรณ์สงบ เพื่อนำไปเป็นบาทในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น ก็คงฝึกกันได้แต่เพียงทำสมาธิเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในที่สุด ก็ตายเปล่า ไม่ได้เจริญวิปัสสนาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพากันเสียเวลามาฝึกสมาธิกันมาก ๆ เข้า จนไม่มีใครรู้จักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นว่า เป็นอย่างไร ? ผลสุดท้ายก็นึกเอาว่า สมถะ กับ วิปัสสนา นี่ เป็นอันเดียวกัน
นี่แหละ อันตรายในพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นมาด้วยความเห็นผิด ที่เป็น มิจฉาทิฏฐิ ของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันเอง
สมถะ ที่เกี่ยวข้องกับ วิปัสสนา นั้น หมายเอาเฉพาะ สมาธิ ที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของ ปัญญา คือ ขณะเจริญสติปัฏฐาน เท่านั้นหรือที่เรียกว่า สมาธิในองค์มรรค คือ ขณะเจริญมรรค ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา
ส่วนสมถะ หรือ สมาธิใด ไม่ได้ตั้งอยู่ในอารมณ์ของปัญญา หรืออารมณ์สติปัฏฐาน ๔ คือ นามรูป แล้ว สมถะ หรือสมาธินั้น ก็ไม่เกี่ยวกับวิปัสสนาซึ่งจะเรียกว่า สมาธินอกพระพุทธศาสนา ก็ว่าได้
ฉะนั้น สมถะหรือสมาธิ ที่เป็นไปในอารมณ์ของปัญญา คือ นามรูป เท่านั้น จึงจะเกี่ยวข้องกับวิปัสสนา ซึ่งเรียกได้ว่า สมถะหรือสมาธิในพระพุทธศาสนา
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง