Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 หลักของวิปัสสนา และ ปรมัตถธรรม โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2008, 5:17 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ได้รับแจกหนังสือ ชี้ทางพ้นทุกข์ พิมพ์แจกโดย อาจารย์มานิต สาครินทร์ ที่รวบรวมคำสอนของอาจารย์แนบไว้ เมื่อครั้งมีโอกาสไปฝึกปฏิบัติวิปัสสนา ที่สำนักวิปัสสนาอ้อมน้อย

http://www.abhidhamonline.org/Omnoi/Omn2/Omn1.htm

เลยพิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน ครับ

หลักของวิปัสสนาโดยสังเขป


วิปัสสนาเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง ผู้ประสงค์จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ควรทำความเข้าใจในเรื่องวิปัสสนาให้ถูกต้องเสียก่อน หลักของวิปัสสนาที่ควรเข้าใจ มีดังนี้ คือ
๑. วิปัสสนาคืออะไร ?
วิปัสสนาเป็นชื่อของ ปัญญา ที่เห็นนามรูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ไม่ใช่เห็นพระพุทธเจ้า, พระอินทร์, พระพรหม, เห็นนรก, เห็นสวรรค์ หรือเห็นอะไรอื่น ๆ

๒. อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่อะไร ?
เมื่อวิปัสสนา คือ ปัญญา ที่เห็นนามรูปไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว อารมณ์ของวิปัสสนาก็ได้แก่ นามรูป นั่นเอง

การเจริญวิปัสสนา จะต้องกำหนดนามรูปที่เป็นปัจจุบัน จึงเห็นนามรูปที่เป็นไตรลักษณ์ได้ ถ้ากำหนดดูอย่างอื่นแล้ว ก็ไม่มีเหตุผลเลยที่จะเห็นสภาวะของนามรูป เป็นไตรลักษณ์ได้

๓. ประโยชน์ของวิปัสสนา มีอย่างไร ?
ประโยชน์เบื้องต้น ย่อมทำลายวิปลาสธรรม คือความเห็นรูปนามผิดไปจากความจริง ๔ ประการคือ
สุภวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นของดีงาม
สุขวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นสุข
นิจวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นของเที่ยง
อัตตวิปลาส ได้แก่ เห็นรูปนามว่า เป็นตัวเป็นตน

ประโยชน์สูงสุด ทำให้ถึงสันติสุข คือ แจ้งพระนิพพาน

๔. ธรรมที่เป็นอุปสรรคแก่วิปัสสนาได้แก่อะไร ?
อุปสรรคของวิปัสสนา คือธรรมที่เป็นเครื่องปิดบังไตรลักษณ์ไม่ให้เห็นความจริงของนามรูป โดยเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั้น โดยสังเขปมีดังนี้
๑) สันตติ ปิดบังอนิจจัง สันตติ หมายถึง การเกิดขึ้นติดต่อสืบเนื่องกันของนามและรูปอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นเหมือนกับว่า นามและรูปนั้นยังมีอยู่เรื่อย ๆ ไป จึงเป็นเครื่องปิดบังไม่ให้เห็น อนิจจัง คือความไม่เที่ยงของนามและรูป เมื่อเห็นความจริงของนามและรูปไม่ได้ ก็ต้องเกิดความสำคัญผิดเรียกว่า นิจจวิปลาส คือความเห็นผิดว่า นามรูปเป็นของ “ เที่ยง “

๒) อิริยาบถ ปิดบังทุกข์ หมายถึงการที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถจึงไม่เห็นว่า นามและรูปนี้ มีทุกข์เบียดเบียนบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ ก็เข้าใจว่าเป็นสุข เรียกว่า “ สุขวิปลาส “ สำคัญว่า นามรูปเป็นสุข เป็นของดี อำนาจของทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด จึงเกิดขึ้นและเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ทำให้ปรารถนาดิ้นรนไปตามอำนาจของตัณหาที่อาศัยนามรูปเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ไม่ได้พิจารณาอิริยาบถจึงทำให้ไม่เห็นทุกข์ และทำให้ “ สุขวิปลาส “ เกิดขึ้น

๓) ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ฆนสัญญาคือ ความสำคัญผิดของสภาวธรรม ที่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นก้อน คือรูปนามขันธ์ ๕ นั้นว่า เป็นตัว เป็นตน เป็นคน เป็นสัตว์ และสำคัญว่า มีสาระแก่นสาร จึงทำให้ไม่สามารถมีความเห็นแยกกันของนามรูปแต่ละรูป แต่ละนามเป็นคนละอย่างได้
เมื่อไม่สามารถกระจายความเป็นกลุ่มเป็นก้อน คือ ฆนสัญญา ให้แยกออกจากกันได้แล้ว เราก็ไม่มีโอกาสที่จะเห็นอนัตตา คือ ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนได้ เมื่อไม่เห็นอนัตตา วิปลาสที่เรียกว่า “ อัตตวิปลาส “ คือความสำคัญผิด คิดว่า เป็นตัว เป็นตน หรือเป็นเราก็ต้องเกิดขึ้น และจะเป็นปัจจัยแก่ตัณหา ทำให้มีความปรารถนา เห็นว่า เป็นของดี มีสาระเกิดขึ้น
การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จึงจำเป็นต้องทำลายอุปสรรคสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ทั้ง ๓ นี้ให้หมดไป เมื่อสิ่งที่ปิดบังนี้ถูกทำลายไปแล้ว วิปลาสซึ่งเป็นผล ก็ต้องถูกทำลายไปด้วย

๕. ธรรมที่เป็นอุปการะแก่วิปัสสนามีอะไรบ้าง ?

การเจริญวิปัสสนา ต้องปฏิบัติตามสติปัฏฐาน ๔ ฉะนั้น สติปัฏฐาน จึงเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาโดยตรง และมีธรรมที่เข้าร่วมประกอบกับวิปัสสนาอีก เช่น วิปัสสนาภูมิ ๖, ญาณ ๑๖ หรือวิปัสสนาญาณ ๙ และวิสุทธิ ๗ เป็นต้น
สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน คือฐานที่ตั้งของสติหรือฐานที่รองรับการกำหนดของสติอย่างประเสริฐ สามารถนำจิตให้ดำเนินไปถึงพระนิพพานได้มี ๔ หมวด คือ

หมวดที่ ๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
มี ๑๔ ปัพพะ ได้แก่
๑) อานาปานปัพพะ
๒) อิริยาบถปัพพะ
๓) สัมปชัญญปัพพะ
๔) ปฏิกูลปัพพะ
๕) จตุธาตุปัพพะ
๖) อสุภะ ๙ ปัพพะ

หมวดที่ ๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
มี ๙ ปัพพะ ได้แก่
๑) สุขเวทนา
๒) ทุกขเวทนา
๓) อุเบกขาเวทนา เป็นต้น
เมื่อเวทนาอันใดอันหนึ่ง ปรากฏขึ้น ก็รู้ นามเวทนา นั้น ฯ

หมวดที่ ๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
มี ๑๖ ปัพพะ ได้แก่
๑) จิตมีราคะ ๒) จิตไม่มีราคะ
๓) จิตมีโทสะ ๔) จิตไม่มีโทสะ
๕) จิตมีโมหะ ๖) จิตไม่มีโมหะ
๗) จิตฟุ้งซ่าน ๘) จิตที่หดหู่
เป็นต้น เมื่อจิตใดปรากฏขึ้น ก็รู้ นามจิต นั้น ฯ

หมวดที่ ๔ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
มี ๕ ปัพพะ ได้แก่
๑) นิวรณปัพพะ ๒) ขันธปัพพะ
๓) อายตนปัพพะ ๔) โพชฌงค์ปัพพะ
๕) อริยสัจปัพพะ
เมื่อธรรมใดปรากฏขึ้นก็รู้ นามรูป นั้น ฯ

สติปัฏฐาน ๔ นี้ มีทั้งสมถะ และวิปัสสนา
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อิริยาบถ, สัมปชัญญะและจตุธาตุมนสิการ เป็นวิปัสสนา
ส่วนอานาปานปัพพะ, ปฏิกูลปัพพะ และอสุภ ๙ ปัพพะ ต้องเจริญสมถะก่อน แล้วจึงยกขึ้นสู่วิปัสสนาภายหลัง
สำหรับ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานและธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาล้วน ๆ

สงเคราะห์สติปัฏฐาน ๔ ลงในขันธ์ ๕ หรือรูปนาม ได้ดังนี้

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ รูปขันธ์ เป็น รูปธรรม
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ เวทนา เป็น นามธรรม
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ วิญญาณขันธ์ เป็น นามธรรม
ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ได้แก่ ขันธ์ ๕ เป็น รูปกับนาม

สรุปอารมณ์ของสติปัฏฐานโดยย่อ ก็ได้แก่ รูปธรรม กับ นามธรรม

ความหมายของสติปัฏฐาน

สติปัฏฐานมีอย่างเดียว ด้วยอำนาจแห่งการระลึก
สติปัฏฐานมี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์
ฉะนั้น สติปัฏฐาน จึงเป็นได้ทั้ง ผู้เพ่งอารมณ์ กับ อารมณ์ที่ถูกเพ่ง ส่วนตัวเห็นเป็น วิปัสสนา คือปัญญาที่เห็นรูปนามไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, เป็นอนัตตา นั่นเอง
องค์ธรรมของสติปัฏฐาน โดยฐานะผู้เพ่งอารมณ์ที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัสให้พินาศนั้นประกอบด้วย อาตาปี สัมปชาโน สติมา
อาตาปี ได้แก่ วิริยะ คือ ความเพียรในสัมมัปปธาน ๔
สัมปชาโน ได้แก่ ปัญญา คือ ปัญญาในสัมปชัญญะ ๔
สติมา ได้แก่ สติ ที่ระลึกรู้รูปนามในสติปัฏฐาน ๔

อารมณ์ของวิปัสสนา ได้แก่ วิปัสสนาภูมิ ๖ คือขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาทองค์ ๑๒ ซึ่งเมื่อย่อวิปัสสนาภูมิ ๖ ลงแล้ว ก็ได้แก่ รูป กับ นาม
รูปกับนาม เป็นตัวกรรมฐาน ที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ หรือเป็นครูที่จะสอนให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า “ วิปัสสนา “ ได้
ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษารูปนามให้เข้าใจจนคล่องแคล่วเสียก่อน แล้วจึงลงมือปฏิบัติ

รูปนามตามทวารทั้ง ๖

เวลาเห็น สีต่าง ๆ กับจักขุปสาท เป็นรูป
ผู้เห็น คือ จักขุวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาได้ยิน เสียงต่าง ๆ กับโสตปสาท เป็นรูป
ผู้ที่ได้ยิน คือโสตวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาได้กลิ่น กลิ่นต่าง ๆ กับฆานปสาท เป็นรูป
ผู้ที่รู้กลิ่น คือฆานวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลารู้รส รสต่าง ๆ กับชิวหาปสาท เป็นรูป
ผู้ที่รู้รส คือชิวหาวิญญาณจิต เป็นนาม
เวลาถูกต้อง ดิน,ไฟ, ลม กับกายปสาท เป็นรูป
ผู้รู้สึกถูกต้องคือกายวิญญาณจิต เป็นนาม
หรือ อาการที่ง่วง, ฟุ้ง, สงบ เป็นนาม
ผู้รู้อาการง่วง, ฟุ้ง, สงบ เป็นนาม

เมื่อเข้าใจนามรูปตามทวารทั้ง ๖ ดีแล้ว และจะเจริญสติปัฏฐานต้องกำหนดที่นาม หรือรูป ตรงที่ทิฏฐิกิเลสอาศัยในอารมณ์นั้นเพื่อไถ่ถอน สักกายทิฏฐิ หรือทำลายวิปลาสธรรม คือ

เวลาเห็น ให้กำหนด นามเห็น เพราะทิฏฐิกิเลส ยึดนามเห็นว่า เป็น เรา เห็น
เวลาได้ยิน ให้กำหนด นามได้ยิน เพราะสำคัญผิดที่นามได้ยินว่า เราได้ยิน
เวลารู้กลิ่น ให้กำหนด รูปกลิ่น เพราะสำคัญผิดที่รูปกลิ่น เป็น เราว่า เราเหม็นหรือเราหอม
เวลารู้รส ให้กำหนด รูปรส เพราะสำคัญผิดที่รูปรส เป็น เราว่า เราอร่อย หรือ เราไม่อร่อย
เวลาถูกต้อง ให้กำหนด รูปแข็ง – อ่อน, เย็น – ร้อน, เคร่งตึง – เคลื่อนไหว เพราะสำคัญผิดที่รูปว่า เป็นเรา เป็นต้นว่า เราร้อน หรือ เราหนาว
เวลาคิดนึก กำหนดได้ทั้งรูป หรือนาม แล้วแต่ทิฏฐิกิเลสอาศัยอยู่ในอารมณ์ใด ก็กำหนดรู้ตามความจริงของอารมณ์นั้น เช่น เวลานั่ง, นอน, ยืน, เดิน ให้กำหนด รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน หรือ รูปเดิน ขณะที่รูปกายตั้งอยู่ในอาการ นั้น เวลานึกคิด, ง่วง, ฟุ้ง, สงบ ให้กำหนด นามคิดนึก, นามง่วง, นามฟุ้ง, นามสงบ เป็นต้น

อารมณ์ปัจจุบัน มีความสำคัญในการเจริญวิปัสสนามาก เพราะเป็นอารมณ์ของสติสัมปชัญญะที่จะทำลายอภิชฌาและโทมนัส

คำว่า “ ปัจจุบัน “ ในที่นี้ มี ๒ อย่าง คือ ปัจจุบันธรรม กับ ปัจจุบันอารมณ์

ปัจจุบันธรรม ได้แก่ รูปนาม ที่กำลังปรากฏอยู่ตามธรรมดาของสภาวธรรมนั้น ๆ

ปัจจุบันอารมณ์ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติจับปัจจุบันธรรมที่กำลังปรากฏเฉพาะหน้านั้นมาเป็นอารมณ์ ได้ อารมณ์นั้น จึงชื่อว่า ปัจจุบันอารมณ์

การกำหนดอิริยาบถ
การเจริญวิปัสสนานั้น เพื่อสะดวกแก่ผู้ที่ยังใหม่ต่อการปฏิบัติ หรือผู้ที่มีกิเลสหนาปัญญาน้อย ควรกำหนดอิริยาบถตามในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเพราะเป็นอารมณ์ที่ปรากฏชัด และมีอยู่ประจำ จึงพิจารณาได้ง่าย และการพิจารณาอิริยาบถ ก็เพื่อทำลายสิ่งที่ปิดบังทุกข์ สิ่งที่ปิดบังถูกทำลายลงเมื่อใดก็จะเห็นทุกข์ของความจริงได้เมื่อนั้น

ฉะนั้น เมื่อผู้ปฏิบัติ มีความเข้าใจนามรูปจากการศึกษาดีแล้ว ก็พึงกำหนดนามรูปในอิริยาบถปัพพะ ดังนี้

ในเวลานั่งอยู่ ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปนั่ง
เวลานอน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปนอน
เวลายืน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปยืน
เวลาเดิน ก็ให้มีความรู้สึกตัวว่า ดู รูปเดิน
ความรู้สึกตัว คือ สติสัมปชัญญะของผู้ปฏิบัติ ขณะที่กำหนดรูปอิริยาบถอยู่ ซึ่งขณะนั้น ผู้ปฏิบัติรู้สึกตัวว่า กำลังดูรูปอะไรอยู่

มีหลักอยู่ว่า ขณะปฏบัตินั้น มีตัวกรรมฐานกับผู้เจริญกรรมฐาน ตัวกรรมฐานได้แก่รูปอิริยาบถ เป็นตัวถูกเพ่ง

ส่วน ผู้เจริญกรรมฐาน ได้แก่สติสัมปชัญญะเป็นตัวเพ่ง ความรู้สึกตัว คือรู้สึกว่า ตัวผู้เพ่ง กำลังดู ตัวที่ถูกเพ่ง อยู่ ความรู้สึกตัวนี้ มีความสำคัญยิ่งในการเจริญวิปัสสนา

ถ้าความรู้สึกตัวมีมากเท่าไร ก็ได้อารมณืปัจจุบันมากเท่านั้น
การให้มีความรู้สึกตัวดูรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน, ในเวลาที่นั่ง, นอน, ยืน, เดิน อยู่ก็เพื่อแยกรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน ออกไปเป็นคนละส่วน เพื่อทำลายฆนสัญญาที่ปิดบังอนัตตาและการกำหนดนี้จะต้องให้ได้อารมณ์ปัจจุบัน คือ เวลาที่กำลังนั่ง, กำลังนอน, กำลังยืน, กำลังเดินอยู่ ต้องทำความรู้สึกตัวให้อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันนั้น ๆ เสมอ

รูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปเดิน อยู่ที่อาการหรือท่าทาง ที่นั่ง, ที่นอน, ที่ยืน, ที่เดิน นั้น ๆ ในสติปัฏฐานแสดงว่า

“ เมื่อกายตั้งไว้ในอาการอย่างไร ก็ให้รู้ชัดในอาการของกายที่ตั้งไว้แล้วในอาการอย่างนั้น ๆ “ คือ

รู้รูปนั่ง ตรงอาการ หรือท่าทางที่นั่ง
รู้รูปนอน ตรงอาการ หรือท่าทางที่นอน เป็นต้น

ผู้ปฏิบัติมีหน้าที่ดูรูปนั่ง, รูปนอน, รูปยืน, รูปนอน ขณะกำลังปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันอยู่เท่านั้น

รูปอิริยาบถนี้แหละ จะทำหน้าที่เป็นครูสอนให้รู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือเป็นอนัตตา

ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจึงมีหน้าที่เข้าไปพบครู รูปนาม ก่อนเท่านั้น และการเข้าพบครู รูปนาม ได้อย่างนั้น โปรดพิจารณาได้จาก “ หลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ “ สำหรับผู้เริ่มเข้ากรรมฐานต่อไป

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-19-01.htm

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ฯ
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ฯ
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ฯ

ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, เป็นทุกข์ เห็นธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตาเมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางให้ถึงธรรมที่หมดจดวิเศษ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2008, 5:27 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปรมัตถธรรม

ปรมัตถธรรม หมายถึงธรรมที่มีเนื้อความอันประเสริฐ เพราะมีคุณลักษณะแน่นอน ไม่วิปริตผันแปร เป็นอารมณ์ของปัญญาอันสูงสุดและเป็นประธานในบัญญัติธรรมทั้งปวง
ปรมัตถธรรมมี ๔ อย่าง
๑. จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ มี ๘๙ หรือ ๑๒๑
๒. เจตสิก ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต มี ๕๒
๓. รูป ธรรมชาติที่แตกดับ มี ๒๘
๔. นิพพาน ธรรมชาติที่สงัดจากขันธ์และกิเลส โดยสภาพมี ๑

ปรมัตถธรรม กับ วิปัสสนาภูมิ

จัดโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ
รูป ๒๘ ปสาทรูป ๕ คือ
จักขุปสาทรูป คือ ตา เป็น รูปขันธ์
เป็น จักขวายตนะ
เป็น จักขุธาตุ
โสตปสาทรูป คือ หู เป็น รูปขันธ์
เป็น โสตายตนะ
เป็น โสตธาตุ
ฆานปสาทรูป คือ จมูก เป็น รูปขันธ์
เป็น ฆานายตนะ
เป็น ฆานาธาตุ
ชิวหาปสาทรูป คือ ลิ้น เป็น รูปขันธ์
เป็น ชิวหายตนะ
เป็น ชิวหาธาตุ
กายปสาทรูป คือ กาย เป็น รูปขันธ์
เป็น กายายตนะ
เป็น กายธาตุ
ปสาทรูป ๕ ทั้งหมด จัดโดยขันธ์ เป็น รูปขันธ์
จัดโดยนามรูป เป็น รูป
จัดโดยอารมณ์ ๖ เป็นธรรมารมณ์

วิสยรูป ๗
วัณณรูป ( สีต่าง ๆ ) คือ รูปารมณ์ เป็น รูปขันธ์
เป็น รูปายตนะ
เป็น รูปธาตุ
สัททรูป ( เสียงต่าง ๆ ) คือ สัททารมณ์ เป็น รูปขันธ์
เป็น สัททายตนะ
เป็น สัททธาตุ
คันธรูป ( กลิ่นต่าง ๆ ) คือ คันธารมณ์ เป็น รูปขันธ์
เป็น คันธายตนะ
เป็น คันธธาตุ
รสรูป (รสต่าง ๆ ) คือ รสารมณ์ เป็น รูปขันธ์
เป็น รสายตนะ
เป็น รสธาตุ
ปฐวี เตโช วาโย รูป คือ โผฏฐัพพารมณ์ เป็น รูปขันธ์
เป็น โผฏฐัพพายตนะ
เป็น โผฏฐัพพธาตุ
วิสยรูป ๗ ทั้งหมดนี้ จัดโดยขันธ์ เป็น รูปขันธ์
จัดโดยนามรูป เป็น รูป
จัดโดยอารมณ์ ๖ เป็น อารมณ์ ๕ ( ปัญจารมณ์ )

สุขุมรูป ๑๖ คือ อาโป ๑, ภาวรูป ๒, หทยรูป ๑, ชีวิตรูป ๑, อาหารรูป ๑, ปริเฉทรูป ๑, วิญญัติรูป ๑, วิการรูป ๓, ลักขณะรูป ๔
เมื่อจัดโดยขันธ์ ได้แก่ รูปขันธ์
เมื่อจัดโดยอายตนะ ได้แก่ ธัมมายตนะ
เมื่อจัดโดยธาตุ ได้แก่ ธัมมธาตุ
ฉะนั้น รวมรูป ๒๘ ทั้งหมด
ถ้าจัดโดยขันธ์ ได้แก่ รูปขันธ์
ถ้าจัดโดยอายตนะ ได้แก่ โอฬาริกายตนะ และ ธัมมายตนะ
ถ้าจัดโดยธาตุ ได้แก่ โอฬาริกธาตุ ๑๐ และ ธัมมธาตุ ๑

จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑

ถ้าจัดโดยขันธ์ ได้แก่ วิญญาณขันธ์
ถ้าจัดโดยอายตนะ ได้แก่ มนายตนะ
ถ้าจัดโดยธาตุ ได้แก่ วิญญาณธาตุ

วิญญาณธาตุ ๗ ได้แก่
จักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น จักขุวิญญาณธาตุ
โสตวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น โสตวิญญาณธาตุ
ฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น ฆานวิญญาณธาตุ
ชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ
กายวิญญาณจิต ๒ ดวง เป็น กายวิญญาณธาตุ
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนะจิต ๒ เป็น มโนธาตุ
จิตที่เหลือ ๗๖ หรือ ๑๐๖ เป็น มโนวิญญาณธาตุ

เจตสิก ๕๒ ถ้าจัดโดยขันธ์ ได้แก่ เจตสิกขันธ์ ๓ คือ
เวทนาเจตสิก เป็น เวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิก เป็น สัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็น สังขารขันธ์
ถ้าจัดโดยอายตนะ เป็น ธัมมายตนะ
ถ้าจัดโดยธาตุ เป็น ธัมมธาตุ

นิพพาน ถ้าจัดโดยขันธ์ เป็น ขันธวิมุตติ
ถ้าจัดโดยอายตนะ เป็น ธัมมายตนะ
ถ้าจัดโดยธาตุ เป็น ธัมมธาตุ

พระปรมัตถธรรม ทั้ง ๔ จัดโดยขันธ์
จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวง ทั้งหมด เป็น วิญญาณขันธ์
เจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็น เวทนาขันธ์
สัญญาเจตสิก เป็น สัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็น สังขารขันธ์
รูป ๒๘ ทั้งหมด เป็น รูปขันธ์
รวมเป็น ขันธ์ ๕
ส่วน นิพพาน เป็น ขันธวิมุตติ

จัดโดย นามรูป
จิต ทั้งหมด เจตสิก ทั้งหมด เป็น นาม
รูป ทั้งหมด เป็น รูป

จัดโดย อริยสัจ ๔
โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็น ทุกขสัจจะ
โลภเจตสิก เป็น สมุทยสัจจะ
พระนิพพาน เป็น นิโรธสัจจะ
มัคคังคะ ( องค์มัค ๘ ) เป็น มัคคสัจจะ

จัดตามลักษณะธรรมที่ปรากฏขึ้น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้ถูกต้อง ครั้งหนึ่ง ๆ

อายตนะปรากฏขึ้น ครั้งละ ๔ อายตนะ คือ
ขณะเห็น จักขวายตนะ รูปายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ
ขณะได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้ถูกต้อง ครั้งหนึ่ง ก็มี ๔ อายตนะ คล้ายคลึงกัน
ส่วนใจ รู้ คิด นึก มีมนายตนะ กับ ธัมมายตนะ เท่านั้น

ธาตุปรากฏขึ้น ครั้งละ ๖ ธาตุ ขณะ เห็น คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ ธัมมธาตุ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
ขณะได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้ถูกต้อง ครั้งหนึ่ง ๆ ก็มี ๖ ธาตุ คล้ายคลึงกัน ส่วนใจ รู้ คิด นึก มีมโนวิญญาณ กับ ธัมมธาตุ

ขันธ์รากฎขึ้น ครั้งละ ๕ ขันธ์ ขณะเห็น คือ รูปขันธ์ ๑ เวทนาขันธ์ ๑ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑
ขณะได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้ถูกต้อง ก็มีขันธ์ ๕ คล้ายคลึงกัน แม้ที่คิด นึก หรือเป็นอยู่ตามปกติ ก็มีขันธ์ ๕ ประชุมอยู่ทุกขณะจิตเช่นกัน

ธรรมปรากฏขึ้นในการรู้อารมณ์ มี ๒ อย่าง คือ ธรรมชาติที่รู้ ๑ และสิ่งที่ให้รู้ ๑

ถ้าจัดโดยอารมณ์ ๖ ที่ให้รู้เรื่องราวได้คราวละ ๒ อารมณ์ คือ รูปารมณ์ กับ ธัมมารมณ์
แม้สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ก็เกิดร่วมกับธัมมารมณ์ ทีละ ๒ อารมณ์ เช่นกัน
ความปรากฏขึ้นของอายตนะ คงยืน มนายตนะ กับ ธัมมายตนะ
ความปรากฏของธาตุ คงยืน ธัมมธาตุ มโนธาตุ
มโนวิญญาณธาตุ
ความปรากฏขึ้นของขันธ์ ๕ คงยืน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ความปรากฏขึ้นของนาม รูป คงยืน รู้ เปลี่ยนแปลงแต่สิ่งที่ให้รู้
ความปรากฏขึ้นของอารมณ์ คงยืน ธัมมารมณ์ เปลี่ยนแปลงแต่อารมณ์ ๕

ผู้ปฏิบัติควรจะรู้สภาพธรรมเหล่านี้ เพราะฐานที่ตั้งของพระศาสนานั้นอยู่ที่สภาพธรรมเหล่านี้ ควรทำความเข้าใจว่า สภาพธรรมที่มีอยู่ในพระไตรปิฏกทั้ง ๓ นั้นไม่ได้ปรากฏขึ้นที่ไหน นอกจากจะมีขึ้นในเวลาตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรู้รส กายถูกต้อง ใจรู้ธรรมารมณ์ พ้นจากนี้แล้วไม่ได้ไปเป็นอยู่ที่ไหน ฉะนั้นเพื่อเราจะได้รู้จักคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระบรมศาสดาของเราตามที่มีไว้ในพระไตรปิฏกแล้ว เราจะต้องรู้สภาพธรรมตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ตามส่วนที่เราควรจะศึกษาให้รู้ได้ตามสติและปัญญาของเราตามนัยปริยัตินั้น

แต่ถ้าเรารู้เพียงตามปริยัต เราจะรู้จักแต่ชื่อเท่านั้น ถ้าเราต้องการรู้จักตัวจริง เราจะต้องรู้ด้วยการปฏิบัติ จึงจะเป็นของแน่ใจ

การปฏิบัติเพื่อจะให้รู้ความจริงเหล่านี้นั้นก็ไม่ใช่จะให้ไปคอยดูธรรมเหล่านี้ที่ไหนนอกจากจะมีสติคอยรู้อยู่ในเวลาที่ตาเห็น หูได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส ถูกต้อง ใจรู้ทั้งอิริยาบถใหญ่และย่อยด้วยจึงจะรู้ เพราะเป็นที่เกิดของเขา เขาไม่ได้ไปอยู่ที่อื่น และของจริงเหล่านี้มีตลอดตั้งแต่อเวจีมหานรกจนเนวสัญญานาสัญญายตนะ ตลอดทั้ง ๓๑ ภูมินั้นคงมีแต่จิต เจตสิก รูป คือนามรูปเท่านั้น รวมอยู่ใน สัพเพ สังขารา อนิจจา หาแก่นสารไม่ได้ใน ๓๑ ภูมินี้ ตกอยู่ในสังสารวัฏฏทุกข์นั้น

จึงขอท่านทั้งหลายอย่าเอาจิตเป็นที่พึ่ง อย่าเอาเจตสิกเป็นที่พึ่ง อย่าเอารูปเป็นที่พึ่ง จงเอานิพพานเป็นที่พึ่งจึงจะพ้นจากวัฏฏทุกข์

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สิ่งที่ปรุงแต่งเกิดขึ้นทั้งหมดเป็นสังขาร สิ่งที่ดับทั้งหมดเป็นอนิจจัง เพราะสิ้นการปรุงแต่งแล้ว
สพฺเพ สงฺขารา ทุกขา สิ่งที่ปรุงแต่งเกิดขึ้นทั้งหมดเป็นสังขาร สิ่งที่ดับทั้งหมดเป็นทุกข์ เพราะทนอยู่ไม่ได้
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายที่เกิดจากการปรุงแต่งและไม่ปรุงแต่งทั้งหมด สิ่งนั้นต้องดับทั้งหมด เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนบังคับไม่ได้ เมื่อเห็นอย่างหนึ่งก็เป็นอันว่าเห็นทั้งสามตลอดกันทั้งสามลักษณะ ไม่ใช่ไปคิดค้นหาทีละคราว ถ้าลักษณะนั้นยังรวมกันเป็นหนึ่งไม่ได้ ความรู้นั้นก็ยังมิใช่วิปัสสนาปัญญา เป็นจินตาปัญญา ต้องรู้กำลังเกิดขึ้นและกำลังสลาย ถ้ารู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วและเมื่อหมดไปแล้วหรือเมื่อยังไม่หมดแต่คิดล่วงหน้าไปว่าแล้วจะหมดอย่างนี้เป็นจินตาปัญญา ยังไม่ใช่ของจริงเพราะยังลูบไล้อยู่

อุปมาเหมือนเรารู้แล้วว่าไฟนั้นเป็นของร้อน แต่ถ้าจะคิดว่าเวลานี้เราตกอยู่ในกองไฟ ไฟไหม้ตัวเรา แต่เราก็ไม่ร้อน เพราะไฟยังไม่มาถูกเราจริง ๆ จิตเราก็ยังไม่ดิ้นที่จะอยากพ้นจากไฟ ต่อเมื่อใดเราไปประสบไฟเข้าจริง ๆ แม้เพียงธูปดอกเดียวเท่านั้น จิตเราก็ต้องดิ้นเพื่อให้พ้นไปจากไฟ ฉะนั้นอารมณ์ที่ได้มาจากความคิด จึงต่างกันกับที่ได้มาจากความรู้ที่ปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า ผู้ที่คิดถึงความทุกข์ ในเมื่อความทุกข์พ้นไปแล้ว และยังไม่มาถึงนั้นจึงต่างกันกับผู้ที่รู้ทุกข์ที่กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้า อารมณ์ทั้งสองนั้นจึงไม่เหมือนกัน เช่น เห็นว่าคนพวกอื่น ๆ เขาตายกันก็ต่างกันกับพวกเราตาย หรือเห็นคนอื่นเขาเจ็บก็ต่างกันกับตัวเราเจ็บและพวกเราเจ็บ ถ้าคนอื่นเขาเจ็บเราก็ไม่ยอมเสียสละ ถ้าตัวเราเจ็บเราจึงยอมเสียสละ ถ้ายิ่งเจ็บมากสักหน่อยก็ยิ่งแล้วไปทีเดียว ถึงจะเอาเงินทองมาให้สักเท่าใดแต่เขาจะให้เจ็บอยู่อย่างนั้นเราก็ไม่ต้องการ ใจเราก็ไม่อยากได้และไม่ยินดี เพราะอยากจะให้พ้นทุกข์ คือหายเจ็บมากกว่าอยากได้เงิน ถึงจะเสียจนสิ้นเนื้อประดาตัวก็ยอมแต่ขอให้พ้นจากความเจ็บเถิด ไม่ว่าสิ่งใดที่จะทำให้เราหายเจ็บแล้วเราต้องยอมเสียสละทั้งหมด

ฉันใดก็ดี ผู้ที่ยังไม่รู้จักทุกข์ที่กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้าแล้วก็เปรียบเหมือนผู้นั้นยังไม่เจ็บ จิตจึงไม่ยอมเสียสละในกามทั้งหลาย ส่วนพระอริยเจ้าท่านได้กำหนดรู้ทุกข์จนปรากฏขึ้นเฉพาะหน้าแล้ว จึงเปรียบเหมือนท่านที่กำลังเจ็บอยู่ ท่านจึงยอมเสียสละในกามทั้งหลายเพื่อนิพพาน อันเป็นธรรมพ้นจากทุกข์ เพราะขณะที่กำลังกำหนดเห็นทุกข์อยู่ เปรียบเหมือนท่านกำลังเจ็บอยู่ ท่านจึงต้องอุตส่าห์มีความเพียรกินยาที่แสนจะไม่มีรสอร่อย คือต้องอดทนปฏิบัติ เพราะการปฏิบัตินั้นลำบาก ต้องทวนกระแสของใจที่จะไหลไปกับกิเลส ถ้าหากว่าเราปล่อยให้ไหลไปกับกิเลสแล้วเราก็รู้สึกสบาย เหมือนกินของแสลงไม่ต้องขืนใจกินเพราะอร่อยกินง่ายดี เพราะเราต้องการประโยชน์ เพียงแต่จะกินของที่มีรสอร่อยเท่านั้น ส่วนทุกข์และโทษที่เกิดขึ้นจากการกินของแสลงนั้นเรายังไม่ได้กำหนดรู้ เราจึงยังไม่มีอินทรีย์และฉันทะพอที่จะพยายามกินยาและอดของแสลงเสียบ้าง พอได้ยินว่าข้อปฏิบัติอะไรจะต้องยากและลำบากสักหน่อยเท่านั้นเราก็เบือนหน้าหนีทีเดียว ไม่ยอมสมัครใจทำ ศรัทธาและฉันทะที่มีอยู่ก็หมดเลย เพราะไม่อยากกินยาขมและไม่อยากอดของแสลงด้วย แต่นิพพานก็อยากไปเพราะเขาว่าเป็นสุข

ถามว่าอยากไปพระนิพพานทำไม ก็บอกว่าอยากพ้นทุกข์ ครั้นถามว่าเราอยู่ทุกวันนี้ เราเห็นอะไรเป็นทุกข์ เราใคร่อยู่ในความสุข และเราเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ยังทำความสุขให้เราอยู่ออกรอบด้าน คือถ้าเรากินรสที่อร่อย ๆ เราก็เป็นสุข เราได้ยินเสียงดี ๆ เราก็เป็นสุข เราได้กลิ่นดี ๆ เราก็เป็นสุข เราเห็นรูปที่ดี ๆ เราก็เป็นสุข เรานอนสบาย ๆ เราก็เป็นสุข โลกยังทำความสุขให้อยู่ทั้งนั้น แล้วเราจะว่าอยากไปพระนิพพานเพื่อพ้นทุกข์อย่างไร

ผู้ที่จะไปถึงพระนิพพาน ท่านต้องเห็นโลกเป็นทุกข์รอบด้านความสุขในโลกไม่มีเลย ท่านจึงได้ยอมเสียสละความสุขที่จะเกิดขึ้นจากการกินสบายและนอนสบาย เพราะมารู้เสียอย่างแน่นอนแล้วว่าหนทางที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพานนั้นไม่ได้อาศัยความสุขในโลก ต้องอาศัยความทุกข์ในโลกเป็นหนทางพาไปสู่พระนิพพาน เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า การรู้จักทุกข์เป็นหนทางอันหมดจดวิเศษ ท่านจึงได้ยอมเสียสละไปกระทำความเพียร ถึงแม้จะลำบากจนถึงกระดูกออกนอกเนื้อก็ยอม แต่พวกเราไม่ยอม เพียงแต่ไปกินไม่อร่อย นอนไม่สบายเข้าสักมื้อหนึ่งเท่านั้นเราก็แทบตายเสียแล้ว เพราะเราอยากจะหายเจ็บด้วยการกินของแสลง ไม่ยอมให้หายด้วยการกินยา

ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ๔ อย่างนี้แล เปรียบเหมือนปลิง ๔ ตัว ที่คอยสูบเลือดของพระศาสนาจากเราให้เสื่อมสิ้นจางไป เราต้องพยายามแกะออก ถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้มันกินมากเข้าพระศาสนาก็จะตายไปจากเรา เราจะเป็นคนอ่อนเพลียไม่มีกำลัง อวัยวะของพระศาสนาจะไม่แข็งแรงเพราะขาด ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

--------------------------------------------------------------

แนะแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6180
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 18 มิ.ย.2008, 5:35 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ขอเรียนถามคุณเฉลิมศักดิ์ครับว่า “นิพพาน” ตามความเข้าใจของคุณ คือ อย่างไร เอาตามความเห็นความเข้าใจของคุณเลยครับ ถูก-ผิดไม่เป็นไรว่าไป กรัชกายก็ไม่เคยเห็นหรือเข้านิพพานเหมือนกัน แต่อยากถามว่า “นิพพาน” ต้องเป็นไง ถึงจะนิพพาน
ชาวพุทธพูดถึงกันบ่อยๆ ว่า นิพพาน นิพพาน แต่ในรายละเอียดว่าต้องยังไง ไม่ค่อยมี
พูดแต่ศัพท์ นิพพาน โดดๆ จึงพากันตีความนิพพานไปคนละทิศละทาง จึงอยากฟังความเห็นของคุณบ้าง เห็นอ้างนิพพานเหมือนกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2008, 4:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายครับ ศึกษาได้จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา พระอภิธัมมัตถสังคหะ และผู้ทรงพระไตรปิฏก

จะดีกว่าฟังจากความคิดเห็นส่วนตัว

นิพพานในความหมายของเถรวาท
http://larndham.net/index.php?showtopic=24144&st=1
---------------------------------

และหนทางที่จะถึงพระนิพพาน คือต้องกำหนดรู้ในทุกข์


ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm



กิจของอริยสัจ มีอย่างไร ?

ในอริยสัจนี้พระพุทธองค์ท่านวางกิจไว้อย่างไร ? คือการปฏิบัติในอริยสัจธรรมนี้ เราจะทำอย่างไร ? อริยสัจนั้นมี ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และท่านวางกิจในอริยสัจไว้ดังนี้

๑. ทุกข์ เป็นกิจที่ต้องกำหนดรู้

๒. สมุทัย เป็นกิจที่ต้องละให้หมดไป

๓. นิโรธ เป็นกิจที่ต้องทำให้แจ้ง

๔. มรรค เป็นกิจที่ต้องเจริญให้เกิดขึ้น


เราต้องเข้าใจในกิจ หน้าที่อย่างนี้เสียก่อน เมื่อเราเข้าใจในกิจหน้าที่ของอริยสัจดีแล้ว เวลาปฏิบัติก็ให้เป็นไปตามกิจ หรือหน้าที่นั้น

ปฏิบัติอย่างไร ?

ก็ปฏิบัติกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำนิโรธให้แจ้ง ทำมรรคให้เกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติเพื่อจะบรรลุอริยสัจ จะต้องทำไปตามกิจของอริยสัจและการปฏิบัติ จะต้องทำจำเพาะเจาะจงลงในกิจของอริยสัจนี้ จึงจะเป็นหนทางที่ถูก

ฉะนั้น จึงขอให้ท่านผู้ฟังได้โปรดทำความเข้าใจตามเหตุผลนี้เสียก่อน

ทุกข์ที่ต้องกำหนดรู้นั้น ควรกำหนดรู้ทุกข์อะไรก่อน ?

ตามที่อธิบายมาแล้วว่า ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้นั้น คือ ทุกข์อะไร ?

ในบรรดาทุกข์ ๕ อย่างนั้น ขั้นแรก ก็ต้อง รู้ทุกขเวทนาก่อน เพราะเมื่อกี้นี้ก็ได้เรียนให้ท่านผู้ฟังทราบแล้วว่า ทุกข์ทั้งหมดอยู่ที่ ทุกขอริยสัจ และที่บอกว่า รู้ทุกขเวทนาก่อน เพราะอะไร ? เพราะว่า ทุกข์ทั้งหมดนั้น ทุกขเวทนาเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่แก่เราเสมอ แทบจะทุกเมื่อและทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมา เราก็แก้ทุกขเวทนาเรื่อยไปจนกระทั่งหลับ และแม้แต่การหลับนั้น ก็เป็นการแก้ทุกข์อยู่ในตัวแล้วเหมือนกัน ดังนั้น เราจึงต้องกำหนดรู้ทุกขเวทนาก่อน


------------------------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 9:46 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณเฉลิมศักดิ์พิจารณานิพพานที่กระชับ
และพอมองเห็นแนวทางจากการปฏิบัติบ้างครับ

“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน
แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยอ้อม
(โดยปริยาย)

ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป แม้เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า
เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยตรง (โดยนิปปริยาย)

องฺ.นวก. 23/237,251,255/425,475,476

ผู้ที่มองเห็นขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว
หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้ตทังคนิพพาน”

สํ. ข.17/88/54
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 22 มิ.ย.2008, 1:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ในบรรดาทุกข์ ๕ อย่างนั้น ขั้นแรก ก็ต้อง รู้ทุกขเวทนาก่อน เพราะเมื่อกี้นี้ก็ได้เรียนให้ท่านผู้ฟังทราบแล้วว่า ทุกข์ทั้งหมดอยู่ที่ ทุกขอริยสัจ และที่บอกว่า รู้ทุกขเวทนาก่อน เพราะอะไร ? เพราะว่า ทุกข์ทั้งหมดนั้น ทุกขเวทนาเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่แก่เราเสมอ แทบจะทุกเมื่อและทุกอิริยาบถ
ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมา เราก็แก้ทุกขเวทนาเรื่อยไปจนกระทั่งหลับ และแม้แต่การหลับนั้น
ก็เป็นการแก้ทุกข์อยู่ในตัวแล้วเหมือนกัน ดังนั้น เราจึงต้องกำหนดรู้ทุกขเวทนาก่อน


คุณเฉลิมศักดิ์บอก วิธีกำหนดรู้ทุกขเวทนาดังกล่าวชัดๆสักทีสิครับ


ดังนั้น เราจึงต้องกำหนดรู้ทุกขเวทนาก่อน


กำหนดอย่างไร ?

เอาตรงๆชัดๆเลยครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 5:43 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
ดังนั้น เราจึงต้องกำหนดรู้ทุกขเวทนาก่อน

กำหนดอย่างไร ?

เอาตรงๆชัดๆเลยครับ



ผิดถูกขออภัย นะครับ ซึ้ง


เมื่อกำหนดรู้ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่ง เช่น รูปนั่ง (ท่าทางการนั่งขณะนั้น) เป็นระยะเวลาหนึ่ง ทุกขเวทนา ก็จะเกิดขึ้น เช่น ปวดชาบริเวณขา ก็ให้กำหนดรู้ว่า นามปวด ถ้าทุกขเวทนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็กำหนดเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อแก้ไขทุกข์


และมีหลักสำคัญว่า ห้ามทำความพอใจในอิริยาบถใหม่ (อภิชฌา) ให้เพียงกำหนดรู้ในอิริยาบถเท่านั้น และ ไม่พอใจในทุกขเวทนา หรือ อิริยาบถเก่า (โทมนัส)

บางทีกำหนดดูรูปนั่ง แทบไม่ได้ ความง่วง มันเกิดเรื่อย ๆ ถึงขั้นสัปงก หลับใน กำหนด นามง่วง ก็เอาไม่อยู่ ต้องเปลี่ยนมาเป็นรูปเดิน


แต่พึ่งได้รับการแนะนำจากพระวิปัสสนาจารย์ว่า ส่วนใหญ่ ที่ไม่เห็นทุกข์ชัดในรูปนาม เพราะมักเปลี่ยนอิริยาบถข้ามไป เลย เช่น นั่งอยู่ปวดขา ก็เปลี่ยนเป็น เดิน ทันที แทนที่จะกำหนดรู้ทุกข์ในรูปนั่ง แล้วค่อย ๆ เปลี่ยน ท่านั่ง ซึ่งเป็นคนละรูปกันซึ่งทุกขเวทนาอาศัยรูปนั่งเกิดอย่างถี่ยิบ


คุณกรัชกายครับ รายละเอียดในการปฏิบัติ มีอีกมาก ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ

จากหลวงพ่อเสือ
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=7508

คำถาม โยนิโสมนสิการสำคัญอย่างไร?


คำตอบ โยนิโสมนสิการ คือ การวางใจได้อย่างแยบคาย เป็นอาหารสำคัญของปัญญา ถ้าไม่มีโยนิโสมนสิการ วิปัสสนาคือตัวปัญญาก็เกิดขึ้นไม่ได้


เพราะถ้าจะทำให้จิตอยู่นิ่งเป็นอารมณ์ๆเดียวก็จะเป็นสมถะหรือมีสมาธิมากไป ในเวลานั่งจึงต้องรู้ความจริงในวิปัสสนาว่า นั่งอยู่ก็รู้สึกตัวว่าเป็นรูปนั่ง เดินอยู่ก็รู้สึกตัวว่าเป็นรูปเดิน ยืนอยู่ก็รู้สึกตัวว่าเป็นรูปยืน ไม่ใช่เป็นรูปเหมือนกันหมด


เราต้องกำหนดให้แยบคายว่า นี่รูปเดิน นี่รูปยืน นี่รูปนอน คนละรูปกัน ไม่ใช่กำหนดรูปอย่างเดียว ต้องให้เห็นความแตกต่างระหว่างรูปด้วย การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่าการมองได้อย่างแยบคายว่าเป็นอาการที่ทรงตัวอยู่อย่างนั้น คือรูปยืน อาการที่เดินอยู่คือรูปเดิน อาการที่นั่งอยู่คือรูปนั่ง ต้องกำหนดทุกท่าและมีการวางใจให้ถูกต้อง



หรือว่านามกำลังทำงานอยู่ก็รู้ว่านามอะไรด้วย ไม่ใช่นาม นาม นาม นาม.. ไม่รู้นามอะไร เช่น กำหนดรู้สึกนามเป็นทุกข์ นามได้ยิน นามเห็น นามฟุ้ง นามโกรธ นามหงุดหงิด นามเบื่อ เป็นต้น


เราจะเห็นว่าชีวิตของเรานี้มีสิ่งที่เข้ามาสารพัด มีความวุ่นวาย ยุ่งเหยิง ไม่เป็นชิ้นเป็นอันเลย และก็ไม่ใช่มีเพียงอย่างเดียว มีสารพัดอย่างที่เข้ามา และออกไปตามเหตุตามปัจจัย
----------------------------------------------------------------------
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3295


เพื่อความสะดวกในการศึกษาและทำความเข้าใจ
จึงขอนำกระทู้ที่ท่านอาจารย์บุษกร เมธางกูร
ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐานเบื้องต้น
มารวมไว้ในกระทู้นี้อีกครั้งหนึ่ง



วิปัสสนาตอนที่ ๑
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3145

วิปัสสนาตอนที่ ๒
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3149

วิปัสสนาตอนที่ ๓
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3161

วิปัสสนาตอนที่ ๔
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3172

วิปัสสนาตอนที่ ๕
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3183

วิปัสสนาตอนที่ ๖
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3193

และก็เพิ่มเติมกระทู้ที่ท่านอาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเรื่องของโยนิโสมนสิการไว้ด้วยค่ะ ที่กระทู้ข้างล่างนี้



โยนิโสมนสิการตอนที่ ๑
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3214

โยนิโสมนสิการตอนที่ ๒
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3220

โยนิโสมนสิการตอนที่ ๓
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3226

โยนิโสมนสิการตอนที่ ๔
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3245

สำหรับผู้ที่สนใจที่จะฝึกหัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขอเชิญอ่านรายละเอียดที่กระทู้นี้นะคะ

http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=3281



http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=1907

โยนิโสมนสิการ …


๑๗. การกำหนดในขณะที่ทุกขเวทนาครอบงำ


เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ปวดฟัน มันปวดร้าวไปหมดทั้งศีรษะ อารมณ์ที่ชัดเจนเวลานั้นก็คือทุกขเวทนา ก็ไปดูทุกขเวทนา แต่มีผู้ปฏิบัติบางคนบอกว่า ยิ่งดูทุกขเวทนาก็จะยิ่งปวดจนทนไม่ได้ ถ้าไม่ดูทุกขเวทนายังปวดน้อย แต่ถ้าไปดูอิริยาบถก็ดูไม่ได้อีก อย่างนี้ถึงหัดดูก็ดูไม่ได้แล้ว เพราะจิตใจกระสับกระส่ายเนื่องจากทุกขเวทนารบกวน


ที่ดูทุกขเวทนาแล้วยิ่งปวดนั้น เรียกว่าไม่ดูทุกขเวทนาอย่างรู้สึกตัว มีแต่สติอย่างเดียว...แล้วก็อาจจะหมายไว้ในใจด้วยว่าดูไปเรื่อยๆ มันอาจจะหายปวดก็ได้ คือมีความคิดอย่างนี้แอบแฝงอยู่ก็ได้ อย่างไรก็ตามเอาความว่า ไม่มีความรู้สึกตัวกล่าวคือ มีแต่สติสำรวมที่ความปวดเท่านั้น อย่างนี้เรียกว่ามีแต่สติ สติเป็นปัจจัยแก่สมาธิเป็นพิเศษ


สติเกิดขึ้นอะไรๆ มันจะชัดเจน อารมณ์นั้นแหละจะชัดเจน เหมือนการทำกสิณนั่นเอง นี่ก็เหมือนกัน มีแต่สติเพ่งเอาๆ ในอาการปวดนั้น ก็เหมือนกับสมาธิ อารมณ์ที่เพ่งนั้นแหละที่จะเป็นกสิณ กลับเป็นทุกขเวทนา คือเป็นไปในอาการเดียวมันจะชัดขึ้น ทุกขเวทนาชัดขึ้นคืออย่างไร คือปวดมากขึ้น ในที่สุดก็ทนไม่ไหวเพราะไปทำให้มันชัดขึ้นมาเองจนทนไม่ไหว เป็นการทำอุบายที่ไม่ถูกต้องคือไปจับอารมณ์นั้นแน่น มันก็เลยชัด


ถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไร ก็ต้องสำเหนียกตัวผู้ดูว่าดูอารมณ์อะไรอยู่ มันก็ไม่จับอารมณ์นั้นแน่น เพราะมาทางผู้ดู แต่อารมณ์นั้นก็คอยรู้ ถ้าพุ่งไปที่อารมณ์ปวดเลยมันก็จะจับแน่น...


เวลาดูทุกขเวทนาก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่พุ่งไปที่ทุกขเวทนาเสียหมด ต้องมาที่ผู้ดูว่ากำลังดูอะไร ดูนามปวดอาจจะดูได้ก็ได้ เวลานี้คือมันจะไม่ปวดมากขึ้นๆ ถ้ารู้ถูกต้อง หรือรู้อุบาย...ตรงนี้ละก็จะช่วยให้การปฏิบัติสะดวกขึ้น


นี่แหละคือเรื่องโยนิโสมนสิการทั้งนั้น ขาดไม่ได้ ถ้าขาดปัญญาก็จะไม่เกิด จะไม่บริสุทธิ์ ถ้าไม่บริสุทธิ์จะไปละตัณหาได้อย่างไร ตัณหาก็ยังมีอยู่อย่างนั้น ก็ยังพ้นทุกข์ไม่ได้ เรื่องโยนิโสมนสิการนี้สำคัญมาก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 5:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทุกข์และการกำหนดทุกข์ โดยอาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm


แต่ว่า เวลาปฏิบัติ ต้องมนสิการอิริยาบถเก่านั้นอย่างหนึ่ง มนสิการอิริยาบถใหม่อีกอย่างหนึ่งอย่างนี้ เราก็ต้องมนสิการเรื่อยไป

ข้อสำคัญที่เราควรเข้าใจก็คือ ตัณหาไม่ได้อยู่ที่อิริยาบถเก่า เพราะอิริยาบถเก่าเกิดทุกข์แล้ว ตัณหาไม่มีแล้ว ไม่ยินดีแล้ว ไม่อยากได้แล้วในอิริยาบถเก่า เช่นเมื่อนั่งนานแล้ว ก็เป็นทุกข์ ปวดเมื่อยแล้ว ก็อยากจะเปลี่ยนอิริยาบถเสียใหม่ อยากเปลี่ยนจะไปนอน คือ ไม่อยากได้แล้วในอิริยาบถนั่ง ไม่ยินดีแล้ว เพราะว่า เกิดทุกข์แล้วในรูปนั่ง แต่ว่าตัณหาไปยินดีในอิริยาบถนอน คือ ในอิริยาบถใหม่ก็เกิดขึ้น

ความทุกข์นั้นเกิดในอิริยาบถเก่า ส่วนตัณหาก็เอื้อมไปเกิดในอิริยาบถใหม่ ยินดีในอิริยาบถใหม่ เห็นว่า อิริยาบถใหม่เป็นสุข จึงควรรู้ควรเข้าใจในอิริยาบถใหม่ คืออิริยาบถนอนนี้ว่าเป็น สุขวิปลาส

ถ้าเราไม่เข้าใจในการปฏิบัติ หรือไม่มนสิการให้ถูกต้อง ก็จะกันกิเลสออกจากอิริยาบถใหม่ไม่ได้เลย ส่วนอิริยาบถเก่า ก็เป็นธรรมดาอยู่แล้วที่ตัณหาจะไม่อาศัย

แต่มีความไม่พอใจเข้าอาศัย คือ โทสะ จะเข้าอาศัยในอิริยาบถเก่านั้น ส่วนตัณหาจะกันออกจากอิริยาบถใหม่ไม่ได้เลย ดังนั้น โยนิโสมนสิการจึงเป็นความสำคัญมากในเรื่องนี้

กุศลทั้งปวง จะเป็นทางสมาธิก็ตาม หรือวิปัสสนาก็ตาม จะต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ เป็นประการสำคัญ ที่จะให้เกิดผล หรือให้เกิดปัญญา นี่ท่านผู้ฟังก็พอจะเข้าใจแล้วว่า วิปัสสนานั้น เห็นทุกข์อะไร ? และเห็นแล้ว จะได้ประโยชน์อย่างไร ?

ทุกขเวทนานั้น เมื่อเวลาไปเจริญวิปัสสนา ถ้าสมาธิมาก ๆ แล้ว ทุกขเวทนาก็ไม่มี ก็จะทำให้ไม่เห็นทุกขเวทนา และสังขารทุกข์ก็จะยิ่งไม่เห็นเลย เพราะอะไร ? เวลานั้นนั่งนิ่ง ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง แล้วการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ จะเห็นได้อย่างไร ? ก็ยังไม่เห็น ความไม่เที่ยง หรือความเป็นทุกข์ก็ดี ปัญญา เราจะไม่แลเห็นเลยในสมาธิ เพราะละเอียดมาก จะเข้าไปเห็นในสมาธิว่า เกิด-ดับ อยู่ในที่นั้น ยากนักหนา

เมื่อไม่เห็น แล้วจะเห็นอะไร เห็นว่า เที่ยง เห็นว่า ดี นี่โดยมากเป็นอย่างนี้ เมื่อทำสมาธิมาก ๆ เข้า ทุกขเวทนาก็หายไป

ท่านคงเคยได้ยินบางท่านผู้ปฏิบัติกล่าวว่า เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาก็พยายามปฏิบัติให้ทุกขเวทนานั้นหมดไป อย่างนี้ ท่านผู้นั้นเข้าใจว่าอย่างไร ? ที่จริงทุกขเวทนา เป็นตัวสติปัฏฐาน เป็นที่ตั้งแห่งการบรรลุมรรค ผล นิพพาน เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้น ท่านผู้นั้นก็กำหนดให้ทุกขเวทนานั้นหายไปด้วย

วิธีกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ อย่างนี้ เวลาที่ภาวนากำหนดทุกข์หนอนั้น ใจก็มุ่งลงไปมนสิการ จะให้ทุกข์เวทนานั้นหมดไป ความเข้าใจอย่างนี้ หรือความรู้สึกอย่างนี้ เป็นการเข้าใจผิด เพราะอนัตตานั้น ท่านกล่าวบังคับไม่ได้

ฉะนั้น ความรู้สึกที่ตั้งใจจะให้ทุกขเวทนาหายไป จึงเป็นอัตตาเต็มที่ เพราะเขาเข้าใจว่า เขาทำให้หายได้ ให้หมดไปได้ เช่นนี้แล้ว เขาจะเข้าถึงทุกขสัจได้อย่างไร ? ทุกขสัจ เป็นของจริง แก้ไม่ได้เลย

การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้

แต่เมื่อมหาสติปัฏฐานเกิดขึ้นแล้ว กลับทำให้ความรู้สึกให้มหาสติปัฏฐานนั้นหมดไป ซึ่งถ้าพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้ว จะเป็นการถูกต้องไหม ? เมื่อการปฏิบัติเช่นนี้ โดยทุกขเวทนาหายไปด้วยอำนาจการบังคับ ก็จะรู้สึกว่า ตัวเขาบังคับได้ ที่ถูกแล้วท่านกล่าวว่า ให้ดูทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ท่านไม่ได้สั่งให้ดูทุกขเวทนาเพื่อจะให้ทุกขเวทนาหายไป

ในมหาสติปัฏฐานนั้น ท่านให้ดูทุกขเวทนาซึ่งเป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีใครสามารถจะบังคับได้ นี่ ท่านให้ดูอย่างนี้

-----------------------------------------------------------------------

อ้างอิงจาก:
คุณเฉลิมศักดิ์บอก วิธีกำหนดรู้ทุกขเวทนาดังกล่าวชัดๆสักทีสิครับ


ดังนั้น เราจึงต้องกำหนดรู้ทุกขเวทนาก่อน

กำหนดอย่างไร ?

เอาตรงๆชัดๆเลยครับ



คุณกรัชกาย ครับ หากเป็นเมื่อก่อนที่ผมฝึกแบบพองหนอ ยุบหนอ หากนั่งภาวนาคำว่า ยุบหนอ พองหนอ เกิดสมาธิมาก ข่ม ทุกขเวนา ในท่านั่งได้ คงไม่ได้คำนึงในข้อนี้ ส่วนมากจะกำหนดให้นั่งได้สัก 30 นาที เพิ่มเป็น 1 ชม. ถ้านั่งได้ครบ ก็ดีใจ (อภิชฌา )

ระหว่างนั่งถ้าเกิดทุกขเวทนาขึ้นมา ภาวนาพองหนอ ยุบหนอไม่ไหว ก็มาเพ่งที่ ทุกขเวทนา แล้วบริกรรม ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ให้สมาธิเกิดขึ้นมาก ๆ เพื่อให้ทุกข์นั้นหายไป จะได้มาดูท้อง พองยุบต่อ แต่สมาธิบางทีก็ไม่มากพอที่จะข่มทุกขเวทนาได้ ก็ต้องทนนั่ง ไปให้ครบเวลา จะลุกไปเดินก็ไม่ได้ เพราะเกรงใจผู้ปฏิบัติคนอื่น ที่นั่งข้าง ๆ บางทีความไม่พอใจก็เกิดขึ้นแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร (โทมนัส)


คุณกรัชกาย มีหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา ว่า อิริยาบถปิดบังทุกข์

ที่เราไม่ค่อยกำหนดรู้ในทุกข์เพราะตอนเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ได้เจริญสติขณะนั้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 8:19 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกายครับ รายละเอียดในการปฏิบัติมีอีกมาก ต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ



ขอบคุณนะครับคุณเฉลิมศักดิ์ที่บอกวิธีปฏิบัติที่คุณใช้อยู่ตรงๆเสียที

การปฏิบัติกรรมฐาน รายละเอียดไม่มากครับ
รู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไรก็กำหนดรู้อย่างนั้น ตามที่มันเป็น ตามเป็นจริง
แต่วิธีคิดมีมากครับ เพราะเป็นการปรับความคิดขั้นพื้นฐาน

กรัชกายกล่าวไว้ก่อนหน้าว่า =>

วิธีที่คุณเฉลิมศักดิ์นำเสนอไม่ใช่วิธีฝึกจิตโดยตรง เป็นวิธีคิด
เรียกให้เท่ห์หน่อยก็ว่า โยนิโสมนสิการ
ซึ่งแยกย่อยภาวะเย็นร้อนอ่อนแข็งหย่อนตึง เป็นบัญญัติปรมัตถ์...

ความเต็มลิงค์นี้
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=15
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 8:38 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
เมื่อกำหนดรู้ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่ง เช่น
รูปนั่ง (ท่าทางการนั่งขณะนั้น) เป็นระยะเวลาหนึ่ง ทุกขเวทนา ก็จะเกิดขึ้น เช่น
ปวดชาบริเวณขา ก็ให้กำหนดรู้ว่านามปวด
ถ้าทุกขเวทนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็กำหนดเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อแก้ไขทุกข์



ที่คุณยักย้ายเปลี่ยนอิริยาบถนั่นแหละ ท่านเรียกว่า อิริยาบถบังทุกข์
ทุกขลักษณะจึงไม่ปรากฏ เพราะคุณเปลี่ยนอิริยาบถ (ชิ่ง) หนีไป
คุณจึงไม่เห็นไตรลักษณ์ครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 8:40 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
คุณกรัชกาย มีหลักฐานในพระไตรปิฏก อรรถกถา ว่า อิริยาบถปิดบังทุกข์
ที่เราไม่ค่อยกำหนดรู้ในทุกข์เพราะตอนเปลี่ยนอิริยาบถ ไม่ได้เจริญสติขณะ


ขอดูหลักฐานดังกล่าวจากคุณก่อน หลังจากนั้น กรัชกายจะนำหลักฐานมาอธิบายให้คุณดูบ้าง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 9:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า
ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป ตัวเวทนานั้นเป็นสติปัฏฐาน ท่านชี้แจงให้เรากำหนดเวทนา โดยจะเป็นสุข หรือทุกข์ก็ตาม เมื่ออันใดเกิดขึ้นแล้ว ก็ให้กำหนดแต่ละอย่าง ก็สามารถจะบรรลุพระนิพพานได้



ข้อความที่อ้างอิง โดยเฉพาะที่ว่า ผู้นั้นต้องการให้ สติปัฏฐาน หายไป

เราเคยยกขึ้นสนทนากันครั้งแล้วจำได้ไหมครับที่ว่า


(การกำหนดว่า ทุกข์หนอ ๆ แล้วทุกข์ก็หายไป เมื่อทุกขเวทนาหายไปแล้วก็เท่ากับว่า
ผู้นั้นต้องการให้ สติปัฏฐานหายไป)

คุณเข้าใจทุกขสภาวะอย่างไร สุข ทุกข์ ไม่เกิดไม่ดับหรือ
ถ้าอย่างนั้นคุณเฉลิมศักดิ์เป็นสัสสตทิฏฐิ
และขอคำอธิบายคำว่า "สติปัฏฐาน" ชัดๆครับ
เพราะข้องใจคำกล่าวของคุณที่ว่า สติปัฏฐาน
ที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16241&postdays=0&postorder=asc&start=0

ยังไม่ได้คำตอบหรือคำอธิบายจากคุณเลย
กรัชกายลืมยาก แต่คุณจำไม่ได้ ปัญหานั้นๆจึงถูกยกขึ้นมากล่าวซ้ำอีก
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 มิ.ย.2008, 9:42 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อยกหัวข้อธรรมใดขึ้นอ้างอิง อย่างน้อยๆควรรู้รายละเอียดข้อธรรมนั้น
บ้างว่ามีแนวทางปฏิบัติอย่างไร เชื่อมต่อถึงธรรมใดบ้าง
เช่นคำว่า สติปัฏฐาน ที่คุณนำมากล่าว


ที่ว่า ผู้นั้นต้องการให้สติปัฏฐานหายไป


ขอคำอธิบายแนวทางปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 คร่าวๆ พอเห็นแนวทาง
หนึ่ง สอง สาม สี่
คุณคิดว่า สติปัฏฐานมันจะหายไปไหนครับ อะไรทำให้คุณคิดว่า สติปัฏฐานหายได้
หายไปไหนครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 6:23 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทั้งเรื่อง อิริยาบถปิดบังทุกข์ และ สติปัฏฐาน ๔ ท่านผู้รู้ได้รวบรวมไว้ที่

http://www.geocities.com/toursong1/kam/ch.htm



สติปัฏฐาน ๔ คืออะไร

สติ แปลว่า การตามระลึกรู้อารมณ์

ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้ง (ของการเพ่ง)

สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ฐาน หรือที่ตั้งอันเป็นที่รองรับของการกำหนดสติอย่างประเสริฐ เพราะเป็นการตามระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ (รูป-นาม) ที่เกิดขึ้นตามฐาน ซึ่งมี ๔ ฐานด้วยกัน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ผู้ใดที่มีการปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักของสติปัฏฐาน ย่อมเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาปัญญา อันเป็นปัญญาที่เข้าถึงสภาวธรรมของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ในที่สุด ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ สามารถทำลายวิปลาสธรรม ๔ ประการได้ คือ

๑. กายานุปัสสนาสติปัฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณากาย ซึ่งเป็นรูปธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงรูปนั้นเป็นอสุภะ เป็นการทำลาย สุภวิปลาส

๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาเวทนา ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงเแล้ว นามเป็นทุกข์ เป็นการทำลาย สุขวิปลาส

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาจิต ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วนามเป็นอนิจจัง เป็นการทำลาย นิจจวิปลาส

๓. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาธรรม ซึ่งเป็นทั้งรูปธรรม และนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว รูป และนามนั้น เป็นอนัตตา เป็นการทำลาย อัตตวิปลาส

โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตทุกชีวิตย่อมมีวิปลาสธรรมเสมอ วิปลาสธรรม หมายถึง ธรรมที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะตั้งแต่เกิดมาเราไม่เคยรู้เลยว่า ชีวิตคือ ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันประกอบขึ้นจาก จิต เจตสิก และรูป ที่มีการเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ทั้งนี้เพราะ อาสวะ และอวิชชา ที่เรามีมาเนิ่นนานจนนับภพนับชาติไม่ถ้วน ประกอบกับตัวการสำคัญที่มาคอยปิดบัง ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงสภาวธรรมของความจริงอันได้แก่ “ไตรลักษณ์” ได้ นั่นคือ

๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง เพราะสันตติ คือ การเกิดสืบต่อของนามรูปที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไม่สามารถเห็นความเกิด และความดับของนามรูปได้ เราจึงเข้าใจผิดว่ามีความเที่ยงแท้ถาวร (นิจจัง)

๒. อิริยาบถ ปิดบัง ทุกขัง เพราะการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่มีอยู่เกือบตลอดเวลา จึงทำให้คนเรามองไม่เห็นทุกข์ที่เกิดจากอิริยาบถเก่า ด้วยอำนาจของตัณหาคนเราจึงไขว่คว้าหาความสบายจากอิริยาบถใหม่ เมื่อเปลี่ยนแล้วหลงเข้าใจว่าเป็นสุข การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถจึงปิดบังทุกขเวทนา ทำให้ไม่สามารถเห็นทุกขสัจจะได้

๓. ฆนสัญญา ปิดบัง อนัตตา เพราะ ฆนสัญญา คือ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่เกิดจากการประชุมกันของรูปธรรม และนามธรรม จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่าชีวิตเป็นตัวตน (อัตตา)

เพราะธรรมที่ปิดบังไตรลักษณ์นี้เอง จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่า ชีวิตคือรูปนามนี้ดี มีความสวยงามน่ารัก(สุภวิปลาส) มีความสุขสบาย (สุขวิปลาส ) มีความเที่ยงแท้ ถาวร (นิจจวิปลาส) และเป็นตัวตน คน สัตว์ (อัตตวิปลาส) ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ชีวิตเป็นเพียงแค่ขันธ์ห้า คือรูปธรรมและนามธรรม ที่ประกอบกันขึ้นมาด้วยรูปธาตุ จนเป็นรูปกลาปต่างๆ ในที่สุดก็เกิดเป็นกลุ่มก้อนของอวัยวะที่ล้วนมีแต่อสุภะ และทั้งรูปนามที่เกิดขึ้นนั้นก็คงสภาพเดิมไว้ไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องแตกดับ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และไม่สามารถบังคับบัญชาได้

องค์ธรรมของวิปลาสมี ๓ คือ ทิฏฐิ (ทำให้เห็นผิด) จิต (ทำให้เข้าใจผิด) สัญญา (ทำให้จำผิด) ประกอบกับวิปลาสธรรมมี ๔ คือ หลงผิดคิดว่าชีวิตนี้ดี มีสุข เที่ยง และเป็นตัวตน จึงรวมเป็นวิปลาสธรรม ๑๒ ประการ ซึ่งวิปลาสเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชีวิตคนเราต้องมีความดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) เมื่อสมหวังก็เกิดความพอใจ เรียกว่า อภิชฌา แต่ถ้าได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี (อนิฏฐารมณ์) ก็จะผิดหวัง ไม่พอใจ เรียกว่า โทมนัส ไม่ว่าจะพอใจ หรือไม่พอใจล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น บางท่านเรียกความต้องการในอารมณ์ที่น่ายินดี และปัดป้องอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีนี้ว่า “ตัณหา” แต่ถ้าผู้ใดสามารถวางใจไว้ได้อย่างแยบคาย หรือที่เรียกว่ามี “โยนิโสมนสิการ” ในสติปัฏฐาน ๔ นั่นคือสามารถกำหนดสติได้เท่าทันในปัจจุบันอารมณ์ ว่ามีรูปอะไร หรือนามอะไรเกิดขึ้น สติและสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะนั้นย่อมป้องกันกิเลส-ตัณหา ทำให้อภิชฌา และโทมนัสเกิดขึ้นไม่ได้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าอารมณ์ขณะนั้นย่อมปราศจากกิเลส เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด ขณะนั้นจึงเป็นวิวัฏฏกรรม ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดผลคือวิบาก อันได้แก่รูปนามขันธ์ห้า (ชีวิต) ที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างแน่นอน
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 6:26 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณกรัชกายครับ แล้วที่คุณภาวนา สั่นหนอ ๆ ๆ ๆ

ทุกข์หนอ ๆ ๆ ๆ ๆ จนสมาธิมากขึ้น ๆ ๆ

มาปิดบัง เวทนาได้แล้ว ยินดี (อภิชฌา) ในสุขเวทนา จากสมาธิ นั้น


คุณแน่ใจแล้วหรือ คือการกำหนดทุกข์ ?
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:11 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิริยาบถบังทุกข์ลักษณะ จากหลักฐานในคัมภีร์

วิสุทฺธิ. 3/275; วิภงฺค. อ. 65; วิสุทฺธิ. ฎีกา. 3/522

ดูอธิบายเต็มๆ ที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=15357

เนื้อความติดต่อกันครับ แต่จะซอยสั้นๆลงเพื่อสะดวกต่อการติดตามอ่าน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:13 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ


-ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้น กดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา

ก็ถูก อิริยาบถ คือ ความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้

ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ภาวะที่ทนอยู่ มิได้

หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิม อยู่มิได้

หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้

ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดันขัดแย้ง เร้าอยู่ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น (= สภาวะทุกข์)

จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา

หรือ ความรู้สึกของมนุษย์

มักจะต้อง ใช้เวลาระยะหนึ่ง (ไม่ระบุเวลาที่แน่นอน)

แต่ในระหว่างนั้น

ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย

หรือ ทำให้แปรรูป เป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้าย พ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน (= สภาวะเปลี่ยนตามเหตุปัจจัยของมัน

แต่โยคีไม่สังเกตรู้)

หรือ ผู้สังเกตแยกพราก จากสิ่งที่ถูกสังเกต ไปเสียก่อน ก็ดี

ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น (= โยคีเคลื่อนไหว จึงไม่เห็นทุกข์

ตามสภาวะ)

ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่ มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ

ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก

แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง

ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ

จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉย ในท่าเดียวได้

ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่

ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น

ยืนอย่างเดียว

นั่งอย่างเดียว

เดินอย่างเดียว

นอนอย่างเดียว

ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะ จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น ๆ

จนถึงระดับที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดัน

ที่คนทั่วไปเรียกว่า “ทุกข์”

เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย

จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น

ที่เรียกว่า อิริยาบถอื่น

เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง

ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา)

ก็หายไปด้วย

(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่า “ความสุข”

เกิดขึ้นมาแทนด้วย

แต่อันนี้ เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความ

ทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 8:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น

เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรืออิริยาบถหนึ่งนานๆ

พอจะรู้สึก ปวด เมื่อย

เป็นทุกข์

เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรืออิริยาบถอื่นเสีย

หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ

จึงหนีรอด จากความรู้สึกทุกข์ ไปได้


เมื่อไม่รู้สึกทุกข์

ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ ที่เป็นความจริงตามสภาวะ ไปเสียด้วย

ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 มิ.ย.2008, 9:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
สติ แปลว่า การตามระลึกรู้อารมณ์
ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้ง (ของการเพ่ง)
สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ฐาน หรือที่ตั้งอันเป็นที่รองรับของการกำหนดสติอย่างประเสริฐ


ใครแปลให้คุณนำมาเผยแพร่ครับคุณเฉลิมศักดิ์

แปลใหม่นะครับ สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติบ้าง
การที่สติเข้าไปตั้งอยู่คือมีสติกำกับอยู่บ้าง….

หากจะแยกศัพท์ให้ละเอียดจริงๆ สติ+ป+ฐาน
แยกง่ายๆ สติ+ปัฏฐาน ก็ได้ ตัว ป เป็นอุปสรรค แปลว่า ทั่ว ข้างหน้า ก่อน ออก
(ไม่ใช่แปลว่า ประเสริฐดังที่คุณเข้าใจนะครับ)
อรรถอุปสรรค คือคล้อยตามธาตุ สังหารธาตุ
ในที่นี้ ป คล้อยตามตามธาตุ คือ ฐาน แปลว่าที่ตั้ง

สติปัฏฐาน เมื่อต้องการกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ เอาแต่เนื้อ ได้แก่ สติซึ่งทำงานอยู่บนฐาน 4 ฐาน
คือ ฐานกาย 1 ฐานเวทนา 1 ฐานจิต 1 และฐานธรรม 1 เท่านี้ ก็คุมอรรถสาระไว้หมดดิ้นไม่ได้
คุณว่าจริงไหมครับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง