Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 นิทานสาธก : เต่าไม่สำรวมปาก อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ธรรมจักร
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 15 พ.ค.2007, 11:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

นิทานสาธก : เต่าไม่สำรวมปาก
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


อาจารย์วสิษฐ เดชกุญชร พูดไว้ดีมาก ในคอลัมน์ "วสิษฐ เดชกุญชร" มติชนวันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมาว่า "...เหมากันว่าผู้ที่ใช้ทศพิธราชธรรมในขณะนี้คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียว ลืม (หรือแกล้งลืม) ไปว่าพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐธรรมนูญอย่างในเมืองไทยนั้น มิได้ทรงใช้อำนาจอธิปไตยด้วยพระองค์อย่างเมื่อก่อน...ผู้รับผิดชอบปกครองบริหารงานบ้านเมือง ที่แท้จริงจึงได้แก่ รัฐสภา คณะรัฐบาล และศาล"

เมื่อผู้ถึงผู้ปกครองก็ย่อมหมายถึงท่านผู้มีหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะหัวหน้ารัฐบาลนั้นแล จะต้องใช้ทศพิธราชธรรมปกครองประเทศ เริ่มตั้งแต่ทาน รู้จักให้ไม่ใช่สักแต่จะเอาถ่ายเดียวไม่ให้เล็ดลอดแม้แต่บาทเดียว กระทั่งเสียภาษีให้แก่รัฐ ไปจนถึงไม่ทำอะไรให้พิรุธ (อวิโรธนะ) ให้ผู้คนเขาสงสัยว่าจะขาดอวิโรธนะคืออ้างแต่กฎหมาย แต่ขาดจริยธรรม

อาจารย์วสิษฐกล่าวต่อไปว่า "ที่เอาเรื่องทศพิธราชธรรมมาเขียนในวันนี้ ผมทำโดยเจตนาเพราะได้เห็นแล้วเห็นอีก ผู้ปกครองบ้านเมืองทุกวันนี้ มีพฤติกรรมที่แสดงว่า ไม่รู้จักหรือไม่แยแสในทศพิธราชธรรม บางคนทำตัวเหมือนไม่รู้จักแม้แต่ศีลห้า และล่วงศีลเกือบทุกข้อ บางคนโกรธเอาๆ โกรธแล้วก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ ตบะแตก ไม่มี self-control พลอยให้ขาดปิยวาจา ซึ่งเป็นธรรมอีกข้อหนึ่ง"

ท่านผู้ที่อาจารย์วสิษฐ "เจตนา" เขียนถึงนี้ ก็ล้วนแต่เป็นผู้ฉลาดทั้งนั้น แต่ทำไมขาดการควบคุมตัวเอง ควบคุมวาจาเอามากๆ

เพื่อนผมคนหนึ่งกล่าวว่า เป็นเรื่องของ "ขาลง" เพราะทั้งขาประจำและขาจรไม่รู้กี่ขาๆ มาลงเอาที่คนคนเดียว จนทำให้สติแตก แล้วก็พูดและทำอะไรๆ เหนือการควบคุม

พระบาลีพูดถึงนายพรานคนหนึ่ง ดักบ่วงไว้หมายจับสัตว์อื่น แต่เหยี่ยวตัวหนึ่งมาติดปวงแกเข้า แกพบเหยี่ยวแล้วสงสัยเป็นกำลัง กล่าวกับมันว่า "ธรรมดาเหยี่ยวมีสายตาคมเฉียบมองเห็นเหยื่อจากที่ไกล เหตุไฉนจึงมาติดปวงข้าพเจ้าได้" พญาเหยี่ยวตอบว่า "สัตว์ทั้งหลาย เมื่อคราวขาลงแม้แต่ปวงอยู่ใกล้ๆ ก็มองไม่เห็น" (ฮา)

นิทาสาธกเรื่องจะเล่าต่อไปนี้ สะท้อนให้เห็นว่า หายนภัยมาถึงยามขาลงจริงๆ โปรดสดับด้วยโยนิโสมนสิการ

ณ ป่าแห่งหนึ่ง มีเต่าตัวหนึ่งคลานต้วมเตี้ยมอยู่ริมสระน้ำ ซึ่งกำลังแห้งขอดลงทุกที พญาหงส์สองตัวบินผ่านมาพบเข้า จึงแวะสนทนา ต่อไปนี้เป็นคำสนทนาของสัตว์ทั้งสอง (ตามที่ผมได้ดักฟังมาได้ ฮิฮิ)

หงส์ - สวัสดีปีใหม่ ท่าน (แน่ะ เรียก "ท่าน" ตามสมัยนิยมเสียด้วย)

เต่า - สวัสดีปีใหม่ (แน่ะ รู้ด้วยว่าถึงวันปีใหม่แล้ว)

หงส์ - น้ำในสระกำลังจะแห้งขอดหมดแล้ว ท่านมาคลานอยู่ทำไม ทำไมไม่ไปอยู่ที่อื่น

เต่า - เกิดที่นี้ก็ขอตายที่นี่แหละสหายเอ๋ย จะให้ข้าไปไหน

หงส์ - ไปอยู่ที่อื่น ซึ่งมีน้ำบริบูรณ์ บรรยากาศร่มรื่นกว่านี้สิ

เต่า - ที่ไหนล่ะ

หงส์ - ที่ป่าโน้น ไกลจากนี้ไปประมาณโยชน์หนึ่ง มีสระน้ำกว้างใหญ่ มีดอกบัวบานสวยงามมาก มีหมู่ปลาแหวกว่ายไปมาเป็นเพื่อนท่านด้วย ท่านควรไปอยู่ที่นั่น

เต่า - จะไปได้อย่างไรเล่าสหาย ข้าไปไหนก็ช้า คลานไปอย่างนี้สักกี่ปีกี่ชาติ จะถึง

หงส์ - ไม่เป็นไร พวกเราจะพาท่านไปเอง

เต่า - ข้าบินไม่ได้นะ

หงส์ - ไม่เป็นไร เราจะคาบไม้สองข้าง ให้ท่านคาบตรงกลาง แล้วเราจะพาท่านบินไปเอง ขออย่างเดียว ...

เต่า - ขออะไร

หงส์ - ขอท่านอย่าเปิดปากพูดอะไรเป็นอันขาด ขณะเราพาท่านบินอยู่

หงส์สองตัวคงเห็นว่าเต่าตัวนี้ช่างเจรจา ขณะพาเหาะ แกอาจเหงาปากชวนคุยโน่นนี่แล้วหล่นตุ๊บลงมาตายก็ได้ จึงให้เต่ารับคำมั่นว่าจะไม่พูดอะไร

เมื่อหาไม้มาได้แล้ว หงส์สองตัวก็หามเต่าบินขึ้นฟ้า ลอยลิ่วๆ ผ่านตามนิคมต่างๆ จวนจะถึงที่หมายอยู่รอมร่อ บังเอิญผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีเด็กจำนวนหนึ่งเล่นกันอยู่ เด็กน้อยคนหนึ่งแหงนหน้าดูก็อ้าปากค้าง

"เฮ้ยๆ ๆ" ร้องได้คำเดียวยังกับแผ่นเสียงตกร่อง

เจ้าหนูชี้ให้ทุกคนดู คราวนี้ต่างก็ร้องขึ้นพร้อมกันว่า "เฮ้ยๆๆ"

"เจ้าข้าเอ๊ย มาดูหงส์หามเต่า" เสียงร้องบอกกันเป็นทอดๆ

"มึงหล่นแน่ ไม่พ้นเทอมนี้แน่ หล่นลงมาเถอะมึง กูจะแกงกินให้อร่อยเชียว" เสียงเจ้าหนูคนหนึ่งตะโกน

เต่าได้ยินก็ฉุน หนอยแน่กูหามหงส์แท้ๆ มึงมาว่าหงส์หามกู แถมยังหวังให้ข้าหล่นลงไปให้มันแกงกินอีก จึงเปิดจะปากพูดว่า "พวกกุ๊ยเอ๊ย ได้แต่เห่าอยู่นั้นแหละ รอชาติหน้าตอนสายๆ เด๊อะ" (ฮา)

ยังไม่ทันได้พูด เต่าหล่นหลุดจากท่อนไม้ ลอยลิ่วๆ ลงมาตกถูกฟื้นดังปึ๊ก กระดองแตกละเอียด แล้วมันจะเหลืออะไรเล่าเจ้าประคุณเอ๋ย

ตั้งแต่นั้นมาเต่าทุกตัวที่เกิดมาต่างก็มีรอยร้าวที่กระดองดังที่เห็นอยู่นั่นแหละครับ

ผมเข้าใจว่าเป็นนิทานผู้ใหญ่หลอกเด็กอยู่ตั้งนาน พอมาบวชเรียนถึงได้รู้ว่านิทานเรื่องนี้มีอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าท่านตรัสเล่าเพื่อเตือนสติพระสาวกที่พูดมาก ไม่รู้จักสำรวมปากใครที่มัวแต่พูดมัวแต่คุย ไม่รู้จักปฏิบัติธรรม โอกาสที่จะได้บรรลุธรรมย่อมจะยากเย็น

ขณะเดียวกันก็เตือนสติคนทั่วไปให้สำรวมปาก ไม่เอาแต่ทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะการทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นเหตุแตกสามัคคี นำความพินาศฉิบหายมาแก่หมู่คณะ


ดังกรณีพระเมืองโกสัมพี ทะเลาะกันเพราะสาเหตุเล็กน้อย คือพระรูปหนึ่งเข้าส้วมแล้วเหลือน้ำชำระไว้ครึ่งขัน อีกรูปเข้าไปพบเข้ามาต่อว่า รูปแรกรู้ว่าตนผิดวินัยและขอ "ปลงอาบัติ" (รับสารภาพและให้คำมั่นว่าจะไม่ทำอีก) รูปที่สองบอกว่าถ้าไม่ตั้งใจก็ไม่ผิด แต่ภายหลังไปบอกลูกศิษย์ว่าพระรูปแรกได้แต่สอนคนอื่น ตัวทำผิดวินัยยังไม่รู้ รูปแรกได้ยินก็หาว่ารูปที่สองพูดสับปลับทีแรกว่าไม่ผิด คราวนี้มาว่าผิด เรื่องก็เลยลุกลามไปใหญ่โต พระในวัดแตกเป็นสองก๊กสองพวก

พระพุทธเจ้าเสด็จมาเทศน์โปรดก็ไม่ฟัง ในที่สุดชาวบ้านรำคาญเลยบอยคอตไม่ใส่บาตรให้ฉัน อดอาหารแทบตาย ต้องไปกราบทูลขอขมาพระพุทธเจ้า ญาติโยมจึงยอมใส่บาตรให้ฉัน

คติธรรมในเรื่องนี้ก็คือ

กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ วาจาย สํวโร
มนสา สํวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถสํวโร

สำรวมกาย เป็นการดี สำรวมวาจา เป็นการดี
สำรวมใจ เป็นการดี สำรวมทุกทวาร เป็นการดี


อย่างน้อยก็ไม่เป็น "เต่าง่าว ตกลงมากระดองแตก"



.............................................................

หนังสือพิมพ์มติชน รายวัน หน้า 6
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ปีที่ 29 ฉบับที่ 10200
 
suvitjak
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 26 พ.ค. 2008
ตอบ: 457
ที่อยู่ (จังหวัด): khonkaen

ตอบตอบเมื่อ: 12 มิ.ย.2008, 12:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พุทโธ ควรนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
 

_________________
ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง