Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สหวิทยาการกับคำสอนทางพระพุทธศาสนา : อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กุหลาบสีชา
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 เม.ย. 2007
ตอบ: 1466
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2008, 12:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
[ภาพจิตรกรรมแนวพุทธธรรม “Enlightenment” : สร้างสรรค์โดย
อ.พิชัย นิรันต์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี ๒๕๔๖]



การศึกษาที่เป็นสหวิทยาการเปรียบเทียบกับคำสอนทางพระพุทธศาสนา
อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ

ธรรมจักร ปุจฉา

ขอฟังคำอธิบาย เรื่องการศึกษาที่เป็น สหวิทยา (Interdiscipline Studies)
เปรียบเทียบกับคำสอนของพระพุทธศาสนา

ธรรมจักร วิสัชนา

การศึกษาที่เป็น สหวิทยาการ เพิ่งเข้าพจนานุกรม
Oxford Advance Learners ’ Dictionary of Current English
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ (ค.ศ. ๑๙๘๓) นี่เอง

หมายถึงการศึกษามากกว่า ๑ วิชา เพื่อให้มีความรู้กว้างขวางขึ้น
กล่าวคือ ถ้าศึกษาเพียงวิชาเดียวให้แตกฉาน จะเป็นการรู้ลึก
แต่ถ้าศึกษาวิชาอื่นๆ ประกอบอีกหลายวิชา ก็ทำให้รู้กว้าง

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่พระราชทานในโอกาสพระราชทานปริญญาบัตรในมหาวิทยาลัยต่างๆ
ทรงแนะนำทั้งให้ศึกษาทั้งรู้ลึก และรู้กว้าง

คือศึกษาในวิชาใดวิชาหนึ่งให้แตกฉาน
และศึกษาวิชาอื่นๆ ให้แตกฉานออกไปด้วย
จะได้อาศัยทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวโยงไปถึงวิทยาการสาขาอื่น
ซึ่งเป็นอุปการะแก่กันและกัน


ความจริงเรื่องสหวิทยาการนี้ เกี่ยวโยงกับเรื่อง บูรณาการ (Integration)
คือการรวมส่วนประกอบหลายๆ อย่าง
ที่จำเป็นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์


เช่น เครื่องปรุงอาหารหลายๆ อย่างผสมกัน
ทำให้เกิดรสที่ต้องการ
เช่น แกงส้ม แก่งคั่ว แกงเลียง แกงต้มยำ เป็นต้น

วิชาการต่างๆ ก็ฉันนั้น อาศัยหลายๆอย่างประกอบกัน
ก็ทำให้เกิดสิ่งที่ต้องการอย่างสมบูรณ์ได้
ลำพังเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจมีบางข้อบกพร่องบางประการ


Image

ในทางพระพุทธศาสนา
ขอยกตัวอย่าง ญาณหยั่งรู้ หรือพระปัญญาของพระพุทธเจ้า
ที่เรียกว่า “ทสพลญาณ”
หรือ “พระปัญญาที่เป็นพละกำลัง ๑๐ อย่าง” ของพระองค์ คือ


๑. ฐานาฐานญาณ

พระญาณที่ทำให้ทราบฐานะ และอฐานะ
หรือความเป็นไปได้ ความเป็นไปไม่ได้ของสิ่งของต่างๆ

๒. วิปากญาณ

พระญาณที่ทราบผลอันเกิดจากเหตุต่างๆ

๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ

พระญาณที่ทราบหนทาง หรือข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ฐานะทุกอย่าง

๔. นานาธาตุญาณ

พระญาณที่ทราบธาตุ คือ สิ่งที่เป็นพื้นฐานต่างๆ

๕. นานาธิมุตติกญาณ

พระญาณที่ทราบแนวโน้ม หรืออุปนิสัยใจคอต่างๆ

๖. อินทริยปโรปริยัตติญาณ

พระญาณที่ทราบความหย่อนความยิ่งของอินทรีย์
คือคุณสมบัติบางประการของสัตว์ทั้งหลาย

๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ

พระญาณที่ทราบความเศร้าหมอง เป็นต้นแห่งธรรม มีฌาน เป็นต้น

๘. ปุพเพนิวาสานุสติสญาณ

พระญาณที่ทำให้ระลึกได้ถึงพระชาติต่างๆในกาลก่อน

๙. จุตูปปาตญาณ

พระญาณที่เห็นความตาย ความเกิดของสัตว์ทั้งหลาย

๑๐. อาสวักขยญาณ

พระญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ คือ กิเลสที่หมักดอง
หรือที่เหมือนน้ำไหลมาท่วม

ถ้าทรงรู้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้นั้นก็จะไม่สมบูรณ์

สาธุ สาธุ สาธุ

(ที่มา : คำถาม-คำตอบ ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม ๒ โดย สุชีพ ปุญญานุภาพ,
มหามกุฏราชวิทยาลัย, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๔๒, หน้า ๗๔-๗๖)



เทียน รวมคำสอน “อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=49286
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
I am
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ต.ค. 2006
ตอบ: 972

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2008, 8:49 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สู้ สู้ สาธุ ยิ้มเห็นฟัน
 

_________________
ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง