Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ธรรมนูญชีวิต : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 ส.ค. 2006, 11:42 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ธรรมนูญชีวิต
A Constitution For Living
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)



บทนำ

เมื่อพูดถึงเรื่องทั่วๆ ไปเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ศาสนาทั้งหลายมีแนวปฏิบัติแตกต่างกันเป็น ๒ แบบ กล่าวคือ แบบหนึ่ง ไม่ใส่ใจเรื่องอย่างนั้นเลยโดยสิ้นเชิง มุ่งเน้นเฉพาะแต่การบรรลุจุดหมายที่สูงส่ง คือการเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า หรือเข้าถึงปรมัตถสัจจะ ส่วนอีกแบบหนึ่งก็สั่งสอนข้อปฏิบัติเกี่ยวกับชีวิตประจำวันนั้นเสียอย่างละเอียดพิสดาร โดยกำหนดแก่เราว่าจะต้องคิดหมายใคร่ทำอะไรๆ แค่ไหนอย่างไร จะต้องกินอาหารอะไร จะต้องสวมใส่เสื้อผ้าแบบไหน ศาสนาสองแบบนี้น่าจะเป็นสุดโต่ง ๒ ด้าน

พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนสายกลางหรือสอนความพอดี ในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ คำสอนในพระพุทธศาสนาดำเนินสายกลาง ระหว่างการเพิกเฉยไม่ใส่ใจเสียเลยต่อเรื่องที่จะต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน กับการตราบทบัญญัติเป็นกฎข้อบังคับที่เคร่งตึงตายตัว พระพุทธศาสนาสอนแนวทางความประพฤติตามหลักสัจธรรมที่เป็นอกาลิโก ว่าด้วยประโยชน์สุขที่พึงได้ อันเกิดจากการอยู่ร่วมสัมพันธ์กันโดยใช้ปัญญาด้วยเมตตากรุณา และพร้อมกันนั้นก็มุ่งให้บรรลุถึงอิสรภาพทางจิตปัญญาที่เป็นจุดหมายสูงสุดถึงขั้นที่ทำให้อยู่ในโลกได้โดยไม่ติดโลกหรืออยู่เหนือโลก

เนื้อหาในหนังสือนี้ได้รวบรวมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหลาย ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา (ยุคแรก) สายเถรวาท ที่ทุกวันนี้ยังใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และถือปฏิบัติกันอยู่ ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำสอนนี้มีอายุเกินกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว แต่มิได้คร่ำคร่าล้าสมัยแต่ประการใด ในสังคมปัจจุบันยุคถือหลักความเสมอภาค ที่แบบแผนความประพฤติต่างๆ ตามที่ถือสืบๆ กันมาแต่เดิม ได้ถูกล้มล้างลงไป หรือถูกตั้งข้อสงสัยไปหมด และทั้งๆ ที่มีแนวคิดภูมิปัญญาชนิดที่ว่า “รู้แจ้งเจนจบ” แพร่สะพัดไป แต่ชีวิตของผู้คนกลับสับสนวุ่นวายยิ่งกว่ายุคสมัยใดๆ ในสภาพเช่นนี้ คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ย้อนยุคสมัยมีมาแต่ครั้งที่อะไรๆ ยังเป็นไปตามธรรมดาสามัญกว่านี้อย่างมากมายนั้น จะเป็นเสมือนกระแสอากาศสดชื่นบริสุทธิ์ที่ผ่านเข้ามาในห้องที่มีผู้คนแออัด บาทีอาจจะถึงเวลาแล้วที่เราจะหวนกลับไปหาคุณค่าที่ว่าเก่าๆ แต่คงทนดีกว่า

เมื่อการดำเนินชีวิตและกิจการต่างๆ ยึดหลักความเอื้ออาทรเห็นอกเห็นใจกัน มากกว่าจะมุ่งหาผลประโยชน์ให้แก่ตน ก็จะเห็นผลปรากฏว่า ชีวิตและกิจการเหล่านั้นมิใช่จะเลวร้ายอย่างที่เราเคยคิด และที่แท้แล้วมันจะช่วยให้ชีวิตของเราโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นด้วย ลองนำแนวคิดของคนสมัยนี้จำนวนมากที่มองสังคมเป็นสนามชิงผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กับคำสอนง่ายๆ ว่าด้วย “การปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง” หน้า ๖๒ มาเทียบกันดูซิว่าเป็นอย่างไร

คนปัจจุบันจำนวนมากมองชีวิตทุกวงการเป็นการต่อสู้ระหว่างผลประโยชน์ที่ขัดกัน เกิดเป็นฝ่ายนายจ้างกับลูกจ้าง รัฐบาลกับราษฎร คนมีกับคนจน และแม้แต่หญิงกับชาย หรือลูกกับพ่อแม่ เมื่อคนถือเอาทรัพย์และอำนาจเป็นจุดหมายของชีวิต สังคมก็กลายเป็นสนามต่อสู้ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวที่ขัดกัน เราก็เลยต้องเที่ยวหาจริยธรรมสำหรับมาปกป้องผลประโยชน์เหล่านั้น นี่คือ “จริยธรรมเชิงลบ” กล่าวคือ สังคมยึดหลักผลประโยชน์แบบเห็นแก่ตัว โดยถือ “สิทธิของแต่ละคนที่จะแสวงหาความสุข” แล้วเราก็เลยต้องหาจริยธรรมดังเช่น “สิทธิมนุษยชน” มาคอยกีดกั้นกันและกันไว้ ไม่ให้คนมาเชือดคอหอยกัน ในระหว่างที่กำลังวิ่งหาความสุขนั้น

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็น “จริยธรรมเชิงบวก” ประโยชน์สุขคือจุดหมาย หาใช่ทรัพย์และอำนาจไม่ พระพุทธศาสนาถือว่า สังคมเป็นสื่อกลาง ที่ช่วยให้ทุกคนมีโอกาสอันเท่าเทียมกันที่จะพัฒนาตนเอง และเข้าถึงประโยชน์สุขได้มากที่สุด และนำเอาจริยธรรมมาใช้เพื่อเกื้อหนุนจุดหมายที่กล่าวนี้

คำสอนที่แสดงไว้ในหนังสือนี้ ยึดถือตามหลักธรรมที่เป็นความจริงอันไม่จำกัดกาล กล่าวคือ กรุณา เมตตา สามัคคี สังคหะ และปัญญา คนสมัยใหม่ที่มองธรรมชาติคนว่าเห็นแก่ตัว อาจจะรู้สึกว่าคำสอนเหล่านี้เป็นเพียงอุดมคติ แต่ก็มิใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หลักธรรมเหล่านี้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง อย่างไรก็ตาม จะต้องระลึกไว้ว่า คำสอนเหล่านี้เก่าแก่ถึง ๒,๕๐๐ ปีแล้ว อาจจะมีอยู่ ๒-๓ อย่างที่จะต้องนำมาแปลความหมายให้เข้ากับสภาพปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า คำสอนเหล่านั้นง่ายพอที่ผู้อ่านจะกลั่นกรองความหมายเอามาใช้ได้ด้วยตนเอง ขอให้หลักธรรมดังกล่าวอำนวยประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน เหมือนดังที่ได้อำนวยประโยชน์แก่ชาวพุทธจำนวนมากมายทั่วทั้งโลก
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สารบัญ

ภาค ๑ วินัยชาวพุทธ

หมวดหนึ่ง วางฐานชีวิตให้มั่น
กฏ ๑ เว้นชั่ว ๑๔ ประการ
ก. เว้นกรรมกิเลส ๔
ข. เว้นอคติ ๔
ค. เว้นอบายมุข ๖

กฏ ๒ เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน
ก. เลือกสรรคนที่จะเสวนา
ก) รู้ทันมิตรเทียม
ข) รู้ถึงมิตรแท้
ข. จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้

กฏ ๓ รักษาความสัมพันธ์ ๖ ทิศ
ก. ทำทุกทิศให้เกษมสันต์
ทิศที่ ๑ บิดามารดา
ทิศที่ ๒ ครูอาจารย์
ทิศที่ ๓ ภรรยา
ทิศที่ ๔ มิตรสหาย
ทิศที่ ๕ คนรับใช้และคนงาน
ทิศที่ ๖ พระสงฆ์
ข. เกื้อกูลกันประสานสังคม

หมวดสอง นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย
ก. จุดหมาย ๓ ขั้น
ขั้นที่ ๑ จุดหมายชั้นตาเห็น
ขั้นที่ ๒ จุดหมายชั้นเลยตาเห็น
ขั้นที่ ๓ จุดหมายสูงสุด

ข. จุดหมาย ๓ ด้าน
ด้านที่ ๑ จุดหมายเพื่อตน
ด้านที่ ๒ จุดหมายเพื่อผู้อื่น
ด้านที่ ๓ จุดหมายร่วมกัน

ชาวพุทธชั้นนำ


ภาค ๒ ธรรมนูญชีวิต

หมวดนำ คนกับความเป็นคน
๑. คนเป็นสัตว์ประเสริฐ (สมาชิกในสังกัดมนุษยชาติ)
๒. คนสมบูรณ์แบบ (สมาชิกแบบอย่างของมนุษยชาติ)

หมวดหนึ่ง คนกับสังคม
๓. คนมีศีลธรรม (สมาชิกในหมู่อารยธรรม)
ก. มีสุจริตทั้งสาม
ข. ประพฤติตามอารยธรรม
ค. อย่างต่ำมีศีล ๕
๔. คนที่มีคุณแก่ส่วนรวม (สมาชิกที่ดีของสังคม)
ก. มีพรหมวิหาร
ข. บำเพ็ญการสงเคราะห์
๕. คนผู้เป็นส่วรร่วมที่ดีของหมู่ชน (สมาชิกที่ดีของชุมชน)
ก. พึ่งตนเองได้
ข. อยู่ร่วมในหมู่ด้วยดี
๖. คนมีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี (สมาชิกที่ดีของรัฐ)
ก. รู้หลักอธิปไตย
ข. มีส่วนในการปกครอง
๗. คนผู้นำรัฐ (พระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมือง)
ก. ทรงทศพิธราชธรรม
ข. บำเพ็ญกรณีย์ของจักรพรรดิ
ค. ประกอบราชสังคหะ
ง. ละเว้นอคติ

หมวดสอง คนกับสังคม
๘. คนมีชีวิตอยู่อย่างมั่นใจ (ชีวิตที่เลิศล้ำสมบูรณ์)
ก. นำชีวิตสู่จุดหมาย
ข. ภายในทรงพลัง
ค. ตั้งตนบนฐานที่มั่น
๙. คนประสบความสำเร็จ (ชีวิตที่ก้าวหน้าและสำเร็จ)
ก. หลักความเจริญ
ข. หลักความสำเร็จ
ค. หลักเผล็ดโพธิญาณ
๑๐. คนรู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพ (ชีวิตที่เป็นหลักฐาน)
ก. ขั้นหาและรักษาสมบัติ
ข. ขั้นแจงจัดสรรทรัพย์
ค. ขั้นจับจ่ายกินใช้
๑๑. คนครองเรือนที่เลิศล้ำ (ชีวิตบ้านที่สมบูรณ์)
ก. มีความสุขสี่ประการ
ข. เป็นชาวบ้านแบบฉบับ
ค. กำกับชีวิตด้วยธรรมสี่
ง. รับผิดชอบชีวิตที่เกี่ยวข้อง
จ. ครองตนเป็นพลเมืองที่ดี
๑๒. คนไม่หลงโลก (ชีวิตที่ไม่ถลำพลาด)
ก. รู้ทันโลกธรรม
ข. ไม่มองข้ามเทวทูต
ค. คำนึงสูตรแห่งชีวิต

หมวดสาม คนกับคน
๑๓. คนร่วมชีวิต (คู่ครองที่ดี)
ก. คู่สร้างคู่สม
ข. คู่ชื่นชมคู่ระกำ
ค. คู่ศีลธรรมคู่ความดี
ง. คู่ถูกหน้าที่ต่อกัน
จ. พ่อบ้านเห็นใจภรรยา
๑๔. คนรับผิดชอบตระกูล (หัวหน้าครอบครัวที่ดี)
ก. รักษาตระกูลให้คงอยู่
ข. บูชาคนที่เหมือนไฟ
ค. ใส่ใจบุตรธิดา
ง. ทำหน้าที่ผู้มาก่อน
จ. เป็นราษฎรที่มีคุณภาพ
๑๖. คนที่จะคบหา (มิตรแท้-มิตรเทียม)
ก. มิตรเทียม
ข. มิตรแท้
ค. มิตรต่อมิตร
๑๗. คนงาน-นายงาน (ลูกจ้าง-นายจ้าง)
ก. นายจ้างพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน
ข. คนรับใช้และคนงานมีน้ำใจช่วยเหลือนาย

หมวดสี่ คนกับมรรคา
๑๘. คนผู้สั่งสอนหรือให้การศึกษา (ครู อาจารย์ หรือผู้แสดงธรรม)
ก. เป็นกัลยาณมิตร
ข. ตั้งใจประสิทธิ์ความรู้
ค. มีลีลาครูครบทั้งสี่
ง. มีหลักตรวจสอบสาม
จ. ทำหน้าที่ครูต่อศิษย์
๑๙. คนผู้เล่าเรียนศึกษา (นักเรียน นักศึกษา นักค้นคว้า)
ก. รู้หลักบุพภาคของการศึกษา
ข. มีหลักประกันชีวิตที่พัฒนา
ค. ทำตามหลักเสริมสร้างปัญญา
ง. ศึกษาให้เป็นพหูสูตร
จ. เคารพผู้จุดประทีปปัญญา
๒๐. คนใกล้ชิดศาสนา (อุบาสก อุบาสิกา)
ก. เกื้อกูลพระ
ข. กระทำบุญ
ค. คุ้นพระศาสนา
ง. เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นนำ
จ. หมั่นสำรวจความก้าวหน้า
๒๑. คนสืบศาสนา (พระภิกษุสงฆ์)
ก. อนุเคราะห์ชาวบ้าน
ข. หมั่นพิจารณาตนเอง
๒๒. คนถึงธรรม (ผู้หมดกิเลส)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ภาค ๑ วินัยชาวพุทธ
Part I The Buddhist' s Discipline

http://www.dhammajak.net/book/dhamma5/


(มีต่อ ๑)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ภาค ๒ ธรรมนูญชีวิต
พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม

Part II A Constitution For Living
Buddhist principles for fruitful and harmonious life

.........................................

หมวดนำ คนกับความเป็นคน
.........................................

๑. คนผู้เป็นสัตว์ประเสริฐ
(สมาชิกในสังกัดมนุษยชาติ)


มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายอื่น สิ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ ได้แก่ สิกขา หรือการศึกษา คือการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนามนุษย์ที่ฝึก ศึกษาหรือพัฒนาแล้ว ชื่อว่าเป็น “สัตว์ประเสริฐ” เป็นผู้รู้จักดำเนินชีวิตที่ดีงามด้วยตนเอง และช่วยให้สังคมดำรงอยู่ในสันติสุขโดยสวัสดี

มนุษย์ที่จะชื่อว่าฝึก ศึกษาหรือพัฒนาตน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ผู้เป็นสมาชิกใหม่ของมนุษยชาติ พึงมีคุณสมบัติที่เป็นต้นทุน ๗ ประการ ที่เรียกว่า แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม หรือ รุ่งอรุณของการศึกษา ซึ่งเป็นหลักประกันของชีวิตที่จะพัฒนาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ผู้เป็นสัตว์ประเสริฐอย่างแท้จริง ดังนี้

๑. กัลยาณมิตตตา (มีกัลยาณมิตร) แสวงแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี คือ อยู่ร่วมหรือใกล้ชิดกัลยาณชน ที่จะมีอิทธิพลชักนำและชักชวนกันให้เจริญงอกงามในการพัฒนาพฤติกรรมจิตใจและปัญญา โดยเฉพาะให้เรียนรู้และพัฒนาการสื่อสารสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยเมตตา มีศรัทธาที่จะดำเนินตามแบบอย่างที่ดี และรู้จักใช้ปัจจัยภายนอกทั้งที่เป็นบุคคล หนังสือ และเครื่องมือสื่อสารทั้งหลาย ให้เป็นประโยชน์ในการแสวงหาความรู้และความดีงาม เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาชีวิต แก้ปัญหาและทำการสร้างสรรค์

๒. สีลสัมปทา (ทำศีลให้ถึงพร้อม) มีวินัยเป็นฐานของการพัฒนาชีวิต คือ รู้จักจัดระเบียบความเป็นอยู่กิจกรรมกิจการและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อโอกาสแก่การพัฒนาชีวิต อย่างน้อยมีศีลขั้นพื้นฐาน คือมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ด้วยการอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์อย่างเกื้อกูลไม่เบียดเบียนกัน และในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุด้วยการกินใช้ปัจจัย ๔ ตลอดจนอุปกรณ์เทคโนโลยีทั้งหลาย ในทางที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกื้อหนุนการศึกษา การสร้างสรรค์ และระบบดุลยสัมพันธ์ของธรรมชาติ

๓. ฉันทสัมปทา (ทำฉันทะให้ถึงพร้อม) มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ คือเป็นผู้มีพลังแห่งความใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่ทำ ใฝ่สร้างสรรค์ ใฝ่สัมฤทธิ์ ใฝ่ความเป็นเลิศ อยากช่วยทำทุกสิ่งทุกคนที่ตนประสบเกี่ยวข้องให้เข้าถึงภาวะที่ดีงาม ไม่หลงติดอยู่แค่คิดจะได้จะเอาและหาความสุขจากการเสพบริโภค ที่ทำให้จมอยู่ใต้วังวนแห่งความมัวเมาและการแย่งชิง แต่รู้จักใช้อินทรีย์ มีตาที่ดู หูที่ฟัง เป็นต้น ในการเรียนรู้ หาความสุขจากการศึกษา และมีความสุขจากการทำสิ่งดีงาม ด้วยการใช้สมองและมือในการสร้างสรรค์

๔. อัตตสัมปทา (ทำตนให้ถึงพร้อม) มุ่งมั่นฝึกตนจนเต็มสุดภาวะที่ความเป็นคนจะให้ถึงได้ คือ ระลึกอยู่เสมอถึงความจริงแท้แห่งธรรมชาติของมนุษย์ผู้เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ และต้องฝึก ซึ่งเมื่อฝึกแล้วจะประเสริฐเลิศสูงสุดแล้วตั้งใจฝึกตนจนมองเห็นความยากลำบากอุปสรรคและปัญหา เป็นดุจเวทีที่ทดสอบและพัฒนาสติปัญญาความสามารถ มีจิตสำนึกในการพัฒนาตนยิ่งขึ้นไป จนเต็มสุดแห่งศักยภาพ ด้วยการพัฒนาที่พร้อมทุกด้านทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา

๕. ทิฏฐิสัมปทา (ทำทิฏฐิให้ถึงพร้อม) ถือหลักเหตุปัจจัยมองอะไรๆ ตามเหตุและผล คือ ตั้งอยู่ในหลักความคิดความเชื่อถือที่ดีงามมีเหตุผล อย่างน้อยถือหลักเหตุปัจจัย ที่จะนำไปสู่การพิจารณาไตร่ตรองสืบสวนค้นคว้าเป็นทางเจริญปัญญา และเชื่อการกระทำว่าเป็นอำนาจใหญ่สุดที่บันดาลชะตากรรม กับทั้งมีพฤติกรรมและจิตใจที่อยู่ในอำนาจเหตุผล แม้จะใฝ่ทำให้สำเร็จและดีงามสูงสุด ก็รู้เท่าทันความเป็นไปได้ภายในขอบเขตของเหตุปัจจัยที่มีและที่ทำ ถึงสำเร็จก็ไม่เหลิงลอย ถึงพลาดก็ไม่หงอยงง ดำรงจิตผ่องใสเป็นอิสระได้ ไม่วู่วามโวยวายเอาแต่ใจตน ตลอดจนไม่ปล่อยตัวเลื่อนไหลไปตามกระแสความตื่นข่าวและค่านิยม

๖. อัปปมาทสัมปทา (ทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม) ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท คือ มีจิตสำนึกในความไม่เที่ยง มองเห็นตระหนักถึงความไม่คงที่ ไม่คงทน และไม่คงตัว ทั้งของชีวิตและสิ่งทั้งหลายรอบตัว ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตลอดเวลา ทำให้นิ่งนอนใจอยู่ไม่ได้และมองเห็นคุณค่าความสำคัญของกาลเวลา แล้วกระตือรือร้นขวนขวายเร่งศึกษาและป้องกันแก้ไขเหตุปัจจัยของความเสื่อม และเสริมสร้างเหตุปัจจัยของความเจริญงอกงาม โดยใช้เวลาทั้งคืนวันที่ผ่านไปให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

๗. โยนิโสมนสิการสัมปทา (ทำโยนิโสมนสิการให้ถึงพร้อม) ฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง คือ รู้จักคิด รู้จักพิจารณา มองเป็น คิดเป็น เห็นสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นไปในระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย โดยใช้ปัญญาพิจารณาสอบสวนสืบค้นวิเคราะห์วิจัย ไม่ว่าจะเพื่อให้เห็นความจริง หรือเพื่อให้เห็นแง่ด้านที่จะใช้ให้เป็นประโยชน์ กับทั้งสามารถแก้ไขปัญหาและจัดทำดำเนินการต่างๆ ให้สำเร็จได้ด้วยวิธีการแห่งปัญญาที่จะทำให้พึ่งตนเองและเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้

(สํ.ม. ๑๙/๑๒๙-๑๓๖/๓๖-๓๗)


(มีต่อ ๒)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๒. คนสมบูรณ์แบบ
(สมาชิกแบบอย่างของมนุษยชาติ)


คนสมบูรณ์แบบ หรือมนุษย์โดยสมบูรณ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสมาชิกที่ดีมีคุณค่าอย่างแท้จริงของมนุษยชาติ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคนเต็มคน ผู้สามารถนำหมู่ชนและสังคมไปสู่สันติสุขและความสวัสดี มีธรรมหรือคุณสมบัติ ๗ ประการ ดังต่อไปนี้

๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ คือรู้หลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลาย ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติกิจหน้าที่และดำเนินกิจการต่างๆ รู้เข้าใจสิ่งที่ตนจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเหตุผล เช่นรู้ว่า ตำแหน่ง ฐานะ อาชีพ การงานของตน มีหน้าที่และความรับชอบอย่างไร มีอะไรเป็นหลักการ จะต้องทำอะไรอย่างไร จึงจะเป็นเหตุให้บรรลุถึงผลสำเร็จที่เป็นไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบนั้นๆ ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนขั้นสูงสุดคือรู้เท่าทันกฎธรรมดาหรือหลักความจริงของธรรมชาติ เพื่อปฏิบัติต่อโลกและชีวิตอย่างถูกต้อง มีจิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิตนั้น

๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล คือรู้ความหมายและความมุ่งหมายของหลักการที่ตนปฏิบัติ เข้าใจวัตถุประสงค์ของกิจการที่ตนกระทำ รู้ว่าที่ตนทำอยู่อย่างนั้นๆ ดำเนินชีวิตอย่างนั้น เพื่อประสงค์ประโยชน์อะไรหรือควรจะได้บรรลุถึงผลอะไร ที่ให้มีหน้าที่ ตำแหน่ง ฐานะ การงานอย่างนั้นๆ เขากำหนดวางกันไว้เพื่อความมุ่งหมายอะไร กิจการที่ตนทำอยู่ขณะนี้ เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง เป็นผลดีหรือผลเสียอย่างไร ดังนี้เป็นต้น ตลอดจนถึงขั้นสูงสุด คือ รู้ความหมายของคติธรรมดา และประโยชน์ที่เป็นจุดหมายแท้จริงของชีวิต

. อัตตัญญุตา รู้ตน คือ รู้ตามเป็นจริงว่า ตัวเรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะเพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมและทำการต่างๆ ให้สอดคล้องถูกจุด ที่จะสัมฤทธิ์ผล ตลอดจนแก้ไขปรับปรุงตนให้เจริญงอกงามถึงความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป

๔. มัตตัญญุตา รู้ประมาณ คือ รู้จักพอดี เช่น รู้จักประมาณในการบริโภค ในการใช้จ่ายทรัพย์ รู้จักความพอเหมาะพอดีในการพูด การปฏิบัติกิจและทำการต่างๆ ตลอดจนการพักผ่อนนอนหลับและการสนุกสนานรื่นเริงทั้งหลาย ทำการทุกอย่างด้วยความเข้าใจวัตถุประสงค์เพื่อผลดีแท้จริงที่พึงต้องการ โดยมิใช่เพียงเพื่อเห็นแก่ความพอใจ ชอบใจ หรือเอาแต่ใจของตน แต่ทำตามความพอดีแห่งเหตุปัจจัยหรือองค์ประกอบทั้งหลาย ที่จะลงตัวให้เกิดผลดีงามตามที่มองเห็นด้วยปัญญา

๕. กาลัญญุตา รู้กาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่พึงใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน ปฏิบัติการต่างๆ และเกี่ยวข้องกับผู้อื่น เช่น รู้ว่า เวลาไหน ควรทำอะไร อย่างไร และทำให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา ให้ถูกเวลา ตลอดจนรู้จักกะเวลาและวางแผนการใช้เวลาอย่างได้ผล

๖. ปริสัญญุตา รู้ชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุมและชุมชน รู้การอันควรต้องทำกิริยาอย่างนี้ ควรต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้มีระเบียบวินัยอย่างนี้ มีวัฒนธรรมประเพณีอย่างรี้ มีความต้องอย่างนี้ ควรเกี่ยวข้อง ควรต้องสงเคราะห์ ควรรับใช้ ควรบำเพ็ญประโยชน์ให้อย่างนี้ๆ เป็นต้น

๗. ปุคคลัญญุตา รู้บุคคล คือ รู้จักและเข้าใจความแตกต่างแห่งบุคคล ว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไรและรู้จักที่จะปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ด้วยดีว่า ควรจะคบหรือไม่ ได้คติอะไร จะสัมพันธ์เกี่ยวข้อง จะใช้ จะยกย่อง จะตำหนิ หรือจะแนะนำสั่งสอนอย่างไร จึงจะได้ผลดี ดังนี้เป็นต้น

ธรรม ๗ ข้อนี้ เรียกว่า สัปปุริสธรรม แปลว่า ธรรมของสัปปุริสชน คือคนดี หรือคนที่แท้ ซึ่งมีคุณสมบัติของความเป็นคนที่สมบูรณ์

(องุ.สตฺตก. ๒๗/๖๕/๑๑๔)


(มีต่อ ๓)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดหนึ่ง คนกับสังคม
.........................................

๓. คนมีศีลธรรม
(สมาชิกในหมู่อารยชน)


คนมีศีลธรรม หรือมีมนุษยธรรม ที่เรียกได้ว่าเป็นอารยชน มีธรรม คือคุณสมบัติ ดังนี้

ก. มีสุจริตทั้งสาม คือ มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ๓ ประการ

๑. กายสุจริต ความสุจริตกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย
๒. วจีสุจริต ความสุจริตทางวาจา พูดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา
๓. มโนสุจริต ความสุจริตทางใจ คิดสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ

(ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๒๗)


ข. ประพฤติตามอารยธรรม โดยปฏิบัติถูกต้องตามทางแห่งกุศลกรรม ๑๐ ประการ คือ

- ทางกาย ๓

๑. ละเว้นการฆ่า การสังหาร การบีบคั้นเบียดเบียน; มีเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน
๒. ละเว้นการแย่งชิงลักขโมย และการเอารัดเอาเปรียบ; เคารพสิทธิในทรัพย์สินของกันและกัน
๓. ละเว้นการประพฤติผิดล่วงละเมิดในของรักของหวงแหนของผู้อื่น; ไม่ข่มเหงจิตใจ หรือทำลายลบหลู่เกียรติและวงศ์ตระกูลของกัน

- ทางวาจา ๔

๔. ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง; กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริงเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ
๕. ละเว้นการพูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก; พูดแต่คำที่สมานและส่งเสริมสามัคคี
๖. ละเว้นการพูดคำหยาบคาย สกปรกเสียหาย; พูดแต่คำสุภาพ นุ่มนวลควรฟัง
๗. ละเว้นการพูดเหลวไหลเพ้อเจ้อ; พูดแต่คำจริง มีเหตุมีผล มีสารประโยชน์ ถูกกาลเทศะ

- ทางใจ ๓

๘. ไม่ละโมบ ไม่เพ่งเล็งคิดหาทางเอาแต่จะได้; คิดให้ คิดเสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง
๙. ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือเพ่งมองในแง่ที่จะทำลาย; ตั้งความปรารถนาดี แผ่ไมตรี มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่กัน
๑๐. มีความเห็นถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เข้าใจในหลักกรรมว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่ว; รู้เท่าทันความจริงที่เป็นธรรมดาของโลกและชีวิต มองเห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ธรรม ๑๐ ข้อนี้ เรียกว่า กุศลกรรมบถ (ทางทำกรรมดี) บ้าง ธรรมจริยา บ้าง อารยธรรม บ้าง เป็นรายละเอียดขยายความสุจริต ๓ ข้อ ข้างต้นด้วย คือ ข้อ ๑ - ๓ เป็นกายสุจริต ข้อ ๔ - ๗ เป็นวจีสุจริต ข้อ ๘ - ๑๐ เป็นมโนสุจริต

(ม.มู. ๑๒/๔๘๕/๕๒๓)


ค. อย่างต่ำมีศีล ๕ หลักความประพฤติ ๑๐ ข้อต้นนั้น เป็นธรรมจริยาและเป็นอารยธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำคนให้เจริญขึ้นพร้อมทั้งกาย ทางวาจา และทางใจ แต่ผู้ใดยังไม่มั่นคงในอารยธรรม ท่านสอนว่าผู้นั้นพึงควบคุมตนให้ได้ในทางกายและวาจาก่อนเป็นอย่างน้อย ด้วยการประพฤติตามหลัก ศีล ๕ ที่เป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมจริยา ๑๐ ประการนั้น ก็ยังจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีศีลธรรม คือ

๑. เว้นจากปาณาติบาต ละเว้นการฆ่าการสังหาร ไม่ประทุษร้ายต่อชีวิตและร่างกาย

๒. เว้นจากอทินนาทาน ละเว้นการลักขโมยเบียดบังแย่งชิง ไม่ประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน

๓. เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ละเว้นการประพฤติผิดในกาม ไม่ประทุษร้ายต่อของรักของหวงแหน อันเป็นการทำลายเกียรติภูมิและจิตใจ ตลอดจนทำวงศ์ตระกูลของเขาให้สับสน

๔. เว้นจากมุสาวาท ละเว้นการพูดเท็จโกหกหลอกลวง ไม่ประทุษร้ายเขาหรือประโยชน์สุขของเขาด้วยวาจา

๕. เว้นจากสุราเมรัย ไม่เสพเครื่องดองของมีนเมาสิ่งเสพติด อันเป็นเหตุให้เกิดความประมาทมัวเมา ก่อความเสียหายผิดพลาดเพราะขาดสติ เช่น ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แม้อย่างน้อยก็เป็นผู้คุกคามต่อความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของผู้ร่วมสังคม

(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๗๒/๒๒๗)


(มีต่อ ๔)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๔. คนมีคุณแก่ส่วนรวม
(สมาชิกที่ดีของสังคม)


สมาชิกที่ดีผู้ช่วยสร้างสรรค์สังคม มีธรรม คือ หลักความประพฤติ ดังนี้

ก. มีพรหมวิหาร คือ ธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐหรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพระพรหม ๔ อย่าง ต่อไปนี้

๑. เมตตา ความรัก คือ ความปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบประโยชน์และความสุข

๒. กรุณา ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง

๓. มุทิตา ความเบิกบานพลอยยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ก็มีใจแช่มชื่นเบิกบาน เมื่อเห็นเขาทำดีงามแระสบความสำเร็จก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดีบันเทิงใจด้วย พร้อมที่จะช่วยส่งเสริมสนับสนุน

๔. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือ มองตามเป็นจริง โดยวางจิตเรียบสม่ำเสมอ มั่นคง เที่ยงตรงดุจตาชั่ง มองเห็นการที่บุคคลจะได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุที่ตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัย วางตน และปฏิบัติไปตามหลักการ เหตุผล และความเที่ยงธรรม *

(ที.ม. ๑๐/๑๘๔/๒๒๕)

[ * กรณีสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ใช้อุเบกขา คือ เมื่อเห็นคนที่ตนดูแล เป็นอยู่ดี ต่างขวนขวายในกิจหน้าที่ของตน ก็รู้จักวางทีเฉยคอยดูโดยสงบ ไม่เซ้าซี้จู้จี้ ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง ท่านแสดงอุปมาข้อหนึ่ว่า อุเบกขานั้น เหมือนดังนายสารถี เมื่อม้าวิ่งถูกทางเรียบสนิทดี ก็นั่งคุมสงบนิ่งคอยดูเฉยอยู่ โดยนัยนี้ จึงแสดงความหมายของอุเบกขาอย่างคลุมความว่า ความรู้จักวางทีเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลสมควรแก่ความรับผิดชอบของตน ดู วิสุทฺธิ. ๗๔๑; วิสุทฺธิ.ฎีกา ๒/๑๓๖; ๗๑๑๒ ]

เมื่อมีคุณธรรมภายในเป็นพื้นฐานจิตใจเช่นนี้แล้ว พึงแสดงออกภายนอกตามหลักความประพฤติ ต่อไปนี้

ข. บำเพ็ญการสงเคราะห์ คือ ปฏิบัติตามหลักการสงเคราะห์ หรือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี ที่เรียกว่า สังคหวัตถุ ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้

๑. ทาน ให้ปัน คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือสงเคราะห์ ด้วยปัจจัยสี่ ทุนหรือทรัพย์สินสิ่งของ ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจ และศิลปวิทยา

๒. ปิยวาจา พูดอย่างรักกัน คือ กล่าวคำสุภาพ ไพเราะ น่าฟัง ชี้แจงแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีเหตุผลเป็นหลักฐาน ชักจูงในทางที่ดีงาม หรือคำแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ รู้จักพูดให้เกิดความเข้าใจดี สมานสามัคคี เกิดไมตรี ทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

๓. อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา คือ ช่วยเหลือด้วยแรงกาย และขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่างๆ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงส่งเสริมในด้านจริยธรรม

๔. สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน คือ ทำตัวให้เข้ากับเขาได้ วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ให้ความเสมอภาค ปฏิบัติสม่ำเสมอกันต่อคนทั้งหลาย ไม่เอาเปรียบและเสมอในสุขทุกข์ คือ ร่วมสุข ร่วมทุกข์ ร่วมรับรู้ ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน

พูดสั้นๆ ว่า ช่วยด้วยทุนด้วยของหรือความรู้; ช่วยด้วยถ้อยคำ; ช่วยด้วยกำลังงาน; ช่วยด้วยการร่วมเผชิญและแก้ปัญหา

(ที.ปา. ๑๑/๑๔๐/๑๖๗)


(มีต่อ ๕)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๕. คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของหมู่ชน
(สมาชิกที่ดีของชุมชน)


คนผู้เป็นส่วนร่วมที่ดีของชุมชน ซึ่งจะช่วยให้หมู่ชนอยู่ร่วมกันด้วยดี มีธรรม คือ หลักความประพฤติ ดังนี้

ก. พึ่งตนเองได้ คือ ทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้ พร้อมที่จะรับผิดชอบตนเอง ไม่ทำตัวให้เป็นปัญหาหรือเป็นภาระถ่วงหมู่คณะ หรือหมู่ญาติ ด้วยการประพฤติธรรมสำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง (เรียกว่า นาถกรณธรรม) ๑๐ ประการคือ

๑. ศีล ประพฤติดีมีวินัย คือ ดำเนินชีวิตโดยสุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา มีวินัยและประกอบสัมมาชีพ

๒. พาหุสัจจะ ได้ศึกษาสดับมาก คือ ศึกษาเล่าเรียนสดับตรับฟังมาก อันใดเป็นสายวิชาของตน หรือตนศึกษาศิลปวิทยาใดก็ศึกษาให้ช่ำชอง มีความเข้าใจกว้างขวางลึกซึ้ง รู้ชัดเจนและใช้ได้จริง

๓. กัลยาณมิตตตา รู้จักคบคนดี คือ มีกัลยามิตร รู้จักเลือกเสวนาเข้าหาที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี เลือกสัมพันธ์เกี่ยวข้องและถือเยี่ยงอย่างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี ซึ่งจะทำให้ชีวิตเจริญงอกงาม

๔. โสวจัสสตา เป็นคนที่พูดกันง่าย คือ ไม่ดื้อรั้นกระด้าง รู้จักรับฟังเหตุผลและข้อเท็จจริง พร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตน

๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา ขวนขวายกิจของหมู่ คือ เอาใจใส่ช่วยเหลือธุระและกิจการขอบชนร่วมหมู่คณะ ญาติ เพื่อนพ้อง และของชุมชน รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองหาวิธีดำเนินการที่เหมาะ ทำได้ จัดได้ ให้สำเร็จเรียบร้อยด้วยดี

๖. ธรรมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ชอบการศึกษา ค้นคว้า สอบถามหาความรู้หาความจริง รู้จักพูด รู้จักรับฟัง สร้างความรู้สึกสนิทสนมสบายใจ ชวนให้ผู้อื่นอยากเข้ามาปรึกษาและร่วมสนทนา

๗. วิริยารัมภะ มีความเพียรขยัน คือ ขยันหมั่นเพียร พยายามหลีกละความชั่ว ประกอบความดี บากบั่น ก้าวหน้า ไม่ย่อท้อ ไม่ละเลยทอดทิ้งธุระหน้าที่

๘. สันตุฏฐี มีสันโดษรู้พอดี คือ ยินดี พึงพอใจแต่ในลาภผล ผลงานและผลสำเร็จต่างๆ ที่ตนสร้างหรือแสวงหามาได้ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเองโดยทางชอบธรรม และไม่มัวเมาเห็นแก่ความสุขทางวัตถุ

๙. สติ มีสติคงมั่น คือ รู้จักกำหนดจดจำ ระลึกการที่ทำ คำที่พูด กิจที่ทำแล้วและที่จะต้องทำต่อไปได้ จะทำอะไรก็รอบคอบ รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ผลีผลาม ไม่เลินเล่อ ไม่เลื่อนลอย ไม่ประมาท ไม่ยอมถลำลงในทางผิดพลาด ไม่ปล่อยปละละเลยทิ้งโอกาสสำหรับความดีงาม

๑๐. ปัญญา มีปัญญาเหนืออารมณ์ คือ มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้ดี รู้ชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง รู้จักพิจารณาวินิจฉัยด้วยใจเป็นอิสระ ทำการต่างๆ ด้วยความคิดและมีวิจารณญาณ

ข. อยู่ร่วมในหมู่ด้วยดี ในด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ หรือร่วมชุมชน ตลอดจนพี่น้องร่วมครอบครัว พึงปฏิบัติตามหลักการอยู่ร่วมกันที่เรียกว่า สาราณียธรรม (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการคือ

๑. เมตตากายกรรม ทำต่อกันด้วยเมตตา คือ แสดงไมตรีและความหวังดีต่อเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชน ด้วยการช่วยเหลือกิจธุระต่างๆ โดยเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๒. เมตตาวจีกรรม พูดต่อกันด้วยเมตตา คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอนหรือแนะนำตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

๓. เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา คือ ตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน

๔. สาธารณโภคี ได้มาแบ่งกันกินใช้ คือ แบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อยก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน

๕. สีลสามัญญตา ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ

๖. ทิฏฐิสามัญญตา ปรับความเห็นเข้ากันได้ คือ เคารพรับฟังความคิดเห็นกัน มีความเห็นชอบร่วมกัน ตกลงกันได้ในหลักการสำคัญ ยึดถืออุดมคติ หลักแห่งความดีงามหรือจุดหมายสูงสุดอันเดียวกัน

(ที.ปา. ๑๑/๓๑๗/๒๕๗)


(มีต่อ ๖)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:57 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๖. คนมีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี
(สมาชิกที่ดีของรัฐ)


สมาชิกของรัฐผู้มีส่วนร่วมให้เกิดการปกครองที่ดี โดยเฉพาะคนในสังคมประชาธิปไตย พึงรู้หลักและปฏิบัติดังนี้

ก. รู้หลักอธิปไตย คือ รู้หลักความเป็นใหญ่ที่เรียกว่า อธิปไตย ๓ ประการ ดังนี้

๑. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตนเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ของตนเป็นใหญ่ กระทำการด้วยปรารภตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นประมาณในฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน

๒. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ กระทำการด้วยปรารภจะเอาใจหมู่ชน หาความนิยมหรือหวั่นกลัวเสียงกล่าวว่าเป็นประมาณในฝ่ายกุศล ได้แก่เว้นชั่วทำดี ด้วยเคารพเสียงหมู่ชน

๓. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผลเป็นใหญ่ กระทำการด้วยปรารภสิ่งที่ได้ศึกษา ตรวจสอบตามข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่รับฟังอย่างกว้างขวางแจ้งชัดและพิจารณาอย่างดีที่สุด เต็มขีดแห่งสติปัญญาจะมองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า เป็นไปโดยชอบธรรมและเพื่อความดีงามเป็นประมาณอย่างสามัญ ได้แก่ ทำการด้วยความเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา

เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถ้าต้องการรับผิดชอบต่อรัฐประชาธิปไตย พึงถือหลักข้อ ๓ คือ ธรรมธิปไตย

(ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑)


ข. มีส่วนในการปกครอง โดยปฏิบัติตามหลักการร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียว ที่เรียกว่า อปริหานิยธรรม ๗ ประการ คือ

๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พบปะปรึกษาหารือกิจการงาน (ที่พึงรับผิดชอบตามระดับของตน) โดยสม่ำเสมอ

๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจทั้งหลายที่พึงทำร่วมกัน

๓. ไม่ถืออำเภอใจใคร่ต่อความสะดวก บัญญัติวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ อันมิได้ตกลงบัญญัติวางไว้ และไม่เหยียบย่ำล้มล้างสิ่งที่ตกลงวางบัญญัติกันไว้แล้ว ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในบทบัญญัติใหญ่ที่วางไว้เป็นธรรมนูญ

๔. ท่านผู้ใดเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์ยาวนาน ให้เกียรติเคารพนับถือท่านเหล่านั้น มองเห็นความสำคัญแห่งถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง

๕. ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรี มิให้มีการข่มเหงรังแก

๖. เคารพบูชาสักการะเจดีย์ ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่องเตือนความทรงจำ เร้าให้ทำดี และเป็นที่รวมใจของหมู่ชน ไม่ละเลยพิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานเหล่านั้นตามประเพณี

๗. จัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครอง อันชอบธรรม แก่บรรพชิตผู้ทรงศีลทรงธรรมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน เต็มใจต้อนรับและหวังให้ท่านอยู่โดยผาสุก

(ที.ม. ๑๐/๖๘/๘๖)

นอกจากนี้ พึงประพฤติตนเป็นผู้ครองเรือนและหัวหน้าครอบครัวที่ดีตามหลักปฏิบัติในบทที่ ๑๒ ว่าด้วยคนครองเรือนที่เลิศล้ำ โดยเฉพาะข้อ จ. ครองตนเป็นพลเมืองที่ดี


(มีต่อ ๗)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๗. ผู้นำรัฐ
(พระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมือง)


ท่านผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ผู้นำ และผู้ปกครองรัฐ ตั้งต้นแต่พระเจ้าจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์ ตลอดจนนักปกครองโดยทั่วไป มีหลักธรรมที่เป็นคุณสมบัติและเป็นข้อปฏิบัติ ดังนี้

ก. ทรงทศพิธราชธรรม คือ มีคุณธรรมของผู้ปกครอง หรือ ราชธรรม (ธรรมของพระราชา) ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. ทาน ให้ปันช่วยประชา คือ บำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ โดยมุ่งปกครองหรือทำงานเพื่อให้เขาได้ มิใช่เพื่อจะเอาจากเขา เอาใจใส่อำนวยบริการ จัดสรรความสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ให้ประชาราษฎร์ได้รับประโยชน์สุข ความสะดวกปลอดภัย ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เดือดร้อนประสบทุกข์และให้ความสนับสนุนแก่คนทำความดี

๒. ศีล รักษาความสุจริต คือ ประพฤติดีงาม สำรวมกายและวจีทวาร ประกอบแต่การสุจริต รักษากิตติคุณ ประพฤติให้ควรเป็นตัวย่างและเป็นที่เคารพนับถือของประชาราษฎร์ มิให้มีข้อที่ผู้ใดจะดูแคลน

๓. ปริจจาคะ บำเพ็ญกิจด้วยเสียสละ คือ สามารถเสียสละความสุขสำราญ เป็นต้น ตลอดจนชีวิตของตนได้ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

๔. อาชชวะ ปฏิบัติภาระโดยซื่อตรง คือ ซื่อตรงทรงสัตย์ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน

๕. มัททวะ ทรงความอ่อนโยนเข้าถึงคน คือ มีอัธยาศัย ไม่เย่อหยิ่งหยาบคายกระด้างถือองค์ มีความงามสง่าเกิดแต่ท่วงทีกิริยาสุภาพนุ่มนวลละมุนละไม ควรได้ความรักภักดี แต่มิขาดยำเกรง

๖. ตปะ พ้นมัวเมาด้วยเผากิเลส คือ แผดเผากิเลสตัณหา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่หลงใหลหมกมุ่นในความสุขสำราญและการปรนเปรอ มีความเป็นอยู่สม่ำเสมออยู่อย่างง่ายๆ สามัญ มุ่งมั่นแต่จะบำเพ็ญเพียรทำกิจในหน้าที่ให้บริบูรณ์

๗. อักโกธะ ถือเหตุผลไม่โกรธา คือ ไม่เกรี้ยวกราด ไม่วินิจฉัยความและกระทำการด้วยอำนาจความโกรธ มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันสุขุมราบเรียบตามธรรม

๘. อวิหิงสา มีอหิงสานำร่มเย็น คือ ไม่หลงระเริงอำนาจ ไม่บีบคั้นกดขี่ มีความกรุณา ไม่หาเหตุเบียดเบียนลงโทษอาชญาแก่ประชาราษฎร์ผู้ใดด้วยอาศัยความอาฆาตเกลียดชัง

๙. ขันติ ชำนะเข็ญด้วยขันติ คือ อดทนต่องานที่ตรากตรำ อดทนต่อความเหนื่อยยาก ถึงจะลำบากกายน่าเหนื่อยหน่ายเพียงไรก็ไม่ท้อถอย ถึงจะถูกยั่วถูกหยันด้วยถ้อยคำเสียดสีถากถางอย่างใดก็ไม่หมดกำลังใจไม่ยอมละทิ้งกิจกรณีย์ที่บำเพ็ญโดยชอบธรรม

๑๐. อวิโรธนะ มิปฏิบัติคลาดจากธรรม คือ ประพฤติมิให้ผิดจากประศาสนธรรม อันถือประโยชน์สุขความดีงามของรัฐและราษฎร์เป็นที่ตั้ง อันใดประชาราษฎร์ปรารถนาโดยชอบธรรม ก็ไม่ขัดขืน การใดจะเป็นไปโดยชอบธรรมเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนก็ไม่ขัดขวาง วางองค์เป็นหลักหนักแน่นในธรรม คงที่ ไม่มีความเอนเอียงหวั่นไหว เพราะถ้อยคำดีร้าย ลาภสักการะหรืออิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ใดๆ สถิตมั่นในธรรม ทั้งส่วนยุติธรรม คือ ความเที่ยงธรรม ก็ดี นิติธรรม คือ ระเบียบแบบแผน หลักการปกครอง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ก็ดี ไม่ประพฤติให้เคลื่อนคลาดวิบัติไป

(ขุ.ชา. ๒๘/๒๔๐/๘๖)


ข. บำเพ็ญกรณีย์ของจักรพรรดิ คือ ปฏิบัติหน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร (ธรรมเนียมหรือหน้าที่ประจำของจักรพรรดิ) ๕ ประการ * คือ

๑. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ยึดถือความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผล หักการ กฎกติกาที่ชอบธรรมเป็นบรรทัดฐาน เคารพธรรม เชิดชูธรรม นิยมธรรม ตั้งตนอยู่ในธรรม ประพฤติธรรมด้วยตนเอง

๒. ธรรมิการักขา ให้ความคุ้มครองโดยธรรม คือ จัดอำนวยการรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน คือ คนภายใน ** (หมายถึง พระมเหสี โอรส ธิดา ข้าราชการในพระองค์ คนในครอบครัวและในปกครองส่วนตัว ซึ่งพึงคุ้มครอง โดยให้การบำรุงเลี้ยงอบรมสั่งสอน เป็นต้น ให้อยู่สุขสงบและเคารพนับถือกัน) ข้าราชการฝ่ายทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครอง ข้าราชการพลเรือน นักวิชาการและคนต่างอาชีพ เช่นพ่อค้าและเกษตรกร ชาวนิคมชนบทละชนชายแดน พระสงฆ์และบรรพชิตผู้ทรงศีลทรงคุณธรรม ตลอดจนสัตว์เท้าสัตว์ปีก อันควรสงวนพันธุ์ทั้งหลาย

๓. มา อธรรมการ ห้ามกั้นการอาธรรม์ คือ จัดการป้องกันแก้ไข มิให้การกระทำที่ไม่เป็นธรรม การเบียดเบียนข่มเหงและความผิดความชั่วร้ายเดือดร้อนเกิดมีขึ้นในบ้านเมือง ชักนำประชาชนให้ตั้งมั่นในสุจริตและนิยมธรรม รวมทั้งจัดวางระบบที่กันคนร้าย ให้โอกาสคนดี

๔. ธนานุประทาน ปันทรัพย์แก่ชนผู้ยากไร้ มิให้มีคนขัดสนยากไร้ในแผ่นดิน เช่น จัดให้ราษฎรทั้งปวงมีทางหาเลี้ยงชีพ ทำมาหากินได้โดยสุจริต

๕. ปริปุจฉา ไม่ขาดการสอบถามปรึกษา แสวงปัญญาและความดีงามยิ่งขึ้นไป โดยมีที่ปรึกษาที่ทรงวิชาการทรงคุณธรรม ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา ที่จะช่วยให้เจริญปัญญาและกุศลธรรม หมั่นพบปะพระสงฆ์และนักปราชญ์ ไถ่ถามหาความรู้หาความดีงามหาความจริง และถกปัญหาต่างๆ อยู่โดยสม่ำเสมอตามกาลอันควร เพื่อซักซ้อมตรวจสอบตนให้เจริญก้าวหน้าและดำเนินกิจการในทางที่ถูกต้องชอบธรรม ดีงาม และเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขอย่างแท้จริง

(ที.ปา. ๑๑/๓๕/๖๕)


ค. ประกอบราชสังคหะ คือ ทำนุบำรุงทวยราษฎร์ให้ประชาชาติดำรงอยู่ในเอกภาพและสามัคคี ด้วยหลักธรรมที่เรียกว่า ราชสังคหวัตถุ (หลักการสงเคราะห์ประชาชนของพระราชา) ๔ ประการ คือ

๑. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงพืชพันธ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์

๒. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ คือ ปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงข้าราชการ ด้วยการส่งเสริมคนดีมีความสามารถ และจัดสวัสดิการให้ดี เป็นต้น

๓. สัมมาปาสะ ผูกประสานปวงประชา คือ ผดุงผสานประชาชนไว้ด้วยนโยบายส่งเสริมอาชีพ เช่น จัดทุนให้คนยากจนยืมไปสร้างตนในพาณิชยกรรมหรือดำเนินกิจการต่างๆ ไม่ให้ฐานะเหลื่อมล้ำห่างเหินจนแตกแยกกัน

๔. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ คือ รู้จักพูด รู้จักชี้แจงแนะนำ รู้จักทักทายไถ่ถามทุกข์สุขราษฎรทุกชั้น แม้ปราศรัยก็ไพเราะน่าฟัง ทั้งประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐาน มีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา เสริมความสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ

(สํ.ส. ๑๕/๓๕๑/๑๑๐)


ง. ละเว้นอคติ นักปกครอง เมื่อปฏิบัติหน้าที่ พึงเว้นความลำเอียงหรือความประพฤติที่คลาดเคลื่อนจากธรรม ๔ ประการ

๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว

(ที.ปา. ๑๑/๑๗๖/๑๙ต)


(มีต่อ ๘)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดสอง คนกับชีวิต
.........................................

๘. คนมีชีวิตอยู่อย่างมั่นใจ
(ชีวิตที่เลิศล้ำสมบูรณ์)


คนที่มีความมั่นใจในชีวิตของตน จนไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึงแม้ต่อความตาย ก็เพราะได้ดำเนินชีวิตของตนอยู่อย่างดีที่สุดและได้ใช้ชีวิตนั้นให้เกิดคุณประโยชน์คุ้มค่ากับการที่ได้เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นผู้อยู่อย่างผู้มีชัย ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต คนเช่นนั้นคือผู้ที่ได้เข้าถึงจุดหมายแห่งการมีชีวิต และดำเนินชีวิตของตนตามหลักการต่อไปนี้

ก. นำชีวิตสู่จุดหมาย คือ ดำเนินชีวิตให้บรรลุประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของการมีชีวิต ที่เรียกว่า อัตถะ หรือ อรรถ ๓ คือ

๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ จุดหมายขั้นตาเห็น หรือ ประโยชน์ปัจจุบัน ที่สำคัญ คือ

ก) มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ไร้โรค งามสง่า อายุยืนยาว
ข) มีเงินมีงาน มีทรัพย์จากอาชีพสุจริต พึ่งตนได้ทางเศรษฐกิจ
ค) มีสถานภาพดี ทรงยศ เกียรติ ไมตรี เป็นที่ยอมรับในสังคม
ง) มีครอบครัวผาสุก ทำวงศ์ตระกูลให้เป็นที่นับถือ

ทั้งหมดนี้ พึงให้เกิดมีโดยธรรม และใช้หรือปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สุขโดยชอบทั้งแก่ตนและผู้อื่น

๒. สัมปรายิกัตถะ จุดหมายขั้นเลยตาเห็น หรือ ประโยชน์เบื้องหน้า ที่เป็นคุณค่าของชีวิต ซึ่งให้เกิดความสุขล้ำลึกภายในโดยเฉพาะ

ก) ความอบอุ่นซาบซึ้งสุขใจ ด้วยศรัทธา มีหลักใจ
ข) ความภูมิใจ ในชีวิตสะอาดที่ได้ประพฤติแต่การดีงามสุจริต
ค) ความอิ่มใจ ในชีวิตมีคุณค่า ที่ได้เสียสละบำเพ็ญประโยชน์
ง) ความแกล้วกล้ามั่นใจ ด้วยมีปัญญาที่จะแก้ปัญหานำพาชีวิตไป
จ) ความโปร่งโล่งมั่นใจ ว่าได้ทำกรรมดี มีหลักประกันวิถีสู่ภพใหม่

๓. ปรมัตถะ จุดหมายสูงสุด หรือ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ การมีปัญญารู้เท่าทันความจริง เข้าถึงธรรมชาติของโลกและชีวิต อันทำให้จิตใจเป็นอิสระ

ก) ไม่หวั่นไหวหรือถูกครอบงำด้วยความผันผวนปรวนแปรต่างๆ
ข) ไม่ผิดหวังโศกเศร้าบีบคั้นจิตเพราะความยึดติดถือมั่นในสิ่งใด
ค) ปลอดโปร่ง สงบ ผ่องใส สดชื่น เบิกบานใจตลอดเวลา
ง) เป็นอยู่และทำการด้วยปัญญาซึ่งมองที่เหตุปัจจัย

อัตถะ ๓ ขั้นนี้ จัดแบ่งใหม่เป็น ๓ ด้านดังนี้

๑. อัตตัตถะ จุดหมายเพื่อตน หรือ ประโยชน์ตน คือ ประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงทำให้เกิดขึ้นแก่ตนเองหรือพัฒนาชีวิตของตนให้ลุถึง

๒. ปรัตถะ จุดหมายเพื่อผู้อื่น หรือ ประโยชน์ผู้อื่น คือ ประโยชน์ ๓ ขั้นข้างต้น ซึ่งพึงช่วยเหลือให้ผู้อื่นหรือเพื่อนมนุษย์ได้บรรลุถึงด้วยการชักนำสนับสนุนให้เขาพัฒนาชีวิตของเขาเองขึ้นไปจนเข้าถึงตามลำดับ

๓. อุภยัตถะ จุดหมายร่วมกัน หรือ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์สุขและความดีงามร่วมกันของชุมชนหรือสังคม รวมทั้งภาวะและปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งทางวัตถุ เช่น ป่า แม่น้ำ ถนนหนทาง และทางนามธรรม เช่น ศีลธรรม วัฒนธรรม ซึ่งพึงช่วยกันสร้างสรรค์บำรุงรักษา เพื่อเกื้อหนุนให้ทั้งตนและผู้อื่นก้าวไปสู่จุดหมาย ๓ ขั้นข้างต้น อย่างน้อยไม่ให้การแสวงประโยชน์ตนส่งผลกระทบเสียหายต่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ดังตัวอย่าง พระภิกษุเมื่อปฏิบัติตามพระวินัย ย่อมช่วยรักษาสามัคคีแห่งสงฆ์ อันเป็นบรรยากาศที่เกื้อหนุนให้ภิกษุที่อยู่ร่วมกันทุกรูปอยู่ผาสุก และเจริญงอกงามในการปฏิบัติ จนอาจลุถึงปรมัตถ์ คือประโยชน์สูงสุด

(ขุ.จู. ๓๐/๗๕๕/๓๘๙)


ข. ภายในทรงพลัง คือ มีกำลังที่เกิดจากคุณธรรมความประพฤติปฏิบัติที่เป็นหลักประกันของชีวิต ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจในตนเองจนไม่มีความหวาดหวั่นกลัวภัย เรียกว่า พละ (ธรรมอันเป็นกำลัง) มี ๔ ประการ กล่าวคือ

๑. ปัญญาพละ กำลังปัญญา คือ ได้ศึกษา มีความรู้ความเข้าใจถูกต้องชัดเจน ในเรื่องราวและกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง ตลอดไปถึงสภาวะอันเป็นธรรมดาของโลกและชีวิต เป็นผู้กระทำการต่างๆ ด้วยความเข้าใจเหตุผลและสภาพความจริง

๒. วิริยพละ กำลังความเพียร คือ เป็นผู้ประกอบกิจทำหน้าที่การงานต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ด้วยความบากบั่นพยายาม ไม่ได้ทอดทิ้งหรือย่อหย่อนท้อถอย

๓. อนวัชชพละ* (แปลตามศัพท์ว่า กำลังการกระทำที่ปราศจากโทษ) กำลังสุจริต หรือกำลังความบริสุทธิ์ คือมีความประพฤติและหน้าที่การงาน สุจริตไร้โทษ สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีข้อที่ใครจะติเตียนได้

๔. สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ คือ ได้ช่วยเหลือเกื้อกูล ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ เป็นสมาชิกที่มีคุณประโยชน์ของชุมชน

ตัวอย่างเช่น เป็นข้าราชการ พึงจำสั้นๆ ว่า รู้งานดี ทำหน้าที่ไม่บกพร่อง มือสะอาด ไม่ขาดมนุษยสัมพันธ์

(องฺ.นวก. ๒๓/๒๐๙/๓๗๖)


ค. ตั้งตนบนฐานที่มั่น ซึ่งใช้เป็นที่ยืนหยัดให้สามารถยึดเอาผลสำเร็จสูงสุดอันเป็นที่หมายได้ โดยไม่เกิดความสำคัญตนผิด ไม่เปิดช่องแก่ความผิดพลาดเสียหาย และไม่เกิดสิ่งมัวหมองหมักหมมทับถมตน ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมที่เรียกว่า อธิษฐาน (ธรรมเป็นที่มัน) ประการ คือ

๑. ปัญญา ใช้ปัญญา คือ ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ทำกิจการต่างๆ ด้วยความคิด เมื่อประสบเหตุใดๆ ก็ไม่วู่วามตามอารมณ์หรือหลงไปตามสิ่งที่เย้ายวน ศึกษาสิ่งต่างๆ ให้มีความรู้ชัด หยั่งเห็นเหตุผล เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายจนเข้าถึงความจริง

๒. สัจจะ รักษาสัจจะ คือ สงวนรักษาดำรงตนมั่นในความจริงที่รู้ชัด เห็นชัด ด้วยปัญญา เริ่มแต่จริงวาจา จริงในหลักการ จริงในการปฏิบัติ จนถึงจริงปรมัตถ์

๓. จาคะ เพิ่มพูนจาคะ คือ คอยเสริมหรือทวีความเสียสละ ให้เข้มแข็งมีกำลังแรงยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันหรือทัดทานตนไว้มิให้ตกไปเป็นทาสของลาภสักการะและผลสำเร็จเป็นต้น ที่ตนได้สร้างขึ้น อันคอยล่อเร้าเย้ายวนให้เกิดความยึดติด ลำพอง และลุ่มหลงมัวเมา สิ่งใดเคยชินเป็นนิสัยหรือเคยยึดถือไว้ แต่ผิดพลาด ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ก็สามารถละได้ทั้งหมด เริ่มแต่สละอามิสจนถึงสละกิเลส

๔. อุปสมะ รู้จักสงบใจ คือรู้จักหาความสุขสงบทางจิตใจ ฝึกตนให้สามารถระงับความมัวหมองดับความขัดข้องวุ่นวายอันเกิดจากกิเลสได้ ทำจิตใจให้สงบผ่องใสรู้จักรสแห่งสันติ คนที่รู้จักรสแห่งความสุขอันเกิดจากความสงบใจแล้ว ย่อมจะไม่หลงใหลมัวเมาในวัตถุ หรือลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น โดยง่าย

(ม.อุ. ๑๔/๖๘๒/๔๓๗)


(มีต่อ ๙)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:59 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๙. คนประสบความสำเร็จ
(ชีวิตที่ก้าวหน้าและสำเร็จ)


ผู้ที่ต้องการดำเนินชีวิตให้เจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะในด้านการศึกษา หรืออาชีพการงานก็ตาม พึงปฏิบัติตามหลักต่อไปนี้

ก. หลักความเจริญ ปฏิบัติตามหลักธรรมที่จะนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ที่เรียวกว่า จักร (ธรรมประดุจล้อทั้งสี่ที่นำรถไปสู่จุดหมาย) ซึ่งมี ข้อ คือ

๑. ปฏิรูปเทสวาสะ เลือกอยู่ถิ่นที่เหมาะ คือ เลือกหาถิ่นที่อยู่ หรือแหล่งที่เล่าเรียนดำเนินชีวิตที่ดีซึ่งมีบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่อำนวยแก่การศึกษาพัฒนาชีวิต การแสวงธรรมหาความรู้ การสร้างสรรค์ความดีงามและความเจริญก้าวหน้า

๒. สัปปุริสูปัสสยะ เสาะเสวนาคนดี คือ รู้จักเสวนาคบหาหรือร่วมหมู่กับบุคคลผู้รู้ ผู้ทรงคุณและผู้ที่จะเกื้อกูลแก่การแสวงธรรมหาความรู้ ความก้าวหน้างอกงาม และความเจริญโดยธรรม

๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ถูกวิถี คือ ดำรงตนมั่นอยู่ในธรรมและทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตั้งเป้าหมายชีวิตและการงานให้ดีงามแน่ชัด และนำตนไปถูกทางสู่จุดหมาย แน่วแน่ มั่นคง ไม่พร่าส่าย ไม่ไถลเชือนแช

๔. ปุพเพกตปุญญตา มีทุนดีได้เตรียมไว้ ทุนดีส่วนหนึ่ง คือ ความมีสติปัญญา ความถนัด และร่างกายดี เป็นต้น ที่เป็นพื้นมาแต่เดิม และอีกส่วนหนึ่ง คือ อาศัยพื้นเดิมเท่าที่ตัวมีอยู่ รู้จักแก้ไขปรับปรุงตน ศึกษาหาความรู้ สร้างเสริมคุณสมบัติ ความดีงาม ฝึกฝนความชำนิชำนาญ เตรียมไว้ก่อนแต่ต้น ซึ่งเมื่อมีเหตุต้องใช้ก็จะเป็นผู้พร้อมที่จะต้อนรับความสำเร็จ สามารถสร้างสรรค์ค์ประโยชน์สุขและก้าวสู่ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๑/๔๑)


ข. หลักความสำเร็จ ปฏิบัติตามหลักธรรม ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการนั้นๆ ที่เรียกว่า อิทธิบาท (ธรรมให้ถึงความสำเร็จ) ซึ่งมี ข้อ คือ

๑. ฉันทะ มีใจรัก คือ พอใจจะทำสิ่งนั้น และทำด้วยใจรัก ต้องการทำให้เป็นผลสำเร็จอย่างดีแห่งกิจหรืองานที่ทำ มิใช่สักว่าทำพอให้เสร็จๆหรือเพียงเพราะอยากได้รางวัลหรือผลกำไร

๒. วิริยะ พากเพียรทำ คือ ขยันหมั่นประกอบ หมั่นกระทำสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ทอดทิ้ง ไม่ท้อถอย ก้าวไปข้างหน้าจนกว่าจะสำเร็จ

๓. จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ คือ ตั้งจิตรับรู้นิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด ไม่ปล่อยจิตใจฟุ้งซ่านเลื่อนลอย ใช้ความคิดในเรื่องนั้นบ่อยๆ เสมอๆ ทำกิจหรืองานนั้นอย่างอุทิศตัวอุทิศใจ

๔. วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนเกินเลยบกพร่องขัดข้อง เป็นต้น ในสิ่งที่ทำนั้น โดยรู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น เพื่อจัดการและดำเนินงานนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป

ตัวอย่างเช่น ผู้ทำงานทั่วๆ ไป อาจจำสั้นๆ ว่า รักงาน สู้งาน ใส่ใจงาน และทำงานด้วยปัญญา

(ที.ปา. ๑๑/๒๓๑/๒๓๓)


ค. หลักเผล็ดโพธิญาณ ดำเนินตามพระพุทธปฏิปทา ด้วยการปฏิบัติตามธรรม ๒ อย่าง ที่เป็นเหตุให้พระองค์บรรลุสัมโพธิญาณ เรียกว่า อุปัญญาตธรรม (ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติเห็นคุณประจักษ์กับพระองค์เอง) คือ

๑. อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ ไม่สันโดษในกุศลธรรม คือ ไม่รู้อิ่ม ไม่รู้พอ ในการสร้างสรรค์ความดีและสิ่งที่ดี

๒. อปฺปฏิวาณิตา จ ปธานสฺมึ บำเพ็ญเพียรไม่ระย่อ คือ เพียรพยายามก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ยอมถอยหลัง ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมท้อถอยต่ออุปสรรคและความเหน็ดเหนื่อยยากลำบาก

(ที.ปา. ๑๑/๒๒๗/๒๒๓)


(มีต่อ ๑๐)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 9:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๐. คนรู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพ
(ชีวิตที่เป็นหลักฐาน)


คนที่จะเรียกได้ว่า รู้จักหา รู้จักใช้ทรัพย์ หรือหาเงินเป็น ใช้เงินเป็น เป็นคนทำมาหากินที่ดี ตั้งตัวสร้างหลักฐานได้ และใช้ทรัพย์สมบัติให้เป็นประโยชน์ เป็นผู้ปฏิบัตหน้าที่ทางเศรษฐกิจอย่างถูกต้อง ก็เพราะปฏิบัติตามหลักธรรมต่อไปนี้

ก. ขั้นหาและรักษาสมบัติ ปฏิบัติตามหลักธรรมที่เป็นไปเพื่อนประโยชน์ปัจจุบัน หรือหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น ที่เรียกว่า ทิฏฐธัมมิกัตถสังสัตตนิกธรรม * ๔ ประการ

๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ ขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติหน้าที่การงาน และการประกอบอาชีพที่สุจริต ฝึกฝนให้มีความชำนิชำนาญและรู้จริง รู้จักใช้ปัญญาสอดส่องตรวจตรา หาวิธีการที่เหมาะที่ดีจัดการและดำเนินการให้ได้ผลดี

๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือ รู้จักคุ้มครอง เก็บรักษาโภคทรัพย์และผลงานที่ตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียรโดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตน ไม่ให้เป็นอันตรายหรือเสื่อมเสีย

๓. กัลยาณมิตตตา คบหาคนดีเป็นมิตร คือ รู้จักเสาวนาคบหาคน ไม่คบไม่เอาอย่างผู้ที่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย เลือกเสวนาศึกษาเยี่ยงอย่างท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ ผู้มีความสามารถ ผู้น่าเคารพนับถือ และมีคุณสมบัติเกื้อกูลแก่อาชีพการงาน

๔. สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตแต่พอดี คือ รู้จักกำหนดรายได้และรายจ่าย เป็นอยู่พอดีสมรายได้ มิให้ฝืดเคืองหรือฟุ่มเฟือย ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีประหยัดเก็บไว้

(องฺ.อฎฺฐก. ๒๓/๑๔๔/๒๘๙)


ข. ขั้นแจงจัดสรรทรัพย์ เมื่อหาทรัพย์มาได้แล้ว รู้จักจัดสรรทรัพย์นั้น โดยถือหลักการแบ่งทรัพย์เป็น ๔ ส่วนที่เรียกว่า โภควิภาค ๔ คือ

- เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย ๑ ส่วน ใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุงเลี้ยง และทำประโยชน์
- ทฺวีหิ กมฺม์ ปโยชเย ๒ ส่วน ใช้เป็นทุนประกอบการงาน
- จตุตฺถญฺ นิธาเปยฺย อีก ๑ ส่วน เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น

(ที.ปา. ๑๑/๑๙๗/๒๐๒)


ค. ขั้นจับจ่ายกินใช้ พึงเข้าใจและคำนึงไว้เสมอว่า การที่เพียรพยายามแสวงหา รักษา และครอบครองโภคทรัพย์ไว้นั้น ก็เพื่อจะใช้ให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตนและคนอื่น ถ้าไม่ใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดคุณประโยชน์แล้ว การหาและการมีทรัพย์สมบัติก็ปราศจากคุณค่า หาความหมายใดๆมิได้ ดังนั้น เมื่อมีทรัพย์หรือหาทรัพย์มาได้แล้ว พึงปฏิบัติต่อทรัพย์หนึ่งส่วนแรกในข้อ ข. ตามหลัก โภคาทิยะ (ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคะ หรือ เหตุผลที่อริยสาวกควรยึดถือ ในการที่จะมีหรือครอบครองทรัพย์สมบัติ) ประการ ดังพุทธพจน์ว่า

อริยสาวกแสวงหาโภคทรัพย์มาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยทางสุจริตชอบธรรมแล้ว

๑. เลี้ยงตัว เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภรรยา และคนในปกครองทั้งหลายให้เป็นสุข
๒. บำรุงมิตรสหาย และผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข
๓. ใช้ปกป้องรักษาสวัสดิภาพ ทำตนให้มั่นคงปลอดภัยจากภยันตราย
๔. ทำพลี คือ สละเพื่อบำรุงและบูชา ๕ อย่าง

(๑) ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
(๒) อติถิพลี ต้อนรับแขก
(๓) ปุพพเปตพลี ทำบุญหรือสักการะอุทิศผู้ล่วงลับ
(๔) ราชพลี บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร เป็นต้น
(๕) เทวตาพลี ถวายเทวดา คือ ทำบุญอุทิศสิ่งที่เคารพบูชาตามความเชื่อถือ

๕. อุปถัมภ์บำรุงพระสงฆ์ และเหล่าบรรพชิตผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา

เมื่อได้ใช้โภคทรัพย์ทำประโยชน์อย่างนี้แล้ว ถึงโภคะจะหมดสิ้นไปก็สบายใจได้ว่า ได้ใช้โภคะนั้นให้เป็นประโยชน์ถูกต้องตามเหตุผลแล้ว ถึงโภคะเพิ่มขึ้น ก็สบายใจเช่นเดียวกัน เป็นอันไม่ต้องเดือดร้อนใจในทั้งสองกรณี

(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๑/๔๘)

การใช้จ่ายใน ๕ ข้อนี้ ท่านมุ่งแจกแจงรายการที่พึงจ่ายให้รู้ว่าควรใช้ทรัพย์ทำอะไรบ้าง มิใช่หมายความว่าให้แบ่งส่วนเท่ากันไปทุกข้อ นอกจากนั้น ท่านมุ่งกล่าวเฉพาะรายการที่พึงจ่ายเป็นประจำสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าผู้ใดสามารถก็ควรบำเพ็ญประโยชน์ให้มากขึ้นไปอีก ตามหลัก สังคหวัตถุ (ในบทที่ ๔) เป็นต้น


(มีต่อ ๑๑)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 9:00 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๑. คนครองเรือนที่เลิศล้ำ
(ชีวิตบ้านที่สมบูรณ์)


คนที่จะเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในการครองเรือนเป็นคฤหัสถ์หรือ ชาวบ้านที่ดี น่าเคารพนับถือเป็นแบบฉบับ ควรถือเป็นตัวอย่าง จะต้องวัดด้วยหลักเกณฑ์ ดังนี้

ก. มีความสุขสี่ประการ คือ ความสุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมีหรือความสุขที่ชาวบ้านควรพยายามทำให้เกิดขึ้นแก่ตนอยู่เสมอ เรียกสั้นๆ ว่า สุขของคฤหัสถ์ (กามโภคีสุข) ๔ คือ

๑. อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มและอุ่นใจว่าตนมีโภคทรัพย์ ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตนและโดยทางชอบธรรม

๒. โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า ตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้นเลี้ยงตัว เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงผู้ที่ควรเลี้ยง และบำเพ็ญคุณประโยชน์

๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า ตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติตค้างใคร

๔. อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจว่า ตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครติเตียนไม่ได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

บรรดาสุข ๔ อย่างนี้ อนวัชชสุขมีค่ามากที่สุด

(อ.งฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๒/๙๑)


ข. เป็นชาวบ้านแบบฉบับ คนครองเรือน แยกได้เป็นหลายประเภท จัดเป็นขั้นๆ ได้ตั้งแต่ร้ายไปถึงดี และที่ดีก็มีหลายระดับ คฤหัสถ์ที่ดี น่าเคารพนับถือแท้จริง คือประเภทที่ ๑๐ ใน ชาวบ้าน ๑๐ ประเภท ดังต่อไปนี้

กลุ่มที่ ๑ หาทรัพย์โดยทางไม่ชอบธรรม

๑. ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี (เสียทั้ง ๓ ส่วน)

๒. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี (เสีย ๒ ส่วน ดี ๑ ส่วน)

๓. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขด้วย เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดีด้วย (เสีย ๑ ส่วน ดี ๒ ส่วน)

กลุ่มที่ ๒ หาชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง

๔. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ ๑ (เสีย ๓ ดี ๑)
๕. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ ๒ (เสีย ๒ ดี ๒)
๖. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ ๓ (เสีย ๑ ดี ๓)

กลุ่มที่ ๓ หาโดยชอบธรรม

๗. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ ๑ (เสีย ๒ ดี ๑)
๘. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ ๒ (เสีย ๑ ดี ๒)

๙. ได้ทรัพย์มาแล้ว ทำอย่างข้อ ๓ แต่ยังติด ยังมัวเมา หมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติ โดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหรือโภคทรัพย์ได้ (เสีย ๑ ดี ๓)

พวกพิเศษ ผู้ที่แสวงหาชอบธรรมและใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มีจิตใจเป็นอิสระ มีลักษณะดังนี้

๑๐. แสวงหาทรัพย์โดยทางชอบธรรม; ได้มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข; เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี; ไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษ ทางดีทางเสียของมัน มีปัญญา ทำตนให้เป็นอิสระหลุดพ้น เป็นนายเหนือโภคทรัพย์

ประเภทที่ ๑๐ นี้ พระพุทธเจ้าสรรเสริญว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐ สูงสุด ควรชมทั้ง ๔ สถาน คือ เป็นคฤหัสถ์แบบฉบับที่น่าเคารพนับถือ

(องฺ.ทสก. ๒๔/๙๑/๑๘๘)


ค. กำกับชีวิตด้วยธรรมสี่ คือ ปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับการครองชีวิตของคฤหัสถ์ ที่เรียกว่า ฆราวาสธรรม ๔ ประการ ดังนี้

๑. สัจจะ ความจริง คือ ดำรงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง จะทำอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้

๒. ทมะ ฝึกตน คือ บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

๓. ขันติ อดทน คือ มุ่งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็งอดทน ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย

๔. จาคะ เสียสละ คือ มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ ชอบช่วยเหลือเกื้อกูล บำเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิมานะได้ ร่วมงานกับคนอื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน

(ขุ.สุ. ๒๕/๓๑๑/๓๖๑)


ง. รับผิดชอบชีวิตที่เกี่ยวข้อง คือ มีความสัมพันธ์อันดีงามอบอุ่นเป็นสุขภายในครอบครัว ตลอดถึงญาติมิตร ผู้ร่วมงานและคนที่พึ่งพาอาศัยอยู่ในปกครองทั้งหมด โดยทำหน้าที่มิใช่เพียงนำประโยชน์ทางวัตถุมาให้เขาอย่างเดียว แต่นำประโยชน์สุขทางจิตใจมาให้ด้วย โดยประพฤติตนเป็นตัวอย่าง ช่วยชักจูงให้คนในครอบครัวและผู้เกี่ยวข้องใกล้ชิดทั้งหลายเจริญงอกงามขึ้นด้วยคุณธรรมที่เรียกว่า อารยวัฒิ ทั้ง ดังต่อไปนี้

๑. งอกงามด้วยศรัทธา คือ ให้มีความเชื่อมั่นใจในพระรัตนตรัยและในการที่จะทำความดี มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ

๒. งอกงามด้วยศีล คือ ให้มีความประพฤติดีงาม สุจริต รู้จักเลี้ยงชีวิต มีวินัยและมีกิริยามารยาทอันงาม

๓. งอกงามด้วยสุตะ คือ ให้มีความรู้จักการเล่าเรียนสดับฟัง โดยแนะนำหรือขวนขวายให้ศึกษาความรู้ที่จะฟื้นฟูปรับปรุงชีวิตจิตใจ

๔. งอกงามด้วยจาคะ คือ ให้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจต่อกัน และพอใจทำประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์

๕. งอกงามด้วยปัญญา คือ ให้มีความรู้คิด เข้าใจเหตุผล รู้ดี รู้ชั่ว รู้คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มองสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง มีวิจารณญาณ รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาเหตุปัจจัย แก้ไขปัญหาและจัดทำดำเนินการต่างๆ ให้ได้ผลดี

(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๐/๔๗)


จ. ครองตนเป็นพลเมืองที่ดี นำชีวิตและครอบครัวของตนไปสู่ความเจริญ สงบสุข และเป็นพลเมืองที่สร้างสรรค์สังคม โดยประพฤติดังนี้

๑. น สาธารณทารสฺส ไม่คบชู้สู่หามัวหมกมุ่นในทางเพศ
๒. น ภุญฺเช สาธุเมกโก ไม่ใจแคบเสพสิ่งเลิศรสผู้เดียว
๓. นเสเว โลกายติกํ ไม่พร่าเวลาถกถ้อยที่เลื่อนลอยไร้สาระ
๔. สีลวา ประพฤติดี มีวินัย ตั้งอยู่ในศีล ๕
๕. วตฺตสมฺปนฺโน ปฏิบัติกิจหน้าที่สม่ำเสมอโดยสมบูรณ์
๖. อปฺปมตฺโต ไม่ประมาท กระตือรือร้นทุกเวลา
๗. วิจกฺขโณ มีวิจารณญาณ ทำการโดยใช้ปัญญา
๘. นิวาตวุตฺติ อตฺถทฺโธ สุภาพ ไม่ดื้อกระด้าง ยินดีรับฟังผู้อื่น
๙. สุรโต เสงี่ยมงาม รักความประณีตสะอาดเรียบร้อย
๑๐. สขิโล มุทุ พูดจาน่าฟัง ทั้งใจกายก็อ่อนโยน ไม่หยาบคาย
๑๑. สงฺคเหตา จ มิตฺตานํ มีน้ำใจเอื้อสงเคราะห์ต่อมิตรสหาย
๑๒. สํวิภาคี เผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือคนทั่วไป
๑๓. วิธานวา รู้จักจัดการงานให้เรียบร้อยและได้ผลดี
๑๔. ตปฺเปยฺย บำรุงพระสงฆ์ทรงความรู้ ผู้ทรงศีลทรงธรรม
๑๕. ธมฺมกาโม ใคร่ธรรม รักความสุจริต
๑๖. สุตาธโร อ่านมากฟังมาก รู้วิชาของตนเชี่ยวชาญ
๑๗. ปริปุจฺฉโก ชอบสอบถามค้นคว้า ใฝ่หาความรู้ยิ่งขึ้นไป

(ขุ.ชา. ๒๘/๙๔๙/๓๓๒)


(มีต่อ ๑๒)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๒. คนไม่หลงโลก
(ชีวิตที่ไม่ถลำพลาด)


บุคคลที่ไม่ประมาทมัวเมาจนตกเป็นทาสของโลกและชีวิต อย่างที่เรียกได้ว่า หลงโลก เมาชีวิต ก็เพราะมีสติ รู้จักมอง รู้จักพิจารณา รู้จักวางตัววางใจต่อความจริงต่างๆ อันมีประจำอยู่กับโลกและชีวิตเป็นคติธรรมดา ดังนี้

ก. รู้ทันโลกธรรม คือ รู้จักพิจารณา รู้เท่าทัน ตั้งสติให้ถูกต้องต่อสภาวะอันหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในชีวิตที่อยู่ท่ามกลางโลก ซึ่งเรียกว่า โลกธรรม (ธรรมดาของโลกหรือความเป็นไปตามคติธรรมดา ซึ่งหมุนเวียนมาหาชาวโลก และชาวโลกก็หมุนเวียนตามมันไป) ประการ คือ

ชื่นชม ขมขื่น
๑. ได้ลาภ ๒. เสื่อมลาภ
๓. ได้ยศ ๔. เสื่อมยศ
๕. สรรเสริญ ๖. นินทา
๗. สุข ๙. ทุกข์


โลกธรรม ๘ นี้ จัดเป็น ๒ ฝ่าย คือ ที่ชื่นชมน่าปรารถนาชอบใจ คนทั่วไปอย่างได้ เรียกว่า อิฏฐารมณ์ พวกหนึ่ง ที่ขมขื่นไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ คนทั่วไปเกลียดกลัว เรียกว่า อนิฏฐารมณ์ พวกหนึ่ง แต่จะชอบใจอยากได้หรือไม่ก็ตาม โลกธรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้แก่ทุกคน ทั้งแก่ปุถุชนผู้ไม่มีการศึกษา และแก่อริยสาวกผู้มีการศึกษา จะแตกต่างกันก็แต่การวางใจและการปฏิบัติตนต่อสิ่งเหล่านี้ กล่าวคือ

๑. ปุถุชนผู้ไม่มีการศึกษา ไม่รู้จักฝึกอบรมตน ย่อมไม่เข้าใจ ไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริง ลุ่มหลงลืมตน ยินดียินร้าย คราวได้ก็หลงใหลมัวเมาหรือลำพองจนเหลิงลอย คราวเสียก็หงอยละเหี่ยหมดกำลังหรือถึงกับคลุ้มคลั่งไป ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไป ไม่พ้นจากทุกข์โศก

๒. ส่วนผู้มีการศึกษา เป็นอริยสาวก รู้จักพิจารณารู้เท่าทันตามความเป็นจริงว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง ไม่คงทน ไม่สมบูรณ์ มีความแปรปรวนได้เป็นธรรมดา จึงไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ไม่ขุ่นมัวหม่นหมองคลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ได้ วางตัววางใจพอดี ไม่เหลิงในสุขและไม่ถูกทุกข์ท่วมทับ

ยิ่งกว่านั้น อริยสาวกอาจใช้โลกธรรมเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น ใช้อนิฏฐารมณ์เป็นบทเรียน บททดสอบ หรือเป็นแบบฝึกหัดในการพัฒนาตนและใช้อิฏฐารมณ์เป็นโอกาสหรือเป็นอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ความดีงามและบำเพ็ญคุณประโยชน์ให้ยิ่งขึ้นไป

(องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๙๖/๑๕๙)


ข. ไม่มองข้ามเทวทูต คือ รู้จักมอง รู้จักพิจารณาสภาวะที่ปรากฏอยู่เสมอในหมู่มนุษย์อันเป็นสัญญาณเตือนใจให้ระลึกถึงคติธรรมดาของชีวิตที่ไม่ควรลุ่มหลงมัวเมา ซึ่งเรียกว่า เทวทูต (สื่อแจ้งข่าวของยมเทพ หรือตัวแทนของพญายม) อย่างคือ

๑. เด็กอ่อน ว่าคนเราทุกคนเกิดมา ก็อย่างนี้ เพียงเท่านี้
๒. คนแก่ ว่าทุกคน หากมีชีวิตอยู่ได้นาน ก็ต้องประสบภาวะเช่นนี้
๓. คนเจ็บ ว่าภาวะเช่นนี้ เราทุกคนอาจประสบได้ด้วยกันทั้งนั้น
๔. คนต้องโทษ ว่ากรรมชั่วนั้น ไม่ต้องพูดถึงตายไป แม้ในบัดนี้ก็มีผลเดือดร้อนเป็นทุกข์
๕. คนตาย ว่าภาวะเช่นนี้ เราทุกคนต้องได้พบ ไม่มีใครพ้น และกำหนดไม่ได้ว่า ที่ไหน เมื่อใด

มองเห็นสภาพเช่นนี้เมื่อใด เช่น เมื่อผ่านเข้าไปในสุสาน ทัณฑสถานและโรงพยาบาลเป็นต้น ก็มิให้มีใจหดหู่หรือหวาดกลัว แต่ให้มีสติ รู้จักใช้ปัญญาพิจารณา จะได้เกิดความสังเวช เร่งขวนขวายประกอบแต่กัลยาณกรรม คือ การกระทำที่ดีงาม ดำเนินชีวิตด้วยความไม่มัวเมา ไม่ประมาท

(ม.อุ. ๑๔/๕๐๗/๓๓๕)


ค. คำนึงสูตรแห่งชีวิต แม้ไม่ใช่เวลาที่มองเห็นเทวทูตก็ควรพิจารณาอยู่เสมอ ตามหลักที่เรียกว่า อภิณหปัจจเวกขณ์ (สิ่งที่ทุกคน ไม่ว่าหญิง ไม่ว่าชาย ไม่ว่าชาวบ้าน ไม่ว่าชาววัด ควรหัดพิจารณาเนืองๆ) ซึ่งมีอยู่ ๕ ประการ คือ

๑. ชราธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้

๒. พยาธิธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้

๓. มรณธัมมตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

๔. ปิยวินาภาวตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจักต้องประสบความพลัดพรากทั้งจากคนและของที่รักที่ชอบใจไปทั้งสิ้น

๕. กัมมัสสกตา ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น

เมื่อพิจารณาอยู่เสมออย่างนี้ ก็จะช่วยป้องกันความมัวเมา ในความเป็นหนุ่มสาว ในทรัพย์สมบัติ และในชีวิต เป็นต้น บรรเทาความลุ่มหลง ความถือมั่นยึดติด และป้องกันการทำความทุจริต ทำให้เร่งขวนขวายทำแต่สิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์

(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๗/๘๑)


(มีต่อ ๑๓)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 9:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

หมวดสาม คนกับคน
.........................................

๑๓. คนร่วมชีวิต
(คู่ครองที่ดี)


คู่ครองที่ดี ที่จะเป็นคู่ร่วมชีวิตกันได้ นอกจากกามคุณแล้ว ควรมีคุณสมบัติและประพฤติตามข้อปฏิบัติ ดังนี้

ก. คู่สร้างคู่สม มีหลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสอดคล้องกลมกลืนกัน เป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองกันได้ยืดยาว เรียกว่า สมชีวิธรรม ๔ ประการ คือ

๑. สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชาแนวความคิดความเชื่อถือ หรือหลักการต่างๆ ตลอดจนแนวความสนใจอย่างเดียวกัน หนักแน่นเสมอกัน หรือปรับเข้าหากันได้ ลงกันได้

๒. สมสีลา มีศีลสมกัน มีความประพฤติ ศีลธรรม จรรยา มารยาท พื้นฐานการอบรม พอเหมาะสอดคล้องไปกันได้

๓. สมจาคา มีจาคะสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความมีใจกว้าง ความเสียสละ ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น พอกลมกลืนกัน ไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน

๔. สมปัญญา มีปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง

(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๕๕/๘๐)


ข. คู่ชื่นชมคู่ระกำ หรือ คู่บุญคู่กรรม คือ คู่ครองที่มีคุณธรรม ลักษณะนิสัยความประพฤติปฏิบัติ การแสดงออกต่อกันที่ทำให้เกื้อกูลกันหรือถูกกันก็มี ต้องยอมทนกันหรืออยู่กันอย่างขมขื่นก็มี ในกรณีนี้ ท่านแสดง ภรรยา ประเภทต่างๆ ไว้ ประเภท ดังนี้

๑. วธกาภริยา ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต คือ ภรรยาที่มิได้อยู่กินด้วยความพอใจ ดูหมิ่นและคิดทำลายสามี

๒. โจรีภริยา ภรรยาเยี่ยงโจร คือ ภรรยาที่ชนิดที่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ

๓. อัยราภริยา ภรรยาเยี่ยงนาย คือ ภรรยาที่เกียจคร้าน ไม่ใส่ใจการงาน ปากร้าย หยาบคาย ชอบข่มสามี

๔. มาตาภริยา ภรรยาเยี่ยงมารดา คือ ภรรยาที่หวังดีเสมอ คอยห่วงใยเอาใจใส่ สามีหาทรัพย์มาได้ก็เอาใจใส่คอยประหยัดรักษา

๕. ภคินีภริยา ภรรยาเยี่ยงน้องสาว คือ ภรรยาผู้เคารพรักสามี ดังน้องรักพี่ มีใจอ่อนโยน รู้จักเกรงใจ มักคล้อยตามสามี

๖. สขีภริยา ภรรยาเยี่ยงสหาย คือ ภรรยาที่เป็นเหมือนเพื่อน มีจิตภักดี เวลาพบสามีก็ร่าเริงยินดี วางตัวดี ประพฤติดี มีกิริยามารยาทงาม เป็นคู่คิดคู่ใจ

๗. ทาสีภริยา ภรรยาเยี่ยงนางทาสี คือ ภรรยาที่ยอมอยู่ใต้อำนาจสามี ถูกสามีตะคอกตบตี ก็อดทน ไม่แสดงความโกรธตอบ

(องฺ.สตฺตก. ๒๓/๖๐/๙๒)

ท่านสอนให้ภรรยาสำรวจตนว่า ที่เป็นอยู่ ตนเป็นภรรยาประเภทไหน ถ้าจะให้ดี ควรเป็นภรรยาประเภทใด สำหรับชายอาจใช้เป็นหลักสำรวจอุปนิสัยของตนว่าควรแก่หญิงประเภทใดเป็นคู่ครอง และสำรวจหญิงที่จะเป็นคู่ครองว่าเหมาะกับอุปนิสัยตนหรือไม่

แม้สามีก็ย่อมมีหลายประเภท พึงเทียบเอาจากภรรยาประเภทต่างๆ เหล่านั้น


ค. คู่ศีลธรรมคู่ความดี เอาหลักธรรมสำหรับการครองเรือน คือ ฆราวาสธรรม ๔ ประการ มาใช้ต่อกันในบ้านด้วย ดังนี้

๑. สัจจะ ความจริง คือ ซื่อสัตย์ต่อกัน ทั้งจริงใจ จริงวาจา และจริงในการกระทำ

๒. ทมะ ฝึกตน คือ รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่องข้อขัดแย้ง ปรับตัวปรับใจเข้าหากัน และปรับปรุงตนให้ดีงามยิ่งขึ้นไป

๓. ขันติ อดทน คือ มีจิตใจเข้มแข็งหนักแน่น ไม่วู่วาม ทนต่อ ความล่วงล้ำก้ำเกินกัน และร่วมกันอดทนต่อความเหนื่อยยากลำบากตรากตรำ ฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วยกัน

๔. จาคะ เสียสละ คือ มีน้ำใจ สามารถเสียสละความสุขสำราญความพอใจส่วนตนเพื่อคู่ครองได้ เช่น อดหลับอดนอนพยาบาลกันในยามเจ็บไข้ เป็นต้น ตลอดจนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อญาติมิตรสหายของคู่ครอง ไม่ใจแคบ

(สํ.ส. ๑๕/๘๔๕/๓๑๖)


ง. คู่ถูกหน้าที่ต่อกัน สงเคราะห์ อนุเคราะห์กัน ตามหลักปฏิบัติในทิศ ๖ ข้อที่ว่าด้วย ทิศเบื้องหลัง คือ

สามีปฏิบัติต่อภรรยา โดย

๑. ยกย่องให้เกียรติสมฐานะที่เป็นภรรยา
๒. ไม่ดูหมิ่น
๓. ไม่นอกใจ
๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
๕. หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส

ภรรยาอนุเคราะห์สามี โดย

๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒. สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓. ไม่นอกใจ
๔. รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕. ขยัน ช่างจัดช่างทำ เอางานทุกอย่าง

(ที.ปา. ๑๑/๒๐๑/๒๐๔)


จ. พ่อบ้านเห็นใจภรรยา สตรีมีความทุกข์จำเพาะตัวอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากผู้ชาย ซึ่งสามีพึงเข้าใจและพึงปฏิบัติด้วยความเอาใจใส่ เห็นอกเห็นใจ คือ

๑. ผู้หญิงต้องจากหมู่ญาติมาอยู่กับตระกูลของสามี ทั้งที่ยังเป็นเด็กสาว สามีควรให้ความอบอุ่นใจ

๒. ผู้หญิงมีระดู ซึ่งบางคราวก่อปัญหาให้เกิดความแปรปรวนทั้งใจกาย ฝ่ายชายควรเข้าใจ

๓. ผู้หญิงมีครรภ์ ซึ่งยามนั้นต้องการความเอาใจใส่บำรุงกายใจเป็นพิเศษ

๔. ผู้หญิงคลอดบุตร ซึ่งเป็นคราวเจ็บปวดทุกข์แสนสาหัส และเสี่ยวชีวิตมาก สามีควรใส่ใจเหมือนเป็นทุกข์ของตน

๕. ผู้หญิงต้องคอยปรนเปรอเอาใจฝ่ายชาย ฝ่ายชายไม่ควรเอาแต่ใจตัว พึงซาบซึ้งในความเอื้อเฟื้อและมีน้ำใจตอบแทน

(นัย สํ.สฬ. ๑๘/๔๖๒/๒๙๗)


(มีต่อ ๑๔)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๔. คนรับผิดชอบตระกูล
(หัวหน้าครอบครัวที่ดี)


ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัว นอกจากปฏิบัติตามหลักธรรมอื่นๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เช่น เป็นคนที่รู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นต้นแล้ว พึงปฏิบัติตามหลักธรรมเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อวงศ์ตระกูลบางอย่าง ต่อไปนี้

ก. รักษาตระกูลให้คงอยู่ โดยปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน หรือเหตุที่ทำให้ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ได้นาน เรียกว่า กุลจิรัฏฐิติธรรม ๔ อย่าง คือ

๑. นัฏฐคเวสนา ของหายหมด รู้จักหามาไว้
๒. ชิณณปฏิสังขรณา ของเก่าของชำรุด รู้จักบูรณะซ่อมแซม
๓. ปริมิตปานโภชนา รู้จักประมาณในการกิน การใช้
๔. อธิปัจจสีสวันตสถาปนา ตั้งหญิงหรือชายมีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน

(องฺ.จุตกฺก. ๒๑/๒๕๙/๓๓๗)


ข. บูชาคนที่เหมือนไฟ บุคคลต่อไปนี้เปรียบเหมือนไฟ ถ้าปฏิบัติถูกต้องย่อมเกิดคุณมาก แต่ถ้าปฏิบัติผิดอาจเกิดโทษร้ายแรง เป็นเหมือนไฟเผาผลาญตัว จึงควรปฏิบัติดุจพวกนับถือการบูชาไฟในสมัยโบราณ บำเรอไฟที่ตนบูชาด้วยความเอาใจใส่ระมัดระวังตั้งใจทำให้ถูกต้อง เพราะมีความเคารพยำเกรง เรียกว่า อัคคิปาริจริยา (ไฟที่ควรบำรุง หรือบุคคลที่ควรบูชาด้วยการใส่ใจบำรุงเลี้ยง และให้ความเคารพนับถือตามควรแก่ฐานะ ดุจไหบูชาของผู้บูชาไฟ) มี ๓ อย่าง คือ

๑. อาหุไนยัคคิ ไฟที่ควรแก่ของคำนับ ได้แก่บิดามารดา
๒. คหปตัคคิ ไฟประจำตัวเจ้าบ้าน ได้บุตร ภรรยา และคนในปกครอง
๓. ทักขิไณยัคคิ ไฟทักขิไณย ได้แก่บรรพชิต หรือพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล ซึ่งทำหน้าที่สั่งสอน ผดุงธรรม ที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ไม่ประมาทมัวเมา

(ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๒๙)


ค. ใส่ใจบุตรธิดา ในฐานะที่เป็นบิดามารดา พึงรู้จัก บุตร ๓ ประเภท และ ให้การศึกษาอบรมให้เป็นบุตรชนิดที่ดีที่สุด คือ

๑. อภิชาติบุตร บุตรที่ยิ่งกว่าบิดามารดา ดีเลิศกว่าพ่อแม่
๒. อนุชาติบุตร บุตรที่ตามเยี่ยงบิดามารดา เสมอด้วยพ่อแม่
๓. อวชาติบุตร บุตรที่ต่ำลงกว่าบิดามารดา เสื่อทรามทำลายวงศ์ตระกูล

(ขุ.อิติ. ๒๕/๒๕๒/๒๗๙)


ง. ทำหน้าที่ผู้มาก่อน คือ พึงอนุเคราะห์บุตรธิดาตามหลักปฏิบัติในฐานะที่บิดามารดาเป็นเสมือน ทิศเบื้องหน้า ดังนี้

๑. ห้ามปรามป้องกันจากความชั่ว
๒. ดูแลฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔. เป็นธุระในเรื่องจะมีคู่ครองที่สมควร
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

(ที.ปา. ๑๑/๑๙๘/๒๐๒)


จ. เป็นราษฎรที่มีคุณภาพ ครอบครัวเป็นหน่วยสังคมพื้นฐาน ที่จะเป็นส่วนประกอบช่วยให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคง ดังนั้น หัวหน้าครอบครัวที่ดี พึงเป็นราษฎรที่ดีของรัฐด้วย โดยครองตนเป็นพลเมืองที่ดีตามหลักปฏิบัติในบทที่ ๑๑ ข้อ จ.


(มีต่อ ๑๕)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 9:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๕. คนสืบตระกูล
(ทายาทที่ดี)


ผู้เป็นทายาท นอกจากจะรับทรัพย์สมบัติและวงศ์ตระกูลมารักษาสืบต่อแล้ว จะต้องรับเอาหน้าที่และคุณธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรักษาวงศ์ตระกูลมาปฏิบัติสืบต่อไปด้วย แต่ในเบื้องต้น ในฐานะที่เป็นทายาทที่ดี พึงปฏิบัติตามหลักธรรมต่อไปนี้

ก. เปิดประตูสู่ความเจริญก้าวหน้า ดำเนินตามหลักธรรมที่เป็นทวารแห่งประโยชน์สุข หรือข้อปฏิบัติที่เป็นดุจประตูชัยอันเปิดออกไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของชีวิต ที่เรียกว่า วัฒนมุข ๖ ประการ ต่อไปนี้

๑. อาโรคยะ รักษาสุขภาพดี มีลาภอันประเสริฐ คือความไร้โรคทั้งจิตและกาย

๒. ศีล มีระเบียบวินัย ประพฤติดีมีมรรยาทงาม ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม

๓. พุทธานุมัต ได้คนดีเป็นแบบอย่าง ศึกษาเยี่ยงนิยมแบบอย่างของมหาบุรุษพุทธชน

๔. สุตะ ตั้งใจเรียนให้รู้จริง เล่าเรียนค้นคว้าให้รู้เชี่ยวชาญ ใฝ่สดับเหตุการณ์ให้รู้เท่าทัน

๕. ธรรมานุวัติ ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม ดำรงมั่นในสุจริต ทั้งชีวิตและงาน ดำเนินตามธรรม

๖. อลีนตา มีความขยันหมั่นเพียร มีกำลังใจแข็งกล้า ไม่ท้อถอยเฉื่อยชา เพียรก้าวหน้าเรื่อยไป

(ขุ.ชา. ๒๗/๘๔/๒๗)


ข. ปิดช่องทางที่เข้ามาของความเสื่อม หลีกเว้นความประพฤติที่เป็นช่องทางของความเสื่อมความพินาศ ซึ่งจะเป็นเหตุให้โภคทรัพย์ย่อยยับไป ที่เรียกว่า อบายมุข ๖ ประการคือ

๑. ติดสุรายาเมา ซึ่งมีโทษ ๖

๑.๑ ทรัพย์หมดไปๆ เห็นชัดๆ
๑.๒ ก่อการทะเลาะวิวาท
๑.๓ ทำลายสุขภาพ
๑.๔ เสื่อมเกียรติเสียชื่อเสียง
๑.๕ ทำให้แสดงด้าน ไม่รู้จักอาย
๑.๖ ทอนกำลังปัญญา

๒. เอาแต่เที่ยวกลางคืน ซึ่งมีโทษ ๖

๒.๑ เป็นการไม่รักษาตัว
๒.๒ เป็นการไม่รักษาลูกเมีย
๒.๓ เป็นการไม่รักษาทรัพย์สมบัติ
๒.๔ เป็นที่ระแวงสงสัย
๒.๕ เป็นเป้าให้เขาใส่ความหรือข่าวลือ
๒.๖ เป็นทางมาของเรื่องเดือดร้อนเป็นอันมาก

๓. จ้องจะดูการเล่น ซึ่งมีโทษทำให้การงานเสื่อมเสีย เพราะใจกังวลคอยคิดจ้องและเสียเวลาเมื่อไปดูสิ่งนั้นๆ เช่น เต้นรำที่ไหน ขับร้องดนตรีที่ไหน ไปที่นั่น

๔. ไม่เว้นการพนัน ซึ่งมีโทษ ๖

๔.๑ เมื่อชนะ ย่อมก่อเวร
๔.๒ เมื่อแพ้ ก็เสียดายทรัพย์ที่เสียไป
๔.๓ ทรัพย์หมดไปๆ เห็นชัดๆ
๔.๔ เข้าที่ประชุม เขาไม่เชื่อถือถ้อยคำ
๔.๕ เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อนฝูง
๔.๖ ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้จะหาคู่ครองให้ลูกของเขา เพราะเห็นว่าจะเลี้ยงลูกเมียไม่ไหว

๕. มั่วสุมมิตรชั่ว ซึ่งมีโทษทำให้กลายเป็นคนชั่วอย่างคนที่ตนคบ ทั้ง ๖ ประเภท คือ ได้เพื่อนที่ชักนำให้กลายเป็นนักการพนัน นักเลงผู้หญิง นักเลงเหล้า นักลวงของปลอม นักหลอกนักต้ม และนักเลงหัวไม้

๖. มัวแต่เกียจคร้าน ซึ่งมีโทษ ทำให้ยกเหตุต่างๆ เป็นข้ออ้าง ผัดเพี้ยนไม่ทำการงาน โภคะใหม่ก็ไม่เกิด โภคะที่มีอยู่ก็หมดสิ้นไป คือ ให้อ้างไปทั้ง ๖ กรณี ว่า หนาวนัก ร้อนนัก เย็นไปแล้วยังเช้านัก หิวนัก อิ่มนัก แล้วไม่ทำการงาน

(ที.ปา. ๑๑/๑๗๙/๑๙๖)


ค. เชื่อมสายสัมพันธ์กับบุรพการี คือ ในฐานะที่เป็นบุตรธิดา พึงเคารพบิดามารดา ผู้เปรียบเสมือน ทิศเบื้องหน้า ดังนี้

๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอน
๒. ช่วยทำกิจธุรการงานของท่าน
๓. ดำรงวงศ์สกุล
๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

(ที.ปา. ๑๑/๑๙๙/๒๐๒)


ง. มีหลักประกันของชีวิตที่พัฒนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ลูกๆ คือเด็กทั้งหลาย เป็นฐานรองรับมนุษยชาติ ลูกในครอบครัวคือเด็กในสังคม ควรได้รับการฝึกอบรมให้เป็นผู้มีคุณสมบัติที่เป็นต้นทุนในตัว ซึ่งจะทำให้พร้อมที่จะก้าวหน้าไปในการศึกษาพัฒนาชีวิตของตน และเป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของสังคม ด้วยการปลูกฝังคุณสมบัติที่เรียกว่า แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม หรือ รุ่งอรุณของการศึกษา ๗ ประการ ดังนี้

๑. แสวงหาแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี
๒. มีวินัยเป็นฐานของการพัฒนาชีวิต
๓. มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์
๔. มุ่งมั่นฝึกตนจนเต็มสุดภาวะที่ความเป็นคนจะให้ถึงได้
๕. ยึดถือหลักเหตุปัจจัยมองอะไรๆ ตามเหตุและผล
๖. ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท
๗. ฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง

ดูคำอธิบายใน หมวดนำ คนกับความเป็นคน ๑. คนผู้เป็นสัตว์ประเสริฐ


(มีต่อ ๑๖)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 9:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๖. คนที่จะคบหา
(มิตรแท้-มิตรเทียม)


การคบเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญ มีผลต่อความเจริญก้าวหน้าและความเสื่อมของชีวิตอย่างมาก จึงควรทราบหลักธรรมเกี่ยวกับเรื่องมิตรที่เป็นข้อสำคัญๆ ไว้ ในที่นี้จะแสดงเรื่องคนที่ควรคบ คนที่ไม่ควรคบ และหลักปฏิบัติต่อกันระหว่างมิตรสหาย ดังต่อไปนี้

ก. มิตรเทียม พึงรู้จักมิตรเทียม หรือศัตรูผู้มาในร่างของมิตร (มิตรปฏิรูปก์) ๔ ประเภท ดังนี้

๑. คนปอกลอก ขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว (หรชน) มีลักษณะ ๔

๑. คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
๒. ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก
๓. ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
๔. คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ประโยชน์

๒. คนดีแต่พูด (วจีบรม) มีลักษณะ ๔

๑. ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
๒. ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
๓. สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่หาประโยชน์มิได้
๔. เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง

๓. คนหัวประจบ (อนุปิยาภาณี) มีลักษณะ ๔

๑. จะทำชั่วก็เออออ
๒. จะทำดีก็เออออ
๓. ต่อหน้าสรรเสริญ
๔. ลับหลังนินทา

๔. คนชวนฉิบหาย (อปายสหาย) มีลักษณะ ๔

๑. คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
๒. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
๓. คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการละเล่น
๔. คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน

ข. มิตรแท้ พึงรู้จักมิตรแท้หรือมิตรด้วยใจจริง (สุหทมิตร) ๔ ประเภท ดังนี้

๑. มิตรอุปการะ (อุปการก์) มีลักษณะ ๔

๑. เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน
๒. เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สินของเพื่อน
๓. เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
๔. มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก

๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ (สมานสุขทุกข์) มีลักษณะ ๔

๑. บอกความลับแก่เพื่อน
๒. รักษาความลับของเพื่อน
๓. มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง
๔. แม้ชีวิตก็สละให้ได้

๓. มิตรแนะนำประโยชน์ (อัตถักขายี) มีลักษณะ ๔

๑. จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปรามไว้
๒. แนะนำสนับสนุนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง
๔. บอกทางสุขทางสวรรค์ให้

๔. มิตรมีใจรัก (อนุกัมปี) มีลักษณะ ๔

๑. เพื่อนมีทุกข์ พลอยไม่สบายใจ (ทุกข์ ทุกข์ด้วย)
๒. เพื่อนมีสุข พลอยแช่มชื่นยินดี (สุข สุขด้วย)
๓. เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้
๔. เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน

(ที.ปา. ๑๑/๑๙๒/๒๐๑)


ค. มิตรต่อมิตร พึงสงเคราะห์อนุเคราะห์กัน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่เป็นเสมือน ทิศเบื้องซ้าย ดังนี้

พึงปฏิบัติต่อมิตรสหาย ดังนี้

๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒. พูดจามีน้ำใจ
๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔. มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
๕. ซื่อสัตย์จริงใจ

มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้

๑. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน
๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร

(ที.ปา. ๑๑/๒๐๒/๒๐๔)


(มีต่อ ๑๗)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
สาวิกาน้อย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 27 มี.ค. 2006
ตอบ: 2065

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 9:04 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๑๗. คนงาน-นายงาน
(ลูกจ้าง-นายจ้าง)


คนที่มาทำกิจการงานร่วมกัน ในฐานะลูกจ้างฝ่ายหนึ่ง และนายจ้างฝ่ายหนึ่ง ควรปฏิบัติต่อกันให้ถูกต้องตามหน้าที่ เพื่อความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และเพื่อนให้งานได้ผลดี โดยทำตามหลักปฏิบัติในทิศ ๖ ข้อที่ว่าด้วย ทิศเบื้องล่าง ดังนี้

ก. นายจ้าง พึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ดังนี้

๑. จัดงานให้ทำ ตามความเหมาะสมกับกำลัง เพศ วัย ความสามารถ
๒.ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
๓. จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
๔. มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕. ให้มีวันหยุด และพักผ่อนหย่อนใจ ตามโอกาสอันควร

ข. คนรับใช้และคนงาน มีน้ำใจช่วยเหลือนาย ดังนี้

๑. เริ่มทำงานก่อน
๒. เลิกงานทีหลัง
๓. เอาแต่ของที่นายให้
๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕. นำความดีของนายจ้างและกิจการไปเผยแพร่

(ที.ปา. ๑๑/๒๐๓/๒๐๕)


(มีต่อ ๑๘)
 

_________________
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัวMSN Messenger
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง