Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ทำวัตรเช้า-เย็น สวดแปลยังไงครับ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
บุญส่ง เกษมาลี
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 23 มิ.ย. 2007
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 13 ก.ค.2007, 9:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำวัตรเช้า-เย็นแปลสวดยังไงครับ มีใครมีบ้างครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2007, 9:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำวัตรเช้า

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ,

พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ. ข้าพเจ้าถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้า (กราบ)
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ นมสฺสามิ.
พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว,ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ นมามิ.
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว,ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ พุทฺธสฺส ภควโต ปุพฺพภาคนมการํ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ พุทฺธาภิถุตึ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน

โย โส ตถาคโต อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ
พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดีแล้ว เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก

อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นสามารถทำได้ยิ่งกว่า

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
เป็นผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

โย อิมํ โลกํ สเทวกํ สมารกํ สพฺรหฺมกํ
พระองค์ใด ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม

สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทสิ
และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมาณพราหมณ์ และเทวดา มนุษย์ให้รู้ตาม

โย ธมฺมํ เทเสสิ อาทิกลฺยาณํ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ
พระองค์ใด ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด

สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสสิ
ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ตมหํ ภควนฺตํ อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้า บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ตมหํ ภควนฺตํ สิรสา นมามิ
ข้าพเจ้า นอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า (กราบ)

ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ ธมฺมาภิภุตึ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน

โย โส สฺวากขาโต ภควตา ธมฺโม
พระธรรมนั้น ส่วนใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก
อันผู้ปฏิบัติเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรที่จะเรียกว่า ท่านจงมาดูได้

โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ อันพวกวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตัว

ตมหํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้าบูชาพระธรรมส่วนนั้น

ตมหํ ธมฺมํ สิรสา นมามิ
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมส่วนนั้น ด้วยเศียรเกล้า (กราบ)

ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ สงฺฆาภิภุตึ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน

โย โส สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว

สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว

ยทิทํ
คือ

จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔ บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘

เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
นี่แหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควนสักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ

ทกฺขิเณยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน

อญฺชลีกรณีโย
ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม

อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

ตมหํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ
ข้าพเจ้าขอบูชาโดยยิ่ง ซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น

ตมหํ สงฺฆํ สิรสา นมามิ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม ซึ่งพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า (กราบ)

ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ รตนตฺตยปฺปณามคาถา โย เจว สํเวคปริทีปก ปาฐญฺจ ภณาม เส.

สวดพร้อมกัน

พุทฺโธ สุสุทฺโธ กรุณามหณฺณโว
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นผู้หมดจดดีแล้ว มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ

โยจฺจนฺตสุทฺธพฺพรญาณโลจโน
มีพระปัญญาจักษุหมดจดแล้วโดยส่วนเดียว

โลกสฺส ปาปูปกิเลสฆาตโก
ฆ่าบาปและอุปกิเลสแห่งโลก

วนฺทามิ พุทฺธํ อหมาทเรน ตํ
ข้าพเจ้าขอไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยความเคารพ

ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน
พระธรรมของพระศาสดาจารย์เจ้าพระองค์นั้น ราวกับประทีป

โย มคฺคปากามตเภทภินฺนโก
พระธรรมอันใดต่างโดยประเภทคือมรรคผลและนิพพาน

โลกุตฺตโร โย จ ตทตฺถทีปโน
เป็นธรรมข้ามโลก และธรรมอันใด ส่งเนื้อความแห่งโลกุตรธรรมนั้น

วนฺทามิ ธมฺมํ อหมาทเรน ตํ
ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันนั้นโดยความเคารพ

สงฺโฆ สุเขตฺตาภยติเขตฺตสฺญญิโต
พระสงฆ์หมู่ใดจัดเป็นนาดียิ่งกว่านาที่ดี มีความระงับ

โย ทิฎฺฐสนฺโต สุคตานุโพธโก
อันประจักษ์แล้ว รู้ตามเสด็จพระสุคตเจ้า มีกิเลสอัน

โลลปฺปหีโน อริโย สุเมธโส
ละได้แล้ว เป็นอริยเจ้ามีปัญญาดี

วนฺทามิ สงฺฆํ อหมาทเรน ตํ
ข้าพเจ้าขอไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยความเคารพ

อิจฺเจวเมกนฺตภิปูชเนยฺยกํ
บุญอันใด ที่ข้าพเจ้าไหว้วัตถุ ๓ ซึ่งเป็นของควรบูชาโดย

วตฺถุตฺตยํ วนฺทยตาภิสงฺขตํ
ส่วนเดียว สั่งสมแล้วอย่างนี้ ๆ ขอสรรพอุปัทวะทั้งหลาย

ปุญฺญํ มยายํ มม สพฺพุปทฺทวา
มา โหนฺตุ เว ตสฺส ปภาวสิทฺธิยา
จงอย่ามี ด้วยความประสิทธานุภาพแห่งบุญนั้นแล

อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปนฺโน อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ในโลกนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว

ธมฺโม จ เทสิโต
และธรรมอันพระตถาคตเจ้าทรงแสดงแล้ว

นิยฺยานิโก
เป็นไปเพื่อนำสัตว์ออก

อุปสมิโก
เป็นไปเพื่ออันสงบระงับ

ปรินิพฺพานิโก
เป็นไปเพื่อดับรอบ

สมฺโพธคามี
ให้ถึงความตรัสรู้

สุคตปฺปเวทิโต
พระสุคตประกาศแล้ว

มยนฺตํ ธมฺมํ สุตฺวา เอวํ ชานาม
เราได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงรู้อย่างนี้ว่า

ชาติปิ ทุกฺขา
แม้ความเกิด เป็นทุกข์

ชราปิ ทุกฺขา
แม้ความแก่ เป็นทุกข์

มรณมฺปิ ทุกขํ
แม้ความตาย เป็นทุกข์

โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา
แม้ความแห้งใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์ ความเสียใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์

อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข
ความประจวบสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก เป็นทุกข์

ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ
ปรารถนาอยู่ ยอมไม่ได้ แม้อันใด แม้อันนั้น เป็นทุกข์

สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา เสยฺยถีทํ
โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ กล่าวคือ

รูปูปาทานกฺขนฺโธ
อุปาทานขันธคือรูป

เวทนูปาทานกฺขนฺโธ
อุปาทานขันธ์คือ เวทนา

สญฺญูปาทานกฺขนฺโธ
อุปาทานขันธ์คือสัญญา

สงฺขารูปทานกฺขนฺโธ
อุปาทานขันธ์คือสังขาร

วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ
อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ

เยสํ ปริญฺญาย ธรมาโน โส ภควา
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังดำรงพระชนม์อยู่

เอวํ พหุลํ สาวเก วิเนติ
ย่อมแนะนำสาวกทั้งหลายเพื่อให้กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ นี้โดยมาก

เอวํ ภาคา จ ปนสฺส ภควโต สาวเกสุ อนุสาสนี พหุลา ปวตฺตติ
ก็แล พระวาจาที่ทรงสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีส่วนอย่างนี้ เป็นไป เป็นไปโดยมาก ในสาวกทั้งหลาย ว่า

รูปํ อนิจฺจํ
รูปไม่เที่ยง

เวทนา อนิจฺจา
เวทนา ไม่เที่ยง

สญฺญา อนิจฺจา
สัญญา ไม่เที่ยง

สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง

วิญฺญาณํ อนิจฺจํ
วิญญาณ ไม่เที่ยง

รูปํ อนตฺตา
รูปเป็นอนัตตา

เวทนา อนตฺตา
เวทนา เป็นอนัตตา

สญฺญา อนตฺตา
สัญญา เป็นอนัตตา

สงฺขารา อนตฺตา
สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา

วิญฺญาณํ อนตฺตา
วิญญาณ เป็นอนัตตา

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา ดังนี้

เต (สตรีว่า ตา)มยํ โอติณฺณามห ชาติยา ชรามรเณน โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ
เราทั้งหลาย เป็นผู้อัน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว

ทุกโขติณฺณา
ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว

ทุกฺขปเรตา
มีทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

อปฺเปวนามิมสฺส เกวลสฺส ทุกขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา ปญฺญาเยถาติ
ทำไฉน ความที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ

จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คตา
เราถึงแล้ว ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ

ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ
ซึ่งพระธรรมด้วย ซึ่งพระสงฆ์ด้วย

ตสฺส ภควโต สาสนํ ยถาสตฺติ ยถาพลํ มนสิกโรม อนุปฏิปชฺชาม
กระทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ตามกำลังความสามารถ

สา สา โน ปฏิปตฺติ
ขอความปฏิบัตินั้น ๆ ของเรา

อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยาย สํวตฺตตูติ
จงเป็นไปเพื่ออันกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เทอญ

http://www.dharma-gateway.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
ปุ๋ย
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 02 มิ.ย. 2004
ตอบ: 1275

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2007, 9:31 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ทำวัตรเย็น

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา,
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ,

พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ.
ข้าพเจ้าถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้า (กราบ)

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ นมสฺสามิ.
พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว,ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม (กราบ)

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ นมามิ.
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว,ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺททานิ มยํ ตํ ภควนฺตํ วาจาย อภิคายิตุ ปุพฺพภาคนมการญฺเจว พุทฺธานุสฺสติ นยญฺจ กโรม เส

สวดพร้อมกัน


นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น

ตํ โข ปน ภควนฺตํ เอวํ กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต
ก็กิติศัพท์อันงาม ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแลฟุ้งเฟื่องไป ดังนี้ว่า

อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
แม้ด้วยเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเข้า พระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง

อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ
เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้

ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ พุทฺธาภิคีตึ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน

พุทฺธวารหนฺตวรตาทิคุณาภิยุตฺโต
พระพุทธเจ้า เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยพระคุณ มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้น

สุทฺธาภิ ญาณกรุณาหิสมาคตตฺ โต
มีพระอัธยาศัย ประกอบด้วยพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณและพระกรุณาคุณ

โพเธสิ โย สุชนตํ กมลํว สูโร
พระองค์ใด ยังชนผู้ดีให้เบิกบานแล้ว ดั่งดวงพระอาทิตย์ยังดอกบัวให้บานฉะนั้น

วนฺทามหํ ตมรณํ สิรสา ชิเนนฺทํ
ข้าพเจ้า ขอไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่มีข้าศึก ผู้เป็นยอดแห่งผู้ชนะ ด้วยเศียรเกล้า

พุทฺโธ โย สพฺพปาณีนํ สรณํ เขมมุตฺตมํ
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ปฐมานุสฺสติฏฺฐานํ วนฺทามิ ตํ สิเรนหํ
ข้าพเจ้า ขอไหว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นที่ตั้งแต่อนุสสติที่ ๑ ด้วยเศียรเกล้า

พุทฺธสฺสาหสฺมิ ทาโสว (สตรีว่า ทาสีว)
ข้าพเจ้าขอเป็นทาส(ทาสี)ของพระพุทธเจ้าเทียว

พุทฺโธ เม สามิกิสฺสโร
พระพุทธเจ้า เป็นเจ้านายของข้าพเจ้า

พุทฺโธ ทุกฺขสฺส ฆาตา จ วิธาตา จ หิตสฺส เม
พระพุทธเจ้าเป็นผู้กำจัดทุกข์ด้วย เป็นผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย

พุทฺธสฺสาหํ นิยฺยาเทมิ สรีรญฺชีวิตณฺจิทํ
ข้าพเจ้า ขอมองกายถวายชีวิตอันนี้แก่พระพุทธเจ้า

วนฺทนฺโตหํ (สตรีว่า วนฺทนฺตีหํ) จริสฺสามิ พุทฺธสฺเสว สุโพธิตํ
ข้าพเจ้าไหว้อยู่ จักประพฤติซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้าทีเดียว

นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ พุทฺโธ เม สรณํ วรํ
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตน สจฺจวชฺเชน วฑฺเฒยฺยํ สตฺถุ สาสเน
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

พุทฺธํ เม วนฺทมาเนน (สตรีว่า วนฺทมานาย) ยํ ปุญฺญํ ปสุตํ อิธ
บุญใด อันข้าพเจ้า ไหว้พระพุทธเจ้า ขวนขวายแล้วในบัดนี้

สพฺเพปิ อนฺตรายา เม มาเหสุ  ตสฺส เตชสา
แม้สรรพอันตรายทั้งหลาย อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น
ก้มลงกราบว่า

กาเยน วาจาย ว เจตสา วา พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ
กรรมอันน่าเกลียดอันใด ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้าด้วยกายหรือดัวยวาจาใจ

พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ กาลนฺตเร สํวริตุ ว พุทฺเธ
ขอพระพุทธเจ้าจงทรงงดโทษล่วงเกินอันนั้น เพื่อระวังต่อไปในพระพุทธเจ้า

ลุกขึ้นแล้วผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ ธมฺมานุสฺสตินยํ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว

สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง เป็นของไม่มีกาลเวลา เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้ เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ

ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ
อันพวกวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

ลุกขึ้น แล้วผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ ธมฺมาภิคีตึ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน

สฺวากฺขาตตาทิคุณโยควเสน เสยฺโย
พระธรรมเป็นของอันประเสริฐด้วยอำนาจอันประกอบด้วยคุณมีความเป็นแห่งสวากตะเป็นต้น

โย มคฺคปากปริยตฺติวิโมกฺขเภโท
อันใด ต่างด้วยมรรคผล ปริยัติและวิโมกข์

ธมฺโม กุโลกปตนา ตทธาริธารี
พระธรรมกันผู้ทรงธรรมนั้นจากการตกไปในโลกที่ชั่ว

วนฺทามหํ ตมหรํ วรธมฺมเมตํ
ข้าพเจ้าขอไหว้พระธรรมอันขจัดความมืดอันนั้น

ธมฺโม โย สพฺพปาณีนํ สรณํ เขมมุตฺตมํ
พระธรรมอันใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ทุติยานุสฺสติฏฺฐานํ วนฺทามิ ตํ สิเรนหํ
ข้าพเจ้า ขอไหว้พระธรรมอันนั้น ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ๒ ด้วยเศียรเกล้า

ธมฺมสฺสาหสฺมิ ทาโสว (สตรีว่า ทาสีว)
ข้าพเจ้าขอเป็น ทาส(ทาสี) ของพระธรรมเทียว

ธมฺโม เม สามิกิสฺสโร
พระธรรม เป็นเจ้านายของข้าพเจ้า

ธมฺโม ทุกฺขสฺส ฆาตา จ
พระธรรม เป็นธรรมกำจัดทุกข์ด้วย

วิธาตา จ หิตสฺส เม
เป็นธรรมทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย

ธมฺมสฺสาหํ นิยฺยาเทมิ สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ
ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม

วนฺทนฺโตหํ (สตรีว่า วนฺทนฺตีหํ) จริสฺสามิ ธมฺมสฺเสว สุธมฺมตํ
ข้าพเจ้าไหว้อยู่ จักประพฤติ ซึ่งความเป็นธรรมดี แห่งพระธรรมทีเดียว

นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ ธมฺโม เม สรณํ วรํ
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตน สจฺจวชฺเชน วฒฺเฒยฺยํ สตฺถุ สาสเน
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอข้าพเจ้า พึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

ธมฺมํ เม วนฺทมาเนน (สตรีว่า วนฺทมานาย) ยํ ปุญญํ ปสุตํ อิธ บุญอันใด
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมขวนขวายแล้วในบัดนี้

สพฺเพปิ อนฺตรายา เม มาเหสุ  ตสฺส เตชสา
แม้สรรอันตรายทั้งหลาย อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชบุญนั้น

ก้มลงกราบว่า

กาเยน วาจาย ว เจตสา วา ธมฺเม กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ
กรรมน่าเกลียดอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ในพระธรรม ด้วยกาย หรือวาจาใจ

ธมฺโม ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ กาลนฺตเร สํวริตุ  ว ธมฺเม
ขอพระธรรมจงงดโทษนั้น เพื่อระวังต่อไปในพระธรรม

ลุกขึ้น แล้วผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ สงฺฆานุสฺสตินยํ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเข้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว

สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว

ยทิทํ
คือ

จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔ บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘

เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
นี่แหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควนสักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ

ทกฺขิเณยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน

อญฺชลีกรณีโย
ท่านเป็นผู้ควรอัญชลีกรรม

อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

ผู้เป็นหัวหน้ากล่าวนำดังนี้

หนฺท มยํ สงฺฆาภิคีตึ กโรม เส.

สวดพร้อมกัน

สทฺธมฺมโช สุปฏิปตฺติคุณาทิยุตฺโต
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เกิดจากพระสัทธรรม ประกอบแล้วด้วยคุณมีสุปฏิบัติคุณ เป็นต้น

โยฎฺฐพฺพิโธ อริยปุคฺคลสงฺฆเสฎฺโฐ
พวกใด เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐสุด ๘ จำพวก

สีลาทิธมฺมปวราสยกายจิตฺโต
มีกายและจิต อาศัยธรรมอันประเสริฐมีศีลเป็นต้น

วนฺทามหํ ตมริยาน คณํ สุสุทฺธํ
ข้าพเจ้าขอไหว้ หมู่พระอริยะทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งหมดจดสะอาด

สงฺโฆ โย สพฺพปาณีนํ สรณํ เขมมุตฺตมํ
พระสงฆ์เหล่าใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ตติยานุสฺสติฏฺฐานํ วนฺทามิ ตํ สิเรนหํ
ข้าพเจ้า ขอไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น ผู้เป็นที่ตั้งแต่อนุสสติที่ ๓ ด้วยเศียรเกล้า

สงฺฆสฺสาหสฺมิ ทาโสว (สตรีว่า ทาสีว)
ข้าพเจ้าขอเป็นทาส(ทาสี) ของพระสงฆ์เทียว

สงฺโฆ เม สามิกิสฺสโร
พระสงฆ์เป็นนายของข้าพเจ้า

สงฺโฆ ทุกฺขสฺส ฆาตา จ วิธาตา จ หิตสฺส เม
พระสงฆ์เป็นผู้กำจัดทุกข์ด้วย เป็นผู้ทำซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้าด้วย

สงฺฆสฺสาหํ นิยฺยาเทมิ สรีรญฺชีวิตญฺจิทํ ข้าพเจ้า ขอมอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์
วนฺทนฺโตหํ (สตรีว่า วนฺทนฺตีหํ) จริสฺสามิ สงฺฆสฺโสปฏิปนฺนตํ
ข้าพเจ้าไหว้อยู่ จักประพฤติ ซึ่งความปฏิบัติแห่งพระสงฆ์

นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตน สจฺจวชฺเชน วฑฺเฒยฺยํ สตฺถุ สาสเน
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

สงฺฆํ เม วนฺทมาเนน (สตรีว่า วนฺทมานาย) ยํ ปุญฺญํ ปสุตํ อิธ
บุญใดอันข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์ ขวนขวายแล้ว ณ บัดนี้

สพฺเพปิ อนฺตรายา เม มาเหสุ  ตสฺส เตชสา
แม้สรรพอันตรายทั้งหลายอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น

ก้มลงกราบว่า

กาเยน วาจาย ว เจตสา วา สงฺเฆ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ
กรรมน่าเกลียดอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระสงฆ์ ด้วยกายหรือวาจาใจ

สงฺโฆ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนฺตํ กาลนฺตเร สํวริตุ  ว สงฺเฆ
ขอพระสงฆ์จงงดโทษนั้น เพื่อระวังต่อไป ในพระสงฆ์

http://www.dharma-gateway.com/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวMSN Messenger
pveep
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 05 ก.พ. 2007
ตอบ: 9
ที่อยู่ (จังหวัด): สุพรรณบุรี

ตอบตอบเมื่อ: 14 ก.ค.2007, 11:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ผมขอแนะนำให้เปิดเพจ "เสียงสวดมนต์" ในธรรมจักรนี้ เลือกว่าจะสวดตามแบบวัดพระรามเก้า หรือวัดสวนโมกข์ โดยคลิ๊กฟังแล้วสวดตาม

http://www.dhammajak.net/audio/prayer/
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
chanin
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 27 เม.ย. 2006
ตอบ: 36
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพมหานคร

ตอบตอบเมื่อ: 15 ก.ค.2007, 8:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ฟังเสียงสวดมนต์ทำวัตรเช้าคลิก
http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/6876

ฟังเสียงสวดมนต์ทำวัตรเย็นคลิก
http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/6890
ดูเนื้อร้องคลิก
http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/2007/07/14/entry-1
 

_________________
ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2008, 7:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คลิกเปิดอ่าน

http://www.dhammajak.net/suadmon-thai/2.html



ยิ้มแก้มปริ
 

_________________
"อย่าลืมตัว อย่าลืมปัจจุบัน อย่าลืมปฏิบัติ"
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง