Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่องเหนือสามัญวิสัย: ปาฏิหาริย์-เทวดา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 8:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


พุทธบัญญัตินี้ น่าจะเป็นสาเหตุหรือข้ออ้างอย่างหนึ่ง ที่ทำให้พระสงฆ์ได้โอนอ่อนผ่อนตาม

ความประสงค์ของชาวบ้าน เกี่ยวกับพิธีกรรมและสิ่งที่เรียกว่าวัตถุมงคล ต่างๆ ขยายกว้าง

ออกไป เปิดรับเครื่องรางของขลังและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆเข้ามามากมาย

จนบางสมัยรู้สึกกันว่าเกินขอบเขตอันสมควร

อย่างไรก็ตาม ถ้าเข้าใจหลักการที่กล่าวมาข้างต้นดีแล้ว และปฏิบัติตามหลักการนั้นด้วย

ปฏิบัติให้ตรงตามพุทธบัญญัตินี้ ในแง่ที่ว่า ทำต่อเมื่อเขาขอร้องด้วย ความผิดพลาด

เสียหายและความเฟ้อเฝือเลยเถิดก็คงจะไม่เกิดขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 พ.ค.2008, 7:17 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 8:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนทางด้านเทวดา ความผ่อนปรนในระดับพัฒนาการขั้นที่ 2 ก็เปิดโอกาสให้ชาวพุทธ

ผู้อยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งนับถือบูชาเทวดามาแต่เดิม แสดงความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่เทวดา

ได้ต่อไป

ถึงจะทำพลีกรรมแก่เทวดา ก็สนับสนุน เพียงแต่มีข้อแม้ว่าต้องทำฐานสงเคราะห์

อนุเคราะห์แสดงเมตตาจิตต่อกัน มิใช่จะอ้อนวอนหรือขอผลตอบแทน

เมื่อไปอาศัยอยู่ ณ ถิ่นฐานใดก็ตาม ทำการบำรุงถวายทานแก่ท่านผู้ทรงศีลแล้ว

ก็ตั้งจิตเผื่อแผ่อุทิศส่วนบุญ ไปให้แก่เทวดาทั้งหลายในที่นั้นด้วย

เทวดาทั้งหลายได้รับความเอื้อเฟื้อแล้ว ก็จะมีไมตรีจิตตอบแทน “เทวดาทั้งหลาย

ได้รับการบูชา (ยกย่องให้เกียรติ) จากเขาแล้ว ย่อมบูชาเขา ได้รับความนับถือจากเขา

แล้ว ย่อมนับถือเขา และย่อมเอ็นดูเขาเหมือนแม่เอ็นดูบุตร
”

(วินย. 5/73/92 ; ที.ม.10/84/105; ขุ.อุ.25/173/221)


อย่างไรก็ดี ไมตรีจิตตอบแทนจากเทวดาที่ว่านี้ เป็นเรื่องของเทวดาเอง ผู้อุทิศกุศล

ไม่ต้องไปคิดหวังเอา

หน้าที่ของเรามีเพียงตั้งจิตเมตตาแผ่ความดีให้เท่านั้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 พ.ค.2008, 7:19 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 8:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ข้อสังเกตสำคัญ 2 อย่าง สำหรับบาลีตอนนี้ คือ

1. เป็นพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พราหมณ์ คือ พวกที่นิยมลัทธิบูชายัญเซ่นสรวงเทพเจ้ามาแต่เดิม

2. ความเชื่อสมัยนั้นมีว่า เมื่อมนุษย์สร้างสถานที่สำคัญๆ สำหรับกิจการของพวกตน

เทวดาทั้งหลายก็เข้าสถิตครองที่นั้นๆ กันเองตามฐานะของตนๆ ไม่มีการสร้างที่อยู่ต่างหาก

ให้เทวดา ไม่มีพิธีอัญเชิญอย่างใด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 8:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สำหรับคน ที่มีความเข้าใจในหลักการนี้เป็นอย่างดีแล้ว เมื่อเขานึกถึงเทวดา ก็จะนึกถึง

ด้วยจิตใจที่ดีงาม มีแต่ความปรารถนาดี เมื่อทำความดีหรือทำสิ่งใดที่ดีงามเป็นบุญเป็น

กุศล จะแผ่บุญกุศลนั้นไปให้แก่เทวดาด้วย ก็ไม่มีข้อเสียหายอะไร มีแต่จะส่งเสริม

คุณภาพจิตของตนเอง และแผ่ความดีงามร่มเย็นให้กว้างออกไปในโลก

เมื่อยังก้าวไม่พ้นจากพัฒนาการขั้นที่ 2 สู่ขั้นที่ 3 อยู่ตราบใด หากยังรักษาความสัมพันธ์ให้

อยู่ภายในหลักการแห่งความอยู่ร่วมกันด้วยดีนี้ได้ ไม่ถลำกลับไปสู่การประจบเอาใจหรือ

เรียกร้องอ้อนวอน

การกระทำต่างๆ ก็จะรักษาตัวมันเองให้อยู่ภายในขอบเขตที่จะไม่เกิดผลเสียหาย ทั้งแก่ชีวิต

แก่สังคม อีกทั้งจะได้ผลดีทางจิตใจเป็นกำไรอีกด้วย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2008, 7:22 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เท่าที่บรรยายมาอย่างยึดยาวนี้ ก็เพียงเพื่อให้เห็นการวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง

สมควรต่อสิ่งเหนือสามัญวิสัย โดยไม่ขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนา
ซึ่งมุ่ง

ให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ชีวิตของบุคคลและแก่สังคม
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2008, 7:24 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สรุปอีกครั้งหนึ่งว่า วิธีปฏิบัติต่อเทวดาและอิทธิปาฏิหาริย์ ตลอดจนมงคลฤทธิ์ต่างๆ

เป็นเรื่องไม่ยุ่งยากอย่างใด

ถ้าเราประพฤติถูกต้องตามธรรมอยู่แล้ว ก็ดำเนินชีวิตไปตามปกติ

เมื่อเราอยู่ในสังคมนี้

ก็ย่อมได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับเทวดาบ้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์บ้าง บางครั้งเราก็ระแวงว่า

สิ่งเหล่านั้นมีจริงหรือว่าไม่มีจริง ถ้ามีจะทำอย่างไรเป็นต้น

พึงมั่นใจตนและเลิกกังวลฟุ้งซ่านอย่างนั้นเสีย แล้วดำเนินวิธีปฏิบัติไม่ผิดทุกรณี

ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติสำเร็จได้ที่ในใจนี้เอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2008, 8:51 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


คือสำหรับเทวดา เราพึงมีท่าทีแห่งเมตตาทำใจให้อ่อนโยนต่อสรรพสัตว์ ตั้งจิตปรารถนาดี

หวังให้สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งเทวดาด้วย ที่เป็นเพื่อร่วมโลกทั้งปวงต่างอยู่เป็นสุข เคารพความ

ดีของกันและกัน

และในสังคมนี้ เราคงต้องพบกับคนทั้งสองประเภท คือ ผู้ที่ฝักใฝ่หมกมุ่นหวังพึ่งเทวดา

และผู้ที่ไม่เชื่อถือมีจิตกระด้าง ขึ้งเคียดเหยียดหยามทั้งต่อเทวดาและผู้นับถือเทวดา

ต่างวิวาทขัดแย้งกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2008, 8:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เรามีโอกาส ก็พึงชักจูงคนทั้งสองพวกนั้นให้มาอยู่ ณ จุดกลางที่พอดี คือความมีจิต

เมตตาอ่อนโยนต่อเทวดาและต่อกันและกัน พร้อมนั้นในด้านกิจหน้าที่ของคน เราพึงกระทำ

ด้วยความเพียรพยายามเต็มความสามารถไปตามเหตุผล

ถ้ายังห่วงการช่วยเหลือของเทพเจ้า ก็พึงวางจิตว่า ถ้าความดีของเราเพียงพอ และ

เทพเจ้าที่ดีงามมีน้ำใจสุจริตมีอยู่ ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของเทพเจ้าเหล่านั้น ท่านจะพิจารณา

ตัดสินใจเอง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2008, 8:53 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนตัวเรานั้น จะตั้งจิตมั่นเพียรพยายาม ทำกิจของตนไปจนสุดกำลังสติปัญญาความสามารถ

และจะฝึกฝนตน ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ทั้งในทางปัญญาและคุณธรรมจนข้ามพ้นเข้าสู่

พัฒนาการขั้นที่สาม ซึ่งเป็นอิสระและสมควรเป็นที่เคารพบูชาของเทวดาได้-

(มิใช่หมายความว่า จะให้ตั้งใจประพฤติดีเพื่อ ให้เทวดาเคารพบูชา หรือให้กระด้างกระเดื่อง

ต่อเทวดา ซึ่งจะกลายเป็นมานะอหังการไป แต่หมายความว่า เราทำความดีของเราไป

ตามเหตุผลของเรา เป็นเรื่องของเทวดาเขาเคารพเอง เพราะเทวดานั้นมีความดีที่จะเคารพ

ความดีของคนดี)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 24 พ.ค.2008, 8:54 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ส่วนเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ และสิ่งมงคลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ก็พึงปฏิบัติอย่างเดียวกัน

เปลี่ยนแต่เพียงท่าทีแห่งเมตตา มาเป็นท่าทีแห่งความเพียรพยายามบากบั่น เข็มแข็ง

พร้อมทั้งความหนักแน่นในเหตุผล ซึ่งเป็นแรงบันดาลความสำเร็จแห่งกิจหน้าที่

มงคล ก็คือ คุณธรรม และความสามารถต่างๆ ที่ได้ปลูกฝังสร้างขึ้นอันเสริมส่งและคุ้ม

นำชีวิตไปสู่ความสุข ความเจริญ และความเกษมสวัสดี


(ดูมงคลสูตร, ขุ.ขุ. 25/5/3; ขุ.สุ.25/317/376)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 8:14 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ทางด้านพระภิกษุ ผู้สัมพันธ์กับประชาชนในฐานผู้นำทางจิตใจ

เมื่อจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้ พึงเตรียมใจระมัดระวังถือเหมือนดังเข้าผจญภัยโดยไม่

ประมาท

สำหรับผู้เก่งกาจทางอนุสาสนีก็ไม่สู้กระไร อาจอาศัยความเชี่ยวชาญในเชิงสอน นำชาวบ้าน

ก้าวสู่พัฒนาการขั้นสูงๆ ได้โดยรวดเร็ว แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เพราะบางท่านสามารถ

ใช้อนุสาสนีทำให้คนเลิกเชื่อถือสิ่งที่เขาเคยยึดถืออยู่เดิมได้ แต่หยุดแค่นั้น หรือไม่อาจชี้แนะ

ให้เขาเกิดปัญญา มองเห็นทางถูกต้องที่จะเดินต่อไป ทำให้ชาวบ้านมีอาการอย่างที่

ว่า ศรัทธาก็หมด ปัญญาก็ไม่มี ตกอยู่ในภาวะเคว้งคว้าง เป็นอันตรายทั้งแก่ชีวิต

ของเขาเอง และแก่สังคม ฯลฯ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 8:15 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ทางด้านประชาชนที่กำลังพัฒนาข้ามจากขั้นที่ 1 สู่ขั้นที่ 2 การผ่อนปรนหรือโอนอ่อนผ่อนตาม

จะมีได้อย่างมากที่สุด ก็เพียงเท่าที่อยู่ในขอบเขตซึ่ง

1. ไม่เป็นการอ้อนวอนหวังพึ่งอำนาจบันดาลจากภายนอก (หลักพึ่งตน และความเป็นอิสระ)

2. ไม่เป็นเหตุให้หมกมุ่นหลงใหล หรือจะมัวรีรอ ไม่ลงมือทำ (หลักทำการด้วยความเพียร

ตามเหตุผล)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 8:16 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


จากความผ่อนปรนนี้ ความสัมพันธ์และวิธีปฏิบัติเท่าที่พอจะเป็นไปได้ จึงมีดังนี้

ก. เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ ตลอดถึงสิ่งมงคลได้ โดยพยายามทำสิ่งเหล่านี้ในความหมายใหม่

ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เช่น ธรรมฤทธิ์ อริยะฤทธิ์ และมงคลที่เกิดจากการประพฤติธรรม

เป็นต้น

แต่ก็ยอมผ่อนลงไปอีกอย่างมากที่สุด จนถึงยอมให้เกี่ยวข้องกับมงคลตามแบบของชาวบ้านได้
เฉพาะในแง่ที่เป็นเครื่องเสริมกำลังใจ- (เสริมในทางที่ดีงาม ไม่ใช่ฮึกเหิมที่จะทำการชั่ว

ร้าย)

และเสริมความเพียรพยามให้เข็มแข็งยิ่งขึ้น โดยย้ำว่าจะต้องไม่เป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยวหรือ

ลดทอนความเพียรพยายามทำการตามเหตุผลเป็นอันขาด
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 3:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ข. ความสัมพันธ์กับเทพเจ้าทั้งหลาย โดยวิธีอยู่ร่วมกัน (เกือบ = ต่างคนต่างอยู่)

ด้วยเมตตาเกื้อกูลกันด้วยไมตรี

ผ่อนลงไปอย่างมากที่สุดจนถึงยอมรับการทำเทวตาพลี-

(ของถวายแก่เทวดาหรือแผ่ส่วนบุญอุทิศแก่เทวดา)

ในความหมายว่า เป็นการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลหรืออุปการะแก่เทวดา (ไม่ใช่บนบาน อ้อนวอนหรือ

ขอให้โปรดปราน)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 พ.ค.2008, 7:09 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 3:06 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ่งผ่อนปรนให้มาก ก็ยิ่งจำเป็นจะต้องย้ำข้อเตือนสำนึกไว้ให้หนักแน่น ไม่จำเพาะ

ชาวบ้าน จะต้องคอยเตือนตนเองเท่านั้น แม้พระสงฆ์ก็ควรช่วยเตือนชาวบ้าน

บ่อยๆ เพราะชาวบ้านมีโอกาสใกล้ชิดสภาพแวดล้อมทางธรรมน้อย และมีกิจ

ของฆราวาสวุ่นวายคอยชักให้แชเชือนได้ง่าย

ข้อเตือนสำนึกที่ว่านั้นก็คือ จะต้องรู้ตัวอยู่เสมอว่า ตนยังอยู่ระหว่างกำลังพัฒนา

ขณะนี้อยู่ที่ขั้นนี้ ต้องระลึกไว้ว่า แม้ว่าขณะนี้ยังยุ่งเกี่ยวกับเทวดา ยังยุ่งเกี่ยวกับ

มงคล แต่ก็หวังอยู่เสมอว่า จะก้าวไปสู่ขั้นแห่งความเป็นอิสระสักวันหนึ่ง

ถ้าพูดอย่างรวบรัดก็ คือ จะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า "เราจะต้องเดินหน้า ไม่ใช่

ย่ำอยู่กับที่"
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.ย. 2008, 9:25 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 29 พ.ค.2008, 3:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า เดินหน้า มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับพัฒนาการในอริยธรรมขั้นต้น เพราะ

หมิ่นเหม่ที่จะตกหล่นไปจากความเป็นสมาชิกในชุมชนชาวพุทธ ถอยหลังกลับไป

อยู่ในชุมชน ก่อนอารยะได้ง่ายเหลือเกิน เพราะในขั้นต้นสุดนี้ สิ่งที่ใช้ร่วมในพุทธ

ศาสนากับในศาสนาเดิมยังมีมาก และสิ่งนั้นบางที ก็เป็นสิ่งเดียวกันแท้ๆ เช่น

มงคล และพลี เป็นต้น

ต่างแต่ท่าทีแห่งความเข้าใจสำหรับชี้นำ และจำกัดขอบเขตของการปฏิบัติ

ถ้าเกิดมงคล และพลี เป็นต้น ต่างแต่ท่าทีแห่งความเข้าใจสำหรับชี้นำ และจำกัด

ของขอบเขตของการปฏิบัติ ถ้าเกิดเหตุเพียงแค่ว่าเผลอลืมท่าทีของการวางจิตใจ

นี้เสียเท่านั้น พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติ ก็อาจพลิกกลับเป็นตรงข้ามทันที คือ หล่น

จากสมาชิกภาพในชุมชนพุทธ ถอยกลับไปอยู่นอกชุมชนอารยะ

ดังนั้นคำว่า "เดินหน้า" จึงเป็นข้อเตือนสำนึกสำคัญที่จะต้องมาด้วยกันเสมอกับ

ความสำนึก ในท่าทีเป็นขอบเขตของการปฏิบัติ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.ย. 2008, 9:27 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2008, 4:45 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เมื่อใดเดินทางก้าวหน้าถึงขั้นที่ 3 เมื่อนั้น จึงจะปลอดภัยแท้ เพราะได้เข้าอยู่ใน

ชุมชนอารยะเป็นโสดาบันขึ้นไป ไม่มีการถอยหลังหรือลังเลใดๆ อีก มีแต่จะเดิน

หน้าอย่างเดียว เพราะเข้าถึงความหมายของพระรัตนตรัย มั่นใจในความเป็นไป

ตามเหตุผล จนมีศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว ไม่ต้องอ้างอิงปัจจัยภายนอก ไม่ว่าสิ่ง

ศักดิ์สิทธิ์หรือเทวฤทธิ์ใดๆ และไม่มีกิเลสรุนแรงพอที่จะให้ทำความชั่วร้าย

หรือให้เกิดปัญหาใหญ่ๆ เป็นปมในใจที่จะต้องระบาย กับทั้งรู้จักความสุขอัน

ประณีตซึ่งเกิดจากความสงบผ่องใสภายในแล้ว จึงมีความเข้มแข็งมั่นคง

ในจริยธรรมอย่างแท้จริง ภาวะที่มีคุณธรรม มีความสุข และเป็นอิสระ ซึ่งอิทธิพล

ภายนอกไม่อาจมาครอบงำชักจูงได้ เพียงเท่านี้ เป็นความประเสริฐเพียงพอ

ที่เทพเจ้าเหล่าเทวาดาจะบูชานบไหว้ และพอที่จะทำให้ชีวิตของผู้นั้นเป็นอุดม

มงคล คือ มงคลอันสูงสุดอยู่แล้วในตัว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.ย. 2008, 9:30 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 31 พ.ค.2008, 4:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

มนุษย์เป็นยอดแห่งสัตว์ที่ฝึกได้ เรียกอย่างสมัยใหม่ว่า มีศักยภาพสูง สามารถฝึก

ได้ทั้งทางกาย ทางจิต และทางปัญญา ให้วิเศษ ทำอะไรๆ ได้ประณีตวิจิตรพิสดาร

แสนอัศจรรย์ อย่างแทบไม่น่าเป็นไปได้ *

การมัวเพลินหวังผลจากฤทธานุภาพและเทวานุภาพบันดาล ก็คือการตกอยู่ใน

ความประมาท ละเลยปล่อยให้ศักยภาพของตนสูญไปเสียเปล่า และจะไม่รู้จักเติบ

โตในอริยมรรค

ส่วนผู้ใดไม่ประมาทไม่รีรอ เร่งฝึกฝนตนไม่หยุดยั้ง ผู้นั้นแหละจะได้ทั้งอิทธิฤทธิ์

และเทวฤทธิ์ และจะบรรลุสิ่งเลิศล้ำที่ทั้งฤทธานุภาพและเทวานุภาพไม่อาจ

อำนวยให้ได้.

........

* ศัพท์ธรรมที่หมายถึงการฝึกฝนอบรม มีมากมาย เช่น ทมะ ภาวนา วินยะ
(-วินีตะ) สิกขา เป็นต้น
แต่น่าเสียดาย ในสมัยต่อๆมา ความหมายของบางคำ ได้แปรเปลี่ยนจากเดิม
ผิดไปไกล
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ค.2009, 8:51 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 01 มิ.ย.2008, 7:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำว่า “พลี” เป็นคำหนึ่งในบรรดาคำเดิมของศาสนาพราหมณ์ น้อยคำที่

พระพุทธเจ้าทรงยอมให้ผ่านเข้ามาในพระพุทธศาสนา หรือพระพุทธศาสนา

ยอมรับเข้ามาใช้โดยเกือบมิได้เปลี่ยนความหมายเลย- (คำอื่นที่นำมาใช้แต่เปลี่ยน

ความหมายใหม่ทีเดียว เช่น ยัญ ตบะ เป็นต้น)

ทั้งนี้ พลี แต่เดิมมา มีความหมายเป็นการสละให้เพื่อเกื้อกูล หรือบำรุงเลี้ยงอยู่ด้วย

แล้ว (รวมกับความหมายว่า บูชา)


พลี ในศาสนาพราหมณ์นั้น เขาให้แก่เทวดา ผี คน ตลอดถึงนก และสัตว์อื่นๆ

สิ่งที่ให้ เป็นพลี ได้แก่ อาหาร เช่น ข้าว และเปรียง เป็นต้น ตลอดจนดอกไม้ น้ำ

หอม ธูป ไม้จันทร์ หมาก เครื่องเทศ เป็นต้น

ในรตนสูตร- (ขุ.ขุ. 25/7/5; ขุ.สุ.25/314/367) มีข้อความแนะนำเชิงสอน หรือ

เชิงชวนเทวดาให้สร้างเมตตาคุ้มครองรักษาหมู่มนุษย์ ซึ่งทำพลีให้ทั้งกลางวัน

กลางคืน

อรรถกถาขยายความให้เห็นว่า การแผ่ส่วนบุญให้ หรือ ให้มีส่วนร่วมในการทำ

ความดี- (ปัตติทาน) ก็เป็นความหมาย (แบบพุทธ) อย่างของพลี และที่

บาลีแนะนำอย่างนั้น หมายความว่า พวกมนุษย์อุปการะแก่เทวดา

เทวดา (ผู้ได้รับพลี) จึงควรมีความกตัญญู ช่วยคุ้มครองรักษาพวกมนุษย์

(ขุทฺทก.อ. 185; สุตฺต.อ. 2/13)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 ก.ค.2009, 8:48 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 02 มิ.ย.2008, 9:47 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

พลี มี 5 อย่าง คือ

1. ญาติพลี - สงเคราะห์ญาติ

2. อติถิพลี - ต้อนรับแขก

3. บุพพเปตพลี - ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับ

4. ราชพลี - บำรุงราชการ เช่น เสียภาษี เป็นต้น

5. เทวตาพลี - ทำบุญอุทิศให้เทวดา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.ย. 2008, 9:35 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง