Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 เรื่องเหนือสามัญวิสัย: ปาฏิหาริย์-เทวดา อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 7:09 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


การอ้อนวอนหวังพึ่งเทวดา นอกจากขัดกับความเพียรพยายามโดยหวังผลสำเร็จ

จากการกระทำ ขัดหลักพึ่งตนเองและความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดังในเรื่องในอิทธิปาฏิหาริย์

แล้วยังมีผลเสียที่ควรสังเกตอีกหลายประการ เช่น


-ในเมื่อเทวดา เป็นปุถุชน การที่มนุษย์ไปเฝ้าประจบยกยอ บนบานต่างๆ ไม่เพียงแต่

มนุษย์เท่านั้นที่จะประสบผลเสีย เทวดาทั้งหลายก็จะพลอยเสียไปด้วย เพราะจะเกิดความ

หลงใหลมัวเมาในคำยกย่องสรรเสริญ ติดในลาภสักการะคือสิ่งเซ่นสรวงสังเวย และ

ปรารถนาจะได้ให้มากยิ่งขึ้นๆ

โดยนัยนี้ ทั้งเทวดาและมนุษย์ต่างก็มัวเมาฝักใฝ่วุ่นวายอยู่กับการบนบานและการให้ผล

ตามบนบาน ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือไม่ก็ปล่อยปละละเลยให้บกพร่องย่อหย่อน

เป็นผู้ตกอยู่ในความประมาท และทั้งมนุษย์และเทวดาก็พากันเสื่อมลงไปด้วยกัน
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค.2008, 7:07 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 7:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-เทวดาบางพวก เมื่อมัวเมาติดในลาภสักการะความยกย่องนับถือแล้ว ก็จะหาทางผูกมัด

หมู่ชนไว้กับตน โดยหาทางทำให้คนต้องพึ่งเขาอยู่เรื่อยไป เพื่อผลนี้ เทวดาอาจใช้วิธีการ

ต่างๆ เช่น ล่อด้วยความสำเร็จสมปรารถนาเล็กๆน้อยๆ เพื่อให้คนหวังผลมากยิ่งขึ้น

และบนบานเซ่นสรวงมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่แกล้งทำเหตุให้คนต้องมาติดต่อขอผลถลำตน

เข้าสู่วงการ


-เมื่อเทวดาประเภทหวังลาภมาวุ่นวายกันอยู่มาก เทวดาดีที่จะช่วยเหลือคนดีโดยไม่หวังผล

ประโยชน์ ก็จะพากันเบื่อหน่ายหลบลี้ปลีกตัวออกไป

คนที่ทำดี ก็ไม่มีใครจะคอยช่วยเหลือให้กำลังใจ

ฝ่ายเทวดาใฝ่ลาภ ก็จะช่วยต่อเมื่อได้รับสิ่งบนหรืออย่างน้อยคำขอร้องอ้อนวอน มนุษย์ก็เลย

รู้สึกกันมากขึ้นเหมือนว่า ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วจึงจะได้ดี ก่อให้เกิดความสับสนระส่ำระสาย

ในสังคมมนุษย์มากยิ่งขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค.2008, 7:11 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 7:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-เมื่อเทวดาดีงามปลีกตัวไปไม่เกี่ยวข้อง- (ตามปกติธรรมเนียมของเทวดา ก็ไม่ต้องการมา

เกี่ยวข้องวุ่นวายแทรกแซงในกิจการของมนุษย์อยู่แล้ว-- โลกมนุษย์ไม่สะอาดมีกลิ่นเป็นที่

รังเกียจแก่เทวดา- ที.ม.10/306/362 ฯลฯ)

ก็ยิ่งเป็นโอกาสสำหรับเทวดาร้ายใฝ่ลาภ จะแสวงหาผลประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น เมื่อ

มนุษย์อ้อนวอนเรียกร้องเจาะจงต่อเทพบางท่านที่เขานับถือ เทพใฝ่ลาภพวกนี้ก็จะลงมาสวม

รอยรับสมอ้างหลอกมนุษย์ โดยมนุษย์ ไม่อาจทราบเพราะเป็นเรื่องเหนือวิสัยของตน

แล้วเทวดาสวมรอยก็ทำเรื่องให้มนุษย์หมกมุ่นมัวเมายิ่งขึ้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค.2008, 7:14 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 7:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


โดยนัยนี้ จะเห็นได้ว่า คนที่ได้รับความช่วยเหลือจากเทวดา ไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี

และคนดีก็ไม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากเทวดา ที่เป็นเช่นนี้เพราะทั้งมนุษย์

และเทวดาต่างก็เป็นปุถุชนและต่างก็ปฏิบัติผิด พากันทำให้ระบบต่างๆ ที่ดีงามในโลก

คลาดเคลื่อนเสื่อมทรามลงไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค.2008, 7:16 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 7:27 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ขอกล่าวถึงข้อสังเกตบางอย่าง เพื่อให้เห็นแนวทางการปฏิบัติต่อไปชัดเจนขึ้น

ประการแรก เทวดาประกาศิตหรือ กำหนดเหตุการณ์ หรือ บันดาลชะตากรรมแก่มนุษย์

โดยเด็ดขาดแต่ ฝ่ายเดียวไม่ได้

แม้ตามปกติจะถือกันว่า เทวดามีฤทธิ์มีอำนาจเหนือกว่ามนุษย์

แต่ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ถ้ามนุษย์ปรับปรุงตัวขึ้นมาเมื่อใด ก็สามารถเท่าเทียบหรือ

เหนือกว่าเทวดาได้ และสิ่งที่จะกำหนดว่าใครจะเหนือใคร ก็อยู่ที่คุณธรรมและความเพียร

พยายาม

ดังมีเรื่องมาในชาดก กษัตริย์สองเมืองจะทำสงครามกัน

ฝ่ายหนึ่งไปถามพระฤๅษีมีฤทธิ์ ซึ่งติดต่อพระอินทร์ได้ ได้รับทราบคำแจ้งของพระอินทร์

ว่า ฝ่ายตนจะชนะ จึงประมาทปล่อยเหล่าทหารสนุกสนานบันเทิง

ส่วนกษัตริย์อีกฝ่ายหนึ่ง ทราบข่าวทำนายว่าฝ่ายตนจะแพ้ ยิ่งตระเตรียมการให้

แข็งแรงยิ่งขึ้น ครั้นเวลารบจริง ฝ่ายหลังนี้ก็เป็นฝ่ายชนะกองทัพกษัตริย์ฝ่ายที่ประมาทได้

พระอินทร์ถูกต่อว่า จึงกล่าวเทวคติออกมาว่า “ความบากบั่นพากเพียรของคน

เทพทั้งหลายก็เกียดกันไม่ได้”


ขุ.ชา.27/505/128; ชา.อ.4/227-234
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 พ.ค.2008, 7:21 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 7:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เทวดาที่อยู่ตามบ้านเรือนนั้น ตามปกติมนุษย์ให้เกียรติและเอาใจมาก แต่ถ้ามองแง่หนึ่ง

ก็เป็นผู้อาศัย ถ้าเจ้าบ้านมีคุณธรรมสูง เช่น พระอริยสาวก มีความมั่นใจในคุณธรรม

ของตน เทวดาก็ต้องเคารพเชื่อฟัง อยู่ในบังคับบัญชา มิใช่มีอำนาจบังคับเจ้าบ้าน ดัง

เช่น เทวดาผู้อยู่ ณ ซุ้มประตูบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี-

(ท่านเจ้าบ้านไม่ได้สร้างที่อยู่ให้โดยเฉพาะ) เมื่อเศรษฐียากจนลง ได้มาสั่งสอนให้เลิก

ถวายทาน

ท่านเศรษฐีเห็นว่าเป็นคำแนะนำไม่ชอบธรรม ถึงกับไล่ออกจากบ้านทันที

เทวดาหาที่อยู่ไม่ได้

ในที่สุดไปหาพระอินทร์ จะให้ช่วยพามาขอขมาเศรษฐี ได้รับคำแนะนำวิธีที่จะขอขมาโทษ

เมื่อปฏิบัติตามนั้นแล้วจึงได้รับอนุญาตกลับเข้าอยู่ ณ ที่เดิมได้

(ธ.อ.5/10 ชา.อ.1/339)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ประการที่สอง เมื่อคนถูกเทวดาให้โทษ จะถือเอาเป็นเกณฑ์ว่าเขาทำผิดหรือเป็นคนชั่ว

ยังไม่ได้ เพราะคนดีถูกเทวดาร้ายกลั่นแกล้ง ก็มีไม่น้อย ดังเช่นเทวดาซึ่งอยู่ ณ ซุ้ม

ประตูของอนาถบิณฑิกเศรษฐีดังกล่าว ท่านเรียกว่าเป็นเทวดามิจฉาทิฏฐิบ้าง

เทวดาอันธพาลบ้าง

เทวดานั้นไม่พอใจว่า เมื่อพระพุทธเจ้าหรือพระสาวกเสด็จมาบ้านเศรษฐีเขาจะต้องลงมาที่พื้น
ดิน ครั้นเศรษฐียากจนลง จึงได้โอกาสเข้ามาสั่งสอนเศรษฐี เพื่อยุให้เลิกเกี่ยวข้อง

กับพระพุทธเจ้า แต่ได้ผลตรงข้ามดังกล่าวแล้ว

เทวดาบางองค์แกล้งคนให้ระแวงกันเล่นเท่านั้นเอง-( ดูเรื่องพระโกณฑธาน องฺ.อ.1/284...)

แม้แต่พวกเทวดาตามป่า เมื่อพระไปอยู่อาศัยเพื่อปฏิบัติธรรม บางพวกก็ไม่พอใจ

เพราะคนดีมีคุณธรรมสูงกว่าตนเข้ามาอยู่ ทำให้พวกตนอึดอัดใจ ทำอะไรๆ ไม่สะดวก

จึงหาทางแกล้งด้วยวิธีต่างๆ- (ขุทฺทก.อ.261; สุตฺต.อ.1246)

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้แก้ไชด้วยการแผ่เมตตา เอาความดีเข้าตอบ

แต่ในกรณีที่พวกเทวดาไปแนะนำให้ทำอย่างนี้อย่างนั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นการ

กระทำที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม พุทธสาวกผู้รู้หลัก ย่อมมีความเข็มแข็งมั่นคงในหลัก

ธรรม และจะไม่ยอมปฏิบัติตามคำของเทวดานั้นเป็นอันขาด ไม่ว่าเทวดาจะขู่หรือล่อด้วย

รางวัลอย่างใดๆ-

(ปัพภารวาสีติสสเถรวัตถุธ.อ.8/123)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ประการที่สาม เทวดาบางองค์มีพฤติการณ์ทางร้าย ชองทำตนเป็นปฏิปักข์ขัดขวางความ

เจริญของมนุษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เทวดาอย่างนี้มนุษย์ไม่เพียงแต่มิควรอ้อนวอนขอร้อง

หรือหวังพึ่งเท่านั้น แต่ควรปราบหรือพิชิตให้ได้ทีเดียว และถ้าฝึกปรือความสามารถของตนให้

ดี มนุษย์ก็สามารถเอาชนะได้ด้วย ตัวอย่างสำคัญคือ มาร มารนี้เป็นเทพในสวรรค์ชั้นสูงสุด

ของระดับกามาวจร คือชั้นที่ 6 ได้แก่ ปรนิมมิตวสวัตดี แต่ชอบขัดขวางรังควาญผู้อื่น

เมื่อเขาจะทำความดี เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใครจะเปลื้องตนให้เป็นอิสระจากกาม

ถือว่าผู้นั้นจะข้ามออกนอกเขตอำนาจของมาร- (เขตอำนาจของมาร เรียกว่า มารเธยฺย)

ก็เป็นอันจะต้องเผชิญหน้ากับมารทีเดียว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:36 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


มารมีอิทธิพลยิ่งใหญ่มาก แม้แต่พระอินทร์ พอมารมาก็หนีไม่รอหน้า ไปหลบอยู่

สุดขอบจักรวาล พระพรหมก็หลีกเลี่ยง- (ชา.อ.1/113 ฯลฯ)

บางคราวมารก็ขึ้นไปรังควาญถึงพรหมโลก ซึ่งเป็นชั้นรูปาวจรสูงกว่าระดับของตน

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “บรรดาผู้ยิ่งใหญ่ มารเป็นเลิศ” (องฺ.จตุกก. 21/15/22)

แม้มารจะมีอำนาจยิ่งใหญ่อย่างนี้ แต่มนุษย์ผู้ฝึกอบรมดีแล้วด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

ก็พิชิตมารได้ด้วยคุณธรรมของตน และมนุษย์ที่มีคุณธรรมสูงเช่นนี้

เทพเจ้าทั้งปวงตลอดถึงพรหมย่อมนบไหว้ (ขุ.อิติ. 25/260/28ฯลฯ)


เท่าที่กล่าวมานี้ มิได้มุ่งหมายจะลบหลู่หรือชักชวนให้มีจิตกระด้างต่อเทวดาทั้งหลาย

แม้แต่น้อย เพียงแต่จะสร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมวางจิตใจให้ถูกต้อง

สำหรับการดำเนินตามวิธีปฏิบัติที่จะกล่าวต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับฐานะของเทวดา และเหตุผลเกี่ยวกับโทษ

ของการสัมพันธ์กับเทวดาด้วยท่าทีที่ผิดดังกล่าวมา

พระพุทธศาสนา จึงสอนให้ละเลิกวิธีการแบบหวังพึ่งขอผลเสียทั้ง

หมด ไม่ว่าจะเป็นการอ้อนวอนหรือการบีบบังคับก็ตาม แล้วชี้แนวทาง

ใหม่ คือ การวางท่าทีแห่งเมตตา มีไมตรีจิตอยู่ร่วมกันฉันมิตร

เคารพนับถือซึ่งกันและกัน ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ หรือเพื่อน

ร่วมสังสารวัฏ และในฐานะที่โดยเฉลี่ยเป็นผู้มีคุณธรรมในระดับสูง

พร้อมทั้งให้มีท่าทีแห่งการไม่วุ่นวายไม่ก้าวก่ายแทรกแซงกัน โดย

ต่างก็เพียรพยายามทำกิจของตนไปตามหน้าที่ ท่าทีแห่งการไม่

รบกวน และไม่ชวนกันให้เสียเช่นนี้ ถ้าสังเกต ก็จะพบว่าเป็นสิ่งที่

ปรากฏชัดในประเพณีความสัมพันธ์แบบชาวพุทธระหว่างมนุษย์กับเทวดา

เพราะมีเรื่องราวเล่ากันมามากมายในคัมภีร์ต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งอรรถกถา

ชาดกและอรรถกถาธรรมบท
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 ก.ย. 2008, 10:44 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตามประเพณีนี้ เทวดาที่ช่วยเหลือมนุษย์ก็มีอยู่เหมือนกัน แต่ลักษณะการช่วยเหลือ และเหตุ

ที่จะให้ช่วยเหลือต่างออกไปจากแบบก่อน คือ เทวดาที่ช่วยเหลือมาช่วยเองด้วยคุณธรรม คือ

ความดีของเทวดาเอง มิใช่เพราะการเรียกร้องอ้อนวอนของมนุษย์ และเทวดาก็มิได้เรียกร้อง

ต้องการหรือรอการอ้อนวอนนั้น

ทางฝ่ายมนุษย์ ผู้ได้รับการช่วยเหลือ ก็ทำความดีไปตามปกติธรรมดาด้วยคุณธรรมและ

ความสำนึกเหตุผลของเขาเอง มิได้คำนึงว่าจะมีใครมาช่วยเหลือหรือไม่ และมิได้เรียกร้อง

ขอความช่วยเหลือใดๆ

ส่วนตัวกลางคือเหตุให้มีการช่วยเหลือเกิดขึ้นก็คือความดีหรือการทำความดีของมนุษย์

มิใช่การเรียกร้องอ้อนวอนหรืออามิสสินวอนใดๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เทวดาองค์เด่นที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ตามประเพณี ได้แก่ท้าวสักกะ ที่เรียกกันว่า พระอินทร์

คติการช่วยเหลือของพระอินทร์อย่างนี้ นับว่าเป็นวิวัฒนาการช่วงต่อที่เชื่อมจากคติ

แห่งเทวานุภาพของลัทธิศาสนาแบบเดิม เข้าสู่คติแห่งกรรมของพระพุทธศาสนา

แม้จะยังมิใช่เป็นตัวแท้บริสุทธิ์ตามหลักการของพระพุทธศาสนา แต่ก็เป็นคติที่วิวัฒน์เข้าสู่

ความเป็นพุทธ ถึงขั้นที่ยอมรับเป็นพุทธได้

สาระสำคัญของคตินี้ก็คือ มนุษย์ที่ดีย่อมทำความดีไปตามเหตุผลสามัญของมนุษย์เอง

และทำอย่างมั่นคงแน่วแน่เต็มสติปัญญา จนสุดความสามารถของตน ไม่คำนึงถึง ไม่รีรอ

ไม่เรียกร้องความช่วยเหลือจากเทวดาใดๆ เลย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เทวดาที่ดี ย่อมใส่ใจคอยดูแล ช่วยเหลือมนุษย์ที่ดีด้วยคุณธรรมของเทวดาเอง

เมื่อมนุษย์ผู้ทำดี ได้รับความเดือดร้อน หากเทวดายังมีความดีอยู่บ้าง เทวดาก็จะทนดูไม่ไหว

ต้องลงมาช่วย เอง

พูดง่ายๆว่า มนุษย์ก็ทำดีโดยไม่คำนึงถึงการช่วยเหลือของเทวดา เทวดาก็ช่วยโดยไม่คำนึง

ถึงการอ้อนวอนของมนุษย์

ถ้าใครยังห่วง ยังหวัง ยังเยื่อใยในทางเทวานุภาพอยู่ ก็อาจจะท่องคติต่อไปนี้

ปลอบใจว่า

“การเพียรพยายามทำดี เป็นหน้าที่ของมนุษย์ การช่วยเหลือคนทำดีเป็นหน้าที่

ของสวรรค์ เราทำหน้าที่ของมนุษย์ให้ดีที่สุดก็แล้วกัน”


ถ้ามนุษย์ไม่เพียรทำดี มัวแต่อ้อนวอนเทวดา และถ้าเทวดาไม่ใส่ใจช่วยคนทำดี

มัวแต่รอการอ้อนวอนหรือคอยช่วยคนที่อ้อนวอน ก็คือเป็นผู้ทำผิดต่อหน้าที่ เมื่อมนุษย์และ

เทวดาต่างขาดคุณธรรม ปฏิบัติผิดหน้าที่ ก็จะประสบความหายนะไปด้วยกัน

ตามกฎธรรมดาที่ควบคุมทั้งมนุษย์และสวรรค์อยู่อีกชั้นหนึ่ง
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


สรุปวิธีปฏิบัติ


ชุมชน หรือ สังคมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยผู้คนมากมาย

ซึ่งกำลังก้าวเดิน อยู่ ณ ตำแหน่งแห่งที่ต่างๆ บนหนทางสายใหญ่สายเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่

จุดหมายปลายทางเดียวกัน และคนเหล่านั้น ก้าวออกมาจากจุดเริ่มต้นที่ต่างๆ กัน

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สัตว์ทั้งหลายเจริญอยู่ในขั้นตอนต่างๆแห่งพัฒนาการ

ในอริยะธรรม เมื่อดูการเดินทางหรือพัฒนา ก็จะเห็นลำดับขั้น

แห่งพัฒนาการ เป็น 3 ขั้น คือ

-ขั้นอ้อนวอนหรือพึ่งเทวดา

-ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรีกับเทวดา

-ขั้นได้รับความเคารพบูชาจากเทวดา

ขั้นที่ 1 จัดว่าเป็นขั้นก่อนพัฒนา

ขั้นที่ 2 คือจุดเริ่มต้นของชุมชนแบบพุทธหรือชุมชนอารยะ

ขั้นที่ 3 เป็นระดับพัฒนาการของผู้เข้าถึงจุดหมายของพระพุทธศาสนา
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ข้อควรย้ำก็คือ คนผู้ใดผู้หนึ่งจะได้ชื่อว่า เป็นชาวพุทธ ก็ต่อเมื่อเขาก้าวพ้นจากขั้นอ้อนวอน

หวังพึ่งเทพเจ้า เข้าสู่ขั้นอยู่ร่วมกันด้วยไมตรี ซึ่งเขาจะดำเนินชีวิตด้วยความเพียร

พยายาม กระทำการตามเหตุผล

เลิกมองเทวดาในฐานะผู้มีอำนาจที่จะต้องวิงวอนประจบเอาใจ

เปลี่ยนมามองในฐานะเป็นญาติมิตรดีงาม ที่ควรเคารพนับถือมีเมตตาต่อกัน ไม่ควรมั่วสุม

คลุกคลีกัน ไม่ควรรบกวนก้าวก่ายกัน และไม่ควรสมคบกันทำสิ่งเสียหาย

ไม่ชอบด้วยเหตุผล
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:55 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อมองพัฒนาการนั้นในแง่ที่เกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ (รวมถึงอำนาจศักดิ์สิทธิ์เร้นลับอื่นๆ)

ก็จะมี 3 ขั้นเหมือนกัน คือ

-ขั้นหวังผล

-ขั้นเสริมกำลัง

-ขั้นเป็นอิสระสิ้นเชิง

ขั้นที่ 1 เป็นขั้นรอคอยอำนาจภายนอกดลบันดาล ทำให้หมกมุ่นฝักใฝ่ ปล่อยทิ้งเวลา

ความเพียรและการคิดเหตุผลของตน จัดเป็นขั้นก่อนพัฒนาหรือนอกชุมชนอารยะ


ขั้นที่ 2 คือ ขั้นที่ทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้เองแล้ว และใช้อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเพื่อเสริมกำลัง

ในการทำความดีอย่างอื่น เช่น ในการช่วยเหลือผู้อื่นจากภัยอันตราย และเป็นเครื่องประกอบ

ของอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ถ้าเป็นสิ่งมงคลศักดิ์สิทธิ์อย่างอื่น


ขั้นที่ 2 นี้ ก็อนุโลมไปถึงการมีสิ่งเหล่านั้นในฐานะเป็นเครื่องเสริมกำลังใจ

หรือเป็นเพื่อนใจให้เกิดความอุ่นใจ ทำให้เพียรพยายามทำความดีงามได้แข็งแรงยิ่งขึ้น

มีความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น

หรือเป็นเครื่องเตือนสติและเร่งเร้าให้ประพฤติสิ่งที่ดีงาม

ขั้นนี้พอจะยอมรับได้ว่า เป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ระบบชีวิตแบบชาวพุทธ

แต่ท่านไม่พยายามสนับสนุน เพราะยังอาจปะปนกับขั้นที่ 1 ได้ง่าย

ควรรีบก้าวต่อให้ผ่านพ้นไปเสีย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 7:58 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ควรระลึกอยู่เสมอถึงคุณสมบัติของอุบาสกที่ดีข้อ ที่ 3 ว่า “ไม่ถือมงคลตื่นข่าว มุ่งกรรม

(การกระทำ) คิดมุ่งเอาผลจากกระทำ ไม่มุ่งหามงคล”

องฺ.ปญฺจก. 22/175/230


-ขั้นที่ 3 คือ การมีชีวิตจิตใจเป็นอิสระ ดำเนินชีวิตที่โปร่งเบาแท้โดยไม่ต้องอาศัย

อิทธิปาฏิหาริย์ หรือสิ่งอื่นภายนอกมาเสริมกำลังใจของตนเลย เพราะมีจิตใจเข็มแข็ง

เพียงพอ สามารถบังคับควบคุมจิตใจของตนได้เอง ปราศจากความหวาดหวั่นกลัวภัย

อย่างน้อยก็มีความมั่นใจในพระรัตนตรัยอย่างบริบูรณ์เป็นหลักประกัน

ขั้นที่ 3 นี้ จัดเป็นขั้นเข้าถึงพระพุทธศาสนา


ในการนำคนให้พัฒนาผ่านขั้นต่างๆเหล่านี้ งานสำคัญก็ คือ การสั่งสอนแนะนำ

และผู้ที่ถือกันว่าเป็นหลักในการทำหน้าที่นี้ก็ คือพระสงฆ์ ฯลฯ

วิธีเริ่มอาจทำโดยแกะสิ่งที่เขายึด หรือเกาะติดอยู่นั้นออกมาจากฐานเดิม แล้วหันเหบ่ายหน้า

สู่ทิศทางที่ถูกต้อง พร้อมทั้งใช้สิ่งที่เขายึดเกาะอยู่นั้นเป็นเครื่องจูงเขาออกมาจนพ้นจากที่นั้น

วิธีการนี้เห็นได้จากพุทธบัญญัติเกี่ยวกับการเหยียบผืนผ้า

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 8:01 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เรื่องมีว่า คราวหนึ่งเจ้าชายโพธิราชกุมาร สร้างวังแห่งหนึ่งเสร็จใหม่ จึงนิมนต์

พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไปฉันที่วังนั้น เจ้าชายได้ให้ปูลาดผ้าขาวทั่วหมดถึงบันได

ขั้นที่ 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จถึงวัง ก็ไม่ทรงเหยียบผ้า

จนเจ้าชายโปรดให้ม้วนเก็บผืนผ้าแล้วจึงเสด็จขึ้นวัง และได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้

ห้ามภิกษุเหยียบผืนผ้า

ต่อมา หญิงผู้หนึ่งซึ่งแท้งบุตรใหม่ๆ ได้นิมนต์พระมาบ้านของตนแล้ว ปูผ้าผืนหนึ่งลง

ขอร้องให้พระภิกษุทั้งหลายเหยียบเพื่อเป็นมงคล

ภิกษุเหล่านั้นไม่ยอมเหยียบ หญิงนั้นเสียใจและติเตียนโพนทะนาว่าภิกษุทั้งหลาย

ความทราบถึงพระพุทธองค์ จึงได้ทรงวางอนุบัญญัติ อนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายเหยียบผืนผ้า

ได้ ในเมื่อชาวบ้านขอร้อง เพื่อเป็นมงคลแก่พวกเขา

(วินย. 7/120-4/46-50; ม.ม.13/486/440 )
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 8:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อรรถกถา (วินย. อ. 3/345; ม.อ. 3/299; ธ.อ.6/1) ขยายความว่า เจ้าชายโพธิราชไม่มี

โอรสหรือธิดา ได้ทรงให้ปูลาดผ้าครั้งนั้น โดยตั้งความปรารถนาว่า ถ้าได้โอรสก็ขอให้

พระพุทธองค์ทรงเหยียบผ้านั้น

พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าเจ้าชาย จะไม่มีโอรสธิดาจึงไม่ทรงเหยียบ และได้ทรงบัญญัติ

สิกขาบทห้ามภิกษุทั้งหลายเหยียบผืนผ้า เพราะทรงประสงค์จะอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์

ในภายหลัง เพราะในพุทธกาลมีภิกษุที่รู้จิตผู้อื่นอยู่มาก ภิกษุเหล่านั้นย่อมเหยียบหรือ

ไม่เหยียบได้ตรงตามความคิดของชาวบ้านเจ้าของผ้านั้น แต่นานไปภิกษุหลังพุทธกาล

ทำไปโดยไม่รู้ไม่เข้าใจ ชาวบ้านก็จะติเตียนเอาว่า พระสมัยนี้ไม่เก่งเหมือนอย่างสมัยก่อน

จึงบัญญัติสิกขาบทไว้ เป็นการช่วยคุ้มครองภิกษุรุ่นหลังทั้งหลาย และอธิบายต่อไปว่า

ในกรณีที่หญิงแท้งไปแล้ว หรือมีครรภ์แก่ เขาขอเพื่อเป็นมงคลจึงเหยียบได้
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 23 พ.ค.2008, 8:33 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ถ้าพิจารณาตามแนวของอรรถกถา อาจมองเห็นความต่อไปว่า กรณีของเจ้าชายโพธิเป็นการ

บนบานขอลูก จึงทรงบัญญัติไม่ให้เหยียบ

ส่วนกรณีของหญิงแท้งบุตร เป็นการขอเพื่อเป็นสิริมงคลเท่านั้น จึงทรงอนุญาตให้

เหยียบ

อย่างไรก็ดี ถ้าไม่ดูอรรถกถา พิจารณาอย่างพื้นๆตามเรื่องในบาลี จะสันนิษฐาน

ความได้ใหม่ ที่ดูจะสมเหตุผลอยู่มากกว่า ที่ไม่ทรงเหยียบผ้าที่วังของเจ้าชายโพธิ

ก็เพราะทรงรักษามรรยาท พระองค์เสด็จมาถึงยังไม่ได้ล้างพระบาท จึงไม่ทรง

เหยียบ เพราะไม่ประสงค์จะให้ผ้าเปื้อนสกปรก

(มีอนุบัญญัติต่อไปด้วยว่า ถ้าภิกษุล้างเท้าแล้ว อนุญาตให้เหยียบได้)

ส่วนกรณีของหญิงนั้นทรงยกเว้นให้ เพราะเขาขอร้องเองโดยมีเหตุผลว่าต้องการมงคล
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง