Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม (สุทัสสา อ่อนค้อม) อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2005, 10:50 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
โดย สุทัสสา อ่อนค้อม



ธันวาคม ๒๕๓๗
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย : WEBSITE : www.jarun.org
อ่านฉบับเต็มแยกตามบทได้ที่
http://www.jarun.org/v5/th/lgeneralmain04.html
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2005, 10:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คำนำ

ข้าพเจ้าเกิดในครอบครัวที่บรรพบุรุษนับถือพุทธศาสนา พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย พาเข้าวัดตั้งแต่เล็ก ๆ โดยเฉพาะเทศกาล "เทศน์มหาชาติ" จะพากันไปวัดตั้งแต่ตีสี่ตีห้า เพื่อจะได้ฟังพระสวด "คาถาพัน" ได้ครบ ๑,๐๐๐ คาถา ด้วยเชื่อวันว่าเมื่อตายจะได้ขึ้นสวรรค์ ก่อนนอน คุณพ่อคุณแม่ก็จะเล่านิทานที่เกี่ยวกับนรกสวรรค์ให้ฟังเสมอ ๆ เช่น เรื่องเทพบุตร เทพธิดา ที่มีความสุขอยู่ในวิมานสวย ๆ หรือเรื่องพระมาลัยไปเทศน์โปรดสัตว์ที่เมืองนรก เป็นต้น ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความคิดคำนึงและจินตนาการไปต่าง ๆ ตามประสานเด็ก ทรรศนะที่มีต่อพระพุทธศาสนาในวัยขนาดนั้น คือ ต้องทำความดีจึงจะได้ขึ้นสวรรค์ แล้วไม่อยากทำความชั่ว เพราะกลังจะไปตกนรก ความเชื่อเรื่องกรรมจึงมีมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เมื่อจบมัธยมต้นจากต่างจังหวัด ได้เข้ามาสอบเรียนต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่น ๒๙) ในกรุงเทพฯ อาศัยอยู่กับครอบครัวมุสลิมซึ่งเขารักเหมือนลูกสาว คุณยายของบ้านเป็นชาวพุทธและไปฟังเทศน์ที่วัดทุกวันอาทิตย์ ไปวัดโพธิ์บ้าง วัดพระแก้วบ้าง ข้าพเจ้าก็ตามคุณยายไปแล้วก็สังเกตว่าคนที่ไปวัด มีแต่คนแก่ ๆ ข้าพเจ้าตอนนั้นอายุ ๑๘ ปี จึงเป็นคนเดียวที่อายุน้อยที่สุด จบโรงเรียนเตรียมฯ ก็สอบเข้าเรียนที่คณะอักษรศาสตร์จุฬา พักที่หอพักนิสิตหญิงจุฬาฯ (ปัจจุบันเป็นศูนย์การค้ามาบุญครอง) วันอาทิตย์ก็ได้ไปเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่วัดบวรนิเวศ เป็นลูกศิษย์ ท่านเจ้าคุณธมฺมสาโร ภิกขุ

จบปริญญาตรีแล้ว ทรรศนะที่มีต่อพระพุทธศาสนาก็ยังอยู่ในระดับนรกสวรรค์ ต่อเมื่อเรียนปริญญาโท สาขาปรัชญา ที่คณะและมหาวิทยาลัยเดิม ทำให้ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนากว้างขวางขึ้น อาจารย์ผู้ให้ความรู้และเป็นแรงจูงใจให้หันมาศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง คือ ท่านรองศาสตราจารย์ ดร. สุนทร ณ รังสี ส่วนพระสงฆ์นั้น ข้าพเจ้าเคารพและศรัทธา ท่านเจ้าคุณอาจารย์ พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ในความเป็นปราชญ์ทางด้านพระพุทธศาสนาของพระคุณท่าน และท่านก็ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ด้านปริยัติแก่ข้าพเจ้าด้วยความเมตตาอย่างหาที่เปรียบมิได้

ในด้านการปฏิบัติ ข้าพเจ้าเริ่มปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเมื่อปี ๒๕๒๖ เมื่อทางวิทยาลัยส่งให้เข้าอบรมปฏิบัติธรรมที่ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ข้าพเจ้าได้เป็นศิษย์ของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ ตั้งแต่บัดนั้น (ปัจจุบันหลวงพ่อได้เลื่อนสมณศักดิ์ เป็นที่ พระเทพสิงหบุราจารย์) และชีวิตก็พลิกผันหันเข้าหาธรรมะอย่างเต็มภาคภูมิ นับแต่บัดนั้นจนถึงบัดนี้ ทรรศนะที่มีต่อพระพุทธศาสนาได้ก้าวพ้นจากระดับนรกสวรรค์ขึ้นมา ข้าพเจ้าไม่อยากเกิดในสวรรค์ เพราะเป็นภูมิที่ยังต้องเวียนว่าย ข้าพเจ้ามีความใฝ่ฝันที่จะข้ามพ้นจากสงสารสาคร แต่ก็คงจะเป็นได้เพียงความฝัน เพราะยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งพบว่าการจะเข้าถึงมรรค ผล นิพพาน นั้นยากแสนยาก และหากผู้ปฏิบัติขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็อาจหลงทางได้ง่าย


การไปวัดอย่างสม่ำเสมอ เรื่องได้ฟังธรรมเทศนาจากท่านเจ้าคุณหลวงพ่อหลายต่อหลายครั้ง บางเรื่องก็ฟังซ้ำถึงหกเจ็ดครั้ง (แต่ข้าพเจ้าก็ไม่เคยเบื่อ) และความที่เป็นคนช่างจดช่างจำ เรื่อง "ไฟไหนเล่าร้อนเท่าไฟนรก" และ "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" จึงเกิดขึ้น ความปลาบปลื้มใจพูนทวีจนสุดจะพรรณนา เมื่องานเขียนของข้าพเจ้าได้รับความนิยมจากท่านผู้อ่านมากมายเกินความคาดหมาย ข้าพเจ้ารู้สึกปีติที่ได้ทำหน้าที่ช่วยเผยแผ่คำสอนของท่านเจ้าคุณหลวงพ่อผู้ซึ่งดำเนินตามรอยบาทขององค์พระศาสดาอย่างแน่วแน่ ข้าพเจ้าจึง "ได้บุญ" จาก ธัมมัสสวนมัย และ ธัมมเทสนามัย ในเวลาเดียวกัน ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อผู้มีพระคุณต่อข้าพเจ้า


ท่านเมตตาช่วยเหลือข้าพเจ้าทุกอย่าง และยังสนับสนุนส่งเสริมให้ข้าพเจ้าไปเรียนปริญญาเอกที่ประเทศอินเดีย การได้ใช้ชีวิตใน "แดนพุทธภูมิ" ทำให้ข้าพเจ้าได้ความรู้และประสบการณ์ด้านพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ท่านอาจารย์ เขมานันทะ (พระมหาบาง สิมพลี) ได้เมตตาช่วยเหลือในเรื่องการสมัครเรียนที่ มหาวิทยาลัยมคธ ตลอดจนช่วยสงเคราะห์ให้ได้พำนักในวัดทิเบต อันเป็นวัดของฝ่ายมหายาน ข้าพเจ้าจึงได้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นกำไรชีวิต ท้ายที่สุดนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นหนี้บุญคุณนิตยสาร กุลสตรี โดยเฉพาะ คุณยุพา งามสมจิตร ผู้ซึ่งข้าพเจ้าเคารพนับถือดุจครูอาจารย์ ด้วยท่านทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เกิดในบรรณพิภพ ข้าพเจ้าถือโอกาสนี้ แสดงคารวะและกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อท่านผู้มีพระคุณทุกท่านที่กล่าวข้างต้น และต่อท่านผู้อ่านที่ได้เมตตาช่วยค้ำจุนให้ข้าพเจ้ายืนหยัดอยู่ในโลกของตัวหนังสือได้อย่างมั่นใจ ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านเทอญ


สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ๑...

กิจวัตรประจำวันของท่านพระครูคือ ตื่นนอนตั้งแต่ตีสี่ แล้วปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานไปจนถึงหกโมงเข้า จากนั้นจึงจะออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ให้ชาวบ้านร้านถิ่นได้มีโอกาสสร้างคุณความดี ด้วยการบริจาคทาน เพื่อขจัดความตระหนี่เหนียวแน่นออกไปจากจิตใจ ท่านพระครูถือว่า การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เป็นข้อวัตรปฏิบัติที่สำคัญเป็นลำดับแรก พระ เณร ทุกรูปที่อาศัยอยู่ในวัดป่ามะม่วงแห่งนี้ จะต้องปฏิบัติทุกวัน เพื่อขัดเกลากิเลสเครื่องเศร้าหมองในตัวให้ลดน้อยลง และต้องนำไปสั่งสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม เป็นอันได้ประโยชน์ทั้งสองส่วน คือประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน ในฐานะที่เป็นเจ้าอาวาส ท่านพระครูย้ำเตือนพระลูกวัดอยู่เสมอว่า "หน้าที่ของบรรพชิตที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ มีสามข้อคือ ศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม และสั่งสอนธรรม ผู้ใดเกียจคร้านละเลยต่อหน้าที่ถือว่าบวชเสียข้าวสุก และได้ชื่อว่ายังชีพอยู่ด้วยการเบียดเบียนชาวบ้าน พวกญาติโยมเขาไม่เลื่อมใสศรัทธาพระประเภทนี้"


"ถ้าอย่างนั้นพวกพระที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ใบ้หวย รับปลุกเสกลงเลขยันต์ ก็ไม่ได้ทำหน้าที่ของพระใช่ไหมครับหลวงพ่อ" พระบวชใหม่รูปหนึ่งถามขึ้น "ฉันไม่อยากเรียกคนประเภทนั้นว่าพระ เรียกว่าพวกอาศัยผ้าเหลืองหากินดูจะเหมาะกว่า คนสมัยนี้มักหากินกันแปลก ๆ ไม่ยักกลัวบาปกลัวกรรม" "เขาคงไม่เชื่อว่าบาปกรรมมีจริงกระมังครับ" "แต่บางคนทั้ง ๆ ที่เชื่อก็ยังทำฉันไม่อยากจะพูด พระบางองค์เป็นถึงท่านเจ้าคุณแต่เบื้องหลัง.....อย่าพูดดีกว่าฉันไม่อยากพูดเรื่องนี้ มันกระทบกระเทือนสถาบันสงฆ์ เพราะพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยังมีอีกมาก" ท่านพระครูพูดอย่างปลงตก "หลวงพ่อครับ ผมเคยฟังมาว่า ท่านเจ้าคุณบางองค์ ค้ายาเสพติดจริงหรือเปล่าครับ"ภิกษุหนุ่มถามอีก"อย่าคิดอะไรมาก ตั้งหน้าตั้งตาเจริญกรรมฐานไปดีกว่าบางครั้งการรู้อะไรมาก ๆมันก็เป็นภัยกับตัวเราเอง
คิดเสียว่า....ชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์... พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม บุคคลหว่านพืชเช่นไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น .... ข้อนี้เป็นสัจธรรม" "ครับ ผมสบายใจมากขึ้นที่ได้มาบวชอยู่วัดนี้" ผู้บวชใหม่พูดอย่างปลาบปลื้ม
"ที่นี่ไม่รับคนโกนหัวห่มผ้าเหลือง แต่ไม่ทำหน้าที่ของพระ ใครมาอยู่วัดนี้แล้วไม่เอากรรมฐานก็นิมนต์ไปอยู่วัดอื่น ฉันต้องการคุณภาพไม่ใช่ปริมาณ ขึ้นชื่อว่าสงฆ์ต้องเป็น "สุปฏิปันโน" ที่แท้จริง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นศากยบุตรอย่างสมบูรณ์แบบ" ท่านพระครูพูดเสียงหนักแน่น ชื่อเสียงด้านความเคร่งครัดในการปฏิบัติของพระวัดนี้ขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ ทั้งบรรพชิตและฆราวาสผู้มุ่งความสงบทางจิต พากันมุ่งหน้ามายังวัดแห่งนี้ซึ่งตั้งเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐาน และ มีชื่อเสียงโด่งดังมานาน


กุฏิกรรมฐานถูกสร้างขึ้นหลังแล้วหลังเล่าจนเต็มบริเวณวัด กระนั้นก็ยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการของบรรดาผู้แสวงหาโมกขธรรม ผู้ไม่ถือว่าเรื่องที่พักอาศัยเป็นอุปสรรคต่อการสร้างบุญบารมี ด้วยเหตุนี้จึงมักปรากฏอยู่เสมอที่พวกเขาพากันไปกางกลดอยู่นอกวัดโดยไม่อาทรต่อความร้อนหนาวของอากาศ ขอเพียงให้จิตสงบเย็นเท่านั้นเช้าวันหนึ่งในต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ หลังจากที่ท่านพระครูปฏิบัติกรรมฐานเสร็จก็เตรียมตัวออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ โดยมีลูกศิษย์หิ้วปิ่นโตเดินตามหลัง เมื่อท่านอุ้มบาตรเดินออกมาถึงหน้าประตูเข้าวัด ก็พบชาย ฉกรรจ์ผู้หนึ่งอายุราว ๆ สามสิบปี สะพายกระเป๋าเสื้อผ้าใบย่อมไว้บนบ่าข้างขวา เดินเข้ามานั่งยอง ๆ ยกมือไหว้แล้วถามท่านด้วยอาการตื่นเต้นว่า "ท่าน... ท่านพระครูเจริญ เจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงใช่หรือเปล่าครับ" เสียงที่พูดฟังแปร่งหู แสดงว่าไม่ใช่คนถิ่นนี้ "ฉันนี่แหละ เธอคงไม่ใช่คนแถวนี้ใช่ไหม"


ท่านถาม ท่าทางเขาดีใจและประหลาดใจระคนกัน รีบตอบท่านไปว่า "ครับ ผมมาจากกาฬสินธุ์" "มีธุระอะไรกับฉันหรือ" "มีครับ สำคัญมากแต่...ผม...คือ...มันเป็นความลับครับ"เขาพูดอึก ๆ อัก ๆ ครั้นจะบอกไปตามตรงว่าไม่อยากให้ลูกศิษย์ของท่านรก็เกรงว่าเจ้าหมอนั้นจะตั้งตัวเป็นศัตรู "เอาละฉันเข้าใจ ว่าแต่ว่าธุระของเธอด่วนมากหรือเปล่าถ้าไม่รีบร้อน รอฉันกลับจากบิณฑบาตเสียก่อนจะได้ไหม" เจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงหาทางออกให้"ได้ครับ ได้ ผมจะรอท่านอยู่ตรงนี้" ชายต่างถิ่นรีบตอบ ท่านพระครูตั้งสติกำหนด "เห็นหนอ" แล้วเพ่งสายตาไปยังที่หน้าผากของเขา ก็ได้รู้ว่า บุคคลนี้มิได้มาร้าย จึงชี้มือไปที่กุฏิของท่านแล้วพูดว่า


"ไปนั่งรอที่กุฏิของฉันดีกว่า นั้นหลังนั้น" ชายหนุ่มยกมือไหว้อีกครั้ง แล้วจึงเดินไปรอที่กุฏิตามคำสั่งของท่าน เขาดีใจและแปลกใจมากที่เหตุการณ์ช่างตรงกับความฝัน พระรูปนั้นมาปรากฏให้เขาเห็นในฝันติด ๆ กันถึงสามคืนจนเขาจำท่านได้ติดตา ช่างเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เขาปลดกระเป๋าออกจากบ่าวางมันลงที่พื้น แล้วเดินสำรวจไปรอบ ๆ วัด ไม่มีอะไรผิดเพี้ยนไปจากสิ่งที่เขาเห็นในฝัน เสียงประหลาดสั่งให้เขามา "แก้กรรม" ที่วัดแห่งนี้ บอกชื่อวัด ที่ตั้ง พร้อมทั้งชื่อสมภารเสร็จสรรพ เขาสู้อุตส่าห์เดินทางดั้นด้นมาเพื่อจะพิสูจน์และก็ได้พบแล้ว เพียงแต่ยังไม่รู้เท่านั้นว่า "แก้กรรม" เป็นอย่างไร แต่ก็แปลกที่เสียงนั้นช่างไม่เหมือนกับเสียงของท่านพระครูเลยสักนิด มันก้องกังวานและดูมีอำนาจลึกลับอย่างไรชอบกล จะเป็นเสียงใครหนอ คงจะต้องถามท่านพระครูดู ท่านคงจะรู้ เขาแน่ใจว่าท่านต้องรู้ เกือบแปดโมงท่านพระครูและลูกศิษย์จึงกลับมา ท่านวางบาตรไว้บนอาสนะแล้วจึงเข้าไปล้างมือล้างเท้าในห้องน้ำ ลูกศิษย์จัดเตรียมสำรับไว้พร้อมแล้วจึงถอยออกมานั่งคอยรับใช้อยู่ห่าง ๆ


ท่านพระครูตั้งสติพิจารณาอาหารแล้วจึงลงมือฉันพร้อมทั้งทำกรรมฐานเริ่มตั้งแต่ "เห็นหนอ...ตัก...ยก...มา...อ้า...ใส่...เคี้ยว...กลืน" ทุกอิริยาบถถูกกำกับด้วย "หนอ" ข้าวแต่ละคำจึงถูกท่านฉันอย่างมีสติ ฉันเสร็จ ลูกศิษย์ยกสำรับมาวางที่พื้นเพื่อจะกินอาหารที่เหลือและเก็บไว้กินมื้อกลางวันกับมื้อเย็น ส่วนท่านพระครูท่านฉันมื้อเดียว บางวันมีงานยุ่งมากก็ไม่ฉัน ไม่จำวัด แต่ท่านก็ไม่มีอาการอ่อนเพลียหรือเมื่อยล้า เพราะอยู่ด้วยอำนาจของสมาธิที่คนธรรมดา ๆ ไม่อาจทำเช่นนั้นได้ "เอ้า กินข้าวกินปลาเสียก่อน มีเรื่องอะไรค่อยว่ากันทีหลัง" ท่านบอกชายแปลกหน้า ลูกศิษย์วัดตักข้าวใส่จานสองจานแล้วเรียกเขามาร่วมวง
ท่านพระครูลุกออกไปแปรงฟันบ้วนปากในห้องน้ำ รับประทานอาหารเสร็จ
ชายหนุ่มช่วยลูกศิษย์วัดล้างจาน เสร็จแล้วจึงเข้าไปหาท่านพระครู เป็นท่านนั่งขัดสมาธิก็นั่งท่านั้นบ้าง ลูกศิษย์วัดต้องมากระซิบว่า ให้นั่งพับเพียบ

"เธอชื่ออะไร มาที่นี่ได้อย่างไร" ท่านพระครูถาม
"บัวเฮียวครับ ผมเดินมา" ชายหนุ่มผู้มีนามว่าบัวเฮียวตอบ
"เดินมาจากไหน คงไม่ใช่จากกาฬสินธุ์นะ"
"ครับ ผมเดินมาจากกาฬสินธุ์ กว่าจะถึงที่นี่กินเวลาสิบห้าวันพอดี" เขาตอบ
"ทำไมถึงไม่ขึ้นรถมาล่ะ รถโดยสารก็มีออกเยอะแยะ"
"ในฝันเขาบอกให้เดินมาครับ"
"อ้อ เชื่อฝัน" ท่านพระครูยิ้มอย่างใจดี บางครั้งคนที่มาหาท่านก็มีเรื่องแปลก ๆ มาเล่าให้ฟังเสมอ ๆ

"เอ ชื่อแปลกดีนะ ฟังเหมือนชื่อญวน เป็นญวนหรือเปล่า" ท่านวกกลับมาถามเรื่องชื่อ
"ผม...อ้า...เป็นไทยครับ" นายบัวเฮียวรีบตอบ เขากลัวท่านพระครูจะไม่ยอมให้บวช ถ้ารู้ว่าเป็นคนญวน
"แล้วไปยังไงมายังไง จึงได้มาถึงที่นี่"
"เรื่องมันแปลกประหลาดมาเชียวครับ ท่านพระครู"
"เรียกฉันว่าหลวงพ่อ เหมือนที่คนอื่นเขาเรียกก็แล้วกัน"
"ครับ หลวงพ่อ ผมจะเล่าให้หลวงพ่อฟังตั้งแต่ต้นเลยนะครับ" ชายหนุ่มนิ่งไปอึดใจหนึ่ง เหมือนจะทบทวนความทรงจำ แล้วจึงเริ่มต้นเล่า

"ผมเกิดที่จังหวัดกาฬสินธุ์ พ่อกับแม่ทำงานอยู่ในโรงฆ่าสัตว์ พ่อมีหน้าที่ฆ่าวัวฆ่าควาย ซึ่งวันหนึ่ง ๆ จะฆ่าหลายตัว ส่วนแม่ก็ช่วยแล่เนื้อ หนัง กระดูก ตลอดจนพวกเครื่องในออกจากกัน เพื่อเตรียมส่งขาย มีร้านค้าย่อยมารับเอาไปขายราว ๆ ตีสี่ ผมก็เกิดและโตมาในโรงฆ่าสัตว์ ได้เห็นพ่อกับแม่ทำงานทุกวัน เถ้าแก่เขาให้พวกเรากินอยู่ในนั้นเสร็จ เมื่อผมโต พ่อก็พาไปเข้าโรงเรียนรัฐบาลพอจบประถมสี่ ก็ออกมาช่วยพ่อแม่ทำงาน แรก ๆ ก็ช่วยแม่แล่เนื้อ พอโตอายุสิบสี่สิบห้า ก็ช่วยพ่อฆ่าวัดควาย ปีต่อมาพ่อตาย เถ้าแก่เลยให้ผมทำงานแทนพ่อ..." "พ่อเธอเป็นอะไรตาย" ท่านพระครูถามขึ้น นายบัวเฮียวนิ่ง

ไปพักใหญ่ ๆเมื่อถูกถามเรื่องที่ทำให้สะเทือนใจ ในที่สุด จึงเล่าให้ท่านฟังว่า "พ่อถูกแม่แทงตายครับ พ่อผมแกชอบกินเหล้า พอเมาแล้วก็หาเรื่องทะเลาะกับแม่ วันที่แกจะตายนั้นแกเมามาก ถึงกับลงไม้ลงมือกับแม่ แม่สู้ไม่ไหว เลยคว้ามีดที่ใช้แทงคอสัตว์นั้น แทงพ่อ" ถึงตอนนี้เขาหยุดเล่า ภาพเหตุการณ์สยดสยองในครั้งนั้นผุดขึ้นในความทรงจำ มันแจ่มแจ้งชัดเจน เหมือนกับเพิ่งเกิดขึ้น ทั้งที่วันเวลาล่วงเลยมาถึงสิบปีแล้ว

"แม่เธอก็ต้องติดคุกนะสิ" "ครับ แม่ถูกจับฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ศาลตัดสินให้จำคุกยี่สิบปี แต่ลดให้ครึ่งหนึ่ง เพราะแม่รับสารภาพ พอปี ๒๕๐๖ ก็ได้รับการลดโทษอีกครึ่งหนึ่ง เนื่องในโอกาสที่ในหลวงอายุสามรอบ" "เป็นคนไทยต้องพูดราชาศัพท์ได้เขาเรียกว่า ทรงเจริญพระชนมายุครบสามสิบหกพรรษา" ท่านพระครูขัดขึ้น นายบัวเฮียวหน้าซีดรีบแก้ตัวเป็นพัลวัน "ผมจบแค่ ป.๔ พูดไม่เป็นหรอก แต่ผมก็เป็นคนไทย" "เอาละ เอาละ ไหนเล่าต่อไปซิ" "ครับ แม่ติดคุกอยู่ห้าปี พอออกจากคุก ก็มาทำงานอยู่ที่เก่า ผมก็อยู่กับแม่มาเรื่อย ๆจนกระทั่งผมอายุได้ยี่สิบห้าปี ก็มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นกับผมหลวงพ่ออาจไม่เชื่อก็ได้" เขาหยุดเล่าและมองหน้าท่านเหมือนจะหยั่งดูท่าทีของอีกฝ่าย
"เล่าไปเถอะ เชื่อหรือไม่เชื่อแล้วฉันจะบอกทีหลัง" ท่านพระครูกล่าวเสียงเรียบ ชายหนุ่มจึงเล่าต่อไปว่าคือเมื่อปีที่แล้ว ผมฝันประหลาดติด ๆ ก็มีเสียงก้องกังวานดังขึ้น "กันถึงสามคืน ตอนที่ฝัน ตื่นอยู่ก็ไม่เชิง ในฝัน ผมเห็นแสงสว่างวาบขึ้น แล้วเห็นหลวงพ่อเห็นวัดภาพที่เห็นในฝันนั้นชัดเจนมาก

จากนั้น ไม่ทราบว่าเป็นเสียงใคร แต่คงไม่ใช่เสียงหลวงพ่อ มันเหมือนลอยมาจากอากาศ เสียงนั้นบอกว่า "บัวเฮียว ภาพที่เห็นคือวัดป่ามะม่วง พระรูปนั้นชื่อพระครูเจริญ เป็นเจ้าอาวาส เจ้าจงไปหาท่าน แล้วให้ท่านบวชให้ วัดนี้อยู่ท่างทิศตะวันตก ให้เจ้าเดินทางไปสิบห้าวันก็จะถึงวัด เจ้าจะสามารถแก้กรรมได้ที่วัดนี้" แล้วภาพและเสียงก็หายไป ผมสะดุ้งตื่น ก็ได้เวลาทำงานพอดี ตอนแรกผมไม่ได้ใส่ใจ คิดว่า กินมาก ก็ฝันมาก พอคืนที่สองที่สามก็ฝันแบบเดียวกันนี้อีก เล่าให้แม่ฟัง แกก็บอกให้ลองทำตามฝันดู ผมจึงไปขอลางานเถ้าแก่ แกไม่ให้ลาเพราะไม่มีคนแทน ผมก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็ทำงานมาอีกปีหนึ่ง แล้วก็ได้โอกาสเมื่อแม่มีผัวใหม่ คือ ผัวใหม่แม่สมัครมาทำงานแทนผม เถ้าแก่เลยยอมให้ลาออกและเดินทางมานี่แหละครับ" "แล้วตอนนั้นแม่ของเธออายุเท่าไร" "สี่สิบกว่าครับ" "อ้อ สี่สิบหว่ายังแต่งงานใหม่ได้" ท่านพระครูพูดยิ้ม ๆ"ครับ เอ้อ พ่อใหม่ผมอายุแก่กว่าผมสักสองสามปีเห็นจะได้" "เรียกว่า ได้ผัวเด็กคราวลูกงั้นเถอะ" "ครับ แต่เขาเป็นคนดี ขยันขันแข็งแล้วไม่กินเหล้า" นายบัวเฮียวพูดราวกับว่าความดีของพ่อเลี้ยงจะทำให้ความผิดของแม่ลดน้อยลง เพราะการแต่งงานกับเด็กคราวลูกคราวหลาน ถือเป็นเรื่องผิดในสายตาของคนทั่ว ๆ ไป ถึงจะมีบางคนว่าไม่ผิด แต่อย่างน้อยมันก็ผิดปกติ


ท่านพระครูเชื่อตามที่ชายหนุ่มเล่ามาทุกประการ แต่เพื่อความแน่ใจ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ คิดดังนั้น ท่านจึงตั้งสติกำหนด "เห็นหนอ" อีกครั้ง และก็รู้ว่าสิ่งที่เขาเล่ามาเป็นความจริงเกือบหมด ยกเว้นเรื่องเดียวคือ พ่อหนุ่มผู้นี้เป็นคนญวน ไม่ใช่คนไทย ท่านเข้าใจถึงสาเหตุที่เขาต้องพูดปด และคนที่พูดปดได้ก็เพราะจิตยังหยาบ ต่อเมื่อปฏิบัติกรรมฐานจนจิตละเอียดประณีตขึ้น ก็จะเกิดหิริโอตัปปะ คือ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เมื่อนั้น เขาก็จะเลิกทำชั่ว พูดชั่ว และคิดชั่ว "ผมไม่เข้าใจว่า ทำไมเสียงนั้นบอกให้ผมมาแก้กรรมที่วัดนี้ ผมมีกรรมอะไรที่ต้องแก ในเมื่อผมไม่เคยทำเวรทำกรรมกับใคร" หนุ่มวัยเกือบสาบสิบเอ่ยขึ้น เขายังไม่รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ

ิ การเติบโตมาในโรงฆ่าสัตว์ ได้เห็นได้ทำปาณาติบาตจนชิน ทำให้จิตใจของเขาหยาบกระด้างเกินกว่าคนปกต"ลองนึกดูให้ดี ๆ ซิ ถ้าเหตุไม่มีแล้วผลมันจะเกิดได้อย่างไร" ท่านพระครูลองทดสอบคุณสมบัติทางใจของเขา นายบัวเฮียวนั่งนึกอยู่หลายนาที แต่ก็นึกไม่ออก จึงปฏิเสธเสียงหนักแน่น


"ไม่เคยจริง ๆ ครับ ตั้งแต่จำความได้ ผมไม่เคยทำร้ายใคร ไม่เคยลักขโมย ไม่เคยทำให้ใครเดือดร้อน" "ไม่จริงมั้ง" ท่านพระครูขัดขึ้น"จริงครับหลวงพ่อ ผมสาบานได้" "อย่าเลย ฉันไม่ชอบการสบถสาบาน เอาเถอะ ถ้ายังนึกไม่ออกก็ไม่เป็นไร แต่เธอไม่สงสัยบ้างเลยหรือว่า ในเมื่อเธอไม่เคยทำบาปแล้ว ทำไมถึงเกิดนิมิตว่าจะต้องมาแก้กรรมที่นี่ สิ่งที่เธอเล่ามานั้นไม่ใช่ความฝันแน่นอน เขาเรียกว่านิมิต คนที่จะเห็นนิมิตเช่นนี้ได้ จะต้องเป็นคนโชคดี เพราะเรื่องอย่างนี้ไม่เกิดกับใครง่าย ๆ เหมือนคนที่ตายไปตกนรก แล้วกลับฟื้นขึ้นมาเล่าให้คนอื่นฟังนั้น เป็นคนโชคดีมาก"
"ทำไมหลวงพ่อถึงคิดว่า คนที่ไปนรกเป็นคนโชคดีเล่าครับ" ชายหนุ่มถามอย่างสงสัย
"ไม่เรียกว่าโชคดี แล้วจะเรียกอะไร ก็คนประเภทนี้มีสักกี่คนกันเล่าที่โชคดี เพราะเขาได้กลับมาแก้ตัวอีกครั้ง ฉันเห็นมานักต่อนักแล้ว พวกคนที่ว่าไม่เชื่อนรก พอฟื้นขึ้นมาก็เห็นรีบทำบุญสร้างคุณความดีกันทุกราย เพราะได้ไปเห็นของจริงมาแล้ว พอเขาทำดี เมื่อตายลงอีกครั้งก็ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ" ท่านพระครูอธิบาย

"อบายภูมิแปลว่านรกหรือครับ" คนฟังเริ่มสนใจด้วยไอละออกของ "บุญเก่า" ยังพอมีเชื้อเหลือหลงอยู่บ้าง"อบายภูมิ หมายถึง ภูมิที่ไม่เจริญ ได้แต่ นรก เปรต อสุรกาย และ เดรัจฉาน คนที่ทำความชั่ว เมื่อตายลงไปจะไปเกิดในอบายภูมินี้"

"ทำอะไรบ้างครับ จึงจะเรียกว่าทำชั่ว" เขาถามอีก"ก็ละเมิดศีลห้านี่แหละ รู้จักศีลไหมล่ะ พ่อแม่เคยพาไปทำบุญที่วัดบ้างหรือเปล่า" ท่านพระครูถามทั้งที่รู้คำ ตอบดี "เห็นหนอ" ทำให้ท่านรู้กฎแห่งกรรมของบุรุษผู้นี้อย่างทะลุปรุโปร่งไม่เคยครับ พ่อกับแม่ไม่เคยเข้าวัดไปทำบุญ แต่ถ้าเข้าไปดูหนังดูลิเกในวัดละก็บ่อย" ตอบอย่างพาซื่อ"ถ้าอย่างนั้น เธอก็ไม่รู้น่ะซีว่า การกระทำที่ละเมิดศีลห้ามีอะไรบ้าง อยากรู้ไหมล่ะ" "อยากครับ หลวงพ่อช่วยบอกผมหน่อยเถิดครับ" "งั้นก็ตั้งใจฟังให้ดีนะ การกระทำที่ละเมิดศีลก็ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักขโมย การเป็นชู้กับลูกเมียคนอื่น การพูดปด การดื่มสุราเมรัย" ท่านพระครูอธิบาย เพราะถือว่า การสั่งสอนธรรมเป็นหน้าที่ของพระโดยตรง " ได้ฟังถ้อยคำของเจ้าอาวาส นายบัวเฮียวรู้สึกสะท้านสะเทือนในหัวอก เขาละเมิดศีลไปสองข้อแล้ว คือฆ่าสัตว์กับพูดปด ส่วนอีกสามข้อยังไม่เคยทำ โดยเฉพาะข้อสุดท้ายนั้น เขาจะไม่ล่วงละเมิดอย่างเด็ดขาด ก็ไม่ใช่เพราะดื่มสุราเมรัยหรอกหรือ พ่อจึงต้องจบชีวิตอย่างเอนจอนาถ

"หลวงพ่อครับ ฆ่าสัตว์ก็บาปด้วยหรือครับ" เขากังขา "แน่นอน" "ถ้าอย่างนั้น ผมคงบาปมากเลย เพราะฆ่าวัวฆ่าควายทุกวัน ยกเว้นวันพระซึ่งทางการเขาห้าม ผมคิดว่าฆ่าคนถึงจะบาป" ชายหนุ่มเพิ่งจะเข้าใจ สิ่งแวดล้อมและการอบรมเลี้ยงดูได้หล่อหลอมให้เขาเป็นผู้มีจิตใจหยาบกระด้าง แต่โดยเนื้อแท้แล้ว เขาเป็นคนจิตใจดี มีเมตตากรุณา และด้วยเหตุนี้ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี จึงบังเกิดขึ้นเมื่อกุศลผลบุญแต่ปางก่อนดลใจให้มาพบกัลยาณมิตร "ทีนี้ เธอคงรู้แล้ววีนะว่า ทำไมถึงต้องแก้กรรม" ท่านพระครูถามเขา"ครับ" นายบัวเฮียวตอบ เขาก้มหน้านิ่งด้วยความรู้สึกละอายใจที่โกหกท่านเรื่องเชื้อชาติของตน ในที่สุดจึงตัดสินใจถามขึ้นว่า "หลวงพ่อครับ คนที่ไม่ใช่คนไทย จะบวชที่วัดนี้ได้ไหมครับ"
"ทำไมจะไม่ได้เล่า ที่นี่ไม่จำกัดเชื้อชาติ ถ้ามีจิตศรัทธามาขอบวชและมีคุณสมบัติครบ ก็บวชได้ทั้งนั้น" ท่านพระครูตอบ "แล้วคุณสมบัติที่ว่า มีอะไรบ้างครับ"
"อันดับแรก ก็ต้องเป็นคนมีอาการครบ ๓๒ ไม่พิกลพิการ หรือ บ้า ใบ้ บอด หนวก แล้วก็ต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ หรือถ้ามีเมีย ก็ต้องให้เมียอนุญาต" "ถ้าเมียไม่มีแล้วพ่อตาย จะบวชได้ไหมครับ"
"ก็แม่อนุญาตหรือเปล่าเล่า"
"อนุญาตครับ" "ถ้าเช่นนั้นก็บวชได้ไม่มีปัญหา ถามทำไมหรือ" ท่านแกล้งถามไปอย่างนั้นเอง ความจริงท่านรู้วาระจิตของชายที่นั่งตรงหน้าหมดสิ้นแล้ว

หลวงพ่อครับ ผมต้องขอโทษที่โกหกหลวงพ่อ" หากได้รับการศึกษาอบรมมาดีกว่านี้ นายบัวเฮียวคงจะพูดว่า "พระเดชพระคุณหลวงพ่อครับ กระผมต้องกราบขออภัยที่ไม่ได้พูดความจริงกับหลวงพ่อ..." "ขอโทษเรื่องอะไรหรือ" "เรื่องที่ผมโกหกว่าเป็นคนไทยน่ะครับ จริง ๆ แล้ว ผมไม่ใช่คนไทย พ่อแม่ผมเป็นญวน แต่ผมเกิดในเมืองไทยจึงได้สัญชาติไทย แต่เชื้อชาติญวน

"แล้วทำไมต้องพูดปดด้วยเล่า" แม้ท่านพระครูจะล่วงรู้เหตุผลกลในของเขาเป็นอย่างดี หากท่านก็จำต้องถามเพื่อให้เขาได้พูดออกมาเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า เขาได้ขอขมาในความผิดนั้นแล้ว "ก็ถ้าพูดความจริง ผมกลัวหลวงพ่อจะไม่ยอมรับบวชให้ผมครับ" เขาตอบ "อ้าวแล้วกัน นี่ฉันไปรับปากรับคำว่าจะบวชให้เธอตั้งแต่เมื่อไหร่" ท่านตั้งใจจะล้อเล่น แต่นายบัวเฮียวเข้าใจว่า ท่านพูดจริง ใจที่กำลังฟูฟ่องนั้น กลับฟุบแฟบลงเสียทันใด

มีต่อ.......๒

ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน ยิ้มเห็นฟัน
 


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 20 พ.ค.2008, 6:45 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2005, 10:55 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๒... นายบัวเฮียวนั่งพับเพียบมานานจนรู้สึกเมื่อย จึงเปลี่ยนเป็นนั่งชันเข่า รู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรงที่ท่านพระครูปฏิเสธที่จะบวชให้ เขามองท่านตาละห้อย คิดหาถ้อยคำที่จะพูดอ้อนวอนท่าน หากก็คิดไม่ออก จึงไม่มีคำพูดใด ๆ เล็ดลอดออกมาจากริมฝีปากค่อนข้างหนาคู่นั้น เห็นท่าทางผิดหวังของเขา ท่านพระครูได้นึกสงสาร จึงพูดขึ้นว่า "ฉันพูดเล่นหรอกนะ เอาเถอะในเมื่ออยากบวชก็จะบวชให้ เธออ่านหนังสือออกไม่ใช่หรือ จบประถมสี่นี่นะ" ใจที่ฟุบแฟบกลับฟูฟ่องขึ้นอีกครั้ง จึงตอบท่านว่า "ครับ พออ่านออกเขียนได้" "ดีแล้ว ต้องหัดท่องคำบาลีที่เรียกกันว่า "ขานนาค" ให้คล่อง ท่องได้เมื่อไหร่ก็บวชให้เมื่อนั้น" "ใช้เวลาสักกี่วันครับหลวงพ่อกว่าจะท่องได้" ถามอย่างปีติ"ก็ต้องแล้วแต่เธอ ถ้าความจำดีก็ได้เร็ว ไม่เกินสามวันเจ็ดวันก็ได้ แต่ถ้าความจำไม่ดีก็อาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน เอาละ เดี๋ยวจะหาพระให้มาเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลบอกกล่าวฉันไม่ค่อยมีเวลา ไหนจะต้องคอยรับแขกที่มาเข้ากรรมฐานบางวันเขาก็นิมนต์ไปบรรยายธรรมต่างที่ต่าง ๆ ครั้นจะไม่รับนิมนต์เขาก็จะติฉินนินทาเอาได้ว่าไม่ทำหน้าที่พระ" ประโยคหลังท่านบ่นกราย ๆ "พระที่หลวงพ่ออยู่ที่ไหนครับ" "อยู่วัดนี้แหละ สมชายมานี่หน่อยซิ" ท่านเรียกลูกศิษย์วัดซึ่งกำลังทำความสะอาดกุฏิอยู่ชั้นบน เด็กหนุ่มคลานเข้ามาหาท่าน แล้วจึงถาม "หลวงพ่อมีอะไรจะใช้ผมหรือครับ" "ช่วยไปดูซิว่าพระมหาบุญอยู่หรือเปล่าถ้าอยู่บอกให้มาพบฉันหน่อย มีธุระจะพูดด้วย" เด็กหนุ่มคลานออกไปจนถึงประตูแล้วจึงลุกขึ้นเดิน สักครู่ก็กลับมาพร้อมพระรูปหนึ่งอายุประมาณสี่สิบปี เมื่อมาถึงภิกษุรูปนั้นนั่งกราบเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงถามขึ้นว่า หลวงพ่อมีอะไรจะให้ผมรับใช้หรือครับ" "มีสิท่านมหา"นี่เขาจะมาขอบวช จะให้ท่านมหาช่วยสอนเรื่องการเตรียมตัวบวชรู้จัก



กับท่านมหาเสียสิบัวเฮียว"นายบัวเฮียวยกมือไหว้แบบเดียวกับที่ไหวท่านพระคร พร้อมกับยิ้มให้ท่านมหา "คงต้องสอนเรื่องการกราบการไหว้ให้ด้วย คงหนักหน่อยนะ นึกว่าเอาบุญก็แล้วกัน" ท่านพระครูพูดอย่างเกรงใจ "ไม่เป็นไรครับ ผมจะช่วยดูแลให้ดีที่สุด หลวงพ่อวางใจได้ แล้วจะให้เขาพักที่ไหนครับ "คงต้องให้อยู่กุฏิเดียวกับท่านมหาไปก่อน ออกพรรษามีกุฏิว่างแล้วค่อยให้แยก อีกสองวันพระ ก็จะออกพรรษาแล้วนะ

ทนอึดอัดไปก่อนนะบัวเฮียวนะ" "ไม่เป็นไรครับ ผมต้องขอบคุณหลวงพ่อและท่านมหาที่ช่วยเหลือผมมาก" คำพูดนั้นไม่ไพเราะนัก ทว่าก็ออกมาจากใจจริง"เอาละ เป็นอันว่าเสร็จธุระแล้ว ท่านมหาพาไปที่กุฏิเลย มีอะไรขัดข้องก็มาบอกฉันได้ ขอให้เชื่อฟังท่านมหาเขานะบัวเฮียวนะ" ท่านหันไปสั่งนายบัวเฮียว ซึ่งชายหนุ่มก็รับคำแข็งขัน พระมหาบุญกราบท่านพระครูสามครั้ง แล้วจึงบอกให้นายบัวเฮียวกราบบ้าง หนุ่มญวนทำตามอย่างว่าง่ายแม้ท่าทางจะดูเก้ ๆ กัง ๆ ด้วยไม่เคยทำมาก่อน นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา หากผู้ใดเดินผ่านกุฏิของพระมหาบุญก็จะได้ยินเสียง "เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา..." หรือไม่ก็เป็น "....อุกาสะ วันทามิ ภันเต, สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต..."



ดังออกมาจากกุฏิ บางครั้งก็เป็นเสียงสวดยถาสัพพี พระมหาบุญบางวันก็เป็นเสียงสวดธรรมจักร แล้วแต่ใครจะผ่านไปได้ยินตอนใด ลงความเห็นว่า แม้นายบัวเฮียวจะดูเป็นคนเซ่อ ๆ ซ่า ๆ แต่ก็ว่านอนสอนง่าย และมีความจำเป็นเลิศ ชั่วเวลาเพียงสี่วัน เขาก็สามารถท่อง "ขานนาค" ได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้องแม่นยำ การไหว้การกราบก็ทำได้สวยงามดูไม่เคอะเขินขัดหูขัดตาเหมือนตอนที่มาใหม่ ๆ เจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงรับฟังรายงานจากพระมหาบุญด้วยความยินดี ก่อนออกพรรษาห้าวัน นายบัวเฮียวก็เขาพิธีอุปสมบท โดยมีท่านพระครูเจริญเป็นพระอุปัชฌาย์ พระคู่สวดได้แก่ พระมหาบุญซึ่งรับหน้าที่เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับพระมหาเปล่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ อีก ๒๕ รูปเป็นพระอันดับ ทุกรูปล้วนเป็นพระวัดป่ามะม่วงทั้งสิ้น วันที่นายบัวเฮียวบวช ท่านพระครูงดออกบิณฑบาตโปรดสัตว์หนึ่งวัน เมื่อออกจากกรรมฐานในตอนเช้าแล้ว จึงจัดการให้ช่างตัดผมมาโกนผมให้นายบัวเฮียว โดยท่านนั่งดูอยู่ใกล้ ๆ ช่างตัดผมใช้กรรไกรตัดผมให้สั้นเสียก่อน แล้วจึงใช้มีดโกน ทันทีที่ใบมีดโกนสัมผัสหนังศีรษะ นายบัวเฮียวรู้สึกเสียบวาบไปทั่วร่างกาย พลันก็ระลึกนึกถึงบิดามารดา อยากให้บุคคลทั้งสองมาร่วมงานด้วย โดยเฉพาะบิดานั้นเขาคิดถึงมาก ไม่รู้ว่าป่านฉะนี้จะไปเกิด ณ ที่ใด แต่ก็คงไม่พ้นอบายภูมิ เพราะท่านพระครูบอกว่า คนที่ทำกรรมชั่วจะต้องไปเกิดที่นั่น คิดแล้วชายหนุ่มก็ร้องไห้ แรก ๆ ก็น้ำตาไหลเฉย ๆ หนักเข้าก็ถึงกับสะอื้นฮัก ๆ จนท่านพระครูสังเกตรู้ ส่วนช่างตัดผมไม่พูดว่ากระไร คงทำหน้าที่ของตนต่อไป "เธอร้องไห้ทำไมหรือบัวเฮียว" ว่าที่อุปัชฌาย์ถาม



"ผม...ผมคิดถึงพ่อกับแม่ครับ" ตอบปนสะอื้น ท่านพระครูเข้าใจความรู้สึกของเขา จึงพูดปลอบว่า"คิดถึงทำไม ก็แม่เธอเขามีความสุขไปแล้ว ไหนเธอบอกว่าพ่อเลี้ยงเขาเป็นคนดียังไงล่ะ" "ครับ แต่ผมก็อยากให้แม่มาร่วมงานในวันนี้ อยากให้แกมาเห็นชายผ้าเหลือง" พูดพลางใช้มือปาดน้ำตา "ยังไง ๆ เสียเขาก็ต้องได้เห็น แก้กรรมแล้วก็กลับไปเยี่ยมเขาได้ จะมานั่งเสียอกเสียใจทำไม" "ครับ" เขารับคำและหยุดร้องไห้ แต่ยังสะอึกสะอื้น พระครูท่านหยิบกระดาษเช็ดหน้าส่งให้เขาเช็ดน้ำมูกและน้ำตา เงียบกันไปครู่หนึ่ง หนุ่มวัยเกือบสามสิบก็เอ่ยขึ้นว่า "หลวงพ่อครับ แล้ว...พ่อ...พ่อ...ผมไปเกิดที่ไหนก็ไม่รู้" พูดแล้วก็ร้องไห้อีก ท่านพระครูจึงพูดตัดบทว่า



"อย่าเพิ่งไปคิดอะไรมาก ทำใจให้สบาย วันนี้เป็นวันมงคลของเธอนะ ขอให้ห่วงตัวเอง ช่วยตัวเองให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยคิดช่วยคนอื่น ผู้อื่นจะกระโจนลงไปช่วยคนตกน้ำ จะต้องว่ายน้ำเป็นเสียก่อน มิฉะนั้นก็จะพากันจบน้ำตายทั้งสองคน เรื่องพ่อของเธอนั้น หากเธอหมั่นทำกรรมฐานแล้วแผ่เมตตาไปให้ ก็อาจจะช่วยแกได้บ้าง" พูดแล้วก็หยิบกระดาษเช็ดหน้าส่งให้เขาอีกครั้ง



"จริงหรือครับหลวงพ่อ" ถามพลางรับกระดาษไปเช็ดน้ำตาและน้ำมูก ไม่ลืมที่จะประนมมือไหว้และกล่าวคำขอบคุณทุกครั้งก่อนรับของ "ฉันจะโกหกเธอทำไมกันเล่า" นายบัวเฮียวเกรงท่านจะโกรธ จึงพูดขึ้นว่า "ขอโทษครับ ถ้าอย่างนั้นผมจะตั้งใจปฏิบัติให้ดีที่สุด" "ดีแล้ว ฉันขออนุโมทนาด้วย จำไว้เถิดว่า อะไร ๆ ก็ไม่เหลือวิสัยของบุคคลที่มีความเพียรไปได้" เจ้าอาวาสพูดให้กำลังใจ เสร็จจากโกนผม ท่านพระครูจึงบอกให้นายบัวเฮียวไปอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดหมดจนเพื่อเตรียมเข้าพิธีในพระอุโบสถ พิธีจะเริ่มในเวลา๙.๐๙ นาฬิกา ค่ำวันเดียวกันนั้น พระบัวเฮียวได้นำพานดอกไม้ธูปเทียนมาขอขึ้นกรรมฐานจากพระอุปัชฌาย์อีกครั้งหนึ่งท่านพระครูเจริญอธิบาย

ให้พระใหม่เข้าใจว่า การขอกรรมฐานในพิธีซึ่งทำกันในพระอุโบสถเมื่อเช้านี้ เป็นการทำตามประเพณีเท่านั้น เพราะหลังจากบวชแล้ว พระส่วนใหญ่ก็มิได้นำไปปฏิบัติ เพราะฉะนั้นจึงเป็นกฎสำหรับพระวัดนี้ว่า พระบวชใหม่จะต้องมาขอกรรมฐานอีกครั้งเพื่อเป็นการยืนยันว่า จะตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงจัง ตลอดระยะเวลาที่ดำรงเพศเป็นบรรพชิต เมื่อพระบัวเฮียวกล่าวคำขอสมาทานกรรมฐานแล้ว ท่านพระครูจึงลงมือสอนด้วยตนเองเจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วง ท่านมีประสบการณ์ด้านการปฏิบัติมามาก สมัยที่บวชใหม่ ๆ ท่านเจริญสมถกรรมฐาน โดยการกำหนด "พุทโธ" เป็นองค์บริกรรม ปฏิบัติสมถกรรมฐานอยู่หลายปี จนได้อภิญญา แต่ก็เป็นโลกียอภิญญา ซึ่งเมื่อมีได้ก็เสื่อมได้ ไม่แน่นอนและไม่นำไปสู่ความหลุดพ้น เมื่ออายุได้ ๔๕ ปี ท่านได้ธุดงค์ไปในป่าดงพระยาเย็น เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะแนะนำเรื่องการปฏิบัติได้ ป่าดงพระยาเย็นนี้ แต่เดิมมีชื่อว่า ป่าดงพระยาไฟ ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงเปลี่ยนมาเป็น ดงพระยาเย็น เพื่อให้ฟังดูไพเราะและไม่น่ากลัวเหมือนชื่อเดิม

ที่ป่าดงพระยาเย็น ท่านพระครูเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ จาก "พระในป่า" แล้วท่านก็ได้พบว่า ไม่มีทางสายใดที่จะประเสริฐเท่ากับทางสายนี้อีกแล้ว ท่านเพิ่งจะเข้าใจซาบซึ้งในพุทธวจนะที่เคยอ่านพบในพระไตรปิฎก ความว่า "....ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเอก เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นความโศกแลปริเทวะ เพื่อความอัสดงแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุโลกุตตรมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี่คือ สติปัฏฐาน ๔..." นับเป็นโชคอันดี เป็นลาภอันประเสริฐของท่านพระครูที่ได้ไปพบกัลยาณมิตร ด้วย "พระในป่า" รูปนั้นท่านประกอบด้วยกัลยาณมิตรธรรม ๗ ประการครบบริบูรณ์คือ น่ารัก น่าเคารพ น่าเจริญใจ รู้จักว่ารู้จักพูด ยอมให้พูดยอมให้ว่า แถลงเรื่องลึกซึ้งได้ และไม่ชักนำในเรื่องที่ไม่ควร เจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับ "พระในป่า" เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม การดำเนินมรรคาที่ถูกต้องหนึ่ง การพบกัลยาณมิตรหนึ่ง ความไม่ย่อหย่อนในการประกอบความเพียรหนึ่ง และบุญบารมีที่ได้สะสมมาแล้วแต่ชาติปางก่อนหนึ่ง องค์ประกอบทั้ง ๔ ประการนี้เป็นเหตุปัจจัยให้การปฏิบัติของท่านก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว กระทั่งได้บรรลุโลกุตตรธรรมในที่สุด นับแต่บัดนั้นจนบัดนี้ ท่านได้สัมผัสกับความสุขที่แท้จริง และได้ตระหนักชัดแล้วว่า "นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ - สุขอื่นที่ยิ่งกว่าความสงบไม่มี



ด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา ปรารถนาจะให้เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้เข้าสู่ภาวะอันประเสริฐบริสุทธิ์นั้นบ้าง ท่านจึงทำวัดให้เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ฝึกอบรมพระเณรในวัดให้รู้วิธีปฏิบัติ เช่น การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ ตลอดจนการกำหนดรู้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น

วัดป่ามะม่วงจึงหลายเป็นสถานที่ดับร้อนผ่อนทุกข์ของชนเป็นอันมาก เพราะเป็นที่สัปปายะ คือความสะดวก ๔ ประการ ได้แก่ เสนา - สนสัปปายะ - มีที่พักอาศัยสะดวก อาหารสัปปายะ - มีอาหารการบริโภคสะดวก บุคคลสัปปายะ - มีบุคคลที่เกี่ยวข้องทำให้สบายใจ เพราะธรรมสัปปายะ - มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะแก่จริตของผู้ปฏิบัติธรรม ความสะดวก ๔ ประการนี้มีอยู่พร้อมมูลในวัดป่ามะม่วงที่ท่านพระครูเจริญเป็นเจ้าอาวาสเมื่อพระบัวเฮียวกล่าวคำขอสมาทานกรรมฐานเรียบร้อยแล้ว ท่านพระครูจึงซักถามพระบวชใหม่เพื่อต้องการทราบพื้นฐานความรู้



"พระมหาบุญท่านสอนอะไรมาบ้างหรือยัง" ท่านหมายถึงเรื่องการปฏิบัติ"สอนแล้วครับ" พระบวชใหม่ตอบ"ท่านสอนอะไรบ้าง" "ท่านอนเมือนกับหลวงพ่อสอนนั่นแหละครับ พระบัวเฮียวตอบซื่อ ๆ"ฉันยังไม่ได้สอนเธอนี่นา ก็กำลังจะสอนอยู่นี่ไง" พระอุปัชณาย์ท้วง"สอนครับ ก็หลวงพ่อเคยสอนให้ผมเชื่อฟังท่านมหา ท่านมหาก็สอนให้ผมเชื่อฟังพลวงพ่อ" พระใหม่ขยายความ "อ้อ...แต่ที่ฉันถามนั้น หมายถึงการปฏิบัติกรรมฐานต่างหากล่ะ พระมหาบุญท่านสอบการเดินจงกรม การนั่งสมาธิให้บ้างหรือยัง" ผู้อาวุโสกว่าเริ่มจะรู้สึกถึงความซื่อที่มีระดับใกล้เคียงกับ "เซ่อ" ของพระผู้เป็นลูกศิษย์ "ยังครับ" คราวนี้พระบัวเฮียวตอบแข็งขัน "ถ้าอย่างนั้นก็เริ่มต้นกันเลย เอาละ ยืนขึ้น ฉันจะสอนเดินจงกรมระยะที่หนึ่งให้" แล้วท่านก็ลุกขึ้น ผู้บวชใหม่ลุกตาม แต่ตั้งใจว่าจะปฏิบัติให้ดีที่สุด เพราะศรัทธาปสาทะที่มีต่อท่านพระครูนั้น เป็นเสมือนโอสถขนาดเอกที่จะทำให้ตนหายจากโรคได้ "การเดินจงกรม มีทั้งหมด ๖ ระยะ ระยะที่หนึ่งมีหนึ่ง "หนอ" ระยะที่สองก็มีสอง "หนอ" แล้วก็เพิ่มขึ้นระยะละหนึ่ง "หนอ"ไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะที่หก ก็มีหก "หนอ" ผู้เป็นอุปัชฌาย์อธิบาย "หนอ แปลว่าอะไรครับหลวงพ่อ" ถามอย่างใคร่รู้ หากในใจนั้นคิดเล่น ๆ ว่า "หนอ ๆ แหน ๆ อะไรกันวุ้ย หลวงพ่อนี่พิกลจริง ๆ"



"ถ้าจะเอาคำแปลกันจริง ๆ มันก็ไม่มี เพราะมันเป็นคำอุทาน เหมือนเวลาเราพูดว่า สุขจริงหนอ ดีใจหนอ อะไรพวกนี้ แต่ในการปฏิบัติธรรม เราเอา "หนอ" มาใช้เป็นองค์บริกรรม เช่น ขวา - ย่าง - หนอ ซ้าย - ย่าง - หนอ "หนอ" ในที่นี้แปลว่า "กำลัง" หรือจะแปลว่า "รู้" ก็ได้เหมือนกัน คือ รู้ปัจจุบัน เช่นรู้ว่าเรากำลังเดิน รู้ว่ากำลังกิน สรุปก็คือ "หนอ" เป็นตัวบอกให้เรามีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลานั่นเอง เข้าใจหรือยังล่ะ" ท่านพระครูอธิบาย ท่านไม่รู้สึกแปลกใจว่า



เหตุใดพระบวชใหม่ทุกรูปก็เคยถามท่านแบบเดียวกันนี้มานักต่อนักแล้ว "เข้าใจแล้วครั บ ถ้าอย่างนั้นหลวงพ่อสอนผมเดินทั้งหกระยะเลยได้ไหมครับ วันหลังจะได้ไม่ต้องมารบกวนหลวงพ่อ" พระใหม่พูดด้วยความเกรงใจ "ไม่ได้หรอก ต้องเดินวันละหนึ่งระยะแล้วจึงค่อย ๆเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน อย่าใจร้อน ปฏิบัติธรรมต้องใจเย็น ๆ จึงจะได้ผลเอาละฉันจะเดินระยะที่หนึ่งให้ดู ลำดับแรก ยืนตัวตรงเอามือไขว้หลัง นี่อย่างนี้" พระบัวเฮียวทำตามหากมือที่ไขว้นั้นเอามือซ้ายทับมือขวาและแขนห้อยลงแบบสบาย ๆ



"ทำอย่างนั้นไม่ได้ นี่ต้องเอามือขวาทับมือซ้าย แล้วยกมือที่ไขว้ขึ้นมาไว้บริเวณกระเบนเหน็บ ไม่ใช่ห้อยสบาย ๆ แบบนั้น" ท่านจับมือทั้งสองของพระใหม่ และจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง "เอาละ เสร็จแล้วกำหนด "ยืนหนอ" ห้าครั้ง หายใจยาว ๆ เอาสติไว้ที่ศีรษะ พอบอก "ยืน....ค่อย ๆ ลากสติลงมาช้า ๆ พอถึงคำว่า "หนอ" สติก็จะมาอยู่ที่เท้าพอดี แล้วจึงลากขึ้นด้วยวิธีเดียวกัน เพราะฉะนั้น "ยืน....หนอ" ห้าครั้ง เราก็จะลากสติ ลง...ขึ้น ลง...ขึ้น ลง ลองทำซิ" พระใหม่ทำตามคำบอก และก็ทำได้โดยไม่ข้องขัด ท่านพระครูพอใจที่เขาเป็นคนสอนง่าย "หลวงพ่อครับ ทำไมต้องพูดว่า "ยืน...หนอ" ตั้งห้าครั้งเล่าครับ" ถึงจะสอนง่ายแต่ก็ชอบซัก"ที่ต้องบริกรรมห้าครั้งก็เอามาจาก ตจปัญจกกรรมฐาน นั่นไง ไหนบอกมาซิว่า ตจปัญจกกรรมฐานมีอะไรบ้าง"

"เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ครับ" พระบัวเฮียวว่าเร็วปรื๋อ เพราะเป็นคนจำแม่น "แปลด้วย" "เกสา - ผม โลมา - ขน นขา - เล็บ ทันตา - ฟัน ตโจ - หนัง ครับ" "ดีมาก นี่แหละการให้ ยืน...หนอ ห้าครั้ง ก็เพื่อจะให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่บางสำนักเขาก็ให้ "ยืน...หนอ" สามครั้งโดยลากสติขึ้นลงเฉย ๆ อันนี้ก็แล้วแต่ใครจะถนัดอย่างไร เพราะถึงจะปฏิบัติแตกต่างกัน

ออกไปบ้าง แต่ก็มีจุดหมายอันเดียวกัน คือ ความหลุดพ้นจากทุกข์ เอาละ เมื่อ ยืน...หนอ ห้าครั้งแล้วก็จะเริ่มต้น ไหนบอกมาก่อนซิว่า ตอนนี้สติอยู่ที่ไหน"



"ที่เท้าครับ" "ดีมาก เอาละ ทีนี้ก็ย้ายสติมาไว้ที่เท้าขวา เพราะเราจะก้าวเท้าขวาก่อน นี่ก้าวที่หนึ่งบริกรรมว่าอย่างนี้ "ขวา - ย่าง - หนอ" ต้องก้าวช้า ๆ แล้วการบริกรรมที่ต้องให้ทันปัจจุบันด้วย นี่เห็นไหม เดินหนึ่งก้าวก็หนึ่ง "หนอ" เอาละ ทีนี้จะก้าวเท้าซ้ายก็ย้ายสติมาไว้ที่เท้าซ้าย บริกรรมว่า "ซ้าย - ย่าง - หนอ" พร้อมกับก้าวไปด้วย" ท่านลองเดินให้ดูสี่ห้าก้าว แล้วจึงให้พระใหม่ลองทำให้ดู พระบัวเฮียวก็เดินอย่างรวดเร็ว "หยุดก่อน หยุดก่อน เดินเร็วอย่างนั้นไม่ได้ ต้องเดินช้า ๆ เหมือนอย่างที่ฉันเดินให้ดูนั่งไง" "ทำไมต้องเดินช้า ๆ ด้วยครับหลวงพ่อ" ถามเพราะไม่เข้าใจ"ที่ต้องเดินช้า ๆ ก็เพื่อจะได้เห็นสัจธรรม เดินเร็ว อิริยาบถไปบังสัจธรรม เดินเร็ว อิริยาบถไปบังสัจธรรมหมด รู้หรือยัง"



"สัจธรรมคืออะไรครับ" คนช่างสงสัยถามอีก"ถ้าอยากรู้ก็ต้องเร่งทำความเพียร หมั่นเดินจงกรมนั่งสมาธิฝึกสติให้มาก ๆ สติดีเมื่อไหร่ก็จะรู้เอง" "งั้นก็แปลว่า ตอนนี้ผมสติไม่ดีน่ะซี เปล่านะครับหลวงพ่อ ผมไม่ได้บ้านะครับ" พระใหม่ร้อนตัวด้วยเข้าใจความหมายไม่ตรงกับผู้พูดคนบ้าอย่าเอามาเข้ากรรมฐานเด็ดขาดบางคนไม่เข้าใจ

"ฉันก็ไม่ได้ว่าเธอบ้านี่นา จำไว้นะ เมื่อเธอจะไปสอนคนอื่นต่อไปในวันข้างหน้าคิดว่าเอาคนบ้ามาเข้ากรรมฐานจะทำให้หายได้ ไม่จริงเลย มีแต่จะทำให้บ้าหนักขึ้นก็อย่างเมื่อเดือนที่แล้ว ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่สติไม่ค่อยดี ญาติเลยพามาเข้ากรรมฐาน ฉันก็ไม่รู้ เพราะพระมหาบุญท่านเป็นคนสอน แหม พอเดินจงกรมได้สามวันก็ออกฤทธิ์เลย ลุกขึ้นรำป้อ ใครห้ามก็ไม่ฟัง คนเขามาตามฉันไปดู ฉันเลยให้ญาติมาพาส่งปากคลองสาน"

"แล้วเขายอมไปแต่โดยดีหรือครับ" "อ้าว ถ้ายอมก็ไม่ใช่คนบ้าซี" "แล้วทำยังไงถึงไปได้ล่ะครับ" "พระมหาบุญท่านใช้อุบายให้ญาติหลอกว่าสำนักนี้สอนไม่ดี รำก็ไม่สวยสู้สำนักโน้นไม่ได้ เขาก็ต้อนขึ้นรถบอกจะพาไปสำนักโน้น ก็เลยพาไปได้" "ทำไมคนบ้าถึงปฏิบัติไม่ได้เล่าครับ" พระใหม่ถามอีก"เอาละ ฉันจะยังไม่ตอบเธอ ให้เธอรู้เอาเองเมื่อได้ปฏิบัติถึงระดับหนึ่งแล้ว อยากเตือนสักนิดว่า ความลังเลสงสัยจนเกินขอบเขต มันจะเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ เก็บความสงสัยไว้ก่อน ปฏิบัติมาก ๆ เข้าก็จะหายสงสัยไปเอง" ผู้เป็นอุปัชฌาย์แนะแนว "ครับหลวงพ่อ ถ้าอย่างนั้นผมจะตั้งใจปฏิบัติให้ก้าวหน้าโดยเร็ว" ว่าแล้วก็เดินจงกรมอย่างตั้งอกตั้งใจ"เอาละ ทีนี้พอเดินสุดทางซึ่งไม่ควรจะมากว่าสามเมตร ก็กำหนดกลับโดยบริกรรมว่า "กลับ - หนอ" อย่างนี้" ท่านทำให้ดูเป็นตัวอย่าง พระบัวเฮียวทำตามโดยไม่ยากนัก



"เอาละ เมื่อเดินเป็น กลับเป็นแล้ว พรุ่งนี้ฉันจะสอนการนั่งให้ สำหรับวันนี้เดี๋ยวเธอกลับไปเดินจงกรมต่อที่กุฏิของเธอให้ได้หนึ่งชั่วโมง จากนั้น ก็ให้นอนหงายเอามือขวาวางบนท้อง สังเกตอาการ พอง - ยุบ ของท้อง เมื่อท้องพองให้บริกรรมว่า "พอง - หนอ" เมื่อยุบก็ให้บริกรรมว่า "ยุบ - หนอ" ไปจนกว่าจะหลับ พยายามจับให้ได้ว่า หลับไปตอนพอง

หรือตอนยุบ เอาละ กลับไปได้แล้ว" ผมต้องอขกราบขอบพระคุณ"หลวงพ่อเป็นอย่างสูง ที่ได้เมตตาสอนให้"พูดพร้อมกับก้มลงกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วจึงค่อย ๆ คลานถอยหลังออกมา ครั้นถึงประตูจึงหันหลังกลับ ลุกขึ้นเดินไปยังกุฏิของตน ซึ่งอยู่รวมกับพระมหาบุญ ขณะเดินท่านก็กำหนด ซ้าย - ขวา ไปตลอดทาง กระนั้นเสียง "หนอ ๆๆ" และ "เอาละ ๆๆ" ก็ยังก้องอยู่ในโสตประสาท วันนี้ พระอุปัชฌาย์ของท่านใช้คำว่า "หนอ" กับ "เอาละ" มากที่สุด



มีต่อ.....๓



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2005, 11:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๓... พระบัวเฮียวกลับกุฏิด้วยความเอิบอิ่มใจ ท่านจัดการล้างมือล้างเท้าให้สะอาดเรียบร้อย แล้วจึงสวดมนต์ทำวัตรเย็น พระวัดนี้จะลงโบสถ์สวนมนต์ทำวัตร เช้า - เย็น และสวดปาติโมกข์ พร้อมกันก็เฉพาะในวันพระเท่านั้น และหากรูปใดทำผิดวินัยเล็ก ๆ น้อย ที่ไม่ใช่อาบัติขึ้นปาราชิก ก็จะปลงอาบัติกันในวันนี้ ส่วนวันอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วันธรรมสวนะ ต่างคนก็ต่างปฏิบัติอยู่ในกุฏิของตน มีปัญหาหรือสงสัยในเรื่องใดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ ก็จะไปเรียนถามท่านเจ้าอาวาส พระมหาบุญมอบนาฬิกาปลุกขนาดเล็กให้พระบวชใหม่หนึ่งเรือน "เอาไว้จับเวลา ตอนแรก ๆ ต้องอาศัยนาฬิกาปลุก แต่พอปฏิบัติไปนาน ๆจิตมันรู้ได้เอง อย่างผมเดี๋ยวนี้ไม่ต้องพึ่งนาฬิกาอยากปฏิบัติกี่ชั่วโมงก็กำหนด

จิตเอาไว้เหมือนกับการตั้งนาฬิกาปลุก พอถึงเวลาที่กำหนด จิตมันบอกเอง มันก็แปลกนะคุณบัวเฮียว ตอนปฏิบัติใหม่ ๆ ท่านพระครูก็บอกผมอย่างนี้ ตอนนั้นผมไม่เชื่อ ผมมันคนหัวรั้น ไม่ยอมเชื่อใครง่าย ๆ แต่ก็ชอบลองชอบพิสูจน์และผมก็ได้พิสูจน์แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง"



ท่านสอนวิธีใช้ให้ด้วย พระบัวเฮียวตั้งเวลาไว้หนึ่งชั่วโมง แล้วจึงเริ่มต้นเดินจงกรม อาศัยที่ความจำดี จึงเดินได้ถูกต้องตามขึ้นตอนทุกประการ ท่านเดินไปเดินมาในกุฏิซึ่งมีความยาวประมาณสามเมตรด้วยความเพลิดเพลินกระทั่งเสียงกริ่งนาฬิกาดังขึ้น กดปุ่มนาฬิกาให้หยุดคำรามแล้วตั้งใหม่ให้ปลุกตอนตีสี่ หยิบเครื่องนอนซึ่งมีเสื่อ หมอนกับผ้าห่ม มาจัดการปูที่นอนข้าง ๆ พระมหาบุญ คลี่ผ้าออกคลุมกายด้วยอากาศเริ่มหนาวเย็น เพราะย่างเข้าฤดูเหมันต์ ปิดไฟแล้วจึงเอนกายลงใช้มือขวาวางบนท้อง สังเกตอาการ พอง - ยุบ พร้อมกับบริกรรม "พอง - หนอ ยุบ - หนอ" ตามที่พระอุปัชฌาย์สอน สักครู่ก็ม่อยหลับไปโดยจับไม่ได้ว่า หลับไปตอนพองหรือตอนยุบ เสียงกริ่งนาฬิกาดังขึ้นเมื่อเวลาตีสี่พร้อม ๆ กับเสียงพระตีระฆังตามด้วยเสียงเห่าหอนของสุนัขซึ่งจะพากันหอนเห่าทุกครั้งที่ได้ยินเสียง

เหง่งหง่างของระฆัง ซึ่งดังก้องกระหึ่มไปทั่วบริเวณ พระบัวเฮียวสะดุ้งตื่นแต่ยังงัวเงียเพราะหลับไม่เต็มอิ่ม อากาศตอนเช้ามืดหนาวเย็นน่าที่จะซุกกายอยู่ภายใต้ผ้าห่มอันอบอุ่น ท่านจึงเอื้อมมือไปกดปุ่มนาฬิกาหมายจะนอนต่อ แต่เสียงที่ดังอยู่ริมหูทำให้ท่านหายง่วงเป็นปลิดทิ้ง "บัวเฮียว ถ้าเจ้าเกียจคร้านเห็นแก่หลับแก่นอน ไม่รีบเร่งทำความเพียร เจ้าก็จะไม่สามารถแก้กรรมได้ เจ้าเดินมาถูกทางแล้ว ขอให้เดินต่อไปอย่าท้อถอย ตื่นขึ้นเดินจงกรมเดี๋ยวนี้" จำได้แม่นยำว่าเป็นเสียงลึกลับ ที่เคยได้ยินเมื่อปีที่แล้วพระบวชใหม่รีบลุกขึ้นล้างหน้าแปรงฟันสวดมนต์ทำวัตรเช้าแล้วเดินจงกรมพระมหาบุญลุกออกไปปฏิบัตที่หน้าพระอุโบสถ เพื่อเปิดโอกาสให้พระบัวเฮียวได้ปฏิบัติอย่างอิสระ ไก่ป่าที่ส่งเสียงขันประชันกับเสียง "กาเว้า กาเว้า" ของเจ้านกกาเหว่านั้นมิได้สร้างความรำคาญให้กับผู้บวชใหม่ เพราะท่านรู้จักกำหนดว่า "ไก่ขันหนอ" "นกร้องหนอ" และเมื่อได้ยินเสียงสุนัขเห่า ท่านก็กำหนดว่า "หมาเห่าหนอ" เดินจงกรมได้สักครู่หนึ่ง ก็รู้สึกว่าท้องร้องโครกครากด้วยไม่ชินกับการอดข้าวมื้อเย็น สักครู่เสียง "ปู้ด ๆ ป้าด ๆ" ก็ดังขึ้นเป็นระยะ คราวนี้พระบวชใหม่ต้องใช้เวลาขบคิดว่าจะกำหนดอย่างไร ก็ท่านพระครูสอนเพียงให้กำหนดยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ แต่ตอนผายลมท่านไม่ได้บอกไว้ ภิกษุคนซื่อเลยกำหนดเอาเองว่า "ตด - หนอ" แล้วก็มีอันต้องกำหนดอย่างนี้บ่อยครั้ง ท่านไม่เข้าใจระบบการทำงานของร่างกายว่า เมื่อไม่มีอาหารอยู่ในกระเพาะ ลมที่อัดอยู่ในช่องท้องก็ปั่นป่วนและหาทางระบายออก อาการเช่นนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับพระบัวเฮียวเท่านั้น ผู้เริ่มปฏิบัติกรรมฐานทุกคนไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต คฤหัสถ์ ไม่ว่าจะเป็นบุรุษหรือสตรี เด็กหรือผู้ใหญ่ ย่อมมีอาการแบบเดียวกันนี้ แท้จริงมันเป็นเพียงการ

ปรากฏของสภาวธรรมเท่านั้น เดินจงกรมเสร็จท่านก็เอนกายลงนอนเอามือวางบนท้อง ครั้งนี้ท่านลง "หนอ" ไม่ทัน จึงได้แต่ "พอง - ยุบ พอง - ยุบ" เท่านั้น เวลาหกนาฬิกา

พระบัวเฮียวออกบิณฑบาตกับพระอีกสี่รูป มีพระมหาบุญนำหน้า ส่วนท่านเดินหลังสุดเพราะเพิ่งบวช ท่านพระครูไม่ให้พระในวัดนี้ไปบิณฑบาตทางเดียวกันเกินห้ารูป และให้แบ่งแยกกันไปเป็นสาย ๆ จะได้โปรดสัตว์ได้ทั่วถึง กลับจากบิณฑบาตจึงไปฉันรวมกันที่หอฉัน ยกเว้นท่านพระครูซึ่งจะบิณฑบาตเดี่ยว และกลับมาฉันตามลำพังที่กุฏิของท่าน แต่ถ้าเป็นวันพระ หรือในโอกาสพิเศษที่มีคนมาทำบุญเลี้ยงเพล ท่านก็จะไปฉันที่ศาลาการเปรียญพร้อมกับภิกษุอื่น ๆ และวันนั้นท่านก็จะฉันสองมื้อเพื่อไม่ให้ญาติโยมเขาเสียความตั้งใจ ท่านรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว ไม่เคร่ง ครัดรัดตัวจนเกินไป แต่ก็ไม่ให้ผิดวินัยของสงฆ์ เมื่อพระฉันเสร็จ พวกลูกศิษย์ก็จะแบ่งอาหารเก็บไว้ถวายเพลส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งพวกเขาก็ตั้งวงรับประทานกันวันใดอาหารมีไม่พอ ทางโรงครัวก็จะทำขึ้นมาเสริม งานหนักที่สุดเห็นจะได้แก่งานโรงครัว เพราะมีคนมาเข้ากรรมฐานแทบไม่เว้นแต่ละวัน บางครั้งก็มากันเป็นคณะคราวละร้อยสองร้อย ท่านพระครูก็ต้อนรับขับสู้อย่างดี ทั้งเรื่องที่พักและอาหาร เท่าที่จะสามารถอำนวยความสะดวกให้ได้ ผู้ที่มาวัดต่างพากันประทับใจในอัธยาศัยไม่ตรีของท่าน ไม่มีใครที่มาวัดนี้แล้วจะไม่อยากมาอีก พระบัวเฮียวกลบไปกุฏิของท่าน เดินจงกรมให้อาหารย่อยแล้ว จึงสรงน้ำทำความสะอาดร่างกาย หลังจากนั้นก็ไปหาท่านพระครูเพื่อให้ท่าน "สอบอารมณ์" และสอนวิธีนั่งสมาธิ "เป็นยังไง เมื่อคืนนอนหลับสบายไหม" ท่านพระครูถามหลังจากที่พระใหม่ทำความเคารพและนั่งในที่อันสมควรแล้ว "สบายครับ" พระบัวเฮียวตอบ แต่มิได้เล่าเรื่อง "เสียงลึกลับ" ให้ฟัง ด้วยเกรงจะถูกท่านดุว่าเกียจคร้าน"หลับไปตอนยุบหรือตอนพองล่ะ" "เอ้อ... จะ... จับไม่ได้ครับ" ผู้บวชใหม่สารภาพ คิดว่าคงจะถูกพระอุปัชฌาย์ดุ แต่ท่านกลับพูดว่า"เอาละ ยังจับไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คืนนี้ค่อยลองอีกที" ภิกษุวัยใกล้สามสิบค่อยโล่งอก แถมยังแอบล้อเลียนท่านในใจว่า "ฮั่นแน่ หลวงพ่อพูด "เอาละ" อีกแล้ว สงสัยท่านคงใช้คำนี้วันละหลายร้อยหน" พระใหม่มิได้รู้ตัวดอกว่าผู้อาวุโส "อ่านใจ" อยู่เงียบ ๆ



"เป็นศิษย์อย่าหัดล้อเลียนครูบาอาจารย์" ท่านพระครูกล่าวเสียงเรียบ แต่พระบัวเฮียวถึงกับสะดุ้ง"ทำไมหลวงพ่อรู้ครับ" ถามเสียงอ่อย "ก็ทำไมฉันจะไม่รู้เล่า ท่านย้อนถาม พระบวชใหม่อดคิดไม่ได้ว่า "ท่านพระครูนี่ยังกับเป็นผู้วิเศษ สงสัยคงเป็นพระอรหันต์" "ฉันไม่ใช่ผู้วิส่งวิเศษอะไรหรอก แล้วก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ด้วย ถ้าจะเป็นก็คงเป็นได้แค่พระอรเห" ท่านพูดยิ้ม ๆ คนเป็นศิษย์ยิ่งพิศวงงงงวยหนักขึ้น ไม่รู้ว่าท่านอ่านใจผู้อื่นได้อย่างไร



"อย่าเพิ่งไปสงสัยว่าทำไมฉันถึงทำได้ ถ้าเธอปฏิบัติเคร่งครัดไม่ช้าก็ต้องทำได้เหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร" ฟังพระอุปัชฌาย์พูดแล้ว พระบวชใหม่ได้กำลังใจขึ้นอีกเป็นกองและคิดว่าจะทำให้ดีที่สุด"เอาละ ทีนี้เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า เธอจับพอง - ยุบ ได้ชัดหรือยัง" "พองชัดครับ แต่ยุบยังไม่ค่อยชัดแล้วก็ลง "หนอ" ไม่ค่อยทัน บางทีเลยได้แค่ พอง - ยุบ พอง - ยุบ" "ต้องพยายามลง "หนอ" ให้ได้ เอาละ ถ้าจิตไวขึ้นก็จะได้เองม่ต้องไปเครียดกับมันมาก แต่เรื่องกำหนดนั่น เธอยังทำไม่ถูกนะ เอาละ ฉันอธิบายสติปัฏฐาน ๔ ให้เธอฟังอย่างคร่าว ๆ สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติ หมายถึง การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม วันนี้จะเอากายก่อน การตั้งสติกำหนดพิจารณากายหรือพิจารณาเห็นกายในกายที่เรียกเป็นภาษาธรรมะว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องการเอาสติตามรู้กาย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การหายใจเข้าออก ยืน เดิน นั่ง นอน ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ อย่างที่ฉันเกริ่นไว้เมื่อคราวที่แล้ว คำว่า "กาย" ในที่นี้จึงหมายถึงร่างกายของเราเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ไม่ต้องสนใจ เพราะฉะนั้นเธอกำหนดว่า "ไก่ขันหนอ" "หมาเห่าหนอ" นั้นใช้ไม่ได้เพราะมันไม่เป็นกายานุปัสสนา พระบัวเฮียวแปลกใจเป็นครั้งที่เท่าไหร่ของเช้านี้ก็นับไม่ถ้วนเสียแล้ว ท่านพระครูมีอะไร ๆ ให้ท่านพิศวงหลงใหล และท้าทายต่อการพิสูจน์ทดลองไปเสียทุกเรื่อง พลันพระบวชใหม่ก็นึกได้ถึงคำบริกรรมของท่านตอนผายลม นึกหวั่นหวาดในใจว่า ท่านจะรู้หรือไม่หนอ ก็พอดีท่านพูดขึ้นว่า "ทำไมจะไม่รู้ นั้นก็ไม่ถูกอีกเหมือนกัน ไม่มีใครเขาบริกรรมพิลึกพิลั่นอย่างเธอหรอก" พระใหม่รู้สึกอายเป็นกำลัง จึงโอดครวญว่า"โธ่ หลวงพ่อครับ ก็ผมบริกรรมในใจแท้ ๆ ทำไมหลวงพ่อถึงได้ยินเล่าครับ อีกอย่างผมก็ทำอยู่ที่กุฏิผมโน่น""ฉันก็กำหนด "เห็นหนอ" นั่นซี จะไว้นะบัวเฮียว"เห็นหนอ" นี้มีค่าหลายล้าน อย่าไปคิดว่าหนอ ๆ แหน ๆ เป็นเรื่องเหลวไหลถ้าเธอฝึกสติดีจนถึงขึ้นแล้วเธอจะใช้ "เห็นหนอ" ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมหาศาลทีเดียว"ใช้ดูเลขดูหวยได้ไหมครับหลวงพ่อ"



ด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา ปรารถนาจะให้เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้เข้าสู่ภาวะอันประเสริฐบริสุทธิ์นั้นบ้าง ท่านจึงทำวัดให้เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ฝึกอบรมพระเณรในวัดให้รู้วิธีปฏิบัติ เช่น การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ ตลอดจนการกำหนดรู้ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น

วัดป่ามะม่วงจึงหลายเป็นสถานที่ดับร้อนผ่อนทุกข์ของชนเป็นอันมาก เพราะเป็นที่สัปปายะ คือความสะดวก ๔ ประการ ได้แก่ เสนา - สนสัปปายะ - มีที่พักอาศัยสะดวก อาหารสัปปายะ - มีอาหารการบริโภคสะดวก บุคคลสัปปายะ - มีบุคคลที่เกี่ยวข้องทำให้สบายใจ เพราะธรรมสัปปายะ - มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะแก่จริตของผู้ปฏิบัติธรรม ความสะดวก ๔ ประการนี้มีอยู่พร้อมมูลในวัดป่ามะม่วงที่ท่านพระครูเจริญเป็นเจ้าอาวาสเมื่อพระบัวเฮียวกล่าวคำขอสมาทานกรรมฐานเรียบร้อยแล้ว ท่านพระครูจึงซักถามพระบวชใหม่เพื่อต้องการทราบพื้นฐานความรู้



"พระมหาบุญท่านสอนอะไรมาบ้างหรือยัง" ท่านหมายถึงเรื่องการปฏิบัติ"สอนแล้วครับ" พระบวชใหม่ตอบ"ท่านสอนอะไรบ้าง" "ท่านอนเมือนกับหลวงพ่อสอนนั่นแหละครับ พระบัวเฮียวตอบซื่อ ๆ"ฉันยังไม่ได้สอนเธอนี่นา ก็กำลังจะสอนอยู่นี่ไง" พระอุปัชณาย์ท้วง"สอนครับ ก็หลวงพ่อเคยสอนให้ผมเชื่อฟังท่านมหา ท่านมหาก็สอนให้ผมเชื่อฟังพลวงพ่อ" พระใหม่ขยายความ "อ้อ...แต่ที่ฉันถามนั้น หมายถึงการปฏิบัติกรรมฐานต่างหากล่ะ พระมหาบุญท่านสอบการเดินจงกรม การนั่งสมาธิให้บ้างหรือยัง" ผู้อาวุโสกว่าเริ่มจะรู้สึกถึงความซื่อที่มีระดับใกล้เคียงกับ "เซ่อ" ของพระผู้เป็นลูกศิษย์ "ยังครับ" คราวนี้พระบัวเฮียวตอบแข็งขัน "ถ้าอย่างนั้นก็เริ่มต้นกันเลย เอาละ ยืนขึ้น ฉันจะสอนเดินจงกรมระยะที่หนึ่งให้" แล้วท่านก็ลุกขึ้น ผู้บวชใหม่ลุกตาม แต่ตั้งใจว่าจะปฏิบัติให้ดีที่สุด เพราะศรัทธาปสาทะที่มีต่อท่านพระครูนั้น เป็นเสมือนโอสถขนาดเอกที่จะทำให้ตนหายจากโรคได้ "การเดินจงกรม มีทั้งหมด ๖ ระยะ ระยะที่หนึ่งมีหนึ่ง "หนอ" ระยะที่สองก็มีสอง "หนอ" แล้วก็เพิ่มขึ้นระยะละหนึ่ง "หนอ"ไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะที่หก ก็มีหก "หนอ" ผู้เป็นอุปัชฌาย์อธิบาย "หนอ แปลว่าอะไรครับหลวงพ่อ" ถามอย่างใคร่รู้ หากในใจนั้นคิดเล่น ๆ ว่า "หนอ ๆ แหน ๆ อะไรกันวุ้ย หลวงพ่อนี่พิกลจริง ๆ"



"ถ้าจะเอาคำแปลกันจริง ๆ มันก็ไม่มี เพราะมันเป็นคำอุทาน เหมือนเวลาเราพูดว่า สุขจริงหนอ ดีใจหนอ อะไรพวกนี้ แต่ในการปฏิบัติธรรม เราเอา "หนอ" มาใช้เป็นองค์บริกรรม เช่น ขวา - ย่าง - หนอ ซ้าย - ย่าง - หนอ "หนอ" ในที่นี้แปลว่า "กำลัง" หรือจะแปลว่า "รู้" ก็ได้เหมือนกัน คือ รู้ปัจจุบัน เช่นรู้ว่าเรากำลังเดิน รู้ว่ากำลังกิน สรุปก็คือ "หนอ" เป็นตัวบอกให้เรามีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลานั่นเอง เข้าใจหรือยังล่ะ" ท่านพระครูอธิบาย ท่านไม่รู้สึกแปลกใจว่า



เหตุใดพระบวชใหม่ทุกรูปก็เคยถามท่านแบบเดียวกันนี้มานักต่อนักแล้ว "เข้าใจแล้วครั บ ถ้าอย่างนั้นหลวงพ่อสอนผมเดินทั้งหกระยะเลยได้ไหมครับ วันหลังจะได้ไม่ต้องมารบกวนหลวงพ่อ" พระใหม่พูดด้วยความเกรงใจ "ไม่ได้หรอก ต้องเดินวันละหนึ่งระยะแล้วจึงค่อย ๆเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน อย่าใจร้อน ปฏิบัติธรรมต้องใจเย็น ๆ จึงจะได้ผลเอาละฉันจะเดินระยะที่หนึ่งให้ดู ลำดับแรก ยืนตัวตรงเอามือไขว้หลัง นี่อย่างนี้" พระบัวเฮียวทำตามหากมือที่ไขว้นั้นเอามือซ้ายทับมือขวาและแขนห้อยลงแบบสบาย ๆ



"ทำอย่างนั้นไม่ได้ นี่ต้องเอามือขวาทับมือซ้าย แล้วยกมือที่ไขว้ขึ้นมาไว้บริเวณกระเบนเหน็บ ไม่ใช่ห้อยสบาย ๆ แบบนั้น" ท่านจับมือทั้งสองของพระใหม่ และจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง "เอาละ เสร็จแล้วกำหนด "ยืนหนอ" ห้าครั้ง หายใจยาว ๆ เอาสติไว้ที่ศีรษะ พอบอก "ยืน....ค่อย ๆ ลากสติลงมาช้า ๆ พอถึงคำว่า "หนอ" สติก็จะมาอยู่ที่เท้าพอดี แล้วจึงลากขึ้นด้วยวิธีเดียวกัน เพราะฉะนั้น "ยืน....หนอ" ห้าครั้ง เราก็จะลากสติ ลง...ขึ้น ลง...ขึ้น ลง ลองทำซิ" พระใหม่ทำตามคำบอก และก็ทำได้โดยไม่ข้องขัด ท่านพระครูพอใจที่เขาเป็นคนสอนง่าย "หลวงพ่อครับ ทำไมต้องพูดว่า "ยืน...หนอ" ตั้งห้าครั้งเล่าครับ" ถึงจะสอนง่ายแต่ก็ชอบซัก"ที่ต้องบริกรรมห้าครั้งก็เอามาจาก ตจปัญจกกรรมฐาน นั่นไง ไหนบอกมาซิว่า ตจปัญจกกรรมฐานมีอะไรบ้าง"

"เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ครับ" พระบัวเฮียวว่าเร็วปรื๋อ เพราะเป็นคนจำแม่น "แปลด้วย" "เกสา - ผม โลมา - ขน นขา - เล็บ ทันตา - ฟัน ตโจ - หนัง ครับ" "ดีมาก นี่แหละการให้ ยืน...หนอ ห้าครั้ง ก็เพื่อจะให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่บางสำนักเขาก็ให้ "ยืน...หนอ" สามครั้งโดยลากสติขึ้นลงเฉย ๆ อันนี้ก็แล้วแต่ใครจะถนัดอย่างไร เพราะถึงจะปฏิบัติแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ก็มีจุดหมายอันเดียวกัน คือ ความหลุดพ้นจากทุกข์ เอาละ เมื่อ ยืน...หนอ ห้าครั้งแล้วก็จะเริ่มต้น ไหนบอกมาก่อนซิว่า ตอนนี้สติอยู่ที่ไหน"



"ที่เท้าครับ" "ดีมาก เอาละ ทีนี้ก็ย้ายสติมาไว้ที่เท้าขวา เพราะเราจะก้าวเท้าขวาก่อน นี่ก้าวที่หนึ่งบริกรรมว่าอย่างนี้ "ขวา - ย่าง - หนอ" ต้องก้าวช้า ๆ แล้วการบริกรรมที่ต้องให้ทันปัจจุบันด้วย นี่เห็นไหม เดินหนึ่งก้าวก็หนึ่ง "หนอ" เอาละ ทีนี้จะก้าวเท้าซ้ายก็ย้ายสติมาไว้ที่เท้าซ้าย บริกรรมว่า "ซ้าย - ย่าง - หนอ" พร้อมกับก้าวไปด้วย" ท่านลองเดินให้ดูสี่ห้าก้าว แล้วจึงให้พระใหม่ลองทำให้ดู พระบัวเฮียวก็เดินอย่างรวดเร็ว "หยุดก่อน หยุดก่อน เดินเร็วอย่างนั้นไม่ได้ ต้องเดินช้า ๆ เหมือนอย่างที่ฉันเดินให้ดูนั่งไง" "ทำไมต้องเดินช้า ๆ ด้วยครับหลวงพ่อ" ถามเพราะไม่เข้าใจ"ที่ต้องเดินช้า ๆ ก็เพื่อจะได้เห็นสัจธรรม เดินเร็ว อิริยาบถไปบังสัจธรรม เดินเร็ว อิริยาบถไปบังสัจธรรมหมด รู้หรือยัง"



"สัจธรรมคืออะไรครับ" คนช่างสงสัยถามอีก"ถ้าอยากรู้ก็ต้องเร่งทำความเพียร หมั่นเดินจงกรมนั่งสมาธิฝึกสติให้มาก ๆ สติดีเมื่อไหร่ก็จะรู้เอง" "งั้นก็แปลว่า ตอนนี้ผมสติไม่ดีน่ะซี เปล่านะครับหลวงพ่อ ผมไม่ได้บ้านะครับ" พระใหม่ร้อนตัวด้วยเข้าใจความหมายไม่ตรงกับผู้พูดคนบ้าอย่าเอามาเข้ากรรมฐานเด็ดขาดบางคนไม่เข้าใจ

"ฉันก็ไม่ได้ว่าเธอบ้านี่นา จำไว้นะ เมื่อเธอจะไปสอนคนอื่นต่อไปในวันข้างหน้าคิดว่าเอาคนบ้ามาเข้ากรรมฐานจะทำให้หายได้ ไม่จริงเลย มีแต่จะทำให้บ้าหนักขึ้นก็อย่างเมื่อเดือนที่แล้ว ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่สติไม่ค่อยดี ญาติเลยพามาเข้ากรรมฐาน ฉันก็ไม่รู้ เพราะพระมหาบุญท่านเป็นคนสอน แหม พอเดินจงกรมได้สามวันก็ออกฤทธิ์เลย ลุกขึ้นรำป้อ ใครห้ามก็ไม่ฟัง คนเขามาตามฉันไปดู ฉันเลยให้ญาติมาพาส่งปากคลองสาน"

"แล้วเขายอมไปแต่โดยดีหรือครับ" "อ้าว ถ้ายอมก็ไม่ใช่คนบ้าซี" "แล้วทำยังไงถึงไปได้ล่ะครับ" "พระมหาบุญท่านใช้อุบายให้ญาติหลอกว่าสำนักนี้สอนไม่ดี รำก็ไม่สวยสู้สำนักโน้นไม่ได้ เขาก็ต้อนขึ้นรถบอกจะพาไปสำนักโน้น ก็เลยพาไปได้" "ทำไมคนบ้าถึงปฏิบัติไม่ได้เล่าครับ" พระใหม่ถามอีก"เอาละ ฉันจะยังไม่ตอบเธอ ให้เธอรู้เอาเองเมื่อได้ปฏิบัติถึงระดับหนึ่งแล้ว อยากเตือนสักนิดว่า ความลังเลสงสัยจนเกินขอบเขต มันจะเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นให้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติ เก็บความสงสัยไว้ก่อน ปฏิบัติมาก ๆ เข้าก็จะหายสงสัยไปเอง" ผู้เป็นอุปัชฌาย์แนะแนว "ครับหลวงพ่อ ถ้าอย่างนั้นผมจะตั้งใจปฏิบัติให้ก้าวหน้าโดยเร็ว" ว่าแล้วก็เดินจงกรมอย่างตั้งอกตั้งใจ"เอาละ ทีนี้พอเดินสุดทางซึ่งไม่ควรจะมากว่าสามเมตร ก็กำหนดกลับโดยบริกรรมว่า "กลับ - หนอ" อย่างนี้" ท่านทำให้ดูเป็นตัวอย่าง พระบัวเฮียวทำตามโดยไม่ยากนัก



"เอาละ เมื่อเดินเป็น กลับเป็นแล้ว พรุ่งนี้ฉันจะสอนการนั่งให้ สำหรับวันนี้เดี๋ยวเธอกลับไปเดินจงกรมต่อที่กุฏิของเธอให้ได้หนึ่งชั่วโมง จากนั้น ก็ให้นอนหงายเอามือขวาวางบนท้อง สังเกตอาการ พอง - ยุบ ของท้อง เมื่อท้องพองให้บริกรรมว่า "พอง - หนอ" เมื่อยุบก็ให้บริกรรมว่า "ยุบ - หนอ" ไปจนกว่าจะหลับ พยายามจับให้ได้ว่า หลับไปตอนพอง

หรือตอนยุบ เอาละ กลับไปได้แล้ว" ผมต้องอขกราบขอบพระคุณ"หลวงพ่อเป็นอย่างสูง ที่ได้เมตตาสอนให้"พูดพร้อมกับก้มลงกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วจึงค่อย ๆ คลานถอยหลังออกมา ครั้นถึงประตูจึงหันหลังกลับ ลุกขึ้นเดินไปยังกุฏิของตน ซึ่งอยู่รวมกับพระมหาบุญ ขณะเดินท่านก็กำหนด ซ้าย - ขวา ไปตลอดทาง กระนั้นเสียง "หนอ ๆๆ" และ "เอาละ ๆๆ" ก็ยังก้องอยู่ในโสตประสาท วันนี้ พระอุปัชฌาย์ของท่านใช้คำว่า "หนอ" กับ "เอาละ" มากที่สุด



มีต่อ.....๔



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 22 ก.ย. 2005, 11:08 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ่านฉบับเต็มแยกตามบทได้ที่:




http://www.jarun.org/v5/th/lgeneralmain04.html



 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
nonsoul
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 01 พ.ย.2005, 7:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

กราบสวัสดี..คุณอา(ลูกโป่ง)

ไม่ทราบว่าใช้สรรพนามได้ถูกต้องหรือไม่ ถ้าผิดพลาดในส่วนใดต้องขออภัยด้วยนะครับ พอดีผมคาดคะเนเอาจากประวัติของท่านน่ะครับ เนื่องจากว่าคุณพ่อผมท่านเป็นศิษย์เก่าเตรียมอุดมศึกษารุ่น17 ก็เลยคิดว่าคงจะเรียกคุณอาได้

ผมอ่านประวัติคุณอาแล้ว...บรรยายไม่ถูกเหมือนกันว่ารู้สึกปิติ ปลื้มอย่างไรในภูมิประวัติของคุณอา ๆ กุศลบุญมหาศาล

ตอนนี้ผมก็กำลังปฎิบัติ(ธรรม) ถูกบ้างผิดบ้างตามสติกำลังเท่าที่หาความรู้ได้จากหนังสือและสื่อ(ธรรม)ต่างๆ ถ้าคุณอาจะเมตตารับผมเป็นลูก-หลานศิษย์สักคนก็จะเป็นบุญของผมที่จะได้อาจารย์มาชี้นำทาง เพื่อความเจริญในการปฎิบัติ(ธรรม)อันยิ่งๆขึ้นไป

ด้วยความศรัทธา

ภัทรภูมิ เพ็ญเจริญ
 
ลูกโป่ง
ผู้เยี่ยมชม





ตอบตอบเมื่อ: 02 พ.ย.2005, 2:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สวัสดีค่ะ คุณภัทรภูมิ เพ็ญเจริญ



ลูกโป่งไม่ใช่ผู้เขียนหนังสือเรื่องสัตว์โลกฯค่ะ

ลูกโป่งเคยอ่านหนังสือเล่มนี้

แล้วเห็นว่ามีประโยชน์ จึงคัดลอกมาให้อ่านกันค่ะ

ดีใจนะคะ ที่คุณชอบหนังสือเล่มนี้



ธรรมะสวัสดีค่ะ



 
sssboun
บัวผลิหน่อ
บัวผลิหน่อ


เข้าร่วม: 16 พ.ย. 2007
ตอบ: 3

ตอบตอบเมื่อ: 16 พ.ย.2007, 10:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ
สาธุกับพี่ ลูกโป่งครับ ผมได้ฟังแล้วก็ชอบเหมือนกันครับ อยากจะเอาไปให้สมาชิกที่ลานธรรมได้อ่านบ้างนะครับ ไม่รู้ว่าพี่ ลูกโป่ง ได้นำไปลงไว้แล้วหรือยังวันนี้ทำไมผมเข้าเว็ปลานธรรมไม่ได้เลยครับ

เข้าไปเว็ปเพื่อจะอ่านเพิ่มไม่ได้เลยครับไม่ทราบว่าเป็นอะไรนะครับ

กราบขอบพระคุณครับ

สาธุ สาธุ สาธุ
 

_________________
อดีตให้เป็นเหมือนครู ควรจะคิดดูให้เกิดปัญญา
มีปัญญาทุกข์นั้นมีน้อย ปัญญาน้อยนั้นทุกข์มากเป็นธรรมดา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวYahoo Messenger
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 6:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๔...

ในความรู้สึกของพระบัวเฮียว เวลาสี่สิบนาทีช่างดูยาวนานเสียหนักหนา ท่านจับ พอง - ยุบ ได้ในช่วงแรก ๆ

กระนั้นก็ยังลง "หนอ" ไม่ค่อยจะทัน เพราะมันเปลี่ยนแปลงเร็วมาก นั่งไปสักครู่ให้รู้สึกอึดอัดขัดข้อง ลมในท้องเริ่มปั่นป่วนอีกครั้ง ท่านพยายามกลั้นเอาไว้ หากปล่อยปู้ดป้าดออกมาเกรงจะต้องอับอายขายหน้า เมื่ออั้นไว้หนักเข้าก็กลายเป็นความกังวลจนจับ พอง - ยุบ ไม่ได้ "อย่าไปกังวลแล้วก็ไม่ต้องไปกลั้น เขาอยากจะออกมาก็ให้เขาออกอย่าไปฝืนเขามันเป็นการปรากฏของสภาวธรรม ให้กำหนด "เสียงหนอ"หรือ "กลิ่นหนอ"ไปตามความเป็นจริง" ท่านพระครูซึ่งนั่งควบคุมอยู่ห่าง ๆพูดขึ้น พระใหม่จึงหมดกังวลเรื่องลม


ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ หันมาจับ พอง - ยุบต่อ หากก็จับได้ไม่นานเพราะอาการปวดเมื่อยเริ่มปรากฏ ท่านรู้สึกปวดขาเป็นกำลัง คิดอยากจะถามพระอุปัชฌาย์ว่าจะเปลี่ยนท่านั่งได้หรือไม่ ฝ่ายนั้นก็พูดขึ้นทันทีว่า "อย่าเปลี่ยน นี่แหละเขาเรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ต้องให้เห็นของจริงถึงจะเข้าใจ เอาสติไปเพ่งตรงที่ปวดแล้วกำหนดว่า "ปวดหนอ ปวดหนอ" จากนั้นก็ไม่ต้องไปในใจ ให้กลับมากำหนด พอง - ยุบ อีก" เมื่อมีคนคอยช่วยเหลืออยู่เช่นนี้ทั้งยังสามารถ "อ่านใจ" ผู้อื่นได้ด้วย พระบัวเฮียวจึงหายกังวล ท่านพระครูอยากให้การนั่งของพระใหม่เป็นไปตามธรรมชาติ ครั้นเห็นว่าได้แนะนำพอสมควรแล้ว จึงลุกจากที่นั้นไปอย่างเงียบ ๆ ปล่อยผู้เป็น


์ศิษย์ให้นั่งอยู่ตามลำพัง พระบัวเฮียวไม่รู้ว่าพระอุปัชฌาย์ลุกออกไป ท่านพยายามจับ พอง - ยุบ อย่างเคร่งครัด ต่อเมื่ออาการปวดขาทวีความรุนแรงขึ้น พระใหม่ก็หมดความอดทน ค่อย ๆ เปลี่ยนท่านั่งจากขาขวาทับขาซ้าย มาเป็นขาซ้ายทับขาขวา รู้สึกค่อยยังชั่วขึ้น ทั้งอุปัชฌาย์ก็มิได้ว่ากระไร จึงกระหยิ่มยิ้มย่องว่าตนปฏิบัติถูกต้องแล้ว "อหังการ" ก็เกิดขึ้น ท่านเริ่มคิดฟุ้งซ่าน จิตซึ่งโดยธรรมชาติไม่อยู่นิ่ งอยู่แล้วก็ซัดส่ายหนักขึ้น คิดเรื่องโน้นไปเรื่องนเตลิดเปิดเปิงไปยกใหญ่ ชั่วเวลาไม ่กี่นาทีที่ท่านพระครูลุกออกไป พระบัวเฮียวก็คิดอะไรต่อมิอะไรไปร้อยแปด เมื่อจิตฟุ้งซ่าน สติก็จับ พอง - ยุบ ไม่ได้ สมาธิไม่เกิด อีกสิบนาทีจะครบกำหนดเวลา ท่านพระครูก็กลับมาท่าน"ตรวจสอบ" คนที่กำลังนั่งสมาธิ อยู่ก็รู้วาระจิตของเขา จึงพูดขึ้นว่า "สนุกใหญ่เลยนะบัวเฮียวนะ ทำไมถึงไม่กำหนด "ฟุ้งซ่านหนอ" ล่ะ" พระใหม่จึงตั้งสติกำหนด "ฟุ้งซ่านหนอ""ฟุ้งซ่านหนอ" แล้วกลับมากำหนด พอง - ยุบ ประเดี๋ยวหนึ่งอาการปวดขาก็ประดังขึ้นมาอีกปวดราวกับว่ามันจะแตกออกเป็นเสี่ยง ๆคิดที่จะเปลี่ยนท่านั่งท่านพระครูก็กำชับขึ้นว่า
"อย่าเปลี่ยน ให้กำหนด "อดทนหนอ พากเพียรหนอ" แล้วกลับไปที่ พอง - ยุบ อีก" "มันไม่ไหวแล้วครับหลวงพ่อ พระบัวเฮียวคร่ำครวญอยู่ในใจคราวนี้รู้แล้วว่าท่านต้องรู้ อะไร ๆ ในใจของท่าน พระอุปัชฌาย์รู้หมด



"ต้องไหวซี ตั้งใจไว้เลยว่า ตายเป็นตาย"
"ผมยังไม่อยากตายที่ครับ" พระใหม่แอบเถียงในใจ
"ยังไม่อยากตาย แต่ถ้าถึงที่มันก็ต้องตาย แต่ถ้าตายในขณะปฏิบัติก็จะไปเกิดในสุคติภูมิ ไม่ต้องไปอบายภูมิ เลือกเอาว่าจะเอาอย่างไหน" "งั้นก็เอาอย่างหลังครับ" ตอบในใจเช่นเคย
"ดีแล้ว ต้องกล้าหาญอย่างนี้ถึงจะเรียกว่า ศากยบุตร นี่แหละ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา" "เวทนาที่แปลว่าสงสารใช่ไหมครับ" คนถามถามในใจ แต่คนตอบตอบออกมาดัง ๆ เพราะคลื่นใน "เครื่องรับ" กับ "เครื่องส่ง" ไม่ตรงกัน คนตอบสามารถเข้าใจในความในใจของคนถาม หากคนถามไม่สามารถ "อ่านใจ" ของคนตอบได้ "ไม่ใช่ เวทนา แปลว่า วามรู้สึก มี ๓ อย่างคือ ค สุขเวทนา
ทุกขเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา หมายถึง ความ รู้สึกสุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ หรือที่เรียกว่า เฉย ๆ รู้สึกอย่างไรก็กำหนดไปอย่างนั้น เช่นขณะที่เธอปวด เธอเป็นทุกข์ ก็กำหนด "ปวดหนอ" ถ้าสุข ก็กำหนด "สุขหนอ" ถ้ารู้สึกเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็กำหนด "เฉยหนอ" คือ ต้องตามรู้ความรู้สึกอยู่ตลอดเวลา แล้วก็กำหนดรู้เท่านั้น ห้ามไปจับไปยึด" ภิกษุหนุ่มตั้งสติข่มทุกขเวทนาไว้อย่างยากเย็น พยายามทำตามที่พระอุปัชฌาย์สอน หากอาการปวดก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นราวกับชีวิตจะแตกดับลงเสียเดี๋ยวนั้น ท่านจึงฮึดสู้ด้วยการกำหนดว่า "ตายเป็นตาย" แล้วก็นั่งต่อไปอย่างไม่สะทกสะท้าน พยายามให้สติจับอยู่ที่อาการ พอง - ยุบ ของท้อง "เอาละ ได้เวลาแล้ว กำหนด "อยากพักหนอ" สามครั้งแล้วค่อย ๆ ลืมตา เห็นอะไรก็กำหนดเห็นหนอ" "ช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานนั้นเสียงของท่านพระครูจึงประดุจเสียงสวรรค์ที่ล่องลอยมาจากนภากาศการต่อสู้กับทุกขเวทนา
สิ้นสุด ลง พระบัวเฮียวกำหนดตามที่ท่านสอน

เมื่อลืมตาขึ้น สิ่งแรกที่เห็นก็คือ ใบหน้าที่เปี่ยมด้วยเมตตาของผู้เป็นอาจารย์ รู้สึกร้อนวูบทั่วร่างแล้วเปลี่ยเป็นเย็นซาบซ่านไปทั่วทุกขุมขน น้ำตาไหลพราก ๆ ด้วยความปีติ ท่านก้มลงกราบพระอุปัชฌาย์ด้วยความรู้สึกสำนึกในพระคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้ซักฟอก และ ขัดเกลาจิตใจที่เคยหยาบกระด้างของท่านให้ละเอียดประณีตขึ้น กตัญญูกตเวทิตาธรรม จึงเกิดเองโดยมิต้องมีผู้ใดมาบอกกล่าว "เอาละ ทีนี้ก็มาสอบอารมณ์กัน ประเดี๋ยวจะได้กลับไปพักผ่อน คืนนี้จะได้สอนการเดินระยะที่สองให้" "ครับ เอ้อ... ผมอยากจะเรียนถามหลวงพ่อว่า ทำไมจิตของเรามันจึงอยู่นิ่งไม่ไดชั่วเวลาที่ผมนั่ง ผมคิดอะไรต่อมิอะไรไปร้อยแปด มันไม่สงบเลยครับ ที่แปลกก็คือเวลาท ี่ไม่ได้นั่งสมาธิกลับไม่คิดอะไร" "นั่นแหละธรรมชาติของจิตละ พระพุทธองค์จึงได้ตรัสเปรียบเทียบจิตว่า ไม่อยู่นิ่งเหมือนลิง ปกติลิงจะไม่อยู่เป็นสุข ต้องหลุกหลิกวางนี่จับโน่น ทำท่านั้นท่านี้อยู่ตลอดเวลา นอกจากจะหลับเสียเท่านั้น แม้แต่หลับก็ยังหานอนหลับนานไม่ เพราะฉะนั้นถึงต้องมาฝึกจิตกันยังไงล่ะ" "ทำไมจิตมันถึงฟุ้งซ่านเฉพาะเวลานั่งสมาธิเล่าครับ ในเวลาปกติทำไมมันจึงไม่ฟุ้งซ่าน" ภิกษุหนุ่มถามอีก "จิตมันฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลานั่นแหละ ไม่ว่าจะตอนนั่งหรือไม่นั่ง เพราะจิตมันมีหน้าที่รู้อารมณ์ แต่ตอนนั่งเรารู้สึกว่ามันฟุ้งซ่าน เพราะเราเอาสติไปกำกับมัน บังคับมันให้จดจ่ออยู่กับอารมณ์เดียว มันเลยต่อต้าน แต่ในเวลาปกติราไม่ได้เอาสติไปกำกับมัน เราจึงไม่รู้ว่ามันฟุ้งซ่าน พูดง่าย ๆ ก็คือจิตมันฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่ค่อยจะรู้ เมื่อใดที่เอาสติไปกำกับมัน


เราจึงจะรู้ชัด เข้าใจหรือยังล่ะ" ท่านพระครูนึกชมพระมหาบุญที่สามารถอบรมบ่มนิสัย จนกระทั่งพระบัวเฮียวเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ทั้งกิริยามารยาท ตลอดจนการพูดการจาดูดีขึ้น ผิดกับเมื่อตอนมาใหม่ ๆ ราวกับเป็นคนละคน"หลวงพ่อครับ แล้วเรื่องเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่หลวงพ่อสอนตอนผมนั่งสมาธิ มีบางตอนที่ผมยังไม่เข้าใจครับ เช่นที่หลวงพ่อบอกไม่ให้ยึด สุขก็ไม่ให้ยึด ทุกข์ก็ไม่ให้ยึด หมายความว่าอย่างไรครับ""หมายความว่า เวทนามันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นเดียวกับสรรพสิ่งทั้งหลาย นั่นคือมันไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และปราศจากตัวตนที่เที่ยงแท้ พูดให้เข้าใจง่ายเข้าก็คือ มันมีลักษณะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป จึงไม่มีอะไรให้ยึด

ฉะนั้นเวทนานุปัสสนาสติปัฏบาน ก็คือ การใช้สติตามดูเวทนา และ กำหนดรู้ในขณะนั้น ๆ ว่า มันสุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ แล้วก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงของมันเหมือนกับเวลาเธอนั่ง เมื่อปวดก็เป็นทุกขเวทนา เธอก็กำหนด "ปวดหนอ" แล้วก็วางมันเสีย ไม่ไปจับไปยึด ประเดี๋ยวมันก็หายไปเอง" "การกำหนดว่า "ปวดหนอ" ก็เพื่อให้หายปวดใช่ไหมครับ" "ไม่ใช่บางคนไปเข้าใจผิดคิดว่าการกำหนดเช่นนี้ จะทำให้หายปวด ซึ่งความจริงแล้วจะกำหนดหรือไม่กำหนด มันก็ต้องหายปวดตามสภาพของมันอยู่แล้ว เพราะเวทนามันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามเหตุปัจจัยเราไม่สามารถไปบังคับบัญชามันได้



เราทำได้ก็เพียงกำหนดรู้มันเท่านั้น"ท่านพระครูอธิบาย พลันสายตาก็เหลือบไปเห็นลูกศิษย์วัดยืนลับ ๆ ล่อ อยู่ตรงประตู จึงถามออกไปว่า"มีอะไรหรือสมชาย" เด็กหนุ่มคลานเข้ามา กราบสามครั้งแล้วรายงานว่า "มีคนจากนครสวรรค์เขามาขอขึ้นกรรมฐานกับหลวงพ่อครับ" "บอกให้เขาเข้ามาได้เลย" พระบัวเฮียวตั้งท่าจะลา แต่ท่านพระครูห้ามไว้ สักครู่ชายวัยกลางคนก็ประคองพานดอกไม้ธูปเทียนเดินเข่าเข้ามาหาท่านพระคร พร้อมกับเพื่อน
ู วัยเดียว กันอีกสองคน เจ้าอาวาสวัดป่ามะม่วงจึงสั่งให้พระบัวเฮียว นำคนทั้งสามกล่าวคำขอสมาทานกรรมฐาน แล้วให้สอนการเดินจงกรมและนั่งสมาธิด้วย พระใหม่รู้สึกขัดเขินเพราะตัวท่านเองก็เพิ่งจะหัดมาได้สองวันเข้าวันน ี้ หากท่าน
ก็สอนอย่างตั้งอกตั้งใจที่สุด จนชายทั้งสามสามารถเดินจงกรมระยะที่หนึ่งได้และรู้วิธีนั่งสมาธิ

"เอาละ เดี๋ยวไปทานข้าวทานปลา แล้วกลับไปปฏิบัติยังกุฏิของตน สองทุ่มค่อยมาสอบอารมณ์ ได้ที่พักหรือยัง" ท่านถามคนที่ถือพานเมื่อตอนเข้ามา เพราะเขามีลักษณะเป็นผู้นำมากกว่าอีกสองคน

"ยังครับ พวกผมเพิ่งมาถึงครับ" เขาตอบอย่างนอบน้อม
"สมชายไปดูซิว่ามีกุฏิกรรมฐานหลังไหนว่างอยู่บ้าง"
"ไม่มีเลยครับหลวงพ่อ ผมไปสำรวจมาแล้ว" เด็กหนุ่มตอบ
"ถ้าอย่างนั้นไปพักบนศาลาก็แล้วกัน เดี๋ยวจะให้เขาจัดมุ้งจัดหมอนไปให้ บนศาลาไม่มีมุ้งลวด" แล้วจึงถามอีกว่า

"จะอยู่ปฏิบัติกันกี่วันล่ะ"
"สามวันครับ พอรู้วิธีก็จะกลับไปปฏิบัติต่อที่บ้าน"
"ทำไม่ไม่อยู่สักเจ็ดวันล่ะ สามวันมันน้อยไป"
"อยู่ไม่ได้ครับหลวงพ่อ พวกผมเป็นครูต้องกลับไปสอนนักเรียน ช่วงนี้หยุดเทอมจึงมาได้"
"หยุดแค่สามวันเองหรือ"
"หยุดมาสิบกว่าวันแล้วครับ แต่พวกผมเกิดนึกอยากมาเอาเมื่อตอนใกล้จะเปิด"
"อ้อ... เอาละ ถึงจะอยู่แค่สามวัน ถ้าตั้งใจปฏิบัติจริง ๆ จัง ๆ ก็จะได้ผลพอสมควร ไหนชื่ออะไรกันบ้าง เผื่อวันหลังเจอกันจะได้ทักทายได้ถูกต้อง"

"ผมชื่อสฤษดิ์ครับ เป็นครูใหญ่"
"ผมชื่อบุญมี อีกคนชื่ออรุณ เป็นครูน้อย มาเป็นเพื่อนครูใหญ่ครับ" ครูบุญมีพูดเป็นครั้งแรก ส่วนครูอรุณยังไม่ยอมพูด

"อ้อ... มาเป็นเพื่อนเท่านั้นหรอกหรือ อาตมานึกว่าตั้งใจมาปฏิบัติ ที่แท้ก็มาเป็นเพื่อน แต่เอาเถอะไหน ๆ ก็ชื่อว่าได้มาแล้ว ตั้งใจปฏิบัติให้เต็มที่ก็แล้วกัน เดี๋ยวสมชายพาแขกไปทานอาหารด้วยนะ"

ประโยคหลังท่านพูดกับลูกศิษย์วัด แล้วหันมาบอกคนเป็นครูใหญ่ว่า "ตามเด็กวัดไป ทานข้าวทานปลาให้อิ่มหนำสำราญเสียก่อน แล้วค่อยปฏิบัติ มีปัญหาอะไรก็มาถามอาตมาได้ทุกเวลา"

คนทั้งสามกราบท่านแล้วจึงลุกตามเด็กวัดออกไป คนเป็นครูใหญ่เดินนำหน้า "นี่บัวเฮียว เธอจำไว้นะ คนที่เดินออกหน้าจะต้องถูกรางวัลที่หนึ่ง เชื่อฉันไหมล่ะ"
"หลวงพ่อทราบได้อย่างไรครับ"

"ก็ "เห็นหนอ" บอก คอยดูก็แล้วกัน เขาจะต้องกลับมาที่วัดนี้อีกภายในเจ็ดวันนับแต่วันกลับไป"
"แล้วหลวงพ่อจะบอกเขาก่อนไหมครับว่า เขาจะถูกรางวัลที่หนึ่ง"
"บอกไม่ได้ซี เดี๋ยวก็ไม่เป็นอันปฏิบัติ"

"หลวงพ่อครับ แล้วผมจะได้ "เห็นหนอ" อย่างหลวงพ่อไหมครับ" ถามอย่างสนใจ
"ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ถ้าเธอหมั่นประกอบความเพียรอย่างสม่ำเสมอ ก็พอจะมีทาง" ท่านตอบแบ่งรับแบ่งสู้
"นอกจากหลวงพ่อแล้วมีคนอื่นได้อีกไหมครับ"

"มีหลายคนเหมือนกัน มันไม่ยากอะไรนี่ อย่างคุณนานลำไยแกก็ได้ ขนาดแกอ่านหนังสือไม่ออก เดินจงกรมนั่งสมาธิก็ไม่เป็น แต่แกมีความเพียรดี เรื่องมันยาว ถ้าอยากรู้วันหลังจะเล่าให้ฟัง อย่าลืมว่าจุดประสงค์สำคัญที่เธอมาที่นี่ก็เพื่อมาแก้กรรม ส่วนอย่างอื่นถือว่าเป็นผลพลอยได้ เอาละ ไปได้แล้วเดี๋ยวคนอื่นเขาจะรอ สิบเอ็ดโมงกว่าแล้ว"

รับประทานอาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ชายทั้งสามจึงตามเด็กวัดไปยังศาลา พวกเขามีกระเป๋าเดินทางใบเล็กมาคนละใบ เด็กหนุ่มนำเครื่องนอนมาแจกให้คนละชุดแล้วจึงลงมา ปล่อยให้เขาได้พักผ่อนกันตามลำพัง ครูสฤษดิ์เตรียมตัวเดินจงกรม ขณะที่ครูบุญมีและครูอรุณ จัดแจงปูเสื่อพร้อมกับพูดออกตัวว่า

"ของีบเอาแรงสักพัก ครูใหญ่ปฏิบัติไปคนเดียวก่อนนะครับ" คนเป็นครูใหญ่จึงพูดขึ้นด้วยเสียงปกติว่า
"คุณจะนอนกันผมก็ไม่ว่าอะไรหรอกนะ เท่าที่อุตส่าห์มาเป็นเพื่อนผมก็ดีถมไปแล้ว แต่คุณจะไม่ลองดูสักหน่อยหรือ ว่าที่นี่มีดีอะไรคนถึงพากันหลั่งไหลมาจนกุฏิไม่พอให้พัก เวลานอนเรายังมีอีกมาก น่าจะตักตวงวิชาความรู้เอาไว้ ไหน ๆ ก็เสียเวลามาแล้ว"

พูดจบก็เริ่มเดินจงกรมอย่างขะมักเขม้น ครูน้อยสองคนมองตากันแล้วต่างก็ได้คิด จึงพากันลุกขึ้นเดินจงกรมบ้าง

ช่วงเวลานั้น หากใครมองขึ้นไปบนศาลา ก็จะเห็นคนสามคนกำลังเดิน "ขวา - ย่าง - หนอ ซ้าย - ย่าง - หนอ" อยู่อย่างเพลิดเพลินตั้งแต่เที่ยงไปจนถึงหกโมงเย็นโดยมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย

ท่านพระครูใช้ "เห็นหนอ" ตรวจสอบดูก็รู้ว่าพวกเขา "รื่นเริงในธรรม" เสียจนไม่สามารถกำหนดนั่งได้ จึงเดินไปยังศาลาเพื่ออนุเคราะห์ คนทั้งสามเห็นเจ้าอาวาสเดินขึ้นมาก็รู้สึกตัว รีบนั่งลงกราบท่านพร้อมกันราวกับนัด

"ไงโยม เดินกันตั้งหกชั่วโมงไม่รู้สึกเมื่อยกันบ้างหรือ"
"หกชั่วโมงเชียวหรือครับ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน รู้แต่ว่ามันเพลินจนลืมกำหนดนั่ง นี่ถ้าหลวงพ่อไม่ขึ้นมา สงสัยพวกผมคงเดินกันจนถึงเช้า" คนเป็นครูใหญ่พูด

"แน่นอน แบบนี้เขาเรียกว่า "รื่นเริงในธรรม""
"แล้วดีไหมครับ" ครูอรุณเพิ่งจะพูดเป็นครั้งแรก
"ไม่ดีแน่ เพราะสมาธิกับวิริยะมีมากจนสติตามไม่ทัน การปฏิบัติธรรมที่จะได้ผลดีจะต้องให้ สมาธิ วิริยะ และสติ สมดุลกัน ไม่ให้อันหนึ่งอันใดล้ำหน้าอันอื่น เอาละ ทีนี้ก็กำหนดนั่ง ให้นั่งคนละหนึ่งชั่วโมง เสร็จแล้วอาบน้ำอาบท่าให้เรียบร้อย สองทุ่มไปหาอาตมาที่กุฏิ"

คนทั้งสามก้มลงกราบท่านสามครั้ง แล้วจึงกำหนดนั่งสมาธิ ท่านพระครูนั่งอยู่อีกครู่หนึ่ง เห็นเขาปฏิบัติกันถูกต้องดีแล้ว จึงเดินกลับกุฏิของท่าน

เมื่อพระบัวเฮียวมาสอบอารมณ์ที่กุฏิของพระอุปัชฌาย์ ก็พบว่าครูทั้งสามคนนั่งคุยกับท่านพระครูอยู่ก่อนแล้ว พวกเขาทำความเคารพเมื่อท่านไปถึง แล้วเจ้าอาวาสก็ถามคนเป็นครูใหญ่ขึ้นว่า

"มีอาการอย่างไรบ้าง กำหนด พอง - ยุบ ชัดไหม"
"ชัดครับ แต่รู้สึกอึดอัด มีลมอัดอยู่ในท้องมากจนทำให้ปั่นป่วน" ครูใหญ่รายงาน
"แล้วโยมทำยังไง"
"ก็ปล่อยให้มันออกมาโดยวิธีธรรมชาติครับ"
"กำหนดหรือเปล่า"
"กำหนดครับ ผมก็กำหนดไปตามจริง "เสียงหนอ" บ้าง "กลิ่นหนอ" บ้าง ครูใหญ่ตอบอย่างฉะฉาน
"แล้วโยมล่ะ" ท่านหันไปถามครูบุญมี
"เหมือนครูใหญ่ครับ" ครูบุญมีตอบ ท่านจึงหันไปทางครูอรุณ "ผมนั่งหลับน้ำลายไหลยืดเลยครับ" ครูอรุณตอบ คนอื่น ๆ พากันหัวเราะ รวมทั้งท่านพระครูและพระบัวเฮียว

ที่เจ้าอาวาสสอบอารมณ์คนทั้งสามต่อหน้าพระบัวเฮียว ก็เพื่อต้องการสอนพระบวชใหม่ทางอ้อม ท่านมองหน้าผู้เป็นศิษย์เหมือนจะพูดว่า "เห็นไหมบัวเฮียว คนอื่น ๆ เขาไม่เห็นเรื่องมากอย่างเธอเลย"

ชะรอยพระบวชใหม่จะเดาความคิดของท่านออก จึงแอบเถียงในใจว่า < "โธ่ หลวงพ่อครับ ก็พวกเขาเป็นครู ผมมันแค่ ป.๔ จะให้เก่งกาจเท่าเขาได้ยังไง" /em>

พระอุปัชฌาย์นึกขำที่คนเป็นลูกศิษย์ชักจะอ่านความคิดของท่านออก จึงสัพยอกขึ้นว่า
"รู้สึกว่าเธอจะได้ "เห็นหนอ" แล้วนะบัวเฮียว"

มีต่อ.....๕

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 6:28 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๕...

พระบัวเฮียวนั่งยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ทั้งที่รู้ว่าท่านสัพยอก แต่ใจก็แสนจะปลื้ม อย่างน้อยมันเป็นนิมิตหมายอันดีว่าสักวันหนึ่ง ท่านคงจะได้ "เห็นหนอ" เช่นคนอื่น ๆ บ้าง ก็คุณนายสำไยอ่านหนังสือไม่ออกแท้ ๆ ยังได้นี่นา ท่านมีภาษีกว่าคุณนายคนนั้นตั้งแยะ แถมยังเดินจงกรม นั่งสมาธิเป็นอีกด้วย กำลังคิดเพลิน ๆ ท่านพระครูก็เอ่ยขึ้นว่า

"เอาละ ต่อไปนี้อาตมาจะสอนเดินจงกรมระยะที่สอง ซึ่งเป็นระยะที่ยากที่สุดในบรรดาการเดินหกระยะ ไหนบัวเฮียวลองบอกมาซิว่า เดินจงกรมระยะที่สอง มีกี่หนอ"

"สองหนอครับ ระยะที่สามมีสามหนอ"
"ถูกแล้ว ระยะที่สองให้บริกรรมว่า "ยก - หนอ เหยียบ - หนอ" ขณะที่ปากว่า "ยก" ก็ให้ยกเท้าขวาขึ้นช้า ๆ สูงจากพื้นประมาณสามนิ้ว ยกเสร็จจึงว่า "หนอ" แล้วนิ่งไว้สักหนึ่งวินาที จึงค่อย ๆ เลื่อนเท้าไปข้างหน้าช้า ๆ โดยไม่ต้องบริกรรม ที่ว่ายากมันยากตอนนี้ ตอนที่ไม่มีองค์บริกรรม เลื่อนเท้าเสร็จก็นิ่งไว้หนึ่งวินาที แล้วจึงว่า "เหยียบ" พร้อมกับเหยียบลงไปช้า ๆ เมื่อเท้าถึงพื้นเรียบร้อยแล้ว จึงว่า "หนอ" จากนั้นจึงย้ายสติมาไว้ที่เท้าซ้าย ทำแบบเดียวกัน เมื่อเดินจนสุดทางแล้วให้กำหนดกลับ"


ท่านเดินให้ดูอีกสามสี่ก้าว แล้วจึงบอกคนทั้งสี่ มีพระหนึ่ง คฤหัสถ์สามทดลองเดิน คนเป็นครูเดินได้โดยไม่ยากนัก แต่คนเป็นพระถึงกับเหงื่อตก คิดจะค้านพระอุปัชฌาย์ว่า

"ก็ไหนหลวงพ่อว่าให้เดินวันละหนึ่งระยะยังไงล่ะ แล้วทำไมสามคนนี้ถึงเดินวันละสองระยะได้" ก็เลยเลิกล้มความตั้งใจ กระนั้นเสียงพระอุปัชฌาย์ก็ยังลอยมาเข้าหูว่า

"สามคนนี้เดินระยะที่หนึ่งหกชั่วโมงติดต่อกันโดยไม่หยุดพัก ก็เลยให้มาเดินระยะที่สองได้"
เมื่อเห็นว่าแต่ละคนเดินได้ถูกต้องดีแล้ว ท่านพระครูจึงสั่งว่า
"เอาละ กลับไปเดินระยะที่หนึ่งกับระยะที่สองอย่างละครึ่งชั่วโมง นั่งอีกหนึ่งชั่วโมง พยายามใช้เวลาเดินกับนั่งให้เท่า ๆ กัน ใครปฏิบัติครบสองชั่วโมงแล้วยังไม่ง่วง ก็ให้ทำใหม่อีกรอบหนึ่งจนกว่าจะง่วง เมื่อล้มตัวลงนอนก็ให้เอามือวางบนท้อง พยายามจับให้ได้ว่า หลับไปตอนพองหรือตอนยุบ แล้วก็อย่าลืม ตีสี่ต้องลุกมาเดินหนึ่งชั่วโมง นั่งหนึ่งชั่วโมง พรุ่งนี้แปดโมงเช้าค่อยมาสอบอารมณ์ แต่ถ้าใครมีปัญหาก็มาที่กุฏิอาตมาได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเกรงใจ ถ้าหลับอยู่ก็ให้เด็กปลุกได้"

ท่านพระครูพูดเปิดทางเอาไว้เพราะ "เห็นหนอ" บอกว่าคืนนี้พระใหม่จะเจอปัญหา
แยกกันไปยังที่พักของตนแล้วครูสามคนก็ลงมือปฏิบัติตามที่ท่านเจ้าอาวาสสอน คือเดินหนึ่งชั่วโมง นั่งหนึ่งชั่วโมง เสร็จแล้วครูบุญมีกับครูอรุณจึงสวดมนต์ไหว้พระ ปูเสื่อกางมุ้งแล้วก็นอน ส่วนครูสฤษดิ์คิดว่า จะต้องตักตวงความรู้กลับไปบ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงปฏิบัติต่ออีกรอบหนึ่ง ดังนั้นขณะที่ครูน้อยสองคนกำลังหลับอย่างมีความสุขอยู่นั้น ครูเป็นครูใหญ่ก็กำลัง "ยก - หนอ เหยียบ - หนอ" อย่างมีความสุขไม่แพ้กัน

สวดมนต์ทำวัตรเย็นเสร็จ พระบัวเฮียวตั้งนาฬิกาปลุกไว้หนึ่งชั่วโมง แล้วจึงเดินจงรมระยะที่หนึ่ง เดินอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมงจึงเปลี่ยนเป็นระยะที่สองซึ่งท่านไม่ถนัดนัก หากก็เดินจนกระทั่งเสียงกริ่งนาฬิกาดังขึ้น ท่านเดินไปกดปุ่ม ตั้งใหม่อีกหนึ่งชั่วโมง แล้วกำหนดนั่งสมาธิ อาการ พอง - ยุบ คล่องตัวขึ้น ไม่อึดอัดขัดข้องเหมือนเมื่อตอนเช้า

ท่านนั่งไปเรื่อย ๆ กระทั่งสี่สิบห้านาทีผ่านพ้นไป จึงรู้สึกปวดขาทั้งสองข้าง แรก ๆ ก็พอทนได้ ท่านจึงกำหนด "รู้หนอ" ครั้นปวดมากเข้าจึงเปลี่ยนเป็น "ปวดหนอ" แล้วก็ไม่ใส่ใจกลับไปจับ พอง - ยุบ ต่อไปไม่ยอมเปลี่ยนท่านั่ง

เมื่อจิตเริ่มตั้งมั่นเป็นสมาธิ อาการปวดดูเหมือนจะทุเลาลง ท่านรู้สึกสบายขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขึ้นกำหนด "สุขหนอ" ได้ จึงเสียดายนักเมื่อกริ่งนาฬิกาดังขึ้น พระใหม่กำหนดลืมตา เอื้อมมือไปกดปุ่มนาฬิกา แล้วลุกขึ้นเดินจงกรมระยะที่หนึ่งใหม่

คราวนี้ท่านไม่ตั้งเวลา จะเดินจะนั่งจนเป็นที่พอใจโดยไม่ต้องให้เวลามาเป็นตัวกำหนด ท่านเดิน "ขวา - ย่าง - หนอ ซ้าย - ย่าง - หนอ" อยู่พักใหญ่ ๆ จึงเปลี่ยนมาเป็น "ยก - หนอ เหยียบ - หนอ" ระยะที่สองเดินยาก ท่านเลยเดินน้อยหน่อย เสร็จแล้วจึงกำหนดนั่ง อยากได้อารมณ์เหมือนเมื่อตะกี้ เพราะมันสุขสบายดีแท้ ๆ ภิกษุหนุ่มไม่รู้ตัวดอกว่า กำลังจะถูกมารหลอกล่อให้หลงทางเสียแล้ว ท่านนั่งกำหนด "พอง - หนอ ยุบ - หนอ" ไปเรื่อย ๆ รู้สึกชุ่มชื่นเย็นฉ่ำในหัวใจ อาการปวดเมื่อยไม่ปรากฏ ท่านสบายเสียจนไม่ยอมกำหนด "สุขหนอ" เพราะกลัวมันจะหายไป


พระบัวเฮียวเพลิดเพลินในสุขกระทั่งลืมแม้องค์บริกรรม เมื่อไม่กำหนด พอง - ยุบ สติก็เผลอไผล จิตจึงฟุ้งซ่านล่องลอยไป ในภาวะนั้น ท่านเห็นตัวเองลอยอยู่กลางนภากาศ มีรัศมีสวยงามแผ่ซ่านออกมาจากกาย เสียงไพเราะกระซิบข้างหูว่า

"ท่านสำเร็จแล้ว ท่านสำเร็จแล้ว ไปสิท่องเที่ยวไป อยากไปไหนก็ไปได้ทุกแห่งหน"
"ถ้าอย่างนั้นฉันอยากไปนรก ช่วยพาฉันไปหน่อย" ท่านพูดโต้ตอบกับเสียงไพเราะนั้น
"ไม่ต้องพา ท่าไปเองได้เพียงแค่นึกก็ถึงแล้ว"
"จริงหรือ เอาละ ถ้าอย่างนั้นฉันนึกอยากไปเมืองนรก แล้วท่านก็รู้สึกว่าตัวเองล่องลอยไปถึงเมืองนรก เห็นยมบาลกำลังตักน้ำที่กำลังเดือดอยู่ในกระทะทองแดงกรอกปากบิดา ท่านจึงพูดกับยมบาลว่า

"ท่านยมบาล อาตมาจะพาไปเที่ยวเมืองสวรรค์ ขอให้ช่วยโยมบิดาของอาตมาขึ้นจากนรกด้วยเถิด คนที่ท่านกำลังเอาน้ำร้อนกรอกปากอยู่นั้นแหละ คือโยมบิดาของอาตมา"

"หลวงพี่ที่เคารพ นับประสาอะไร ที่จะช่วยโยมบิดาของหลวงพี่ได้เล่า แม้แต่แม่ยายผม ผมยังช่วยไม่ได้ ช่วยไม่ได้จริง ๆ ภรรยาเขาก็ขอร้องมา บอกให้ช่วยแม่ด้วยนะพี่นะ นึกว่าสงสารแก"
"แม่ยายท่านทำบาปอะไรมาล่ะ"

"แกฆ่าสัตว์ พวกหมู เป็ด ไก่ ห่าน ฆ่ามาไหว้เจ้าตอนตรุษจีนน่ะ ใจคอแกโหดเหี้ยม ทารุณดุร้าย"
"ก็ท่านยมบาลทำไม่ช่วยไม่ได้เล่า"

"โธ่หลวงพี่ ไอ้ผมก็อยากจะช่วย แต่โจทก์มันมาประท้วงกันเต็มไปหมด ทั้งหมู เป็ด ไก่ ห่าน ดูสิมันยืนประท้วงอยู่นั่น ส่งเสียงร้องระงมเลย"

พระบัวเฮียวมองออกไปก็เห็นจริงดังยมบาลว่า สัตว์เหล่านั้นส่งเสียงร้องเซ็งแซ่ จับความได้ว่า
"ไม่ได้นะยมบาล ช่วยไม่ได้ ยายคนนี้ทำให้พวกฉันทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ถ้ายมบาลช่วยมัน พวกฉันจะไปฟ้องพญายมราช ให้ลงโทษท่าน" โจทก์ขู่


"เห็นไหมหลวงพี่ เห็นหรือยังว่า ผมช่วยไม่ได้จริง ๆ ถ้าผมช่วยโยมบิดาของหลวงพี่ เดี๋ยวพวกวัวควายมันก็ไล่ขวิดผมตายเท่านั้น ก็โยมบิดาของหลวงพี่ฆ่าวัว ฆ่าควายไว้เป็นร้อยเป็นพันตัว ถ้าไม่เชื่อผมจะไปเปิดบัญชีให้ดูก็ได้"

"ไม่ต้องหรอกท่านยมบาล อาตมาเชื่อท่าน" พูดกับยมบาลแล้วจึงหันไปพูดกับโยมบิดาว่า
"โยมพ่อ อาตมาพยายามช่วยแล้ว แต่ยมบาลเขาไม่ยอม โยมพ่ออดทนไปก่อนนะ อาตมากำลังปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่วัดป่ามะม่วง แล้วจะแผ่ส่วนกุศลมาให้ อาตมาขอลา จะไปดูสวรรค์สักหน่อย"

แล้วท่านก็ล่องลอยออกจากเมืองนรกไปเมืองสวรรค์ เยี่ยมเยียนสวรรค์เสียทุกชั้นตั้งแต่ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี ได้เห็นเทพบุตร เทพธิดาเหาะไปมาอยู่ในอากาศ รูปร่างสะสวยงดงาม มีเครื่องประดับทำด้วยเพชรนิลจินดา ส่องแสงเป็นประกายวูบวาบ

เมื่อเห็นท่านลอยผ่านหน้า เทพบุตร เทพธิดาเหล่านั้นต่างยกมือทำความเคารพ ท่านทักทายปราศรัยอยู่กับพวกเขา จนได้เวลาอันสมควรแล้วจึงลอยกลับมายังกุฏิ เห็นกายเนื้อของท่านกำลังนั่งสมาธิอยู่ก็รู้ว่า ร่างที่ล่องลอยอยู่นี้เป็น "กายทิพย์" จึงลอยไปเข้ากายเนื้อ แล้วจึงกำหนดลืมตา

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับท่านสด ๆ ร้อน ๆ นี้ ทำให้ท่านเข้าใจผิดคิดไปว่าตัวเองสำเร็จแล้ว จึงอยากจะไปกราบเรียนให้ท่านพระครูทราบ ขณะนั้นเป็นเวลาตีสอง คงจะรอให้ถึงรุ่งเช้าไม่ไหว เพราะใจมันร้อนรน อยากให้พระอุปัชฌาย์ได้รู้ว่า ลูกศิษย์ของท่านสำเร็จแล้ว ได้ "เห็นหนอ" แล้ว

พลันก็นึกถึงที่ท่านพูดอนุญาตไว้ เพราะตอนสามทุ่มเศษ ๆ แสดงว่าท่านจะต้องรู้ว่าศิษย์ของท่านจะมาหาในคืนนี้ คิดได้ดังนั้นจึงเดินดุ่ม ๆ ไปยังกุฏิเจ้าอาวาส โดยไม่สะทกสะท้านต่อความหนาวเย็นของอากาศ

สุนัขสามสี่ตัวเห็นคนเดินดุ่ม ๆ มาในยามวิกาลเช่นนั้น ก็ส่งเสียงเห่ากรรโชกขึ้น แล้วพากันวิ่งกรูเข้ามา พระบัวเฮียวจึงต้องส่งเสียงทักทายออกไป สุนัขเหล่านั้นพร้อมใจกันหยุดเห่า แล้ววิ่งกลับไปยังที่ที่ตนนอน

"สมชาย สมชาย เปิดประตูหน่อย" ท่านตะโกนเรียกลูกศิษย์วัด เด็กหนุ่มงัวเงียลุกขึ้นมาเปิดประตู แล้วจึงถามอย่างไม่พอใจนัก

"หลวงพี่มาทำไมดึก ๆ ดื่น ๆ ผมกำลังหลับสบาย ๆ"
"หลวงพ่อหลับหรือยัง" ถามแทนคำตอบ ศิษย์วัดมองขึ้นไปเห็นไฟยังสว่างอยู่จึงตอบว่า
"ยังมั้ง ไฟยังเปิดอยู่นี่"
"ขอขึ้นไปพบท่านหน่อยได้ไหม"
"ให้ผมไปถามท่านดูก่อน ปกติท่านไม่อนุญาตให้ใครขึ้นไปข้างบน" พูดแล้วก็ขึ้นไปหาท่านพระครู ยังไม่ทันพูดอะไร ท่านก็พูดขึ้นเสียก่อนว่า

"พระบัวเฮียวใช่ไหม บอกให้รออยู่ก่อน ประเดี๋ยวฉันจะลงไป" แล้วท่านก็ก้มหน้าก้มตาเขียนหนังสือต่อไปอีกสักครู่ จึงลงมาข้างล่าง


"มีอะไรหรือ" ท่านทักขึ้น
"หลวงพ่อยังไม่จำวัดอีกหรือครับ" พระใหม่ถาม
"ยัง หมู่นี้งานยุ่งมาก ฉันลืมนอนมาหลายวันแล้ว"
"หลวงพ่อไม่ง่วงหรือครับ"
"ฉันกำหนดสติอยู่ตลอดเวลา มันก็เลยแก้ง่วงได้ จำไว้เวลาเธอง่วงมาก ๆ ให้ตั้งสติไว้ตรงลิ้นปี่แล้วกำหนด "ง่วง - หนอ ง่วง - หนอ" รับรองหายง่วงเป็นปลิดทิ้ง"

พระบัวเฮียวกำลังจะเอ่ยปากพูด ก็พอดีท่านพระครูพูดขึ้นว่า
"นี่เธอรู้ไหม ฉันกำลังเขียนหนังสือคู่มือสอบกรรมฐาน เขียนมาได้ร้อยกว่าหน้าแล้ว เผื่อว่าฉันตายไป จะได้มีตำราไว้สอบอารมณ์ในการปฏิบัติ หนังสือแบบนี้ยังไม่เคยมีใครเขียนมาก่อน"


"จวนเสร็จหรือยังครับ"
"ยัง คงอีกหลายปี นี่ฉันเขียนมาปีกว่าแล้ว เพิ่งได้ร้อยกว่าหน้าเอง มันไม่ใช่จะเขียนได้ง่าย ๆ เอาละทีนี้ เธอมีอะไรก็ว่าไป เสร็จธุระแล้วฉันจะได้กลับไปเขียนหนังสือต่อ" ท่านต้องพูดกันเอาไว้ก่อนเพื่อให้ผู้เป็นศิษย์รู้ว่าท่านมีงานที่จะต้องทำรออยู่

"หลวงพ่อครับ ผมได้ "เห็นหนอ" แล้วครับ" บอกอย่างปีติ
"อ้อ... เร็วถึงขนาดนั้นเชียวหรือ แล้วรู้ได้ยังไงว่าได้ หรือว่ามีใครมาบอก"
"ครับ มีเสียงมากระซิบข้างหูผม"
"กระซิบว่ายังไง"
"บอกว่า "ท่านสำเร็จแล้ว ท่านสำเร็จแล้ว" ครับ"
"อ้อ..." ท่านพระครูพูดยิ้ม ๆ พระบัวเฮียวเลยทำหน้าปั้นยาก ท่านพระครูยิ้มแบบนี้ทีไร เป็นได้เรื่องทุกที
"แล้วเสียงที่เธอได้ยิน เป็นเสียงเดียวกันกับที่ได้ยินเมื่อปีที่แล้วหรือเปล่า"
"ไม่ใช่แน่ ๆ ครับ เสียงเมื่อคืนไพเราะน่าฟังกว่า"
"แล้วเขาว่ายังไงอีก" พระอุปัชฌาย์ซัก

"เขาบอกให้ผมท่องเที่ยวไป อยากไปไหนก็ไปได้ทุกหนทุกแห่ง เพียงแต่นึกเท่านั้นก็ไปได้ แล้วผมก็เลยไปเที่ยวเมืองนรกเมืองสวรรค์ ที่เมืองนรกผมพบโยมพ่อด้วย ผมขอร้องให้ยมบาลให้ช่วยพ่อ แต่ท่านบอกว่าช่วยไม่ได้เพราะแม้แต่แม่ยายท่านเอง ท่านก็ยังช่วยไม่ได้"

"เหมือนฉันเปี๊ยบเลย" ฉันก็เคยไปเห็นเมืองนรกมาแล้ว ก็เจออย่างที่เธอเล่ามานี่แหละ" พระบัวเฮียวยิ้มแป้นเมื่อท่านพระครูบอกว่า ท่านก็เคยเห็นนรกมาแล้วเช่นเดียวกัน

"ถ้าอย่างนั้นผมก็สำเร็จแล้วจริง ๆ ใช่ไหมครับ" ถามอย่างตื่นเต้น
"ใครบอกเธอล่อบัวเฮียว เธอถูกมารมันหลอกเอาน่ะซิ ถูกมารหลอกเหมือนกับที่ฉันเคยถูกหลอกมาแล้ว"
คราวนี้พระบัวเฮียวถึงกับใจฝ่อแฟบลงไป ถามท่านเสียวอ่อยว่า
"หมายความว่าอย่างไรครับ แสดงว่าผมเห็นไม่จริงใช่ไหมครับ"
"จริงซิ เธอเห็นจริง ๆ แต่สิ่งที่เธอเห็นมันไม่จริง เข้าใจหรือยังล่ะ"
"ยังไม่เข้าใจครับ หลวงพ่อกรุณาขยายความหน่อยเถิดครับ ผมชักงง" คนซื่อตอบซื่อ ๆ
"คือที่เธอไปเห็นนรกสวรรค์น่ะ เธอเห็นจริง ๆ เหมือนกับตอนที่ฉันเห็น ฉันก็เห็นจริง ๆ แต่นรกสวรรค์ที่เธอเห็นหรือที่ฉันเห็นนั้น มันไม่จริง เรียกว่า เราสองคนต่างก็ไปเห็นของไม่จริงมาว่างั้นเถอะ ที่ว่าไม่จริง เพราะมันเป็นภาพลวงตาที่จิตของเราเป็นผู้สร้างขึ้น เขาเรียกว่า เทวบุตตมาร ฉันถึงว่าเธอถูกมารหลอกเอาไงล่ะ"

"ถ้าอย่างนั้นแสดงว่า นรกสวรรค์ไม่ได้มีอยู่จริงใช่ไหมครับ"
"มีซี เป็นชาวพุทธจะว่านรกสวรรค์ไม่มีได้ยังไง อีกหน่อยถ้ามีเวลาไปอ่านพระไตรปิฎกซะ จะได้หายสงสัย นั่นอยู่ในตู้นั่น" ท่านชี้ไปที่ตู้พระไตรปิฎก ซึ่งมีหนังสือเล่มสีน้ำเงินบรรจุอยู่เต็ม

"หลวงพ่อครับ ในเมื่อนรกสวรรค์มีจริง แล้วทำไมสิ่งที่ผมกับหลวงพ่อเห็นจึงไม่จริงเล่าครับ" พระใหม่ยังไม่หายสงสัย แทนคำตอบ ท่านพระครูกลับย้อนถามว่า


"เธอไม่แปลกใจบ้างหรือบัวเฮียว ว่าเธอมาปฏิบัติแค่สองวันก็สามารถเห็นนรกสวรรค์ ทีคนอื่น ๆ เขาปฏิบัติกันมาเป็นสิบ ๆ ปี ก็ยังไม่เห็น"

"มันแล้วแต่บุญบารมีของแต่ละคนนี่ครับ" คนซื่อเลี่ยงตอบไปอีกทางหนึ่ง
"ตอบอย่างนั้น มันก็มีส่วนถูกอยู่เหมือนกัน นี่จำไว้นะบัวเฮียว อะไรก็ตามที่เธอเห็นตอนนั่งสมาธิ เธอสามารถพิสูจน์ได้ว่ามันจริงหรือไม่จริง"

"พิสูจน์อย่างไรครับ" ถามอย่างสนใจ
"ง่ายนิดเดียว เมื่อไหร่ที่เธอทิ้งองค์บริกรรม ก็แน่ใจได้เลยว่าสิ่งที่เธอเห็นมันเป็นภาพลวง แต่ถ้าเธอเห็นทั้ง ๆ ที่ยังมีสติรู้ตัวทั่วพร้อม สิ่งนั้นมันก็จริง พูดง่าย ๆ ก็คือต้องใช้สติไปเห็น ทีนี้เข้าใจหรือยังล่ะ"

"เข้าใจแล้วครับ หลวงพ่อครับ เมื่อกี้หลวงพ่อพูดถึงเทวปุตตมาร มันเป็นอย่างไรครับ"
"อ้อ... มารที่ว่านี้ก็คือสิ่งที่มาขัดขวางไม่ให้เราทำความดี อย่างการนั่งสมาธินี่ถือว่าทำความดีขั้นสูงสุด อย่าลืม ทาน ศีล ภาวนา สามอย่างนี้มีระดับไม่เท่ากัน

การให้ทาน ถือเป็นความดีขั้นธรรมดา
การรักษาศีล เป็นความดีขั้นสูงกว่าทาน
การบำเพ็ญภาวนา เช่นการนั่งสมาธิ การเดินจงกรม ถือเป็นความดีขั้นสูงสุด
เมื่อไรที่เราทำความดี เมื่อนั้นจะต้องผจญมาร มารมี ๕ ประเภทด้วยกันคือ

ขันธมาร ได้แก่ ความปวดเมื่อย คนตรงโน้น เจ็บตรงนี้ เวลาที่เธอปวดขาแทบหลุด นั้นแหละเธอกำลังผจญกับขันธมาร

กิเลสมาร ได้แก่ กิเลสต่าง ๆ เช่น นั่งแล้วอยากเห็นเลข ก็เป็นโลภะ นึกขัดเคืองเคียดแค้นคนอื่น ก็เป็นโทสะ หรือนั่งเพลิน ๆ ติดสุข ก็เป็นโมหะ

เทวปุตตมาร ก็เช่นเห็นเทพบุตร เทพธิดา เห็นนรกสวรรค์ อย่างที่เธอเผชิญมาแล้ว อภิสังขารมาร ก็ได้แก่ ความคิดปรุงแต่ง อยากเห็นโน่นเห็นนี่ อยากได้ "เห็นหนอ" อยากสำเร็จเป็นพระอรหันต์


ส่วนอันสุดท้ายคือ มัจจุราช อันนี้ร้ายที่สุด เพราะถ้าตายเสียแล้วโอกาสที่จะมานั่ง พอง - หนอ ยุบ - หนอ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้นเธอจะต้องรู้เท่าทันมารเหล่านี้ ขอให้จำไว้ว่า "มารไม่มี บารมีไม่เกิด" เพราะฉะนั้น เธอต้องเอาชนะมารให้ได้"

พระบวชใหม่เดินกลับกุฏิอย่างเหงาหงอย แอบรำพึงในใจว่า "ไม่น่าเล้ยตูเอ๊ย ถูกมารหลอกเข้าจนได้"

มีต่อ......๖

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 6:30 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๖...

ประมาณสิบนาฬิกาของวันรุ่งขึ้น ขณะที่ท่านพระครูกำลังสอนเดินจงกรมระยะที่สามให้พระบัวเฮียว และครูที่มาจากนครสวรรค์อยู่นั้น นายสมชายก็นำรัฐมนตรีและคุณหญิง พร้อมกับผู้ติดตามอีกประมาณสิบคนมาขอเข้าพบ

คณะผู้ติดตามรัฐมนตรีล้วนเป็นนายตำรวจ ตั้งแต่ยศพันตำรวจตรีถึงพันตำรวจเอก คนหนึ่งทำหน้าที่หิ้วกระเป๋าถือให้คุณหญิง เป็นกระเป๋าหวายขลิบทอง ลักษณะคล้ายตะกร้าหมากของคนสมัยก่อน แต่ใบเล็กกว่า ผู้ใดรู้ราคาของกระเป๋าใบนี้จะต้องตกใจ เพราะคุณหญิงซื้อมันมาด้วยราคาสูงถึงสองพันบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ซื้อทองหนักหนึ่งบาทกับหนึ่งสลึงได้สบาย

เสื้อผ้าอาภรณ์ที่คุณหญิงสวมใส่นั้น บ่งบอกถึงความเป็นผู้มีรสนิยมสูง ซึ่งแน่นอนเหลือเกินที่ราคาจะต้องสูงตามไปด้วย หากคิดเป็นเงิน ก็คงเอามาสร้างกุฏิกรรมฐานได้นับสิบหลังทีเดียว


ใบหน้าของสตรีวัยห้าสิบถูกตกแต่งไว้อย่างตั้งใจจะให้สวยงาม "ทั้งลงพื้น" วาดแผนที่ ทาสี และแรเงา" แต่ก็มิอาจปิดบังความร่วงโรยแห่งสังขารไว้ได้ ท่าทางคุณหญิงดูถือตัว และไม่เป็นมิตรกับใคร

ครูบุญมีมองปราดเดียวก็รู้สึกไม่ถูกชะตา แอบค่อนในใจว่า "โธ่เอ๊ย กะอีแค่กระเป๋าใบเดียวก็ต้องมีคนถือให้"

คณะผู้มาใหม่ทำความเคารพท่านพระครู พระบัวเฮียวแอบสังเกตว่าคุณหญิงกราบเบญจางคประดิษฐ์ไม่เป็น ครูบุญมีก็สังเกตเห็นเช่นกัน เลยเกิดความรู้สึกไม่ชอบหน้าหนักขึ้นไปอีก


"เจริญพร ท่านรัฐมนตรีไปยังไงมายังไงจึงมาถึงที่นี่ได้" ท่านพระครูทักทาย ท่านเคยเห็นรัฐมนตรีผู้นี้ตามหน้าหนังสือพิมพ์และในจอโทรทัศน์จนจำได้ เขาลือกันว่าคนนี้แปละที่จะนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนต่อไป

"กระผมได้ยินกิตติศัพท์ของพระคุณเจ้ามานาน บังเอิญมาธุระแถวนี้ก็เลยแวะมากราบท่านครับ" รัฐมนตรีตอบ

"แล้วเหตุการณ์ทางกรุงเทพฯ เป็นยังไง ยังไม่เรียบร้อยไม่ใช่หรือ" ท่านพระครูหมายถึงเหตุการณ์วันมหาวิปโยคซึ่งเพิ่งผ่านมาสด ๆ ร้อน ๆ

"ก็เรื่องนี้แหละครับที่กระผมจะมาเรียนปรึกษาพระคุณเจ้า เอ้อ พระคุณเจ้ามีความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น" ท่านพระครูนิ่งไปอึดใจหนึ่งจึงพูดขึ้นว่า

"ความจริงเรื่องการเมืองมันเป็นเรื่องทางโลก อาตมาเป็นพระสงฆ์ไม่อยากจะออกความเห็น แต่เอาเถอะ ไหน ๆ ท่านก็ถามแล้ว อาตมาก็ขอตอบว่ามันเป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม คราวนี้ละคนจะได้เชื่อกันเสียทีว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ยังไม่จบเพียงนี้หรอก จำคำพูดของอาตมาไว้นะครูใหญ่นะ" ท่านหันไปพูดกับครูสฤษดิ์

"ถ้าไม่เชื่อกลับไปถึงบ้านแล้วจดบันทึกไว้เลยว่า วันที่เท่านี้ เดือนนี้ พ.ศ. นี้ อาตมาพูดว่าอย่างนี้ ๆ แล้วถ้าไม่จริงตามที่อาตมาพูดให้มาปรับอาตมาได้ อาตมาจะให้ปรับสองหมื่นบาท" ท่านพูดยิ้ม ๆ

"นะครูใหญ่นะ"
"ครับ" ครูใหญ่รับคำด้วยไม่รู้จะพูดอะไรดีไปกว่านั้น
"ดีแล้ว เอาละ อาตมาไม่ใช่หมอดู แต่ก็จะทำนายว่าอีกสามปีนับจากนี้ไป จะเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับวันมหาวิปโยคอีก และอีกสิบห้าปี คือปีสองพันห้าร้อยสามสิบเอ็ด จะเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นที่ภาคใต้ น้ำจะท่วมถึงยอดตาล วัดวาอารามจะพังพินาศ คนจะล้มตายเป็นจำนวนมาก ต่อจากนั้นอีกยี่สิบปีแผ่นดินจะถูกต่างชาติเข้ายึดครอง คนไทยจะไม่มีแผ่นดินอยู่ ทุกอย่างที่กล่าวมานี้เป็นไปตามกฎแห่งกรรม อย่าลืมไปบันทึกเอาไว้ ถ้าไม่จริงอาตมายอมให้ปรับ"

นิ่งไปครู่หนึ่งจึงถามครูบุญมีว่า
"โยมเคยเห็นทะเลน้ำไหม"
"เคยครับ" ครูบุญมีตอบ
"ทะเลทรายล่ะ"
"ไม่เคยครับ"
"ท่านรัฐมนตรีเคยเห็นทะเลทราบไหม"
"เคยครับ" รัฐมนตรีตอบ

"นั่นแหละ ปกติเราคิดว่ามีแต่ทะเลน้ำกับทะเลทราย แต่อีกสิบห้าปี จะมีทะเลซุง"
"เป็นยังไงคะทะเลซุง" คุณหญิงถามพลางนึกในใจว่า "พระองค์นี้พูดบ้า ๆ" แล้วก็ต้องสะดุ้งเมื่อท่านพระครูตอบว่า


"ไม่บ้าหรอกคุณหญิง เอาเถอะถึงเวลานั้นคุณหญิงจะรู้เองว่าทะเลซุงมันเป็นอย่างไร"
คุณหญิงจึงแอบคิดต่อไปอีกว่า "แน่ะเสือกรู้เสียอีกว่าเราคิดยังไง"
คราวนี้ท่านพระครูถึงกับอึ้งถ้อยคำที่คุณหญิงใช้นั้นหยาบเกินกว่าจะยอมให้มันออกมาจากปากของท่าน เห็นท่านไม่โต้ตอบ คุณหญิงเลยคิดว่าท่านไม่รู้

"ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นครับหลวงพ่อ" ครูใหญ่ถาม
"ก็อย่างที่อาตมาบอกเมื่อตะกี้นั่นแหละว่า มันเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ครูใหญ่อย่าลืมนะว่าพระพุทธองค์ ท่านสอนเรื่องกรรมไว้ว่าอย่างไร ท่านสอนว่า กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม... เอาละ แล้วทุกคนที่นั่งอยู่ ณ ที่นี้ก็จะได้ประจักษ์เมื่อเวลานั้นมาถึง"


ขณะสนทนาท่านรู้สึกว่ารัฐมนตรีมีอาการกระสับกระส่าย จึงพูดขึ้นว่า "รู้สึกท่านรัฐมนตรีมีอะไรจะพูดกับอาตมาสองต่อสองใช่ไหม"

"ครับ ผมอยากเรียนปรึกษาอะไรบางอย่าง"
"ถ้าอย่างนั้นก็เชิญข้างบน คนอื่น ๆ รออยู่ที่นี่ก่อนนะ จะคุยกันหรือจะนั่งสมาธิก็ตามใจ"
พูดจบจึงลุกขึ้นเดินนำรัฐมนตรีขึ้นไปข้างบน จัดแจงปิดประตูลงกลอนอย่างเรียบร้อยด้วยรู้ว่าสิ่งที่รัฐมนตรีจะพูดนั้นเป็นเรื่อง "ลับสุดยอด" คุณหญิงย่องขึ้นไปแอบฟังอยู่ที่หน้าประตู ท่านพระครูรู้ แต่รัฐมนตรีหารู้ไม่

อาคันตุกะกวาดสายตาสำรวจไปรอบ ๆ ห้อง ไม่มีสมบัติพัสถานอะไร นอกจากหนังสือซึ่งวางกองอยู่บนพื้นห้องบ้าง บนโต๊ะและในตู้บ้าง ห้องทั้งห้องจึงเต็มไปด้วยหนังสือ มีที่ว่างเหลือไว้ให้คนนั่งได้ไม่เกินสี่คน และที่ตรงนี้ก็คือที่นอนของท่าน

นั่งลงแล้วรัฐมนตรีจึงพูดขึ้นว่า "กระผมมีเรื่องร้อนใจ อยากจะเรียนปรึกษาพระคุณเจ้าว่า กระผมจะทำการปฏิวัติดีหรือไม่ ถ้าทำจะสำเร็จไหม เพราะถ้าสำเร็จผมก็จะไดเป็นนายกรัฐมนตรี

ท่านพระครูตอบทันทีว่า
"ไม่ดีแน่ ท่านอย่าทำเลย อาตมาขอบิณฑบาตเถอะนะ"
คุณหญิงซึ่งแอบฟังอยู่อดรนทนไม่ได้ ส่งเสียงแว้ดขึ้นว่า
"ทำไมจะไม่ดี ถามพระวัดไหน ๆ ท่านก็ว่าดีทั้งนั้น มีแต่พระบ้าวัดนี้แหละที่ว่าไม่ดี"
รัฐมนตรีหน้าเสียเมื่อได้ยินเสียงแว้ดของภรรยา ท่านพระครูจึงส่งเสียงลงมาว่า
"สมชายเอ๊ยช่วยดูหน่อยซิ แมวที่ไหนมาร้องอยู่หน้าประตูห้องฉัน"
เด็กหนุ่มจึงเดินขึ้นไปพูดกับคุณหญิงเป็นเชิงขอร้องว่า "คุณหญิงลงมารอข้างล่างเถิดครับ" หากฝ่ายนั้นเชิดหน้าทำไม่รู้ไม่ชี้เหมือนไม่ได้ยินที่เด็กวัดพูด

นายสมชายจึงตะโกนขึ้นไปว่า "ผมบอกแมวแล้วครับหลวงพ่อ แต่แมวไม่เชื่อ"
"งั้นก็ช่างแมวเถอะ เป็นเสียงตอบออกมา
รัฐมนตรีไม่กล้าออกมาพูดกับภรรยา ด้วยเคยกลัวเคยเกรงกันมาแต่ครั้งอดีต ถึงในปัจจุบันก็ยังกลัวยังเกรงอยู่ ก็มิใช่บารมีของคุณหญิงดอกหรือที่ทำให้ท่านรุ่งโรจน์เรืองรองมาจนทุกวันนี้

"ที่พระคุณเจ้าว่าไม่ดีหมายความว่าไม่สำเร็จหรือครับ แต่กระผมมั่นใจว่าต้องสำเร็จ เพราะคุณหญิงเขาวางหมากเอาไว้หมดแล้ว"

"ก็เพราะอย่างนั้นน่ะซี อาตมาถึงว่าไม่ดี พูดกันตรง ๆ เลยนะ ว่าท่านจะพังก็เพราะคุณหญิงนี่แหละ"
คราวนี้คนแอบฟังอยากจะร้องกรี๊ดออกมา ท่านพระครูจึงพูดเสียงดังกว่าเก่าว่า
"อย่าเพิ่งร้อง คุณหญิงใจเย็น ๆ ฟังอาตมาพูดให้จบก่อนแล้วค่อยร้อง" คุณหญิงจึงจำใจแอบฟังต่อไป
"แต่ที่กระผมขึ้นมาได้ถึงขั้นนี้ก็เพราะฝีมือคุณหญิงเขานะครับพระคุณเจ้า คุณหญิงเขาเป็นคนกว้างขวาง เข้าเจ้าเข้านายเก่ง" พูดอย่างรู้บุญคุณภรรยา

"ถูกแล้ว แต่ท่านอย่าลืมว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งผู้นำของประเทศ ท่านจะต้องเป็นผู้นำสูงสุด แต่ในความจริงนั้นตรงกันข้ามเพราะคุณหญิงสูงกว่า นี่แหละมันจะวุ่นวายก็ตรงนี้ ท่านพอจะเข้าใจที่อาตมาพูดใช่ไหม อาตมาเป็นคนตรง พูดอ้อมค้อมกับเขาไม่เป็น"

"บอกก็ได้ว่าสำเร็จ แล้วท่านก็จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีสมความตั้งใจด้วย"
คนฟังอยู่ข้างนอกจึงค้านในใจว่า "ทำไมท่านว่าไม่ดีล่ะ พิลึกจริง" แล้วก็ให้แปลกใจหนักขึ้นเมื่อเสียงข้างในดังออกมาว่า

"ที่ว่าไม่ดีเพราะท่านจะเป็นได้ไม่ถึงสองเดือนก็จะเกิดเรื่องยุ่ง พวกนิสิตนักศึกษาเขาจะเอาเรื่องกับท่าน จนท่านอยู่ไม่ได้ แล้วท่านกับคุณหญิงจะต้องเดือดร้อน หาความสงบสุขไม่ได้เลย ท่านตัดสินใจเองก็แล้วกันว่าจะเป็นรัฐมนตรีแล้วอยู่สบาย ๆ หรือจะเป็นนายกฯ แต่ต้องเดือดร้อน"

"ถ้าอย่างนั้น ผมเห็นจะต้องปรึกษาคุณหญิงดูก่อน" รัฐมนตรีตอบแบ่งรับแบ่งสู้
"ไม่ต้องปรึกษาหรอก อาตมาตอบแทนคุณหญิงได้เดี๋ยวนี้เลยว่า คุณหญิงต้องให้เลือกอย่างหลัง เพราะเขาไม่เชื่อที่อาตมาพูด"

คุณหญิงซึ่งแอบฟังอยู่ชักงงที่พระรูปนี้ช่างรู้ความในใจของเธอไปเสียทุกอย่าง รัฐมนตรีคอตก ไม่รู้จะเชื่อพระดีหรือเชื่อภรรยาดี คงต้องเลือกเอาอย่างหลัง


"เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าท่านไม่เชื่อที่อาตมาพูด อาตมาก็จะให้ท่านพิสูจน์โดยจะย้อนอดีตที่ผ่านมาว่าท่านทำอะไรผิดพลาดไว้บ้าง แล้วทีนี้ท่านจะเชื่ออาตมา หรือ เชื่อคุณหญิงก็สุดแล้วแต่ท่าน"

แล้วท่านพระครูจึงเล่าเรื่องแต่ครั้งอดีตของรัฐมนตรีที่มีคุณหญิงเป็นผู้บงการมาโดยตลอด คนที่นั่งฟังกับคนที่แอบฟังต่างยอมรับในใจว่า ทุกเรื่องที่ท่านเล่ามานั้นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทุกประการเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก

ทั้งรัฐมนตรี และคุณหญิงเริ่มมีศรัทธาเลื่อมใสในผู้ทรงศีลรูปนี้ หากก็ยังอดสงสัยมิได้ว่าเหตุใดพระอีกหกวัดที่เพิ่งไปพบมาเพื่อตอนเช้าจึงทำนายเป็นเสียงเดียวกันว่า ดี มีวัดที่เจ็ดนี่แหละที่ผิดแผกไปจากวัดอื่น ๆ จะเชื่อหกวัดหรือวัดเดียวดีหนอ


ท่านพระครูรู้ความคิดของคนทั้งสอง จึงกล่าวขึ้นว่า
"พระที่ท่านไปพบมาทั้งหกวัดนั้นไม่ได้ทายผิด เพราะตอนนี้ไม่ว่าท่านจะไปถามพระหรือถามหมอดูที่ไหน ๆ เข้าก็ต้องว่าดีทั้งนั้น อาตมาก็ว่า ดี แต่มันดีเฉพาะตอนแรก ๆ เข้าตำรา "หัวมงกุฏท้ายมังกร" ยังไงล่ะ ขอให้เชื่ออาตมาสักครั้งเถอะ อาตมามีความจริงใจ ไม่เคยแนะนำใครในทางเสีย เมื่อเดือนที่แล้วก็มีนายพลท่านหนึ่งมาที่นี่ จะมาขอให้อาตมาช่วย ท่านจะปฏิวัติ อยากเป็นนายกฯ เหมือนท่านนี่แหละ อาตมาดูแล้วเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ ก็เรียนท่านไปตามตรง รู้สึกคุณหญิงเขาจะไม่พอใจอาตมา หน้างอเป็นม้าหมากรุกกลับไปเลย"

ท่านพระครูไม่เล่าดอกว่าคุณหญิงผู้นั้นก็ได้มาแอบฟังท่านคุยกับนายพล ด้วยไม่ต้องการให้คนที่กำลังแอบฟังอยู่หน้าประตูเข้าใจผิดไปว่า ท่านแกล้งพูดประชด

"พระคุณเจ้าไม่มีทางใดที่จะช่วยกระผมได้เลยหรือครับ" คำถามของรัฐมนตรีช่างถูกอกถูกใจคุณหญิงนัก แต่คำตอบของท่านพระครูนั่นสิทำให้เธอต้องผิดหวัง

"ถ้าช่วยได้ อาตมาก็ช่วยแล้วโดยไม่ต้องรอให้ท่านออกปากเลย แต่นี่อาตมาช่วยไม่ได้จริง ๆ เพราะเรื่องของกฎแห่งกรรมไม่มีใครช่วยใครได้"

"แล้วกฎแห่งกรรมนี่ใครเป็นคนสร้างครับพระคุณเจ้า" แม้จะเป็นถึงรัฐมนตรี หากก็มีความรู้เชี่ยวชาญในทางโลกเท่านั้น ส่วนทางธรรมแทบจะเรียกได้ว่า "มืดบอด"


"กฎแห่งกรรม ก็คือ กฎแห่งเหตุและผล เหตุอย่างไร ผลก็อย่างนั้น เหตุดี ผลก็ดี เหตุชั่ว ผลก็ชั่ว ผู้ที่สร้างกฎแห่งกรรมก็คือตัวของเรานี่แหละ ไม่มีใครมาสร้างมาบันดาลให้ ไม่ใช่พรหมลิขิต หากเป็นเรื่องของกรรมลิขิต เมื่อเราสร้างเหตุเราก็ต้องรับผล จะให้ใครมารับแทนไม่ได้ เหมือนดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า... เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น... เพราะฉะนั้นอาตมาจึงช่วยท่านไม่ได้"

คนฟังทั้งในห้องและนอกห้องเริ่มจะซาบซึ้งในรสพระธรรม ท่านพระครูรู้จึง "เทศนา" ต่อไปว่า

"คนเราจะร่ำรวยหรือยากจน จะสุขหรือทุกข์ ก็ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำ คำว่า "กรรม" ถ้าแปลตามตัวก็คือ การกระทำนั้นเอง ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา การกระทำที่จัดเป็นกรรมต้องเป็นการกระทำที่มีเจตนาเป็นพื้นฐาน เจตนาคือความตั้งใจหรือจงใจ บางครั้งพระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เจตนานั่นเองคือกรรม ดังพุทธพจน์ว่า....

เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลตั้งใจแล้วหรือคิดแล้ว ย่อมกระทำกรรมทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ...

เรื่องกรรมเป็นเรื่องสลับซับซ้อน ถ้าท่านสนใจ วันหลังหาเวลามาอยู่วัดสักเจ็ดวัน มาคุยเรื่องกรรมกันต่อ อาตมาเป็นคนชอบวิจัย ได้รวบรวมเรื่องกฎแห่งกรรมที่เกิดขึ้นในวัดนี้ไว้เป็นร้อย ๆ เรื่อง บางเรื่องก็แทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ อย่างพระที่นั่งอยู่ข้างล่างนั้นก็มาขอแก้กรรม อาตมากำลังให้ฝึกเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔"


ประโยคสุดท้ายทั้งรัฐมนตรีและคุณหญิงไม่เข้าใจว่าท่านพูดถึงเรื่องอะไร
"มาจากไหนครับพระคุณเจ้า"
"จากกาฬสินธุ์ มันก็แปลกนะ ท่านรัฐมนตรี เขาเล่าให้อาตมาฟังว่า เขาฝันเห็นวัดนี้ แล้วก็เห็นอาตมา มีเสียงบอกเสร็จสรรพว่า ชื่อวัดอะไร อาตมาชื่ออะไร แล้วก็สั่งให้มาบวชเพื่อแก้กรรมที่นี่ ตอนแรกเขาไม่เชื่อ แต่พอฝันติด ๆ กันถึงสามคืน เขาก็ชักจะเชื่อ ความจริงมันไม่ใช่ฝันหรอก เขาเรียกว่านิมิต ซึ่งหมายถึงเครื่องหมายบอกเหตุ เมื่อเขาเชื่อ เขาก็มาพิสูจน์แต่ก็มาไม่ได้ในทันที ปีรุ่งขึ้นต่อมา น่าสงสาร ต้องชดใช้กรรมสาหัสสากรรจ์ทีเดียว อาตมาก็ตั้งใจว่าจะช่วยเขาให้มากที่สุด สงสารเหลือเกิน"

"ก็ไหนพระคุณเจ้าบอกว่าเรื่องของกฎแห่งกรรมช่วยกันไม่ได้ยังไงเล่าครับ" รัฐมนตรีท้วงขึ้น คนที่แอบฟังอยู่หน้าประตูก็กำลังคิดอย่างเดียวกัน

"อาตมาหมายถึงว่าจะช่วยในส่วนที่พอจะช่วยได้ เช่น ช่วยแนะนำในเรื่องการปฏิบัติให้เขา แต่เรื่องกฎแห่งกรรม อาตมาช่วยไม่ได้อย่างแน่นอน เขาสร้างเหตุมาอย่างไรก็ต้องได้รับผลอย่างนั้น"


ถึงตอนนี้ทั้งคนในห้องและนอกห้องก็ถึง "บางอ้อ"
"เอ... แต่พระคุณเจ้าครับ ทำไมบางคนทำชั่วแล้วได้ดีเล่าครับ คนประเภทนี้เท่าที่ผมเห็นมีมากเสียด้วย กระทั่งมีคนกล่าวไว้ว่า …ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป... แบบนี้แสดงว่าที่ดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วไม่จริงเสมอไป ใช่ไหมครับ"

"ก็อย่างที่อาตมาพูดไปเมื่อตะกี้นั่นแหละว่า เรื่องกรรมมันสลับซับซ้อน เราจะมาตัดสินเอาเฉพาะที่เราเห็นนั้นไม่ได้ ว่ากันโดยหลักแล้ว คนทำดีจะต้องได้ดี ทำชั่วจะต้องได้ชั่ว แต่คนที่ทำชั่วแล้วได้ดีนั้นเพราะเขายัง "กินบุญเก่า" อยู่ คือมีความดีสะสมเอาไว้มาก อาจจะสะสมไว้ตั้งแต่ในอดีตชาติ แต่พอบุญเก่าหมดเมื่อไหร่ เมื่อนั้นกรรมชั่วก็จะมาให้ผล ส่วนคนที่ทำดีได้ชั่ว ก็เพราะกรรมชั่วที่เคยทำไว้แต่ครั้งอดีตยังให้ผลไม่หมด กรรมมันจะให้ผลไม่พร้อมกัน ถ้ากรรมชั่วกำลังให้ผล กรรมดีก็จะรออยู่ก่อน หรือถ้ากรรมดีกำลังให้ผล กรรมชั่วก็จะรออยู่เช่นกัน เปรียบเทียบให้เห็นง่าย ๆ ก็คือที่ที่ท่านกำลังนั่งอยู่อย่างนี้ ตราบใดที่ท่านยังไม่ลุกออกไป คนอื่นจะมานั่งไม่ได้ ต้องรอให้ท่านลุกเสียก่อน จริงไหม"

"จริงครับ" รัฐมนตรีตอบ คนแอบฟังอยู่ก็เผลตอบออกมาว่า "จริงค่ะ"
"ทีนี้ถ้าใครมาพูดว่า ...ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป...ท่านก็ตอบเขาไปเลยว่า... ทำดีได้ดีนั้นมีแน่ ทำชั่วแต่ได้ดีมีที่ไหน ที่ทำชั่วเห็นดีอยู่จงรู้ไว้ มันเหมือนไฟใต้ถ่านไม่นานร้อน...กลอนนี้ไม่ทราบใครแต่งเอาไว้ อาตมาเห็นเข้าทีก็เลยจำเอามาบอกกัน"

"เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ทำชั่วเลย เราก็ไม่ต้องไปรับผลของมันใช่ไหมครับ" "ถูกแล้ว เหตุฉะนี้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนไว้ว่า...ถ้าท่านกลัวทุกข์ก็อย่าทำกรรมชั่วทั้งในที่ลับที่แจ้ง ถ้าท่านจักทำหรือทำอยู่ซึ่งกรรมชั่ว ถึงแม้จะเหาะหนีไปก็ย่อมไม่พ้นจากความทุกข์ได้เลย.... อย่างพระโมคคัลลานะนั่นยังไง เหาะได้แต่หนีกรรมไม่ได้ ท่านคงเคยได้ยิน ชื่อพระโมคคัลลานะใช่ไหม อัครสาวกของพระพุทธเจ้าผู้เลิศในทางฤทธิ์ มีฤทธิ์มาก เหาะเหินเดินอากาศได้ แต่ก็ยังต้องถูกโจรทุบจนกระดูกแหลกเป็นเมล็ดข้าวสารหัก เพราะในอดีตชาติเคยทุบตีมารดา นี่ขนาดสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ยังต้องมาชดใช้กรรม"

"ก็ในเมื่อท่านเหาะได้ทำไมท่านไม่เหาะหนีไปเล่าครับพระคุณเจ้า"
"ทำไมจะไม่หนี ท่านหนีมาเป็นสิบ ๆ ครั้ง พวกโจรก็ตามอย่างไม่ลดละ ในที่สุดท่านจึงระลึกถึงกรรมเก่าได้ และรำพึงกับตัวเองว่า ...หนีโจร นั้นหนีได้ แต่หนีกรรมหนีไม่ได้... ท่านก็เลยยอมให้โจรทำร้ายแต่โดยดี"

"แล้วตายไหมครับ" ถามอย่างสนใจใคร่รู้
"ถ้าเป็นคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ไม่ต้องสงสัย แต่นั่นท่านเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ ถ้าตายลักษณะนั้นก็เสียชื่อหมด ท่านก็เลยใช้คาถาประสานกระดูกแล้วเหาะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลขออนุญาตปรินิพพาน พระอรหันต์สมัยพุทธกาลถ้าจะปรินิพพาน ต้องมาทูลขออนุญาตพระพุทธเจ้าเสียก่อน ไม่งั้นก็ปรินิพพานไม่ได้"

ท่านเหลือบมองนาฬิกาที่แขวนอยู่ข้างฝา ขณะนั้นเวลาสิบเอ็ดนาฬิกา จึงพูดขึ้นว่า
"เดี๋ยวไปรับประทานอาหารก่อน แล้วค่อยมาคุยกันใหม่ ท่านไม่มีธุระที่ไหนไม่ใช่หรือ"
"ไม่มีครับ กระผมตั้งใจว่าจะมาเรียนถามพระให้ครบเจ็ดวัด พอดีวัดนี้เป็นวัดสุดท้าย แล้วผมก็ชักจะติดใจคุยกับพระคุณเจ้า แล้วผมตาสว่างขึ้นมาอีกเป็นกอง คงต้องหาโอกาสมาอีกให้ได้"

คุณหญิงรีบย่องลงมาข้างล่าง ก่อนท่านพระครูจะมาเห็นประเดี๋ยวหนึ่ง รัฐมนตรีจึงตามท่านเจ้าอาวาสลงมา

"เชิญรับประทานอาหารกันก่อน" ท่านบอกทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้น พระบัวเฮียวกราบสามครั้งแล้วลุกออกไป เพราะเกรงภิกษุรูปอื่น ๆ จะรอ


"แล้วพระคุณเจ้าไม่ไปฉันหรือครับ ได้เวลาฉันเพลแล้ว"
"อาตมาฉันเช้ามื้อเดียว ยกเว้นโอกาสพิเศษที่ญาติโยมเขานิมนต์จึงจะฉันสองมื้อ"

ได้รู้ ได้เห็น ความเป็นอยู่และการครองชีวิตที่ยึดหลักสันโดษเป็นที่ตั้ง รัฐมนตรีก็ยิ่งศรัทธาในบรรพชิตรูปนี้เป็นอันมาก เพราะพระสงฆ์เท่าที่ท่านเคยสัมผัสมานั้น ล้วนมีความเป็นอยู่ที่ไม่ก่อให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใส เป็นต้นว่านอนห้องแอร์ มีรถยนต์ส่วนตัวใช้ มีความโลภในลาภสักการะ

และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่สามารถแสดงธรรมที่แจ่มแจ้งลึกซึ้งเช่นนี้ได้

มีต่อ.......๗

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 6:31 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๗...

ลูกศิษย์วัดนำรัฐมนตรีและคณะไปยังโรงครัว ซึ่งอุบาสกอุบาสิกากำลังนั่งรับประทานอาหารกันเป็นโต๊ะ ๆ ละประมาณ ๑๐ คน


พวกเขาพากันมานั่งกรรมฐาน โดยมาส่วนตัวบ้าง มาเป็นคณะบ้าง บางคนก็มาเข้าสามวัน เจ็ดวัน บางคนก็มาอยู่เป็นเดือน และก็มีไม่น้อยที่ตั้งใจมาอยู่ ๗ วัน แต่พอครบกำหนดแล้วก็ไม่ยอมกลับ เพราะซาบซึ้งในรสพระธรรม ร้อนถึงสามีหรือภรรยาต้องมาอ้อนวอนขอให้กลับไปช่วยกันเลี้ยงลูก

ส่วนประเภทที่มาแล้วอยู่ไม่ได้เพราะไม่ถูกชะตากับ พอง - หนอ ยุบ - หนอ ต้องม้วนเสื่อกลับบ้านไปก็พอมีบ้าง แต่พวกที่มาแล้วไม่ยอมกลับนั้นมีมากกว่า

รสชาติของอาหารมื้อนั้น ช่างอร่อยถูกปากคุณหญิงเสียนัก แม้จะเป็นอาหารพื้น ๆ ที่ดูแล้วไม่เชิญชวนให้รับประทาน แต่เมื่อได้ลิ้มลองเข้าไปแล้ว จึงรู้ว่าฝีมือระดับนี้ หาตัวจับยาก

"แกงหน่อไม้อร่อยจัง ก่อนแกงต้องเอาหน่อไม่มาต้มก่อนหรือเปล่าจ๊ะ" คุณหญิงถามแม่ครัว
"ไม่ใช่หน่อไม้หรอกค่ะคุณ นั่นแกงยอดมะพร้าวค่ะ ดูแล้วเหมือนหน่อไม้ รสชาติก็คล้าย ๆ กัน ใคร ๆ ก็คิดว่าเป็นหน่อไม้" แม่ครัวไม่รู้ว่าคนที่ตนกำลังพูดด้วยเป็นคุณหญิง นายตำรวจผู้ทำหน้าที่หิ้วกระเป๋าถือราคาแพงจึงต้องบอกว่า "ป้า นี่คุณหญิงนะป้า"

"ขอโทษเจ้าค่ะคุณหญิง อีฉันไม่ทราบจริง ๆ อย่าถือสาคนบ้านนอกคอกนาเลยนะเจ้าค่ะ" แม่ครัวพูดพร้อมกับยกมือไหว้ประหลก ๆ

"ไม่เป็นไรจ้ะ แหมกับข้าวอร่อยทุกอย่างเลย ปลาเกลือทอด เค็มกำลังพอดี แกงส้มผักกาดดองก็รสกลมกล่อม ใส่ผงชูรสหรือเปล่าจ๊ะ"


"ไม่ได้ใส่เจ้าค่ะ หลวงพ่อท่านให้ใส่สติแทน บอกว่าผงชูรสก็สู้ไม่ได้"
"เป็นยังไงจ๊ะ ใส่สติ" คุณหญิงไม่เข้าใจ
"คือท่านให้แม่ครัวเข้ากรรมฐานเจริญสติปัฏฐาน ๔ คนละเจ็ดวัน เวลาทำกับข้าว ก็ให้กำหนดสติเจ้าค่ะ" ถึงตอนนี้ คุณหญิงไม่ค่อยเข้าใจ ได้ยิน "สติปัฏฐาน ๔" เป็นครั้งที่สองแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร อิ่มข้าวแล้วจะต้องไปเรียนถามท่านพระครูสักหน่อย เรื่องอะไร จะต้องมาถามแม่ครัวให้เสียชื่อคุณหญิงท่านรัฐมนตรี

"คนมากจริง นี่ค่ากับข้าววันหนึ่ง ๆ คงตกหลายพันบาทซีนะ" คุณหญิงพูดพลาง หันไปมองโต๊ะอื่น ๆ ที่คนนุ่งขาวห่มขาวทั้งชายหญิงกำลังนั่งรับประทานอาหารอยู่

"เจ้าค่ะ แล้วแต่แขกมากแขกน้อย ก็เลี้ยงคนทั้งวัดนี่เจ้าคะ บางวันมีคนถึงห้าร้อย คากับข้าวก็ตกสามพันบาท เฉลี่ยหัวละหกบาทต่อวัน นี่ขนาดวันละสองมื้อนะเจ้าคะ หลวงพ่อท่านให้ถือศีลแปดทุกคน"

"แล้ววัดเอาเงินที่ไหนมาจ่ายล่ะจ๊ะ"
"ก็มีคนมาบริจาคเรื่อย ๆ เจ้าค่ะ แต่ถ้าไม่มีจริง ๆ หลวงพ่อท่านก็...
"ก็ทำไมจ๊ะ" คนเป็นคุณหญิงอยากรู้ แม่ครัวค้อมตัวลง เอามือป้องปากกระซิบว่า "หลวงพ่อท่านก็เชื่อเขามาเจ้าค่ะ พอมีเงิน ท่านก็เอาไปใช้เขา"

"ตายจริง แล้วพวกที่มาอยู่วัดหลาย ๆ วัน ทางวัดไม่เก็บเงินเขาหรือ"
"ไม่เก็บเจ้าค่ะ หลวงพ่อท่านไม่ให้เก็บ ท่านบอกว่า เขามาสร้างฟามดี เราต้องสนับสนุนเขา แต่ว่าบางคนเขาก็ทำบุญให้วัดบ้างเหมือนกัน ก็พลอยได้ประสมประเสกันไป ว่าก็ว่าเถอะนะคะคุณหญิง คนสมัยนี้ จะทำฟามดีทั้งที ก็ต้องให้จ้างกัน" แม่ครัวออกเสียง "ความ" เป็น "ฟาม"

นายตำรวจที่ติดตามรัฐมนตรีแอบสังเกตว่า คณะอุบาสกอุบาสิกาที่มาบำเพ็ญศีลภาวนา ต่างพากันรับประทานอย่างสงบเสงี่ยม ไม่มีเสียงพูดคุยกันเลย พวกเขาซึ่งคุยกันเสียงดังเมื่อตอนเดินเข้ามา จึงต้องหยุดไปโดยปริยาย

อีกประการหนึ่ง รสชาติของอาหารซึ่งแม้จะมีเพียงสามอย่างหากก็อร่อยถูกปากไปเสียทุกอย่าง ทำไมปากไม่ว่างพอที่จะคุยได้


เสร็จจากอาหารคาว ก็เป็นอาหารหวาน ซึ่งมีเพียงอย่างเดียว คือ ข้าวเม่าพล่ารสเลิศ ที่ว่ารสเลิศเพราะหวาน มัน เค็ม พอดิบพอดี คุณหญิงมีอันต้องเรียกแม่ครัวคนเดิมมาถามอีกว่า

"ป้าจ๊ะ ข้าวเม่าพล่าอร่อยจัง ทำยังไงจ๊ะ ฉันจะได้ไปบอกแม่ครัวที่บ้านให้ทำบ้าง" แม่ครัวหน้าบานอีกครั้ง สาธยายว่า ทำไม่ยากหรอกเจ้าค่ะคุณหญิง แต่ถ้าจะให้อร่อย มันต้ออาศัยแท้คติก"

"อะไรจ๊ะ แท้คติค" คุณหญิง "เป็นงง"
"เป็นภาษาฝาหรั่งน่ะเจ้าค่ะ คุณหญิงไม่เคยได้ยินหรือเจ้าคะ หล่อนออกเสียง ฝรั่ง ไม่ได้ เลยเป็น "ฝาหรั่ง" ไป

"ไหน ลองสะกดให้ฟังหน่อยซิ มีตัวอะไรบ้าง เผื่อฉันจะรู้จัก"
"โอ๊ย ไม่ได้หรอกเจ้าค่ะ อีฉันไม่ได้เรียนหนังสือ อย่าว่าแต่ภาษาฝาหรั่งเลย ภาษาไทยก็ยังไม่กระดิกหู"
"อ้าว แล้วทำไมใช้คำภาษาฝรั่งได้ล่ะจะ"
"อีฉันจำเขามาเจ้าค่ะ" แม่ครัวสารภาพ
"สงสัยคงจะเป็น "เทคนิค" มั้งป้า" คนเป็นรัฐมนตรีท้วง
"เออ เออ ใช่ ใช่ ค่ะ" แกหันไปพยักพเยิดกับรัฐมนตรี แล้วจึงหันไปพูดกับคุณหญิงว่า "มันต้องอาศัยเทคนิคเจ้าค่ะ คุณหญิง"

"เทคนิคอะไรบ้าง ป้าบอกหน่อยได้ไหม"
"อุ๊ย ทำไมจะไม่ได้ล่ะเจ้าคะ เทคนิคขั้นแรกก็คือ การเลือกข้าวเม่าที่จะนำมาพล่านั้น ต้องเลือกชนิดนิ่ม ๆ วิธีที่จะได้ข้าวเม่านิ่ม ๆ ก็ต้องอาศัยเทคนิคอีกเหมือนกัน คือข้าวที่จะเอามาคั่วนั้น จะต้องเกี่ยวมาตอนมันสด ๆ ที่เม็ดยังไม่ทันเหลือง แต่ถ้าเขียวเกินไปก็แสดงว่า ยังเป็นน้ำนมอยู่ ใช้ไม่ได้ ต้องให้สีอมเขียวอมเหลือง ถึงจะกำลังดี

เสร็จแล้ว ก็เอามานวด ให้เหลือแต่เม็ด แล้วคั่ว คั่วเสร็จ ก็ใส่ครกตำทั้งที่ยังร้อน ๆ อย่าปล่อยให้เย็น เพราะข้าวเม่าที่ได้จะแข็ง ต้องตำร้อน ๆ ถึงจะนิ่ม เห็นมั๊ยคะว่าเวลาตำก็ต้องใช้เทคนิค พอตำเสร็จ ก็เอามาฝัดอย่างมีเทคนิค คือต้องเก็บกากออกให้หมด"


"แหม เทคนิคแยะจังนะป้านะ" รัฐมนตรีขัดขึ้น
"เจ้าค่ะ ไม่งั้นก็ไม่อร่อยซะเจ้าคะ"
"จ้ะ ๆ แล้วยังไงอีกจ๊ะ" คุณหญิงอยากรู้
"เมื่อฝัดเสร็จ ก็เอาเกลือมาละลายกับน้ำฝนที่อบด้วยดอกมะลิ ชิมพอให้เค็มปะแล่ม ๆ อย่าให้เค็มหรือจืดเกิน เสร็จแล้ว จึงเอาน้ำเกลือพรมข้าวเม่าให้ทั่ว เวลาพรมต้องใช้เทคนิคนะเจ้าคะ คือพรมให้พอหมาด ๆ ถ้าแฉะเกินไป ข้าวเม่าจะติดกันเป็นก้อน ถ้าพรมน้อยเกินไป ข้าวเม่าก็จะนิ่มไม่เสมอกัน

เมื่อพรมน้ำเกลือทั่วแล้ว ก็หากาละมัง หรือ ฝาหม้อมาครอบหมักเอาไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง ระหว่างที่รอก็เอามะพร้าวมาขูด มะพร้าวก็ต้องเลือกที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป เวลาขูดก็ต้องใช้กระต่ายขูด ไม่ใช้เครื่องเพราะจะทำให้บูดเร็ว แล้วก็ไม่ต้องขูดให้ถึงก้นกะลา เดี๋ยวจะดูดำไม่น่ากิน

เสร็จแล้ว จึงเอาไปคลุกกับข้าวเม่าที่หมักไว้ คลุกให้ทั่ว ๆ นะเจ้าคะ เวลาจะรับทาน ก็เอาน้ำตาลโรงหน้า บางคนก็นิยมรับทานกับกล้วยไข่ ไม่มีกล้วยไข่ จะใช้กล้วยน้ำว้าแทนก็พอได้


อ้อ...น้ำตาลที่จะใช้ก็ต้องมีเทคนิคนะเจ้าคะ คือต้องเลือกชนิดที่เม็ดเล็ก ๆ ถ้าเม็ดใหญ่ต้องนำมาป่นเสียก่อน เวลาป่นต้องใช้ครกที่สะอาด เพราะหากมีกลิ่นพริกหรือกลิ่นกระเทียมปน มันก็เสียฟามอร่อยได้เจ้าค่ะ" สาธยายจบก็หอบฮั่ก ๆ เพราะเสียงที่ใช้ดังเกินพิกัดไปหน่อย

"ขอบใจจ้ะป้า นี่ได้ความรู้อีกแยะเลย" พูดพลางยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม เพิ่งจะสังเกตว่า แม้แต่น้ำก็ยังอร่อย จึงออกปากชมว่า

"น้ำนี่ดื่มแล้วชื่นใจจัง น้ำฝนหรือจ๊ะป้า"
"เจ้าค่ะ หลวงพ่อท่านให้รองไว้ในแท้งค์ การรองน้ำฝนก็ต้องมีเทคนิคนะเจ้าคะ" คนเทคนิคมากอธิบายเห็นคนฟังไม่ซัก จึงพูดต่อไปว่า "คือตกหนแรกหนสอง อย่าเพิ่งไปรอง เพราะฝุ่นละอองยังไม่หมด ต้องหนสามหนสี่ถึงจะใช้ได้"

ดังนั้น นอกจากจะอิ่มท้องแล้ว คุณหญิงยังได้เทคนิคการทำข้าวเม่าพล่าเป็นของแถมอีกด้วย อารมณ์เธอจึงดีขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ขัดข้องที่สามีจะกลับไปคุยกับท่านพระครูอีก เธอเองก็เริ่มจะสนใจ ท่านพระครูมีอะไร ๆ ที่พิเศษไปกว่าพระที่เธอเคยรู้จัก


หลังอาหารเพล คณะของครูสฤษดิ์กลับไปปฏิบัติต่อยังศาลาที่พัก เวลาสองทุ่มท่านพระครูนัดให้ไปสอบอารมณ์และจะสอนเดินจงกรมระยะที่สี่ให้ วันพรุ่งนี้ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ท่านก็จะสอนเดินระยะที่ห้าและที่หก พวกเขาจะรู้จักวิธีเดินจงกรมทั้งหกระยะภายในสามวัน ท่านพระครูท่านยืดหยุ่นได้เสมอ กระนั้นท่านก็ต้องดูพื้นฐานและความสนใจของผู้เรียนด้วยว่า จะรับไหวหรือไม่

รับประทานอาหารกันเป็นที่อิ่มหนำสำราญแล้ว รัฐมนตรีนำคณะของตนกลับมายังกุฏิเจ้าอาวาสอีกครั้ง ท่านพระครูรู้ว่า วันนี้จะต้องเล่าเรื่องคุณนายลำไย จึงให้ลูกศิษย์วัดไปตามพระบัวเฮียวมาฟังด้วย

"พระคุณเจ้าไม่รู้สึกหิวหรือครับ" นายตำรวจถาม เพราะตัวเขาแม้จะรับประทานวันละสามมื้อ ก็ยังต้องหาอะไรรองท้องแทบทุกครั้งก่อนเข้านอน


"ไม่หิว อาตมาชินแล้ว สมัยเดินธุดงค์ในป่าดงพระยาเย็น เคยอดเจ็ดวันเจ็ดคืนติด ๆ กัน ยังอยู่ได้" ท่านพระครูตอบ

"พระคุณเจ้าคะ ดิฉัน เอ้อ...สงสัยจังค่ะว่า พระคุณเจ้ารู้ได้อย่างไรว่าคนนี้คิดอะไร หรือมีความเป็นมาอย่างไร" คุณหญิงถามขึ้น

"อาตมาก็ใช้ "เห็นหนอ" น่ะซี คุณหญิงสนใจไหมเล่า"
"สนใจค่ะ ทำยังไงคะ"
"ไม่ยากหรอกคุณหญิง วิธีง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่ต้องทำจริง ๆ ทำไม่จริงก็ไม่ได้ วิธีที่ว่าก็คือให้เจริญสติปัฏฐาน ๔ พอสติดีถึงขึ้น "เห็นหนอ" ก็เกิดเอง อย่าลืมว่า "เห็นหนอ" นี่มีค่ามหาศาลทีเดียว ใช้ดูกฎแห่งกรรมได้ชัดแจ๋วเลย

ดิฉันขอเรียนวิชาที่ว่านี้ได้ไหมคะ หรือว่าผู้หญิงเรียนไม่ได้"
"ทำไมจะไม่ได้ ผู้หญิงผู้ชายเรียนได้ทั้งนั้น ขอให้มีจิตกับกายก็แล้วกัน ถ้าคุณหญิงอยากเรียน ต้องมาเข้าชั้นเรียนที่วัดนี้อย่างน้อยเจ็ดวัน แล้วกลับไปฝึกต่อที่บ้านจนกว่าจะได้ อาตมาจะเล่าเรื่องคนที่ได้ "เห็นหนอ" ให้ฟัง อยากฟังไหมเล่า"

"อยากฟังครับ" "อยากฟังค่ะ" ทุกคนตอบขึ้นพร้อมกัน
"เอาละ อยากฟังก็จะเล่าให้ฟัง คุณนายลำไยแกเป็นเมียครูวงษ์ บ้านอยู่อ่างทอง ครูวงษ์เป็นครูประชาบาลจังหวัดอ่างทอง สอนวิชาศีลธรรม แต่กินเหล้าเมาทุกวัน นอกจากกินเหล้าแล้ว ยังเจ้าชู้อีกด้วย ส่วนคุณนายลำไยก็ปากจัด ด่าไฟแลบเลย แกอ่านหนังสือไม่ออก เพราะไม่เคยเรียน


วันหนึ่ง แกมาหาอาตมา มาฟ้องเรื่องผัวเจ้าชู้ อาตมากับครูวงษ์รู้จักกันดี แกมาที่วัดนี้บ่อย ๆ พอคุณนายลำไยมาฟ้อง อาตมาเลยบอกแกว่า ถ้าอยากให้ผัวเลิกเจ้าชู้ ต้องมาเข้ากรรมฐานที่วัดเจ็ดวัน คุณนายลำไยก็มา อาตมาก็สอนให้แกเจริญสติปัฏฐาน ๔ ปรากฏว่า แกทำไม่ได้เลย เดินจงกรมก็ไม่ได้ ขวาย่างเป็นซ้ายย่าง ซ้ายย่างเป็นขวาย่าง เพราะแกไม่รู้กระทั่งว่าข้างไหนเท้าซ้าย ข้างไหนเท้าขวา

อาตมาก็ลองให้แก่นั่งสมาธิด้วย การกำหนดว่า "พอง - หนอ ยุบ - หนอ" แกก็ว่า ทำได้สบายมาก แล้วแกก็นั่งขัดสมาธิ ปากก็ว่า "พอง - หนอ ยุบ - หนอ พอง - หนอ ยุบ - หนอ" ว่าเสียงดังเชียว แต่พออาตามาถามว่า พองท้องเป็นยังไง ยุบท้องเป็นยังไง แกก็ไม่รู้เรื่อง อาตมาก็จนปัญญา จึงถามแกว่าท่องพุทธคุณได้ไหม แกก็ว่าไม่ได้อีก เลยบอกให้แกกลับบ้าน วันรุ่งขึ้นให้มาใหม่ เอาลูกมาด้วยคนหนึ่ง แกก็กลับไป

รุ่งขึ้น ก็มากับลูกชายคนหนึ่งเป็นหนุ่มแล้ว อาตมาก็ให้ลูกแกจดบทสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และพาหุงมหากาฯ แล้วบอกไปสอนให้แม่ท่อง ท่องได้แล้วให้มาหา ลูกแกก็ไปสอนแม่ท่องวันละตัวสองตัว หายไปเดือนนึง แกก็กลับมา มาท่องให้อาตมาฟังได้อย่างถูกต้องคล่องแคล่ว อาตมาก็บอกว่าดีแล้ว

ทีนี้ เวลาไหว้พระสวดมนต์ให้ท่องพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ และพาหุงมหากาฯ หนึ่งจบ แล้วท่องพุทธคุณอย่างเดียวเท่าอายุบวกหนึ่ง อายุแก ๕๒ ก็ให้ท่องวันละ ๕๓ แรก ๆ แกใช้นับเม็ดมะขามเวลาท่อง พอสติดีขึ้น ก็จำได้ไม่ต้องนับเม็ดมะขาม พอดีขึ้นอีก แกบอกแกท่องได้วันละ ๑๐๘ จบโดยไม่ต้องนับเม็ดมะขาม เพราะสติมันบอกเอง รู้เอง เหมือนกับที่เราตั้งนาฬิกาปลุกไว้จับเวลาตอนนั่งสมาธิ พอสติดี รู้เอง ไม่ต้องใช้นาฬิกา

เมื่อสติดีขึ้น ๆ แกก็เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยอัตโนมัติ คือ แกมีอาชีพเลี้ยงหมูเลี้ยงวัวส่งขายโรงฆ่าสัตว์ แกก็เลิก เพราะสติมันบอกว่าเป็นมิจฉาอาชีวะ ที่เคยด่าเป็นไฟแลบก็เลิก

ต่อมา แกก็เดินจงกรมนั่งสมาธิเป็น โดยไม่ต้องมีใครบอกใครสอน มันเป็นเองโดยอัตโนมัติ เพราะสติดีถึงขั้น แกเดินจงกรมวันละสองชั่วโมง นั่งสมาธิวันละสองชั่วโมง ทำอย่างนี้เป็นประจำทุกวัน อย่าลืม พอสติดีเสียอย่าง อะไร ๆ มันก็ดีหมด"


ท่านพระครูเน้น แล้วจึงเล่าต่อไปว่า
"วันหนึ่ง ครูวงษ์ ผัวแกโกหกว่า จะไปเก็บค่าเช่านาที่ชัยนาท แต่ที่แท้ไปหาเมียน้อย ซึ่งเป็นแม่หม้ายอยู่ที่ปากน้ำโพ หายไป ๔ วัน ขากลับให้เงินแม่หม้ายไว้สามร้อย คุณนายลำไยแกอยากจะรู้ว่าผัวไปไหน แกก็ไหว้พระสวดมนต์ แล้วเดินจงกรม นั่งสมาธิอย่างละสองชั่วโมง

ขณะที่จิตเป็นสมาธิ แกก็อธิษฐานว่า ขอให้แกได้ตาทิพย์ แกอยากจะรู้ว่านายวงษ์ไปทำอะไร อยู่ที่ไหน อธิษฐานจิตเสร็จ แกก็กำหนด "เห็นหนอ เห็นหนอ" แล้วแกก็เห็นหมดว่า ผัวไปทำอะไรที่ไหน คุณหญิงว่าดีไหม เรียน "เห็นหนอ" ไว้คอยตรวจดูว่าท่านรัฐมนตรีไปไหน" ท่านพระครูถามคุณหญิง

"ดีค่ะ ดิฉันสงสัยอยู่บ่อย ๆ เหมือนกันว่า ที่เขากลับบ้านดึกดื่นอยู่บ่อย ๆ นั้น แอบไปจุ๋งจิ๋งกับอีหนูบ้างหรือเปล่า" คุณหญิงได้ทีเลยขี่แพะไล่เสีย

"ผมไม่มีหรอกครับพระคุณเจ้า คุณหญิงตามแจไม่ยอมให้คลาดสายตาออกอย่างนี้" คนเป็นรัฐมนตรีกล่าวแก้ เลยถูกภรรยาขว้างค้อนเข้าให้

"เอาละ มาฟังเรื่องคุณนายลำไยกันต่อ เป็นอันว่าแกรู้หมด เพราะ "เห็นหนอ" บอก เมื่อครูวงษ์กลับมา แกก็ชี้หน้า แต่ไม่ด่าเพราะเลิกด่าแล้ว ถ้าเป็นเมื่อก่อนละก็ด่าแหลกเลย เดี๋ยวนี้แกไม่ด่า แต่ก็เท้าสะเอวชี้หน้า


"แกไปไหนมา"
"ครูวงษ์ตอบว่า "อ้าว ก็ไปเก็บค่าเช่านาที่ชัยนาทไง"
"แล้วที่ไหนล่ะค่าเช่า" ครูวงษ์ก็ตอบอึก ๆ อัก ๆ ว่า
"เขา...เอ้อ...เขาขอผลัดไปเดือนหน้า"
คราวนี้คุณนายลำไยก็เลยสั่งสอนผัวเสียเลยว่า
"ตาวงษ์ แกน่ะเป็นครูสอนศีลธรรมเสียเปล่า แต่ตัวแกไม่มีศีลธรรมเอาเสียเลย ทั้งขี้เหล้าเมายา เจ้าชู้ประตูดิน หมูหมาเกี้ยวสิ้นไม่เลือกหน้า แถมยังโกหกพกลมอีก ข้ารู้นะ แกไม่ได้ไปเก็บค่าเช่านา แต่แกไปหาเมียน้อยที่ปากน้ำโพ ให้เงินมันไปสามร้อย จริงไหม"

ครูวงษ์ก็นึกในใจว่า "เอ...เมียเรารู้ได้ยังไงนะ สงสัยท่านพระครูวัดป่ามะม่วงบอกมา พรุ่งนี้จะต้องไปต่อว่าสักหน่อย"

นี่ ครูวงษ์คิดอย่างนี้ หนอยแน่ะมาโทษอาตมาได้" ท่านพระครูพูดขัน ๆ
"พอครูวงษ์คิดจะมาต่อว่าอาตมา คุณนายลำไยก็รู้เสียอีก เลยดุเอาว่า "นี่แกไม่ต้องไปโทษหลวงพ่อนะ ท่านไม่ได้บอกข้า ข้ารู้เอง" ครูวงษ์ก็ไม่เชื่อ รุ่งเช้าก็มาถามอาตมา อาตมาก็ปฏิเสธ ผลสุดท้าย ครูวงษ์ต้องยอมจำนน เลิกกินเหล้า เลิกเจ้าชู้ หันมาถือศีลกินเพล เลยกลายเป็นคนดีไปเลย ท่านรัฐมนตรีเห็นด้วยหรือยังว่า "เห็นหนอ" นั้นมีค่ามหาศาลทีเดียว"

"เห็นด้วยครับ"
"ดี เห็นด้วยน่ะดีแล้ว จะได้เล่าต่อ ถ้าไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร" แล้วท่านจึงเล่าต่อไปว่า
"ในกาลต่อมา คุณนายลำไยก็ป่วยเป็นมะเร็งที่ลำไส้ หมอบอกว่า แกจะต้องตายภายในหนึ่งเดือน รักษาไม่ได้เพราะเป็นมาก อาเจียนและถ่ายเป็นเลือด แกก็มานอนป่วยที่บ้าน นอนเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพราะเดินไม่ไหว นั่งไม่ไหว แกนอนกำหนด "ปวดหนอ ๆ" เพราะมะเร็งนี่ไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ก็ปวดทั้งนั้น

คุณนายลำไยแกก็ใช้สติสู้กับทุกขเวทนา แกตั้งสติอธิษฐานจิตว่า ยังไม่อยากตาย เป็นห่วงลูก ขอให้ลูกเรียนจบได้งานการทำก่อนค่อยตาย ที่บ้านแกมีผึ้งหลวงมาอาศัยทำรังอยู่บนหลังคา รังใหญ่เท่ากระด้ง


วันหนึ่ง ลูก ๆ ห้าคนก็มากันพร้อมหน้า แกก็บอกลูกว่า "ลูกดูนะ แม่จะแผ่เมตตาให้ผึ้ง และบอกให้เขามาช่วยดูดพิษมะเร็งให้แม่" แล้วแกก็หลับตา สักพักก็ลืมตาพูดดัง ๆ ว่า "ผึ้งจ๋า ช่วยข้าหน่อย ข้าปวดเหลือเกิน ช่วยมาดูดพิษมะเร็งออกให้ข้าด้วย" พอแกพูดจบ ผึ้งก็บินมาฝูงหนึ่ง มาเกาะที่ท้องแก ช่วยดูดพิษให้ ดูดเสร็จก็ร่วงลงมาตายเกลื่อนพื้นเลย

วันต่อมา ก็มีงูเห่าตัวหนึ่งเลื้อยเข้ามา ขณะที่แกนอนอยู่บนแคร่ใต้ถุนบ้าน ลูก ๆ แกนึกว่าจะมากัดแม่ก็เตรียมจะฆ่า แต่แกห้ามไม่ให้ฆ่า แกแผ่เมตตาให้งูแล้วพูดว่า "งูเอ๋ย ช่วยมาดูดพิษมะเร็งให้ข้าหน่อย" งูตัวนั้นก็เลื้อยมาบนท้องแก ทำท่าเหมือนกัด ที่แท้ไม่ได้กัด แต่ดูดมะเร็งให้


เสร็จแล้วก็เลื้อยออกไปได้สักสามสี่วา ก็นอนตายอยู่ตรงนั้น ลูก ๆ แกก็เอาไปฝัง เป็นเรื่องอัศจรรย์มาก
พวกนักข่าวจะมาขอเอาไปลงหนังสือพิมพ์ แต่อาตมาไม่อนุญาต เพราะถ้าคนอ่านเขาเกิดไม่เชื่อก็จะเป็นบาปเป็นกรรมเปล่า ๆ ปรากฏว่า คุณนายลำไยอยู่มาได้อีกสามปี กระทั่งลูก ๆ เรียนจบ เข้าทำงานได้หมด แกก็ตาย นี่ศพยังมาเผาที่วัดนี้" พูดพลางชี้ให้ดูเมรุซึ่งอยู่หลังวัด

วันเผาศพแกยังแสดงฤทธิ์อีกนะ คือวันนั้น อาตมาไปธุระ กำหนดเขาจะเผาห้าโมงเย็น อาตมามาไม่ทันเขาก็ไม่รอ พอห้าโมงตรงเขาก็จุดไฟ ปรากฏว่าเผาเท่าไหร่ ๆ ก็ไม่ยอมไหม้ ไฟก็ไม่ยอมติด อาตมากลับมาถึงประมาณทุ่มนึง ก็เลยไปจุดไฟ ปรากฏว่าไหม้เรียบร้อย

อาตมาก็นึกถึงคำพูดของแกตอนก่อนตายว่า "หลวงพ่อต้องเป็นคนจุดไฟนะ ไม่งั้นฉันไม่ยอมไหม้เด็ดขาด" นี่แหละเรื่องของคุณนายลำไย อาตมาเล่าย่อ ๆ นะนี่ ถ้าเล่าละเอียดวันนี้ไม่จบหรอก" ทั้งผู้เล่าและผู้ฟังต่างเงียบกันไปพักหนึ่ง แล้วคุณหญิงจึงถามว่า

"พระคุณเจ้าคะ สมมุติมีคนด่าพระคุณเจ้า พระคุณเจ้าจะโกรธเขาไหมคะ"
"โกรธทำไม เขาด่าเขาก็บาปอยู่แล้ว ถ้าอาตมาโกรธ ก็ต้องบาปไปด้วยอีกคนนะซี"
"แล้วถ้าเขาขอขมาลาโทษ จะยังบาปอยู่ไหมคะ"
"ถ้าคนถูกด่าเขาอโหสิให้ ก็ไม่บาป แต่กรรมบางอย่างก็อโหสิให้กันไม่ได้ เช่นกรรมที่เป็นครุกรรม หรือที่เรียกว่า อนันตริยกรรม ซึ่งมี ๕ อย่าง คือ มาตุฆาต - ฆ่าแม่ ปิตุฆาต - ฆ่าพ่อ อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์ โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต และ สังฆเภท - การยุยงสงฆ์ให้แตกกัน

ห้าอย่างนี้ อโหสิให้กันไม่ได้ เพราะเป็นกรรมหนัก และไม่เปิดโอกาสให้กรรมอื่นมาแทนที่ เหมือนที่พระเทวทัตทำร้ายพระพุทธเจ้า ๆ ไม่ถือโกรธแต่พระเทวทัตก็ต้องตกนรก เพราะทำกรรมหนักไว้ถึงสองอย่างคือ นอกจากทำร้ายพระพุทธเจ้าแล้ว ยังทำสังฆเภทอีกด้วย หรือเหมือนกับที่ลูกฆ่าแม่ แม่อโหสิให้ แต่ลูกก็ต้องตกนรก เพราะเป็นกรรมหนัก อโหสิให้แล้ว ผู้กระทำก็ยังไม่หมดบาป"


คุณหญิงเกิดกลัวบาปกลัวกรรม เพราะแอบด่าท่านในใจเมื่อตอนเช้า จึงตัดสินใจสารภาพผิด
"พระคุณเจ้าที่เคารพ ดิฉันแอบด่าพระคุณเจ้าในใจเมื่อตอนเช้า ดิฉันขออโหสิค่ะ" พูดจบก็ก้มลงกราบสามครั้ง

"อาตมาอโหสิให้คุณหญิงตั้งแต่คุณหญิงด่านั่นแล้ว อย่างไรก็ตาม อาตมาขอชมเชยในความกล้าหาญของคุณหญิง คนที่ทำผิดแล้วยอมรับผิดนั้น หาได้ยาก อาตมาขอชมเชยคุณหญิงด้วยใจจริง" คุณหญิงปลาบปลื้มเสียจนน้ำตาไหล ท่านพระครูจึงชักชวนคุยเรื่องอื่นเสีย

วันนั้น รัฐมนตรีและคณะออกจากกุฏิท่านพระครูเอาเมื่อตอนพลบค่ำ คุณหญิงถวายเช็คเงินสดแก่ท่านพระครูเป็นค่าอาหารพระเณรและผู้มาเข้ากรรมฐาน จำนวนเงินที่ระบุในเช็คค่อนข้างมาก ซึ่งถ้าหากนำไปซื้อทอง ก็จะได้ทองหนักถึงสิบสองบาทสองสลึง!

มีต่อ.......๘

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 6:32 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๘...

รัฐมนตรี คุณหญิง และผู้ติดตามพากันกลับไปแล้ว พระบัวเฮียวซึ่งนั่งสงบเสงี่ยมฟังท่านพระครูเล่าเรื่องคุณนายลำไยตั้งแต่ต้นจนจบ ได้ถามขึ้นว่า

"หลวงพ่อครับ ทำไมคุณหญิงนั่นแกกราบเบญจางคประดิษฐ์ไม่ได้ แต่ยังได้เป็นคุณหญิงเล่าครับ ท่านพระครูมองหน้าคนถาม ยิ้มตามแบบฉบับของท่านที่ใคร ๆ ชมว่ามีเสน่ห์ แล้วจึงพูดขึ้นว่า


"เอ...ถามแปลกดี รู้สึกว่าเธอชอบถามอะไรแปลก ๆ อยู่เรื่อยนะ"
"ก็ผมอยากรู้นี่ครับ" ตอบซื่อ ๆ
"จะรู้ไปทำไม" บางครั้งท่านพระครูก็คิดว่า การได้ต่อปากต่อคำกับคนช่างซักก็ทำให้เพลินดีเหมือนกัน
"รู้ไว้เพื่อประดับความรู้ซีครับหลวงพ่อ"
"อ้อ...ถ้าอย่างนั้นก็จะได้บอกให้เอาบุญ"
"ครับ รับรองว่าหลวงพ่อได้บุญล้ายหลาย"
"เอ...เธอถามว่าอะไรนะ จำไม่ได้แล้ว" ท่านแกล้งยั่ว
"หลวงพ่อความจำชักไม่ดีแล้วน่ะซีครับ แสดงว่าแก่แล้ว" คนซื่อได้ที
"ชะชะ ได้ทีขี้แพะไหลเชียวนะ บัวเฮียวนะ"
"เขาเรียกว่า ได้ทีขี่แพะไล่ต่างหากล่ะครับ"
"ไล่ใครล่ะ"
"ไล่แมวครับ"

"งันก็แล้วไป นึกว่าไล่เธอละก็ยุ่งเชียวละ" คนซื่ออยากรู้เร็ว ๆ จึงถามขึ้นอีกว่า "หลวงพ่อยังไม่ได้ตอบผมเลยครับว่า ทำไมคนกราบเบญจางคประดิษฐ์ไม่เป็น ถึงได้เป็นคุณหญิง"

"ก็ทำไมคนกราบเป็นถึงไม่ได้เป็นคุณหญิงเล่า การเป็นคุณหญิงเขาตัดสินหรือวัดกันที่การกราบการไหว้เมื่อไหร่ล่ะ คนที่จะได้เป็นคุณหญิงเขาต้องได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือที่เรียกว่า สายสะพายนั่นไง สงสัยอีกซีว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ คืออะไร" ท่านพระครูแกล้งดักคอ

"เครื่องราชอิสริยาภรณ์ก็คือสายสะพายน่ะซีครับ" คนความจำดีตอบ
"อ้อ...เก่งนี่" ท่านพระครูออกปากชม


"แต่ผมก็ยังสงสัยอยู่ดีว่า ไอ้สายสะพายนี่มันเป็นแบบเดียวกับสายตะพายที่เขาเอามาร้อยจมูกวัวจมูกควายหรือเปล่า ถ้าเป็นแบบเดียวกัน คุณหญิงคุณนายมิต้องถูกร้อยจมูกหรือ" คนขี้สงสัยถามอย่างสงสัย

"มันไม่เหมือนกันหรอก สายตะพายนั่นมันเป็นเชือก เวลาเขาเอาเชือกมาร้อยจมูกวัวจมูกควาย เขาเรียกว่า สนตะพาย แต่สายสะพายเป็นผ้าแถบยาว ๆ กว้างประมาณคืบนึง พอจะเข้าใจหรือยังล่ะ"

"ครับ ถ้าอย่างนั้นก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง ที่ผมแอบสังเกตเห็นคือ คุณหญิงแกท่าทางข่มผัวน่าดูเลย แล้วก็ไม่มีมารยาท ไปแอบฟังท่านคุยกัน ขนาดสมชายไปบอกก็ไม่ยอมลงมา นี่ถ้าเป็นเมียผมละก็ ฮึ่ม...ตบล้างน้ำเลย"

คนช่างสังเกตยกมือขวาขึ้นตบอากาศอยู่ไปมาพลางทำเสียง "เฟี้ยว ๆ" ไปด้วย เห็นคนฟังไม่ว่ากระไร จึงวิจารณ์ต่อ
"ท่าทางรัฐมนตรีก็กลัวเมียน่าดูเลย เสียเชิงชายหมด"

"เอาเถอะน่า ใครเขาจะข่มกัน จะกลัวกันยังไงก็เรื่องของเขา มันหนักกบาลเธอหรือไงเล่า ถึงได้เดือดร้อนนัก" ท่านพระครูว่าให้

"มันก็ไม่หนักหรอกครับ แต่ว่ามันก็ไม่ดีนัก ตัวเองออกใหญ่โตทั้งรูปร่างและตำแหน่ง ไม่น่ามากลัวผู้หญิงตัวเล็กนิดเดียว"
"นี่แน่ะบัวเฮียว" คราวนี้ท่านพระครูพูดเป็นงานเป็นการ

"นักปฏิบัติน่ะเขาไม่สนใจเรื่องของคนอื่นหรอก คือสติปัฏฐาน ๔ นั้น ไม่มีข้อไหนที่บอกให้สนใจสิ่งนอกตัว กาย เวทนา จิต ธรรม ล้วนอยู่ในตัวเราทั้งสิ้น เอาละทีนี้จะได้อธิบาย จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นสติปัฏฐานข้อที่สาม สองข้อแรกมีอะไรบ้าง ไหนบอกมาซิ" ท่านทดสอบความจำคนเป็นศิษย์
"กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ครับ"
"เธอเข้าใจแล้วใช่ไหมว่าคืออะไร"
"ครับ"

"ดีแล้ว คราวนี้ก็มาพูดถึง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่เธอกำลังคิด กำลังพูดอยู่นี่ มันเป็นจิตตานุปัสสนา เพราะเธอเอาจิตออกไปนอกตัว ไม่ใช้สติตามดูจิตของตัวเอง ปล่อยให้จิตซัดส่ายไปในเรื่องไม่เป็นเรื่อง เหมือนอย่างที่เธอกำลังพูดเรื่องคนอื่นอยู่ขณะนี้


ดังนั้นนักปฏิบัติที่ดีจะต้องไม่มองออกนอกตัว ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น ใครจะเป็นอย่างไรก็เรื่องของเขา หน้าที่ของนักปฏิบัติคือ ใช้สติตามดู ตามรู้ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เกิดขึ้นในตัวเอง อย่ามองออกนอกตัว จำไว้"
"หลวงพ่อครับ การใช้สติตามดูกายกับเวทนานั้น ผมพอจะเข้าใจ แต่ตามดูจิตนี่ผมยังไม่เข้าใจครับ หลวงพ่อกรุณาอธิบายได้ไหมครับ"

"ก็กำลังจะอธิบายอยู่นี่ไง เอาละ ฟังให้ดี จิตตานุปัสสนานั้น ถ้าว่ากันโดยหลักก็คือ การใช้สติตามดุจิตของตน ตามรู้จิตของตน รู้ชัดว่าจิตของตนในขณะนั้น ๆ เป็นอย่างไร เช่น มีราคะ โทสะ โมหะ หรือไม่ ฟุ้งซ่าน หรือเป็นสมาธิ หลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น เป็นต้น

ขณะที่เธอเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิแล้วจิตคิดไปในเรื่องต่าง ๆ เธอก็ต้องรู้ในขณะนั้นว่า จิตกำลังฟุ้งซ่าน ก็พยายามทำให้มันเป็นสมาธิ ด้วยการเอาสติมาจดจ่ออยู่กับอิริยาบถ จะเป็นขวาย่าง ซ้ายย่าง หรือ พอง - ยุบ ก็แล้วแต่เธอกำลังเดินหรือนั่ง พูดง่าย ๆ ก็คือ ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิต อย่าลืม

พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นั้น เมื่อย่อลงแล้วเหลือเพียงข้อเดียวคือสติ ปัจฉิมโอวาทที่ประท่านแก่พระอานนท์และภิกษุห้าร้อยรูป ตอนใกล้จะปรินิพพานก็ทรงเน้นเรื่องสติ รู้ไหมปัจฉิมโอวาทนั้นว่าอย่างไร" ท่านถามพระบวชใหม่ทั้งที่รู้ว่าฝ่ายนั้นไม่รู้

"ไม่ทราบครับ หลวงพ่อก็ทราบว่าผมไม่ทราบ แล้วยังจะแกล้งถามให้ผมอับอายขายหน้า" พระใหม่ตัดพ้อ
"อ้าว ก็เปิดโอกาสให้เธอได้พูดบ้างยังไงล่ะ เดี๋ยวจะมาหาว่าฉันตีตั๋วพูดอยู่คนเดียว"
"นิมนต์หลวงพ่อพูดเถอะครับ ผมขอตีตั๋วฟังอย่างเดียว"


"เอาละ ถ้าอย่างนั้นก็ฟังต่อ ปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธองค์ทรงประทานแก่บรรดาภิกษุมีใจความว่า.........ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราผู้ตถาคตเตือนท่านทั้งหลายให้รู้ สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด....

นี่แหละเป็นพระวาจาสุดท้ายของพระพุทธองค์ เพราะหลังจากตรัสเช่นนี้แล้วมิได้ตรัสอะไรอีก ทีนี้เธอเห็นหรือยังว่า คำสอนทั้งปวงที่ได้ประทานตลอด ๔๕ พรรษานั้นมาจบลงที่สติตัวเดียวนี้"

"ไม่เห็นมีคำว่าสติเลยนี่ครับหลวงพ่อ" คนจำเก่งแต่คิดไม่เก่งท้วงขึ้น
"อ้าว ก็ที่ทรงเตือนให้ไม่ประมาทนั้นไม่ใช่สติหรอกหรือ ไม่ประมาทก็คือให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ทุกลมหายใจนั่นเอง ในสมัยที่พระองค์ยังทรงพระชนมชีพอยู่นั้น ทรงให้ภิกษุตื่นนอนตั้งแต่ตีสี่มาเดินจงกรม นั่งสมาธิ และกำหนดรู้อิริยาบถ ซึ่งก็คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อันถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ไหนเธอลองบอกมาซิว่า หน้าที่ของนักบวชในพุทธศาสนามีอะไรบ้าง"

"แห่ะ แห่ะ ไม่ทราบครับ ก็หลวงพ่อยังไม่เคยสอน ท่านมหาก็สอนแต่กิจวัตรสิบอย่างตอนก่อนจะบวช มีหนึ่ง ลงอุโบสถ สอง บิณฑบาตเลี้ยงชีพ สาม สวดมนต์ไหว้พระ สี่ กวาดอาวาสวิหาร ลานพระเจดีย์ ห้า รักษาผ้าครอง หก อยู่ปริวาสกรรม เจ็ด โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ แปด ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์ เก้า เทศนาบัติ สิบ พิจารณาปัจเวกขณ์ทั้ง ๔ เป็นต้น ไม่ทราบว่าจะเป็นอันเดียวกับที่หลวงพ่อถามหรือเปล่า

"ที่เธอว่ามานั้นเป็นรายละเอียด แต่หน้าที่หลักของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มีเพียงสามข้อ คือศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรม และสั่งสอนธรรม อันนี้เป็นหน้าที่หลัก ศึกษาธรรม ก็คือต้องเรียนรู้วิธีปฏิบัติ เช่น วิธีเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อรู้แล้วต้องลงมือปฏิบัติ ไม่ใช่รู้เฉย ๆ เหมือนอย่างพวกนักปรัชญา เมื่อปฏิบัติได้แล้วก็ต้องสั่งสอนคนอื่นได้"
"เหมือนกับที่หลวงพ่อปฏิบัติอยู่ใช่ไหมครับ"

"ใช่ ฉันเป็นลูกพระพุทธเจ้า ก็ต้องปฏิบัติตามที่พระองค์ทรงสอน ถึงเธอก็เช่นเดียวกัน กล่าวกันว่า ในสมัยพุทธกาล มีเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งชื่อ กุรุ ชาวเมืองกุรุนิยมเจริญสติปัฏฐาน ๔ กันมาก ถึงขนาดเอามาเป็นคำทักทายปราศรัยกันในชีวิตประจำวัน


เช่นเวลาเขาเดินไปพบคนรู้จัก แทนที่จะถามว่า "สวัสดี ไปไหนมาจ๊ะ ทานข้าวหรือยัง" อะไรทำนองนี้ เขากลับทักทายกันว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วหรือยัง" ถ้าเขาตอบว่า "ฉันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่จ้ะ" เขาก็จะยกมือขึ้นสาธุ สาธุ แปลว่า ดีแล้ว ดีแล้ว แต่ถ้าคนตอบ บอกว่า "ยังเลยจ้ะ" คนถามก็จะพูดว่า "อัปเปหิ อัปเปหิ" แปลว่า จงหลีกไป จงหลีกไป" แล้วเขาก็จะรีบเดินหนีเหมือนดั่งว่า พบสิ่งอัปมงคล

เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่ยังไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ก็ต้องรีบปฏิบัติ จะได้เป็นมงคลทั้งกับตัวเองและผู้อื่น เมื่อชาวเมืองกุรุพากันเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นนิจศีล ก็ทำให้เมืองเล็ก ๆ นั้นเจริญรุ่งเรือง ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์

ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบ จึงเสด็จไปที่เมืองนั้น และทรงทำนายว่าต่อไปในกาลข้างหน้า เมืองกุรุจะกลายเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งก็เป็นจริงตามพุทธทำนาย เพราะเมืองกุรุในปัจจุบันก็คือ เมืองนิวเดลีซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศอินเดีย

ทีนี้เธอเห็นหรือยังล่ะว่า การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีประโยชน์ มีอานิสงส์มากมายเพียงใด" "เห็นแล้วครับ และผมตั้งใจว่าจะพากเพียรให้ถึงที่สุด"

"ดีแล้ว เดี๋ยวกลับไปเดินจงกรมชั่วโมงครึ่ง เอาระยะละครึ่งชั่วโมง แล้วนั่งสมาธิอีกชั่วโมงครึ่ง เวลานอนก็อย่าลืมกำหนด พอง - ยุบ ไปจนกว่าจะหลับ พยายามจับให้ได้ว่า หลับไปตอนยุบหรือตอนพอง จับได้หรือยังล่ะ" "ยังครับ"


"เอาละ ยังไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คืนนี้พยายามใหม่ ได้เมื่อไหร่ให้มาบอกทันที เข้าใจไหม"
"ครับ แล้วตอนสองทุ่มผมก็ไม่ต้องมาสอบอารมณ์ใช่ไหมครับ เพราะนี่ก็ทุ่มกว่าแล้ว"
"ไม่ต้อง กลับไปอาบน้ำอาบท่า แล้วลงมือปฏิบัติไปจนกว่าจะถึงเวลานอน พรุ่งนี้ก็ตื่นตี ๔ มันจะง่วงเหงาหาวนอนก็ต้องฝืนใจ การทำความดีต้องฝืนใจจึงจะสำเร็จ เอาละ กลับไปได้แล้ว คืนนี้ฉันจะสอนครูสามคนให้เดินจงกรมระยะที่ ๔ เหลือเวลาพรุ่งนี้อีกวันเดียว เขาก็จะกลับกันแล้ว"

"พรุ่งนี้หลวงพ่อจะให้เขาต่อระยะที่ ๕ กับ ๖ เลยไหมครับ"
"ก็คิดว่ายังงั้น แต่ก็ต้องดูกำลังเขาก่อนว่าจะรับได้ไหม คนเป็นครูใหญ่คงได้ แต่อีกสองคนไม่ค่อยแน่ใจ สำหรับเธอวันละหนึ่งระยะดีแล้ว ค่อยเป็นค่อยไป เพราะเธอต้องอยู่ที่นี่อีกนาน"
ท่านอธิบายเพื่อไม่ให้คนเป็นพระน้อยใจว่าท่านให้ความสำคัญกับคนเป็นฆราวาสมากกว่า
"ถ้าเช่นนั้น ผมกราบลาละครับ เดี๋ยวต้องกลับไปสรงน้ำแล้วสวดมนต์ ทำวัตรเย็น จากนั้นจึงจะลงมือปฏิบัติ"
"ไปเถอะ ขอให้พากเพียรให้ดี บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ก็ด้วยความเพียร นี่แหละ จำเอาไว้"

พระบัวเฮียวกลับไปแล้ว ท่านพระครูจึงได้สรงน้ำชำระร่างกาย เหลือเวลาอีก ๒๐ นาทีจะสองทุ่ม ท่านจึงเขียนหนังสือคู่มือสอบอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งเขียนมาได้ปีเศษแล้ว และคงต้องใช้เวลาเขียนอีกหลายปีกว่าจะเขียนเสร็จ

วันใดที่ภารกิจรัดตัวมาก อย่าว่าแต่จะเจียดเวลามาเขียนหนังสือเลย แม้เวลาจะจำวัดก็ยังไม่มี ยิ่งเรื่องขบฉันด้วยแล้ว ท่านให้ความสนใจน้อยที่สุด

ด้วยเหตุนี้ สุขภาพของท่านจึงไม่อยู่ในข่ายที่เรียกว่าสมบูรณ์แข็งแรงเท่าใดนัก แม้จิตของท่านจะปลอดโปร่ง ไม่หิว ไม่ง่วง และไม่รู้สึกกระวนกระวาย แต่สังขารร่างกายของท่านก็ยังอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ ซึ่งย่อมจะต้องทรุดโทรมและร่วงโรยไปเร็วกว่าร่างกายที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีและสม่ำเสมอ

เวลาสองทุ่มตรง คณะของครูสฤษดิ์ก็มาถึง ท่านพระครูสอบอารมณ์ให้ทีละคน แล้วจึงสอนการเดินจงกรมระยะที่สี่ซึ่งมี "สี่หนอ" โดยเพิ่ม "ยกส้น - หนอ" ลงไปอีกหนึ่ง นอกนั้นเหมือนกับระยะที่สามทุกประการ การเดินจงกรมระยะที่สี่ จึงบริกรรมว่า "ยกส้น - หนอ ยก - หนอ ย่าง - หนอ เหยียบ - หนอ" เดินเป็นกันแล้ว ท่านจึงให้กลับไปปฏิบัติต่อยังศาลาที่พัก คนทั้งสามลุกออกไปเมื่อเวลาสามทุ่มครึ่ง

ท่านพระครูกำลังจะขึ้นไปเขียนหนังสือต่อ ก็พอดีลูกศิษย์วัดมาเรียนว่า มีแขกมาขอพบ เมื่อท่านอนุญาต ชายหญิงคู่หนึ่งจึงเดินเข่าเข้ามาหาในมือประคองพานคนละใบ มีผ้าไตรเนื้อดีหนึ่งสำรับวางอยู่ในพานของผู้ชาย ส่วนของผู้หญิงเป็นดอกไม้ธูปเทียน เมื่อเดินเข่าเข้ามาใกล้ในระยะหัตถบาส จึงวางพานไว้ทางขวามือของตน แล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง

"เจริญพร โยมมายังไงกันค่ำ ๆ มืด ๆ" ท่านเจ้าอาวาสทัก
"กระผมขับรถมาเองครับ จะพาภรรยามาขอขึ้นกรรมฐานจากหลวงพ่อครับ" ชายผู้เป็นสามีตอบ
"อ้อ...แล้วจะอยู่กี่วันล่ะ"

"ไม่อยู่ครับ จะให้เขากลับไปปฏิบัติที่บ้าน ผมสอนเดินจงกรม นั่งสมาธิให้เขาบ้างแล้ว มีปัญหาอะไรค่อยมากราบเรียนถามหลวงพ่อ" สามีเป็นคนตอบเช่นเคย

ท่านพระครูจำได้ว่าชายผู้นี้ได้มาเข้ากรรมฐานที่วัดนี้เป็นเวลาเจ็ดวัน เมื่อปีที่แล้ว หลังจากนั้นก็ไป ๆ มา ๆ อยู่เสมอ
"ถ้ายังงั้นก็ตามใจ แต่ถ้ามีโอกาสก็น่าจะมาอยู่สักเจ็ดวัน อยู่บ้านมันรักษาอารมณ์ได้ไม่ค่อยต่อเนื่อง เดี๋ยวเรื่องโน้นเรื่องนี้มากระทบ"


"ค่ะ ดิฉันก็ว่าจะหาโอกาสมาให้ได้ รอให้ลูกคนเล็กโตอีกสักหน่อย ตอนนี้เพิ่งจะได้สามขวบกับสี่เดือน" ภรรยาพูดบ้าง
"จะเอายังงั้นก็ได้ แต่บางคนลูกยังเล็กอยู่เขาก็มา ลูกศิษย์อาตมาคนหนึ่งเป็นอาจารย์อยู่กรุงเทพฯ เขามาเข้ากรรมฐานครั้งแรกเมื่อลูกชายอายุได้สี่เดือน มาอยู่ตั้งเจ็ดวัน แล้วก็มาบ่อย ๆ ใจเด็ดดีเหลือเกิน เขาบอกอาตมาว่า "หลวงพ่อคะ หนูไม่ยอมให้ลูกเต้ามาเป็นเกาะแก่งกันกลางทางกุศลเหมือนคนอื่น ๆ เขาหรอกค่ะ" อาตมาฟังแล้วก็นึกว่า เออเข้าใจคิด เข้าใจพูด"
"อาจารย์ตัวที่เล็ก ๆ หน้าคม ๆ สวย ๆ ใช่ไหมครับ ผมเคยเห็นมาที่นี่บ่อย ดูเหมือนอายุจะราว ๆ ยี่สิบ ไม่น่าเชื่อว่ามีลูกแล้ว"
"นั่นแหละ อายุสามสิบกว่าแล้วแต่ดูหน้าเด็ก ระวังนะ ชมคนอื่นว่าสวยต่อหน้าแม่บ้าน กลับไปเนื้อเขียว อาตมาไม่รู้นะ"
"ดิฉันชินแล้วค่ะหลวงพ่อ ลูกคนอื่น เมียคนอื่นเขาชมว่าดีว่าสวยไปหมด ทีลูกตัวเมียตัว ไม่มีอะไรดีสักอย่าง ถึงดีก็ว่าไม่ดี"
ฝ่ายภรรยาตั้งท่า "เปิดศึก" ท่านพระครูเห็นท่าไม่ดีจึงพูดจาไกล่เกลี่ยว่า

"ผู้ชายก็อย่างนี้ทุกคนแหละโยม ไปถือสาให้เสียอารมณ์ทำไมเล่า ว่าแต่ว่าที่โยมจะกลับไปทำกรรมฐานที่บ้านน่ะ อาตมาขออนุโมทนาด้วย ทำได้วันละนิดละหน่อยก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำ นึกว่าสะสมหน่วยกิตเอาไว้ ท่านใช้คำพูดทันสมัย
เสร็จจากพิธีขอกรรมฐาน สองสามีภรรยาจึงช่วยกันประเคนผ้าไตรถวายแด่ท่านพระครู แล้วจึงบอกลา
"เดี๋ยวก่อนอย่างเพิ่งกลับ ประเดี๋ยวจะให้ดูของดี โน่นมากกันโน่นแล้ว"

ท่านบุ้ยใบ้ไปที่ชายหญิงกลุ่มใหญ่ซึ่งพากันเดินตรงมาที่กุฏิของท่าน คนเดินหน้าถือถาดทองขนาดใหญ่มาด้วยใบหนึ่ง เมื่อมาถึง ยังไม่ทันได้ทำความเคารพเจ้าของกุฏิ พวกเขาก็พากันถอดเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ แหวน นาฬิกาข้อมือ สร้อยข้อมือ ออกใส่ถาดจนเต็มแล้วจึงช่วยกันยกไปวางต่อหน้าท่านพระครู


สามีภรรยาผู้มาก่อนแอบนึกในใจว่า "โธ่เอ๋ย เราเอาแค่ผ้าไตรสำรับเดียวมาถวาย แต่คนกลุ่มนี้ช่างใจบุญ ใจกุศลกว่าเราหลายเท่านัก ขนาดของมีค่าในตัวก็พากันถอดมาถวายจนหมด ใจบุญแท้ ๆ"

แล้วพวกเขาเหล่าก็พากันคะยั้นคะยอว่า "หลวงพ่อเสกหน่อย ช่วยเสกให้หน่อยจะได้ขลัง" ท่านพระครูจึงทำทีเป็นนั่งหลับตาทำปากขมุบขมิบแล้วเป่าพรวด ๆ ลงไปสามครั้งจึงลืมตา พูดว่า

"เอ้าเสกแล้ว เสกให้แล้ว พอท่านพูดจบ คนเหล่านั้นก็กรูกันเข้ามาที่ถาด หยิบคนละหมุบคนละหมับเอาของของตัวคืน แล้วจึงพากันลากลับ ไม่ลืมเอาถาดทองใบใหญ่กลับไปด้วย เพราะเดี๋ยวนี้จะต้องไปให้หลวงพ่อวัดโน้นเสกอีก

ท่านพระครูส่ายหน้าแล้วพูดกับสองสามีภรรยาว่า "พวกนี้เขาอีกระดับหนึ่ง ชวนให้มาเข้ากรรมฐาน เขาไม่เอา ชอบให้เสกให้เป่าตะพรึด ของจริงไม่ชอบ ชอบของปลอม" ท่านพูดยิ้ม ๆ

"หลวงพ่อไม่อธิบายให้เขาฟัง หรือครับ" ชายผู้สามีถาม
โธ่โยม ต่อให้อธิบายจนขาดใจเขาก็ไม่ฟัง เขารับได้แค่นั้น ก็ต้องแล้วแต่กรรมของแต่ละคน พระพุทธเจ้าถึงได้ตรัสสอนไว้ว่า "กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ทราบและให้ประณีต....ถ้าคนเราเข้าใจอะไร ๆ ได้เหมือนกันหมด โลกมันก็ไม่ยุ่งซี โยมเคยได้ยินชื่อหลวงพ่อเต๋ไหมเล่า"

"เคยครับ ได้ยินกิตติศัพท์ว่าท่านเก่งทางเสกเป่า"
"นั่นแหละ เสกจนตายคาที่เลย ขนาดท่านนอนพะงาบ ๆ จวนจะมรณภาพอยู่แล้ว พวกลูกศิษย์ยังเอาตุ๊กตามาให้เสกทีละหลายร้อยตัว ท่านก็ต้องเป่าต้องเสก เป่าจนลมไม่มี พวกลูกศิษย์ก็ว่าหลวงพ่ออดทนเอาหน่อย อดทนเอาหน่อย จวนเสร็จแล้ว ท่านก็ตามใจ เป่าให้จนลมหายใจสุดท้าย อาตมาเห็นแล้วสงสารท่าน แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะพวกลูกศิษย์เขาจะกันเอาอย่างนั้น พอพวกเขารู้ว่าท่านสิ้นลมกลับพากันบ่นเสียอีกว่า "แหมหลวงพ่อ ให้ช่วยแค่นี้ก็ต้องตายด้วย"
"หลวงพ่อครับ แล้วที่ว่าเสกเป่าแล้วจะทำให้ศักดิ์สิทธิ์หรือขลังจริงไหมครับ"


"มันจะไปขงไปขลังอะไรเล่า ก็เชื่อกันไปผิด ๆ หลวงพ่อเต๋เองท่านก็รู้ แต่ท่านบอกว่าห้ามเขาไม่ได้ อธิบายเขาก็ไม่ยอมฟัง ก็เหมือนกันที่อาตมาไม่สามารถอธิบายให้คนกลุ่มเมื่อกี้เข้าใจได้นั้นแหละ ถ้าจะเปรียบกับบัวสี่เหล่า ก็คงได้แก่พวกปทปรมะ สอนยังไงก็รับไม่ได้เพราะสติปัญญามีแค่นั้น แค่รับของปลอม"

"พวกบัวที่ติดโคลนตม ไม่มีโอกาสโผล่พ้นน้ำขึ้นมารับแสงอาทิตย์ได้ใช่ไหมครับ"
"นั่นแหละ พวกนั้นแหละ ผลสุดท้ายก็ตกเป็นเหยื่อของพวกเต่าพวกปลาไป โยมจำไว้เป็นตัวอย่างก็แล้วกัน
"ครับ เมื่อก่อนผมก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน ต่อเมื่อมาพบหลวงพ่อถึงได้ตาสว่างขึ้น เพราะบารมีของหลวงพ่อแท้ ๆ เชียว"
"ไม่ใช่บารมีของอาตมาหรอก บารมีของโยมเองนั่นแหละ ไม่งั้นคนกลุ่มเมื่อกี้เขาก็เหมือนโยมแล้วซี เรื่องอย่างนี้ต้องทำเองสร้างเองนะโยม"

"ครับ เอ้อ...หลวงพ่อครับ กระผมกับภรรยารบกวนเวลาของหลวงพ่อมานาน เห็นจะต้องลากลับเสียที หลวงพ่อจะได้พักผ่อน"


"จะกลับแล้วหรือ เอาละ ขอให้เจริญสุขนะโยมนะ หมั่นพากันเจริญกรรมฐานทุกวัน ไม่มีอะไรจะช่วยเราได้นอกจากตัวเราเอง แล้วว่าง ๆ อย่าลืมมาเข้ากรรมฐานสักเจ็ดวันนะโยมนะ" ท่านหันไปพูดกับคนเป็นภรรยา "ค่ะ" ฝ่ายนั้นตอบ แล้วสองสามีภรรยาจึงพากันลากลับ เมื่อเวลาเกือบสองยาม

มีต่อ........๙

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
ลูกโป่ง
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 01 ส.ค. 2005
ตอบ: 4089

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 6:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

๙...

เสียงระฆังตอนตีสี่เงียบหายไปนานแล้ว แต่เสียงเห่าหอนของสุนัขยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่าย ๆ เพราะเมื่อตัวหนึ่งหยุด อีกตัวก็ตั้งต้นหอนใหม่ ผลัดกันรุกผลัดกันรับอยู่อย่างนี้เป็นเวลาเกือบชั่วโมงแล้ว

ครูใหญ่กำลังเดินจงกรมระยะที่หกอยู่ รู้สึกรำคาญขึ้นมาตะหงิด ๆ เพราะแม้จะกำหนด "เสียงหนอ" ครั้งแล้วครั้งเล่า พวกมันก็ยังไม่ยอมหยุดเห่าหอน เหตุนี้กระมังที่เขาเปรียบเทียบคนพูดพร่ำไม่รู้จักกาลเทศะว่า "พวกปากหมา" แต่ก็แปลกตรงที่ว่าวันนี้ เสียงของพวกมันช่างโหยหวนชวนให้ขนลุกขนพองกว่าทุกวัน

"หรือจะเป็นเพราะพวกมันรู้ว่าวันนี้เป็นวันพระ ถึงได้หอนนานกว่าปกติ" เขาคิด
เดินจงกรมได้หนึ่งชั่วโมงเต็ม ๆ จึงกำหนดนั่ง หากยังไม่ทันได้นั่งก็เห็นพระรูปหนึ่งเดินขึ้นศาลาตรงมา แสงจากดวงไฟสี่สิบแรงเทียนแม้จะไม่สว่างไสวเท่าไฟนีออน แต่ก็ทำให้เห็นชัดว่า ภิกษุรูปนั้นอายุอยู่ในราวเจ็ดสิบเศษ ร่างการทรุดโทรมซูบผอม จีวรดูเก่าสกปรก แถมยังขาดกะรุ่งกะริ่ง เหมือนเอาผ้าขี้ริ้วมาห่อหุ้มร่างเอาไว้

ภิกษุชราเดินตัวแข็งทื่อตรงมา ดวงตาจับจ้องอยู่ที่ใบหน้าของครูใหญ่ ครั้นใกล้เข้ามาในระยะสักสามเมตร จึงได้รู้ว่าท่านมิได้เดิน หากลอยมาในลักษณะเท้าเรี่ย ๆ กับพื้น สติบอกทันทีว่า สิ่งที่เห็นข้างหน้านั้นมาจากต่างภพภูมิ


หันไปดูครูน้อยสองคน เห็นจะเริ่มเดินจงกรม เพราะมัวอิด ๆ ออด ๆ กว่าจะตื่นกันได้ก็เกือบ ๆ ตีห้าเข้าไปแล้ว มิหนำซ้ำ ยังเสียเวลาไปกับการล้างหน้าแปรงฟันอีกหลายนาที

มีคนตื่นอยู่ถึงสองคนเช่นนี้ความกลัวก็ลดน้อยลง แต่เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่เห็นไม่ใช่ภาพลวงตา จึงกำหนด "เห็นหนอ" สามครั้ง กำหนดแล้ว ภาพนั้นก็ยังไม่หายไป ครูวัยกลางคนจึงรวบรวมสติแล้วถามออกไปว่า

"ท่านเป็นใคร ขึ้นมาทำอะไรที่นี่"
"อาตมาเป็นพระอยู่วัดนี้ เขาเรียกอาตมาว่าหลวงตาเฟื่อง" เสียงนั้นแหลมเล็ก ผิดแผกไปจากเสียงมนุษย์ธรรมดาสามัญ

"แล้วทำไมหลวงตาไม่ไปลงโบสถ์กับเขาล่ะครับ"
"อาตมาไม่ต้องลงโบสถ์ อย่าตกใจ อาตมาไม่ได้มาร้าย คือว่า อาตมาตายไปเมื่อสิบปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ไปไหน" ฟังแล้วขนลุกซู่ เมื่อภิกษุชราบอกว่าตายแล้ว แต่เมื่อท่านบอกว่าไม่ได้มาร้าย จึงกลั้นใจถามออกไปว่า "แล้วท่านขึ้นมาบนนี้ มีจุดประสงค์อะไรหรือครับ"


"มีสิ อาตมาจะมาขอส่วนบุญจากโยม อาตมาลำบากเหลือเกิน ต้องอด ๆ อยาก ๆ หนาวก็หนาว โยมช่วยบอกท่านพระครูด้วยว่า อาตมาขอผ้าไตรสักหนึ่งสำรับ แล้วเวลาโยมปฏิบัติกรรมฐาน ช่วยแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้หลวงตาเฟื่อง วัดป่ามะม่วงด้วย อาตมาจะได้ไปเกิดเสียที วนเวียนอยู่ที่นี่มาสิบปีแล้ว เพราะยังใช้กรรมไม่หมด"

"เมื่อตอนท่านบวช ไม่ได้เจริญกรรมฐานหรือครับ จึงได้มีสภาพอย่างนี้"
"เปล่า อาตมาหัวดื้อ ท่านพระครูบอกอาตมาก็ไม่เชื่อ เพราะเป็นคนทิฐิสูง เห็นว่าท่านพระครูเด็กกว่า ไหนเลยจะมาสอนอาตมาได้ ก็เพราะไม่เชื่อท่านนี่แหละ ถึงต้องมาเป็นเปรตอย่างที่โยมเห็นอยู่นี่"

"เปรตหรือครับ ทำไมรูปร่างไม่เหมือนกับที่แม่เล่าให้ฟังสมัยผมเด็ก ๆ คือแม่บอกว่า เปรตตัวนั้นสูงเท่าต้นตาล ปากเท่ารูเข็ม มือเท่าใบลาน แสดงว่าแม่หลอกผมใช่ไหมครับ"

"ไม่ได้หลอกหรอกโยม เปรตมีหลายประเภท อย่างอาตมานี่ เป็นประเภทปรหัตตุปชีวิกเปรต คือ เปรตที่มีการเลี้ยงชีวิตอยู่ โดยอาศัยบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ อาตมาถึงต้องมาขอส่วนบุญจากโยม โปรดเมตตาด้วยเถิด" เสียงนั้นทั้งขอร้องและวิงวอน


"ถ้าอย่างนั้นผมจะแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลให้ทุกครั้งที่ทำกรรมฐาน ชื่อหลวงตาเฟื่องนะครับ"
"ถูกต้อง อาตมาต้องขอขอบใจโยมเป็นอย่างมาก ขอให้โยมจงตั้งอกตั้งใจปฏิบัติต่อไป ทางนี้เป็นทางที่ประเสริฐที่สุดแล้ว อาตมายังนึกเสียดายเวลาที่ผ่านมาที่มัวหลงประมาทมัวเมาในชีวิต จึงต้องมาตกระกำลำบากอย่างนี้ กว่าจะรู้สึกตัวก็สายเกินไปเสียแล้ว จงอย่างได้เอาเยี่ยงอย่างอาตมาเลย นี่ถ้าได้ไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง อาตมาจะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไปจนตลอดชีวิตทีเดียว จะไม่ประมาทมัวเมาอีกแล้ว เข็ดแล้ว อาตมาลานะโยม"

ร่างนั้นค่อย ๆ ลอยห่างออกมาแล้วจึงหายวับไปกับความสลัวของรุ่งอรุณ บัดดลนั้น บรรดาสุนัขที่ส่งเสียงเห่าหอนมาตั้งแต่ตีสี่ ต่างพากันเงียบเสียงลงราวกับนัด

"ครูใหญ่ไม่สบายหรือเปล่าครับ ถึงได้ยืนพูดอยู่คนเดียวอย่างนั้น" ครูบุญมีเดินเข้ามาถามด้วยความสงสัย
"ผมกำลังคุยกับหลวงตาเฟื่อง คุณไม่เห็นหรอกหรือ พระแก่ ๆ ที่เดินขึ้นมาเมื่อครู่นี้เอง"
"ผมไม่เห็นใครสักคน ไม่เชื่อถามครูอรุณดูได้"

"จริงครับ ครูใหญ่ยืนพูดงึมงำอยู่คนเดียว ฟังไม่ได้ศัพท์ว่าพูดอะไรบ้าง ไม่สบายหรือเปล่าครับนี่" ครูน้อยอีกคนถามอย่างเป็นห่วง

"ปละ....เปล่า ผมไม่ได้เป็นอะไร ประเดี๋ยวผมจะไปพบหลวงพ่อสักหน่อย คุณสองคนไปเป็นเพื่อนผมหน่อยซี" ครูบุญมีดูนาฬิกาข้อมือแล้วท้วงว่า "เพิ่งจะตีห้าครึ่ง อีกตั้งครึ่งชั่วโมงท่านจึงจะออกจากโบสถ์ เราปฏิบัติกันไปพลาง ๆ ก่อนดีกว่า"


"คุณสองคนไม่รำคาญเสียงหมาหอนหรือ มันเพิ่งหยุดไปเดี๋ยวนี้เอง อะไรของมันนักหนา หอนอยู่ได้เป็นชั่วโมง" ครูใหญ่บ่น

"ใครว่า มันหอนตอนพระตีระฆังเดี๋ยวเดียวเท่านั้น เอ...เช้านี้ครูใหญ่มีอะไรแปลก ๆ พิกล หรือว่ายังไม่อยากกลับบ้าน" ครูบุญมีเย้า ครูใหญ่จึงตัดสินใจไม่เล่าเรื่องประหลาดให้คนทั้งสองฟัง เพราะสองคนนี้จะต้องคิดว่าเขา "ไม่สบาย" สู้เก็บไว้ถามท่านพระครูจะดีกว่า

"ว่าไง จะไปกุฏิท่านพระครูกับผมได้ไหม" ครูใหญ่ชวนอีก
"ไปก็ไป ไปนั่งสมาธิรอท่านก็ได้" ครูอรุณพูด แล้วทั้งสามคนจึงพากันไปนั่งรออยู่ที่กุฏิท่านพระครู อากาศภายนอกค่อนข้างหนาวเย็น เพราะย่างเข้าฤดูหนาว แต่ในจิตใจของครูใหญ่กลับร้อนรุ่มดั่งไฟสุมขอน ทั้งร้อนใจและใจร้อนอยากพบท่านพระครูเป็นที่สุด

เสร็จจากสังฆกรรมในโบสถ์แล้ว ท่านพระครูจึงเดินกลับกุฏิเพื่อเตรียมออกบิณฑบาตโปรดสัตว์เช่นเดียวกับภิกษุอื่น ๆ ในวัด ครั้นถึงกุฏิก็ต้องแปลกใจเมื่อเห็นครูสามคนนั่งรออยู่ ท่านคิดว่าเขามาลา จึงชวนให้อยู่รับประทานอาหารเช้าก่อน

"พวกผมยังไม่กลับหรอกครับ แต่ผมมีปัญหาบางอย่างจะมาเรียนถามหลวงพ่อครับ ต้องขอประทานโทษที่มารบกวนแต่เช้า" ครูใหญ่ออกตัว

"มีอะไรหรือ ท่าทางดูร้อนใจพิกล"
"หลวงพ่อครับ ที่วัดนี้มีพระชื่อ หลวงตาเฟื่องหรือเปล่าครับ" ท่านพระครูนั่งนึกอยู่ประเดี๋ยวหนึ่ง จึงตอบว่า
"มี แต่ตายไปนานแล้ว แกเป็นจ่าสิบตำรวจ เกษียณอายุแล้วมาบวชที่นี่ ครูใหญ่รู้จักแกหรือ"
"ไม่รู้จักหรอกครับ แต่ท่านมาหาผมเมื่อกี้นี้ มาแนะนะตัวว่าชื่อหลวงตาเฟื่อง" แล้วครูใหญ่จึงเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ท่านพระครูฟังอย่างละเอียด ฟังแล้ว ท่านเจ้าของกุฏิจึงพูดขึ้นว่า


"น่าอายเหลือเกิน ตัวเป็นพระแต่มาขอส่วนบุญจากญาติโยม ครูเห็นหรือยังล่ะว่า พระก็ไปทุคติ ไปอบายได้ถ้าประมาท หลวงตาเฟื่องแกดื้อ อาตมาเตือนด้วยความหวังดี แกก็ไม่เชื่อ เกียจคร้านเอาแต่กินกับนอน นอกจากนี้ยังขโมยของวัดไปฝากลูกฝากหลานเป็นประจำ โน่นบ้านแกอยู่ใต้วัดไปโน่น

อาตมาบอกว่ามันบาปนะหลวงตา แกก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ เสร็จแล้วเป็นยังไง ไปเกิดเป็นเปรตเลยเห็นไหม ครูใหญ่น่าจะถามแกดูว่าทำไมถึงใช้ให้ครูมาขอผ้าไตร ทำไมแกไม่มาขอเอง"

"ผมก็คิดจะถามอยู่เหมือนกัน แต่ยังไงไม่ทราบ ลืมเสียได้ สงสัยจะกลัวมากไปหน่อย"
"แกคงรู้ว่า เมื่อคืนมีคนเขาเอาผ้าไตรมาถวายอาตมาหนึ่งสำรับ เลยใช้ให้ครูใหญ่มาขอ ฉลาดดีนี่ ถ้าอย่างนั้น เดี๋ยวโยมกลับไปปฏิบัติต่อจนถึงเวลาอาหาร รับทานอาหารกันแล้วค่อยมาหาอาตมา อาตมาจะออกไปบิณฑบาตอยู่เหมือนกัน เรื่องนั้นค่อยว่ากันใหม่"

แล้วท่านพระครูจึงออกบิณฑบาต โดยมีนายสมชายหิ้วปิ่นโตเดินตามหลัง ครูสามคนกลับมายังศาลา ไม่มีใครพูดถึงหลวงตาเฟื่องอีก ด้วยกลัวว่าแก่จะมาปรากฏตัว ฟ้ายังไม่ทันสาง เพราะดวงตะวันยังไม่ขึ้น พวกอมนุษย์จึงมีสิทธิที่จะมาป้วนเปี้ยนให้เห็นได้

ท่านพระครูฉันเช้าเสร็จได้สักพัก ครูใหญ่หนึ่งคนก็นำครูน้อยสองคนเข้ามาหา แต่ละคนมีกระเป๋าเสื้อผ้ามาด้วย แสดงว่าเตรียมพร้อมที่จะกลับ

"อยู่กันอีกซักคืนเถอะน่า" ท่านเจ้าอาวาสแกล้งเย้า
"ไม่ไหวครับ" สามเสียงตอบขึ้นพร้อมกัน
"อ้าว เผื่อจะได้เลขเด็ด หลวงตาเฟื่องแกให้หวยแม่นนา" คราวนี้ครูบุญมีกับครูอรุณทำท่าสนใจ ครูบุญมีพูดว่า

"อยากได้น่ะอยากหรอกครับ แต่กลัวจะช็อคไปเสียก่อน"
"หลวงพ่อครับ ตกลงว่าหลวงพ่อจะให้ผ้าไตรหลวงตาเฟื่องใช่ไหมครับ" ครูใหญ่ทวงถาม เพราะไม่แน่ใจว่า "ภาระ" ที่รับปากมานั้นเสร็จสิ้นหรือยัง

"เออแน่ะ เกือบลืม เอาอย่างนี้ เดี๋ยวอาตมาจะฝากผ้าให้ครูใหญ่นำไปถวายพระ ต้องถวายพระกรรมฐานนะ อย่าไปถวายซี้ซั้ว" ท่านพูดภาษาจีนก็เป็นเหมือนกัน


"ทำไมต้องถวายเฉพาะพระกรรมฐานเล่าครับหลวงพ่อ" ครูอรุณถาม
"ก็ท่านจะได้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้หลวงตาเฟื่องได้ ถ้าพระที่ไม่ปฏิบัติ จะอุทิศไปไม่ถึง พระบางรูปทองบทกรวดน้ำไม่เป็นด้วยซ้ำ อย่างหลวงตาเฟื่องนี่ท่องได้เสียที่ไหน ขนาดบวชมาตั้งสิบพรรษา เวลาเขานิมนต์ไปสวด ก็ทำปากขมุบขมิบไปยังงั้นเอง แต่อย่าพูดไปนะ พระแบบหลวงตาเฟื่องเดี๋ยวนี้มีเยอะ แล้วท่านก็หัวเราะ จากนั้นจึงหยิบผ้าไตรส่งให้ครูใหญ่

"ถือไปยังงี้แหละ ไม่ต้องห่งต้องห่อหรอก เดี๋ยวก็ได้ถวายแล้ว" ท่านพูดเช่นนี้ด้วยรู้ว่าคนทั้งสามจะไปพบพระธุดงค์กลางทาง เพราะ "เห็นหนอ" บอกอย่างนั้น

"เอาเถอะ แล้วอาตมาจะช่วยแผ่เมตตาให้แกอีกแรงหนึ่ง จะได้ไปเกิดเร็ว ๆ นี่ถ้าครูใหญ่ไม่บอก อาตมาก็ไม่รู้ว่าแกไปเกิดเป็นเปรต ลืมไปเลย"

"หลวงพ่อได้ "เห็นหนอ" แต่ทำไมไม่รู้เล่าครับ" ครูอรุณสงสัย
"อ้อ...นี่แสดงว่าครูยังเข้าใจ "เห็นหนอ" ไม่ถ่องแท้ ดีแล้วที่พูดขึ้น อาตมาจะได้ถือโอกาสอธิบายเสียเลย จริงอยู่ แม้อาตมาจะได้ "เห็นหนอ" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะได้ตลอดเวลาเมื่อไหร่กัน แหม ถ้าเป็นอย่างนั้นก็ยุ่งเลยน่ะซี วัน ๆ ไม่เป็นอันทำอะไรแล้ว เพราะเที่ยวไปเห็นคนโน้นคนนี้วุ่นวายไปหมด

โปรดจำไว้ว่าเราจะ "เห็นหนอ" ก็ต่อเมื่อเราตั้งสติกำหนดจิตเท่านั้น อย่างที่อาตมากำลังคุยกับโยมอยู่นี่ อาตมาก็เห็นโยมเป็นโยมเหมือน ๆ กับที่คนอื่น ๆ เห็น แต่ถ้าอาตมาอยากรู้ว่าโยมกำลังคิดอะไรอยู่ อาตมาก็จะตั้งสติกำหนดจิต แล้ว "เห็นหนอ" จึงจะเกิด นี่มันเป็นยังงั้น พอจะเข้าใจหรือยังเล่า"

"ครับ เข้าใจแล้วครับ หลวงพ่อครับ แล้วคนที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ มีโอกาสได้ "เห็นหนอ" ทุกคนไหมครับ" ครูบุญมีสงสัย

"ไม่ทุกคน ก็คนที่จบปริญญาตรีได้เกียรตินิยมทุกคนหรือเปล่าเล่า"
"ได้เป็นบางคนครับ" ครูอรุณตอบ
"เหมือนกันนั่นแหละ คนที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ บางคนก็ไม่ได้ "เห็นหนอ" เพราะมันไม่ใช่จุดหมายของการปฏิบัติ เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น อาตมาจะยกตัวอย่างในสมัยพุทธกาลเรื่อง พระอุบลวัณณาเถรี คนนี้เป็นพระอรหันต์มีฤทธิ์มาก

ในบรรดาพระเถระผู้มีฤทธิ์ ต้องยกให้พระโมคคัลลานะ แต่ถ้าพระเถรี ต้องยกให้พระอุบลวัณณา แต่ถึงแม้จะมีฤทธิ์ ก็ยังถูก นันทมาณพ ข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องของกรรมเก่าครั้งอดีตชาติที่ท่านประพฤติผิดศีลข้อสาม คนก็พากันสงสัยว่า ทำไมทั้ง ๆ ที่มีฤทธิ์ยังถูกข่มขืนได้ นี่ก็เหมือนกัน คือเมื่อท่านยังไม่ตั้งสติกำหนดจิต ฤทธิ์มันก็ยังไม่เกิด

ในคัมภีร์กล่าวว่า ตอนจะถูกข่มขืนนั้น ท่านไปข้างนอกมา ทั้งเหนื่อยทั้งร้อน กำลังจะนอนพัก นันทมาณพซึ่งซ่อนอยู่ใต้เตียงก็ถือโอกาสข่มขืนตอนนี้ เมื่อนันทมาณพข่มขืนเสร็จก็ถูกธรณีสูบ เพราะว่าทำร้ายพระอรหันต์ ถือว่ามีโทษหนัก บาปมาก เห็นไหมว่า ถ้าไม่ตั้งสติ กำหนดจิต ฤทธิ์ก็ไม่เกิด เหมือนอย่างที่อาตมาลืมหลวงตาเฟื่อง แล้วแกก็ไม่มาปรากฏให้เห็น ก็เลยไม่รู้กัน อ้อ...ยังเป็นเปรตอยู่หรือนี่"

"ครับ ท่านบอกว่า เป็นปรทัตตุปชีวิกเปรต พวกเปรตนี่มีหลายประเภทหรือครับหลวงพ่อ"
"เท่าที่อาตมาทราบ มีสี่ประเภท คือ ปรทัตตุปชิวิกเปรต คือ พวกที่มีชีวิตอยู่ด้วยการขอส่วนบุญจากผู้อื่น ชุปปิปาลิกเปรต คือ พวกที่ถูกเบียดเบียนด้วยการหิวข้าวหิวน้ำ นิชฌามตัฒหิกเปรต คือ พวกที่ถูกไฟเผาให้เร่าร้อนอยู่เสมอ และ กาลกัญจิกเปรต เป็นชื่อของอสุราที่เป็นเปรต ครูอยากจะเป็นเปรตประเภทไหนล่ะ" ท่านถามครูอรุณ

"ไม่อยากเป็นสักประเภทเดียวครับ"
"ทำกรรมอะไรจึงไปเกิดเป็นเปรตครับหลวงพ่อ" ครูบุญมีถาม
"ก็ความโลภน่ะซี เขาเรียกว่า "จิตมีโลภะ" อย่างหลวงตาเฟื่องที่ขโมยของวัดไปให้ลูกกิน เพราะจิตยังมีโลภะ ยังห่วงลูก คนที่ตายขณะที่จิตมีโลภะ เช่นยังห่วงโน่นห่วงนี่ ไม่ว่าจะห่วงสมบัติหรือห่วงลูกหลาน ก็ถือว่ายังมีโลภะ ถ้าไม่ไปเกิดเป็นเปรต ก็ไปเกิดเป็นอสุรกาย

ฉะนั้นโยมจงจำเอาไว้ เวลาตายต้องทำจิตให้ผ่องใส จะได้ไปสุคติภูมิ ถ้าตายขณะจิตมีกิเลส เช่นถ้ามีโทสะ จะไปเกิดเป็นสัตว์นรก ถ้ามีโลภะจะไปเกิดเป็นเปรตหรืออสุรกาย ถ้ามีโมหะก็จะไปเกิดเป็นเดรัจฉาน


ดังนั้น ถ้ารู้ว่ากำลังจะตายก็อย่าไปห่วง อย่าไปโลภ โกรธ หลง จะได้ไม่ต้องไปอบายภูมิ อาตมาจะเล่าเรื่องจริงให้ฟังเรื่องหนึ่ง อยากฟังไหมเล่า"


"อยากฟังครับ" คนทั้งสามตอบ
"เอาละ อยากฟังก็จะเล่าให้ฟัง มีเจ้าคณะอำเภอรูปหนึ่ง อย่าให้อาตมาเอ่ยชื่อเลยนะ เพราะไหน ๆ ท่านก็มรณภาพไปแล้ว เจ้าคณะอำเภอรูปนี้ท่านสะสมผ้าไตรไว้เป็นร้อย ๆ สำรับ ใส่ตู้เรียงรายเต็มกุฏิไปหมดแล้วท่านก็หวงมาก ไม่ยอมแจกไตร เพราะตั้งใจว่า อายุครบ ๘๐ จะทำบุญใหญ่ แล้วค่อยแจกตอนนั้น

แต่ปรากฏว่า พออายุ ๗๕ ปี ท่านก็มรณภาพแล้วไปเกิดเป็นเปรต เห็นไหม ประมาทนิดเดียว ไปเกิดเป็นเปรตเลย จะว่าท่านโลภก็ไม่เชิง เพราะท่านตั้งใจไว้ว่า อายุ ๘๐ ถึงจะแจก ทีนี้ท่านก็เลยตายขณะที่จิตมีโลภะ คือห่วงผ้าไตร

"หลวงพ่อทราบได้อย่างไรครับ ว่าท่านไปเกิดเป็นเปรต" ครูใหญ่ถาม
"ท่านมาบอกอาตมา มาแบบเดียวกับที่หลวงตาเฟื่องมาหาครูใหญ่นั้นแหละ แต่แย่กว่าหลวงตาเฟื่องตรงที่ไม่มีอะไรนุ่งห่ม มาแบบชีเปลือย ว่างั้นเถอะ มาถึงก็บอกอาตมาว่า

"ท่านพระครู ผมหนาวเหลือเกินวันเผาศพ ช่วยเอาผ้าไตรแจกให้หมด แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ผมด้วย"
อาตมาก็จัดการให้ คืนนั้นก็มาขอบใจ นุ่งห่มเรียบร้อย บอกว่าสบายแล้ว นี่เห็นหรือยัง ประมาทไม่ได้เลย เผลอไปนิดเดียวยังไปทุคติเสียได้

นี่แหละ พระพุทธองค์ถึงได้ทรงเตือนนักว่า ไม่ให้ประมาท ทีนี้เห็นความสำคัญของสติหรือยังว่า การมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลานั้น มีประโยชน์มาก เห็นด้วยไหมเล่า"


"เห็นด้วยครับ" ครูสามคนตอบ แล้วครูใหญ่จึงพูดขึ้นว่า
"หลวงพ่อครับ พวกผมเห็นจะต้องกราบลาและต้องขอกราบของพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างสูง ที่ได้เมตตาพวกผมให้ได้รับความสะดวกสบายทุกอย่าง ได้อาหารบำรุงร่างกาย แล้วยังได้ธรรมะบำรุงจิตใจอีกด้วย และในฐานะที่พวกผมเป็นครูบาอาจารย์ ก็จะนำความรู้นี้ ไปอบรมสั่งสอนแก่เยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของชาติสืบไปในอนาคต

สุดท้ายนี้ พวกผมไม่มีอะไรจะตอบแทนพระคุณของหลวงพ่อ นอกจากจะขออนุญาตถวายเงินจำนวนหนึ่งเพื่อสมทบทุนเป็นค่าอาหาร เลี้ยงพระ เณร และญาติโยมที่มาเข้ากรรมฐาน ได้ทราบมาว่า หลวงพ่อต้องรับภาระหนักในเรื่องนี้ พวกผมพอจะช่วยแบ่งเบาได้บ้างตามกำลังศรัทธาและกำลังทรัพย์" ครูใหญ่พูดค่อนข้างยาว แล้วจึงถวายเงินจำนวนหนึ่งซึ่งใส่ซองปิดผนึกอย่างเรียบร้อย

"ขออนุโมทนา ขอให้ครูใหญ่และคณะจงเดินทางกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ แล้วขอให้หมั่นเจริญกรรมฐานกันทุกวัน ในสามคนนี้จะมีคนหนึ่งถูกล็อตเตอรี่รางวัลใหญ่ อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นไปได้ อาตมาขอบิณฑบาต ขอให้เลิกเสีย เพราะมันเป็นการพนัน แต่ที่ซื้อไว้แล้วก็ไม่เป็นไร เอาเถอะ ที่จะถูกน่ะ ซื้อไว้แล้ว ไม่ต้องซื้อใหม่"

บังเอิญคนทั้งสามต่างก็ซื้อไว้คนละฉบับ จึงพากันคิดว่าคนโชคดีที่ท่านพระครูพูดถึงนั้น คือตัวเขา คนเป็นครูใหญ่นั้นตั้งปณิธานไว้แล้วว่าจะเลิกอย่างเด็ดขาด ไม่ว่างวดนี้จะถูกหรือไม่ก็ตาม การได้มีโอกาสมาลิ้มรสพระธรรมในครั้งนี้ มีค่ากว่าการถูกรางวัลที่หนึ่งเป็นไหน ๆ

เวลาตีสี่ของวันรุ่งขึ้น ท่านพระครูตื่นขึ้นปฏิบัติกรรมฐานเป็นเวลาสองชั่วโมงเช่นเคย และไม่ลืมที่จะแผ่เมตตาไปให้หลวงตาเฟื่องดังที่ได้ลั่นวาจาไว้กับครูใหญ่ เมื่อคืน ก่อนจำวัด ท่านก็ได้อุทิศส่วนกุศลไปให้ภิกษุนั้นครั้งหนึ่งแล้ว ก็คงจะพอช่วยได้บ้าง แผ่เมตตาเสร็จ ท่านจึงกำหนดออกจากกรรมฐาน พอลืมตาขึ้น จึงเห็นหลวงตาเฟื่องนั่งพับเพียบพนมมือแต้อยู่ต่อหน้า

"ผมมาขอบคุณท่านพระครูที่ได้ช่วยสงเคราะห์ ผมสบายแล้ว" ภิกษุชราบอกกล่าว
"ท่านมาก็ดีแล้ว ผมอยากจะต่อว่าสักหน่อย" ท่านพระครูพูดขึ้น
"ต่อว่ามาก ๆ ก็ได้ คราวนี้ผมยอมจำนนทุกอย่าง เข็ดแล้ว ถ้าผมเชื่อท่านพระครูเสียแต่แรกก็คงไม่ลำบากถึงปานนี้" ฝ่ายนั้นรำพึงรำพัน


"เรื่องที่ผมอยากจะต่อว่าก็คือ ทำไมท่านไม่มาบอกผมตั้งแต่ทีแรก เพราะอย่างน้อยผมก็ช่วยท่านไม่ให้ต้องอด ๆ อยาก ๆ แล้วทำไมไม่มาบอกผมตรง ๆ ต้องไปผ่านทางครูใหญ่ ท่านไม่อายเขาหรือไง ที่เป็นพระ แต่ไปขอส่วนบุญจากฆราวาส มาขอจากพระด้วยกันก็ยังดี ท่านเห็นผมเป็นอะไร ถึงได้ข้ามหน้าข้ามตาไป" เจ้าของกุฏิต่อว่าต่อขานเป็นการใหญ่

"ผมกลัวท่านพระครูจะไม่อภัยให้ก็เลยไม่กล้า อีกอย่าง ผมก็อยากจะรับกรรมที่ก่อขึ้นนั้นด้วยตนเอง ก็ท่านพระครูเคยสอนไว้ไม่ใช่หรือว่า รับกรรมแทนกันไม่ได้ ใครสร้างเหตุคนนั้นก็ต้องรับผล"

"ถูกแล้ว แต่ผมหมายความว่า อย่างน้อยก็ยังช่วยให้ทุเลาเบาลางลงได้บ้าง"
"แต่ตอนนี้ท่านก็ได้ช่วยผมแล้ว ผมเป็นหนี้บุญคุณท่านพระครูมากเหลือเกิน นี่ถ้าได้ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ผมจะตั้งหน้าตั้งตาเจริญสติปัฏฐาน ๔ ไปจนตลอดชีวิต ผมรู้แล้วว่า การเวียนว่ายตายเกิดมันทุกข์อย่างไร ผมเห็นจะต้องลา ขอบพระคุณสำหรับผ้าไตรใหม่เอี่ยมที่ผมนุ่งห่มอยู่นี้"

พูดจบ ภิกษุชราก้มลงกราบสามครั้ง แล้วร่างนั้นก็ค่อย ๆ เลือนหายไปในความสลัวของยามอรุณ

มีต่อ.........๑๐

ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง