Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ๚ ๛วิปัสสนา..คืออะไรแน่ ๛๚ อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 17 มิ.ย.2004, 8:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สวัสดีคะท่านผู้เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
หลังจากที่ได้พยายามถ่ายทอดความเข้าใจในเรื่องราวของชีวิตเราท่านมาในกระทู้ก่อนๆ

โดยเฉพาะความโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์กันแล้ว
มาถึงขณะนี้เรามาทำความเข้าใจให้ถูกต้องกันนะคะว่า..

๚ ๛วิปัสสนา..คืออะไรแน่ ๛๚

เพื่อจะได้สร้างความเห็นถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
และจะได้ประพฤติปฏิบัติกันด้วยความสัทธา

โดยอาศัยความเข้าใจไปสร้างปัญญาบารมีนะคะ เราก็มาเพียรในการเข้าใจก่อนที่จะทำวิปัสสนาว่า.. คำว่าวิปัสสนาคืออะไร....วิปัสสนา เป็นชื่อ ของปัญญา

มีปัญญา ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า วิปัสสนา

ปัญญามีชื่อเรียกมากทีเดียว มีชื่อต่างๆ กันแต่ว่า ปัญญา ที่ชื่อวิปัสสนา ปัญญานี้รู้อะไร?

ปัญญาวิปัสสนารู้ว่า นามรูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน รู้อย่างนี้แหละเรียกว่า วิปัสสนาค่ะ
 

_________________
เป็นประธานมูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
พี่ดอกแก้ว
บัวใต้น้ำ
บัวใต้น้ำ


เข้าร่วม: 07 มิ.ย. 2004
ตอบ: 118

ตอบตอบเมื่อ: 17 มิ.ย.2004, 8:23 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ท่านจะต้องเข้าใจหลักความรู้ของวิปัสสนาเสียก่อน...
ถ้าปัญญาวิปัสสนาเกิดแล้ว
ก็แปลว่าต้องรู้ว่า รูปนาม ไม่เที่ยง
หรือรูปนามเป็นทุกข์
หรือรูปนามไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
ไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสารอะไร
อย่างนี้อันใดอันหนึ่งก็ได้
ที่รู้อย่างนี้นี่แหละ เรียกว่า วิปัสสนา

ขอให้จำไว้ด้วยนะคะว่า...๛...ต้องมีนามรูปรองรับ...๛

ต้องนามรูปไม่เที่ยงมารับรองนะคะ ไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าอะไรไม่เที่ยง
เราจะเข้าไปทำวิปัสสนา เพื่อจะรู้ว่านามรูปนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนใช่ไหมคะ
ดังนั้นหลักที่จะเข้ามาทำวิปัสสนา
เพื่อจะรู้อย่างนี้ แล้ว เราจะดูอะไรอย่างอื่นเล่าคะ
ถึงจะเห็นนามรูปไม่เที่ยง

เราก็ต้องดูนามรูป เราจึงจะเห็นนามรูปไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้นผู้ทำวิปัสสนานี้
จะต้องมี นามรูปรับรองความรู้อยู่เรื่อย
ถ้าคราวไหนไม่มีนาม ไม่มีรูปรับรองแล้ว
ก็แปลว่า.. รู้แล้วก็รู้นิ่งไป

ถึงแม้นิ่งไปไม่ฟุ้งก็ตาม แต่ว่าใช้ไม่ได้
ความรู้สึกเช่นนั้นใช้ไม่ได้นะคะ
จะต้องมี นาม มี รูป อยู่เสมอ
เหมือนกับคนไปเรียนหนังสือ
เด็กไปเรียนหนังสือเข้าโรงเรียนใหม่ๆ
ต้องมี ก. ไก่ ข. ไข่ ต้องมีตัวหนังสืออยู่เรื่อย

ต้องอ่านหนังสือ ต้องมีตัวหนังสือรับรองอยู่เรื่อย
ไม่งั้นก็อ่านหนังสือไม่ออก
ถ้าไปโรงเรียนแต่ไม่ดูหนังสือ
ก็จะอ่านหนังสือไม่ออกใช่ไหมคะ

นามรูปเฉพาะผู้ปฏิบัติใหม่ ก่อนที่จะดูนามรูป
ก็จะต้องรู้จักนามรูปเสียก่อน
มิฉะนั้นแล้วดูนามก็ไม่รู้ว่าดูอะไร
เพราะจะต้องให้ท่านที่มาปฏิบัติวิปัสสนานี้
เข้า ไปพิจารณานามรูป

ทีนี้ก็จะต้องรู้เสียก่อนว่า..
ดูนามน่ะ ดูอะไร
ดูรูปน่ะ ดูอะไร
จะต้องเรียนนามรูปเสียก่อนให้เข้าใจ

รูปนามมีมากมายเหลือเกิน
แต่เราก็จะเอาให้ง่ายที่สุด
สำหรับปัญญาของเรา
เพราะว่ายุคสมัยที่ล่วงผ่านมาจนถึงวันนี้แล้ว
พวกเราๆ นี่ปัญญาน้อยแล้ว

เพราะอะไรละคะ..
ก็เพราะว่าเราถึงได้ล่าช้ามาอยู่จนป่านนี้
ต้องมาทรมานทนทุกข์
ประเดี๋ยวเจ็บ ประเดี๋ยวไข้
ประเดี๋ยวร้องไห้เสียใจ
พบกับสิ่งที่พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง

สิ่งที่พอใจพลัดพรากไปบ้าง
นี่เราจะต้องพบอยู่เรื่อย
ความทุกข์นี่มีอยู่รอบตัวเราเลย
เราจะต้องพบ
นี่อันนี้ถึงได้บอกว่า เวลาที่เรามาอบรม
มาพิจารณานามรูปเวลานี้น่ะ
เรายังไม่รู้ว่า นามรูปมันดีหรือไม่ดี

ยังไม่รู้ต้องรู้เสียก่อน
เวลาไปพิจารณาจึงจะรู้ความจริงของนามรูป
ทีนี้นามรูปที่เราจะต้องเรียนสำหรับคนปัญญาน้อยนี่
เราก็เรียนแต่พอที่จะเอามาใช้งาน
ที่ยังไม่ใช้งานเวลานี้ ยังไม่ต้องเรียน
เพียงนำเอานามรูปไปพิจารณา
จนกระทั่งได้ความจริงด้วยการพิจารณา
คือด้วยความรู้สึกไม่ใช่ด้วยการคิดนึก
ด้วยการตรอง ด้วยการวิจารณ์ ไม่ได้ทั้งนั้น

นามรูปมีอะไรบ้างละคะ
ที่จริงถ้าเราจะสอนที่ถูกแล้ว
ก็ควรจะสอนอารมณ์ทั้ง ๖ เสียก่อน
แต่เกรงว่าจะต้องร่ายยาวเกินไป
เพราะฉะนั้น เวลาที่จะอบรมให้เข้าใจอารมณ์
ตามทวารทั้ง ๖ ที่เราใช้งานอยู่
ก็กลัวจะไม่พอทีจะอธิบายในกระทู้นะคะ
แต่ที่ถูกแล้วควรจะบอก
บอกแล้วเวลาทำงานก็ทำเฉพาะอิริยาบถ ๔ ก่อน
คือแรกๆ ลงมือกำหนดก็ไม่ต้องคอยดูมาก
ให้ดูแต่น้อยๆ หน่อย
จนกระทั่งคล้ายๆ กับจิตที่อบรมเชื่องแล้ว
ดูได้สะดวกแล้ว

แล้วก็อารมณ์ทั้ง ๖ นั้นมันก็จะรู้ขึ้นมาเอง
เหมือนกัน แต่ว่ายังไงก็ตาม
อย่าลืมนะคะว่า..
จะต้องมีนามรูปเป็นพื้นฐาน

พบกันใหม่ตอนต่อไปนนะคะ...สวัสดีค่ะทุกๆ ท่าน สาธุ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
new
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 23 พ.ค. 2004
ตอบ: 532

ตอบตอบเมื่อ: 19 มิ.ย.2004, 1:13 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุครับพี่ดอกแก้ว หาความรู้มาให้อ่านอยู่เรื่อยเลยนะครับ ขอบคุณครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
สายลม
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 30 พ.ค. 2004
ตอบ: 1245

ตอบตอบเมื่อ: 20 มิ.ย.2004, 12:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

สาธุ สาธุ สาธุ

สาธุครับพี่ดอกแก้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Emailชมเว็บส่วนตัว
charoem
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 07 เม.ย. 2008
ตอบ: 31

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 12:38 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสสนาก็คือ การเอาสติเข้าไปตามดูตามสังเกต เข้าไปจดจ่อ เข้าไปใส่ใจ ต่อสภาวะลักษณะที่ปรากฎในขณะนั้น และต่อความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปต่าง ๆ ทั้งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมไป ดับไปของรูปของนาม หรือของร่างกายของจิตใจ หรือของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สะสมข้อมูลที่สังเกตได้นั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ และนำข้อมูลที่ได้จากการตามดูตามสังเกตนั้น มาพินิจพิเคราะห์ พิจารณาโดยแยบคาย ให้เห็นว่ารูปนามนั้นเที่ยงหรือไม่เที่ยง เป็นสุขหรือทุกข์ หรือความสุขที่ได้มานั้นคุ้มกับความทุกข์ที่ต้องเผชิญหรือไม่ อยู่ในอำนาจหรือไม่ เป็นไปตามความปรารถนาหรือไม่ ควรค่าแก่การยึดมั่นหรือไม่ ควรหรือไม่ที่จะถือว่าเป็นเรา เป็นของของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ( ถ้าจะถือว่าสิ่งใดเป็นเราแล้วสิ่งนั้นก็ควรจะอยู่ในอำนาจ และเป็นไปตามความปรารถนาของเราอย่างแท้จริง ) ทั้งนี้ก็เพื่อทำการศึกษา ให้เห็นธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนามทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นรูปนามภายใน ภายนอก ในอดีต ปัจจุบัน อนาคต คือให้รู้แจ้งเห็นจริงอย่างชัดเจนด้วยปัญญาของตนเองอย่างทะลุปรุโปร่ง โดยไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ และไม่ต้องอาศัยความเชื่อผู้อื่นอีกต่อไป ( เพราะรู้ด้วยปัญญาของตนเองแล้ว ) จนกระทั่งเห็นแจ้งว่าภายในเป็นอย่างไรภายนอกก็เป็นอย่างนั้น ปัจจุบันเป็นอย่างไรอดีตและอนาคตก็เป็นอย่างนั้น ไม่ว่ารูปนามใด ๆ ในเวลาไหน ๆ ก็เป็นอย่างนั้น

ทั้งนี้ควรทำประกอบกันทั้งการตามดูตามสังเกต และการพิจารณาโดยแยบคาย ไม่ใช่ทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการตามดูตามสังเกตแล้วไม่นำข้อมูลที่ได้นั้น มาพิจารณาโดยแยบคาย ก็จะไม่ได้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นอย่างเต็มที่ ส่วนการตั้งหน้าตั้งตาพิจารณาโดยแยบคาย โดยไม่มีข้อมูลจากการตามดูตามสังเกตอย่างมากพอ การพิจารณานั้นก็อาจผิดพลาดได้ ดังนั้นจึงควรตามดูตามสังเกตไปเรื่อย ๆ แล้วนำข้อมูลนั้นมาพิจารณาโดยแยบคายเป็นระยะ ๆ สลับกันไป

เมื่อพิจารณาอะไรไม่ออกแล้ว ก็แสดงว่าข้อมูลที่สังเกตได้มานั้นยังไม่มากพอที่จะพิจารณาต่อไป ก็พักการพิจารณาเอาไว้ก่อนอย่าท้อใจเพราะเป็นธรรมดาของการปฏิบัติ ใช้สติตามดูตามสังเกตรูปนามกันต่อไป เมื่อข้อมูลมากขึ้นก็จะพิจารณาต่อไปได้เอง หรือบางครั้งเมื่อข้อมูลมากพอแล้ว แม้จะไม่ได้ตั้งใจพิจารณาจิตก็จะแล่นไปได้เอง คือถึงไม่ได้ตั้งใจพิจารณาก็เหมือนพิจารณา เมื่อเห็นธรรมชาติที่แท้จริงชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว ในที่สุดก็จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาจากส่วนลึกที่สุดของจิตใจของตนเอง เป็นความรู้สึกเบื่อหน่ายในรูปนามทั้งปวงอย่างแรงกล้า เมื่อเบื่อหน่ายก็จะเกิดความรู้สึกคลายความยึดมั่นถือมั่นในรูปนามทั้งปวงลงไป เมื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นมากเท่าไร กิเลสทั้งหลายที่อยู่ในระดับความหยาบ / ความประณีตเดียวกันกับความยึดมั่นถือมั่นนั้น ก็จะถูกทำลายลงไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการทำลายที่ต้นตอของกิเลสนั้นโดยตรง จึงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมาได้อีกเลย และความรู้สึกนี้จะแผ่ซ่านไปทั่วทุกอณูของร่างกาย ( คล้ายกับเวลาที่ประสบกับความตกใจ ความกลัว หรือความเสียใจอย่างสุดขีด จนกระทั่งความรู้สึกเหล่านั้นแผ่ซ่านไปทั่วทุกรูขุมขน ฉัน นั้น ) สำนวนในพระไตรปิฎกจะใช้คำว่า เมื่อเบื่อหน่ายก็จะคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดก็จะหลุดพ้น .

ที่กล่าวมานี้เป็นการเกิดขึ้นของปัญญาขั้นมรรคผล ซึ่งเป็นปัญญาขั้นสูงสุด จนมีอิทธิพลไปถึงจิตใต้สำนึกที่อยู่ลึกที่สุด แต่ถ้าเห็นธรรมชาติของรูปนามยังไม่ชัดเจนพอ หรือยังไม่มากพอ ก็จะเกิดความรู้สึกคลายความยึดมั่นถือมั่นขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน แต่ความรู้สึกนั้นจะอยู่แค่ระดับจิตสำนึก หรือลงไปถึงจิตใต้สำนึกบางส่วน จะทำให้เกิดการละกิเลสได้ชั่วคราว ที่เรียกว่าตทังคประหาร ผู้ปฏิบัติบางคนเมื่อปฏิบัติมาถึงขั้นนี้แล้ว ก็อาจจะเข้าใจผิด คิดว่าตนเองบรรลุมรรคผลแล้วก็ได้ ดังนั้นผู้ปฏิบัติทั้งหลายพึงระวัง และพิจารณาให้ดี เพราะตทังคประหารนั้นนานวันไปก็จะเสื่อมลงไปได้ เมื่อมีเหตุมีปัจจัยมากพอ กิเลสก็จะฟูขึ้นมาได้อีก การทดสอบ / ตรวจสอบกิเลสที่เหลืออยู่ และคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวของมรรคผลแต่ละขั้น ( เช่น ความบริบูรณ์ของศีล ความบริบูรณ์ของสมาธิ ความบริบูรณ์ของสติ ) จะเป็นเครื่องตัดสินที่ดีที่สุด สำหรับกิเลสที่ละได้แล้วนั้น จะต้องละได้เพราะความบริสุทธิ์ของจิตจริง ๆ คือกิเลสนั้นจะต้องไม่เกิดขึ้นอีกอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่ละได้ด้วยการข่มไว้ด้วยสติ ข่มไว้ด้วยสมาธิ หรือการคอยพิจารณาเพื่อข่มไว้ การทดสอบก็ควรทำในสิ่งแวดล้อมที่บีบคั้นและยาวนาน เพื่อกระตุ้นให้กิเลสข้อนั้นเกิดขึ้น ( ควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 เดือนในการทดสอบ แต่ถ้าให้ดีก็ควรใช้เวลาให้มากกว่านี้ )
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
montasavi
บัวพ้นดิน
บัวพ้นดิน


เข้าร่วม: 17 มิ.ย. 2007
ตอบ: 84

ตอบตอบเมื่อ: 09 พ.ค.2008, 3:35 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ประสบการปฏิบัติวิปัสสนา ๗ เดือน

http://www.tlcthai.com/club/list_topic.php?club=buddhism&club_id=1278&table_id=1&cate_id=788
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง Email
โยคี19
บัวใต้ดิน
บัวใต้ดิน


เข้าร่วม: 15 เม.ย. 2008
ตอบ: 29
ที่อยู่ (จังหวัด): กรุงเทพฯ

ตอบตอบเมื่อ: 18 พ.ค.2008, 8:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสสนา คือ ปัญญารู้แจ้ง ในอริยสัจ 4

พระอนาคามีไม่ยึดถือกายสังขารนี้ เห็นว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา

หากไม่ยึดทั้งกาย ไม่ยึดทั้งจิต ก็เป็นพระอรหันต์


อย่างที่หลวงปู่ดูลย์ กล่าวกับ พระปราโมททย์ ว่า เจอผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ผู้รู้ในที่นี้คือจิตนั้นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
natdanai
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 18 เม.ย. 2008
ตอบ: 387
ที่อยู่ (จังหวัด): bangkok

ตอบตอบเมื่อ: 20 พ.ค.2008, 3:03 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ขอแสดงความเห็นบ้างครับ....
วิปัสสนาคือการเจริญปัญญาขั้นสูงครับ เป็นที่สุดของ สมถะ
 

_________________
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวส่ง EmailMSN Messenger
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 03 มิ.ย.2008, 3:17 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ถามพี่ดอกแก้ว + คุณ charoem


ลำพังรู้โครงสร้าง แนวทางๆเฉยๆ ไม่ถือว่าเกิดปัญญาใช่ไหมคับ
อย่างผมอ่านๆ ไปๆ มาๆ ก็เข้าใจพอสมควร

แต่ กาย วาจา ใจ ยังปกติเหมือนธรรมดาอยู่
เช่น ชอบพูดฮาๆ เพ้อเจ้อ ทะลึ่งตึงตัง องค์ลง ติสแตกพอใช้ได้
อาจจะสงบบ้าง บางที บางโอกาส เช่นอยู่คนเดียว แต่อย่างมากก็สงบแบบข่มๆ
แบบที่พี่ว่า คือเอาความอดกลั้นข่มไว้ ไม่แสดงออกมา

บางทีก็สงบเพราะรู้จิงๆว่า ... อ้อ.. ช่างมันเถอะ... มันเป็นอย่างนั้นเอง ..
อีกเดี๋ยวมันก็คลาย ... ต่อให้เราไม่ทำไร เด๋วมันก็จบสงบลงเอง ... ช่างมันเถอะว๊า ฟุ้งซ่านมัน-มันก้ยังเป็นเหมือนเดิม ถึงเวลาของมัน-มันก็จบ... ธรรมดาของกิเลสคนเป็นอย่างนั้น ..
อะไรทำนองนี้

การถึงวิปัสสนาปัญญานี่คือสำหรับคนที่ต้องการขั้นเข้มข้นใช่ไหมคับ
ผมต้องการใช้ชีวิต ปกติธรรมดา ... ต้องทำแค่ไหน
ถ้าเท่าที่ผมเล่ามานี่ พอใช้ได้หรือยังคับ

ขอบคุณคับ
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 มิ.ย.2008, 8:06 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:

อย่างที่หลวงปู่ดูลย์ กล่าวกับ พระปราโมทย์ ว่า เจอผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ ผู้รู้ในที่นี้คือจิตนั้นเอง

โยคี19 18 พ.ค.2008, 8:34 pm


ขอคำแนะนำวิธีทำลายผู้รู้ หรือ จิตหน่อยครับ ทำลายยังไงครับ ทำลายจิต หรือทำลายผู้รู้
เพราะเหตุไรจึงต้องทำลายจิตหรือผู้รู้ล่ะครับ

 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2008, 8:43 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

พระอานนท์ตอบ ว่า
“....ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า (หรือ).... เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป.... มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพเจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด....”

ปฏิปทาวรรค ที่ ๒ จ. อํ. (๑๗๐)
ตบ. ๒๑ : ๒๑๒ ตท. ๒๑ : ๑๘๓-๑๘๔
ตอ. G.S. II : ๑๖๒

จาก http://www.84000.org/true/220.html


ถ้าพิจารณา จาก ที่ ท่านพระอานนท์กล่าวนี้
จะแยก แนวทาง การเจริญกรรมฐาน(ภาวนา) เป็น 3แบบ คือ

1.เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป

ข้อ1. .เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า.... คือ ใช้ปัญญานำหน้าสมาธิ. แนวทางนี้ ปัญญาเด่น

ข้อ2.เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า..... คือ ใช้ สมาธินำหน้าปัญญา. แนวทางนี้ สมาธิเด่น

ข้อ3.เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป..... คือ เจริญทั้งสมาธิ และ ปัญญา ในระดับพอๆกัน ไม่มีสิ่งใดเด่นกว่าสิ่งใด

สังเกต จาก ที่พระอานนท์ท่านกล่าวไว้.... ทั้ง 3แนวนี้
ไม่มีแนวทางไหน ที่ปราศจากสมถะ100%เลย
เพราะ ทั้ง3แนวทางนี้ ต่างล้วนแต่ ต้องมีส่วนของ สมถะด้วยกันทั้งสิ้น
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2008, 8:48 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จาก ความเห็นของ อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก

http://larndham.net/index.php?showtopic=27781&st=0



แล้วมีในหลักวิชาที่เขาบอกว่าผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้ผ่านทางสมถะก็เป็นพระอรหันต์ได้ หรือจะผ่านทางสมถะก่อน จนกระทั่งได้กสิณได้ฌาน แล้วใช้ฌานนั้นเป็นบาทฐานของวิปัสสนา ก็เป็นพระอรหันต์ได้

ในทฤษฎีกล่าวไว้เช่นนั้น
แต่ในหลักปฏิบัตินั้นไม่มีการตรัสรู้ใดๆ ไม่มีการบรรลุใดๆ ที่ไม่ได้ผ่านสมถะ ต้องมีพลังสมาธิพอสมควร อย่างน้อยก็ได้ขณิกสมาธิ มีสมาธิพอสมควรแล้วถึงจะนำเข้าไปสู่วิปัสสนา ก็สามารถบรรลุได้ เรียกว่าบรรลุโดยวิปัสสนาล้วนๆ โดยซึ่งความหมายจริงๆ มันก็ไม่ล้วน เพราะมีสมาธิเป็นพื้นฐานอยู่ เพียงแต่ว่าไม่ได้เน้นสมาธิมาก ไม่ได้ใช้พลังสมาธิมากเพียงใช้สมาธิพอเป็นพื้นฐานที่จะพิจารณาไตรลักษณ์เข้าสู่วิปัสสนาญาณเท่านั้นเอง

ในหลักวิชาพูดว่ามี สุกขวิปัสสก พระอรหันต์ผู้บรรลุธรรมโดยผ่านวิปัสสนาเท่านั้น แต่ความจริงไม่เท่านั้น เพราะว่าก่อนจะถึงวิปัสสนาก็ต้องผ่านสมถะก่อนอยู่แล้ว
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 05 มิ.ย.2008, 8:51 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จาก โอวาทธรรม ของ หลวงปู่ชา สุภัทโท

จาก http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html#mk722_11


ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก

ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยาม

หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา

เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2008, 5:58 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

จากลานธรรมเสวนา

http://larndham.net/index.php?showtopic=31916&st=12


อ้างอิงจาก:
ขั้นตอน การระงับจิตสังขาร

พิจารณาว่า ปิติ และ สุข ก็สักแต่ว่าเป็นเครื่องปรุงจิต(จิตสังขาร) ...สักแต่ว่า เป็นเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ใดๆ ที่ควรแก่การยึดถือไว้. ให้ปล่อย ให้วางไปเสีย




อารมณ์ แห่งสมาธิ มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตารมณ์ ...

วิตก วิจาร (กายสังขาร) ระงับไป ในขั้นกายานุปัสนา

ปิติ สุข (จิตสังขาร) ระงับไป ในขั้นเวทนานุปัสนา

ก็จะเหลือ เพียง เอกัคตารมณ์ ที่เป็น อุเบกขาจิต



และจะเข้าสู่ ขั้นตอน จิตตานุปัสนา ต่อไป

โดยคุณตรงประเด็น


คุณตรงประเด็นครับ การอธิบายธรรมะขั้นสูงต้องมีความระมัดระวัง และอ้างอิงหลักฐานจาก อรรถกถา ฏีกา และท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก ให้ดี

อย่าได้ตีความพระพุทธพจน์เอาเอง ดุจ อรรถกถาจารย์

-------------------------------------------------------------------------

อนึ่งข้อความของคุณตรงประเด็น ได้ถูกแก้ไขไปแล้ว สงสัยเกิดความละอายใจ ที่ได้ไปอธิบาย ธรรมะขั้นสูง แบบใช้ความรู้สึกส่วนตัว


พระพุทธพจน์เกี่ยวกับ วิปัสสนา(ซึ่งพี่ดอกแก้วได้รวบรวมไว้นานแล้วครับ)
http://www.geocities.com/toursong1/kam/pt.htm

----------------------------------------------------
พระพุทธพจน์จากพระไตรปิฏก

อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา
http://www.84000.org/true/568.html

สมถะหรือวิปัสสนาก่อน?
http://www.84000.org/true/220.html

การเจริญวิปัสสนาหลังสมถะ ในแนวอรรถกถา

สมถะที่บาทของวิปัสสนา (อ้างอิงจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา)
http://larndham.net/index.php?showtopic=25151&st=0

ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง
http://larndham.net/index.php?showtopic=25844&st=7



วิสุทธิมรรค
http://www.larnbuddhism.com/visut/3.8.html

---------------------------------------------------------------------

จากพระวิปัสสนาจารย์ ท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์

จิตตวิสุทธิ
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm

ทิฏฐิวิสุทธิ โดย อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
http://larndham.net/index.php?showtopic=19112&st=0
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
เฉลิมศักดิ์1
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 17 เม.ย. 2007
ตอบ: 272
ที่อยู่ (จังหวัด): ระยอง

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2008, 6:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

อ้างอิงจาก:
จาก โอวาทธรรม ของ หลวงปู่ชา สุภัทโท

จาก http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk722.html#mk722_11


ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก

ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยาม

หรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา

เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง



คุณตรงประเด็นครับ อาจาริยวาทใด หรือ อัตตโนมติใด ที่ไม่ได้ให้รายละเอียดของ สมถะ - วิปัสสนา ควรงดไว้ก่อนครับ

อาจจะสร้างความสัยสนให้ผู้อ่าน ที่ยังขาดคันถธุระได้

การเจริญวิปัสสนาหลังสมถะ ในแนวอรรถกถา

สมถะที่บาทของวิปัสสนา (อ้างอิงจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา)
http://larndham.net/index.php?showtopic=25151&st=0

ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง
http://larndham.net/index.php?showtopic=25844&st=7



วิสุทธิมรรค
http://www.larnbuddhism.com/visut/3.8.html

---------------------------------------------------------------------
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 09 มิ.ย.2008, 4:46 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เฉลิมศักดิ์1 พิมพ์ว่า:
จากลานธรรมเสวนา

http://larndham.net/index.php?showtopic=31916&st=12


อ้างอิงจาก:
ขั้นตอน การระงับจิตสังขาร

พิจารณาว่า ปิติ และ สุข ก็สักแต่ว่าเป็นเครื่องปรุงจิต(จิตสังขาร) ...สักแต่ว่า เป็นเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ใดๆ ที่ควรแก่การยึดถือไว้. ให้ปล่อย ให้วางไปเสีย




อารมณ์ แห่งสมาธิ มี วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตารมณ์ ...

วิตก วิจาร (กายสังขาร) ระงับไป ในขั้นกายานุปัสนา

ปิติ สุข (จิตสังขาร) ระงับไป ในขั้นเวทนานุปัสนา

ก็จะเหลือ เพียง เอกัคตารมณ์ ที่เป็น อุเบกขาจิต



และจะเข้าสู่ ขั้นตอน จิตตานุปัสนา ต่อไป

โดยคุณตรงประเด็น


คุณตรงประเด็นครับ การอธิบายธรรมะขั้นสูงต้องมีความระมัดระวัง และอ้างอิงหลักฐานจาก อรรถกถา ฏีกา และท่านผู้ทรงพระไตรปิฏก ให้ดี

อย่าได้ตีความพระพุทธพจน์เอาเอง ดุจ อรรถกถาจารย์

-------------------------------------------------------------------------

อนึ่งข้อความของคุณตรงประเด็น ได้ถูกแก้ไขไปแล้ว สงสัยเกิดความละอายใจ ที่ได้ไปอธิบาย ธรรมะขั้นสูง แบบใช้ความรู้สึกส่วนตัว






คุณ เฉลิมศักดิ์

ขออภัยครับ
คุณ หมายถึง ข้อความ ใน คห.ที่13 ใช่ไหมครับ...

http://larndham.net/index.php?showtopic=31916&st=13

ผมจำไม่ได้ว่า แก้ไขไว้หรือเปล่า
เพราะปกติ เวลาผมแก้ไข จะมีกำกับลายเซ็น และ เวลาไว้ด้วย

เช่น ใน คห.นี้ครับ

http://larndham.net/index.php?showtopic=31916&st=66



เดี๋ยวจะเช็คกับทางผู้ดูแลระบบให้ครับ

ได้ข้อมูลแล้วจะมาชี้แจงอีกทีครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
ตรงประเด็น
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 25 ก.ค. 2006
ตอบ: 773

ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2008, 4:39 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

คุณ เฉลิมศักดิ์ครับ


มาชี้แจงน่ะครับ
ใน คห ที่13

http://larndham.net/index.php?showtopic=31916&st=13

ไม่มีการแก้ไขใดๆครับ ไม่ว่าจะจากผม หรือ ท่านใดๆครับ
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
RARM
บัวบาน
บัวบาน


เข้าร่วม: 28 ก.ค. 2007
ตอบ: 417

ตอบตอบเมื่อ: 10 มิ.ย.2008, 2:49 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

วิปัสสนาคือ การที่จิต มีกำลังแล้วสามารถเห็นสังขารทั้งหลาย เป็นไปตามความเป็นจริง คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เมื่อตามเห็นอย่างนี้อยู่มากเข้าจน จิต มีกำลังแก่รอบ ญาณ แล้ว ก็จะเกิดวิปัสสนาญาณ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ สัญญา หรือสังขารที่เราปรุงแต่ง แต่หากเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติของมัน ที่เราเห็นได้เพราะจิต นั้น มีกำลัง สติ และสัมปชัญญามาก เพียงพอที่จะเห็น แต่ว่า การเห็นอันนั้นจะเห็นเพียงแต่ ครั้งเดียว หลังจากนั้นญาณจะรักษาจิต คือจะมีสมาธิอ่อนๆ มาหล่อเลี้ยงให้เห็นต่อไปอีก ซึ่งถ้าหลงไปว่า เราเห็นเมื่อไหร่ ก็จะเป็น อุปกิเลส 16 ทันที เพราะฉะนั้นเมื่อ เกิดอาการจิตเห็นจิต ไปตามความเป็นจริงของธรรมแล้ว ท่านอาจารย์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า เป็นบิดา ให้รีบเร่งความเพียรอย่าได้ลดละ ก็จะทำให้เกิดญาณตัวต่อไปเองตามกำลังของสติ และ สัมปชัญญะจะมากหรือน้อย จนกว่า จะถึง ญาณที่ทำให้ข้ามพ้นความเป็นปุถุชน กลายเป็นพระอริยะนั้นเอง
 
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
คามินธรรม
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 29 พ.ค. 2008
ตอบ: 860
ที่อยู่ (จังหวัด): กทม.

ตอบตอบเมื่อ: 31 ก.ค.2008, 2:44 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

ยิ้มเห็นฟัน เห็นตัวเองเมื่อก่อนตั้งคำถามแล้วน่าขันดีนะคับ

วันนี้ ขอตอบมั่ง

วิปัสนา คือ การตามรู้ ตามดู อย่างเป็นกลาง
สิ่งที่รู้ จากการวิปัสนา คือ ปัญญา
 

_________________
ฐิโต อหํ องฺคุลิมาล ตฺว ฺจ ติฏฺฐ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
บัวหิมะ
บัวเงิน
บัวเงิน


เข้าร่วม: 26 มิ.ย. 2008
ตอบ: 1273

ตอบตอบเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 5:20 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

เข้ามาอ่านแล้ว รู้สึกว่ามีแต่ปรมาจารย์ทั้งนั้นเลย

สาธุ ขออนุโมทนาบุญ กับทุกท่าน ที่ถ่ายทอดความรู้ในกระทู้นี้ อมิตพุทธ พุทโธ
 

_________________
ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ ไม่สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง