Home  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  •  สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทาน  • หนังสือ  •  บทความ  • กวีธรรม  • ข่าวกิจกรรม  • แจ้งปัญหา
คู่มือการใช้คู่มือการใช้  ค้นหาค้นหา   สมัครสมาชิกสมัครสมาชิก   รายชื่อสมาชิกรายชื่อสมาชิก  กลุ่มผู้ใช้กลุ่มผู้ใช้   ข้อมูลส่วนตัวข้อมูลส่วนตัว  เช็คข้อความส่วนตัวเช็คข้อความส่วนตัว  เข้าสู่ระบบ(Log in)เข้าสู่ระบบ(Log in)
 
ได้ทำการย้ายไปเว็บบอร์ดแห่งใหม่แล้ว คลิกที่นี่
www.dhammajak.net/forums
15 ตุลาคม 2551
 ปัญหาเกี่ยวกับความดี-ความชั่ว-บุญ-บาป-กุศล-อกุศล อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 03 พ.ค.2008, 4:37 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ลักษณะที่จะกล่าวต่อไปนี้ นำมาจากบาลีในที่ต่างๆหลายแห่ง เป็นลักษณะของจิตที่ดีงาม

ตั้งแต่ระดับสามัญจนถึงขั้นสูงสุดคือจิตของพระอรหันต์ ขอให้ถือว่าเป็นการวางภาวะ

ที่สมบูรณ์ไว้เป็นมาตรฐาน


-ชุดหนึ่งว่า

ปัสสัทธะ-ผ่อนคลาย หรือเรียบสงบ หรือเย็นสบาย ลหุ-เบา

มุทุ-นุ่มนวล หรืออ่อนโยนหรือละมุน กัมมัญญะ - ควรแก่งาน

หรือพร้อมที่จะใช้งาน ปคุณะ-คล่องแคล่ว อุชุ-ซื่อตรง ไม่คดโค้งโกงงอ

บิดเบือนเชือนแช


( อภิ.สํ. 34/240-250/94-5 ชุดนี้จากโสภณเจตสิกส่วนหนึ่งในอภิธรรม)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 10:01 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ชุดหนึ่งว่า

มุทุ-นุ่มนวล ละมุน กัมมนียะ-ควรแก่งาน เหมาะแก่การใช้งาน

ประภัสสร-ผ่องใส แจ่มจ้า

อปภังคุ-ไม่เปราะเสาะ แข็งแรงทนทาน สมาหิตะ-ตั้งมั่น

อนาวรณัง-ไม่มีสิ่งกีดกั้น ไม่ถูกจำกัด

อนิวรณัง-ไม่มีสิ่งขัดขวาง ไม่ติดขัดหรือคับข้อง อนุปักกิลิฏฐะ-ไม่เศร้าหมอง

ไม่ขุ่นมัว

อนัชฌารุฬห์- ไม่ถูกกดทับ ไม่ถูกกดถูกบีบ อวิฆาตะ-ไม่คับแค้น

ไม่คับเครียดอึดอัด


(ชุดนี้เกี่ยวด้วยนิวรณ์และโพชฌงค์ สํ.ม.19/474-502/131-7)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 10:03 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-อีกชุดหนึ่งว่า

สมาหิตะ-ตั้งมั่น ทรงตัวเรียบสม่ำเสมอ

ปริสุทธ์-สะอาด หมดจด

ปริโยทาตะ-ผุดผ่อง กระจ่าง สว่างไสว

อนังคณะ-ไร้ไฝฝ้า โปร่งโล่งเลี้ยงเกลา

วิคตูปกิเลส-ปราศสิ่งมัวหมอง

มุทุภูตะ-นุ่มนวล ละมุนละไม

กัมมนียะ-ควรงาน

ฐิตะ และ อาเนญชัปปัตตะ-ทรงตัวอยู่ เข้าที่ อยู่ตัว ไม่หวั่นไหว แน่วแน่

ไม่วอกแวก


(ชุดนี้ คือลักษณะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิเป็นอย่างดีแล้ว ม.ม. 13/506/460)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 10:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


-ลักษณะต่อไปนี้ โดยมากเป็นภาวะจิตและบุคลิกภาพของพระอรหันต์

นำมาลงไว้สำหรับประกอบการพิจารณาด้วย เช่น


อกิญจนะ-ไม่มีอะไรค้างใจ ไม่มีสิ่งคั่งค้างกังวล สันตะ-สงบ แสนซึ้ง

อโศก-ไร้โศก วิรชะ-ไม่มีธุลี (ธุลี คือ กิเลส เครื่องเศร้าหมอง)

เขมะ-เกษม ปลอดโปร่ง มั่นคง ไม่มีภัย

นิจฉาตะ-ใจไม่โหยหิว อิ่มใจ สีติภูตะ-เย็นหรือ

เย็นซึ้ง

นิพพุตะ-หมดร้อน

เสรี-เที่ยวไปได้สบายไม่มีอะไรเกาะเกี่ยว

สยังวสี-มีอำนาจในตัวเอง เป็นตัวของตัวเองแท้จริง

สุขี-มีความสุข หรือเป็นสุข
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 10:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


อีกชุดหนึ่ง

โดยมากเป็นลักษณะจิตและบุคลิกภาพของพระอรหันต์เหมือนกัน แต่เน้นเฉพาะแง่ที่เป็นอิสระ
เช่น

อนัลลีนะ-ไม่ติด หรือไม่หมกมุ่น

อนัชโฌสิตะ-ไม่สยบ

อนิสสิตะ-ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด

อนูปลิตต์- ไม่ถูกฉาบติดหรือไม่แปดเปื้อน

อนิสสิตะ-ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด

วิสัญญตะ-ไม่พัวพัน

วิปปมุตต์-หลุดพ้น

วิมริยาทิกตจิต-มีจิตไร้ขอบคัน หรือมีใจไร้เขตแดน

(ม.อุ.14/155/117;168/124 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 5:19 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อทราบลักษณะของจิตใจที่สมบูรณ์ มีสุขภาพดี ไร้มลทินโทษ เช่นนี้แล้ว

ก็พึงนำเอาธรรมที่ได้ชื่อว่าเป็นกุศล และ อกุศลมาพิจารณาตรวจสอบดูว่าธรรมที่เป็นกุศลส่ง

เสริมคุณภาพและสมรรถภาพของจิตใจจริงหรือไม่อย่างไร

และธรรมที่เป็นอกุศลทำให้จิตมีโรค เกิดความเน่าเสีย ผุโทรม เสียหายบกพร่อง

ไม่สบาย เป็นทุกข์ เสื่อมเสียคุณภาพและสมรรถภาพจิตจริงหรือไม่อย่างไร
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 5:26 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตัวอย่างกุศลธรรมเช่น


เมตตา-ความรัก ความปรารถนาดี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข

อโลภะ-ความไม่โลภ ว่างจากความใคร่ติดใจ ตลอดจนมีความคิดเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น

ปัญญา-ความรู้ชัด ความเข้าใจ ความรู้เท่าทันตามความเป็นจริง

ปัสสัทธิ-ความผ่อนคลายสงบ เย็นกายเย็นใจ ไม่เครียด ไม่กระสับกระส่าย

มุทิตา-ความพลอยเบิกบานยินดี บันเทิงใจ เมื่อผู้อื่นประสบความเจริญหรือเป็นสุข

เป็นต้น

สติ –ความระลึกได้ ความสามารถคุมจิตอยู่กับสิ่งที่พึงเกี่ยวข้อง หรือกิจที่

ต้องทำ


(สังเกตสาระของสติ ที่มักมีผู้ยกขึ้นถกเถียงกันและอธิบายไปคนละทิศละทาง

บ้างก็อธิบายลอยๆ ไม่มีหลักการ นำไปปฏิบัติไม่ได้ -สติที่ถูกต้องมีความสามารถ

คุมจิตให้อยู่กับอารมณ์หรืออยู่กับงานที่ทำในขณะนั้นๆ คือฝึกสติอยู่บนงานนั้น)

กุศลฉันทะ-ความพอใจใฝ่รักในสิ่งดีงาม อยากรู้อยากทำให้เป็นจริง

มีจิตพุ่งแล่นไปในแนวทางแห่งเหตุปัจจัย
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา

แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 05 พ.ค.2008, 4:37 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 5:29 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ชาวพุทธ ส่วนหนึ่งเข้าใจความอยากที่เป็นฉันทะ กับ ความอยากที่เป็นตัณหาคลาดเคลื่อน

จนไม่กล้าลงมือทำกิจอะไร กลัวเป็นตัณหา

ความอยากที่เป็นตัณหากับความอยากฉันทะต่างกัน ศึกษาความหมายของศัพท์ทั้งสองที่ลิงค์นี้

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13590
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 5:34 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ตัวอย่างอกุศลธรรม เช่น


การฉันท์- ความอยากได้ใคร่เอา

พยาบาท-ความคิดร้าย ขัดเคือง หรือ แค้นใจ

ถีนมิทธะ-ความหดหู่ท้อแท้ หงอยเหงา เซื่องซึม และโงกง่วง

อุทธัจจกุกกุจจะ -ความฟุ้งซ่าน คิดพล่าน หงุดหงิด กลัดกลุ้ม รำคาญ และเดือดร้อนใจ

วิจิกิจฉา-ความลังเล ไม่อาจตัดสินใจ

โกธะ-ความโกรธ

อิสสา-ความริษยา เห็นคนอื่นได้ดีทนไม่ได้

มัจฉริยะ-ความตระหนี่ ความหึงหวง ความคิดเกียดกัน เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 5:47 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อมีเมตตา จิตใจย่อมสุขสบาย แช่มชื่นผ่องใส ปลอดโปร่งและกว้างขวาง เป็นสภาพเกื้อกูล

แก่ชีวิตจิตใจ ส่งเสริมคุณภาพและสมรรถภาพของจิต เมตตาจึงเป็นกุศล

สติทำให้ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังเกี่ยวข้องหรือกำลังทำ ระลึกได้ถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม

ในกรณีนั้นๆ และป้องกันไม่ให้อกุศลธรรรมทั้งหลายได้โอกาส ทำให้จิตใจอยู่ในสภาพพร้อม

ที่จะทำงานได้อย่างดี สติจึงเป็นกุศล
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 5:53 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ความริษยา ทำให้จิตใจคับแคบ ถูกกดทับบีบคั้น ไม่สบาย ไม่ปลอดโปร่ง บั่นทอนคุณภาพ

และสุขภาพจิตอย่างเห็นได้ชัด ความริษยา จึงเป็นอกุศล

ความโกรธ ก็แผดเผาใจของตนเอง บีบคั้นกระทบใจให้ไม่สบายและส่งผลกระทบกระเทือน

ออกมาถึงสุขภาพกายได้อย่างรวดเร็ว จึงเห็นได้ชัดเช่นกันว่าเป็นอกุศล

กามฉันท์ หรือแม้ความโลภอย่างกว้างๆ ก็ทำให้จิตวกวนพัวพัน ติดข้อง กลัดกลุ้ม

หรือเอนเอียงไป เดินไม่ตรงและมัวหมอง ไม่โล่ง ไม่โปร่ง ไม่ผ่องใส จึงเป็นอกุศล

ดังนี้เป็นต้น
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 6:11 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


มีข้อสังเกตว่า ความหดหู่ หงอยเหงา เฉาซึมและความฟุ้งซ่าน เป็นต้น แม้จะเป็นอกุศล

แต่ในภาษาไทยจะเรียกว่าเป็นความชั่ว ก็คงไม่สู้ถนัดปากนัก

ในทำนองเดียวกัน กุศลธรรมบางอย่าง เช่น ความสงบผ่อนคลายภายในกายในใจ

จะเรียกในภาษาไทยว่าความดี ก็อาจจะไม่สนิททีเดียวนัก

นี้เป็นตัวอย่างแง่หนึ่ง ให้เห็นว่า กุศลและอกุศล กับความดีและความชั่ว มิใช่มีความ

หมายตรงกันแท้ทีเดียว
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 04 พ.ค.2008, 6:24 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เมื่อเข้าใจความหมายของกุศลและอกุศลอย่างนี้แล้ว ก็ย่อมเข้าใจความหมายของกรรมดี

และกรรมชั่ว คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรมด้วย ดังได้กล่าวแล้ว (ก่อนหน้านี้กล่าวเกี่ยวกับ

กรรม) ว่าเจตนาเป็นตัวกรรม

ดังนั้น เจตนาที่ประกอบด้วยกุศล ก็เป็นกุศลเจตนา และเป็นกุศลกรรม

เจตนาที่ประกอบด้วยอกุศล ก็เป็นอกุศลเจตนา และเป็นอกุศลกรรม

เมื่อกุศลเจตนา และ อกุศลเจตนานั้น เป็นไปหรือแสดงออก โดยทางกาย ทางวาจา

และทางใจ ก็เรียกว่า เป็นกุศลกรรม และ อกุศลกรรมทางกาย ทางวาจา และทางใจ

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่เป็นกุศล และเป็นอกุศล

ตามลำดับ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 9:52 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


กุศลและอกุศล เป็นปัจจัยแก่กันและกันได้


(เช่น) คนบางคนหรือบางคราวมีศรัทธา หรือได้บำเพ็ญทาน หรือรักษาศีล

หรือเป็นมีปัญญา เป็นต้น อันเป็นกุศล แล้วเกิดความลำพองในความดีเหล่านั้น ถือเป็นเหตุยก

ตนข่มผู้อื่น ความลำพองก็ดี ยกตนข่มผู้อื่นก็ดี เป็นอกุศล อย่างนี้เรียกว่า

กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล

บางคนบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานแล้วเกิดราคะคือติดใจในฌานนั้น

บางคนเจริญเมตตา เพียรตั้งความปรารถนาดีมองคนในแง่ดี บางทีประสบอารมณ์ที่น่า

ปรารถนา เมตตานั้นเลยให้ช่องช่วยให้ราคะเกิดขึ้นโดยง่าย แล้วอาจตามมาด้วยอกุศล

ธรรมอื่นอีก เช่น ฉันทาคติเป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล

ศรัทธาเป็นกุศลธรรม ทำให้จิตใจผ่องใสและมีกำลังพุ่งแล่นแน่วไป แต่เมื่อปฏิบัติต่อ

ศรัทธานั้นไม่แยบคายก็อาจกลายเป็นเหตุให้เกิดทิฐิและมานะ ยึดถือว่าของตนเท่านั้นจริงแท้

ของคนอื่นมีแต่เท็จ อาจถึงกับก่อความวิวาทบาดหมางเบียดเบียนกัน นี้เรียกว่า

กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 9:56 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


บางคนมีราคะ (= โลภะ) อยากไปเกิดในสวรรค์ จึงตั้งใจประพฤติปฏิบัติเป็นผู้มีศีล

บางคนมีราคะอยากได้ความสุขสงบทางจิตใจ จึงบำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานสมาบัติ

เด็กบางคนอยากให้ผู้ใหญ่ชมว่าเป็นคนดี จึงพยายามประพฤตตัวให้ดีมีศีลวินัย

นักเรียนบางคนมีราคะอยากสอบได้ดี จึงเกิดฉันทะและขยันเล่าเรียนแสวงหาความรู้

บางคนเกิดความโกรธเผาลนตัวขึ้นแล้ว บางคราวเกิดปัญญาเข้าใจชัดถึงโทษของความโกรธ

นั้น

บางคนโกรธแค้นศัตรูจึงเกิดความเห็นใจคิดช่วยเหลือผู้อื่น

บางคนเกิดความกลัวตายขึ้นแล้ว สำนึกได้หายตระหนี่ มีจิตใจเผื่อแผ่เสียสละ

ตั้งใจช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

คนอีกบางคน มีความกลุ้มใจเป็นเหตุให้เกิดความศรัทธาในธรรม อย่างนี้เรียกว่า

อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 10:02 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


เด็กชายวัยรุ่นคนหนึ่ง พ่อแม่เตือนไม่ให้ไปมั่วสุมกับหมู่เพื่อนอย่างไม่ระวัง แต่ไม่เชื่อ

ต่อมาถูกเพื่อนร้ายคนหนึ่งหลอกให้ติดยาเสพติด พอรู้ตัวทั้งโกรธแค้นทั้งเศร้าเสียใจขุ่น

หมอง เกิดความเข้าใจในคำเตือนของพ่อแม่ และซาบซึ้งต่อความปรารถนาดีของท่าน-

(อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศล) เป็นเหตุให้ยิ่งเสียใจประดังโกรธเกลียดชังตัวเอง

(กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล)

เมื่อกุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล หรือ อกุศลเป็นปัจจัยแก่กุศลนั้น

ขณะที่กุศลเกิด จิตมีสุขภาพดี

ขณะที่อกุศลเกิด จิตใจเสียหายขุ่นข้อง


สภาพจิตดี ไม่ดีเช่นนี้ อาจเกิดสลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว จึงต้องรู้จักแยกออก

เป็นแต่ละขณะๆ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 10:05 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


บุญและบาป กับ กุศลและอกุศล


บุญและบาป กับ กุศลและอกุศล

บางทีใช้แทนกันได้

บางทีใช้แทนกันไม่ได้

จึงเป็นเหตุให้เกิดความสับสน ว่าความหมายของธรรม 2 คู่นี้เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

ในที่นี้จะกล่าวไว้พอเป็นแนวทางความเข้าใจ
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 10:07 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


บุญ มีความหมายตามรูปศัพท์ที่ท่านนิยมแสดงกันไว้ 2 อย่าง คือ เครื่องชำระสันดาน คือชำระ

พื้นจิตใจให้สะอาด และว่าสิ่งที่ทำให้เกิดผลคือภพที่น่าชื่นชม

นอกจากนี้บางแห่งแสดงไว้อีกความหมายหนึ่งว่า สิ่งที่ยังอัธยาศัย (ความประสงค์) ของผู้

กระทำให้บริบูรณ์


ส่วนบาป มักแปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ทำให้ถึงวัฏฏทุกข์ หรือสิ่งที่ทำให้ถึงทุคติ

(= สิ่งที่ทำให้ตกไปในที่ชั่ว)

คำแปลสามัญของบาป คือ ลามก (ต่ำทราม หรือเลว)

บางครั้งใช้เป็นคำวิเศษณ์ของวิบาก แปลว่าทุกข์ หรืออนิฏฐ์ (ไม่น่าปรารถนา) ก็ได้

(ความหมายที่กล่าวมานี้ ดู อิติ.อ. 102,199-200 ฯลฯ)
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 10:09 am ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายที่นักศัพท์ศาสตร์คือนักภาษาแสดงไว้ ซึ่งเป็นด้านหนึ่งเท่านั้น

จึงควรทราบความหมายในแง่ของหลักธรรมแท้ๆ ด้วย

เมื่อว่าโดยความหมายกว้างที่สุด บุญก็มีความหมายเท่ากับกุศล

บาปก็มีความหมายเท่ากับอกุศล

แต่ในการใช้จริง บุญและบาป มักปรากฏในความหมายที่จำกัดแคบและจำเพาะแง่มากกว่า

กุศลและอกุศล
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
กรัชกาย
บัวแก้ว
บัวแก้ว


เข้าร่วม: 24 ต.ค. 2006
ตอบ: 2348

ตอบตอบเมื่อ: 05 พ.ค.2008, 4:40 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน


กล่าวได้ว่า บาป ใช้ในความหมายเท่ากับอกุศลมากกว่าที่บุญ ใช้ในความหมายเท่ากับกุศล

แต่ที่ปรากฏบ่อยก็คือ กุศลใช้ในความหมายเท่ากับบุญ

ความที่ว่านี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาต่อไป
 

_________________
สติ-การนึกไว้,การคุมจิตไว้กับอารมร์,การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ-สัมปชัญญะ-การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้,การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น-ท่านเรียกว่าผู้มีสติสัมปชัญญะหรือมีสติปัญญา
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัว
แสดงเฉพาะข้อความที่ตอบในระยะเวลา:      
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
 


 ไปที่:   


อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
คุณไม่สามารถสร้างหัวข้อใหม่
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลบข้อความของคุณ
คุณไม่สามารถลงคะแนน
คุณ สามารถ แนบไฟล์ในกระดานข่าวนี้
คุณ สามารถ ดาวน์โหลดไฟล์ในกระดานข่าวนี้


 
 
เลือกบอร์ด  • กระดานสนทนา  • สมาธิ  • สติปัฏฐาน  • กฎแห่งกรรม  • นิทานธรรมะ  • หนังสือธรรมะ  • บทความ  • กวีธรรม  • สถานที่ปฏิบัติธรรม  • ข่าวกิจกรรม
นานาสาระ  • วิทยุธรรมะ  • เสียงธรรม  • เสียงสวดมนต์  • ประวัติพระพุทธเจ้า  • ประวัติมหาสาวก  • ประวัติเอตทัคคะ  • ประวัติพระสงฆ์  • ธรรมทาน  • แจ้งปัญหา

จัดทำโดย  กลุ่มเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ธรรมจักรดอทเน็ต
เพื่อส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมในสังคม
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2546
ติดต่อ webmaster@dhammajak.net
Powered by phpBB © 2001, 2002 phpBB Group :: ปรับเวลา GMT + 7 ชั่วโมง